“ศีลของพระ”..ท่านจิตโต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 1 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    ศีลของพระ
    โดย ท่านจิตโต


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโรมหาเถร หรือ หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี) ท่านได้แนะนำเรื่องโทษละเมิดพระธรรมวินัยเอาไว้ และบันทึกไว้ในเทปจำนวน ๖ ม้วนด้วยกัน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเข้าใจในการประพฤติปฏิบัติในพระธรรมวินัยชัดเจน และเข้าใจมากขึ้นกว่าที่จะอ่านเฉพาะในหนังสือนวโกวาท หรือหนังสือวินัยมุขเพียงอย่างเดียว

    ในการจดบันทึก "เรื่องศีลของพระ" ครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะนำเอาคำสั่งสอนของหลวงพ่อท่านมาบันทึกเอาไว้ เพื่อทบทวนความจำในเรื่องของพระธรรมวินัย ซึ่งคัดลอกจากหนังสือต่าง ๆ และเทปที่หลวงพ่อท่านแนะนำไว้ ตั้งแต่ข้อที่ว่า ปาราชิก จนถึง ทุกกฏ และ อภิสมาจาร

    และเพื่อความกระจ่างชัดสำหรับเพื่อนพระภิกษุใหม่ ๆ จะได้ทำความเข้าใจที่มาของสิกขาบทต่าง ๆ จึงได้นำเนื้อหาบางตอนจากหนังสือพระไตรปิฎกมาเพิ่มเติมไว้ ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ แบ่งเป็นรูปแบบของพระวินัยแต่ละข้อ เช่นเรื่อง ต้นบัญญัติ พระพุทธบัญญัติ พระอนุบัญญัติ เรื่องที่นำมาให้ทรงวินิจฉัยตัดสิน ( วินีตวัตถุ) สิกขาบทวิภังค์ บทภาชนีย์ และข้อยกเว้นในการไม่ต้องอาบัติ (อนาปัตติวาร) อย่างนี้เป็นต้น

    ฉะนั้นสมุดบันทึกเล่มนี้ จึงเป็นเรื่องของการคัดลอกคำสอนของหลวงพ่อ พร้อมกับคัดลอกออกมาจากพระไตรปิฎกฉบับเยาวชน เล่ม ๑ - ๒ เรื่องพระวินัยปิฎก เฉพาะบางส่วนที่เห็นว่าสมควรเท่านั้น ดังนั้นสมุดบันทึกเล่มนี้ จึงไม่ถือว่าเป็นตำรา เพราะจากคำสอนของหลวงพ่อ และจากหนังสือพระไตรปิฎกเล่มดังกล่าวที่คัดมานี้ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่แล้ว เพียงจดบันทึกไว้เพื่อให้เพื่อนภิกษุใหม่ได้อ่าน และทำความเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องไปค้นคว้าจากหนังสือต่าง ๆ หลายเล่ม ผู้เขียนไม่ต้องการคำชม ไม่นิยมคำติ เพราะไม่ได้ทำเพื่อขายใคร อวดใคร แต่ตั้งใจแจกเป็นธรรมทาน เพียงเพื่อให้เพื่อนพระภิกษุใหม่ ไม่ต้องลำบากในการค้นคว้า และเป็นการเสริมทักษะในความเข้าใจเรื่องพระธรรมวินัยมากขึ้นเท่านั้น และผู้เขียนมิบังอาจเอาความคิดเห็นส่วนตัวใด ๆ ใส่ลงไปในสมุดบันทึกเล่มนี้ เนื่องจากไม่มีความรู้ความสามารถ จึงได้คัดลอกในสองส่วนนี้ เข้าด้วยกัน


    ท่านจิตโต
    ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘

    ----------
    ในพระไตรปิฎกฉบับเยาวชน กล่าวถึงอาบัติและการต้องอาบัติไว้ว่า

    ๑. อาบัติปาราชิก คำว่า ปาราชิก แปลว่า ผู้พ่ายแพ้ คือ พ่ายแพ้ต่ออุดมการณ์ทางศาสนา เป็นอาบัติที่หนักที่สุด ผู้ต้องอาบัติปาราชิกมีโทษสถานเดียว คือขาดจากความเป็นภิกษุ

    ๒. อาบัติสังฆาทิเสส คือว่า สังฆาทิเสส แปลว่า ความละเมิดที่จะต้องมีสงฆ์เป็นเจ้ากี้เจ้าการเบื้องต้น คือสงฆ์เป็นผู้ปรับโทษให้อยู่กรรม และสงฆ์เป็นผู้ระงับอาบัติ ภิกษุ หรือภิกษุณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ (ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป) ทันที ห้ามปกปิดไว้ แจ้งแล้วต้องขอประพฤติวัตรที่เรียกว่า มานัติ เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้ว ให้ประพฤติวัตร ๖ ราตรี เสร็จแล้วจึงขอ อัพภาน ต่อสงฆ์ ๒๐ รูป สงฆ์จะสวดอัพภานระงับอาบัติให้ แล้วจึงจะกลับเป็นผู้บริสุทธิ์ตามเดิม

    แต่ถ้าต้องอาบัติแล้วปกปิดเป็นเวลากี่วัน ต้องอยู่ปริวาส (ทรมานตนตามระเบียบ) อยู่เป็นเวลาเท่านั้นก่อนจึงขอ มานัติ และ อัพภาน ต่อไป

    ๓. อาบัติถุลลัจจัย ถุลลัจจัย เป็นอาบัติที่หนักรองลงมาจากปาราชิกและสังฆาทิเสส เกิดขึ้นเมื่อมีการละเมิดอาบัติทั้งสองนั้น แต่ว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ตั้งใจจะฆ่าให้ตาย แต่ฆ่าแล้วเขาไม่ตาย ก็ต้องถุลลัจจัย เพราะแอบแฝงอยู่กับปาราชิกและสังฆาทิเสส ขึงไม่มีพระวินัยหมวดถุลลัจจัยต่างหาก ภิกษุที่เป็นถุลลัจจัยแล้ว จะพ้นได้ด้วยการประกาศยอมรับผิดต่อหน้าภิกษุอื่น และตั้งใจจะสำรวมระวังต่อไป ที่เรียกว่าแสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ
    อนิยต ไม่ใช่ชื่ออาบัติ แต่เป็นชื่อของการละเมิดที่มีโทษยังไม่แน่นอน ต้องมีการสอบสวนแล้วปรับอาบัติ ตามความผิดที่กระทำ (อนิยต แปลว่า ไม่แน่)

    นิสสัคคีย์ แปลว่า เป็นของที่ควรเสียสละ ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่ได้มาโดยทางที่ไม่เหมาะสม ควรทำการเสียสละเสีย ต่อสงฆ์ก็ได้ คณะสงฆ์ก็ได้ บุคคลก็ได้ อาบัติที่ต้องเพราะนิสสัคคีย์ ก็คือ อาบัติปาจิตตีย์

    ๔. อาบัติปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ แปลว่า การล่วงละเมิดอันยังกุศล ( คือความดี) ให้ตกไป เป็นอาบัติเบา อาบัตินี้เกิดจากการล่วงละเมิดหมวดนิสสัคคีย์ ๓๐ สิกขาบท และหมวดปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ในกรณีของนิสสัคคีย์ ท่านให้เสียสละผ้า หรือของอื่นที่เป็นนิสสัคคีย์เสียก่อน แล้วจึงแสดงอาบัติ ส่วนอาบัติปาจิตตีย์ให้แสดงอาบัติได้ต่อหน้าเพื่อนภิกษุตามแบบอย่างที่กำหนดไว้

    ๕. อาบัติปาฏิเทสนียะ คำว่า ปาฏิเทศนียะ แปลว่า พึงแสดงคืน หมายความว่า ต้องอาบัติเกี่ยวข้องกับบุคคลใด ให้แสดงคืนกับบุคคลนั้น ตามแบบที่ท่านกำหนดไว้

    ๖. อาบัติทุกกฏ แปลว่า กระทำไม่ดี กระทำชั่ว เป็นขื่ออาบัติเบา เป็นบริวารของอาบัติปาจิตตีย์เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีสิกขาบทของตัวเอง เป็นอาบัติที่ต้องได้ง่าย เพราะฉะนั้น เวลาจะแสดงอาบัติจึงแสดงรวม ๆ ไปว่า สัมพหุลา นานาวัตถุกาโย แปลว่า อาบัติต่าง ๆ นานามากมายหลายประการ

    ๗. อาบัติทุพภาษิต แปลว่า พูดไม่ดี เกิดจากความผิดพลาดในการพูดไม่เหมาะสมเล็กน้อย อาจจะพ้นได้ด้วยการแสดงอาบัติเช่นเดียวกัน
    -------------------------------------------------

    การปลงอาบัติ

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้แนะนำเรื่องการปลงอาบัติไว้ดังนี้



    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 20px; FONT: 14pt AngsanaUPC,AngsanaNew" align=left>" คำว่า ปลงอาบัติ นั้นมันเป็นการยับยั้งการกระทำความชั่วต่อไปเท่านั้น ส่วนที่ชั่วไปแล้วมันก็ชั่วแล้ว มันจะกลับคืนดีมาอีกไม่ได้ สมมติว่า ถ้าเราไปลักไปขโมยของของบุคคลอื่นเขา ในวันต่อมาเราก็เลิกลักเลิกขโมย ไอ้โทษที่ลักขโมยของของเขาน่ะ มันหมดโทษแล้วหรือยัง ทางกฏหมายเขาให้ไหม เขายกโทษให้หรือเปล่า ความจริงมันก็เปล่า ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การละเมิดโทษในทางพระวินัยก็เหมือนกัน ละเมิดแล้วถึงจะแสดงอาบัติ (แสดงอาบัติก็ไม่ได้รู้ภาษาอะไรเลย ว่ากันส่งเดชไป) อย่าลืมว่าแสดงแล้ว ถึงแม้ว่าจะแสดงแล้วทำถูก ส่วนที่เสียมันก็เสียไป ดูตัวอย่างท่านพระกบิลเป็นต้น เมาในความดี เห็นองค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงแสดงพระธรรมเทสนาเป็นที่จับใจ พอใจในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวร ก็อยากจะบวชเข้ามาสร้างความดี จึงขอบวชในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระชินสีห์มีพระนามว่า พระพุทธกัสสป เมื่อระยะต้นประพฤติพระธรรมวินัยดีมาก เคร่งครัด มัธยัสถ์ มีระเบียบเป็นอันดี แต่พอเนิ่นนานเข้า ความชั่วมันเกิดขึ้น ก็มีความรู้สึกว่า การเป็นพระนี่มันก็ไม่ต่างจากคน มีความรู้สึกเท่ากัน นี่เป็นมิจฉาทิฏฐิเสียแล้ว สร้างความทะนงด้วยประการต่าง ๆ เห็นว่าอาบัติเล็กน้อย แสดงได้ ก็เลยละเมิดมันดะ ตั้งแต่สังฆาทิเสส สังฆาทิเสสนี่เขาเรียกว่า อยู่กรรมได้ เมื่อสังฆาทิเสสแล้ว ถึงปีก็ไปอยู่กรรม ที่เขาเรียกกันว่า อยู่ปริวาสกรรม ละเมิออาบัติ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ทุกกฏ ทุพภาษิต และนอกจากสังฆาทิเสสแล้ว ถือว่าแสดงอาบัติตก


    อย่างที่พระถือกันเวลานี้ มีละเมิดแบบนี้เป็นปกติ เป็นการเห็นผิด ประพฤติผิด เมื่อประพฤติผิดธรรม ผิดวินัย มีความประพฤติที่ชั่วช้ามาก ไม่นำพาที่จะประพฤติปฏิบัติตามกระแสพระพุทธฎีกา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน การประพฤติตามพระธรรมวินัย พระธรรมนี่เรามีสอนกันอยู่แล้ว วินัยนี่ความจริงต้องว่ากันทุกสิกขาบท จะไปลดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งไม่ได้ เวลานี้ ผมอภัยอยู่หนึ่งสิกขาบทคือข้อที่เรียกว่า จับรูปิยะ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ การรับเงินและทอง ถือว่ามีความจำเป็น ไม่มีใครเขาให้อภัยกับพระ เราก็จำเป็นจะต้องรับ รับไปเถอะ แต่ว่าใจจงอย่าติด จงอย่าคิดว่าเราเป็นมหาเศรษฐี เราจะมีศักดิ์ศรีเพราะเป็นคนมีเงินมีทองมาก เมื่อได้เงินได้ทองมาแล้ว ก็ใช้จ่ายตามกิจอันควรแก่สมณวิสัย และเหลือจากนั้นเอาไปสร้างสาธารณประโยชน์ ไปเลี้ยงเพื่อนพระด้วยกัน ซ่อมแซมกุฏิวิหาร สงเคราะห์คนป่วยไข้ไม่สบาย สงเคราะห์บุคคลที่เกิดทุพภิกขภัย มีน้ำท่วม ไฟไหม้ ฤดูฝนแล้ง เป็นต้น เมื่อเขามีอันตรายเกิดขึ้น เราไปสงเคราะห์ได้ อย่างนี้เป็นความดีและก็ควรจะทำอย่างนั้น



    ทีนี้มาว่าถึงพระวินัย พระวินัยนี้ ท่านผู้ใดจะบอกว่าไม่รู้ไม่ได้ สำหรับภิกษุสามเณร ก่อนบวชต้องศึกษาพระวินัยก่อน ฉะนั้นการฟังนี้ก็เป็นการเตือน ทุกคนจะต้องอ่านวินัยให้ครบถ้วนและปฏิบัติได้ทุกสิกขาบท ถ้าบกพร่องข้อหนึ่งข้อใด นั่นก็หมายถึงว่าเราอยู่ร่วมกันไม่ได้



    ตอนนี้ก็จะอ่านตั้งแต่ต้น ที่ท่านมีไว้ในนักธรรมตรี ส่วนที่มีในนักธรรมตรีที่อ่านนี้เป็นวินัย และต่อไปก็จะอ่านอภิสมาจารให้ฟัง สำหรับอภิสมาจารก็จะนำมาเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ส่วนที่เหลือจากนั้นก็จะงดเว้นเพราะว่าจะฟังมากเกินไปเอาแต่จำเป็นก็พอ ถ้าปฏิบัติตามหลักความจำเป็นได้ ก็รู้สึกว่าดีเยอะ และเรื่องปาฏิโมกข์ก็เหมือนกัน รู้สึกว่าจะบกพร่องกันมาก บางสำนัก บางวัด รู้สึกว่า บางท่านที่มาปฏิบัติพระกรรมฐานนี้ไม่ได้รู้พระวินัยเสียเลย และระเบียบปฏิบัติก็ไม่ยอมปฏิบัติ ( การไปอยู่ที่ไหนต้องปฏิบัติตามเจ้าถิ่นเขา ) เป็นอันว่าท่านผู้นั้นสักแต่ว่าบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา รวมความว่า อาศัยพระศาสนามาหากิน เลวมาก



    สำหรับวินัยมีดังนี้คือ อนุศาสน์ ๘ อย่าง ( นิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ )



    ท่านบอกว่า ปัจจัยเป็นเครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกว่า นิสสัย มี ๔ อย่างคือ
    เที่ยวบิณฑบาต ๑ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑
    นี่เป็นกิจที่บรรดาพระสงฆ์จะต้องปฏิบัติเป็นประจำ



    ส่วนกิจที่ไม่ควรทำ ท่านเรียกว่า อกรณียกิจ มี ๔ อย่างคือ
    เสพเมถุน ๑ ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑ พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ๑
    สี่อย่างนี้บรรพชิตทำไม่ได้



    ต่อไปก็เป็นสิกขาของภิกษุ มี ๓ อย่าง
    คำว่า สิกขา แปลว่า ต้องศึกษา คือต้องปฏิบัติได้ พอเริ่มบวชเข้ามาแล้ว ต้องปฏิบัติได้ทันที
    ๑. ศีล ได้แก่ ศีลที่มาในพระปาติโมกข์ (วินัยที่มาในพระปาติโมกข์) และอภิสมาจารต้องครบถ้วน นักบวชที่ดีเขาบวชกันอย่างนี้
    ๒. สมาธิ ต้องมีสมาธิทรงตัวในด้านของอารมณ์ดี กำจัดนิวรณ์ ๕
    ๓. ปัญญา พิจารณาขันธ์ ๕ เพื่อตัดกิเลส คือตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการ




    รวมความว่าของทั้งสามประการนี้ พระทุกองค์มีอยู่แล้ว เวลาจะบวช พระพุทธเจ้าทรงบังคับว่า ต้องมีอยู่ แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยเหมือนกัน ท่านอาคันตุกะที่มาที่วัดส่วนมากก็ดี แต่ก็มีบางส่วนท่านมีสภาพไม่เป็นพระเอาเสียเลย ก็สงสัยว่า ครูบาอุปัชฌาย์อาจารย์เขาสอนกันอย่างไร เวลาที่จะบวชเขาต้องศึกษาในด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา เริ่มต้นต้องปฏิบัติตั้งแต่วันแรกที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ถ้าที่ไหนไม่มีอย่างนี้ ที่นั่นไม่มีพระ



    ท่านอธิบายว่า การสำรวมกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล การรักษาใจมั่น ชื่อว่า สมาธิ ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่า ปัญญา ท่านบอกว่า โทษที่เกิดเพราะความละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม เรียกว่า อาบัติ อาบัติทุกสิกขาบทได้โปรดทราบ ถ้าละเมิดก็ถือว่าศีลท่านขาด เมื่อศีลท่านขาดท่านจะไปไหน ท่านก็ไป นรก



    ผมพูดอย่างนี้รู้สึกว่า พระต่างวัดเกลียดผมมาก ที่ผมบอกว่าการละเมิดอาบัติ คือศีลขาดแล้วก็ไปนรก เขาคงจะสอนกันว่า การละเมิดอาบัติคือศีลขาดไปสวรรค์ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกอย่างนั้น ขอพวกท่านจงอย่าสนใจในเรื่องนินทา แสดงว่าผู้ที่พูดอย่างนั้น ที่โกรธผม ท่านไม่ได้บวชมาเป็นพระหรอก ลองไม่เคารพในวินัยแล้ว ก็จะมีอะไรเป็นพระ ญาติโยมพุทธบริษัทก็ไม่ควรจะใส่บาตรให้กิน และก็ไม่ควรจะยกมือไหว้ทำความเคารพเปรต



    สำหรับอาบัตินั้น ท่านกล่าวโดยชื่อมี ๗ อย่างคือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฎ ๑ ทุพภาสิต ๑



    ปาราชิกนั้นภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ สังฆาทิเสสนั้นต้องเข้าแล้ว ก็ต้องอยู่กรรมจึงจะพ้นได้



    อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น ต้องเข้าแล้วก็ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์ หรือคณะ หรือภิกษุรูปใด รูปหนึ่ง จึงจะพ้นได้ สำหรับการแสดงอาบัตินี้ จงอย่ามีเลย ถ้าเรามีอาบัติเพื่อแสดง แสดงว่าศีลของเรามันขาดอยู่ทุกวัน การแสดงอาบัติตามระเบียบปฏิบัติที่เขาทำกัน ก็ไม่ถูกไม่ต้อง ทั้งนี้เพราะว่ากันไม่รู้เรื่อง การแสดงอาบัตินี้เขาต้องบอกชื่ออาบัติ บอกอาการที่ทำ และก็ปฏิญาณตนว่า ผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก ผมจะไม่พูดอย่างนี้อีก ผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก นี่มันเป็นอย่างนี้นะ เป็นอันว่าที่ทำกัน ทำกันไม่ถูก สักแต่ว่าทำ แล้วศีลพระพวกนั้นไม่มีหรอก มันจะมีอะไรเมื่อไม่เคารพในวินัย



    อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมี ๖ อย่าง คือ



    ๑. ต้องด้วยไม่ละอาย คือ ใจด้าน จำให้ดีนะ โกนหัวห่มผ้าเหลือง ยังสร้างความชั่ว เรียกว่า คนไม่ละอาย
    ๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอาบัติ นี่บวชเข้ามาแล้วไม่ศึกษา ความเป็นพระมันก็ไม่มี บางท่านบวชเข้ามาแล้ว มันขาดตั้งแต่วันแรก ไม่มีความเป็นพระ เพราะไปหยิบของเขาเข้า ราคาตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป ก็พ้นจากการเป็นพระแล้ว บวชใหม่ก็ไม่เป็นพระ
    ๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ นี่ไม่ศึกษาให้ดี
    ๔. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ควร
    ๕. ต้องด้วยสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร
    ๖. ต้องด้วยลืมสติ




    ต้องจำให้ดีนะครับ จะบอกว่า พลั้งไปเผลอไป ลืมไป หรือไม่รู้ ไม่มีทาง อาบัติปรับทุกสิกขาบท เพราะ พระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ ถ้าท่านเลว ท่านจะมาห่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ทำไม



    ข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทรงยกขึ้นเป็นสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ ๑ ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ ๑ สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ คือ
    ปาราชิก ๔
    สังฆาทิเสส ๑๓
    อนิยต ๒
    นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๓๐
    ปาจิตตีย์ ๙๒
    ปาฏิเทสนียะ ๔
    เสขิยวัตร ๗๕


    รวมเป็น ๒๒๐ นับทั้ง อธิกรณสมถะ เข้าด้วย เป็น ๒๒๗ "

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    --------------------
    หมวดอาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->ทีนี้มาว่ากันถึงตัวสิกขาบท ปาราชิก นี่แปลว่า ผู้พ่าย ใครต้องเข้าแล้วต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที ถึงแม้ว่าจะไปบวชใหม่ก็ไม่ชื่อว่าเป็นพระ แล้วท่านที่ต้องปาราชิกแล้วไปร่วมอุโบสถสังฆกรรม สังฆกรรมเขาก็เสีย ไปรับกฐินสังฆกรรมในกฐินก็เสีย ลงปาติโมกข์ สังฆกรรมในปาติโมกข์ก็เสีย ลงอัพภานสังฆกรรมในอัพภานก็เสีย เข้าไปบวชพระสังฆกรรมในการบวชพระก็เสีย หากเข้าไปในอาคารสังฆกรรมในอาคารก็เสีย ข้อสำคัญนี่เข้าไปบวชพระ พระของเขาไม่เป็นพระ กลายเป็นเณรไป แล้วก็พระพวกนั้นไปกินกับพระไปนอนกับพระ โอ๋...อย่างนี้ลงนรกเป็นแถว บิดามารดาที่ลูกบวชเข้ามา ก็ชื่อว่าลงทุนซื้อนรก เพราะว่าเข้าใจว่าลูกเป็นพระ ลูกเองก็เข้าใจตัวเองว่าเป็นพระ เพราะมีอุปัชฌาย์ มีคู่สวด มีพระอันดับ แต่บังเอิญมีพระที่ต้องอาบัติปาราชิกเข้าไปนั่งสักหนึ่งองค์ หรือว่ามีพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเข้าไปนั่งหนึ่งองค์ อย่างนี้ซวย หมดดี

    นี่สำหรับ ปาราชิก ท่านบอกมี ๔ สิกขาบท คือ


    ๑. ภิกษุเสพเมถุน ต้องอาบัติปาราชิก คำว่า เสพเมถุนธรรม หมายการที่ร่วมเพศระหว่างชายกับหญิง จะเป็นทวารเบาก็ดี เป็นทวารหนักก็ดี ทวารปากก็ดี ทั้งนี้รวมถึงสัตว์เดรัจฉานด้วย เมื่อร่วมแล้ว ให้องค์อวัยวะล่วงล้ำองค์กำเนิดเข้าไปเพียงแค่เมล็ดงาเดียว ก็ต้องอาบัติปาราชิก


    ปฐมบัญญัติ เรื่องพระสุทินน์

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->ปฐมบัญญัติ คือ ต้นเหตุแห่งการที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย เนื้อเรื่องมีดังนี้

    ที่หมู่บ้านกลันทะ ใกล้ ๆ กับเมืองเวสาลี มีบุตรเศรษฐีชื่อสุทินน์ วันหนึ่งเขาเดินทางไปธุระที่เมืองเวสาลี ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางฝูงชน จึงเดินเข้าไปฟังกับพวกเขาด้วย ครั้นฟังแล้วก็เกิดความเลื่อมใสอยากออกบวชเพื่อจะได้ปฏิบัติธรรมสะดวกขึ้น เมื่อประชาชนกลับบ้านหมดแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลขอบวชในพระพุทธศาสนา แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับเข้าบวชเพราะยังมิได้ขออนุญาตต่อมารดาบิดา

    ชายหนุ่มสุทินน์ได้กลับบ้านและได้ขออนุญาตมารดาบิดาเพื่อจะบวช แต่มารดาบิดาไม่อนุญาต เพราะเขาเป็นลูกชายคนเดียว มารดาบิดารักมากไม่อยากให้จากไป เขาได้วิงวอนขออนุญาตต่อมารดาบิดาถึง ๓ ครั้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธทั้ง ๓ ครั้ง ในที่สุดหนุ่มสุทินน์จึงใช้ไม้ตายคือนอนลงไปกับพื้นพร้อมกับประกาศว่า ถ้าไม่ได้บวชก็จะยอมตายอยู่ที่นั้น ไม่ยอมลุกและไม่ยอมรับประทานอาหารเลย

    มารดาบิดาเห็นเช่นนั้นจึงวิงวอนขอให้ลูกกินอาหารเสีย แต่สุทินน์ก็ไม่ยอมท่าเดียวคงนอนอดอาหารต่อไป บรรดามิตรสหายของสุทินน์เมื่อได้ข่าว ก็พากันมาช่วยปลอบโยนและวิงวอนให้เขาเลิกอดอาหารโดยบอกว่า ให้สนุกสนานกับชีวิตให้เต็มที่ก่อนเถิดเพราะถึงไม่บวชก็ทำบุญได้เช่นเดียวกัน แต่สุทินน์ก็นิ่งเฉยตามเดิมแม้จะถูกเพื่อนรบเร้าวิงวอนถึง ๓ ครั้งก็ตาม

    เมื่อไม่สำเร็จมิตรสหายก็ไปหามารดาบิดาของสุทินน์ และแนะนำว่าควรอนุญาตให้สุทินน์บวชเสียเถอะ บวชแล้วก็ยังมีโอกาสได้เห็นหน้าเขา ถ้าเขาอยู่ในสมณเพศไม่ได้ก็คงสึกกลับมาอยู่บ้านเอง ดีกว่าจะปล่อยให้เขาตายไปเปล่า ๆ ในที่สุดมารดาบิดาก็อนุญาตให้สุทินน์ออกบวช

    เมื่อได้ทราบว่า มารดาบิดาอนุญาต สุทินน์ก็รีบลุกขึ้นด้วยความดีใจอาบน้ำ รับประทานอาหาร บำรุงกำลังเป็นเวลาประมาณ ๓ วัน จนร่างกายปกติแล้ว ก็กลับไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้รับการอุปสมบทสมความมุ่งหมาย ครั้นบวชแล้วก็ไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่หมู่บ้านชาววัชชีแห่งหนึ่ง ปฏิบัติเคร่งครัดเคร่งในธุดงค์ (ข้อปฏิบัติเข้มงวดพิเศษเพื่อช่วยเผากิเลสให้เหือดแห้งโดยเร็ว) ๔ ประการ คือ
    ๑. อยู่ป่าประจำ
    ๒. บิณฑบาตเป็นประจำ
    ๓. ครองผ้าบังสุกุลเป็นประจำ
    ๔. รับบิณฑบาตด้านเดียว (ไม่ข้ามฝั่ง) เป็นประจำ

    พระสุทินน์กลับไปเยี่ยมบ้าน

    ต่อมารัฐวัชชีเกิดทุพภิกขภัยอัตคัดอาหาร มีคนอดอาหารตายเป็นอันมาก ต้องซื้อหาอาหารกันด้วยสลาก พระสุทินน์เห็นว่าขืนอยู่ไปคงลำบากแน่จึงคิดจะเข้าไปอยู่ท่ามกลางญาติในเมืองเวสาลี เมื่อเก็บข้าวของเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทางไปยังเมืองเวสาลี และได้พักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวันนั่นเอง

    ญาติของพระสุทินน์เมื่อได้ทราบว่าพระสุทินน์มาก็ดีใจ วันรุ่งขึ้นจึงนำอาหาร ๖๐ หม้อไปถวาย พระ สุทินน์รับแล้วก็ถวายต่อให้พระภิกษุอื่น ตนเองเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านกลันทะ ก่อนจะถึงเคหาสน์ของตน ได้เห็นหญิงทาสีของญาติกำลังจะนำขนมค้างคืนไปเททิ้ง พระสุทินน์จึงขอรับเอาขนมนั้น ขณะเทขนมลงไปบาตร นางทาสีเกิดจำพระสุทินน์ได้ จึงกลับไปบอกมารดาของพระสุทินน์ มารดาดีใจมากถึงกับปล่อยนางทาสีให้เป็นไทเป็นการตอบแทน บิดาของท่านก็เดินมาพบเข้า ได้นิมนต์ไปที่เรือน แต่วันนั้นพระสุทินน์ฉันภัตตาหารแล้ว จึงนิมนต์มารับในวันรุ่งขึ้น

    บิดาชวนให้สึก

    คืนวันนั้น มารดาบิดาของพระสุทินน์ได้นำทรัพย์สมบัติมากองไว้ ๒ กอง แล้วก็ปิดไว้ด้วยเสื่อลำแพน สั่งให้ภรรยาเก่าของท่านแต่งตัวให้สวยงามที่สุด เมื่อพระสุทินน์มาถึงในตอนเช้าก็เปิดกองทรัพย์สมบัติสูงท่วมหัวคนให้ดู พลางกล่าวเชื้อเชิญให้พระสุทินน์สึกออกมาใช้ทรัพย์ให้สุขสำราญ แต่พระสุทินน์ปฏิเสธ บอกว่ายังยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ บิดากล่าวเชิญถึง ๓ ครั้ง แต่พระสุทินน์ก็ปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง นอกจากนี้ยังแนะนำให้บิดาเอาทรัพย์เหล่านั้นใส่กระสอบป่านไปทิ้งแม่น้ำคงคาเสียด้วย เพื่อกำจัดปัญหาทั้งหลายที่จะเกิดจากทรัพย์นั้น

    ต่อจากนั้น มารดาบิดาได้ให้ภรรยาเก่าของท่านมาชวนสึก แต่ก็เป็นลมสลบไปเพราะถูกพระสุทินน์เรียกด้วยคำสำหรับคนแปลกหน้าว่า "น้องสาว" มารดาได้เข้ามาชักชวนให้สึกอีก ๓ ครั้ง แต่พระสุทินน์ก็ปฏิเสธทั้ง ๓ ครั้ง เมื่อเห็นว่าไม่มีทางสำเร็จ มารดาจึงขอร้องเป็นครั้งสุดท้ายว่า ถ้าไม่มีทายาทรับมรดก ทรัพย์สมบัติก็จะตกเป็นของหลวงหมด ขอให้พระสุทินน์ฝากเชื้อสายไว้สักคน พระสุทินน์จึงรับปากว่าจะช่วยเหลือ

    พระสุทินเสพเมถุน (ร่วมสังวาส)

    เมื่อภรรยาเก่าของพระสุทินน์เริ่มมีประจำเดือน มารดาจึงสั่งให้นางแต่งตัวอย่างสวยงาม แล้วก็พาไปพบพระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน พอไปถึงก็วิงวอนขอให้สึกอีก ๓ ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดจึงขอผู้สืบสกุลจากพระสุทินน์ พระสุทินน์ได้จูงแขนภรรยาเก่าเข้าในป่าแล้วก็สมสู่กับนางถึง ๓ ครั้ง โดยไม่รู้สึกว่าตนผิดแต่อย่างใด เพราะตอนนั้นยังไม่มีการบัญญัติพระวินัย

    เทวดาทั้งหลายเมื่อเห็นเช่นนั้นก็ประกาศต่อๆ กันไป ตั้งแต่เทวดาประจำแผ่นดิน (ภุมมเทวดา) ไปจนถึงพรหมโลกว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย พระสงฆ์ไม่มีตำหนิ ไม่มีมลทิน บัดนี้พระสุทินน์กลันทบุตรได้สร้างตำหนิ สร้างมลทินแก่พระสงฆ์แล้ว

    ต่อมาเมื่อครรภ์แก่ ภรรยาของพระสุทินน์ก็คลอดบุตรออกมาเป็นชาย เพื่อน ๆ ตั้งชื่อให้ว่า พีชกะ (แปลว่า เจ้าเมล็ดพันธุ์) มารดาของเขาได้ชื่อว่า พีชกมาตา พระสุทินน์เองได้ชื่อว่า พีชกปิตา ต่อมาภายหลัง ทั้งแม่และลูกได้ออกบวชและบรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๒ คน

    พระสุทินสำนึกผิด

    ต่อมาพระสุทินน์เกิดความสำนึกผิด เดือดร้อนเสียใจว่า ตนบวชในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ได้ ความเสียใจทำให้พระสุทินน์มีหน้าตาหม่นหมอง ผิวพรรณคล้ำ มีร่างกายซูบผอม ฝ่ายพระภิกษุผู้เป็นสหาย เมื่อเห็นความผิดปกติของพระสุทินน์ก็เข้าไปถามว่าเป็นอะไรไป หมดความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์แล้วหรืออย่างไร พระสุทินน์จึงเปิดเผยความจริง ให้เพื่อนภิกษุฟังว่า ตนได้เสพเมถุนกับภรรยาเก่า จึงเสียอกเสียใจมาก

    เมื่อได้ทราบเช่นนั้น บรรดาพระภิกษุผู้สหายก็ได้กล่าวตำหนิติเตียนพระสุทินน์ต่างๆ นาๆ แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

    ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมสงฆ์ และสอบถามพระสุทินน์จนได้ความแล้วจึงทรงตำหนิว่า การกระทำของพระสุทินน์ไม่เหมาะสมกับสมณเพศ เป็นไปเพื่อเพิ่มพูนความกำหนัด ความยึดมั่น ความยินดีพอใจ ความมัวเมา ความกระหาย ความอาลัย ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่า การสอดอวัยวะเข้าไปในปากอสรพิษร้าย ยังดีเสียกว่าสอดเข้าไปในอวัยวะของสตรี เพราะถ้าสอดเข้าไปในปากอสรพิษร้าย อย่างมากก็แค่ตายเท่านั้น แต่ถ้าสอดเข้าไปในอวัยวะของสตรี ตายไปแล้วยังจะต้องไปเสวยทุกข์ในอบายทุคติ วินิบาต นรก อีกด้วย

    พระพุทธองค์ตรัสว่า จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์ด้วยอาศัยประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

    ๑. เพื่อความดีเลิศแห่งพระสงฆ์
    ๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
    ๓. เพื่อข่มภิกษุผู้หน้าด้าน
    ๔. เพื่อความอยู่สบายของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
    ๕. เพื่อป้องกันอาสวะที่บังเกิดในปัจจุบัน
    ๖. เพื่อกำจัดอาสวะที่จะบังเกิดในอนาคต
    ๗. เพื่อความเลื่อมใสของผู้ยังไม่เลื่อมใส
    ๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้เลื่อมใสอยู่แล้ว
    ๙. เพื่อความตั้งมั่นถาวรแห่งพระสัทธรรม
    ๑๐. เพื่ออนุเคราะห์ระเบียบวินัย


    ต่อจากนั้นได้ทรงบัญญัติ สิกขาบทที่ ๑ แห่งอาบัติปาราชิก มีใจความว่า

    "ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก (ผู้พ่ายแพ้ ขาดจากความเป็นภิกษุ) หมดสิทธิอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งปวง"

    ---------
    พระอนุบัญญัติ ๑

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" --> มีพระภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่ามหาวัน บิณฑบาตได้อาหารมาแล้วก็แบ่งให้ลิงตัวเมียกินส่วนหนึ่ง แล้วก็เสพเมถุนธรรมกับลิงตัวเมียนั้นเสมอ ๆ

    เช้าวันหนึ่งพระภิกษุหลายรูปเดินทางมาที่อยู่ของพระภิกษุนั้น พอลิงตัวเมียเห็นก็ออกมายกสะเอว โก่งหาง แอ่นตะโพกให้ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความสงสัยจึงแอบไปซ่อนตัวอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุเจ้าถิ่นกลับจากบิณฑบาตก็แบ่งอาหารให้ลิงแล้วก็เสพเมถุนกับลิงตัวเมียนั้น

    พระภิกษุเหล่านั้นแสดงตัวออกมาตำหนิพระภิกษุนั้นต่าง ๆ นา ๆ แล้วกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงประชุมสงฆ์ ทรงตำหนิภิกษุรูปนั้นแล้ว ทรงบัญญัติอนุบัญญัติข้อที่ ๑ ของปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่า

    "อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุน แม้ในสัตว์เดียรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิก หมดสิทธิอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งปวง"


    ---------
    พระอนุบัญญัติ ๒

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->เรื่อง ภิกษุวัชชีบุตร

    มีความว่า ในสมัยนั้น มีภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีหลายรูป เอาแต่ฉัน เอาแต่นอน ไม่ปฏิบัติธรรม กิเลสพอกพูน ต่อมาได้เสพเมถุนโดยยังมิได้บอกลาสิกขาแล้ว ขาดจากความเป็นภิกษุออกไปเป็นคฤหัสถ์ แต่ก็ประสบความล้มเหลวในชีวิตฆราวาส จึงเข้าไปหาพระอานนท์ รับสารภาพผิดวิงวอนให้พระอานนท์ เข้ากราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อขอบวชเป็นพระภิกษุอีกครั้งหนึ่ง โดยสัญญาว่าบวชแล้วจะตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง พระอานนท์ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และทูลความตั้งใจของพวกวัชชีบุตรให้ทรงทราบ แต่ผลปรากฏว่าไม่ทรงอนุญาต และยังทรงบัญญัติอนุบัญญัติข้อที่ ๒ ว่า

    "ผู้ใดเป็นภิกษุ ไม่บอกลาสิกขา ไม่แสดงความเบื่อหน่ายชีวิตพระให้ปรากฏ เสพเมถุนธรรมแล้ว สงฆ์ไม่ควรอุปสมบทให้อีก แต่ถ้าบอกลาสิกขาบทก่อนเสพเมถุนธรรม และได้แสดงความเบื่อหน่ายชีวิตพระให้ปรากฏ อนุญาตให้อุปสมบทใหม่ได้"



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.jpg
      0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.4 KB
      เปิดดู:
      1,229
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ลักษณะที่ยังไม่เป็นการลาสิกขา

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" --> ภิกษุประกาศความอ่อนแอท้อถอยในชีวิตสมณะให้คนอื่นรู้แล้ว ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการลาสิกขา เพราะเพียงแต่รำพึงหรือปรากฏให้คนอื่นรู้ว่า ตนคิดอยากจะบอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา วินัย ปาติโมกข์ อุเทศ พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ พระสัทธิวิหาริก พระอันเตวาสิก พระผู้ร่วมอุปัชฌาย์ พระผู้ร่วมอาจารย์ และพระเพื่อนพรหมจารี

    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุประกาศความท้อถอยให้ผู้อื่นทราบแล้ว แล้วปรารภว่าอยากเป็นนั้นเป็นนี้ เช่น อยากเป็นคฤหัสถ์ เป็นอุบาสก เป็นอารามิก เป็นสามเณร เป็นเดียรถีย์ เป็นสาวกเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่ใช่สมณะ เป็นผู้มิใช่สมณศากยบุตร ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการลาสิกขา

    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุประกาศความท้อถอยให้ผู้อื่นทราบแล้ว เพียงแต่พูดแบบมีเงื่อนไขให้ผู้อื่นทราบว่า ถ้าข้าพเจ้าบอกลาพระพุทธเจ้า จะเป็นอย่างไร หรือถ้าข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์จะเป็นอย่างไร หรือข้าพเจ้ามีความดำริว่า อยากจะบอกลาพระพุทธเจ้า ก็ไม่ถือเป็นการบอกลาสิกขา

    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุประกาศความท้อถอยให้ผู้อื่นทราบแล้ว ปรารภเหตุผลที่เป็นเหตุให้ตนลาสิกขาให้ผู้อื่นทราบ เช่นว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว บุตร ธิดา ภริยา หมู่ญาติ หมู่มิตร บ้าน นิคม นา สวน เงิน ทอง ศิลปะ และความสนุกสนานในครั้งก่อน เพียงเท่านี้ก็ยังไม่เป็นการลาสิกขา

    อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเพียงแต่อ้างว่าตนต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูบุคคลผู้ใกล้ชิด ๙ ประเภท มีมารดาบิดา เป็นต้น ก็ยังไม่เป็นการบอกลาสิกขา <!-- #EndEditable -->

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    ลักษณะที่เป็นการลาสิกขา

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า ภิกษุที่ประกาศความท้อถอยให้ผู้อื่นทราบแล้ว กล่าวให้ผู้อื่นทราบ ด้วยถ้อยคำอันเป็นปัจจุบันกาลว่า ข้าพเจ้ายอมบอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา วินัย หรือประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์ เป็นอุบาสก เป็นอารามิก เป็นสามเณร หรือประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า กับพระธรรม กับพระสงฆ์ กับสิกขา กับวินัย ฯลฯ อีกต่อไป หรือประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรม ด้วยพระสงฆ์ ฯลฯ หรือประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่มีกิจจำเป็นกับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ฯลฯ อีกต่อไปแล้ว หรือประกาศว่า ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ฯลฯ อย่างนี้ถือว่าเป็นการบอกลาสิกขา

    แม้ภิกษุจะมิได้ใช้คำว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา วินัย พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ ฯลฯ โดยตรง แต่ใช้คำแทน (ไวพจน์) ที่คนฟังรู้เรื่องเข้าใจดีก็เป็นอันใช้ได้เหมือนกัน

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    เงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้การลาสิกขาใช้ไม่ได้

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า การลาสิกขาถือว่ายังใช้ไม่ได้หากกระทำภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ
    ภิกษุผู้บอกลาสิกขา วิกลจริต
    ภิกษุผู้รับการบอกลาสิกขา วิกลจริต
    ภิกษุผู้บอกลาสิกขา มีจิตฟุ้งซ่าน
    ภิกษุผู้รับการบอกลาสิกขา มีจิตฟุ้งซ่าน
    ภิกษุผู้บอกลาสิกขา มีจิตกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
    ภิกษุผู้รับการบอกลาสิกขา มีจิตกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
    ภิกษุบอกลาสิกขาต่อหน้าเทวดา สัตว์เดียรัจฉาน ต่อหน้าคนต่างภาษา ด้วยภาษาที่เขาไม่รู้เรื่อง
    ภิกษุบอกลาสิกขาแบบพูดเล่น ๆ แบบผิด ๆ พลาด ๆ แบบไม่ตั้งใจจริง หรือตั้งใจจริงแต่ไม่พูดให้เขาได้ยิน
    ภิกษุบอกลาสิกขากับผู้ไม่เข้าใจความหมาย หรือไม่ประกาศโดยประการใด ๆ

    ย่อมไม่ถือว่าเป็นการลาสิกขา

    อธิบายความหมายของศัพท์

    คำว่า เมถุนธรรม หมายถึง ธรรมที่คนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน
    คำว่า เสพ หมายถึง การสอดอวัยวะเพศเข้าไปแม้เพียงชั่วเมล็ดงา
    คำว่า แม้ในเดียรัจฉานตัวเมีย หมายความว่า แม้เสพกับสัตว์ตัวเมียก็ต้องอาบัติปาราชิก
    คำว่า ปาราชิก หมายความว่า เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นภิกษุอีกต่อไป
    คำว่า หาสังวาสมิได้ หมายความว่า จะอยู่ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับภิกษุผู้บริสุทธิ์มิได้

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    เรื่องที่ทรงวินิจฉัย</PRE><!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเป็นต้นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติปาราชิกข้อที่ ๑ ในรูปแบบต่างๆ นั้นมีจำนวน ๓๘ เรื่อง ยกมาเฉพาะที่เห็นควรดังนี้

    ๑. ภิกษุรูปหนึ่งเดือดร้อน เพราะก้มลงอมอวัยวะเพศของตนด้วยความใคร่ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก
    ๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีอวัยวะเพศพิการ ไม่มีความรู้สึกสัมผัสใดๆ และได้เสพเมถุน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเข้าตรัสว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก
    ๓. ภิกษุชื่อสุนทระเดินไปตามถนน มีสตรีนางหนึ่งนิมนต์ให้หยุดบอกว่าอยากไหว้ ขณะที่ไหว้ก็เลิกสบงขึ้นแล้วอมอวัยวะเพศของภิกษุ แต่พระสุนทระไม่มีความยินดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอไม่ต้องอาบัติ
    ๔. ภิกษุรูปหนึ่งคิดจะเสพเมถุนธรรมกับหญิงคนหนึ่ง แต่พอจับต้องตัวเข้าก็ยั้งคิดได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้วตรัสว่า เธอต้องอาบัติทุกกฎ
    ๕. ภิกษุผู้อรหันต์รูปหนึ่ง เปิดประตูที่พักทิ้งไว้แล้วนอนหลับพักผ่อน อวัยวะเพศของเธอแข็งตัวเพราะถูก ลมรำเพยพัด พอดีมีสตรีหลายคนเดินไปพบเข้า จึงนั่งคร่อมกระทำชำเรา พอแก่ความต้องการแล้วก็กลับไป ภิกษุนั้น เห็นองค์กำเนิดเปรอะเปื้อนจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแสดงเหตุให้อวัยวะเพศแข็งตัว ๕ ประการ คือ มีความกำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพยพัด และถูกบุ้งขน และตรัสว่า เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเป็นพระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้ภิกษุที่จะพักผ่อนกลางวันปิดประตูเสียก่อน
    ๖. ภิกษุชาวเมืองการุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมกับภรรยาเก่า คิดว่าตนต้องอาบัติปาราชิกเสียแล้ว กำลังจะเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อจะสึก ในระหว่างทางได้พบพระอุบาลี จึงได้รับการบอกเล่าว่า ไม่มีการต้องอาบัติเพราะความฝัน
    ๗. พวกวัยรุ่นชาวเมืองเวสาลี จับภิกษุบังคับให้เสพเมถุนธรรมกับหญิงแพศยา ถ้าเธอยินดี พึงขับไล่ภิกษุให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
    ๘. ภิกษุอวัยวะเพศยาว มีภิกษุรูปหนึ่งเกิดความใคร่ขึ้นมา จึงเอาอวัยวะเพศของตน สอดเข้าไปในทวารหนักของตนเอง แล้วเกิดความเดือดร้อน จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เธอต้องอาบัติปาราชิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2009
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒*

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ ในราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ของที่เขาไม่ให้ ไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นอาการแห่งขโมย จงอย่าใช้คำว่า วิสาสะ พระเราจะเลวแบบนั้นไม่ได้ ในเมื่อยังไม่ได้รับอนุญาต จะใช้คำว่า วิสาสะ เจ้าของจะยินดีนั้นไม่ได้ ผมไม่ให้อภัยในข้อนี้ เขามักจะสอนกันว่า ถ้ารู้จักกันละก็ ถือวิสาสะในฐานะที่ชอบพอกันอันนี้ไม่ใช้ เลวมาก เป็นอันว่า เจ้าของเขาไม่ให้จะเป็นของส่วนบุคคลก็ตาม เป็นของส่วนกลางก็ตาม ถ้าของส่วนกลางต้องรับอนุญาตจากผู้มีอำนาจบังคับบัญชาควบคุมก่อน ถ้าขืนไปทำเข้า ต้องอาบัติตามนี้

    *
    ๑ มาสก เท่ากับ ๑ สลึง แต่ผมว่าอย่าว่าแต่ ๑ สลึงเลย ครึ่งสตางค์ ถ้าว่าท่านมีเจตนาไปขโมย ศีล ๕ มันไม่มีแล้ว แล้วศีล ๒๒๗ จะมีได้ยังไง


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    ปฐมบัญญัติ

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->เรื่อง พระธนิยะ บุตรช่างหม้อ<SUP>*</SUP>

    สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ เขตนครราชคฤห์ พระธนิยะ บุตรชายช่างหม้อ พร้อมด้วยเพื่อนภิกษุหลายรูปได้สร้างกุฏิมุงบังด้วยหญ้าอยู่จำพรรษาที่เชิงเขาอิสิคิริ พอออกพรรษาเพื่อนภิกษุรื้อกุฏิ เก็บหญ้าและตัวไม้ไว้แล้วเที่ยวจาริกไป แต่พระธนิยะยังอยู่ที่เดิม วันหนึ่งขณะที่พระธนิยะเข้าไปบิณฑบาต คนหาบหญ้าและคนหาฟืนได้รื้อกุฏิของท่านไป พระธนิยะได้ไปหาไม้และหญ้ามาสร้างใหม่ แต่ก็ถูกเขารื้อเอาไปถึง ๓ ครั้ง

    เพื่อแก้ปัญหานี้ พระธนิยะได้อาศัยความรู้ช่างปั้นหม้อเดิมมาสร้างกุฏิด้วยดินเหนียวล้วน แล้วนำหญ้า และมูลโคมาเผากุฏิดินเหนียวจนสุกปลั่งเป็นสีแดงงาม วันหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จมา ทอดพระเนตรเห็นเข้า จึงทรงตำหนิพระธนิยะว่า ได้ทำลายสัตว์ไปมากมายเพราะการสร้างกุฏินั้น ทรงบัญญัติห้ามมิให้ภิกษุสร้างกุฏิด้วยดินล้วน ภิกษุใดขืนทำต้องอาบัติทุกกฎ แล้วรับสั่งให้ภิกษุทำลายกุฏิดินล้วนนั้นเสีย

    สำหรับปฐมบัญญัติ<SUP>*</SUP> ต่อมาท่านกล่าวถึง พระธนิยะ เมื่อพระธนิยะถูกพระพุทธเจ้าให้รื้อกุฏิดินแล้ว คือทำลายกุฏิดินแล้ว ท่านไม่ยอมหยุดเพียงแค่เท่านั้น (ดู...สันดานคนไม่ดี แต่ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ไปแล้วหรือยังก็ไม่รู้นะ เราว่ากันตอนนั้นนี่นะ) จึงเข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง ของพระเจ้าพิมพิสาร เล่าความให้ฟังถึงว่า คนที่รื้อกุฏิหญ้า และขโมยหญ้า ขโมยไม้ไป ๓ ครั้ง ท่านจึงคิดทำกุฏิดินเผา ก็ถูกสั่งให้รื้อทำลาย จึงมาขอไม้จากคนเฝ้าโรงเก็บไม้ของหลวง คนเฝ้าก็ปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ที่จะให้ มีแต่ไม้ที่เป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมแซมพระนคร เก็บไว้ในคราวที่มีอันตราย ถ้าพระราชาพระราชทานก็นำเอาไปได้ พระธนิยะก็ตอบว่า พระราชาพระราชทานแล้ว (นี่..เอาเข้าแล้วนะ) คนเฝ้าโรงไม้ก็เชื่อว่า พระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไม้ไป ท่านธนิยะก็นำไม้ไปตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ใส่เกวียนขนไปทำกุฏิ

    (การที่พระไปซื้อไม้เถื่อนก็ดี ตัดต้นไม้มาทำวัดก็ดี ต้องอาบัติปาราชิก ตัดต้นไม้เพียงแค่ไม้ขาด ภาษีตอไม้มันเกินกว่า ๑ บาท มันเป็นปาราชิกแต่ที่นั้นแล้ว ถ้าพวกท่านมาบวชเป็นพระก็ให้มันเป็นพระอย่าเป็นขโมยเลยนะ)

    ต่อมาท่านบอกว่า เมื่อวัสสการพราหมณ์ คือพราหมณ์ในเมืองนั้นเป็นอำมาตย์ใหญ่ มาตรวจพบว่า ไม้หายไปจึงได้ไต่สวนแล้วนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารมีรับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงเก็บไม้เข้าไปเฝ้า เขาถูกมัดนำตัวไป ท่านพระธนิยะเห็นคนเฝ้าไม้ถูกมัดนำตัวไป จึงสอบถามได้ความแล้ว ก็ตามไปด้วย พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนิยะแล้วก็ตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือที่ว่าพระองค์ถวายไม้นั้นแก่ท่าน ท่านพระธนิยะก็ตอบว่า เป็นความจริง อาตมาบอกเขาอย่างนั้นจริงๆ พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ตรัสว่า พระองค์เป็นพระราชามีกิจธุระมาก ถวายไปแล้วอาจจะนึกไม่ออกก็ได้ หากว่าท่านพระธนิยะนึกออกก็ขอให้ชี้แจงว่า อนุญาตให้ไปเมื่อไร

    ท่านพระธนิยะก็กราบทูลว่า พระองค์ทรงระลึกได้ไหม ที่ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า, ไม้ และน้ำ อันข้าพเจ้าขอถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสตอบว่า ทรงระลึกได้ (ผมนึกได้ครับ) แต่ว่าที่พูดอย่างนั้น ทรงหมายถึงว่า สำหรับสมณชีพราหมณ์ผู้มีความละอาย หรือผู้มีความรังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา (คือรังเกียจความชั่ว) ผู้มีความรังเกียจความชั่วแม้ในความชั่วเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า ที่อยู่ในป่า ท่านถือเอาไม้ที่ไม่ได้ให้ด้วยเลศนี้

    คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า (หมายความว่าทำแบบนี้ ถ้าเป็นชาวบ้านเขาฆ่านะ) แต่ว่าผมจะพึงฆ่า หรือว่าจองจำ หรือว่าเนรเทศสมณะหรือพราหมณ์ได้อย่างไร แสดงว่า ถ้าเป็นชาวบ้านเขาต้องฆ่า หรือจองจำ หรือเนรเทศ แต่นี่ท่านเป็นพระ ผมจะทำได้อย่างไร ขอนิมนต์ท่านกลับไปเถิด ท่านพ้นคดี (คือพ้นโทษ) เพราะเพศบรรพชิต ต่อไปก็จงอย่าทำอย่างนี้อีก (เขาด่าแหลกเลยนะ จำไว้ให้ดีนะว่า คนที่ขโมยเขา หรือหลอกลวงเขา มันเป็นอย่างนี้)

    ต่อไปท่านบอกว่า มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนด้วยประการต่างๆ ความทราบถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงเรียกประชุมสงฆ์ไต่สวน เมื่อพระธนิยะรับเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตย์เป็นผู้พิพากษา ซึ่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ด้วยกำหนดทรัพย์เท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า แค่ ๑ บาท พระเจ้าข้า ลักทรัพย์ไป ๑ บาท หรือมีราคาเท่ากับ ๑ บาท (คือ เอาทรัพย์ไป ๑ บาท หรือมีราคาเท่ากับ ๑ บาท ซึ่งเป็นของ) หรือเกินกว่า ๑ บาท ถูกประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ครั้งนั้นในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่ง เท่ากับ ๕ มาสก (เขาเรียก มาสก ๕ มาสกถูกฆ่า)

    จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ ผู้ใดทำเช่นนั้นได้ราคาที่พระราชาจับโจรได้ประหารชีวิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชิก

    (อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของเขามิได้ให้ในลักษณะแห่งขโมย มีค่าเท่ากับทรัพย์ที่โจรทั้งหลายถือเอาแล้ว จะพึงถูกพระราชาทั้งหลายจับประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง พร้อมทั้งด่าว่า เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นขโมย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก ไม่มีสิทธิอยู่ร่วมภิกษุทั้งหลาย)


    อนุบัญญัติ

    หมายความว่า พระเรานี่ราคา ๙๙ สตางค์ ชั่วนะ ชั่วได้แค่ ๙๙ สตางค์ พอถึงบาทตายเลย อย่าลืมนะ เอ้า..ว่ากันต่อไป ตอนนี้มาว่าสำหรับอนุบัญญัติ คือบัญญัติเพิ่มเติม พระสมัยนั้นก็ไม่ใช่เล่น กระจุกกระจิกไม่ใช่เล่น ทำผิดแต่นี้แล้ว คนนั้นก็ทำอย่างโน้นต่อไป ก็ดีเหมือนกัน พวกเราจะได้เป็นคนดี ถ้าหากว่าท่านไม่ทำ ดีไม่ดีเราเลวกว่านี้อีก เวลานี้พวกเราก็เลวกันมากแล้ว ผมด้วยนะไม่ใช่เฉพาะท่าน เลวกันมากแล้ว หากว่าท่านไม่มีบทบัญญัติ เราจะเลวมากกว่านี้ เพราะการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเจตนาก็ได้

    ท่านกล่าวว่า ในสมัยนั้นภิกษุฉัพพัคคีย์ (เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ฉัพพัคคีย์ แปลว่า มี ๖ คนนะ ฉัพพัค แปลว่า ๖) คือเป็นพระ ๖ องค์ด้วยกันไปในลานที่เขาตากผ้า (เอาละซิ อันนั้นลักของในบ้าน นี่จวกเข้าในลานอีกแล้ว) ไปที่ลานตากผ้าของคนที่เขาย้อมผ้า ขโมยห่อผ้าของช่างย้อมผ้ามาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุทั้งหลาย เธอก็แก้ตัวว่านี่เธอไปลักในป่า ไอ้ลานนี่เขาทำในป่า ไม่ได้ลักในบ้านนี่ สิกขาบทที่บัญญัติมุ่งหมายถึงลักในบ้านต่างหากล่ะ เวลานั้นไม้พระเจ้าพิมพิสารอยู่ในเมืองนี่ ฉันเอาในป่า จะมีความผิดหรือ แต่ความจริงแล้วสิกขาบทไม่ได้ระบุสถานที่ แต่แกก็โมเมเอาเอง แต่เพื่อจะปิดมิให้มีข้อโต้เถียงต่อไป คือเพื่อไม่ต้องการให้มีการโต้เถียงต่อไป องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า

    "ลักของจากบ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม ต้องเป็นอาบัติปาราชิกเหมือนกันหมด"

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    คำอธิบายในสิกขาบท

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" --><SUP>*</SUP>นอกจากนั้นก็เป็นคำอธิบายในสิกขาบทโดยละเอียด พร้อมทั้งเติมถ้อยคำที่กันข้อแก้ตัว เช่น ทรัพย์อยู่ในดิน บนดิน อยู่ในอากาศ ในที่โล่งแจ้ง ในน้ำ เรือ และอยู่ในเรือ ยาน และทรัพย์ในยาน เป็นต้น


    ทรัพย์ในดิน

    ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน

    ภิกษุคิดจะลักทรัพย์ในแผ่นดิน
    เพียงแต่เริ่มเที่ยวหาเพื่อน หาจอบหรือตะกร้า เดินไป ตัดไม้หรือเถาวัลย์ในบริเวณนั้น ขุด คุ้ย โกยดินขึ้น จับต้องหม้อต้องอาบัติทุกฏ
    ทำหม้อให้ไหวต้องอาบัติถุลลัยจัย
    ทำหม้อให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุคิดจะลักทรัพย์
    หย่อนภาชนะลงไปถูกต้องทรัพย์ต้องอาบัติทุกกฎ
    ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ทำให้ทรัพย์มาอยู่ในภาชนะของตนต้องอาบัติปาราชิก


    ทรัพย์บนพื้นดิน

    ทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นดิน หมายถึง ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น
    ภิกษุมีจิตคิดจะลัก
    เที่ยวหาเพื่อน เดินไปลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฎ
    ทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย
    ทำให้เคลื่อนจากฐานต้องอาบัติปาราชิก


    ทรัพย์ในอากาศ

    ทรัพย์อยู่ในอากาศ หมายถึง ทรัพย์ที่ไปในอากาศ เช่น นกชนิดต่างๆ หรือทรัพย์ที่หลุดตกลงมาจากข้างบน
    ภิกษุมีจิตคิดจะลัก
    ขณะเที่ยวแสวงหาเพื่อนร่วมงาน เดินไปหยุดอยู่ลูบคลำต้องอาบัติทุกกฎ
    ทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย
    ทำให้เคลื่อนจากที่ตั้งเดิมต้องอาบัติปาราชิก


    ทรัพย์ในที่โล่งแจ้ง

    ทรัพย์ในที่โล่งแจ้ง หมายถึง ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น คล้องไว้กับเตียงหรือตั่ง ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเดียง เดือยที่ฝาผนัง เป็นต้น

    ภิกษุต้องอาบัติทุกกฎ ถุลลัจจัยและปาราชิก ตามขั้นตอนต่างๆ แบบเดียวกับลักทรัพย์ในอากาศ
    ทรัพย์ในน้ำ

    ทรัพย์ในน้ำ หมายถึง ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
    ภิกษุมีจิตคิดจะลัก
    ต้องอาบัติทุกกฎตอนเที่ยวหาเพื่อน เดินไปดำลงโผล่ขึ้น ลูบคลำ
    ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อทำให้ไหว
    ต้องปาราชิกเมื่อทรัพย์เคลื่อนจากฐาน

    แม้พืชเกิดในน้ำ เช่น บัวชนิดต่างๆ และสัตว์น้ำต่างๆ ก็ต้องอาบัติทั้ง ๓ โดยนัยเดียวกัน

    เรือและทรัพย์ในเรือ

    เรือ หมายถึง พาหนะข้ามน้ำทุกชนิด ทรัพย์ในเรือ คือ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ
    ภิกษุมีจิตคิดจะลักของในเรือ ต้องอาบัติทั้ง ๓ ตามขั้นตอนต่างๆ แบบเดียวกับลักทรัพย์บนดิน
    ภิกษุมีจิตคิดจะลักเรือ
    ต้องอาบัติทุกกฎ เมื่อแสวงหาเพื่อน เดินไปลูบคลำ แก้เครื่องผูก
    ต้องอาบัติถุลลัจจัยเมื่อทำให้เคลื่อนไหว
    ต้องอาบัติปาราชิกเมื่อทำให้ลอยไปในทิศทางใดก็ตามแม้ชั่วเส้นผม

    ยานและทรัพย์ในยาน

    ยาน หมายถึง พาหนะทุกอย่างที่ไปบนบก รวมทั้งคานหามและเตียงหาม ทรัพย์ในยาน หมายถึง ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน
    ภิกษุมีจิตคิดจะลักยานและทรัพย์ในยาน ต้องอาบัติทั้ง ๓ ตามขั้นตอนต่างๆ แบบเดียวกับลักทรัพย์บนบก

    ทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนนำไป

    ทรัพย์ที่ตนนำไป หมายถึง ทรัพย์ที่ตนขนไปบนศีรษะ บนบ่า บนสะเอว หรือที่หิ้วไปด้วยมือ
    ภิกษุมีจิตคิดจะลัก
    ต้องอาบัติทุกกฏเมื่อจับต้องทรัพย์นั้น ๆ
    ต้องอาบัติถุลลัจจัยเมื่อทำให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนไหว
    ต้องอาบัติปาราชิกเมื่อทรัพย์บนศีรษะลดลงสู่ไหล่ ทรัพย์บนไหล่ลดลงสู่สะเอว ลดจากสะเอวลงสู่มือ วางทรัพย์จากมือลงสู่พื้น หรือหิ้วเอาจากพื้น

    สวนและทรัพย์ในสวน

    สวน หมายถึง สวนไม้ดอกและสวนไม้ผล ทรัพย์ในสวน หมายถึง ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฝังไว้ในดินบ้าง ลอยอยู่ในอากาศหรือแขวนไว้ในที่แจ้ง
    ภิกษุมีจิตคิดจะลักทรัพย์ในสวน ต้องอาบัติทั้งสาม ตามขั้นตอนที่กล่าวแล้วในการลักทรัพย์บนดิน
    ภิกษุมีจิตคิดลักทรัพย์ในสวน
    เพียงแต่จับต้องราก เปลือก ใบ ดอก หรือผลไม้ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนจากที่ต้องปาราชิก
    ภิกษุขู่เอาที่สวนต้องอาบัติทุกกฏ เจ้าของเกิดสงสัยในกรรมสิทธิ์ต้องถุลลัจจัย เจ้าของสละสิทธิ์ต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุฟ้องร้องเรียกกรรมสิทธิ์ในของของคนอื่น ถ้าเจ้าของแพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ถ้าตนเองแพ้ต้องถุลลัจจัย

    ทรัพย์ในวัด

    ทรัพย์ในวัด หมายถึง ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัดโดยการฝังดิน ตั้งบนพื้น ลอยอยู่ในอากาศ หรือแขวนไว้ในที่แจ้ง
    ภิกษุมีจิตคิดจะลักทรัพย์ในวัดก็ดี ขู่เอาที่วัดก็ดี ฟ้องร้องเรียกกรรมสิทธิ์ในที่วัดก็ดี
    ต้องอาบัติทั้งสาม ตามขั้นตอนแบบเดียวกับสวน และทรัพย์ในสวน


    ด่านภาษี

    ด่านภาษี ได้แก่ ที่ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้ตามที่ต่าง ๆ เพื่อการเก็บภาษีแก่ผู้ผ่านเข้าผ่านออก
    ภิกษุมีจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ควรเสียภาษีซึ่งมีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป

    ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อจับทรัพย์นั้น
    ทำทรัพย์นั้นให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย ก้าวล่วงด่านภาษีไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ก้าวล่วงไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาราชิก

    ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกไปนอกด่านภาษีต้องปาราชิก หลบหลีกด่านภาษีต้องอาบัติทุกกฏ

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2009
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    องค์ประกอบแห่งการลักทรัพย์ที่เป็นอาบัติ

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->องค์ประกอบ ๕ อย่าง

    ภิกษุถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ย่อมต้องอาบัติปาราชิก เมื่อครบองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ

    ๑. ทรัพย์นั้นผู้อื่นหวงแหน
    ๒. รู้ดีว่าผู้อื่นหวงแหน
    ๓. ทรัพย์มีค่าตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
    ๔. มีจิตคิดจะลัก
    ๕. ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากฐาน
    ถ้าทรัพย์นั้นมีค่าเกิน ๑ มาสก แต่ไม่ถึง ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่
    ถ้าทรัพย์นั้นมีค่าตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา ต้องอาบัติทุกกฏเมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่


    องค์ประกอบ ๖ อย่าง

    ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ย่อมต้องอาบัติปาราชิก เมื่อครบองค์ประกอบ ๖ อย่างคือ

    ๑. รู้อยู่ว่ามิใช่ทรัพย์ของตน
    ๒. มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ
    ๓. มิใช่ขอยืม
    ๔. ทรัพย์นั้นมีค่าตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
    ๕. มีจิตคิดจะลัก
    ๖. ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากฐาน

    ถ้าทรัพย์นั้นมีค่าต่ำกว่า ๕ มาสก แต่เกิน ๓ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่
    ถ้าทรัพย์นั้นมีค่าตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่

    องค์ประกอบ ๕ อย่าง

    ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ ย่อมต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อครบองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ

    ๑. ทรัพย์นั้นเจ้าของไม่หวงแหน
    ๒. เข้าใจว่าเป็นทรัพย์ที่เขาหวงแหน
    ๓. ทรัพย์มีค่าตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
    ๔. มีจิตคิดจะลัก
    ๕. ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว และทำให้เคลื่อนจากที่
    ถ้าทรัพย์นั้นมีค่าต่ำกว่า ๕ มาสก แต่เกิน ๓ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่
    ถ้าทรัพย์นั้นมีค่าตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา ต้องอาบัติทุกกฏเมื่อทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    <SUP>*</SUP>ลักษณะที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๘ อย่างคือ

    <!-- #EndEditable --><!-- #BeginEditable "content" -->ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด ๆ ในกรณีดังต่อไปนี้
    ๑. ภิกษุถือเอาโดยเข้าใจว่าเป็นของตน (หยิบผิด)
    ๒. ถือเอาความเข้าใจว่า คุ้นเคยกัน แม้เจ้าของรู้ก็คงไม่ว่า
    ๓. ถือเอาโดยเป็นของยืม
    ๔. ถือเอาของที่ผู้ล่วงลับไปแล้วหวงแหน คือไม่รับรองสิทธิของคนที่ตายไปแล้ว เว้นไว้แต่จะมีผู้รับมรดกต่อ หมายความว่าคนตายเขาหวงเวลาเขามีชีวิตอยู่ แต่ตายไปแล้ว เป็นผีนี่ ฉันเอาได้นะ
    ๕. ถือเอาของที่สัตว์หวงแหน เช่นเสือกัดเนื้อตาย ภิกษุถือเอามาบางส่วนเพื่อเป็นอาหาร นี่เขาเรียกว่า แย่งสัตว์เดรัจฉานกินไม่เป็นไร แต่แย่งมันหมดไม่ได้นะ ถ้ามันกินเหลือแล้ว ก็แบ่งเอามาบ้างอันนี้ไม่เป็นไร
    ๖. ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว คำว่า บังสุกุลนี่เป็นผ้าที่เขาทิ้งแล้วนะ เวลานี้ผ้าบังสุกุล แหม..ทอดผ้าป่าเป็นผ้าบังสุกุลนะ ใหม่แจ๋ว มาถวายเป็นสังฆทานเสียก็หมดเรื่อง เวลานี้ยังหลอกกันอยู่นั่นแหละ พุทโธ่....น่าสงสาร แถมสงสารต้นไม้เสียด้วยซิ ต้นไม้อยู่เฉย ๆ ไปถูกตัดเสียอีก
    ๗. ภิกษุเป็นบ้า
    ๘. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ

    ทั้งหมดนี้ถ้าเป็นจริงโดยสุจริตใจแล้วไม่เป็นอาบัติ

    (ยังคงมีต่อนะคะ)
    ----------------
    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บ:วัดบนเว็บ
    ˹ѧ���: ��Ţͧ���#
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...