“อปาปกถา-ใจบาป”

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 19 มิถุนายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    อปาปกถา - ใจบาป
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( ปัญญา อินทฺปัญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง จ.นครปฐม

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินทฺปัญฺโญ) ได้เคยกล่าวไว้ว่า บาปบางอย่างไม่แสดงผลให้ปรากฏในขณะทำ ผู้ทำบางคนจึงเกิดความย่ามใจ เข้าใจอย่างประมาทว่าบาปไม่มีไม่ให้ผล สำคัญว่าทำบาปเสียอีกจะให้ผลความสุข ดังนั้น หยิบยกเรื่องอปาปกถา หรือใจบาปมานำเสนอเพื่อให้เห็นถึงผลภายใน (Emic) ที่เกิดจากการผิดศีล 5 ข้อไว้ด้วย และหวังว่าใจบาปจะได้ฝากแง่คิดที่สำคัญเหมือนดังที่ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ได้เคยกล่าวไว้ว่า "ประโยคสำคัญ แม้เพียงหนึ่งเดียว อาจแปรเปลี่ยนวิถีชีวิตได้ทั้งชีวิต"


    <TABLE style="WIDTH: 592px; HEIGHT: 1255px" cellSpacing=1 cellPadding=1 width=592 align=center summary="" border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">[​IMG]</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">
    นตฺถิ ปาปัง อกุพฺพโตติ.




    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">ส่วนประกอบที่ได้นามว่า "คน" นี้ มีความสำคัญอยู่สองอย่าง คือ กาย กับ ใจ กายได้รับการปรนเปรอจากอาหารต่าง ๆ มีคาวหวานเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจึงได้เติบโตอยู่ได้ ใจคือธรรมชาติชนิดหนึ่ง ไม่หยุดอยู่กับที่ ดิ้นรน กลับกลอก กวัดแกว่งไปมาตามอำนาจของอารมณ์ที่ชอบและไม่ชอบ เว้นแต่ผู้ที่บังคับให้อยู่ได้ด้วยอำนาจสมาธิ หรือรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังขตธรรมเท่านั้น จึงเป็นใจไม่กวัดแกว่งดังกล่าวแล้ว

    ท่านเรียกจิตก็มีเพราะเป็นธรรมชาติที่นึกคิด ใจอาศัยอยู่กับกาย กายทรุดโทรม จนไม่สามารถรักษาให้คงที่อยู่ได้ ก็ต้องแตกทำลายไป แต่จิตใจนี้หาได้แตกทำลายไปไม่ ละจากกายนี้ก็ไปหาที่อยู่ใหม่ คือถือปฏิสนธิใหม่ อาการที่ใจอาศัยอยู่ในกายคล้ายกับคนอาศัยบ้านอยู่ กายเปรียบดังบ้าน ใจเปรียบดังคน เมื่อบ้านยังดีอยู่ ก็อาศัยต่อไป เมื่อบ้านพังทำลายซ่อมแซมไม่ไหว คนก็ทิ้งบ้านเก่า สร้างขึ้นใหม่ หรือไม่ก็ไปหาบ้านที่อยู่ใหม่ ใจก็เช่นกัน เมื่อกายยังอยู่ ก็อาศัยต่อไป หากกายทำลาย ไม่สามารถจะรักษาให้หายจากโรคภัยได้ ใจก็ไปหาที่อยู่ใหม่ บางขณะก็อยู่ในโลกนี้ บางขณะก็ไปในโลกอื่น ภพอื่น ที่เราเรียกว่า ตาย คือกายต่างหากที่ตายกลิ้งอยู่ ส่วนใจไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่นั้นจะดีหรือไม่ดี แล้วแต่อำนาจของกรรมส่งให้เป็นไปต่าง ๆ

    ธรรมดาใจเป็นธรรมชาติสะอาด หมดจด แต่ต้องเศร้าหมองเพราะอำนาจของอุปกิเลสต่าง ๆ ที่เข้ามาทำให้แปรสภาพไป เปลี่ยนแปลงไปทางฝ่ายต่ำ คล้ายกับน้ำในสะอาด น่าอาบน่าดื่ม แต่มีน้ำขุ่นมาทำให้แปรไป หากมากก็ไม่น่าอาบ ไม่น่าดื่ม อาจกลายเป็นพิษใช้การไม่ได้เลย ใจที่แปรสภาพไปในทางเสีย เพราะอำนาจกิเลส คือความเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น เรียกว่า "ใจมีบาป"

    คำว่าบาป เป็นชื่อของความชั่ว ความเสีย ได้แก่ ชั่ว เสียที่ใจ ไม่ใช่ชั่ว หรือเสียทางอวัยวะอื่น เช่น ทางตาเป็นต้น บุคคลบางคนมักเข้าใจและตัดสินความชั่วนี้รวมกัน อาศัยตาเป็นเกณฑ์ ถึงกับเข้าใจเรื่อง สวรรค์ นรก เป็นของสูงต่ำไปตามสภาพที่จะเห็นด้วยตาทีเดียว สูง-ต่ำทางตา เป็นการสูง-ต่ำภายนอก เช่นต้นไม้สูง ภูเขาสูง เมฆสูง เป็นต้น เห็นได้เฉพาะที่อยู่ในวิสัยธรรมดาเท่านั้น ส่วนการจะรู้ยิ่งกว่านี้ อาจพิสูจน์ได้ทางใจ ความสูง-ต่ำทางใจเป็นเรื่องของชั้นหรือภูมิของใจโดยเฉพาะ อันคนจะสูง-ต่ำ ท่านวัดได้ที่ความดี ความชั่ว ผู้รักความดีเป็นชีวิต ผู้นั้นมีใจสูงยิ่ง ผู้รักความดีบ้าง ความชั่วบ้าง ปนคละกันไป ผู้นั้นมีใจปานกลาง ผู้ใดยินดีแต่ความชั่วเท่านั้น ผู้นั้นเป็นคนใจต่ำทราม ความเป็นผู้ประพฤติเสียทางใจ หรือคนมีใจเสียนี้แหละ ท่านเรียกว่า “คนบาป” หรือคนมีบาป

    บาปคือการกระทำอันใดก็ตาม เมื่อทำลงไปแล้ว ใจของผู้ทำแปรสภาพไปในทางเสีย การทำนั้นเป็นบาปทั้งสิ้น ไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นใคร รู้ว่าเป็นบาปหรือไม่ก็ตาม บาปคงเป็นบาปไม่เปลี่ยนแปลง บาปนั้นอยู่ที่ใจ แต่เราเองกลับไปดูข้างนอก เช่น ลักของเขามาได้ ดูที่ใจตัวเอง จะแปรสภาพทางเสียไม่ ไปดูที่ของได้มา ได้มากกลับพออกพอใจ ร่าเริง แจ่มใส จะไปเห็นตัวบาปที่ไหน เพราะดูกันคนละที่ เมื่อเกิดเข้าใจอย่างนี้แล้ว ผู้ทำก็เมาประมาท มุ่งแต่จะทำบาปให้มากขึ้น คิดว่าบาปไม่เสียแก่ผู้ทำ ไปเสียหายแก่ผู้ที่ถูกทำต่างหาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า บาปเป็นความชั่ว ความเสีย หมายถึงว่า ชั่วที่ผู้ทำ เสียที่ผู้ทำ

    บุคคลที่ชอบเป็นโรคลืมตัว ชอบมองแต่คนอื่น มักไม่เห็นความชั่ว ความเสียของตัว บุคคลประเภทนี้ ไม่ผิดอะไรกับคนที่หยิบมูลสุนัข ขว้างใส่คนอื่น คนขว้างกับผู้ถูกขว้าง ดูให้ดีแล้ว ผู้ขว้างนั่นเองจะเปื้อนเหม็นก่อนผู้ทำนั่นแหละเสีย เสียลึกลงไปถึงจิตใจ ที่เรียกว่า “คนใจเสีย” ทีเดียว ผู้ถูกทำไม่แน่จะเสีย ถึงจะเสียก็เพียง “เสียใจ” เป็นอาการภายนอก ดังเช่นคนด่ากับคนถูกด่า คนด่าเสียถึงใจ คนถูกด่าอย่างมากก็เสียใจ คนที่เสียถึงใจนี้เอง คือ คนมีบาป คนชั่ว คนเสีย ตามความหมายในที่นี้

    บาป มีทางเกิดได้ 3 ทาง ทางกายมี 3 ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ทางวาจามี 4 คือ พูดโกหก พูดส่อเสียด เช่น ด่า พูดยุให้เขาแตกสามัคคีกัน พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อจับหลักไม่ได้ ทางใจมี 3 คือ เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของเขา พยาบาทจองล้างจองผลาญเขา เห็นผิดจากสภาพที่เป็นจริง สภาพเป็นจริงที่ว่า สิ่งปัจจัยปรุงแต่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง เกิดในเบื้องต้น แปรในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด กลับเห็นเป็นของเที่ยง ไม่เป็นอย่างนั้นเป็นต้น

    ผู้ใดทำบาป ผู้นั้นเป็นผู้รับบาปเอง คนมีบาป ย่อมทำให้ใจเขาเสีย แปรสภาพเดิมไปในทางชั่วอย่างเดียว เพราะบาปบางอย่างไม่แสดงผลให้ปรากฏในขณะทำ ผู้ทำบางคนจึงเกิดความย่ามใจ เข้าใจอย่างประมาทว่าบาปไม่มีไม่ให้ผล สำคัญว่าทำบาปเสียอีกจะให้ผลความสุข ไม่ผิดอะไรกับผู้สำคัญยาพิษที่เคลือบความหวานเอาไว้ พอหมดหวานและทราบว่าเป็นยาพิษก็สายเสียแล้ว

    ผู้มีบาปอยู่ต้องการจะเลิก ก็ต้องพิจารณาดูผลของบาป การลักขโมย พูดหยาบคายเป็นต้น ทำให้คนอื่นเดือดร้อน นึกย้อนมาถึงเมื่อเราถูกทำเช่นนั้นบ้างจะเป็นอย่างไร เมื่อเห็นว่าเกิดเดือดร้อนก็งดเสียไม่ทำอีก พยายามสร้างความดีให้เกิดที่เราด้วย การทำความดีใน 3 ทาง คือทางกาย ทางวาจา ทางใจ คล้ายคนที่จะแต่งตัวให้สะอาด ก็ต้องพยายามชำระของโสโครกที่ตัว คือเหงื่อไคลให้หมดเสียก่อน แล้วจึงแต่งตัวให้สะอาดหมดจด ใจคนที่ยังหมกมุ่นอยู่กับบาปแล้วเป็นใจอาภัพ ทำดีไม่ขึ้น ถึงจะสงบใจได้บ้างชั่วครู่ชั่วยามก็ทำได้ยาก เพราะเหตุสองประการ คือใจขวนขวายในบาป เป็นใจใฝ่ต่ำ มุ่งทางต่ำอย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง ใจที่มีบาปแล้ว ย่อมเร่าร้อน ฟุ้งซ่านสะทกสะท้านไม่เหมาะที่จะทำความดี ผู้งดเว้นบาปได้ ย่อมยกฐานะใจให้สูงขึ้น เหมาะที่จะปรับปรุงให้สูงขึ้นไปโดยลำดับ แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคก็ทรงตรัสเป็นมงคลอุดม คือสูงสุดในพระพุทธศาสนา ขอทุกท่านจงเป็นผู้งดเว้นบาป ไม่มีบาปได้รับมงคลอุดมนี้ทั่วกัน


    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"><HR></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">คติธรรมและคำคม




    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">บาปคือการกระทำอันใดก็ตาม เมื่อทำลงไปแล้ว ใจของผู้ทำแปรสภาพไปในทางเสีย การทำนั้นเป็นบาปทั้งสิ้น ไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นใคร



    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">บาปนั้นอยู่ที่ใจ


    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"><HR></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">กิตติกรรมประกาศ



    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"></TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">


    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif"><TABLE height=205 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=576 summary="" border=1><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">[​IMG]</TD><TD style="FONT-SIZE: 12px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', sans-serif">
    กราบขอบพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินทฺปัญฺโญ) ที่ได้มอบมรดกธรรมอันมีค่ายิ่งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เพื่อยกฐานะใจให้สูงขึ้น





    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    --------
    ขอบคุณที่มาของบทความ:เว็บวัดกลางคลองตะเคียน
    ͻһ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. สัพเพ ธัมมา อะนัตตา

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +104
    อนุโมทนาสาธุในบุญที่ทำไว้ดีแล้ว

    _________________________________

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขาร และมิใช้สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช้ตัวไม่ใช้ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...