เรื่องเด่น “มหัศจรรย์ของขวัญ”จากแดนพุทธภูมิ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 23 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    การทำวัตรเย็น ระหว่างนั่งรถเดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์อำนวยความสะดวกคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาประกอบศาสนากิจยังสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล กับคณะผู้บริหารวธ.นำโดย“ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร” ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และ “นายมานัส ทารัตน์ใจ”อธิบดีกรมการศาสนา ตามโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ของกรมการศาสนา(ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)

    e0b8a3e0b8a2e0b98ce0b882e0b8ade0b887e0b882e0b8a7e0b8b1e0b88de0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b894e0b899.jpg

    ทุกวันนี้ผู้ที่เดินทางไปสังเวชนียสถาน 4 ตำบล จะมี พระธรรมทูตเป็นพระวิทยากร นำพุทธศาสนิกชนที่มาแสวงบุญได้สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น โดยเฉพาะทำวัตรเย็น เราจะต้องได้สวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นบทที่พระพุทธองค์ใช้เทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 จนบรรลุธรรม เกิดพระสงฆ์มีพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในโลก

    b8a3e0b8a2e0b98ce0b882e0b8ade0b887e0b882e0b8a7e0b8b1e0b88de0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b894e0b899-1.jpg

    พระครูปลัดเฉลิมชาติ ชาติวโร เลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล ในฐานะหัวหน้ากองงานพระธรรมทูต ทำหน้าที่พระวิทยากร เล่าให้ฟังว่า มาเป็นพระธรรมทูตอินเดียได้ 8 ปี แต่ละครั้งตั้งใจให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา รวมถึงความสำคัญของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ชาวพุทธได้ปฏิบัติก็ คือ การปฏิบัติบูชาด้วยการสวดมนต์ เจริญสมาธิ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา เพราะการสวดมนต์จะทำให้ ผู้สวดมนต์อ่านตามตัวอักษรเป็นการฝึกสมาธิ ฝึกสติ ไปในตัว แม้แต่ในรถก็จะให้สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เพราะแต่ละเมืองต้องใช้เวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง หากมีเหตุฉุกเฉินจะใช้เวลาเดินทางเป็นวันๆก็มี

    “อาตมาจะบอกโยมเสมอก่อนสวดมนต์ให้ตั้งใจ โดยเฉพาะตอนทำวัตรเย็นเวลาสวดบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อย่าเปิดหน้าสุดท้าย ทำไมนะหรือ เพราะบทนี้ยาวมาก เมื่อโยมเห็นหน้าสุดท้ายโยมจะท้อ ใจจะหดหู่เร่งสวดเป็นนกแก้วนกขุนทองให้จบ จิตก็ไม่มีสมาธิ สติก็ไม่ได้ อานิสงค์ของบุญก็ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ดังนั้น เวลาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ขอให้ค่อยๆสวด ตามตัวอักษร พอสวดไปสักระยะลองให้สังเกตตัวเองว่า ใจเราจะเป็นสมาธิ และมีสติ เพื่อไม่ให้อ่านผิด หลายคนเห็นผลจากการสวดมนต์มาแล้ว โดยเฉพาะบทนี้ อาตมาขอยกตัวอย่างโยมคนหนึ่งที่มาอินเดีย ซึ่งป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย หมอบอกว่าจะอยู่ได้อีกเพียง 2 เดือนเท่านั้น โยมคนดังกล่าวจึงบอกลูกสาวว่า ก่อนตายอยากมากราบพระพุทธเจ้าที่อินเดียสักครั้ง

    3e0b8a2e0b98ce0b882e0b8ade0b887e0b882e0b8a7e0b8b-2e0b88de0b888e0b8b2e0b88-2e0b98-2e0b894e0b899-2.jpg

    ตอนแรกลูกสาวกลัวว่าแม่จะมาไม่ไหว เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ แต่สุดท้ายก็ทนคำรบเร้าของแม่ไม่ได้ จึงพาแม่มาอินเดีย โยมคนนี้พอมาถึงตั้งใจมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เหนื่อยก็พัก ทำอย่างนี้อยู่ทุกวัน ตั้งใจว่า หากตายก็ขอให้ตายแทบพระบาทพระพุทธเจ้า สุดท้ายโยมคนดังกล่าว ไม่ตาย กลับมีแรงสวดมนต์ ร่างกายแข็งแรงขึ้น สวดมนต์อยู่ที่อินเดียจนกระทั่งหมดวีซ่าการเดินทาง 6 เดือน เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ลูกสาวมาก เมื่อรับกลับเมืองไทย ไปตรวจมะเร็ง ปรากฏว่า เชื้อมะเร็งไม่มี ทุกปีตั้งใจมาสวดมนต์บทนี้ กระทั่งมาบวชเป็นแม่ชีช่วยดูแลผู้แสวงบุญอยู่ที่อินเดียทุกวันนี้”

    8a-3e0b98ce0b88-3e0b8ade0b887e0b88-3e0b8a7e0b8b-3e0b88de0b888e0b8b-3e0b88-3e0b98-3e0b894e0b899-3.jpg

    พระธรรมวิทยากร ยังบอกอีกว่า หลายคนเมื่อได้มาสวดมนต์ที่อินเดียแล้ว กลับไปก็จะตั้งใจกลับไปสวดมนต์ต่อที่เมืองไทย โดยเฉพาะบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บางคนกลับมาเล่าว่า จากชีวิตที่แย่กลับดีขึ้น บางคนทำธุรกิจที่รายได้ไม่ดีกลับมามีรายได้มากขึ้น จากการตั้งในสวดมนต์ รักษาศีล ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจริงจากผู้ที่เคยมาสวดมนต์ และปฏิบัติบูชาที่อินเดียแล้วนำกลับไปปฏิบัติต่อจนเกิดผลกับตนเอง ซึ่งตนได้สอบถามคณะที่เดินทางมาอินเดียทุกปี พบว่า มือใหม่ป้ายแดงทั้งคณะแทบไม่มีเลย เมื่อได้มาแล้วจะชื่นใจ รู้สึกปีติ ทั้งที่อินเดียไม่ได้สวยเหมือนยุโรป แต่การมาอินเดียเราเหมือนได้มากราบพระพุทธเจ้า เราไม่ได้กราบอิฐ กราบปูน แต่เรากราบหลักธรรมและเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ผ่านก้อนอินก้อนปูนที่เล่าเรื่องราวนั้น แต่ละคนเกิดความรู้สึกว่า สุขใจ อิ่มใจ อย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน เหมือนได้รับของขวัญอันล้ำค่าจากแดนพุทธภูมิกลับไป

    หนึ่งในผู้บริหารอย่าง ดร.ฉวีรัตน์ สะท้อนความรู้สึกให้ฟังว่า ตนมาอินเดียหลายครั้งแล้ว มาแต่ละครั้งไม่เคยเบื่อ ตั้งใจมาสวดมนต์ ทำสมาธิปฏิบัติบูชา หากร่างกายไหวจะมาอีก และการมาเยี่ยมศูนย์อำนวยความสะดวกฯ 9 ศูนย์ ที่ ศูนย์วัดไทยลุมพินี,วัดไทยกุสินารา, วัดไทยพาราณสี, วัดไทยพุทธคยา, วัดไทยสารนาถ, วัดไทยเชตวันมหาวิหาร, วัดไทยนวราชรัตนาราม,วัดไทยนวมินทร์ธัมมิกราช และวัดอโยธยารามราชธานี ทำให้การเข้าห้องน้ำของชาวพุทธสะดวกยิ่งขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็มีแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขดูแล หนังสือเดินทางหายก็มีกระทรวงการต่างประเทศอำนวยความสะดวกให้ยังศูนย์ดังกล่าวถือว่าสะดวกกว่าอดีตมาก ซึ่งสถิติที่ตนได้ทราบ ในปี 2560 มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาสักการะสังเวชนียสถานแล้วมากกว่า 65,000 คน

    8a-4e0b98ce0b88-4e0b8ade0b887e0b88-4e0b8a7e0b8b-4e0b88de0b888e0b8b-4e0b88-4e0b98-4e0b894e0b899-4.jpg

    ด้านนายมานัส บอกว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานกองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียติ 80 พรรษาไว้แก่พระพุทธศาสนาส่งผลให้พระสงฆ์และฆราวาสได้มีโอกาสมาเรียนรู้แดนพุทธ ซึ่งในปีนี้ ศน.ได้คัดเลือกพระสงฆ์นักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเครือข่ายที่ไม่เคยมายังแดนพุทธภูมิมาก่อนจำนวน200 รูปได้มาเรียนรู้ยังสังเวชนียสถาน ตนจึงฝากให้พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล เน้นย้ำความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติที่ถูกต้อง เกร็ดความรู้ต่างๆ รวมถึงความยากลำบากของการเป็นพระธรรมทูตให้ได้รับทราบด้วย และขอให้พระสงฆ์ที่ได้รับการคัดเลือกตั้งใจเรียนรู้และมาปฏิบัติศาสนกิจถวายเป็นพระราชกุศล รวมทั้งได้รับของขวัญจากแดนพุทธภูมิ คือ หลักธรรม ความรู้ ความปีติ ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนากลับมาส่งต่อของขวัญอันล้ำค่าทางจิตใจที่พระพุทธองค์ได้ประทานไว้

    a-5e0b98ce0b88-5e0b8ade0b887e0b88-5e0b8a7e0b8b-5e0b88de0b888e0b8b-5e0b88-5e0b98-5e0b89-5e0b899-5.jpg

    ทั้งหมดนี้คือเศษเสี้ยวของการเดินทางไปสังเวชนียสถาน 4 ตำบลอินเดีย-เนปาล เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ต้องฟันผ่าอุปสรรคตลอดการเดินทางทั้งห้องน้ำใหญ่ที่สุดในโลก ถนนที่ไม่ราบเรียบ สภาพอากาศ กลิ่นควันฝุ่น ขอทาน บอกได้เลยว่า การไปอินเดียต้องไปด้วยใจ ไม่ใช่ไปด้วยกาย กายอาจจะลำบาก แต่เมื่อเทียบกับ เรื่องของจิตใจแล้ว หลายคนที่กลับมาทั้งสาวน้อย สาวใหญ่ หนุ่มเล็ก หนุ่มใหญ่ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อยากกลับไปอีก”

    มนตรี ประทุม




    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/629015
     

แชร์หน้านี้

Loading...