“อ.สันติศึกษา มจร” เผยเตรียมคลอด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 กุมภาพันธ์ 2022.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8b4e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2-e0b8a1e0b888e0b8a3-e0b980e0b89ce0b8a2e0b980e0b895e0b8a3e0b8b5.jpg

    วันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 16.32 น.


    วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ติดตามความก้าวหน้างานวิทยานิพนธ์ของพระราชมงคลวิเทศ (เจ้าคุณน้อม) วัดมงคลเทพมุนี ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ ๕ : กรณีศึกษาวัดมงคลเทพมุนี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และวิเคราะห์การเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ ๕ : กรณีศึกษาวัดมงคลเทพมุนี โดยใช้หลักของศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นฐาน งานวิทยานิพนธ์มีความพร้อมสอบป้องกันโดยมีการปรับเล็กน้อย

    ถือว่าเป็นงานวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันที่มีความผันผวน ซับช้อน คลุมเครือ ไม่แน่นอน ท่ามกลางภาวะเปราะบางที่สุดของชีวิตมนุษย์สามารถทำให้ความเบาบางแต่รุนแรง จึงต้องระวังสิ่งที่เข้ามาในชีวิตเรา เบาแต่แรง ภาวะเปราะบางจึงมี ๖ ประการ คือ

    ๑) #Hungry ช่วงเวลาของการหิว อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะยามปกติและยามวิกฤต
    ๒) #Angry ช่วงเวลาโกรธ สามารถทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างมาได้ จงรู้ทันอารมณ์แห่งความโกรธเราโกรธอะไร
    ๓) #Lonely ช่วงเวลาของความเหงา อยากมีใครสักคนที่เข้าใจรับฟังความรู้สึกอย่างแท้จริง คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
    ๔) #Tried ช่วงเวลาของความเหนื่อย ต้องการคนมาให้กำลังใจเพื่อเดินต่อไปข้างหน้าอย่างมีพลัง ความเหนื่อยความเพลียจึงเปราะบาง
    ๕) #Fear ช่วงเวลาแห่งความกลัว จึงทำให้เกิดความหวาดระแวง จงเปลี่ยนความกลัวเป็นความกล้าพร้อมเรียนรู้ในสิ่งที่เราทำ
    ๖) #Conflict ช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง นำมาซึ่งภาวะแห่งความเปราะบางของมนุษย์ จึงต้องมีเครื่องมือในการเยียวยาในทางพระพุทธศาสนา

    ดังนั้น พละ ๕ ในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นสำคัญในการเสริมสร้างพลังกำลังใจของชีวิตผ่านการมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งในช่วงเวลาเหล่านี้จะต้องอาศัยสติเชิงรับและสติเชิงรุกเป็นเครื่องมือในการกำกับพฤติกรรมการแสดงออก ด้วยการรู้เท่าทันอารมณ์สิ่งที่เข้ามากระทบ กระเทือน กระแทก เพราะเป็นภาวะแห่งการเปราะบางของชีวิต จึงต้องกำหนดให้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้น จึงขอถวายกำลังใจเจ้าคุณน้อมในการพัฒนางานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ ๕ สืบไป


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/269917
     

แชร์หน้านี้

Loading...