“อธิการบดี มจร”เผยแผนพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยในยุคดิจิทัล

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 14 สิงหาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8a3e0b89ae0b894e0b8b5-e0b8a1e0b888e0b8a3e0b980e0b89ce0b8a2e0b981e0b89ce0b899e0b89ee0b8b1e0b892.jpg

    วันเสาร์ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 12.33 น.


    วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมสัมมนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัยในนามระดับมหาบัณฑิตของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ซึ่งพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รองศาสตราจารย์ ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร กล่าวถวายรายงานว่าบัณฑิตวิทยาลัยมีหน้าที่กำกับมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสอดรับกับแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ ๑๓ จึงจัดสัมมนาเพื่อรับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

    พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ดร.อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวเปิดการสัมมนาและปาฐกถาเรื่อง “แผนพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยในยุคดิจิทัล” กล่าวประเด็นสำคัญว่า เป็นการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยที่สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยในแผนที่ ๑๓ รวมถึงแผนของชาติบ้านเมือง เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นการทำงานแผนเพื่อให้มีทิศทางในการพัฒนาภายใต้ยุคดิจิทัล โดยมหาจุฬามุ่งพัฒนานิสิตเพื่ออยู่ในสังคมอย่างมีความสุข แต่เราต้องมองแผนยุทธศาสตร์กระทรวง อว. มองถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เช่น ความมั่นคง และมองถึงแผนพัฒนาพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แผนที่ ๑๓ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายของแผนที่ ๑๒ เรามุ่งเชิงปริมาณส่วนมาก โดยเฉพาะการไปสู่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก เราจะพัฒนาอย่างไร สาระในการพัฒนาแผน ๑๓ ควรจะเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ไปสู่ในยุคดิจิทัล

    โดยการพัฒนาแผนบัณฑิตวิทยาลัย ประกอบด้วยพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการ พระพุทธศาสนาแบบกรรมฐาน พระพุทธศาสนาแบบคฤหัสถ์ พระพุทธศาสนาแบบพิธีกรรม และพระพุทธศาสนาแบบพุทธเกษตรและพุทธไภสัชยะมิติการทำมาหากินสุขภาพกายใจ โดยมุ่งไปสู่พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ซึ่งมหาจุฬา ๑๓๔ ปียืนหยัดในจุดแข็งของตนเอง จึงต้องมิติศรัทธาและปัญญา โดยสร้างศรัทธาสร้างความไว้วางใจ ไว้เนื้อเชื่อใจ สามารถแบ่งออก ๓ ประเด็นคือ ๑)สถานศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ กราบไหว้ บูชา สักการะและการพักกายใจ ๒)บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคมร่วมกับภาคีเครือข่าย ๓)สถานศึกษาที่สร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม

    โดยมหาจุฬาต้องบริการวิชาการแก่สังคมมิติพระพุทธศาสนาโดยมุ่งทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกมิติ โดยมหาจุฬาต้องมุ่งด้านจิตใจและบูรณาการกับเครือข่ายพัฒนาด้านกาย จะต้องให้ดีก่อนทำหลักสูตรเพราะเราอยู่ในยุคดิจิทัล ยุคเทคโนโลยี ยุคโควิด มีการดิสรัป เป็นปรากฎการณ์จริงเสมือนจริง วิถีชีวิตผูกติดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทัศนคติต่อวุฒิปริญญาเปลี่ยนไป ช่องทางเรียนวิธีการเรียนวิธีการสอนเปลี่ยนไป หนึ่งคนมีหลายทักษะหนึ่งคนทำได้หลายงาน โดยมีแนวโน้มวิชาการด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ พร้อมมีแนวโน้มทิศทางกิจกรรมบริการเพื่อผู้สูงอายุ โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงย้ำว่าอย่าจัดหลักสูตรแบบมัดตราสังข์ จะต้องก้าวให้พ้นจากกับดักสาระสำคัญจะต้องปรับเปลี่ยนตามบริบท จึงขอชื่นชมในการปรับหลักสูตรธรรมนิเทศมาเป็นหลักสูตรพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสอดรับการสังคมปัจจุบัน เราอย่าทำวิชาการแห้งแล้งต้องปรับให้สอดรับกับยุคสมัยใหม่แต่การพัฒนาจิตใจจะต้องเป็นฐาน โดยมหาจุฬาคือการเรียนพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่

    สิ่งหนึ่งที่คาดหวังมากคือ ปริญญาข้ามสถาบันยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง “เราต้องจัดบทเรียนตรงกับจริต สิ่งที่เรียนตรงกับสังคม ความรู้นำไปใช้ได้จริง” ในยุคดิจิทัลทักษะเพื่อการบริหารชีวิตในยุคดิจิทัล ยุควิถีใหม่และยุคสังคมเสมือนจริง โดยจะต้องคำนึงมิติศาสนาและภูมิปัญญา ซึ่งยุคดิจิทัลจะใช้ทักษะเดียวไม่ได้จะต้องใช้หลากหลายทักษะ จะต้องมีกระบวนการของโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยรอบด้าน การจัดการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะที่หลากหลาย ซึ่งยุคดิจิทัลต้องมีโยนิโสมนสิการเป็นฐานเป็นทักษะในการบริหารชีวิตที่จำเป็นในยุคดิจิทัล จะต้องสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้นกับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต จึงต้องคิดแบบไตรลักษณ์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยจะต้องพัฒนาไปสู่วิชาการทางพระพุทธศาสนาที่กินได้ ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง บูรณาการพัฒนาจิตใจและเชื่อมไปถึงพุทธเกษตร โดยยืนในจุดแข็งของมหาจุฬาคือ พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่

    ดังนั้น อธิการบดีมหาจุฬาสะท้อนว่า บัณฑิตวิทยาลัยต้องเป็นวิถีใหม่ สามารถยืนหยัดในจุดแข็งของตนเองให้มีความสง่างาม โดยมุ่งวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่กินได้ ซึ่งยุคดิจิทัลต้องมีโยนิโสมนสิการเป็นฐาน อย่าให้วิชาการพระพุทธศาสนามีความแห้งแล้ง จึงต้องมองมิติด้านศรัทธาและปัญญาพัฒนาจิตใจเป็นฐาน อย่าจัดหลักสูตรแบบมัดตราสังข์ขอให้ก้าวพ้นกับดักในการพัฒนาหลักสูตร


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/246209
     

แชร์หน้านี้

Loading...