“นิโรธสัญญา”โดยหลวงพ่อดาบส สุมโน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 กันยายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    นิโรธสัญญา

    โดยท่านเจ้าคุณหลวงพ่อดาบส สุมโน...........อาศรมไผ่มรกต เชียงราย

    [​IMG]

    นิโรธ แปลว่า ดับความทุกข์ ความชั่ว บาป ดับรูปกาย นามซึ่งมีในกายดับจากวัตถุธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า นิพพาน ดับหรือว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นรก สวรรค์ พรหม ไม่เหลือการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป
    สัญญา แปลว่า ความจดจำ หมายจำเอาไว้หรือจำได้ นิโรธสัญญา จึงแปลว่า ความจำได้หมายรู้ในการดับความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง ดับธาตุทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เหลือแต่ความว่างเปล่า การปฏิบัตินิโรธสัญญานี้เป็นทางลัด รวดเร็ว ทำง่ายมาก เป็นการปฎิบัติได้ผลรวดเร็วไม่ยากนัก เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆออกจากจิตเท่านั้น
    ทางปฎิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอนูเป็นอะตอมเล็กๆละเอียด เป็นธาตุว่างคือวิปัสสนาญาณ ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย พระนิพพานนั้นไม่ใช่ไกลเกินเอื้อมออกไป อยู่ในจิตในใจเรานี่เอง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ทั้งที่ขันธ์ ๕ กายยังไม่แตกสลาย ถ้าร่างกายตายจิตสะอาดหมดความยึดติดในขันธ์ ๕ จิตก็จะเคลื่อนเข้าเสวยความสุขยอดเยี่ยมแดนทิพยนิพพาน เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิโรธสัญญา คือการเพียรพยายามทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของสมมุติทั้งปวงในโลก รวมถึงชีวิต คนและสัตว์ ทรัพย์สิ่งของเป็นของสมมุติเป็นของชั่งคราวทั้งสิ้นเป็นของปลอม พระนิพพานธาตุ พุทธิธาตุ ภูตะธาตุ อสังขธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นของจริง เป็นธาตุอะตอมไม่ตายไม่สูญสลายเหมือนธาตุของโลก ถึงตาจะมองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง เป็นธาตุบริสุทธิ์มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่มีใครสร้าง เปรียบธาตุนิพพานอมตะนี้ก็เหมือนเมืองหรือฝั่งข้างโน้นที่เราจะข้ามไป จิตเป็นนามธรรม อาศัยอยู่ในกายในขันธ์ ๕ ที่เป็นของสมมุติชั่วคราว จิตเป็นธาตุบริสุทธิ์ โดยธรรมจากในจิตนั้น มีธรรมกายหรือพุทธิกาย หรือนามกายทิพย์ นิพพานกายอยู่ มีตา หู จมูก ลิ้น กายทิพย์ จิตทิพย์ ไม่ต้องทำขึ้น มีอยู่แล้ว ไม่ตายเป็นอมตะ ในกายทิพย์นิพพานไม่มีประสาท ไม่มีอวัยวะภายใน โปร่งใสเบา เย็นสบายเป็นจิตรู้ฉลาดสะอาดบริสุทธิ์ อิสระจากกฏทั้งปวงอยู่เหนือกฏของกรรมหรือกฏของธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างว่า จิตของพระอรหันต์ จิตของพระขีณาสพ ผู้หมดกิเลสอวิชชาตัณหาอุปาทานบาปทั้งปวง
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ดีร้ายทั้ง ๖ นี้ เป็นผู้มาทีหลัง เป็นของผ่านไปมา เป็นของสมมุติ เป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง เป็นของร้อนเป็นของหนัก ถ้าจิตเราไปคิดเอาเป็นจริงก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ผิดหวังเป็นทุกข์ใจมิได้หยุดหย่อน รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทั้งหลายเป็นของสกปรกของชั่วคราวเป็นฝ่ายดำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทัน และกำจัดออกจากจิตทันที คือให้ว่างเปล่าจากของที่เป็นทุกข์เป็นโทษ จิตจะอยู่ว่างเปล่าเฉยๆ ไม่ชินก็นึกถึงพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นึกถึงฝั่งแดนทิพยนิพพานเป็นสุขเลิศล้ำ นึกถึงร่างกายสมมุตินี้ตายโดนเผาทิ้งแน่นอน แบบนี้จิตจะว่างจากของหนัก ว่างจากความเครียด ความฟุ้งซ่าน ความวุ่นวายหรือปลอดภัยจากอันตรายได้ เพราะจิตว่างสะอาด ปราศจาก โลภ โกรธ หลง เพราะมีแต่พระรัตนตรัย พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ในจิต แถมอีกนิดมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้ง ๓ โลก ต้องการให้ทุกผู้ทุกคนพ้นทุกข์ได้เหมือนเรา
    วิธีปฏิบัตินิโรธสัญญา หรือ ทำจิตให้ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปกรรม มี ๓ อย่าง

    <DIR>๑) โน้มใจเข้าหาความว่าง ด้วยการนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระมหาเมตตา มีพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ นำสัตว์ชี้ทางเข้าสู่พระนิพพาน เริ่มระลึกถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไร ทั้งโลกอากาศว่างเปล่า ธาตุว่างอยู่รอบตัวเราเอิบอาบไปทั่ว เป็นธาตุอะตอม โอบอุ้มทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธาตุเบา ธาตุเย็น ธาตุสงบ ธาตุพอเพียง ธาตุแท้
    ๒) ทำจิตว่างด้วยสลัดขจัดทิ้งความคิดไม่ดีไร้สาระออกจากจิต หรือปล่อยวางอารมณ์ดีชั่วทั้งปวงออกจากจิตให้มีเพียงแต่คำว่ารู้ แต่ไม่นำเอามาคิดปรุงแต่งเป็นตัวเราตัวเขา เป็นแต่เพียงธาตุของโลก จิตเป็นธาตุเบาไม่เอาไปปนกับธาตุหนักๆของโลก กายก็เป็นธาตุของโลกไม่ใช่ของจิต แต่จิตก็เพียงให้รู้ว่าจิตมาอาศัยอยู่ในกายบ้านสมมุติชั่วคราว ไม่เอามาปนกับจิต จิตส่วนจิต กายส่วนกาย ไม่ใช่อันเดียวกัน มีกายแล้วจิตก็ทำเป็นว่าไม่มี เพราะไม่ช้ากายก็ตายสูญสลาย ไม่มีกายอีก เป็นของว่างๆ เพียรคิดสลัดกาย อารมณ์ทั้งหลายออกจากจิต จิตจะสว่างสะอาดจากกิเลสเฝ้าผูกพันยึดมั่นกายเรากายเขา แต่ก็ยังคงทำหน้าที่การงาน สังคมครบถ้วน จิตใจสะอาดผ่องใส ร่างกายก็ไม่มีโรคหรือโรคน้อย จิตก็จะแปรสภาพจากหนักเป็นเบา โปร่งสบาย จิตหยาบก็จะกลายเป็นจิตละเอียดสะอาดผ่องใส ไม่มีความวุ่นวายจิตสงบนิ่งมีปัญญาดี
    ๓) วิธีทำจิตให้สะอาดว่างจากกิเลสแบบให้สังเกตหรือจับดูอารมณ์ตามความเป็นจริง แต่มิใช่ให้จับแบบยึดมั่นถือมั่น คือจิตมันชอบคิดเรื่องต่างๆอยู่เสมอ มันคิดอะไรก็เอาเรื่องนั้นแหละมาพิจารณาดูให้ลึกและไกลออกไป ให้เห็นความไม่คงที่ จะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็เท่ากันไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจัง เป็นแก่นสารย่อมถึงความแปรผันดับสูญเสมอกัน


    </DIR>เงาในกระจกหรือเงาในน้ำมิใช่ของจริงฉันใด สรรพสังขาราทั้งหมดก็ไม่ใช่ของจริงฉันนั้น หรือจะมองชีวิตทั้งหมดนี้เหมือนความฝันก็ได้ เพราะจุดจบของชีวิตคือความตาย ความตายของชีวิตร่างกายของคนนี่แหละ คือการตื่นจากความฝัน คือจิตออกจากร่างไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่ของเราท่านเที่ยงแท้แน่นอนไม่ยอมแปรผันอีกต่อไปคือ แดนอมตะทิพยนิพพาน
    เมื่อมาพิจารณารู้ความจริงของชีวิตร่างกายทุกผู้ทุกนามแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ มีก็เท่ากับไม่มี คือว่างเปล่านั่นเอง เพราะสูญสลายไม่ช้าก็เร็ว
    เมื่อกำหนดจิตเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเป็นของว่างเปล่า จิตก็จะเข้าถึงความว่าง ธาตุว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เมื่อพิจารณาทบทวนถึงความไม่มีในร่างกายเรากายเขา ขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา มันมีแล้วก็เหมือนกับไม่มี เพราะแปรปรวนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่จริง เป็นของปลอมของสมมุติ หาตัวตนตัวเราตัวเขาไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีแต่เดินทางหาความทรุดโทรม ผุพังสลายตายกันในที่สุด จิตก็จะหลุดจากกิเลสคือว่างจากความทุกข์ยาก จิตจะเป็นอิสระเสรีไม่ยึดเกาะในสิ่งของจอมปลอมอีกต่อไป ถึงแม้จิตจะยังอาศัยอยู่ในกาย แต่จิตไม่หลงรักว่าเป็นอันเดียวกับจิต อย่าเอาจิตไปนึกว่ามันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปล่อยไปเพียงแต่ผ่านมาผ่านไปเท่านั้น ถ้าทรงอารมณ์อยู่จิตไม่สนใจขันธ์ ๕ ของใครวางเฉยไม่ทุกข์ร้อน ทำงานทุกอย่างตามหน้าที่ อารมณ์เฉยเป็นเอกัคตารมณ์ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสำหรับเรา เราไม่มีสำหรับกาย จิตจะสะอาดเบิกบานผ่องใสพ้นจากความยึดมั่นในของปลอมของทุกข์ของร้อนพระท่านเรียกว่า จิตของพระอรหันต์
    วิธีทำจิตให้ว่างจากกายเรากายเขาแบบนี้ เป็นวิธีลัดแบบง่าย มีแต่พรหมวิหาร ๔ ไม่ยึดถืออารมณ์ใดๆมาไว้ในจิตมีความจำได้หมายรู้ก็เหมือนไม่มีความจำ เพราะความจำอยู่ได้ไม่นานไม่ช้าก็ลืม ประสาทสมองลืมง่าย ความคิดความจำ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลเป็นเรื่องของกายให้สลัดทิ้ง ให้จิตเต็มไปด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตจะเบาบริสุทธิ์สะอาด จิตอันนี้เราจะตามรอยพระพุทธบาทเมื่อกายพังแตกสลาย
    ผู้เพียรทำจิตให้ว่างจากร่างกาย หรืออารมณ์ต่างๆแบบนี้เป็นแบบของพระอริยเจ้า เป็นสมาธิเป็นวิปัสนาญาณอยู่ด้วยกัน ทำได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้ทั้งที่อยู่คนเดียวและอยู่แบบหมู่คณะ เป็นทางหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน เป็นทางลัดตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือ พระนิพพาน
    นิพพานธาตุ คือ นิโรธธาตุ อันเดียวกัน มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ในจิตเราท่านที่อยู่ในร่างกายที่สกปรกนี้ ทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ทันทีทั้งๆที่ยังไม่ตาย นิพพานไม่ใช่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก แต่อยู่เหนือโลกทั้งสิ้น มีอยู่ทั่วไปถ้าจิตจิตดับทุกข์ดับขันธ์ ๕ ว่างจากกิเลสจะรู้สภาวะพระนิพพานทันที
    นิโรธสัญญา คือทำจิตให้ว่างไม่มีอารมณ์ใดๆทั้งปวงคือเฉยๆ จิตจะสะอาดปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตจะเข้าสู่ภาวะ ที่เป็นจิตพุทธะดั้งเดิม จิตประภัสสร
    นิโรธสัญญา ทำจิตให้ว่างจากพันธะใดๆในโลก จะทำวิชชาให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ย่อมได้ เพราะจิตสงบทรงตัว แต่ท่านที่เจริญความว่างทางจิตแบบนี้ ท่านไม่ต้องการอิทธิฤทธิ์ใดๆ ความรู้พิเศษใดๆอีก ทั้งสิ้น เพราะจิตท่านอิ่มด้วยความสุข สงบ สบาย สว่างสดใส ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นความสุขยอดเยี่ยม ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้
    -------------
    ที่มาข้อมูล:
    http://www.geocities.com/palapanyo/files/pakinaka/nirot.html
    รูปประกอบกระทู้จากอินเตอร์เน็ต
     
  2. joolong

    joolong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +283
    คล้ายๆ เคยฟังเทศน์หลวงปู่จาม มีกล่าวถึงว่าองค์นี้คือสมเด็จโต
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เป็น อนุสสติ เอานิพพานเป็นอารมณ์
     
  4. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    เรามาดูนิโรธของพระอาจารย์มั่น ต่างกับท่านเจ้าคุณหลวงพ่อดาบส สุมโน

    หลวงปู่มั่นสอนนิโรธ ให้พระอาจารย์จวน<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->
    พระอาจารย์จวนเล่าไว้ในประวัติของท่าน เมื่อครั้งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำจันทร์


    ข้าพเจ้าจึงมาคำนึงถึงโอวาทที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระได้เคยเล่าเรื่องการเข้านิโรธของพระอาจารย์ลูกศิษย์ท่าน องค์หนึ่งให้ฟัง ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่จำพรรษาร่วมกับท่าน ท่านได้ประกาศให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายทราบทุกๆ องค์ว่าในสมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์องค์นั้นได้เข้าไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้ถาม ท่านอาจารย์องค์นั้นว่า “ท่าน....จากกันไปนาน การภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่”

    ท่านพระอาจารย์องค์นั้น ตอบถวายท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กระผมเข้านิโรธอยู่เสมอๆ”

    “ เข้าอย่างไร ? ”

    “น้อมจิต เข้าสู่นิโรธ”

    ท่านพระอาจารย์มั่น ย้อนถามว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ น้อมจิตอย่างไร”

    ก็ตอบว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ ก็คือ ทำจิตให้สงบแล้วนิ่งอยู่โดยไม่ให้จิตนั้นนึกคิดไปอย่างไร ให้สงบและทรงอยู่อย่างนั้น”

    “แล้วเป็นอย่างไร เข้าไปแล้วเป็นอย่างไร” ท่านพระอาจารย์มั่นซักถาม

    “มันสบาย ไม่มีทุกขเวทนา”

    ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า “เวลาถอนเป็นอย่างไร”

    ท่านพระอาจารย์องคนั้นตอบว่า “เวลาถอนก็สบายทำให้กายและจิตเบา”

    “กิเลสเป็นอย่างไร”

    “กิเลสก็สงบอยู่เป็นธรรมดา แต่บางครั้งก็มีกำเริบขึ้น”

    พอถึงตอนนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงได้ประกาศเรื่องนิโรธให้บรรดาสานุศิษย์ทราบทั่วกันว่า

    “นิโรธแบบนี้ นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติเพราะเป็นนิโรธที่น้อมเข้าเอง ไม่มีตัวอย่างว่า พระอริยเจ้าน้อมจิตเข้านิโรธได้ ใครจะไปน้อมจิตเข้าได้ เมื่อจิตยังหยาบอยู่ จะไปน้อมจิตเข้าไปสู่นิโรธที่ละเอียดไม่ได้ เหมือนกับบุคคลที่ไล่ช้างเข้ารูปู ใครเล่าจะไล่เข้าได้รูปูมันรูเล็กๆ หรือเหมือนกับบุคคลที่เอาเชือกเส้นใหญ่จะไปแหย่ร้อยเข้ารูเข็ม มันจะร้อยเข้าไปได้ไหม..? เพราะนิโรธเป็นของที่ละเอียด จิตที่ยังหยาบอยู่จะไปน้อมเข้าสู่นิโรธไม่ได้ เป็นแต่นิโรธน้อม นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติ นิโรธสังขาร นิโรธหลง…!”

    แล้วท่านก็เลยอธิบาย เรื่องนิโรธต่อไปว่า

    “นิโรธะ” แปลว่า ความดับ คือดับทุกข์ ดับเหตุ ดับปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เกิดทุกข์ทั้งหลาย ดับอวิชชา ดับตัณหานั่นเอง จึงเรียกว่า เป็นนิโรธ อย่าไป ถือเอาว่าจิต ที่ไปรวมลงสู่ภวังค์ หรือฐีติจิต จิตเดิม เป็นนิโรธ มันใช้ไม่ได้

    -ท่านว่า-จิตชนิดนั้นถ้าขาดสติปัญญาพิจารณาทางวิปัสสนาแล้ว ก็ยังไม่ขาดจากสังโยชน์ ยังมีสังโยชน์ครอบคลุมอยู่ เมื่อถอนออกมาก็เป็นจิตธรรมดา เมื่อกระทบกับอารมณ์ต่างๆ นานเข้า ก็เป็นจิตที่ฟุ้งซ่านและเสื่อมจากความสงบหรือความรวมชนิดนั้น


    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ประกาศให้ทราบว่า

    “กระผมก็เลยไปพิจารณาดูนิโรธของพระอริยเจ้าดูแล้วได้ความว่า นิโรธะ แปลว่า ความดับ ดับเหตุ ดับปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์ ทั้งหลาย คือทำตัณหาให้สิ้นไป ดับตัณหา โดยไม่ให้เหลือ ความละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความสละ สลัดตัดขาด จากตัณหานี้ จึงเรียกว่า “นิโรธ”

    นี่เป็นนิโรธ ของพระอริยเจ้า….ท่านว่า

    นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็น “อกาลิโก” ความเป็นนิโรธ การดับทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่เหมือน “นิโรธ” ของพวกฤาษีชีไพรภายนอกศาสนา ส่วนนิโรธของพวกฤาษีชีไพรภายนอกศาสนานั้นมีความมุ่งหมายเฉพาะ อยากแต่จะให้จิตของตนรวมอย่างเดียว สงบอยู่อย่างเดียว วางอารมณ์อย่างเดียว เมื่อจิตถอนจากอารมณ์แล้ว ก็ไม่นึกน้อมเข้ามาพิจารณาให้รู้เห็นสัจธรรม คือให้รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ยินดีเฉพาะแต่จิตที่สงบหรือรวมอยู่เท่านั้น ว่าเป็นที่สุดของทุกข์เมื่อจิตถอนก็ยินดี เอื้อเฟื้อ อาลัย ในจิตที่รวมแล้วก็เลยส่งจิตของตนให้ยึดในเรื่องอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปัจจุบันบ้าง ส่วนกิเลส ตัณหานั้นยังมีอยู่ ยังเป็นอาสาวะนอนนิ่งอยู่ภายในหัวใจ

    ท่านเลยอธิบายถึงนิโรธของพระพุทธเจ้าและพระอริยะเจ้าต่อไปว่า

    นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ของพระอริยเจ้านั้น ต้องเดินตามมัชฌิมปฏิปทา…ทางสายกลาง คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ…นี่จึงจะถึงนิโรธคือความดับทุกข์ ดับเหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็นนิโรธอยู่ตลอดกาลเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่อ้างกาลนั้นจึงจะเข้านิโรธกาลนี้จึงจะออกนิโรธ ไม่เหมือนนิโรธของพวกฤาษีชีไพรภายนอกพระพุทธศาสนา

    นี่เป็นคำสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ
     
  5. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    สาธุ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สุมโณดาบส
    เทศน์ได้ลงตรงกัน ไม่ต่างกันเลย
    นิโรธ ดับจากกิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...