(๘) กรรมทีปนี: กรรมที่ว่าโดยเวลาให้ผล

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 7 กรกฎาคม 2011.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    กรรมประเภทที่ ๓


    กรรมที่ว่าโดยเวลาให้ผล

    <O:p</O:p

    <O:p</O:p
    บัดนี้ ท่านผู้มีปัญญาซึ่งใฝ่ใจในการศึกษาหาความรู้เรื่องกรรม ได้มีโอกาสศึกษาพิจารณาประเภทแห่งกรรมมาตามลำดับแล้ว คือ กิจจจตุกกะ ซึ่งได้แก่ประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยหน้าที่ ๔ ประการ และ ปากทานปริยายจตุกกะ ซึ่งได้แก่ประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยลำดับการให้ผล ๔ ประการ ถึงกระนั้นก็ควรจะกล่าวได้ว่ายังไม่หมดกรรม! หมายความว่า ยังมีกรรมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมประเภทใหญ่ และเป็นกรรมที่ควรจะศึกษาให้เกิดความเข้าอกเข้าใจอีกสืบต่อไป กรรมประเภทใหญ่ที่เราจะติดตามศึกษากันต่อไปนี้ มีชื่อเรียกเป็นศัพท์ว่า ปากกาลจตุกกะ ซึ่งได้แก่ ประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยเวลาให้ผล จากการที่ได้อดทนศึกษาประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยเวลาที่ให้ผลนี้ ย่อมจักทำให้เกิดมีปัญญาความรู้เรื่องกรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาว่า ในบรรดากรรมทั้งหลายนั้น กรรมชนิดไหนมีอานุภาพเผล็ดผลให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในเวลาใดกล่าวให้ฟังกันง่ายๆ ก็ว่า บรรดากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ที่บุคคลกระทำลงไปอยู่ทุกวันนี้น่ะ<O:p</O:p


    กรรมชนิดไหน มีอานุภาพบันดาลผลให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในชาตินี้เป็นปัจจุบันทันตาเห็น

    กรรมชนิดไหน มีอานุภาพบันดาลผลให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้

    กรรมชนิดไหนมีอานุภาพบันดาลผลให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้ากรรมในชาติต่อๆ ไปหลายชาติหลายภพ

    กรรมชนิดไหน ไม่มีอานุภาพคือไม่มีโอกาสให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมเลย
    ปัญหาเหล่านี้ เมื่อพิจารณาดูให้ดี ก็ย่อมเป็นปัญหาที่ผู้ใคร่ในการศึกษาเรื่องกรรมตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ควรจักทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับตนอย่างถูกต้องถ่องแท้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้เป็นการประวิงเวลาจนเยิ่นเย้อเกินไป บัดนี้ จักได้กล่าวถึงปากกาลจตุกกะเสียเลยทีเดียว ก็ปากกาลจตุกกะหรือประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยเวลาที่ให้ผลนี้มีอยู่ ๔ กรรมด้วยกันคือ

    ทิฐธรรมเวทนียกรรม ๑

    อุปปัชชเวทนียกรรม ๑
    อปราปริยเวทนียกรรม ๑
    อโหสิกรรม ๑
    ซึ่งมีอรรถาธิบายตามลำดับก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

    <O:p</O:p
    ทิฐธรรมเวทนียกรรม

    ทิฏฺฐธมฺเม เวทนียนฺติ ทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ
    <O:p</O:p
    “กรรมใด ที่สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้เสวย คือได้รับในอัตภาพที่ปรากฏในชาตินี้ กรรมนั้นเรียกชื่อว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรม”

    <O:p</O:p
    ทิฐธรรมเวทนียกรรม นี้ เป็นกรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือให้ผลในชาตินี้ หมายความว่า เมื่อบุคคลกระทำทิฐธรรมเวทนียกรรมเข้าแล้ว ย่อมจะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำให้ชาติปัจจุบันนี้ทีเดียว ไม่ต้องไปรอรับผลเอาในชาติหน้าหรือชาติไหนๆ ทั้งสิ้น เป็นกรรมที่ให้ผลทันตาเห็นอย่างน่าแปลกประหลาดใจ

    ในกรณีนี้ ย่อมจะเกิดมัปญหาขึ้นมาอย่างรวดเร็วว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ คืออะไร? ขอให้บอกมาไวๆ สักหน่อยเถิด เพราะกรรมที่ให้ผลทันตาเห็นนี้ อยากจะรู้มานานแล้ว คงจะฟังเข้าใจง่ายกว่ากรรมประเภทอื่นกระมัง
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิสัชนาว่า ก็ไม่แน่! คือการที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมได้โดยง่ายนั้น ย่อมไม่แน่นัก จริงอยู่ ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ แม้ว่าจะเป็นกรรมที่ให้ผลทันตาเห็นในชาตินี้ ซึ่งเป็นกรรมที่น่าจะเห็นและเข้าใจได้โดยง่ายก็จริง ถึงกระนั้น การที่จะศึกษาให้เข้าใจถึงตัวทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้น รู้สึกว่าจะเป็นการยากมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าเรื่องของกรรมเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับนามธรรม อันอยู่ภายในคือจิตใจทุกระยะไป แต่จะอย่างไรก็ดี เมื่อเรามีความตั้งใจใคร่จักทราบแล้ว ก็ไม่ควรคิดย่นย่อท้อถอยหรือคิดรังเกียจเดียดฉันท์ว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ไม่จำเป็นต้องอ่านต้องฟังให้เสียเวลา โดยที่แท้ ควรจะตั้งหน้าอุตสาหะฟังเรื่องกรรมนี้ต่อไปนั่นแลจะเป็นการดี ที่กล่าวเป็นทำนองปลูกศรัทธามานี้ไม่ใช่อะไรอื่น ที่จริง เพราะให้เกิดหวั่นเกรงไปว่า กถาที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจจะทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านเข้าใจได้ยากสักหน่อย จะทำให้พลอยเกิดความความเบื่อหน่าย ไม่อยากอ่านไม่อยากฟังต่อไปจนจบก็ได้ แต่เมื่อได้ปลูกศรัทธาทำให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายเกิดอุตสาหะขึ้นมาในใจว่า เรื่องกรรมนี้ถึงแม้จะเป็นเรื่องยุ่งยากสลับซับซ้อนอย่างไร ก็จะทนรับกรรมติดตามต่อไปจนจบให้จงได้ ก็น่าจะเป็นการดี สมมติว่าบัดนี้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายเกิดความอุตสาหะใคร่จะศึกษาเรื่องกรรมต่อไปดังนี้แล้ว ก็จักได้กล่าวเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมต่อไปเสียที

    <O:pทิฐธรรมเวทนียกรรมนื้ คือ อะไร? ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ ได้แก่ เจตนาที่ประกอบอยู่ในปฐมชวนะดวงที่ ๑ โดยมีอธิบายว่า ธรรมดาการกระทำต่างๆ ของคนเราทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายหรือเป็นการกระทำทางวาจา หรือเป็นการกระทำทางใจก็ตาม และการกระทำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมคือฝ่ายดี หรือจะเป็นอกุศลกรรมคือฝ่ายชั่วก็ตาม ในขณะที่กระทำนั้นย่อมจะต้อมีชวนะเกิดขึ้น ๗ ครั้งเสมอ และวิถีจิตที่มีชวนะเกิดขึ้น ๗ ครั้งนี้ ก็มีมากมายนับไม่ถ้วนในการกระทำอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาชวนะที่เกิดขึ้น ๗ ครั้งเหล่านี้ เจตนาที่ประกอบอยู่ในขณะชวนะครั้งที่ ๑ นั้นชื่อว่าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม เห็นแล้วใช่ไหมเล่าท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายว่า ตัวทิฐธรรมเวทนียกรรมอยู่ที่ไหน ถูกแล้ว... ตัวทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้น อยู่ที่เจตนาซึ่งประกอบอยู่ในชวนะครั้งที่ ๑ ในขณะที่บุคคลกระทำกรรมอยู่นั่นเอง โดยมีคำรับรองไว้อรรถกถาอรรถสาลินีว่า

    <O:pทิฏฺฐธมฺมเวทนียํ ปฐมํ ชวนํ ภเว<O:p</O:p
    “ทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ได้แก่เจตนาที่ประกอบอยู่ในชวนะดวงที่ ๑"

    ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ เมื่อจะแบ่งออกเป็นฝ่ายใหญ่ๆ ก็แบ่งออกได้เป็น ๒ ฝ่าย คือทิฐธรรมเวทนียกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ๑ ก็ในบรรดาทิฐธรรมเทวนียกรรมทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น ย่อมมีอำนาจให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในปัจจุบันภพคือให้ได้เห็น ให้ได้ยิน ให้ได้กลิ่น ให้ได้รส ให้ได้สัมผัส ทั้งที่ดีและไม่ดี ในชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น ไม่มีอำนาจให้ผลในชาติหน้า คือไม่สามารถจัดแจงบุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมให้ไปเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์เทวดา หรือไปเกิดในทุคติภูมิเป็นอบาย สัตว์ต่างๆ อันเป็นปฏิสนธิผลได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่ากุศลเจตนาและอกุศลเจตนา ซึ่งประกอบอยู่ในชวนะดวงที่ ๑ มีกำลังน้อย ไม่มีกำลังมากเหมือนชวนะดวงที่ ๒-๓-๔-๕-๖-๗ เพราะเป็นชวนะที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ได้ความช่วยเหลือจากอาเสวนปัจจัย คือชวนะด้วยกัน ฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในชาติหน้าได้


    <O:pทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายพึงทราบว่ามีอยู่ ๒ อย่างด้วยกันคือ
    <O:p</O:p
    ๑.ปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม ได้แก่กรรมที่บันดาลให้ได้รับผลทันตาเห็นในชาตินี้ ซึ่งถึงความแก่กล้าแล้ว กรรมชนิดนี้สามารถที่จะบันดาลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้รับผลภายใน ๗ วันอย่างแน่นอน ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงบุคคลผู้รับผลแห่งกรรมชนิดนี้ไว้มากมายหลายคนเช่น

    ชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า นายมหาทุคคตะ ได้มีโอกาสถวายภัตตาหารแด่องค์สมเด็จพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรมหาเถรเจ้า ซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ พอถวายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้รับผลกรรมทันตาเห็น คือเขาได้กลายเป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก เกิดร่ำรวยมหาศาลภายใน ๗ วัน

    ชายยากจนเข็ญใจอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า นายกากวฬิยะ พร้อมกับภรรยาของเขา ได้มีโอกาสถวายภัตตาหารแด่องค์พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรมหาเถรเจ้าซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ พอถวายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ได้รับผลกรรมทันตาเห็นคือ เขาได้กลายเป็นเศรษฐีมีสมบัติมากเกิดร่ำรวยมหาศาลภายใน ๗ วัน<O:p</O:p
    การที่บังเกิดความอัศจรรย์ บันดาลให้คนเหล่านี้ ซึ่งตามปรกติเป็นคนยากจนอยู่แท้ๆ แต่กลับร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วจนแทบไม่น่าเชื่อเช่นนี้ก็เพราะอำนาจแห่งปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลดลบันดาลให้เป็นไป มิใช่เหตุภายนอกอื่นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งเลย จงเชื่อเถิด แม้ในกรณีแห่งความวิบัติฉิบหายวึ่งปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา ๗ วันทันตาเห็นนั้นก็เพราะอำนาจแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้อีกเหมือนกัน แต่เป็นกรรมฝ่ายอกุศล ก็บุคคลทั้งหลายที่ถูกทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลดลบันดาลให้ประสบความวิบัติฉิบหายภายในเวลา ๗ วันทันตาเห็น พึงดูตัวอย่างเช่น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มาณพผู้หนึ่ง ซึ่งมีนามว่า นันทะ ก็นายนันทะนี้ เป็นคนไร้สติปัญญามากด้วยโมหจริต มีจิตคิดปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระอุบลวรรณนาเถรี ซึ่งเป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานมานาน วันหนึ่งได้มีโอกาสเข้าไปปลุกปล้ำองค์ระอรหันต์ สำเร็จเป็นปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม ถูกธรณีสูบไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกภายใน ๗ วันนั้นเอง

    สมเด็จพระเจ้าสุปพุทธราชาธิบดีแห่งเทวทหนคร ซึ่งเป็นพระราชบิดรองค์เจ้าฟ้าชายเทวทัตต์และเจ้าฟ้าหญิงยโสธรา ผู้มีจิตอาฆาตพยาบาทต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้า ภายหลังได้เสวยน้ำจันฑ์จนมีพระอาการมึนเมา แล้วเข้าปิดกั้นทางโคจรบิณฑบาตแสดงอาการอคารวะขับไล่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสำเร็จเป็นปริปักกทิฐธรรมเวทนีกยกรรมแล้ว ถูกธรณีสูบไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกภายใน ๗ วันนั่นเอง

    นกกาตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉาน มีสันดานพาลหยาบ มิรู้จักบาปบุญคุณโทษประการใด วันหนึ่ง มันได้บินมาเกาะอยู่บนกิ่งไม้ใหญ่ใบกดหนา เมื่อแลลงมาข้างล่างเห็นพระภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นพระอรหันต์มหาขีณาสวเจ้ากำลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่ ก็บังเกิดจิตอันลามกขึ้นมาว่า “เราจักแกล้งถ่ายอุจจาระรดศีรษะของคนศีรษะโล้นนี้” แล้วก็พยายามถ่ายอุจจาระจนถูกศีรษะของท่านจนได้ แม้จะผิดไปในตอนต้นๆ หลายครั้งหลายหนแล้วก็ตาม พออุจจาระของกาจัญไรตัวนั้นตกลงมาต้องศีรษะของพระภิกษุณีองค์อรหันตอริยบุคคลทรงคุณอันประเสริฐในพระบวรพุทธศาสนาสำเร็จเป็นปริปักกทิฐธรรมเทวนียกรรมฝ่ายอกุศลซึ่งมีอานุภาพจักต้องให้ผลภายในกำหนด ๗ วันแล้ว ก็พอดีพระภิกษุณีรูปนั้น ท่านออกจากนิโรธสมาบัติเมื่อแหงนขึ้นไปดูเบื้องบนก็ทราบว่า “กาตัวนี้แกล้งถ่ายอุจจาระรดศีรษะเรา” คิดดังนี้แล้วท่านก็ลุกขึ้นเดินไปจากที่นั้น พอท่านเดินคล้อยหลังไปแล้วเท่านั้น กาพาลตัวมีความคิดวิตถารก็ให้มีอันตกลงมากจากกิ่งไม้ใหญ่และขาดใจตายไปเกิดในมหานรกในขณะนั้นทันที<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รวมความว่า ปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้เป็นกรรมที่แก่กล้าสามารถที่จะให้ผล ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลร้ายแก่บุคคลผู้เป็นเจ้ากรรมภายในกำหนดเวลา ๗ วันเท่านั้น

    <O:p๒. อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม ได้แก่ กรรมที่บันดาลให้ได้รับผลในชาตินี้ ซึ่งยังไม่ถึงความแก่กล้า กรรมชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกุศล หรือฝ่ายอกุศลก็ตาม ย่อมสามารถส่งผลให้ปรากฏแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมหลังจากที่เขากระทำ ๗ วันล่วงไปแล้ว แต่ภายในปัจจุบันภพคือในชาตินี้ไม่ข้ามภพข้ามชาติไป โดยมีกำหนดการให้ผลดังนี้คือ
    <O:p</O:p
    อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรมทั้งฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศล ที่บุคคลกระทำแล้วในปฐมวัย บางชนิดก็อาจบันดาลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมนั้นได้รับผลในปฐมวัยนั่นเอง บางชนิดก็ให้ได้รับผลในมัชฌิมวัย บางชนิดก็ให้ได้รับผลในปัจฉิมวัย

    อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรมทั้งฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศลที่บุคคลกระทำแล้วในมัชฌิมวัยบางชนิดก็อาจบันดาลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมนั้นได้รับผลในตอนมัชฌิมวัยนั่นเอง บางชนิดก็ให้ได้รับผลในตอนปัจฉิมวัย

    อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรมทั้งฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศล ที่บุคคลกระทำแล้วในปัจฉิมวัย บางชนิดย่อมสามารถดลบันดาลให้บุคคลเจ้าของกรรมได้รับผลในปัจฉิมวัยนั่นเอง
    รวมความว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ เมื่อว่าโดยเวลาที่ให้ผลแล้ว ก็อาจจะแบ่งได้โดยการให้ผลเร็วหรือช้าเป็น ๒ เวลาด้วยกันคือ ปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม ซึ่งได้แก่ทิฐธรรมเวทนียกรรมที่ถึงความแก่กล้าแล้ว กรรมชนิดนี้ให้ผลอย่างรวดเร็ว ภายในเวลา ๗ วันเท่านั้นเอง อปริปักกทิฐธรรมเวทนียกรรม ซึ่งได้แก่ทิฐธรรมเวทนียกรรมที่ยังไม่เข้าถึงความแก่กล้า กรรมชนิดนี้ให้ผลช้า คือล่วง ๗ วันไปแล้ว อาจจะเป็นหลายปี หลายเดือนหรือพ้นจากวัยหนึ่งไปจนถึงอีกวัยหนึ่งก็ได้ แต่จะอย่างไรก็ตามอาจจะเป็นหลายปี หลายเดือน หรือพ้นจากวัยหนึ่งก็ได้ ไปจนถึงอีกวัยหนึ่งก็ได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อได้ชื่อว่าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมแล้วก็ย่อมไม่มีโอกาสให้ผลข้ามภพข้ามชาติไปเป็นอันขาด ย่อมมีประสิทธิภาพให้ผลได้แต่เฉพาะในชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้เป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน เนื่องด้วยไม่ได้รับอุปการะจากอาเสวนปัจจัย ฉะนั้นจึงมีประสิทธิภาพให้ผลได้แต่ในชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น หากว่าในชาติปัจจุบันนี้ ไม่มีโอกาสให้ผลแล้ว ทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้นก็จะกลายเป็น อโหสิกรรมไปทันที

    พึงทราบไว้โดยตระหนักในที่นี้ว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมที่สามารถจักดลบันดาลให้ปรากฏผลแก่สัตว์ผู้เป็นเจ้าของกรรมนั้น จะต้องประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    <O:p</O:p
    ๑. เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม ที่ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หมายความว่า ถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลซึ่งเป็นปฏิปักษ์ของตนเลย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงจะมีโอกาสส่งผลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมนั้นได้รับความวิบัติฉิบหายต่างๆ ตามกำลังของตนได้ แต่ถ้าถูกเบียดเบียนแล้วย่อมจักไม่สามรถให้ผลได้เลย เมื่อไม่สามารถให้ผลในชาติปัจจุบันนั้นได้ ก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป ตรงกันข้าม คือถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ก็ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับตนเลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจะมีโอกาสส่งผลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้รับความสุขความเจริญทันตาเห็นโดยประการต่างๆ ตามกำลังของตนได้ แต่ถ้าถูกเบียดเบียนแล้วไซร้ ย่อมจักไม่สามารถให้ผลได้เลย เมื่อไม่สามารถให้ผลในชาติปัจจุบันนั้นได้แล้ว ทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลนั้นก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป
    <O:p</O:p
    ๒. เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม ที่มีกำลังพิเศษเพราะได้รับความอุปการะช่วยเหลือจากปัจจัยพิเศษ หมายความว่า ถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล ก็ต้องได้รับความอุปการะช่วยเหลือจากปัจจัยพิเศษ โดยประกอบด้วยวับัติ ๔ ประการ มิอย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ก. คติวิบัติ ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่ประสบความวิบัติเพราะคติ โดยเป็นสัตว์เกิดในทุคติภูมิ เช่น สัตว์เดียรัจฉานทั้งปวงเป็นต้น

    ข. กาลวิบัติ ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่ประสบความวิบัติเพราะกาล โดยเกิดในสมัยที่พระราชาธิบดีเป็นมิจฉาทิฐิกบุคคล ประชาชนทั้งหลายในสมัยนั้นและในประเทศนั้น มีสันดานเป็นบาปหยาบช้า ไม่รู้จักคุณค่าแห่งพระบวรพุทธศาสนา

    ค. อุปธิวิบัติ ได้แก่สัตว์หลายที่ประสบความวิบัติเพราะอุปธิ คือร่างกายของตน โดยเป็นบุคคลที่เกิดมาแล้วมีอวัยวะน้อยใหญ่ เช่น ตาหูเป็นต้น พิกลพิการไปโดยประการต่างๆ หรือขาดตกบกพร่องไม่ครบถ้วน

    ง. ปโยควิบัติ ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่ประสบความวิบัติเพราะความเพียรพยายามหรือการกระทำของตน โดยเกิดมาเป็นคนอาภัพมีความเพียรผิด และมีความคิดที่ผิด แล้วกระทำกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นทุจริตผิดกฏหมายบ้านเมืองและผิดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ก็ต้องได้รับความอุปการะช่วยเหลือจากปัจจัยพิเศษ โดยประกอบด้วยสมบัติ ๔ ประการ มิอย่างใดก็อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

    <O:pก. คติสมบัติ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่ได้ประสบสมบัติคือคติ โดยเป็นสัตว์ที่เกิดอยู่ในสุคติภูมิ คือเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยภูมิ หรือเป็นเทวดาอยู่ในเทวภูมิ และเป็นพระพรหมอยู่ในพรหมภูมิ

    ข. กาลสมบัติ ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่ได้ประสบสมบัติคือกาล โดยเกิดในสมัยที่สมเด็จพระราชาธิบดีในประเทศของตนเป็นสัมมาทิฐิกบุคคลและทรงปกครองประชาชนซึ่งเป็นพสกนิกรโดยทศพิธราชธรรมและมนุษย์ทั้งหลายในสมัยนั้นก็ไม่เป็นชนพาลสันดานหยาบ แต่มีปัญญามองเห็นคุณค่าและความวิเศษสุดแห่งพระบวรพุทธศาสนา

    ค. อุปธิสมบัติ ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับประสบสมบัติคืออุปธิร่างกายของตน โดยเป็นบุคคลที่เกิดมาแล้ว ก็มีอวัยวะน้อยใหญ่ เช่น ตา หู ปาก จมูกเป็นต้น ไม่พิกลพิการเลยแม้แต่น้อย ครบถ้วนบริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่องแต่ประการใด

    <O:pง. ปโยคสมบัติ ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่ได้ประสบสมบัติคือความเพียรพยายามหรือการกระทำของตน โดยเกิดมาเป็นคนมีความเห็นอันถูกต้อง มีความคิดถูกต้อง มีความเพียรถูกต้อง แล้วกระทำกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นสุจริต ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมืองและไม่ผิดหลักธรรมในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    จึงเป็นอันว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมจะเป็นกรรมมีพลังพิเศษขึ้นมาได้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลืออุปการะจากปัจจัยพิเศษดังกล่าวมาแล้ว คือถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล ก็ต้องประกอบด้วยปัจจัยพิเศษคือวิบัติ ๔ ประการ ถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ก็ต้องประกอบด้วยปัจจัยพิเศษคือสมบัติ ๔ ประการ เช่นนี้แล้วจึงจะสามารถยังผลให้ปรากฏแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้ แต่ถ้าทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้นประกอบด้วยปัจจัยพิเศษตรงกันข้าม กล่าวคือเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล แต่ไพล่ไปประกอบด้วยวิบัติ ๔ อย่างนี้แล้ว ทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ก็ไม่เป็นกรรมที่มีพลังพิเศษ เมื่อไม่เป็นกรรมที่พลังพิเศษ ก็ย่อมจะไม่สามารถยังผลให้ปรากฏแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้เป็นธรรมดา

    <O:p๓. เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม ที่มีกำลังหนักแน่นด้วยอำนาจแห่งปุญญาภิสังขาร ซึ่งมีสภาพเหมาะสมแก่ชวนะดวงที่ ๑ หมายความว่าก่อนที่จะลงมือประกอบกรรมไม่ว่าจะเป็นอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมก็ตาม บุคคลผู้ประกอบกรรมนั้นได้มีการปรับปรุงจิตใจของตนให้เกิดความกล้าและอดทนพยายามต่อการประกอบกรรมอย่างหนักแน่น เพราะความคิดเชื่อมั่นอันเป็นไปตามอำนาจปุญญาภิสังขาร โดยนัยเป็นต้นว่า

    ผู้ที่มีความพอใจที่จะประกอบกรรมชนิดใดแล้ว เมื่อกระทำไป กรรมชนิดนั้นจักไม่ถึงความสำเร็จ เป็นอันไม่มี
    <O:p</O:p
    ผู้ที่มีความเพียร ที่จะประกอบกรรมชนิดใดแล้วเมื่อกระทำไป กรรมชนิดนั้นจักไม่ถึงความสำเร็จเป็นอันไม่มี
    <O:p</O:p
    ผู้ที่มีใจตั้งมั่นในอันที่จะประกอบกรรมชนิดใดแล้ว เมื่อกระทำไปกรรมชนิดนั้นจักไม่ถึงความสำเร็จเป็นอันไม่มี
    <O:p</O:p
    ผู้ที่มีปัญญาไตร่ตรองในอันที่จะประกอบกรรมชนิดใดแล้ว เมื่อกระทำไปกรรมชนิดนั้นจักไม่ถึงความสำเร็จ เป็นอันไม่มี

    บุคคลที่ปรับปรุงจิตใจของตนให้เกิดความกล้าและความอดทนต่อการประกอบกรรมเช่นนี้ เมื่อได้ลงมือประกอบกรรมใดลงไปแล้ว จิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เขาลงมือประกอบกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมก็ตาม ย่อมเป็นจิตที่มีกำลังมาก มีพลังหนักแน่น ฉะนั้นชวนะดวงที่ ๑ จึงสำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมและสามารถยังผลให้ปรากฏแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในชาติปัจจุบัน คือในภพนี้ได้ แต่ถ้าไม่ประกอบด้วยปุญญาภิสังขารเหล่านั้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้นก็ไม่มีกำลังมาก ไม่มีพลังหนักแน่น ไม่มีกำลังพอที่จะยังผลให้ปรากฏแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรม ในชาติปัจจุบันคือในภพนี้ได้ เมื่อไม่มีประสิทธิภาพ คือเมื่อไม่สามารถจะส่งผลให้ปรากฏในชาติปัจจุบันนี้ได้แล้ว ทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้นก็ย่อมจะกลายเป็นอโหสิกรรมไป
    <O:p</O:p
    ๔. เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม ที่สำเร็จลงด้วยอำนาจแห่งการกระทำความชั่วหรือความดีต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณวิเศษทั้งหลาย หมายความว่า ถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลก็ต้องเป็นกรรมที่สำเร็จลงด้วยการประกอบกรรมชั่วอย่างร้ายแรง ต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณวิเศษสูงสุด เหนือมนุษย์ธรรมดาสามัญทั้งหลาย ดุจในกรณีนันทยักษ์ผู้มีใจบาป ประหารเศียรเกล้าพระสารีบุตรมหาเถรเจ้าซึ่งกำลังเข้านิโรธสมาบัติแล้วถูกธรณีสูบ และดุจในกรณีที่นันทมาณพผู้มีน้ำใจกระหายหื่น ใช้กำลังข่มขืนประทุษร้ายท่านพระอุบลวรรณามหาเถรี ซึ่งมีคุณวิเศษเป็นพระอรหันต์อริยบุคคลแล้วถูกธรณีสูบในปัจจุบันดังนี้เป็นต้น
    <O:p</O:p
    ถ้าเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ก็ต้องเป็นกรรมที่สำเร็จลงด้วยการประกอบความดีอย่างหนักหน่วง ต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณวิเศษสูงสุด เหนือมนนุษย์ธรรมดาสามัญอีกเช่นกัน ดุจในกรณีที่ชายยากจนเข็ญใจชื่อมหาทุคคตะ ได้ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระมิ่งมงกุฏกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้กลายเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ศฤงคารมหาศาลในปัจจุบันทันตาเห็น และในกรณีที่นายกกาวฬิยะพร้อมกับภรรยาของเขาได้ถวายทานแด่พระกัสสปเถรเจ้าองค์อรหันตอริยบุคคลซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ได้กลายเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มหาศาลในปัจจุบันทันตาเห็นดังนี้เป็นต้น

    เมื่อพูดถึงการประกอบกุศลกรรมด้วยการถวายทานนี้ก็มีผู้ข้องใจอยู่เป็นอันมาก โดยบางคนมักกล่าวเหมือนกับบังเกิดความกลัดกลุ้มแล้วก็ตัดพ้อต่อว่าคำสอนทางพระพุทธศาสนาอยู่เนืองๆ ว่า
    <O:p</O:p
    “น่าแปลกใจ! ในคำสอนทางพระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของทานอยู่ดาษดื่น ตัวเราก็อุตส่าห์เชื่อฟัง ตั้งหน้าทำทานถวายอาหารบิณฑบาตรแก่พระสงฆ์สามเณรมานานนับเป็นสิบๆ ปีตั้งแต่เด็กจนแก่ใกล้จะลงป่าช้าเข้าไปนี้แล้ว แต่ไม่เห็นมีอานิสงส์อะไรที่ประจักษ์ๆ ออกมาให้เห็นสักที มีแต่ความสูญเปล่า คือ ให้ข้าวให้น้ำไปทีไร ก็เห็นหายเงียบไปทุกที แล้วอย่างนี้จะว่าการให้ทานมีอานิสงส์ได้อย่างไร?<O:p</O:p
    การที่เกิดความกลัดกลุ้มแสดงอาการเหมือนกับเสียดายในการให้ทานของตนไปดังนี้ ก็เพราะไม่มีความเข้าใจในเรื่องทานกุศลดีพอ บัดนี้จึงใคร่จะขอกล่าวไว้ในที่นี้ว่า ทานกุศลจักสำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม สามารถที่จะส่งผลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้รับความสุขความเจริญมั่งคั่งสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ศฤงคารในปัจจุบันทันตาเห็นนั้น ต้องเป็นทานกุศลที่ประกอบไปด้วยองคคุณ คือสัมปทา ๔ ประการดังต่อไปนี้

    ๑. วัตถุสัมปทา ปฏิคาหกผู้รับทานนั้น เป็นผู้ทรงคุณประเสริฐเหนือมนุษย์ธรรมดาสามัญ โดยท่านได้สำเร็จคุณพิเศษทางพระพุทธศาสนา เป็นพระอนาคามีอริยบุคคลหรือเป็นพระอรหันตอริยบุคคล
    <O:p</O:p
    ๒. ปัจจัยสัมปทา วัตถุสิ่งของที่นำมาถวายแก่พระอนาคามีอริยบุคคลหรือพระอรหันตอริยบุคคลนั้น เป็นวัตถุสิ่งของที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ไม่ใช่เป็นวัตถุสิ่งของที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นวัตถุสิ่งของที่ลักขโมยหรือฉ้อโกงใครมา

    ๓. เจตนาสัมปทา ผู้ถวายทานถึงพร้อมด้วยเจตนาอันแรงกล้าในกาลทั้ง ๓ คือในกาลก่อนแต่ให้ ๑ ในกาลที่กำลังให้ ๑ ในกาลที่ให้แล้ว ๑

    ๔. คุณาติเรกสัมปทา พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ซึ่งเป็นปฏิคาหกผู้รับทานนั้น ท่านกำลังตั้งอยู่ในฐานะเป็น “ปฏิคาหกชั้นยอดเยี่ยม” กล่าวคือท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติอันวิเศษมาใหม่ๆ

    ก็สัมปทาทั้ง ๔ นี้ มีปรากฏในธรรมบทอรรถกถาเป็นใจความว่า ชื่อว่า สัมปทามี ๔ อย่างคือ ๑. วัตถุสัมปทา ๒. ปัจจัยสัมปทา ๓. เจตนาสัมปทา ๔. คุณติเรกสัมปทา ในสัมปทา ๔ อย่างนั้น
    <O:p</O:p
    พระอรหันตอริยบุคคลหรือพระอนาคามีอริยบุคคลผู้เป็นทักขิไนยบุคคลสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ เรียกชื่อว่า วัตถุสัมปทา
    <O:p</O:p
    การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัย คือ วัตถุสิ่งของที่จะให้นั้นเป็นธรรมสม่ำเสมอ หมายความว่า วัตถุสิ่งของที่จะถวายนั้น ตนได้มาด้วยควาบริสุทธิ์เรียกชื่อว่า ปัจจัยสัมปทา

    ความที่เจตนาในกาลทั้ง ๓ คือ กาลก่อนที่จะบริจาคทาน ๑ กาลที่กำลังบริจาคทาน ๑ กาลที่บริจาคทานไปแล้ว ๑ เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยญาณและเกิดพร้อมกับโสมนัสเรียกชื่อว่า เจตนาสัมปทา

    ความที่พระอรหันตอริยบุคคลหรือพระอนาคารมีอริยบุคคลผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ เรียกชื่อว่า คุณาติเรกสัมปทา

    ทานกุศลที่สำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมซึ่งประกอบไปด้วยสัมปทาทั้ง ๔ ประการนี้แล ย่อมมีอานุภาพดลบันดาลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้บรรลุมหาสมบัติอันเป็นความสุขความเจริญในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว ส่วนทานกุศลทั้งหลายแม้จะมีประมาณมากมายสักทไร หากไม่ประกอบด้วยสัมปทาทั้ง ๔ เหล่านี้แล้วก็ย่อมไม่สามารถที่จะส่งผลให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรม โดยประจักแจ้งอย่างปัจจุบันทันตาเห็นได้เลย ฉะนั้นอันบุคคลผู้ตั้งใจบำเพ็ญทานกุศล ก่อนที่จะมีการเอะอะโวยวายเป็นเชิงตัดพ้อต่อว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาออกมาโดยนัยเป็นต้นว่า
    <O:p</O:p
    “ตูข้าก็มีศรัทธาตั้งหน้าบำเพ็ญทานด้วยการทำบุญตักบาตรมานานแล้วแต่ไม่เห็นได้ผลเกิดความร่ำรวย มีโชคมีลาภอะไรให้ปรากฏเป็นประจักษ์ขึ้นมาสักที"

    ก่อนที่จะตีโพยตีพายออกมาดังนี้ ก็ควรพิจารณาดูเสียก่อนว่า ทานกุศลที่ตนบำเพ็ญนั้นประกอบด้วยสัมปทาทั้ง ๔ นี้ครบถ้วนบริบูรณ์หรือไม่ เช่น ได้ถวายทานแก่ท่านผู้ทรงคุณวิเศษเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติมาหรือเปล่า ดังนี้เป็นต้น หากว่าเป้นทานกุศลที่ประกอบด้วยสัมปทาเหล่านี้แล้ว เป็นต้องได้รับผลอย่างปัจจุบันทันตาเห็นแน่ๆ แต่ตรงกันข้าม คือ หากว่าทานกุศลที่ตนทำนั้นไม่ประกอบด้วยสัมปทาเหล่านี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ทานกุศลนั้นจักมีอานุภาพให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็นได้อย่างไรเล่า แต่ถึงอย่างไร ทานกุศลที่ตนได้บำเพ็ญไว้ก็ย่อมเป็นสภาพที่ไม่สูญเปล่า คือ ย่อมจักเผล็ดผลดีให้ในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน ตามพระพุทธวจนะที่ทรงสอนไว้ไม่ผิดเพี้ยน เพราะชื่อว่า ทานกุศลแล้ว ที่จะไม่ส่งผลให้แก่บุคคลผู้บำเพ็ญนั้นเป็นอันไม่มี โดยที่ทานกุศลที่ตนบำเพ็ญนั้น เมื่อไม่สำเร็จผลเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมก็จักสำเร็จผลเป็นกรรมอื่น และให้ผลในเวลาอื่นต่อไป

    </O:p
    ขอสรุปความในตอนนี้ว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรม ที่จักสามารถดลบันดาลผลให้ปรากฏแก่สัตว์บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้นั้นต้องเป็นกรรมที่ประกอบด้วยลักษณะดังกล่าวมาแล้ว คือ
    เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมที่ไม่ถูกเบียดเบียนจากกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ ๑

    เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมที่มีกำลังเป็นพิเสษ เพราะได้รับความช่วยเหลืออุปการะจากปัจจัยพิเศษ ๑

    เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมที่มีกำลังหนักแน่นด้วยอำนาจแห่งปุญญาภิสังขาร ๑

    เป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมที่สำเร็จลงด้วยอำนาจแห่งการกระทำความร้ายความดีต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณวิเศษทั้งหลาย ๑
    ต้องประกอบไปด้วยลักษณะ ๔ ประการนี้ จึงจักมีประสิทธิภาพส่งผลให้ปรากฏแก่สัตว์บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมอย่างชัดเจน ในปัจจับันทันตาเห็นได้ หากว่าไม่ประกอบด้วยลักษณะดังกล่าวมาแล้วนั้น ทิฐธรรมเวทนียกรรมก็ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้ปรากฏในปัจจุบันชาติได้อย่างชัดเจน ทิฐธรรมเวทนียกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้ปรากฏอย่างชัดเจนนี้ก็ได้แก่การที่บุคคลผู้ประกอบอกุศลกรรมความชั่วแล้วได้รับโทษทุกข์ ถูกตำหนิติเตียนประกอบการค้าขายมีแต่ขาดทุน มีคนเกลียดชังไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย เป็นคนไร้ศักดิ์ศรี ดังนี้เป็นต้นและการที่บุคคลผู้ประกอบกุศลกรรมความดีแล้วได้รับความสุขกายสุขใจ ได้รับเกียรติได้รับความสรรเสริญสดุดี เป็นคนมีโชคดีทำมาหากินเจริญขึ้นเรื่อยๆ มีคนชอบพอรักใคร่อยู่ทั่วไป ดังนี้เป็นต้น เหล่านี้ก็นับว่าเป็นผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมเหมือนกัน แต่ว่าเป็นผลที่ปรากฏไม่ชัดเจน ทั้งนี้ก็เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการนั่นเอง จะอย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายพึงทราบไว้ในที่นี้ว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้เป็นกรรมที่มีประสิทธิภาพให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในปัจจุบันภพ คือในชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น ไม่สามารถที่จักให้ผลในชาติต่อๆ ไปได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำอุปมาเพื่อความเข้าใจง่ายในกรณีแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ไว้ว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ย่อมมีปรกติให้ผลในปัจุจุบัน กระทำในชาติใดก็ให้ผลในชาตินั้น ถ้ามิอาจให้ผลในชาตินั้นแล้ว ก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป คือหาผลมิได้ในชาติอื่น เฉพาะเจาะจงที่จักให้ผลในชาตินั้น เปรียบเหมือนกับนายพรานมฤค

    ธรรมดาว่า นายพรานมฤค คือนายพรานเนื้อนั้น เมื่อเข้าไปสู่อรัญประเทศราวป่าเพื่อเที่ยวแสวงหามฤคชาติทั้งหลาย ตามวิสัยที่เพื่อนเป็นพรานสันดานชอบฆ่าสัตว์ ครั้นสายตาแลไปพบมฤคชาติตัวใดตัวหนึ่งและได้โอกาสแล้วย่อมจักโก่งธนูและยิงลูกธนูไป โดยกำหนดในใจว่า จักยิงให้ถูกตัวมฤคชาติมิให้ผิดพลาดได้ ถ้าลูกธนูที่เพื่อนยิงไปนั้น มิได้ผิดพลาดแล่นไปถูกมฤคชาติล้มลงดิ้นผางและขาดใจตายอยู่กับที่ดังใจนึกหมายเพื่อนย่อมดีใจวิ่งขมีขมันเข้าไปโดยเร็ว แล้วก็ชักมีดออกจากเอว จัดการเลิกถกเถือหนังมฤคชาติตัวเคราะห์ร้ายนั้นออกเสีย เสร็จแล้วก็เชือดเถือเอาเนื้อกระทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ตามความปรารถนา แล้วหาบคอนบ่าลู่กลับสู่บ้านโดยหน้าชื่นตาบาน จัดการปิ้งย่าง ต้มแกง มังสะแห่งมฤคนั้น บริโภคเป็นอาหารด้วยตนเองและบุตรภรรยา ยังบุตรภรรยาทั้งหลายให้บังเกิดความชื่นชมยินดีอิ่มเอมโดยทั่วกัน แต่ถ้านายพรานนั้น เกิดมีอันเป็นยิงมฤคชาติไม่ถูก ลูกธนูแล่นไปไม่ถูกเนื้อตายสมดังจิตคิดปรารถนามฤคชาตินั้นตกใจตื่นปลาสนาการเผ่นหนีไป จะได้เหลียวหลังกลับมาแลดูสถานที่ที่ตนหวิดจะเป็นเหยื่อลูกธนูก็หามิได้ รีบหนีไปโดยเร็วอุตลุด สุดแต่ความกลัวตายของมันจะบัญชา อย่างนี้ก็อย่าได้คอยเลยว่า มฤคชาติตัวนั้นมันจะกลับมา คอยเสียเวลาเปล่าๆ ใช่ที่ใช่ทางที่มฤคชาตินั้นจะกลับมาอีก อุปมานี้ฉันใด

    นายพรานมฤคนั้นขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายพึงทราบว่า เปรียบได้กับทิฐธรรมเวทนียกรรม ซึ่งมีหน้าที่ที่จะส่งผลให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้อยู่ ตัวมฤคชาตินั้นเปรียบเหมือนบุคคลผู้ควรจะได้รับผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรม เมื่อนายพรานได้มีโอกาสยิงลูกธนูไปถูกมฤคชาติเปรียบเหมือนเมื่อทิฐธรรมเวทนียกรรมได้โอกาสแล้วส่งผลให้ปรากฏแก่สัตว์บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในปัจจุบันทันตาเห็น เมื่อนายพรานยิงมฤคชาติไม่ถูก มฤคชาตินั้นตกใจตื่นกลัวหนีไป ไม่กลับมาให้นายพรานยิงอีกเปรียบเหมือนทิฐธรรมเวทนียกรรม ไม่มีโอกาให้ผล เพราะมีกรรมอื่นติดตามมาให้ผลในชาติปัจจุบัน ทิฐธรรมเวทนียกรรมซึ่งมีกำลังน้อยจึงต้องเป็นหมัน ไม่สามารถที่จะให้ผลในชาติปัจจุบันนั้นได้เลย ต้องกลายเป็นอโหสิกรรมไป

    เพื่อความเข้าใจในเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ดียิ่งขึ้น ลำดับนี้จักขอถือโอกาสนำเอาชีวประวัติของบุคคลผู้ได้รับผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมมาแสดงไว้ในที่นี้ตามสมควร ในตอนแรกนี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาพึงพิจารณาดูประวัติของบุคคลที่ได้รับผลแห่งทิฐธรรมเทวนียกรรมฝ่ายอกุศลก่อน ดังต่อไปนี้

    <O:p</O:p
     
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    กรรมของปริพาชิกาสาว*



    *ธัมมปทัฏฐกถา ฉัฏฐมภาค หน้า ๔๗

    <O:p</O:p

    ในกาลแป็นเบื้องต้นพระพุทธศาสนาแห่งเราท่านทั้งหลายนี้ คือสมัยที่องค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ปรากฏว่าพระบวรพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายซึ่งได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทสฯแล้วเกิดปัญญารู้แจ้งชัดในพระไตรลักษณ์ ยังวิปัสสนาญาณให้บังเกิดขึ้นในสันดานของตน ได้บรรลุพระอริยมรรคพระอริยผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลหยั่งลงสู่อริยภูมิ มีจำนวนมากมาย สุดจะนับประมาณได้ ประชาชนพลโลกทั้งหลายสมัยนั้น ต่างพากันมีศรัทธาเลื่อมใส น้อมนำเอาพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอันประเสริฐสุดในชีวิตของตนอย่างแพร่หลาย แล้วได้ทำการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยลาภสักการะเป็นอันมาก เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญขึ้นอย่างสุดขีดเช่นนี้ เหล่าเดียรถีย์ทั้งหลายซึ่งเป็นนักบวชที่สืบต่อมาจากศาสดาผู้โง่เขลาไม่เข้าท่า เพราะมีปัญญาน้อยยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาไม่รู้สภาวะตามที่เป็นจริงก็เกิดความขัดสน ไม่มีคนเชื่อถือในคำสอน เหล่าสาวกที่เคยเคารพนับถือในลัทธิของตนมาแต่ก่อน ก็ถอนศรัทธาหันหน้ามาเคารพบูชาพระบวรพุทธศาสนาเสียเป็นอันมาก ที่มีเหลืออยู่ก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ สถานการณ์ของลัทธิเดียรถีย์ทั้งหลายในขณะนี้ ถึงความเลวร้ายอับรัศมีลงไปทุกทีเหมือนหิ่งห้อยมีรัศมีน้อยไม่สามารถที่จะแข่งกับพระสุริยมณฑลอันแจ่มจ้าในเพลามัชฌิมกาลตะวันเที่ยงแผดแสงเปรี้ยงได้ฉะนั้น เหล่านักบวชชั้นบริหารลัทธิเดียรถีย์คนสำคัญ จึงพากันจัดการแก้ไขแต่งอุบายเพื่อให้คนทั้งหลายหันมาเลื่อมใสลัทธิแห่งตนโดยประการต่างๆ เมื่อไม่สามารถยังประชาชนให้มานับถือสมใจได้สำเร็จ หนักเข้าถึงกับเปิดการโฆษณาตนเองเอาดื้อๆ ว่า

    “พระสมณโคดม เป็นพระพุทธเจ้าจริงเมื่อไรเล่า เราทั้งหลายนี้ต่างหากที่เป็นพระพุทธเจ้าตัวจริง มวลชนที่ให้ทานแก่พระสมณโคมดมและพวกจะมีผลอะไร ให้ไปก็สูญเปล่า ทานที่ให้แก่พวกเราเหล่าเดียรถีย์ศาสนาเก่าทั้งหลายนั้น จึงจะเป็นทานที่มีผลมาก ขอประชาชนทั้งหลาย จงพากันทำบุญให้ทานในสำนักของเราเหล่าเดียรถีย์ศาสนาเก่าเถิด”<O:p</O:p
    เปิดการพูดโฆษณากันอย่างเปิดเผยเช่นนี้ไปตามถนนในเมืองต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร มิหนำซ้ำบางครั้งยังต้องได้รับความอับอายขายหน้าเพราะถูกชาวประชาผู้มีปัญญาไล่ตะเพิดเอาอีกด้วย ในที่สุดนักบวชภาวยนอกพุทธศาสนาเหล่านี้จึงนัดประชุมลับปรึกษาการศาสนาในกรณีที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำลายพระสมณโคดมให้เสื่อมเสีย ไม่เป็นที่เคารพบูชาแห่งมหาชนอีกต่อไปได้ หลังจากช่วยกันคิดหาอุบายเพื่อจะทำลายล้างพระเกียรติคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลานาน คนหนึ่งในที่ประชุมลับนั้น จึงเสนอความคิดอันค่อนข้างแยบคายขึ้นว่า
    <O:p</O:p
    “ในการที่จักทำลายพระสมณโคดมให้เสื่อมเสียเกียรติคุณนั้น ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าจักต้องใช้สตรีเป็นเครื่องมือ เพราะสิ่งที่เป็นมลทินแห่งบุคคลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าสตรี บัดนี้ พวกเรามีสาวิกาบวชเป็นปริพาชิกาอยู่นางหนึ่งนามว่า จิญจมาณวิกา ก็อันนางจิญจมาณวิกาสาวิกาแห่งพวกเรานี้ ท่านทั้งหลายก็ย่อมรู้อยู่แล้วว่า เจ้าทรงโฉมงามโศภาราวกับเทพอัปสรกัญญาพลัดมาอยู่ในเมืองมนุษย์ ฉวีวรรณของเจ้าบริสุทธิ์ผุดผ่องปราศจากราคี รัศมีแห่งความสาวของเธองามเปล่งปลั่งไม่มีหญิงใดจะเปรียบปาน จิญจมาณวิกาสาวเจ้าที่เลอโฉมประหนึ่งนางฟ้านี้ จักเป็นเครื่องมืออย่างดีของเราในการที่จะทำลายชื่อพระสมณโคดม”
    <O:p</O:p
    เมื่อที่ประชุมซักถามถึงอุบาย เดียรถีย์ผู้มีความคิดอันร้ายนั้นก็อธิบายให้ฟังอย่างถี่ถ้วน จนที่ประชุมลงมติรับรองว่า อุบายนั้นใช้ได้แล้ว จึงเลิกประชุมและเตรียมกระทำตามแผนที่วางไว้สืบต่อไป

    “ท่านอาจารย์สบายดีหรืออย่างไร” จิญจมาณวิกาปริพาชิกาโฉมสะคราญซึ่งมาเยี่ยมหัวหน้าเดียรถีย์อาจารย์ของตนในเย็นวันหนึ่ง กล่าวถามขึ้นหลังจากที่กราบไหว้และนั่งลงเรียบร้อยแล้ว

    แต่เดียรถีย์เฒ่าเจ้าเล่ห์ผู้หวังจะใช้สาวเจ้าเป็นเครื่องมือตามแผนการอันร้าย กลับตีหน้าบึ้งขึง แสดงอาการไม่ยินดียินร้ายต่อคำทักทายและการกราบไหว้ของนางเหมือนอย่างเคย แม้จะชวนพูดคุยอย่างไร ก็หาพูดด้วยไม่ ในที่สุดเมื่ออดรนทนไม่ได้ จิญจมาณวิกาสาวงามจึงเรียนถามขึ้นว่า
    <O:p</O:p
    “ข้าแต่ท่านอาจารย์! ดิฉันมีความผิดสิ่งไรหรือ ท่านอาจารย์จึงมีความรังเกียจถึงกับไม่พูดจาด้วย”

    “จิญจมาณวิกา! เจ้าจะมีความผิดสิ่งไรให้เป็นที่ขัดใจเราก็หามิได้ แต่ว่าเวลานี้เราผู้เป็นอาจารย์ของเจ้ากำลังได้รับความทุกข์หนัก เกิดความกลัดกลุ่มใจเป็นที่สุด” เดียรถีย์เฒ่ากล่าวตอบเป็นประโยคแรกดังนี้แล้วก็ถอนใจใหญ่

    <O:p</O:p
    “เรื่องอะไร ท่านอาจารย์กลุ้มใจเรื่องอะไร พอจะบอกแก่ดิฉันให้ทราบได้บ้างหรือไม่”
    <O:p</O:p
    “เจ้าไม่ได้สังเกตบ้างดอกหรือ เวลานี้พวกเราเหล่าเดียรถีร์ ถูกพระสมณโคดมโจมตีด้วยวาทะว่าเป็นคนหาสติปัญญามิได้ จนคนทั้งหลายเขาเสื่อมศรัทธา ศาสนาของเรากำลังจะเสื่อมลงไปทุกที เรากลัดกลุ้มใจจนกินไม่ได้นอนไม่หลับด้วยเหตุนี้”

    ดิฉันจะช่วยท่านอาจารย์ในเรื่องนี้อย่างไรได้บ้างขอท่านอาจารย์ได้กรุณาบอกมาเถิด ดิฉันยินดีช่วยด้วยความเต็มใจ” จิญจมาณวิกาสาวเจ้ารับอาสา ด้วยความสงสารอาจารย์เดียรถีย์ผู้มีความเห็นผิด

    เมื่อสาวิกาสาวที่ตนมุ่งหมายเปิดโอกาสให้ดังนี้ เดียรถีย์เฒ่าเจ้าเล่ห์จึงแกล้งตีหน้าให้เศร้าลงไปกว่าเดิมอีกเป็นอันมาก แล้วพูดขึ้นอย่างช้าๆ ว่า
    <O:p</O:p
    “จิญจมาณวิกาศิษย์รักแห่งอาจารย์! หากว่าเจ้าปรารถนาจักให้อาจารย์มีความสุข และปรารถนาจักให้ลัทธิศาสนาของเรายั่งยืนตลอดไปแล้วเจ้าจงพยายามทำลายขื่อเสียงเกียรติคุณของพระสมณโคดมเสีย อันรูปโฉมของเจ้าก็ทรงไว้ซึ่งความโศภา ไม่มีใครในใต้หล้าที่จะมีรูปงามเกินไปกว่าเจ้า ขอเจ้าจงใช้รูปสมบัตินี้แหละ ทำลายชื่อเสียงของพระสมณโคดมผู้เป็นศัตรูของพวกเราให้พินาศไปให้จงได้”
    <O:p</O:p
    <O:p
    “ไว้ใจเถิด ท่านอาจารย์! การเรื่องนี้จักสำเร็จเรียบร้อยในไม่ช้า ขอท่านอาจารย์อย่าวิตกเลย เจ้าข้า”
    <O:p</O:p
    ปริพาชิกาซึ่งทระนงในรูปสมบัติ เมื่อรับอาสาอาจารย์เจ้าเล่ห์ดังนี้แล้ว ก็กลับมาสู่สำนักแห่งตน ครุ่นคิดถึงแผนการทำลายพระเกียรติคุณแห่งองค์สมเด็จพระทศพลอยู่ไปมา เพราะเหตุที่นางเป็นหญิงฉลาดเป็นอิตถีมายา ในไม่ช้านางก็เริ่มกระทำตามแผนการร้ายที่วางไว้ คือ
    <O:p</O:p
    ในเวลาที่ชาวเมืองสาวัตถี ผู้มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับจากการฟังพระสัทธรรมเทศนาที่พระเชตะวัน อันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์สมเด็จพระบรมครู เดินทางมุ่งหน้าไปสู่บ้านเป็นหมู่ๆ จิญจมาณวิกาศิษย์สาวของเดียรถีย์ก็จัดแจงนุ่งห่มผ้าสีสวยสดเดินสวนทางคนทั้งหลายเหล่านั้นมา โดยมุ่งหน้าไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อถูกเขาถามว่า “เจ้าเดินทางคนเดียวจะไปไหน ในเวลานี้” ก็ทำเป็นทีไม่พอใจแล้วตอบเป็นปริศนาว่า “เราจะไปไหน จะไปพบปะใคร ก็ใช่เรื่องของคนอื่นที่จะมาสอดรู้” ตอบดังนี้แล้ว ก็สะบัดหน้ารีบเดินต่อไป พอลับตาไม่มีใครเห็นแล้ว ก็แอบเข้าไปอาศัยหลับนอนที่สำนักเดียรถีย์แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใกล้พระเชตวันมหาวิหาร

    <O:p</O:p
    ในเวลาเช้าตรู่ เมื่อชนทั้งหลายผู้มีใจเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นยิ่งนัก พากันเดินทางออกจากตัวเมืองมาสู่พระเชตวันมหาวิหารเพื่อจักถวายมนัสการแด่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โฉมงามจิญจมาณวิกาสาวซึ่งมากไปด้วยอิตถีมายาก็แฝงกายออกจากสำนักเดียรถีย์ ทำเป็นทีว่าเพิ่งออกมาจากพระเชตะวัน รีบเดินสวนทางคนเหล่านั้นไปอย่างเร่งรีบแสดงกิริยาพิรุธ
    <O:p</O:p
    “ปริพาชิกาเจ้าไปนอนที่ไหนมา” อุบาสกคนหนึ่ง ซึ่งมุ่งหน้าจะไปถวายนมัสการสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ในตอนเช้า กล่าวถามขึ้นที่กลางทาง ขณะที่นางเดินสวนมา
    <O:p</O:p
    “เราจะนอนที่ไหนและจะหลับนอนกับใคร ก็หาใช่เรื่องที่คนอื่นจะมาสอดรู้สอดเห็นไม่” ปริพาชิกาสาวซึ่งมีอุบายอันร้ายกล่าวให้เป็นปริศนาดังนี้แล้ว ก็รีบเดินทางก้มหน้าเข้าไปในตัวเมือง

    นางเฝ้าเดินไปเดินมาในเส้นทางระหว่างตัวเมืองกับพระเชตะวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับอยู่แห่งองค์สมเด็จพระบรมครูทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าด้วยอาการอย่างนี้อยู่ทุกๆ วัน เมื่อถูกคนทั้งหลายถามก็ตอบด้วยคำพูดประโยคเดิมตามแผนการ ครั้นเวลานานล่วงเลยมาได้ประมาณ ๒ เดือน เมื่อถูกชนทั้งหลายถามในขณะที่เดินสวนมาพบกันในระหว่างทาง นางก็แกล้งทำเป็นเผลอตัวหลุดปากออกมาว่า

    <O:p</O:p
    “พวกท่านทั้งหลาย จะซักไซ้ไล่เลียงถามเราไปทำไมกัน เอ้า! เมื่ออยากรู้จะบอกให้ก็ได้ เราไปนอนค้างคืนที่พระเชตวัน ไปหลับนอนกับพระสมณโคดมทุกๆ คืน”

    เมื่อเห็นชนทั้งหลายผู้ได้ฟังคำตอบของตน เกิดมีอาการงงเป็นไก่ตาแตกดีแล้ว นางก็รีบผละหนีเดินเข้าเมืองต่อไป ฝ่ายชนทั้งหลายที่เป็นปุถุชนและมีสันดานเป็นคนโง่ เพราะหูเบาไม่มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้งอะไร พอได้ฟังนางว่าดังนั้นก็พลันถอยศรัทธา สงสัยไปว่าที่นางพูดนั้นน่าจะเป็นความจริง เพราะเห็นนางเดินไปเดินมาในเส้นทางสายนี้มีกิริยาผิดสังเกตมาหลายวันแล้ว ส่วนคนที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระคุณแห่งพระรัตนตรัย จะได้มีความสงสัยก็หามิได้ นึกอยู่แต่ในใจว่า นางรูปสวยนี้มีสันดานเสียกล้าทำบาปหยาบช้าด้วยวาจา ต่อไปภายหน้าคงจักได้รับกรรมหนักอย่างแน่อน

    เพลาล่วงเลยมาได้ ๔ เดือน นางจิญจมาณวิกาสาวสันดานร้าย ก็เริ่มทำตามแผนการขั้นต่อไปคือเอาผ้ามาพันไว้ที่ท้อง แสดงว่าตนกำลังตั้งครรภ์อ่อนๆ เดินเที่ยวไปมาตามสถานที่ซึ่งมีประชาชนชุมนุมกันเป็นอันมาก เมื่อคนทั้งหลายเกิดความหลากใจ เพราะเห็นนักบวชสาวมีครรภ์ และพากันถามถึงต้นสายปลายเหตุ นางก็แกล้งตีสีหน้าเศร้ากระซิบกระซาบบอกแก่คนเหล่านั้นไปว่า การที่นางตั้งครรภ์ขึ้นอย่างนี้ก็เพราะได้หลับนอนร่วมคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม เมื่อข่าวอันชั่วร้ายลามกแพร่สะบัดไปดังนี้ เหล่าชนที่ไม่มีวิจารณาณก็พากันหลงเชื่อว่าเป็นจริง เกิดความอลเวงสงสัยในวงการพุทธบริษัททั่วไป ฝ่ายผู้ที่มีวิจารณญาณและมีใจเชื่อมั่นในพระพุทธคุณ ก็เกิดความสังเวชใจในคำพูดอันน่าบัดสีของหญิงกาลีจิญจมาณวิกาเป็นยิ่งนัก

    ครั้นแล้วแผนการทำลายพระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นศาสดาเอกครั้งยิ่งใหญ่นั้นก็พลันบรรลุถึงขั้นสุดยอด คือกาลต่อมา เมื่อนางจิญจมาณวิกาเห็นว่าประชาชนพากันซุบวิบเล่าลือถึงเรื่องที่นางตั้งภรรภ์กับพระสมณโคดมอย่างแพร่หลายแล้ว วันหนึ่งนางจึงจัดแจงแต่งตัวตามลักษณะแห่งหญิงมีครรภ์แก่ โดยเอาไม้กลมๆ มาผูกไว้ที่ท้องอย่างแน่นหนาแล้วนุ่งผ้าทับ แล้วเอาไม้อีกท่อนหนึ่งมาทุบตีทีมือและเท้าของตนให้บวมขึ้น แม้จะเจ็บปวดอย่างไรก็ยอมทน ทั้งนี้เพื่อจักแสดงให้คนทั้งหลายเข้าใจว่าตนตั้งครรภ์จริง เมื่อแต่งตัวเสร็จสำรวจดูเห็นว่าพอที่จะตบตาประชาชนทั้งหลายได้แล้ว ก็เดินอุ้ยอ้ายตามลักษณาการแห่งหญิงมีครรภ์ ออกจากสำนักเดียรถีย์ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งตนมุ่งหน้าไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อไปถึงแลเห็นสมเด็จพระพิชิตมารกำลังทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาอยู่บนพุทธอาสน์อันสูงเด่น แวดล้อมไปด้วยพุทธบริษัทเป็นอันมาก ก็ดีใจนักนึกว่าแผนการของตนคงจักสำเร็จลงในเพลาเย็นวันนี้เป็นแน่ จึงขอโอกาสแล้วค่อยแหวกฝูงชนเข้าไป จนกระทั่งมายืนเด่นอยู่เบื้องพระพักตร์องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วแกล้งกล่าวเป็นเชิงตัดพ้อต่อว่าด้วยเสียงอันดังว่า

    “ข้าแต่เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นมหาสมณะ! พระองค์เป็นบุรุษทรงโฉมโศภาแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนได้อย่างคล่องแคล่ว มีพระสุรเสียงอันแสนจะไพเราะและมีระบียบแห่งฟันอันงามยิ่งนัก ขอพระองค์จงทรงพิจารณาดูอาการอันสมควรเถิด จงทรงหยุดแสดงพระธรรมเทศนาก่อนด้วยว่า บัดนี้ข้าพระบาทมีครรภ์อันแก่อยู่แล้ว พระองค์มิได้รู้หรือประการใด พระองค์ทรงกระทำอาการเหมือนดั่งว่ามิได้สนใจ พระองค์มิได้รู้ที่จะสงเคราะห์ข้าพระบาทนามว่าจิญจมาณวิกา ทรงปล่อยให้ข้าพระบาทได้รับทุกขเวทนาอยู่แต่เพียงคนเดียว จะได้ทรงแลเหลียวห่วงใยเหมือนบุรุษอื่นที่เป็นสามีแห่งหญิงทั้งหลายก็หามิได้ ข้อนี้เป็นเหตุยังความน้อยน้ำใจให้เกิดแก่ข้าพระบาททุกทิพาราตรี พระองค์เป็นบุรุษที่รู้แต่ว่าจะอภิรมย์ยินดีอย่างเดียว แต่จะได้รู้จักจัดแจงเรือนประสูติแห่งข้าพระบาทก็หามิได้ ถึงมาตรว่าจะมีพระอัธยาศัยไม่สนใจในการจัดแจงเรื่องการประสูติ แห่งข้าพระบาทซึ่งมีครรภ์ในครั้งนี้ด้วยตนเอง ก็น่าจะที่จะบังคับอุปัฏฐากใหญ่ๆ เช่นสมเด็จพระราชาธิบดีปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นอาทิ ให้ช่วยจัดแจงในเรื่องนี้แทนพระองค์เป็นความลับ ก็ยังนับว่าพระองค์ทรงมีพระเมตตาในข้าพระบาทนามว่า จิญจมาณวิกา แต่นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระองค์ทรงทำเป็นไม่สนใจ ผิดกับในกาลก่อน ด้วยว่ากาลก่อนแรกเดิมทีพระองค์ทรงอภิรมย์ยินดีกับข้าพระบาทเป็นยิ่งนัก ครั้นข้าพระบาทมีครรภ์ด้วยความหลงใหลรักใคร่พระองค์ก็ทรงแสดงพระอาการไม่ใส่ใจ แม้แต่การที่จะไต่ถามว่าจิญจมาณวิกานี้เป็นอย่างไร ก็มิได้มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้จักไม่ให้ข้าพระบาทน้อยในน้ำใจกระไรได้เล่า พระเจ้าข้า”
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กล่าวเสร็จจอมมายาจิญจมาณวิกาก็ยกมือขึ้นปิดหน้าแล้วร้องงไห้สะอึกสะอื้นอยู่ หารู้ไม่ว่าการกล่าวตู่เพื่อทำลายเกียรติคุณแห่งองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าที่ตนกระทำนั้นสำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล สามารถที่จะดลบันดาลให้ได้รับความทุกข์ในปัจจุบันชาติแล้ว และองค์สมเด็จพระประทีปแก้วพุทธเจ้าจักทรงได้รับความกระทบกระเทือนจากแผนการที่ตนเฝ้ากระทำมาแรมเดือนแม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ เพราะการกล่าวตู่สมเด็จพระบรมครูด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริงนั้น ย่อมเปรียบเหมือนอาการแห่งคนบ้า ที่พยายามขว้างปาก้อนคูถไปยังพระจันทรเทพบุตร ซึ่งบริสุทธิ์ผุดผ่องลอยเด่นอยู่ ณ เบื้องเวหาหน

    ฝ่ายสมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งกำลังทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธบริษัทอยู่ ด้วยน้ำพระทัยอันประกอบด้วยพระกรุณาใหญ่ เมื่อได้ทรงสดับการกล่าวตู่ของนางบาปจิญจมาณวิกาเช่นนั้นก็ทรงหยุดพักการแสดงพระธรรมเทศนาแล้วทรงมีพระพุทธฎีการตรัสว่า
    <O:p</O:p
    “ดูกรน้องหญิง! ถ้อยคำที่เจ้ากล่าวมานั้นจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงในโลกนี้มีเจ้ากับเราเท่านั้นที่จะรู้ได้”
    <O:p</O:p
    “ใช่ซิ พระเจ้าข้า” ปริพาชิกาสาว กล่าวสวนคำขึ้นทันใด “ในเรื่องนี้ก็มีอยู่แต่พระองค์และข้าพระบาทเท่านั้นที่รู้ คนอื่นใครเล่าเขาจะมารู้ด้วย” กล่าวแล้วก็ยืนร้องไห้ประท้วงอีกต่อไปในที่นั้นเอง หาไปไหนไม่

    <O:pในขณะนั้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์แห่งท่านท้าววชิรปาณีสักรินทรเทวราชผู้ทรงเป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็มีอาการถึงความมหัศจรรย์ เกิดมีอันร้อนและกระด้างขึ้นทันใด ผิดปรกติผิดธรรมดา พระองค์จึงทรงอาวัชนาการกำหนดว่า เหตุไฉนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ จึงบังเกิดมีอาการอันวิปลาสไปฉะนี้ ทันใดก็ทรงทราบอรรถคดีโดยถ้วนถี่ จึงมีเทวดำริสืบไปว่า

    <O:pนางจิญจมาณวิกานักบวชเพศปริพาชิกา มีสันดานพาลร้ายกาจบังอาจมากล่าวตู่องค์สมเด็จพระบรมครูเจ้า ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง การณ์นี้เราจะนิ่งเฉยเสียหาควรไม่ จำเราจะลงไปทำลายล้างเสีย ซึ่งความสงสัยอันบังเกิดขึ้นในท่ามกลางบริษัท ๔ ขณะนี้จึงจะควร”

    <O:pมีเทวดำริดังนี้แล้ว ก็รีบเสด็จด่วนจรลงมาจากดาวดึงสเทวโลกพร้อมกับเทพบุตรผู้เป็นบริวาร๔ องค์ ครั้นถึงพระเชตวันมหาวิหารก็ทรงมีเทวประกาศิตสั่งให้เทพบุตรบริวารแปลงเพศเป็นมุกสิกชาติเข้าไปกัดมณฑลแห่งด้ายกับท่อนผ้าที่หน้าท้องนางให้ตกลงมาท่ามกลางสายตาแห่งจตุบริษัทในปัจจุบันทันด่วน แล้วก็ทรงบันดาลให้มีลมพาพัดผ้าที่นางนุ่งทับไว้ให้เพิกขึ้นด้วยอำนาจแห่งเทพฤทธิ์ นางจิณจมาณวิกา จอมมายาเมื่อเห็นท่อนไม้ที่ผูกไว้ตกลงมาอย่างอัศจรรย์เช่นนั้น ก็พลันบังเกิดความตกใจสุดขีด คิดจะวิ่งหนีไปโดยเร็ว เพราะเห็นว่ากลอุบายของตนแตกแล้วแต่ช้าไป ด้วยว่าชนทั้งหลายซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ นั้นได้พากันจับยึดเอาตัวนางไว้และจู่ตะคอกด้วยความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งว่า
    <O:p</O:p
    “ดูกรนางกาลี! เหตุดังฤา เจ้าจึงมากล่าวตู่สมเด็จพระบรมครูเจ้าด้วยถ้อยคำอันไปม่เป็นจริงเห็นปานนี้”<O:p</O:p
    บริภาษดังนี้แล้ว ก็นำตัวออกมาจากที่ประชุมฟังธรรมแล้วก็ขับไสไล่ส่งให้รีบออกไปจากพระเชตวันมหาวิหารด้วยความเกลียดชัง พอนางจิญจมาณวิกาหญิงซึ่งมีอกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมเดินออกมานอกพระเชตะวันเพียงลับพระเนตรแห่งองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เท่านั้น ก็เกิดมีอัศจรรย์บันดาลเป็นแผ่นพื้นพสุธาอันหาจิตมิได้ แต่บัดนี้มีอาการประหนึ่งว่าไม่สามารถที่จะทรงไว้ซึ่งมนุษย์ที่มีบาปหนักเช่นนางได้จึงแตกแยกออกเป็นช่องตรงที่นางเหยียบ มีเปลวไฟพลุ่งขึ้นมาตรงช่องแห่งพื้นพสุธานั้น เผาไหม้กายนางลุกแดงโชติช่วง ร่างอันสะคราญตาแห่งนางจิญจมาณวิกาในขณะนี้ ถูกไฟซึ่งพลุ่งขึ้นมาจากอเวจีมหานรกรุมล้อมเผาไหม้อยู่แดงฉาน ปรากฏแก่สายตาของประชาชน ประหนึ่งว่านางนั้นห่มผ้ากัมพลมีสีแดงเพลิงก็ปานกัน และแล้วร่างของแม่สาวงามจิญจมาณวิกา ซึ่งมีพฟติกรรมประหนึ่งถ่มน้ำลายรดฟ้า เพราะบังอาจกล่าวตู่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ สำเร็จเป็นอกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมก็ค่อยๆจมหายลงไป ณ ภายใต้พื้นปฐพีที่แยกออกนั้นแล้วพลันกลายเป็นสัตว์นรกร่างร้ายยืนให้ไฟเผาไหม้กายได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสอยู่ในอเวจีมหานรกขุมลึกตลอดเวลา

    ประวัติของนางจิญจมาณวิกาสัตว์นรกอเวจีตามที่พรรณนามานี้ย่อมเป็นเครื่องชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ผู้ที่ใจบาปหยาบช้าสร้างบาปสำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลแล้ว ก็ย่อมจะได้รับแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้อย่างปัจจุบันทันตาเห็น เช่น นางจิญจมาณวิกาปริพาชิกาสาวิกาของเดียรถีย์เฒ่าเจ้าอุบายซึ่งกล่าวใส่ร้ายสมเด็จพระบรมครูผู้บริสุทธิ์สำเร็จเป็นทิฐธรรมเทวนียกรรมฝ่ายอกุศล แล้วถูกกรรมนั้นดลบันดาลให้ถูกธรณีสูบไปเกิดเป็นสัตว์นรกอเวจีเป็นปัจจุบันในวันนั้นทันที

    <O:p</O:p
     
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ
    ในบุญกุศล
    กับท่านที่ได้นำพระธรรม
    มาเผยแพร่ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ส่วนชีวประวัติของบุคคลทั้งหลายที่ได้เสวยผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลนั้น ท่านพระโบราณาจารย์ได้กรุณาแสดงไว้ในคำสอนทางพระพุทธศาสนามากมายหลายเรื่อง แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองเวลา ในที่นี้จักนำเอามากล่าวไว้เพื่อให้ท่านผู้มีปัญญาได้พิจารณาดูพอเป็นตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้


    กากวฬิยเศรษฐี*

    <O:p*ปปัญจสูทนี มัชฌิมนิกายัฏฐกถา ตติยภาค หน้า ๑๒๒



    <O:pสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเราทั้งปวง ยังทรงพระชนมชีพอยู่ คือยังไม่เสด็จลุล่วงเข้าสู่แดนอมตมหานฤพานนั้น ณ เมืองราชคฤห์มหานคร มีชายเข็ญใจคนหนึ่งซึ่งมีนามปรากฏว่า นายกากวฬิยะ ก็อันนายกากวฬิยะนี้ เพื่อนเป็นคนมีวาสนาอาภัพ เพราะเกิดมาในตระกูลที่ยากจน เลี้ยงชีวิตอยู่ในโลกด้วยความยากลำบาก ต้องทำงานหนักตลอดวัน ไม่มีเวลาที่จะนึกการบุญการกุศลสิ่งไรทั้งสิ้น วันหนึ่งภรรยาของเขาเตรียมต้มข้าวกับใบผักกองรวมกันเป็นข้าวยาคูเปรี้ยว เพื่อจะให้เขากินตามประสาจน ขณะนั้นสาวกองค์สำคัญแห่งสมเด็จพระทศพลเจ้า คือ พระมหากัสสปเถระ ท่านออกจากนิโรธสมาบัติอันประเสริฐพอดี ก็ตามธรรมดาพระมหาเถรเจ้ากัสสปะองค์นี้ ท่านเป็นองค์อรหันต์ที่มีจิตมากไปด้วยความกรุณา เมื่อออกไปจากนิโรธสมาบัติแล้ว ท่านย่อมมีความปรารถนาใคร่จักกระทำการสงเคราะห์แก่คนยากจนเข็ญใจทุกครั้งไป ในคราวนี้ก็เช่นกัน เมื่อท่านออกจากนิโรธสมาบัติอันเป็นคุณธรรมพิเศษที่จะพึงเข้าถึงได้โดยยากแล้ว จึงพิจารณาถึงบุคคลผู้เข้าไปในข่ายที่ควรจะสงเคราะห์ ครั้นพระผู้เป็นเจ้าพิจารณาไปก็ทราบได้ด้วยญาณวิเศษว่า กระทาชายนายกากวฬิยะกับภรรยาของเขาซึ่งเป็นคนยากไร้ เป็นผู้ที่สมควรจักได้รับการสงเคราะห์มากกว่าคนอื่น เมื่อทราบดังนี้แล้ว พระผู้เป็นเจ้าผู้มีใจกรุณา ก็จัดแจงเตรียมองค์นุ่งสบงทรงจีวร มีกรถือบาตรเดินมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมือง ไปยืนอยู่แทบใกล้ประตูเรือนแห่งกากวฬิยบุรุษนั้น

    <O:pพอดีภรรยาของเขาออกมาจากประตูเรือนอันเก่าคร่ำคร่า ครั้นเห็นพระมหาเถรเจ้าผู้มีชื่อเสียงลือชาเป็นที่เคารพสักการะแห่งองค์พระมหากษัตริย์และเศรษฐีเสนาบดีทั้งหลาย มายืนเพื่อบิณฑบาตอยู่หน้าบ้านของตนผู้เป็นคนเข็ญใจเช่นนั้น ก็พลันบังเกิดเป็นปีติซาบซ่านขึ้นในดวงใจ มีศรัทธาใคร่จะถวายบิณฑบาตทานแก่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยข้าวยาคูเปรี้ยวที่ต้มไว้เพื่อจะให้แก่สามี ซึ่งขณะนี้ไม่อยู่เพราะออกไปทำงานนอกบ้าน ทันใดที่เกิดศรัทธาขึ้นอย่างแรงกล้า นางจึงรีบออกมาจากเคหากระทำการอภิวาทแล้ว รับเอาบาตรแห่งพระมหาเถรเข้าไปในเรือน ใส่ข้าวยาคูเปรี้ยวลงจนหมดสิ้นให้สมใจศรัทธา ไม่ได้แบ่งปันไว้ให้แก่นายกากวฬิยะผู้เป็นสามีเลย ครั้นแล้วก็น้อมนำเอาบาตรมาถวายแก่พระมหาเถรเจ้าด้วยความเลื่อมใสเป็นหนักหนา พระมหากัสสปเถรเจ้ารับบาตรแล้ว ก็กล่าวคำอนุโมทนาและเดินกลับไปสู่วิหาร น้อมนำข้าวยาคูเปรี้ยวนั้นเข้าไปถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกต่อหนึ่ง


    <O:pสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับเอาบาตรข้าวยาคูเปรี้ยวแล้ว ก็ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสให้แบ่งแก่พระภิกษุทั้งหลายทุกรูปซึ่งอยู่ในพระวิหาร เมื่อพระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประธานพร้อมทั้งองค์อรหันต์ท่านพระมหากัสสปะฉันภัตตาหารและข้าวยาคูเปรี้ยวของคนเข็ญใจอยู่ด้วยความอนุเคราะห์นั้น นายกากวฬิยะผู้รู้ข่าวว่าภรรยามีศรัทธาถวายอาหารอันเป็นส่วนของตนให้แก่ท่านพระมหากัสสปเถรเจ้าองค์อรหันต์ก็ดีใจสุดประมาณ และติดตามมาจนถึงพระวิหาร ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จลงพอดี ฉะนั้นเขาจึงมีโฮกาสได้รับประทานอาหารอันเป็นส่วนเหลืออีกหน่อยหนึ่งด้วย

    <O:pเพื่อที่จักยังคงความปรีดาปราโมทย์ให้เกิดขึ้นแก่คนเข็ญใจโดยยิ่งพระมหากัสสปเถรเจ้าจึงกราบทูลถามสมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูเจ้าขึ้นต่อหน้านายกากวฬิยะนั้นว่า

    <O:p“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคย์ พระพุทธเจ้าข้า ภรรยาของนายกากวฬิยะผู้นี้มีศรัทธาได้ถวายอาหารบิณฑบาตทาน กาลต่อมา ตัวนายกากวฬิยะเอง เมื่อทราบข่าวก็มีจิตยินดีปรีดาในอาหารบิณฑบาตทานนั้นเป็นอย่างยิ่ง อานิสงส์แห่งทานของเขาทั้งสองในครั้งนี้จักมีเป็นประการใดพระเจ้าข้า”<O:p</O:p

    สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า จึงมีพระพุทธฎีการตรัสพยากรณ์ว่า “ดูกร กัสสปะ! นับแต่วันนี้ไปได้ ๗ วัน เมื่อถึงวันที่คำรบ ๗ แล้ว กากวฬิยบุรุษผู้นี้ จักได้ฉัตรสำหรับเศรษฐี เขาจักได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเศรษฐีจากองค์พิมพิสารราชาธิบดีในเมื่อครบ ๗ วันนับจากวันนี้เป็นต้นไป”<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    นายกากวฬิยะคนยากไร้ พอได้สดับพระพุทธฎีกาตรัสดังนั้น ก็พลันดีใจจนน้ำตาไหล ถวายบังคมสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าและถวายนมัสการพระมหากัสสปเถรเจ้าผู้มีพระคุณกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายกลับไปบ้านแล้วบอกความที่สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสพยากรณ์นั้นแก่ภรรยาแห่งตน หญิงยากจนแต่ได้สร้างกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรม คือภรรยาของเขานั้น ครั้นได้ฟังความที่สามีบอกก็มีจิตชื่นชมโสมนัสด้วยบิณฑบาตทาน ที่ตนได้ถวายแก่พระมหากัสสปเถรเจ้าผู้เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติเป็นยิ่งนัก

    <O:pกาลครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดี ผู้เป็นจอมคนแห่งกรุงราชคฤห์มหานครเสด็จสัญจรเที่ยวไปโดยราชกิจ เพื่อจักทอดพระเนตรซึ่งขอบเขตภูเขาและประเทศไพรวันที่แวดล้อมพระนครราชคฤห์ตามพระราชอัธยาศัย ก็เมืองราชคฤห์ในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มีภูเขาล้อมรอบถัดจากภูเขานั้นไป มีป่าใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งประชากรทั้งหลายพากันให้นามว่า มหาเปตโลก ก้ที่ป่ามหาเปตโลกนี้เป็นที่อยู่แห่งฝูงเปรตฝูงผี มีคำเล่าลือกันว่าบรรดาผีดุผีร้าย ย่อมอยู่อาศัยที่ป่ามหาเปตโลกนี้มากมาย เพลาราตรีแล้ว ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งที่จักมีใจกล้าย่างกรายเข้าไปในที่นั้นได้เลย เพราะทุกคนในพระนครราชคฤห์ย่อมรู้ว่าที่นั้นเป็นแดนผีแดนอุบาทว์ เมื่อสมเด็จพระบรมกษัตริย์พิมพิสารเสด็จทัศนาจรมาถึงมหาเปตโลกนั้นเป็นเวลากลางวัน ได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งอนาคตของเขาก็คือ ผี! เพราะบุรุษผู้นี้มันเป็นโจรร้ายถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับได้ แล้วนำมาลงโทษโดยการเสียบเป็นให้ได้รับทุกขเวทนาอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะตายไปเองเมื่อพระองค์ทรงเห็นมันถูกทรมานมากมาย ก็มีพระทัยกรุณาจึงเสด็จไปใคร่จักทรงไต่ถามความเป็นไป ในขณะนั้น เจ้าโจรร้าย นักโทษเสียบเป็นเหลือบมาเห็นพระองค์กำลังทรงดำเนินมาแต่ไกล มันก็ได้ร้องเอ็ดตะโรขึ้นก่อนว่า

    “ข้าแต่พระเจ้าแผ่นดิน! มีอะไรกินบ้างหรือไม่ ถ้ามีก็จงรีบเอามาให้ข้าพเจ้าไวๆ สักหน่อยเถิดเป็นไร ถ้าไม่มีก็จงอย่ามาเลย ข้าพเจ้านี้เป็นโจรใจร้าย ได้รับโทษตามกฎหมายของท่านในครั้งนี้แสนสาหัสฉกรรจ์นัก”

    <O:pทรงสดับเสียงร้องขอข้าวด้วยเสียงอันดัง คล้ายเสียงของคนวิกลจริตเช่นนี้ องค์นฤบดีพิมพิสารโสดาบันก็ยิ่งทรงมีพระทัยหวั่นไหวไปด้วยความกรุณา จึงเสด็จเข้าไปใกล้เจ้าโจรร้ายนักโทษมหันต์ แล้วมีพระราชดำรัสแก่มันว่า <O:p

    “ดูกรเจ้าโจรเอ๋ย ! เจ้าจงตั้งสติสัมปชัญญะให้จงดีเถิด อย่าคิดฟุ้งซ่านไปนักเลย การที่เจ้าต้องได้รับทุกขโทษแสนสาหัสฉกรรจ์ในครั้งนี้ ก็จงปลงใจเสียว่าเป็นกรรมที่ตนได้ทำมา อนึ่งที่เจ้าออกปากขอข้าวปลาอาหารแก่ข้านั้น บัดนี้เป็นการจนใจแก่ข้าจริงๆ เพราะไม่มีอาหารสิ่งใดสิ่งหนึ่งติดมือมาเลย แต่เอาถเถิดเมื่อข้ากลับเข้าเมืองแล้ว จักสั่งให้คนเขานำเอามาให้”<O:p

    เมื่อได้ฟังคำปลอบใจ ด้วยพระกระแสเสียงอันไพเราะอ่อนโยน เจ้าโจรใจฉกาจจึงลดความอาฆาตคลุ้มคลั่งลง แล้วมันก็กราบทูลด้วยเสียงอ่อนลงกว่าเดิมว่า<O:p

    “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ! เป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่กระหม่อมฉันอย่างหาที่สุดมิได้ ในการที่พระองค์ทรงมีพระกรุณามาเตือนสติและออกพระโอษฐ์ว่าจะทรงใช้ให้คนนำอาหารมาให้แก่กระหม่อมฉันผู้ใกล้จะตาย แต่กระหม่อมฉันใคร่จักกราบทูลขอพระราชทานเป็นพิเศษสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความปรารถนามานานแล้ว คือว่าเมื่อพระองค์ทรงใช้ให้คนนำอาหารมาพระราชทานนั้น กระหม่อมฉันขอพระราชทานพระบวรกระยาหารที่พระองค์เสวย พระองค์เสวยชนิดใด ขอจงพระราชทานให้แก่กระหม่อมฉันผู้ใกล้จะตายชนิดนั้น ทั้งนี้ก็เพราะกระหม่อมฉันมีความปรารถนาอันฝังใจมานานว่า อาหารมื้อสุดท้ายในชีวิตนี้ขอให้ได้เป็นอาหารที่สมเด็จพระบรมกษัตริย์เสวย เมื่อกระหม่อมฉันได้รับพระราชทานพระบวรกระยาหารตามความปรารถนาแล้ว ครั้นถึงคราวตายก็คงจักหลับตาตายอย่างสุขใจเป็นแน่ พระเจ้าข้า”

    <O:p“สุขอะไร! ตายไปแล้วเจ้าจะต้องไปเสวยทุกขโทษในนรกยิ่งกว่านี้น่ะไม่ว่า เพราะเจ้าทำบาปหยาบช้ามามากมายนักเจ้าโจรเอ๋ย” สมเด็จพระราชาธิบดีเกือบจะทรงเอ่ยตอบมันไปว่าดังนี้แล้ว แต่ทรงฉุกคิดว่มันพูดไปตามประสาคนไร้ปัญญา จึงรับปากกับมันว่า “เอาเถอะ ไม่เป็นไร ข้าจะส่งอาหารที่เจ้าปรารถนาให้ในเพลาวันนี้” ตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จไปจากที่นั้นเพื่อทอดพระเนตรสถานที่อื่นต่อไปอีก<O:p</O:p


    ครั้นเสด็จกลับจากการเที่ยวประพาสรอบเขตพระนคร มาถึงพระบรมมหาราชวังก็ทรงสรงสนานแล้วทรงพักผ่อนด้วยความอ่อนเพลียโดยทรงลืมใช้ให้คนนำอาหารไปให้แก่นักโทษเสียบเป็นตามที่ทรงรับปากกับมันไว้เสียสนิท เพลาล่าวงมาถึงยามราตรี ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่เสวยพระกระยาหารตามปรกติประจำวัน ครั้นพ่อครัวหลวงอัญเชิญพระสุวรรณภาชน์ที่ใส่เครื่องพระบวรกระยาหารเสวยเข้ามาตั้งตรงพระพักตร์แล้วนั่นแล พระองค์จึงทรงระลึกถึงคำของนักโทษใจโอหังได้ ให้ตกพระทัยด้วยทรงเกรงว่าจะเสียสัตย์ที่รับปากกับมันไว้ว่าจะส่งไปให้ในวันนั้น จึงทรงมีพระราชโองการดำรัสให้จัดหาคนที่สามารถ อาจเอาสุวรรณภาชน์ซึ่งใส่พระกระยาหารออกไปให้แก่นักโทษเสียบเป็น ณ ป่ามหาเปตโลกในเพลาราตรีนั้นแล้ว จะพระราชทานทรัพย์เป็นมูลค่าสูงถึง ๑,๐๐๐ ตำลึง อย่าว่าแต่จะให้ไปในยามราตรีเลย แม้แต่เพียงเอ่ยชื่อว่ามหาเปตโลกเท่านั้น คนทั้งหลายก็ให้เกิดความสะดุ้งกลัว ใจคอหวาดหวั่นเหมือนกับใช้ให้ไปหาพระกาฬ ฉะนั้น จึงหามีผู้ใดผู้หนึ่งในราชสำนักรับอาสาไม่<O:p

    “ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงออกไปเดี๋ยวนี้ นำเอาทรัพย์มีมูลค่าหนึ่งพันตำลึงไปด้วย เที่ยวป่าวร้องไปให้ทั่วเมือง ใครจะกล้าสามารถรับอาสาไปทำการนี้ได้ ก็จงให้ทรัพย์แก่เขาในทันทีเร็ว ๆ เข้า อย่าช้า” ทรงมีพระราชดำรัสสั่งแก่หมู่อำมาตย์ด้วยทรงคาดหวังว่าอาจจะมีผู้ที่ใจกล้ารับอาสาได้บ้าง

    <O:pอำมาตย์ทั้งหลายรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าแล้ว ก็นำเอาพระราชทรัพย์เที่ยวร้องป่าวไปทั่วบริเวณตัวเมือง ตระเวนไปรอบๆ ถึง ๒ ครั้งแล้วก็ยังไม่มีผู้ใดจักใจกล้าและรับอาสา ต่อเมื่อเที่ยวป่าวร้องไปในวาระเป็นคำรบ ๓ ทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ก็เข้าดลจิตภรรยาแห่งนายกากวฬิยะคนเข็ญใจที่ถวายอาหารบิณฑบาตทานแก่ท่านพระมหากัสสปเถรเจ้าให้เกิดใจกล้าคิดจักรับอาสา จึงออกมาจากเรือนอันเก่าคร่ำคร่าแล้ว เข้าไปแจ้งความแก่อำมาตย์ราชบุรุษเหล่านั้นและรับเอาทรัพย์หนึ่งพันตำลึงไว้ ฝ่ายราชบุรุษทั้งหลายเมื่อได้คนอาสาแล้วก็โล่งใจ รีบพานางคนเข็ญใจเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วกราบทูลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งตนว่า

    <O:p“ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า นางคนนี้มีใจกล้ารับเอาพระราชทรัพย์พันตำลึงไว้ว่าจะอาสาพระองค์นำเอาเรื่องพระยาเสวยออกไปให้นักโทษเสียบเป็นในป่ามหาเปตโลก เพลาราตรีเดี๋ยวนี้พระพุทธเจ้าข้า”<O:p

    “เออ! ... ดีแล้ว เจ้าจงรีบจัดการเอาไปเถิด” สมเด็จพระราชาธิบดีพิมพิสารตรัสขึ้นอย่างพอพระราชหฤทัย<O:p

    นางคนเข็ญใจภรรยาแห่งนายกากวฬิยะก็ทูลขอเครื่องแต่งกายถือเอาเพศเป็นบุรุษสวมสอดเบญจาวุธ เช่นเดียวกับมหาโยธาซึ่งจะย่างเข้าสู่สมรภูมิทำสงครามกับข้าศึกเสร็จแล้วก็รับเอาถาดสุวรรณภาชน์ที่ใส่เครื่องกระยาเสวยแห่งองค์สมเด็จพระบรมกษัตริย์ ผู้ทรงมั่นอยู่ในคำสัตย์กราบถวายบังคมลาแล้วก็ออกจากพระบรมมหาราชวังไปแต่เพลานั้น ซึ่งเป็นยามราตรีมืดตื้อ

    <O:pในกาลครั้งนั้น ยังมียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ทีฆฏผลยักษ์ สิงสู่อยู่ที่ต้นตาลภายนอกพระนครมานานแล้ว ยังไม่เคยเห็นมนุษย์คนใดย่างกรายเข้ามาสู่ที่อยู่แห่งตนในยามราตรีเลย เมื่อมันแลเห็นภรรยาของนายกากวฬิยะซึ่งแต่งกายเป็นบุรุษ แบกถาดทองใส่อาหารเดินมาในยามวิกาลเช่นนั้น ก็มีความแปลกใจ จึงร้องเรียกออกไปด้วยเสียงมนุษย์ว่า<O:p

    “ใครเว้ย! ใครนั่นหนา... เดินผ่านเข้ามาในอาณาเขตแห่งข้า จงหยุดพูดจากันก่อนหาไม่แล้วจะเคราะห์ร้าย รู้ตัวหรือไม่เล่าว่า บัดนี้ตัวเจ้าอยู่ในอาณาเขตของข้า และตกเป็นภักษาหารของข้าแล้ว”<O:p

    “ท่านเป็นใคร? “ นางถามขึ้นด้วยความตกใจ เพราะอยู่ๆ ก็ได้ยินคำขู่ในเพลาราตรีอันน่ากลัว

    <O:p“ยักษ์! ข้าเป็นยักษ์บริวารของท่านท้าวเวสสุวัณเทพบุตรยักขาธิบดีสิงสู่อยู่ ณ ที่นี่มานาน ก็แล้วท่านเล่าเป็นใคร?”<O:p

    “เราเป็นราชทูตแห่งสมเด็จพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้เป็นใหญ่ในอาณาจักรมหานครราชคฤห์นี้ทั้งหมด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ให้เราไปป่ามหาเปตโลก ซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้าด้วยพระราชกิจรีบร้อน สมควรหรือที่ท่านจะกินเราเป็นภักษาหาร ท่านมหายักษ์”<O:p

    “อ้อ! เป็นราชทูตของสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นใหญ๋หรือ ถ้าเช่นนั้นก็ไม่เป็นไร”<O:p

    ยักษ์ผู้สิงอยู่ที่ต้นตาลกล่าวเสียงอ่อนลดความดุดันลงเพราะเกรงในพระราชอำนาจแห่งองค์สมเด็จพระบรมกษัตริย์ผู้ทรงคุณวิเศษสำเร็จเป็นพระโสดาบัน แล้วถามต่อไปอีกโดยธรรมดาว่า “เมื่อตะกี้นี้ ท่านว่าพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งใช้ให้ท่านไปป่ามหาเปตโลกมิใช่หรือ”<O:p

    “ถูกต้องแล้ว พระองค์รับสั่งใช้ให้เราไปป่ามหาเปตโลก”
    <O:p</O:p
    “รับสั่งใช้ให้ไป ด้วยราชกิจดังฤา?”
    <O:p</O:p
    “พระเจ้าอยู่หัวของเรา พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ตั้งอยู่ในความสัตย์ เพื่อเพลากลางวันทรงรับว่าจะพระราชทานพระกระยาหารที่เสวยแก่นักโทษเสียบเป็นผู้หนึ่ง แต่พระองค์ทรงลืมไป ครั้นทรงนึกขึ้นได้จึงทรงใช้ให้เรานำมาให้ในราตรีเพลานี้”
    <O:p</O:p
    “ดีแล้ว ที่ท่านใจกล้ารับอาสาทำราชกิจซึ่งบุคคลอื่นกระทำได้โดยยาก เพราะตามธรรมดาเพลาราตรี เราไม่เห็นมีมนุษย์คนใดคนหนึ่งเดินผ่านมาทางนี้เลย เออ! ....เรานึกถึงกิจของเราได้อย่างหนึ่ง ใคร่จะขอพึ่งท่านผู้เป็นราชทูต ท่านจะยินดีช่วยเหลือเราได้หรือไม่”
    <O:p</O:p

    “จะเป็นไรมี ถ้ากิจนั้นไม่เหลือบ่ากว่าแรงแล้ว เรายินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขอท่านจงบอกกิจที่จะให้เราทำมาเถิด ท่านมหายักษ์"
    <O:p</O:p
    “ดูกรมนุษย์! เมื่อท่านเดินทางไปใกล้จะถึงป่ามหาเปตโลกไกลโพ้นท่านจงตะโกนร้องประกาศไปเป็นภาษามนุษย์ด้วยสำเนียงอันดังว่า

    “บัดนี้ นางกาลีมีฐานะเป็นธิดาท่านสุมนเทวราชซึ่งเป็นภรรยาแห่งทีฆฏผลยักษ์ได้บุตรเป็นเพศชายแล้ว ท่านจงประกาศตามที่เราสั่งนี้เรื่อยๆ ถ้าคำป่าวร้องของท่านรู้ไปถึงสุมนเทวราชจะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตามเราจะให้ขุมทรัพย์ ๗ ขุม อันมีอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งมีประโยชน์แก่มนุษย์เช่นท่านนักหนา แต่ว่าหาความสำคัญอันใดสำหรับเรามิได้ จงรีบไปเถิดท่านราชทูต"
    <O:p</O:p
    ภรรยาของนายกากวฬิยะที่แต่งตั้งตนเองเป็นราชทูตแห่งสมเด็จพระพิมพิสารราชาธิบดีรับคำยักษ์ที่สิงสู่อยู่บนต้นตาลสูงนั้นแล้ว ก็รีบเดินทางต่อไป ครั้นเดินมาใกล้จะถึงป่ามหาเปตโลก จึงร้องตะโกนอยู่โหวกๆ คล้ายกับเอาเสียงเป็นเพื่อน

    “บัดนี้ นางกาลีมีฐานะเป็นธิดาท่านสุมนเทวราช ซึ่งเป็นภรรยาแห่งทีฆฏผลยักษ์ได้บุตรเป็นเพศชายแล้ว” เดินทางไปพลาง ร้องตะโกนไปพลางอย่างนี้ จนกระทั่งเข้าเขตป่ามหาเปตโลก ในขณะนั้น สุมนเทวราช ซึ่งมีอำนาจใหญ่กว่าบรรดายักษ์ทั้งหลายที่สถิตอยู่ในป่ามหาเปตโลก กำลังนั่งอยู่ในที่ประชุมแห่งยักษ์ มีหมู่ยักษ์บริวารแวดล้อมอยู่มากมาย เมื่อให้โอวกาทแก่ยักษ์บริวารทั้งหลายจบลงแล้วก็พอดีมียักษ์ผู้มีศักดิ์น้อยตนหนึ่งเข้ามากราบเรียนว่า

    “ข้าแต่ท่านพญายักษ์! มีมนุษย์คนหนึ่ง มันเฝ้าร้องตะโกนอยู่ว่า นางกาลีธิดาของท่านได้บุตรเป็นชายแล้วและบัดนี้เจ้ามนุษย์ผู้นั้นมันเดินร้องตะโกนมุ่งหน้ามายังป่ามหาเปตโลกแห่งเรานี้แล้ว เจ้าข้า”

    สุมนเทวราชผู้เป็นใหญ่ครั้นได้สดับข่าวสารว่านางกาลีธิดาที่รักแห่งตนได้บุตรเป็นชายก็ดีใจนักหนา จึงออกวาจาแก่ยักษ์บริษัทว่า

    <O:p“ไป...สูเจ้าทั้งหลายจงไป จงเรียกมนุษย์ผู้บอกข่าวดีนั้นมาหาเราเดี๋ยวนี้”

    <O:pยักษ์บริษัททั้งหลายก็รีบพากันไปนำสตรีภรรยานายกากวฬิยะนั้นเข้าไปสู่ร่มไทรอันเป็นที่ประดิษฐานแห่งทิพยวิมานของท่านสุมนเทวราชผู้เป็นเจ้านายตน เมื่อท่านสุมนเทวราชได้ซักถามจนทราบความแล้ว เพื่อความแน่ใจจึงมีเทวบัญชาให้ยักษ์บริวารตนหนึ่งไปสอบถามทีฆฏผลยักษ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นบุตรเขยโดยรีบด่วน ครั้นได้รับความยืนยันว่า ตนได้หลานชายแน่แล้ว จึงมีใจผ่องแผ้วหันพักตร์มากล่าวแก่สตรีโชคดีนั้นว่า
    </O:p
    “ดูกรมนุษย์! ท่านเป็นราชทูตแห่งพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดีผู้ทรงพระคุณประเสริฐ อุตสาหะนำเอาอาหารมาให้แก่ผู้ใกล้จะตายในป่ามหาเปตโลกยามราตรี นับได้ว่ากระทำความดี ซึ่งยากที่บุคคลอ่นจักมีใจกล้ากระทำได้ นอกจากนั้น ท่านยังได้ทำความดี โดยเป็นผู้บอกข่าวสารเรื่องการได้หลานชายให้เราได้รับความดีใจเป็นคนแรกอีกด้วย ฉะนั้นเราจึงใคร่ที่จะตอบแทนท่าน แต่การตอบแทนคุณท่านด้วยเหตุอื่น เราก็มิได้เห็นทางที่จะทำเลย เห็นมีอยู่แต่อย่างเดียว คือว่า ขุมทรัพย์อันเป็นของคนโบราณฝังไว้ที่ใต้ร่มไทรนี้มีอยู่ เราเป็นผู้รักษา แต่ว่าขุมทรัพย์เหล่านี้จะได้มีประโยชน์แก่เราผู้เป็นอมนุษย์แม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ เราจึงใคร่จักยกให้ท่านผู้เป็นมนุษย์ พรุ่งนี้จงมาขุดเอาเถิดเราอนุญาตให้จนหมดสิ้น”

    สตรีมีกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมรับคำแล้ว ก็อำลาท้าวสุมนเทวราชยกเอาถาดทองคำที่ใส่พระกระยาหารเสวยขึ้นแบกใส่บ่า เดินมุ่งหน้าไปสู่สถานที่ที่บุรุษนักโทษเสียบเป็นต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ เมื่อไปถึงก็เห็นนักโทษผู้น่าสงสารนั้นมีอาการคอตกด้วยความหิวโหย นางจึงค่อยป้อนอาหารอันประเสริฐให้เขาได้บริโภคตามความปรารถนาด้วยความเมตตา สงสาร เสร็จแล้วก็นำเอาพระสุวรรณภาชน์ถาดทองเปล่าๆ กลับมาสู่ที่เฝ้าแห่งสมเด็จพระบรมกษัตริย์ กราบบังคมทูลประพฤติเหตุทั้งปวง ตั้งแต่ต้นจนอวสานให้ทรงทราบทุกประการ รุ่งขึ้นเช้า สมเด็จพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นใหญ่จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานคลังทั้งหลายตระเตรียมเกวียนหลายเล่ม แล้วออกเดินทางไปสู่บริเวณขุมทรัพย์ โดยมีสตรีใจกล้านั้นเป็นผู้นำ เมื่อเจ้าพนักงานพากันขุดตามที่นางชี้บอกก็ปรากฏว่าได้พบขุมทรัพย์มหาศาล สมจริงตามที่นางได้กราบบังคมทูลไว้ทุกแห่ง เมื่อการขุดขุมทรัพย์เสร็จเรียบร้อยและได้ทรัพย์แผ่นดินมาอย่างมากมายมหาศาลแล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีจึงรับสั่งให้ประชุมหมู่พฤฒามาตย์ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลายแล้วทรงปรึกษาราชกิจว่าจักทำประการใด ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลายได้ลงมติกราบบังคมทูลว่า

    <O:p“ในกรณีนี้ สตรีเข็ญใจภรรยาแห่งนายกากวฬิยะนับว่ามีความดีอย่างเอกอุ ควรที่จักได้รับฉัตรเศรษฐี แต่เพราะนางเป็นสัตรีภาพ จึงเห็นควรพระราชทานแตรเศรษฐีให้แก่สามีของนางตามเยี่ยงอย่างประเพณี เพื่อที่นางจักได้เป็นใหญ่ในเรือนเสวยความสุขโดยความเป็นเศรษฐีสืบไป”

    <O:pสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดีทรงเห็นชอบด้วยกับคำกราบทูลนั้นจึงทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้นายกากวฬิยะเป็นเศรษฐีประจำแผ่นดิน มีราชทินนามว่า ธนเศรษฐี แล้วทรงพระกรุณาพระราชทานฉัตรเศรษฐีให้แก่เขาเป็นเกียรติยศ ตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเศรษฐี สองสามีภรรยาผู้ยากจนเข็ญใจก็ได้รับความสุขสบายตามควรแก่อัตภาพด้วยประการฉะนี้

    <O:pเห็นแล้วใช่ไหมเล่า ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลสามารถดลบันดาลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรม ได้ประสบโชคดีอย่างประหลาดมหัศจรรย์ในปัจจุบันทันตาเห็นอย่างไร

    <O:p</O:p
    “ไม่น่าเชื่อ! คือตัวอย่างที่ท่านอุตส่าห์ยกมาบรรยายนั้น ไม่น่าเชื่อถือเท่าไรนัก เพราะฟังๆ ไปให้รู้สึกว่าเป็นเหมือนนิทานโบราณ อันเกี่ยวกับคนยากจนเข็ญใจได้เป็นเศรษฐี เพราะพวกผีมันบอกให้สมบัติ ซึ่งเป็นนิทานธรรมดา จะคิดว่าเป็นนิทานที่ท่านผูกเอาไว้เพื่อปลอบใจคนจนเสียมากกว่า ฉะนั้นขอท่านได้กรุณายกตัวอย่างที่แสดงการให้ผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลให้เห็นอย่างชัดๆ อีกจะได้หรือไม่”

    <O:pหากจะมีผู้ใดใครผู้หนึ่ง กล่าวทักท้วงขึ้นกลางคันว่าดังนี้ ท่านผ้ทำหน้าที่อธิบายซึ่งกำลังบรรยายเรื่องกรรมอยู่ด้วยความเมื่อยล้า ย่อมจะหันมามองหน้า พร้อมกับนึกในใจว่า เออ!... เป็นกรรมของเราแท้ๆ คิว่าจะยกตัวอย่างประกอบในการอธิบายเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลนี้แต่เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ก็จะเป็นการเพียงพอและรอดตัวไปได้แล้วทีเดียวหนา ไม่นึกเลยว่าเรื่องที่อุตส่าห์เล่ามาตั้งนานจะเป็นการเปิดช่องให้คนฟังซึ่งมีปัญญาแหลมหลักทักท้วงเอาได้ นี่เห็นจะต้องเสียเวลาหาตัวอย่างมาเล่าให้ฟังใหม่เสียแล้วกระมังหนา” รำพึงอยู่ในใจชั่วครู่ จึงตอบผู้สงสัยไปว่า “ได้... จะให้ยกตัวอย่างบุคคลผู้ได้รับผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลอย่างชัดเจนกว่านี้โดยไม่มีผีสางเทวดาเข้ามาปะปนก็ได้ จะเป็นไรมี เอาละ... จักได้เริ่มเล่าเรื่องใหม่ตามเสียงเรียกร้องของท่านต่อไป อ้อ! ประเดี๋ยวก่อน จะขอย้อนไปทำความเข้าใจในเรื่องเก่ากันให้ดีเสียก่อน คือ เรื่องเก่าที่เล่ามาซึ่งติว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีสางเทวดา และไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเรื่องจริงนั้น ขอท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายจงอย่าได้คิดเห็นนิยายโบราณ ซึ่งไม่ควรแก่การเชื่อถือ โดยเป็นเรื่องที่เล่ากันเล่นๆ อย่าได้คิดเช่นนั้นเป็นอันขาดเพราะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลซึ่งพระโบราณาจารย์ผู้มีปรีชาญาณอันล้ำลึก นำมาสั่งสอนให้เห็นผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลโดยแท้ แต่การที่คนฟังทั้งหลายมิค่อยจะเห็นไปตามท่านว่า ก็เพราะขาดการบำเพ็ญจิตภาวนา พูดตรงๆ ก็ว่ายังเขลาอยู่ ยังไม่มีความรู้ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง โดยมีจิตเต็มไปด้วยอวิชชา ชอบเอาปัญญาอันโง่เขลาแห่งตนเข้าไปเปรียบเทียบหรือคัดค้านปัญญาอันปราศจากอวิชชาของพระโบราณาจารย์ อย่างนี้จะให้ได้ที่ไหนจะอย่างไรก็ดี บัดนี้ขอจงมีอุตสาหะติดตามชีวประวัติแห่งบุคคลผู้ได้รับผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมอย่างชัดๆ ต่อไปได้” ตอบให้หายข้องใจดังนี้แล้ว ก็เริ่มเล่าเรื่องที่ผู้ฟังปรารถนาที่จักฟังดังต่อไปนี้<O:p</O:p
     
  5. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านที่ได้นำพระธรรมมาเผยแพร่
    และทำบุญสร้างกุศลทุกอย่างในกาลนี้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2011
  6. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    พระสุมนปัจเจกพุทธเจ้า*
    (ธัมมปทัฏฐกถา ตติยภาค หน้า ๑๔๐)

    <O:p</O:p
    สมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ยังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น ปรากฏมีกระทาชายนายหนึ่ง เป็นคนยากจนเข็ญใจ อาชีพของเขาคือขายดอกไม้ให้แก่สำนักพระราชวังแห่งกรุงราชคฤห์มหานคร โดยมีสัญญาผูกพันกันว่า เพลาเช้าตรู่เขาจักต้องนำเอาดอกมะลิ ๘ ทะนานไปส่งยังสำนักพระราชวัง คิดราคาเป็นมูลค่าทะนานละ ๑ กหาปณะเป็นประจำทุกวัน จักขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดทั้งสิ้น เขาได้อาศัยอาชีพขายดอกไม้นี้เลี้ยงดูบุตรภรรยาให้ได้รับความสุขตามสมควรแก่อัตภาพเรื่อยมา อรุณรุ่งวันหนึ่ง ขณะที่เขาเดินทางออกจากบ้านเพื่อนำเอาดอกมะลิไปส่งสำนักพระราชวังตามปรกติ พอย่างเท้าเข้าเขตพระบรมมหาราชวังก็พลันได้พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งแวดล้อมไปด้วหยมู่พระอริยสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก กำลังเสด็จโคจรบิณฑบาตอยู่โดยพุทธลีลาอันงามเลิศเพริศแพร้วกอบด้วยพระฉัพพรรณรังสีเข้าพอดี


    <O:pก็องค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเราท่านทั้งหลายนั้นบางคราวพระองค์ท่านย่อมทรงปกปิดพระฉัพพรรณรังสีอันพวยพุ่งออกจากพระวรกาย ด้วยพระจีวรทรงเสีย ในเมื่อไม่มีพระพุทธประสงค์จักให้ใครเห็น ทรงแสดงพระองค์เหมือนพระภิกษุธรรมดารูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งมีปรกติบิณฑบาตเป็นวัตร แต่ในบางคราวพระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระรัศมีย่อมทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีให้พวยพุ่งออกจากพระวรกายงามเพริศพริ้วพรรณรายสุดพรรณนา ดุจในคราที่เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสด็เพื่อโปรดพระญาติทั้งหลาย และในเช้าวันนี้ก็เช่นกัน พระองค์ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีให้พวยพุ่งออกจากพระวรกายงามเพริศพริ้งพรรณราย แวดล้อมด้วยพระอริยสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ด้วยพระพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่

    <O:pเมื่อชายขายดอกไม้ได้ยลพระโฉมแห่งองค์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งงามบริสุทธิ์สะอาดแพรวพรายไปด้วยพระรัศมี ประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และด้วยพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ประการ เช่นนั้น ก็พลันงงงันและตะลึงครุ่นคิดคำนึงอยู่ว่า “เราจักทำการบูชาสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าด้วยอะไรดีหนอ จึงจักสมกับความเลื่อมใสอันเกิดขึ้นมากมายแก่เราในบัดนี้”เมื่อไม่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะพึงหยิบฉวยเอาในขณะนั้นได้รวดเร็วทันเวลา จึงตัดสินใจว่า

    <O:p“เรามักทำการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุด ด้วยดอกไม้ที่เราถืออยู่ในมือนี้ ถูกแล้ว! ดอกไม้เหล่านี้เป็นดอกไม้ที่เรามีสัญญาผูกพันต้องส่งให้สำนักพระราชวัง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประจำทุกวัน จะขาดเสียมิได้ก็ดีและถึงแม้เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีไม่ได้ทรงรับดอกไม้เหล่านี้ จักทรงพระพิโรธโกรธเคือง แล้วทรงมีพระราชดำริสั่งให้ขังเราหรือรับสั่งให้ประหารชีวิต หรือให้เนรเทศเราไปเสียดังนี้ ก็ตามแต่พระราชอัธยาศัยและสุดแต่เวรกรรมของเราเถิด เราเกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นในดวงใจแล้วจักต้องถวายดอกไม้เหล่านี้เพื่อเป็นพุทธบูชาให้จงได้ คงจักมีอานิสงส์แก่เรามากหลายเพราะเมื่อเรานำเอาดอกไม้ซึ่งมีอยู่เพียงเท่านี้ไปส่งให้แก่สำนักพระราชวัง อย่างดีก็ได้ทรัพย์เพียงเล็กน้อย สำหรับเลี้ยงชีวิตในชาตินี้เท่านั้น แต่การที่เราถวายดอกไม้ให้เป็นพุทธบูชาในขณะนี้สิ ย่อมจะเกิดประโยชน์โสตถิผลอำนวยความสุขความเจริญให้แก่เราเป็นเวลานานประมาณหลายแสนหลายโกฏกัปนัก เป็นไรก็เป็นกัน เราจักถวายบุปผทานแด่องค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลบัดนี้”
    <O:pสละชีวิตเพื่อจักถวายบุปผทานแด่องค์สมเด็จพระพิชิตมารเช่นนี้แล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วโสมนัสเกิดปีติซึมซาบเอิบอาบใจขึ้นเป็นทับทวี แล้วก็เริ่มถวายบุปผทานเพื่อเป็นการบูชาสมเด็จพระบรมโลกุตมาจารย์ทันที เขาทำอย่างไร? เขาน้อมกายถวายมนัสการเฉพาะพระพักตร์แล้ว จึงซัดดอกมะลิ ๒ ทะนานขึ้นไปในอากาศเบื้องบนองค์สมเด็จพระทศพลเจ้า บัดนั้นก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นทันใด ด้วยว่าบรรดาดอกไม้ทั้งหมดเหล่านั้นได้พากันคลี่คลายขยายกลีบบานสะพรั่ง แล้วเรียงรายขยายแถวเสมอกัน เป็นเพานกั้นอยู่บนอากาศเบื้องพระเศียรแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการแปลกประหลาดนักหนา หาได้ตกลงมายังพื้นพสุธาเหมือนดังดอกไม้ธรรมดาที่บุคคลขว้างปาไปทั่วไม่ ชายเข็ญใจได้เห็นความอัศจรรย์ดังนั้น ก็ซัดดอกไม้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาไปปอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นลอยขึ้นไปในอากาศตามกำลังโยนซัดแล้วก็ค่อยๆ ขยายกลีบและลอยลง เรียงแถวประดิษฐานอยู่ ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกเช่นกัน เขาจึงซักดอกไม้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาไปอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นก็พลันลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วก็ค่อยๆ ขยายกลีบบานสะพรั่งและลอยมาเรียงแถวประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ คือข้างหลังแห่งองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า และเมื่อเขาผู้ซึ่งบัดนี้มีความเลื่อมใสเกิดขึ้นในดวงใจสุดประมาณ ซัดดอกไม้ไปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นครั้งสุดท้ายอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นก็แสดงอาการเป็นอัศจรรย์อีกเช่นเดียวกัน คือ เมื่อลอยขึ้นไปในอากาศตามกำลังแรงซัดแล้ว ก็ค่อยๆ ขยายกลีบบานสะพรั่งและลอยต่ำลงมา เรียงแถวประดิษฐานอยู่ ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้ายองค์สมเด็จพระจอมไตรโลกนาถ และลอยอยู่อย่างนั้นเป็นระเบียบถ่องแถวด้วยดีหาได้ตกลงมายังพื้นปฐพีไม่

    <O:pจึงเป็นอันว่า ในขณะนี้ ดอกมะลิทั้งหลายซึ่งไม่มีจิต แต่ก็แสดงกิริยาประดุจดังว่ามีจิตมีใจ คลี่คลายขยายกลีบสถิตแวดล้อมองค์สมเด็จพระพิชิตมารในทิศทั้ง ๔ คือเบื้องพระเศียร เบื้องขวา เบื้องพระปฤษฎางค์ และเบื้องซ้าย เหลือช่องไว้แต่ด้านหน้า คือทางทิศเบื้องพระพักตร์เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้การเสด็จพระพุทธดำเนินไปโดยสะดวก เมื่อพระองค์เสด็จไป ดอกไม้ทั้งหลายเหล่านั้นก็ลอยตามห้อมล้อมไปด้วย เมื่อพระองค์ทรงหยุดก็หยุดตาม ความงามแห่งพระพุทธลีลาเมื่อโคจรบิณฑบาตขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาในเพลาเช้าวันนี้ เป็นทัศนียภาพอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสแห่งนัยนาของประชาชน ผู้ได้ทอดทัศนาสุดประมาณ เพราะองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ซึ่งมีดอกไม้มะลิอันขาวสะอาดบริสุทธิ์ห้อมล้อมอยู่นั้นมีครุวนาดังว่าทรงมีพระสรรีรกายแวดล้อมด้วยแผ่นเงิน นอกจากนี้ พระฉัพพรรณรังสีอันซ่านออกจากพระวรกายยังปรากฏมีประมาณมากมาย แลดูประดุจหมื่นและแสนสายฟ้าแลบอันพวยพุ่งแปลปลาบอยู่ไปมา ชาวประชาทั้งหลายได้เห็นความอัศจรรย์เช่นนั้น ก็พากันถือเอาภิกษามาถวายแด่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาและพระสงฆ์สาวกเป็นโกลาหลอลหม่าน

    <O:pฝ่ายนายมาลาการเข็ญใจ ผู้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาสำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรม ฝ่ายกุศลแล้วมีจิตผ่องแผ้วปีติดสมนัสยิ่งกว่าผู้อื่น เดินน้ำตาไหลด้วยความปลื้มใจตามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปอย่างไม่รู้สึกตัว พอได้สตินึกขึ้นได้ว่าตนลืมกระเช้าดอกไม้ไว้ ก็รีบวิ่งกลับมาถือเอากระเช้าเปล่ากลับไปบ้านตน เมื่อถูกภรรยาถามว่า
    <O:p“ข้าแต่สามี! เหตุไฉน วันนี้ท่านจึงกลับมาเร็วเหลือเกิน ไม่เหมือนวันก่อนๆ ท่านเอาดอกไม้ไปส่งสำนักพระราชวังเรียบร้อยแล้วหรือประการใด?”
    <O:pเขาจึงตอบด้วยความภาคภูมิใจว่า
    <O:p“ดูกรภรรยาที่รัก วันนี้เราได้นำดอกไม้ไปส่งสำนักพระราชวังดังเคยไม่ เพราะเกิดมีน้ำใจเลื่อมใส จึงเอาดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนหมดสิ้น แม้แต่ดอกเดียวก็ไม่มีเหลือ”

    <O:p“อ้าว! แล้วกัน ทำไมจึงทำเช่นนั้นเล่า เหตุไฉน จึงดูเบาไม่มีสติยับยั้ง ไม่รู้หรือว่าตัวจตักต้องมีผิด เพราะสัญญาว่าจักต้องส่งดอกไม้ไปถวายในหลวงทุกๆ วันเป็นประจำ เมื่อมาทำเหลวไหลไปเสียเช่นนี้ จักไม่มีผิดหรือ” ภรรยาของเขากล่าวด้วยความเกรงใจพระราชอาญา

    <O:p“ผิดก็ผิดไป... จะทำอย่างไรได้เล่า เพราะเราเกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหลือเกิน จึงได้ถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อในหลวงไม่ได้ทรงรับดอกไม้แล้วจักทรงพิโรธ รับสั่งให้ลงโทษแก่เราอย่างอุกฤษณ์มาตรว่าจักทรงให้ประหารชีวิต เราก็ยอม นี่แนะเจ้า! ดอกไม้ที่เราถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์อรหันต์นั้น มีอาการน่าอัศจรรย์เป็นล้นพ้น เสียงฝูงชนที่โกลาหลกึกก้องพระนครเมื่อสักครู่นี้ เจ้าไม่ได้ยินบ้างหรือ นั่นแหละคือเสียงมหาชนที่ได้เห็นความอัศจรรย์ของดอกไม้ ที่เราถวายแก่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าทีเดียวละ ขอเจ้าจงยังจิตให้สันนาการเลื่อมใสในทานร่วมกับเราด้วยเถิด”

    <O:p“ร่วมให้คอขาดน่ะซี ใครจะไปยอมร่วมด้วย เจ้าโง่” ภรรยาของเขาซึ่งเป็นหญิงอันธพาล ไม่รู้การที่เป็นบุญเป็นบาป ไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กล่าวขึ้นด้วยความโกรธเคียง และแล้วคำผรุสวาทต่างๆ ก็พรั่งพรูออกมาจากปากแห่งนางซึ่งมีสันดานเป็นคนปากร้าย และมีปรกตินิสัยข่มขู่สามีแห่งตนอยู่เนืองๆ “เจ้าโง่ผู้ไม่มีเงาหัวเอ๋ย! เจ้าไม่รู้เลยหรือว่า อันธรรมดาพระราชานั้นย่อมเปรียบกันกับไฟ หากว่าใครทำให้ทรงขุ่นเคืองพระทัยแล้ว แม้แต่เหตุเพียงนิดเดียวกว็สามารถจักยังความพินาศใหญ่ให้บังเกิดขึ้น อาจจักทรงลงพระราชอาญาตัดตีนสินมือหรือประหารชีวิตคนผู้นั้นเสีย ๗ ชั่วโคตรก็เป็นได้ เจ้าจงรอความตายอยู่คนเดียวเถิด เจ้างั่ง เรานี้ยังไม่อยากตายและจะไม่ยอมตายกับเจ้าในครั้งนี้เป็นอันขาด”
    ขู่ตวาดสามีตนเสมือนหนึ่งว่าเป็นทาสดังนี้แล้ว หญิงอันธพาลซึ่งมีจิตประสาทหวาดหวั่นไหวคิดกลัวตายเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โต ก็เก็บสิ่งของและเสื้อผ้าอันเป็นสมบัติของตน รวบรวมเป็นห่อแล้วก็รีบหนีออกจากบ้านไปต่อหน้าด้วยความประสงค์ว่าจะไปแจ้งความแก่พระราชาให้ทรงทราบไว้ก่อนว่า ตนหย่าขาดมิได้เกี่ยวข้องเป็นภรรยาแห่งเจ้าสามีหน้าโง่ผู้จักต้องเป็นนักโทษในอนาคตแล้ว ครั้นไปถึงราชสำนักและถูกสมเด็จพระราชาธิบดีซักถาม จึงกราบบังคมทูลว่า

    <O:p“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเดชปกเกล้าปกกระหม่อม! สามีของหม่อมฉันซึ่งมีหน้าที่ต้องนำเอาดอกไม้มาทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์เป็นประจำทุกวันนั้น เช้าตรู่วันนี้ เขามีจิตโมหันต์บ้าศรัทธาเอาดอกไม้สำหรบทูลเกล้าฯ ถวายไปกระทำการบูชาพระศาสดาสมณโคดมเสียสิ้น ขณนี้เหลือแต่มือเปล่า ไม่สามารถที่จะหาดอกไม้ที่ไหนเอามาทูลเกล้าถวายฯ พระองค์ได้ หม่อมฉันมีความเสียใจและเกรงต่อราชภัย จึงได้ด่าว่าเขาอย่างหนัก โดยอ้างถึงราชภัยที่จะมีมาถึงตน แต่เขากลับตอบว่า ขอยอมตายแม้จักต้องราชภัยร้ายแรงอย่างใด เขาก็ภูมิใจแล้วที่ได้ถวายทานดอกไม้ให้เป็นพุทธบูชา หม่อมฉันจึงขอหย่าขาดจากเขา ฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การกระทำของเขาไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่ดีหรือชั่วก็ตาม ก็จงเป็นของเขาแต่ผู้เดียวเถิด หม่อมฉันไม่ยอมรับผิดชอบด้วย ขอพระองค์จงทรงรับทราบไว้ด้วยเถิดว่า หม่อมฉันกับสามีได้หย่าขาดกันแล้ว”
    อันสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดีซึ่งทรงเป็นบรมกษัตริย์กรุงราชคฤห์มหานครนี้ พระองค์ทรงได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันในพระบวรพุทธศาสนา ตั้งแต่ครั้งพระองค์ได้ทรงพบเห็นและสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคราวแรก ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมีพระบวรขันธสันดาน มากมั่นไปด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระพุทธองค์ยิ่งกว่าปุถุชนคนธรรมดาสามัญ เมื่อได้ทรงสดับคำกราบบังคมทูลของหญิงเข็ญใจไร้ศรัทธาไร้ปัญญาเช่นนั้น ก็พลันบังเกิดความสังเวชสลดพระทัยว่า
    <O:p</O:p
    “น่าอนาถนัก! หญิงนี้เป็นบุคคลอันธพาล มีสันดานแข็งกระด้างปราศจากปัญญาและโง่เขลายิ่งนัก ดูเอาเถิด สามีอุตส่าห์ประกอบกรรมดีเป็นมหากุศล โดยได้ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระทศพลเป็นอัศจรรย์เห็นปานนี้แทนที่จะยินดีอนุโมทนากลับเห็นว่าเป็นโทษเป็นผิดเพราะคิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นประมาณ อีกนานสักเท่าใดหนอ สันดานของหญิงนี้จึงจักดีขึ้น”
    <O:pทรงสังเวชพระทัยดังนี้แล้ว ก็ทรงแสดงพระอากัปกิริยาดั่งว่าทรงพระพิโรธ แล้วตรัสถามด้วยพระสุรเสียงอันกร้าวว่า
    <O:p</O:p
    “ไหน! เจ้าพูดว่าอย่างไร สามีเจ้านำเอาดอกไม้ของข้าไปบูชาสมเด็จพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้นทีเดียวหรือ ไฉนมันจึงบังอาจกระทำดังนั้นเล่า”

    “ถูกต้องแล้ว พระเจ้าข้า บัดนี้สามีหน้าโง่ของหม่อมฉันไม่สามารถนำเอาดอกไม้มาถวายพระองค์ได้แม้แต่สักดอกเดียว”

    “ดีแล้ว! การที่เจ้าทอดทิ้งไม่เกี่ยวข้องกับคนเช่นนี้ ก็เป็นการดีแล้ว ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของเราเองที่จะได้พิจารณาว่าจักทำประการใด แก่เจ้าคนซึ่งมีน้ำใจบังอาจเอาดอกไม้ของเราไปทำการบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาละ.. เจ้าไปได้แล้ว”<O:p</O:p
    พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นจอมคนแห่งราชคฤห์มหานคร ทรงบอกให้หญิงเข็ญใจไร้ปัญญากลับออกไปดังนี้แล้ว ก็ทรงมีพระมนัสผ่องแผ้ว รีบเสด็จไปยังถนนที่สมเด็จพระทศพลกำลังบิณฑบาตอยู่ พร้อมกับหมู่พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระพุทธองค์ซึ่งทรงดำเนินไปด้วยพุทธานุภาพเห็นปานนั้นก็พลันทรงบังเกิดพระปสันนจิตเสด็จติดตามไปในขบวนนั้น ครั้นสมเด็จพระพิชิตมารทรงนำขบวนพระภิกษุสงฆ์ บ่ายพระพักตร์ตรงไปยังประตูพระบรมมหาราชวังจึงเสด็จเข้าไปทรงรับบาตรจากพระหัตถ์ แล้วทูลอาราธนาให้เสด็จเข้าไปในปราสาท แต่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงพระอาการว่าจะประทับที่พระลานหลวง จึงมีพระบรมราชโฮงการตรัสสั่งให้บรรดาเจ้าพนักงาน จัดการตกแต่งมณฑปที่ประทับให้เสร็จโดยไว แล้วก็ทูลอาราธนาสมเด็จพระบรมศาสดาและอาราธนาพระสงฆ์สาวกทั้งปวงให้เข้าไปภายในมณฑป เพื่อที่จักได้ถวายภัตตาหารต่อไป

    <O:pในกรณีนี้ หากจะมีปัญหาว่า เพราะเหตุไร สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าจึงไม่เสด็จเข้าไปในปรางค์ปราสาท ตามคำทูลอาราธนาแห่งพระเจ้าพิมพิสารราชา แต่กลับทรงแสดงอาการว่าพอพระทัยที่จะประทับ ณ พระลานหลวง

    <O:pมีคำวิสัชนาว่า เพลานั้น พระองค์ทรงมีพระพุทธดำริว่า ถ้าจักเสด็จเข้าไปในปราสาทแล้วไซร้ ประชาชนทั้งหลายผู้ติดใจใคร่จะดูซึ่งพระพุทธานุภาพ จักไม่ได้เห็นพระองค์และอีกประการหนึ่งดอกไม้ซึ่งลอยเด่นอยู่รอบพระวรกายเป็นอัศจรรย์ที่นายมาลาการผู้เข็ญใจถวายเป็นพุทธบูชานั้น บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่ หากองค์สมเด็จพระบรมครูเจ้าเสด็จเข้าไปในที่รโหฐานบนปรางค์ปราสาทแล้ว เมื่อประชาชนไม่เห็นความอัศจรรย์ คุณความดีชื่อเสียงแห่งนายมาลาการผู้ถวายดอกไม้ ก็จักไม่ปรากฏขจรขจายไป อันที่จริง ธรรมดาว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องในพระหฤทัย ไม่มีอะไรจะเปรียบปานได้ ในกรณีที่เมื่อมีผู้ใดใครผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีคุณงามความดีควรที่จักทำให้ปรากฏได้แล้ว พระพุทธองค์ท่านย่อมจักทรงพระกรุณาแสดงคุณความดีของผู้นั้นให้ปรากฏทันที อันนี้ย่อมผิดแปลกกับศาสดาเจ้าลัทธิทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชน ก็ศาสดาเจ้าลัทธิทั้งหลายอื่นนั้น เพราะเหตุที่ตนเป็นปุถุชนมีกิเลสหยาบหนาติดอยู่ในขันธสันดาน ย่อมเป็นผู้ยากที่จักกล่าวยกย่องคุณงามความดีของผู้อื่นเป็นผู้มักตระหนี่คุณงามความดี จักกล่าวถึงคุณงามความดีของผู้อื่นสักทีนั้นแสนยาก โดยมากมัพอใจเผลอไผลอวดคุณงามความดีของตน แต่สมเด็จพระทศพลเจ้าทั้งหลายหาทรงเป็นเช่นนั้นไม่ ในกรณีนี้จะพึงเห็นได้จากการที่พระองค์ไม่เสด็จเข้าไปในปรางค์ปราสาท ตามคำทูลอาราธนาของพระราชาพิมพิสาร แต่ทรงพอพระทัยที่จะประทับอยู่ที่พระลานหลวงใน วันนี้ ก็เพราะทรงมีพระประสงค์ใคร่จักยกย่องคุณงามความดีของนายมาลาการผู้เข็ญใจ ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายนั่นเอง

    <O:pครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า เสด็จเข้าไปยังพระมณฑปและประทับนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์เรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระบรมกษัตริย์พิมพิสาร จึงทรงถวายภัตตาหารอันประณีตแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธองค์เป็นประธาน ด้วยพระทัยอันรื่นเริงในบุญกุศลเป็นนักหนา เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว สมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วทรงพาพระภิกษุสงฆ์กลับไปยังพระวิหาร ด้วยพระพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารเมื่อทรงติดตามไปส่งเสด็จกลับมายังพระราชนิเวศน์แล้ว ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้ไปตามเอาตัวนายมาลาการผู้ผิดสัญญาส่งดอกไม้หลวงมาสู่ที่เฝ้า
    <O:p“เจ้าผิดสัญญา และนำเอาดอกไม้ของเราไปบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุใด?”<O:p</O:p

    “ขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม พระเจ้าข้า!” เจ้าคนเข็ญใจผู้เกรงอยู่แก่พระราชอาญากราบบังคมทูลไปตามความเป็นจริง “เพราะข้าพระองค์ เกิดความเสื่อมใสจนอดใจมิได้ จึงได้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาไปพระเจ้าข้า” กราบบังคมทูลดังนี้แล้ว ก็หมอบตัวสั่นอยู่
    <O:p</O:p
    “ตอนที่จะถวายไปนั้น เจ้าไม่คิดเกรงต่อราชภัยดอกหรือ”
    <O:p</O:p
    “คิด พระเจ้าข้า”
    <O:p</O:p
    “คิดว่าอย่างไร จงบอกมาตรงๆ เดี๋ยวนี้”
    <O:p</O:p
    “คิดถวายชีวิตบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ขณะนั้น ข้าพระองค์บังเกิดความคิดขึ้นว่า เมื่อพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐไม่ทรงได้รับดอกไม้แล้ว มาตรว่าพระองค์จะทรงประหารชีวิตของข้าพระองค์ หรือจะทรงลงพระราชอาญาโดยประการใดก็ตาม ตัวข้าพระองค์ก็จะยินดีขอรับพระราชทานโทษทัณฑ์เหล่านั้นทั้งสิ้น พระเจ้าข้า”

    “เวลานี้เล่า เวลานี้เจ้ายังจักยินดีรับโทษจากเราหรือไม่”

    “สุดแต่พระราชอัธยาศัยเถิด พระเจ้าข้า เพราะข้าพระองค์ได้สละชีวิตเป็นพุทธบูชาแล้ว แม้ในบัดนี้ก็ยังยินดีที่จักขอรับพระราชทานโทษทัณฑ์ตามพระราชอัธยาศัยด้วยความเต็มใจของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า”

    “เจ้าเป็นมหาบุรุษ! สมเด็จพระบรมกษัตริย์อริยบุคคลโสดาบัน ตรัสขึ้นด้วยความพอพระทัย “ในกรณีนี้ ตัวเจ้าควรที่จะนับได้ว่าเป็นมหาบุรุษเพราะเป็นผู้มีจิตศรัทธาองอาจกล้าหาญในการบริจาคทานเป็นยิ่งนัก สมควรที่จักได้รับรางวัลจากเราผู้เป็นพระราชาในกาลบัดนี้”
    ตรัสดังนี้แล้ว ก็มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพนักงานนำมาซึ่งสิ่งของดังต่อไปนี้ คือ
    <O:p</O:p

    ช้าง ๘ ช้าง<O:p</O:p


    ม้า ๘ ม้า<O:p</O:p


    เครื่องประดับอันมีค่า ๘ ชุด
    <O:p</O:p

    แล้วพระราชทานให้แก่นายมาลาการเข็ญใจ ผู้มีกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมอันตนทำไว้เมื่อเช้านี้ นอกจากนั้น สมเด็จพระราชธิบดียังทรงมีพระมหากรุณาพระราชทานทรัพย์อีก ๘,๐๐๐ กหาปณะ และทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน นารีซึ่งประดับด้วยสรรพอลังการอีก ๘ นาง พร้อมทั้งพระราชทานบ้านส่วน ๘ ตำบลให้เขาดูแลจัดหาผลประโยชน์เอาเองอีกด้วย นับได้ว่ากุศลที่เขาทำไว้ในพระบวรพุทธศาสนา สามารถให้ผลได้อย่างปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว
    <O:p</O:p
    เมื่อข่าวกระทาชายนายมาลาการได้รับพระราชทานสิ่งของและยศบริวารมากมายเห็นปานนั้นรู้ไปถึงหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้ว ท่านพระอานนท์เถระจึงกราบทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ชายเข็ญใจนายมาลาการซึ่งได้ถวายมะลิ ๘ ทะนานเป็นพุทธบูชาวันนี้ได้รับพระราชทานลาภยศจากสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นอันมาก วิบากแห่งกรรมนี้ จักมีเฉพาะแต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้นหรือ พระเจ้าข้า”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
    <O:p</O:p
    “ดูกรอานนท์! เธออย่าได้กำหนดว่า กุศลกรรมที่นายมาลาการกระทำในวันนี้เป็นกรรมที่มีวิบากน้อย ไม่ใช่อย่างนั้น อันที่จริง นายมาลาการผู้เข็ญใจนั้นเกิดปสันนาการถวายทานเป็นพุทธบูชาด้วยเอาชีวิตเข้าเดิมพัน เหตุนี้ทานของเขาจึงมีอานิสงส์มาก คือนอกจากเขาจะได้รับลาภยศมากมายในชาตินี้อย่างปัจจุบันทันตาเห็นแล้ว เมื่อเขาดับขันธ์สิ้นชีวิตจากมนุษยโลกนี้ไป เขาจักไม่ไปเกิดในทุคติภูมิเป็นเวลานานถึง ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป ในชาติสุดท้ายภายหลัง จักได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีนามว่า พระสุมนปัจเจกพุทธเจ้า อย่างแท้จริง”
    พระอานนทเถรเจ้าได้สดับพระพุทธฎีกาดังนี้แล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วสรรเสริญทานที่ได้ถวายแก่พระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลส มีองค์สมเด็จพระโลกเชษฐ์เป็นต้นแล้ว ก็ถวายบังคมทูลลากลับไปสู่วิหารอันเป็นที่พักผ่อนของท่านด้วยประการฉะนี้

    </O:p
    เรื่องที่เล่ามานี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจักเห็นได้แล้วว่า กุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ย่อมมีอำนาจส่งผลให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมได้รับความสุขความเจริญอย่างปัจจุบันทันตาเห็น ดังเช่นคนเข็ญใจนายมาลาการ ผู้ได้รับพระราชทานลาภยศจากสมเด็จพระบรมกษัตริย์ในวันนั้นเอง และยังมีผลสืบต่อไปในภายหน้า โดยจักได้ตรัสเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตกาลอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่เราติดตามศึกษากันมาเป็นเวลานานพอสมควรนี้ เป็นเรื่องรู้สึกว่าค่อนข้างจะเห็นและทำความเข้าใจได้โดยยากแสนยาก หากไปศึกษาพิจารณาให้ดีแล้ว ก็ย่อมจะมีความงุนงงสงสัยไม่มีวันสิ้นสุดยิ่งเป็นมนุษย์ใจเร็ว ผู้มีปรกติทำอะไรก็อยากจะให้ปรากฏผลทันใจด้วยแล้ว เมื่อไม่เห็นทิฐธรรมเวทนียกรรมปรากฏให้เห็นทันอกทันใจตน ก็ยิ่งจะเกิดความสงสัยและกลัดกลุ้มใจในเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมที่ทางพระพุทธศาสนาสอนเอาไว้นี่เป็นที่สุด

    “มันอย่างไรกันแน่หนอ กรรมคือการกระทำของคนเรานี้ อุตส่าห์ทำดีเกือบเป็นเกือบตาย แต่ไม่เห็นได้ผลตอบแทนอะไรให้เห็นเป็นประจักษ์เลย ไปถามท่านผู้รู้ทางศาสนาซึ่งเป็นนักโฆษณาให้ประชาชนพากันทำความดีอยู่ตลอดเวลา ท่านก็ซัดไปว่าให้ไปคอยรับผลแห่งการทำดความดีเอาไว้ในชาติหน้า รู้สึกว่ากุศลกรรมคือการทำความดีนี้มันมีผลไม่ทันใจเลย ให้ผลอืดอาดเชื่องช้าแท้ๆ แต่เพลาที่ทำความชั่วละก็ไม่ได้ ให้ผลทันตาเห็นทุกรายไป ทำชั่ววันนี้เช่นไปตีไปฆ่าผู้อื่นให้ตาย ก็ย่อมได้รับผลในวันนี้ทันใจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงน่าให้สงสัยว่า ในบรรดากรรมทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลนี้ กรรมฝ่ายชั่วฝ่ายอกุศลคงจักมีพลังแรงส่งเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมมากกว่าฝ่ายดีฝ่ายกุศลอย่างแน่ๆ“ ผู้ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของทิฐธรรมเวทนนียกรรมคนหนึ่ง ซึ่งมีความอึดอัดใจมานาน กล่าวขึ้นว่า ดังนี้<O:p</O:p
    “ถูกแล้ว... ตั้งแต่เราเกิดมาเรายังไม่เคยเห็นกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมให้ผลปรากฏแก่ใครสักคนคือ เรายังไม่เคยเห็นใครทำบุญทำทานแล้วได้รับโชคลาภทันตาเห็น ได้เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีภายใน ๗ วัน ตามที่พร่ำสอนไว้นั่นเลย แต่อกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมนั้นสิ เราเคยเห็นอยู่เป็นประจำ เพราะผู้ที่ประกอบอกุศลกรรทำปาณาติบาต เช่นฆ่ามนุษย์ตายแล้วถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับไปขังคุก ให้ได้รับทุกขเวทนาในวันที่ฆ่าเขาตายนั่นเอง อย่างนี้เราเคยเห็นอยู่บ่อยๆ เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าบรรดากุศลและอกุศลทั้งสองนี้ อกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมมีพลังแรงส่งมากกว่ากุศลทิฐธรมเวทนียกรรม เราเห็ด้วยจริงๆ และจะยิ่งเห็นลึกเข้าไปอีกว่า ทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลไม่มี่ มีแต่ทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้นหรือท่านจะว่าอย่างไร” อีกคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้กล่าวสนับสนุนความสงสัยของคนแรกให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่ตนขาดการศึกษา และไม่เข้าใจในเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมนั่นเอง

    ในกรณีนี้ เมื่อตนไม่รู้และไม่เข้าใจ ถ้าหากจะหุบปากนิ่งไว้ไม่พูดไม่วิจารณ์ไปด้วยปัญญาอันโง่เขลาแห่งตน ก็พอจะเป็นบุคคลที่ควรได้รับการให้อภัยและได้รับความเห็นใจ แต่บุคคลบางคนไม่ใช่อย่างนั้น ทั้งๆ ที่ปัญญาตนก็ตันอยู่ ไม่มีความรู้ในเรื่องของทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้เลย แต่เอ่ยปากวิพากษ์วิจารณ์ไปส่งๆ สุดแต่ความคิดเห็นอันโง่เง่าของตนจะบงการเข้าทำนองเป็นบุคคลประเภทไม่รู้แต่ทำเป็นชี้ พฤติกรรมเช่นนี้สิช่างเหลือร้าย เพราะอาจจะทำให้คนทั้งหลายเกิดความเข้าใจผิดไปตามความคิดเห็นของตนด้วยก็ได้ ก็ในกรณีที่บุคคลผู้ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของทิฏฐธรรมเวทนียกรรม แต่กลับแสดงท่าทีว่าเป็นคนมีความรู้ดี แล้วเที่ยวพูดโฆษณาไปตามประสาโง่แห่งตนนี้ ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย พึงเห็นตัวอย่างตามเรื่องที่เล่าให้ฟังดังต่อไปนี้

    อ่านต่อ นักโฆษณาทานปัญญาอ่อน
     
  7. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ยอดคะน้า*, anand

    อนุโมทนาครับ ......... ขอนำไปเผยแพร่ต่อด้วยครับ
     
  8. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    อนุโมทนาค่ะ นำไปเผยแพร่ได้เลยค่ะ ไม่ต้องขออนุญาติก็ได้ค่ะ
     
  9. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    หากมีเรื่องเจตสิก กับ เรื่อง จิต กำลังศึกษาเลยครับ
    จะมารออ่านและนำไปบอกต่อครับ

    ยินดีในบุญครับ
     
  10. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ช่วงนี้มีงานมากขึ้น เวลาพิมพ์น้อยลง แต่จะพยายามทะยอยพิมพ์ให้อ่านเท่าที่จะทำได้ อนุโมทนาค่ะ
     
  11. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    นักโฆษณาทานปัญญา



    ยังมีอุบาสกผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีความเคารพเลื่อมใสในศาสนาพุทธมานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย อันเป็นต้นตระกูลของเขาโพ้น พออายุครปปีบวช เขาก็ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา รักษาสิกขาวินัยของพระได้เพียงพรรษาเดียวแล้วก็ลาสิกขาบทออกมาครองเพศฆราวาสตามเดิม แต่เพราะเขาเป็นคนหนุ่ม มีศรัทธาจึงหันหน้าเข้าวัดทำบุญสุนทานอยู่เนืองๆ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีกับพระภิกษุสงฆ์ซึ่งจำพรรษาอยู่วัดใกล้บ้านตนเกือบทุกรูปแม้กระทั่งสามเณร เขาเป็นคนเอาใจใส่ในการฟังธรรมและเป็นผู้ใคร่ในการสนทนาธรรมะ เมื่อเห็นพระภิกษุแปลกหน้าเข้ามาในวัดนั้นแล้ว เขาย่อมเตร่เข้าไปหาและสนทนาไต่ถามถึงข้อธรรมต่างๆ ตามวิสัยของคนสนใจในทางธรรม ครั้นเขาแก่ชรามีวัยพอสมควรแล้ว ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมัคนายกวัด ก็แลอันตำแหน่งมัคนายกวัดนี้ ย่อมมีหน้าที่โฆษณาเพื่อจะให้สัตบุรุษสีกาทั้งหลาย เกิดความรื่นเรงิใจในบุญกุศล แล้วแนะนำให้คนเหล่านั้นมาทำบุญให้แก่วัดและพระศาสนา อุบากสชรานั้น ครั้นรับหน้าที่เป็นมัคนายกวัดแล้ว ตะแกก็ภูมิใจตามวิสัยของคนช่างพูด ไม่ว่าใครจะมีการทำบุญทำทานที่ไหนเขาย่อมไปด้วเยสมอ พอได้โอกาสโดยมากเป็นขณะที่พระภิกษุสงฆ์กำลังฉันภัตตาหาร ตะแกมักจะพูดโฆษณาเรื่องบุญเรื่องกุศล เพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจในทางธรรมแห่งตน ให้ประจักษ์แก่คนทั้งหลายที่มาประชุมทำบุญทำทานอยู่ในที่นั้นเนืองๆ อุบาสกแก่นั้นจะพูดธรรมะได้ลึกซึ้งหรือผิดถูกอย่างไร ขอเชิญท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายจงตั้งจัฟงให้ดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    “พี่น้องชาวพุทธทั้งหลาย การที่ท่านมีใจศรัทธา นำเอาอาหารมาถวายให้พระสงฆ์ท่านฉันในวันนี้ก็เป็นการดีแล้ว โอ้โฮ.. กับข้าวล้วนแต่ดีๆ ทั้งนั้น ขอท่านจงเข้าใจไว้เถอะว่า เมื่อเราให้อาหารคนอื่นเขากินอย่างดี ตัวเราก็จะได้กินอาหารดีด้วย อุตส่าห์ทำบุญทำทานไปเถิด ความจริงเมื่อพูดถึงการทำบุญทำกุศล ตัวข้าพเจ้าก็จนปัญญา ไม่รู้จะบอกแก่ท่านว่ามันมีอานิสงส์อย่างไร เห็นปนู่ย่าตายยายท่านว่า มีอานิสงส์ทำให้เกิดความร่ำรวยมหาศาลได้ และเมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดในวิมานเมืองฟ้า ข้าวปลาอหารก็ล้วนแต่เป็นของทิพย์ทั้งนั้น อย่างนี้จะจริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ส่วนตัวข้าพเจ้าเองนั้น ทำบุญทำทานก็นานแล้ว ก็อย่างนั้นแหละคือไม่เห็นเกิดความร่ำรวยขึ้นมาสักที มีชีวิตความเป็นอยู่มีมั่งไม่มีมั่งอย่างพี่น้องทั้งหลายได้เห็นอยู่เวลานี้ เมื่อสิ้นชีวิตตายไปแล้วจะได้กินอาหารทิพย์ในเมืองสวรรค์อย่างที่ท่านว่าหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ฉะนั้น จึงใคร่ที่จะขอร้องพี่น้องทั้งหลายให้พากันคิดว่าเรื่องบุญเรื่องทานนี้ เราอย่าไปหวังผลอะไรให้มันมากไปเลย เมื่ออยากทำก็จงทำเข้าไป เมื่อไม่อยากจะทำก็ตามใจ เรื่องพรรค์นี้มันแล้วแต่ศรัทธาของบุคคล ผลแห่งทานนั้นมีหรือไม่มีเราไม่อาจจะรู้ได้ เพราะเราไม่เห็นประจักษ์ชัดกับตาสักที พูดอย่างนี้ทำให้ข้าพเจ้าคิดขึ้นได้ว่าอันการกระทำของคนเราที่เป็นความคิดดีความชั่วนั้น การทำความดีมีผลสู้การทำความชั่วไม่ได้ ความชั่วได้ผลรวดเร็วทันใจ ไม่เชื่อท่านทั้งหลายลองทำความชั่วดูเถอะ เตะถีบด่าหรือฆ่าใครเข้าสักคนหนึ่ง ในที่นี้ความชั่วย่อมจักให้ผลทันที คือ ย่อมถูกเขาตีด่าและฆ่าเราตอบแทน หรือมิฉะนั้นก็นำเราไปเข้าคุกในทันทีทันใด แต่ความดีนั้นทำเกือบตายไม่เห็นอะไรปรากฏเลย ดูตัวอย่างเช่นพวกเราพากันทำบุญทำทานถวายอาหารแก่พระสงฆ์ที่กำลังฉันอยู่นี้ยังไง เราก็ได้ถวายกันมานาน ตั้งแต่ครั้งโบราณปู่ย่าตายายโน่นแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีใครได้เป็นเศรษฐีมั่งมีทันใจในขณะที่ถวายทานเสร็จแล้วสักคน อย่างนี้จะว่าอย่างไร ใครรู้บ้างก็ช่วยบอกสักหน่อยเถิด”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตาแก่มัคนายกวัดปัญญาอ่อน โฆษณาทานกถาอันเปะปะสับสนไปตามอารมณ์ สุดแต่ดวงซึ่งอันเต็มไปด้วยความสงสัยแห่งตน จะบัญชาให้เป็นไปขณะนั้นดังนี้แล้ว ก็หันมองไปรอบๆ เมื่อไม่เห็นมีผู้ใดผู้หนึ่งจะโต้ตอบหรือคัดค้านแต่อย่างใด ตะแกก็เกิดความภาคภูมิใจในปัญญาความคิดของตน ตั้งแต่วันนั้นมา เมื่อมีประชาชนพากันมาทำบุญสุนทานมากๆ ในที่ใด ตะแกมักจะถือโอกาสโฆษณาความคิดเห็นของตนในทำนองนี้อยู่เสมอ คราวหนึ่งมีพระภิกษุต่างถิ่นเดินทางมาถึงวัดใกล้บ้านของมัคนายกแก่นั้น พระภิกษุรูปนี้มีความรู้ในด้านปริยัติพอประมาณ พอมาถึงก็ได้รับนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารที่บ้านคฤหบดีคนหนึ่ง ซึ่งประกอบพิธีการทำบุญเป็นงานใหญ่ ครั้นได้ฟังตาแก่โฆษณาเอก โฆษณาทานกถาอันผิดแบบอยู่โหวกๆ ในขณะที่กำลังฉันภัตตาหารอยู่กับเพื่อนสงฆ์ก็ให้รู้สึกรำคาญใจยิ่ง พอมาถึงตอนที่เขากล่าวออกมาว่า การถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์กำลังฉันภัตาหารไม่มีผลอะไรเลยด้วยแล้ว พระภิกษุหนุ่มต่างถิ่นซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังวาทะเช่นนี้มาก่อน ก็มีอาการแทบว่าจะสะอึก ฉันอาหารต่อไปอีกไม่ได้ นึกจะเรียกตาแก่ปากร้ายนั้นมาทักท้วงและสั่งสอนให้ได้สำนึกในขณะนั้นอยู่แล้ว แต่ฉุกคิดขึ้นได้ว่า
    <O:p</O:p
    “ตาเฒ่าผู้โง่เขลาซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับวัดและพระสงฆ์มาแต่หนุ่มจนถึงชราจนมีอาการแทบว่าจะหมดศรัทธาอยู่แล้วผู้นี้ เป็นคนโทสจริต ถือว่าความคิดของตนเป็นเลิศ ความคิดของใครจะมาประเสริฐเท่ากับของแกเป็นไม่มี หากทักท้วงขึ้นในขณะนี้ ซึ่งเป็นการทักท้วงและสั่งสอนต่อหน้าธารกำนัลไหนเลยตาแก่ผู้หัวรั้นจะยอมรับฟังและเชื่อถือโดยง่าย ตะแกก็จะรั้นดื้อเถียงไปด้วยอำนาจแห่งทิฐิมานะ เมื่อเป็นเช่นนี้เรื่องก็ไปกันใหญ่ การณ์ดีก็จะมีน้อยกว่าการณ์ร้าย อย่ากระนั้นเลย เราจักอดใจไว้ ได้โอกาสเมื่อไรเราจักสอนตาแก่นี้ให้สังวรในคำพูดอันไม่เป็นประสานี้ให้จงได้”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คิดดังนี้แล้ว ภิกษุหนุ่มผู้ขัดใจระคายหูในคำพูดของมัคนายกเฒ่า ก็ทำเป็นผู้โง่เขลาไม่สนใจ ก้มหน้ากระทำภัตกิจต่อไป แม้ในกาลต่อมาจะได้ยินการโฆษณาไม่เข้าท่าเช่นนั้นอีก ๒-๓ ครั้งก็สู้อดใจไว้ หาได้แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบประการใดไม่ จวบจนสายัณหสมัยวันหนึ่ง ขณะที่พระภิกษุหนุ่มกำลังนั่งอยู่ที่บริเวณทุ่งนาริมวัดใกล้ทางเดิน อุบาสกโวหารกล้าก็บังเอิญผ่านมาทางนั้นพอดี
    <O:p</O:p
    “แวะมานี่ก่อนเถิด ประสก! มาสนทนากันก่อน “ พระภิกษุ่หนุ่มร้องเรียก
    <O:p</O:p
    เมื่อได้ยินพระภิกษุอาคันตุกะเรียกดังนั้น มัคนายกวัดปากดีก็รีบเดินตรงรี่เข้าไปถวายมนัสการ ครั้งผ่านการสนทนาเรื่องดิน ฟ้า อากาศกันไปแล้วตามธรรมเนียมแล้ว พระภิกษุหนุ่มอาคันตุกะจึงพูดขึ้นตรงๆ ว่า
    <O:p</O:p
    “ประสกพูดโฆษณาให้ประชาชนทั้งหลายฟังในงานทำบุญวันนั้นไม่เข้าท่าเลย”
    <O:p</O:p
    “เอ๊ะ! พระคุณเจ้าว่า ไม่เข้าท่ายังไง?”
    <O:p</O:p
    “ก็ผิดไม่เข้าท่าน่ะซี... คือพูดอย่างนี้ย่อมชักพาผู้ฟังให้แล่นไปสู่ความเห็นอันไม่เข้าท่า ก่อให้เกิดความงุนงงสงสัยในกุศลผลบุญนานาประการ การพูดชักชวนคนทั้งหลายให้เกิดความสับสนหรือให้เกิดความเข้าใจไขว้เขวอย่างนี้ เรียกว่าพูดไม่เข้าท่า ไม่ตรงท่า ไม่ตรงเป้าหมายที่ท่างพระพุทธสาสนาสอนไว้ เข้าใจไหมเล่า”

    <O:p“ก็มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นี่ พระคุณเจ้า! พระพุทธศาสนาของเราสอนไว้ว่า ผลบุญมีผลบาปมี แต่เท่าที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าจะมีแตผลบาปเท่านั้น ผลบุญไม่เห็นจะมี ยกตัวอย่างเช่น ตัวกระผมนี้เองทำบุญให้ทานรักษาศีลมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่จวนจะตายอยู่แล้ว ก็ไม่เห็นได้ดีมียศถาบรรดาศักดิ์หรือร่ำรวยเป็นคนมั่งมีเศรษฐีอะไรเลย เคยเป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ครั้นหันไปดูคนทำชั่วบ้างเล่า ฆ่าฟันคนตายเพียงครั้งเดียวสองครั้งก็เข้าไปเสวยทุกข์อยู่ในคุกตะราง อย่างนี้พระคุณเจ้าจะว่าอย่างไร”

    <O:p</O:p“ว่าประสกเข้าใจไขว้เขวน่ะซี! ผลแห่งบุญและบาปย่อมมีอยู่โดยแท้ และเมื่อว่ากันแต่ที่เป็นจริงแล้ว ผลบุญย่อมมีกำลังแรงกว่าผลบาปเสียอีก ไม่ใช่ว่าผลบาปจะมีกำลังแรงมากกว่าผลแห่งบุญอย่างที่ประสกเข้าใจและโฆษณาอยู่ปาวๆ นั่นดอก ขอให้เข้าใจเสียใหม่และยกตัวอย่างอะไรที่ประสกยกมาเมื่อตะกี้นี้ นั่นก็เป็นตัวอย่างที่ฟังไม่ขึ้น การที่คนทำความชั่วฆ่าฟันคนตายได้รับผลไปเข้าคุกอย่างรวดเร็วทันใจก็เพราะกฎหมายท่านมีบัญญัติห้ามไว้ เมื่อฆ่าคนตายก็ย่อมจะต้องถูกเขาจับไปขังไว้ในตะรางตามกฏหมายเป็นธรรมดา เอ้า! ก็นี่ถ้าหากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ใครผู้ใดประกอบการกุศลให้ทานรักษาศีล ท่านว่าให้มันผู้นั้นเป็นขุนนางมียศถาบรรดาศักดิ์ ป่านนี้ประสกมิเผ่นขึ้นไปเป็น โน่น... พระยาหรือเจ้าพระยาเข้าไปแล้วหรือ เพราะสร้างกองกุศลมานานและคนตั้งล้านตั้งแสนที่ให้ทานรักษาศีลอยู่ทุกวัน ก็คงจะมียศศักดิ์เป็นขุนนางไปตามกๆ กันอย่างทันตาเห็นเป็นแน่ แต่กฎหมายเช่นว่านี้มีที่ไหนเล่า เพื่อความเข้าใจดีในเรื่องนี้ อาตมาจะยกหลักฐานจากคัมภีร์ใหญ่เอามาให้ประสกฟังสักตอนหนึ่ง อยากจะฟังหรือไม่เล่า”

    <O:p“อยากฟังขอรับ นิมนต์พระคุณเจ้าเถิด กระผมอยากจะทราบเรื่องนี้อย่างแจ่มแจ้งมานานแล้ว”

    <O:p“ถ้าเช่นนั้นก็จงตั้งใจฟังให้ดีและขอบอกไว้เสียก่อนว่า การที่ประสกจะฟังเรื่องอันลึกล้ำนี้ให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งแค่ไหนนั้น นั่นก็สุดแต่สติปัญญาของประสกเอง อาตมาเป็นแต่เพียงผู้ว่าไปตามคัมภีร์เท่านั้น” ภิกษุหนุ่มผู้รู้ปริยัติธรรมกล่าวออกตัวก่อนดังนี้แล้ว ก็นำเอากุสลากุสลพลวาพลาวปัญหาอันปรากฏมีในคัมภีร์มิลินทปัญหา (มิลินทปัญหา หน้า ๓๖๖ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๔๖๖) มาแสดงให้อุบาสกชรานั้นฟัง ดังต่อไปนี้

    อ่านต่อ ข้อกังขาของพระราชา<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011
  12. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ข้อกังขาของพระราชา


    สมเด็จพระเจ้ามิลินทราชาธิบดี ซึ่งเป็นพระบรมกษัตริย์แห่งสาคลราชธานีนั้น พระองค์ท่านทรงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงเป็นกษัตริย์นักปราชญ์องอาจที่จะพิจารณาเหตุการณ์ทั้งปวง เพราะทรงล่วงรู้ศิลปะศาสตร์ที่เป็นของสำหรับโลก ๑๘ ประการ คือ

    <O:p๑. สูติ รู้จักเสียงสัตว์ มีนกร้องเป็นต้น ว่าจะดีหรือร้ายประการใด
    <O:p๒. สมฺมติ รู้จักกำเนิดภูเขาและต้นไม้เป็นต้น ว่ามีชื่อเช่นนั้นๆ เพราะมีสาเหตุมาจากอะไร
    <O:p๓. สงฺขฺยา รู้คัมภีร์เลการคำนวณ
    <O:p๔. โยโค รู้การช่างฝีมือ
    <O:p๕. นิติ รู้ระบอบกฎหมาย สามารถที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลาย
    <O:p๖. วิเสสิกา รู้คัมภีร์จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
    <O:p๗. คณิกา รู้จักการนับนักขัตฤกษ์ รู้ตำราดาวทั้งหลาย
    <O:p๘. คนฺธพฺพา รู้จักเพลงขับและการดนตรีทั้งหลาย
    <O:p๙. ติกิจฺฉา รู้คัมภีร์แพทย์
    <O:p๑๐. ธนุพฺเพธา รู้ศิลปะศาสตร์ยิงธนูแม่นยำ
    <O:p๑๑. ปุราณา รู้จักภูมิสถานว่าที่นี้เป็นที่เก่า เป็นบ้านเก่า เป็นเมืองเก่า ดังนี้เป็นต้น
    <O:p๑๒. อิติหาสา รู้จักว่าทิศนั้นกินข้าวเป็นมงคล ทิศนั้นกินข้าวเป็นอัปมงคล เป็นต้น
    <O:p๑๓. โชติสา รู้จักคัมภีร์พยากรณ์ รู้จักทายว่า คนปีเดือนวันเช่นนั้นจักมีชะตาดีร้ายประการใด
    <O:p๑๔. มายา รู้ว่านี่เป็นของจริง นี่เป็นของไม่จริง นี่เป็นแก้ว นี่ไม่ใช่แก้ว เป็นต้น
    <O:p๑๕. เหตุ รู้จักเหตุรู้จักผล อันพึงจะบังเกิดขึ้นในกรณีทั้งปวง
    <O:p๑๖. วนฺตา รู้จักการที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้จักการที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้บังเกิดผลดี
    <O:p๑๗. ยุทฺธสา รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
    <O:p๑๘. ฉนฺทสา รู้คัมภีร์โลกโวหาร และรู้จักคัมภีร์ผูกกลอนกาพย์โคลงฉันท์ได้อย่างไพเราะเสนาะ

    <O:pนอกจากจะทรงรอบรู้ในศิลปะศาสตร์ ๑๘ ประการดังกล่าวมานี้แล้ว พระองค์ยังทรงประกอบไปด้วยองค์คุณ ๓ ประการ คือทรงประกอบไปด้วยปรีชาญาณอันว่องไวประการ ๑ ทรงประกอบไปด้วยกำลังรี้พลพหลโยธาประการ ๑ ทรงประกอบไปด้วยโภไคศวรรยสมบัติเป็นอันมากสุดที่จะคณานับได้ประการ ๑ แต่ข้อสำคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ในกรณีนี้ก็คือว่าพระองค์ทรงเป็นนักศึกษาสารพัดวิชา โดยเฉพาะวิชาการทางพระศาสนานั้น พระองค์ทรงศึกษาอย่างสนพระทัยเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่าสมเด็จพระมิลินทภูมินทราธิบดี ทรงมีถ้อยคำสนทนาไพเราะดีนักหนาลือชาปรากฏไปในชนบทประเทศทุกถิ่นฐาน พระองค์ทรงโปรดปรานการไต่ถามปัญหาเพื่อศึกษาหาความรู้ เมื่อทรงถามปัญหาแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะทรงไว้ซึ่งความเป็นนักปราชญ์ศาสดาขั้นไหนก็ตาม ก็ย่อมจะถึงความย่ำแย่ไม่สามารถที่จะแก้ไขและต้านทานปัญญาอันไวของพระองค์ได้ ในสมัยนั้นปรากฏว่ากรุงสาคลนครปราศจากสมณพราหมณ์ แต่เหตุที่กรุงสาคลนครปราศจากสมณพราหมณ์นี้ก็ไม่ใช่อะไรอื่น เป็นเพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลายเกิดความอับอายและเกรงกลัว ทั้งนี้ก็โดยที่เมื่อพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตราธิบดีทรงทราบว่ามีสมณพราหมณ์อยู่ในที่ใด พระองค์ก็เสด็จไปถามอรรถปัญหา สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีปัญญาน้อย มิอาจแก้ไขปัญหาที่ทรงถามได้ ก็เกิดความอับอายและเกรงกลัวจะถูกพระองค์ทรงถามปัญหาเอาอีก จึงหลีกหนีแตกกระจายไปตามยถากรรม ไปสู่บ้านเมืองอื่นก็มี ไปสู่ป่าหิมพานต์ก็มี สุดแต่ว่าจะหนีให้พ้นไปจากพระราชาผู้ทรงปัญญาไวพระองค์นี้เท่านั้น

    <O:pเมื่อสาคลนครว่างเปล่าจากสมณชีพราหมณ์มานานถึง ๑๒ ปีแล้ว กาลครั้งนั้นยังมีพระอรหันต์องค์หนึ่ง ปรากฏนามว่า พระนาคเสนเถรเจ้าได้เดินทางจากป่าหิมพานต์มุ่งหน้าตรงมายังสาคลราชธานี ก็อันพระนาคเสนเถรเจ้าองค์นี้ ท่านมีคุณสมบัตินับได้ว่าเป็นมิ่งมงกุฎวิสุทธิสงฆ์ในสมัยนั้น รอบรู้สรรพวิชาและรู้มนตราไตรเพท ทรงคุณวิเศษชำนาญในพระพุทธโอวาท เจนจัดในพระสูตร พระวินัยและพระปรมัตถ์ รู้พระปริยัติปฏิบัติปฏิเวธ มีราคาทิกเลสขาดสูญแล้วจากขันธสันดาน ควรแก่เครื่องสักการะอันมนุษย์อินทร์พรหมยมยักษ์หมู่นาคหากจะบูชา มีปัญญาดุจหนึ่งมหาสมุทรสาคร อันขจรด้วยระลอกชลธี อาจจะกำจัดเสียซึ่งคำของเดียรถีย์ที่กล่าวติเตียนเป็นเสี้ยนหนามพระบวรพุทธศาสนา เมื่อพระผู้เป็นเจ้าจะแสดงพระธรรมเทศนาก็รุ่งโรจน์ไพเราะเสนาะโสตประสาทของผู้ฟัง เมื่อจะประการคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เข้าใจประกาศแสดงได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ประดุจยกประทีปขึ้นชูให้ปมู่ประชาได้เห็นแสง รวมความแล้วก็ว่าพระนาคเสนเถรเจ้าเป็นอัครชิโนรส เรืองปรีชา อย่าว่าแต่มนุษย์เดินดินจะอวดดีมาไต่ถามปัญหาให้ติดขัดเลย แม้แต่มวลเทพยดาตลอดจนถึงท่านท้าวมหาพรหมทั้งหลายในพรหมโลกอันประเสริฐ หากจะเกิดความสังสัยมาไต่ถามปัญหาแล้ว สาวกแห่งองค์สมเด็จพระประทีปแก้วรูปนี้ ย่อมจักชี้แจงแก้ไขให้หายสงสัยและให้ต้องน้อมกายถวายเศียรแทบเบื้องบาทพระผู้เป็นเจ้าด้วยความเลื่อมใสทั้งสิ้น ครั้นพระผู้เป็นเจ้าเดินทางมาถึงถิ่นสาคลราชธานีดินแดนแห่งกษัตริย์นักปราชญ์แล้ว ก็พักอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อันสมควรแก่สมณวิสัย

    <O:pครั้นได้ทรงสดับข่าวว่ามีสมณะในพระพุทธศาสนาเดินทางเข้ามาถึงอาณาจักรแห่งตนเข้าเท่านั้น สมเด็จพระราชาธิบดีผู้มีปรีชาชาญ ก็มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพนักงานรีบอาราธนาเข้ามายังพระราชฐานทันทีครั้นพระยิ่งยอดปรีชาโฉมงามมีนามว่าพระนาคเสนเถรเจ้า ไม่ปรารถนาจักเข้าไปในพระราชฐาน พระองค์ก็ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปยังที่ซึ่งพระผู้เป็นจ้าพำนักอยู่ เพื่อทรงถามปัญหาตามพระราชอัธยาศัยที่ทรงชอบ ปรากฏว่าปัญหาและคำวิสัชนา ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีและพระนาคเสนเถรเจ้าปุจฉาวิสัชนากันในครั้งนั้น มีมากมายหลากหลายปัญหาและมีนัยอันวิเศษวิจิตรพิสดารเป็นยิ่งนัก ในที่นี้เราจักยกเอาปัญหาหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมขึ้นมากล่าว ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้แต่ตอนต้นต่อไป ขอจงระงับความกระสับกระส่ายแห่งจิตแล้วคอยติดตามฟังให้จงดีคือ

    <O:pสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลราชธานี ได้ทรงมีพระราชดำรัสถามพระนาคเสนเถรเจ้าผู้มีปรีชาขึ้นในตอนหนึ่งว่า

    <O:p“ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรีชา! บรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้ง ๒ ประการนี้ กรรมชนิดไหนมีกำลังแรงกล้ามากน้อยกว่ากันนะ พระผู้เป็นเจ้ากุศลกรรมมีกำลังแรงกล้ามากกว่าอกุศลกรรม หรือว่า อกุศลกรรมีกำลังแรงกล้ามากกว่ากุศลกรรม?”

    <O:p“กุศลกรรม... ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร! กุศลกรรมมีกำลังแรงกล้ามากกว่าอกุศลกรรม ขอถวายพระพร”

    <O:pสมเด็จพระเจ้ามิลินทราชาผู้ตรัสถามปัญหา จึงทรงแย้งขึ้นว่า

    <O:p“ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรีชา! ที่พระผู้เป็นเจ้าว่ามานี้โยมไม่เห็นด้วยคือไม่เชื่อเลย อะไรจะว่ากุศลกรรมมีกำลังแรงกล้ากว่าอกุศลกรรม เป็นไปมิได้อย่างเด็ดขาด มนุษย์ในโลกนี้กระทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาทและทำการฆ่าชาวบ้าน ฆ่าคนเดินทางและลวงเขาเอาไปฆ่าเสียในที่ต่างๆ ก็ดี มนุษย์ที่ทำอกุศลกรรมทั้งปวงนี้ย่อมได้รับทุกขโทษต่างๆ เป็นต้นว่า ต้องถูกลงโทษตัดตีนตัดมือหรือถูกตัดศีรษะเสียบประจานไว้ ตามสมควรแก่โทษใหญ่และโทษน้อย ปรากฏเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า หากกระทำอกุศลกรรมในยามกลางวันบางทีก็ได้รับผลในยามราตรีวันนั้น หากกระทำอกุศลกรรมในยามราตรี บางทีพอรุ่งขึ้นในยามกลางวันก็ได้รับผลนั้นทันทีและบางทีก็ได้รับผลในวันที่กระทำในคืนที่กระทำในขณะที่ทำนั้นก็มี บางทีอาจจะช้าไปก็ย่อมจะได้รับผลแห่งอกุศลกรรมภายใน ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้างเป็นอย่างช้า นี่แหละมนุษย์ซึ่งกะทำอกุศลกรรมทั้งหลายย่อมได้รับผลเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมเห็นประจักษ์ตาเช่นนี้ ฝ่ายมนุษย์ที่กระทำความดีอันเป็นกุศลกรรมทั้งหลาย บางพวกได้ถวายทานแก่พระภิกษุ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง ๑,๐๐๐ รูปบ้าง ๑๐,๐๐๐ รูปบ้าง บางพวกก็ได้รักษาศีล ๕ เป็นนิจศีล บางพวกเป็นอุบาสกอุบาสิกา รักษาศีล ๗ บางพวกบรรพชาเป็นสามเณรรักษาศีล ๑๐ บางพวกได้อุปสมบทเป็นพระภิษุในพระบวรพุทธศาสนา อุตส่าห์รักษาสิกขาบทมากมายถึง ๒๒๗ สิกขาบท บางพวกได้จำเริญภาวนา มนุษย์ทั้งหลายเช่นว่ามานี้ ที่ได้รับผลเป็นทิฐธรรมเวทนียในปัจจุบันทันตาประจักษ์แจ้งในชาตินี้ โยมนี้ไม่เคยเห็นมีเลย หรือพระผู้เป็นเจ้าจะว่ามี”

    <O:p“มี! ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าบุคคลผู้ให้ทานรักษาศีลและสมาทานอุโบสถศีลประกอบกุศลกรรมแล้ว ได้ผลเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมเห็นประจักษ์ในชาติปัจจุบันมีอยู่ ๔ คน ขอถวายพระพร”

    <O:p“ใครบ้าง... ที่พระผู้เป็นเจ้าว่ามีอยู่ ๔ คนนั้น คือใครบ้าง? ขอจงบอกนามมาให้โยมนี้ได้ทราบเร็วๆ สักหน่อยเถิด”

    <O:p“ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุคคลผู้ได้รับผลแห่งทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ซึ่งมีอยู่ ๔ คนนั้นคือพระเจ้าสกมันธาตุราช ๑ พระเจ้าเนมิราช ๑ พระเจ้าสาธินราช ๑ นายติณบาล ๑ ขอถวายพระพร”

    <O:p“โบราณไปแล้ว ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา! บรรดาชื่อต่างๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าอ้างมานี้ทั้ง ๔ ชื่อนั้น เป็นชื่อของคนโบราณ ซึ่งเรื่องราวของเขาปรากฏว่ามีมานานลึกดึกดำบรรพ์ไม่ทันสมัย โน่นแน่ะ... ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าของเรายังไม่ได้มาตรัสโพ้น เอาอย่างนี้ดีกว่า ว่าจำเพาะเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้น มีใครบ้างที่กระทำบุญแล้วได้ผลเห็นทันตา นิมนต์ว่าไปเถิด พระผู้เป็นเจ้า โยมนี้จะขอฟัง”

    <O:p“มหาบพิตรพระราชสมภาร! จะเอาอย่างนั้นก็ได้ คือเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น บุคคลผู้มีสันดานดีทั้งหลายเป็นต้นว่า นายปุณณทาส สุปปวาสาอุบาสิกา โคปาลมาตาอุบาสิกา พระนางมัลลิกาเทวี เอกสาฎกพราหมณ์และนายสุมนมาลาการ บุคคลเหล่านี้ประกอบกองการกุศลสำเร็จเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมได้รับผลประจักษ์ทันตาเห็นทั้งนั้น ขอถวายพระพร”

    <O:p“เรื่องของเขาเป็นอย่างไร ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอาศัยความกรุณาแล้วเล่าเรื่องของเขาเหล่านั้นให้โยมฟังสักหน่อยเถิด เอาแต่เพียงย่อๆ ก็พอ”

    <O:p“ถ้าเช่นนั้น ขอบพิตรพระราชสมภารเจ้าจงตั้งพระทัยสดับตามพระราชประสงค์ ดังต่อไปนี้

    “ถ้าเช่นนั้น ขอบพิตรพระราชสมภารเจ้าจงตั้งพระทัยสดับตามพระราชประสงค์ ดังต่อไปนี้

    ๑. นายปุณณทาส เดิมทีเป็นทาสของเศรษฐี วันหนึ่งได้มีโอกาสถวายอาหารบิณฑบาตแก่องค์พระเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า ซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วก็ได้รับพระราชทานตำแหน่งที่เศรษฐีมีชื่อว่า ปุณณกเศรษฐีในวันที่ตนได้ถวายอาหารบิณฑบาตนั้น

    <O:p๒. นางสุปปวาสาอุบาสิกา เป็นหญิงที่มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเป็นอันมาก วันหนึ่งใคร่จะอนุเคราะห์แก่พระภิกษุไข้ แต่ด้วยความจำเป็นจึงได้เชือดเถือเนื้อขาแห่งตนถวายก็ได้ผลเป็นทิฐธรรรมเวทนียะ รุ่งขึ้นเป็นวันที่คำรบ ๒ บาดแผลที่เชือดนั้นก็หายสนิทหารอยมิได้

    <O:p๓. โคปาลมาตาอุบาสิกา เดิมก็เป็นสามัญชนคนธรรมดา แต่นางเป็นสตรีมีศรัทธา เอาเกสาแห่งตนไปขายได้ทรัพย์มา ๘ กหาปณะ เสร็จแล้วเอาทรัพย์นั้นไปซื้อจ่ายสิ่งของประกอบเป็นอาหารบิณฑบาต ถวายแก่พระมหากัจจายเถรเจ้าองค์อรหันต์ สำเร็จเป็นกุศลทิฐธรรมเวทนียะ ก็ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทนราชาธิบดี ในวันที่นางได้ถวายภัตตาหารแด่พระมหาเถรเจ้านั้น

    <O:p๔. พระนางมัลลิกาเทวี เดิมทีเป็นสตรีสามัญธรรมดา แต่มีศรัทธาได้ถวายขนมถั่วก้อนหนึ่ง แด่องค์สมเด็จพระภควันตบพิตรพุทธเจ้า สำเร็จเป็นกุศลทิฐธรรมเวทนียะ ก็ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลราชาธิบดีในวันที่นางได้ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระพิชิตมารเป็นอัศจรรย์

    <O:p๕. พราหมณ์เอกสาฎก วันหนึ่งได้มีโอกาสสดับฟังพระสัทธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาแล้ว เกิดมีจิตผ่องแผ้วศรัทธา แต่หาอะไรที่จะถวายเป็นพุทธบูชามิได้ จึงเอาผ้าห่มผืนเดียวที่ตนมีอยู่ถวายแด่องค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า สำเร็จเป็นกุศลทิฐธรรมเวทนียะได้รับพระราชทานวัตถุสิ่งของจากสมเด็จพระราชธิบดีแห่งตนมากมาย ในวันที่ตนถวายผ้าผืนเดียวนั้น

    <O:p๖. นายสุมนมาลาการ เดิมทีเป็นคนเข็ญใจสามัญ ภายหลังได้มีโอกาสถวายดอกมะลิ ๗ ทะนานแด่องค์สมเด็จพระภควันตบพิตรพุทธเจ้าสำเร็จเป็นกุศลทิฐธรรมเวทนียะเห็นประจักษ์ คือได้สมบัติเป็นอันมาก ซึ่งเป็นของพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชา ในวันที่ตนได้ถวายดอกมะลิเป็นพุทธบูชานั้น

    <O:pเรื่องของคนกระทำการกุศลแล้วได้ผลเป็นทิฐธรรมเวทนียะเห็นประจักษ์ตา มีปรากฏอยู่ดังอาตมภาพถวายวิสัชนามานี้ ขอถวายพระพร”
    <O:p

    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2011
  13. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    “ยังอ่อนนัก! เหตุผลที่พระผู้เป็นเจ้าว่ายังอ่อนนัก โยมนี้ยังเชื่อไม่ได้ก่อนว่ากุศลกรรมมีกำลังแรงกล้ากว่าอกุศลกรรม ทั้งนี้เพราะว่าคนทำกุศลได้ผลทันตา รู้สึกว่ามีอยู่น้อยนักหนา กว่าจะหาบุคคลตัวอย่างผู้ได้รับผลแห่งกุศลแต่ละคนนั้นยากแสนยาก สู้หาบุคคลที่ได้รับผลแห่งอกุศลไม่ได้ มีอยู่มากมายเหลือประมาณ และมีอยู่ทุกกาลทุกสมัย คนที่กระทำอกุศลได้ผลทันตาเห็นนั้นมีมากต่อมาก กระทำครั้งหนึ่ง ๑๐ คนก็มี ๒๐ คนก็มี ๓๐ คนก็มี ๔๐ คนก็มี ๕๐ คนก็มี ๑๐๐ คนก็มี เหมือนเมื่อครั้งภัททปาลเสนาบดีแห่งพระเจ้าจันทรคุปตราชาธิบดีเป็นกบฏ กระทำสงครามกันกับพระจ้าจันทรคุปต์ นั้นนเอง พลนิกายทั้งสองฝ่ายกองทัพนั้น ต่างก็มีจิตคิดประกอบอกุศลกรรมด้วยความโมหันธ์ มีมือกระสันมั่นด้วยดาบอันคมกล้าไล่ฆ่าฟันกันตายมากกว่ามากนัก การที่คนทั้งหลายต้องล้มตายในสงครามมากมายเห็นปานนั้น ก็เพราะว่าพวกเขากระทำอกุศลแล้วก็ได้ผลทันตาเห็น คือตายไปมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น โยมจึงเห็นว่าอกุศลมีกำลังแรงกล้ากว่ากุศลเพราะให้ผลทันตาเห็นแก่บุคคลได้มากมาย ส่วนกุศลนั้น แม้บุคคลจะทำอย่างมากมายเพียงไร ก็ไม่เห็นจะให้ผลเป็นประจักษ์ตาเลย เออ!... กล่าวมาถึงตรงนี้ดยมก็ใคร่ที่ถามพระผู้เป็นเจ้าว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ ยังทรงมีพระชนมชีพอยู่นั้น กาลครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าโกศลราชได้เคยถวายอสทิสทานเป็นการใหญ่มิใช่หรือ เรื่องนี้พระผู้เป็นเจ้าได้สวนาการมาบ้างหรือว่าหามิได้”

    <O:p“ขอถวายพระพร เรื่องนี้อาตมภาพก็เคยได้สวนาการรู้อยู่”
    <O:p</O:p
    “ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรีชา! พระเจ้าโกศลราชอวายอสทิสทานครั้งนั้นปรากฏว่าเป็นการถวายท่านยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้านี้มิใช่หรือ?”

    <O:p“ใช่... ขอถวายพระพร”
    <O:p</O:p
    “แล้วได้ผลเป็นทิฐธรรมเวทนียะหรือเปล่า การถวายอสทิสทานอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าโกศลราชในครั้งนั้น พลันได้ผลประจักษ์เห็นทันตาหรือไม่เล่า พระผู้เป็นเจ้า”
    <O:p</O:p
    “เปล่า! บพิตรพระราชสมภาร พระเจ้าโกศลราชถวายอสทิสทานในครั้งนั้น จะได้สำเร็จผลเป็นทิฐธรรมเวทนียะทันตาเห็นก็หามิได้”
    <O:p</O:p
    “ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเล่า ข้าแต่พระนาคเสนเถรเจ้าผู้มีปรีชาญาณ! อสทิสทานที่พระเจ้าโกศลราชถวายในครั้งนั้น ลือชาปรากฏในโลกทีเดียวว่าเป็นทานใหญ่ แม้แต่ในบัดนี้ก็ยังเป็นที่ทราบกันอยู่แต่เหตุไฉน จึงไม่ได้สำเร็จผลเป็นทิฐธรรมเวทนียะ ด้วยเหตุนี้โยมจึงว่า กุศลกรรมมีผลอ่อนไม่มีกำลังแรงกล้า จึงไม่สามารถให้ผลทันตาเห็น แต่อกุศลกรรมมีผลกล้าแข็งมีกำลังแรงกล้ากว่า จึงสามารถให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมรวดเร็วทันตาเห็น หรือพระผู้เป็นเจ้าจะว่าอย่างไร”
    <O:p</O:p
    “ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร! อันว่าอกุศลกรรมนั้น เมื่อว่ากันตามสภาวะที่เป็นจริงแล้ว เป็นสภาวะมีผลน้อย จึงพลันให้ผลได้อย่างรวดเร็ว ส่วนกุศลกรรมนั้นเป็นสภาวะมีผลมาก จึงให้ผลช้า

    ขอถวายพระพร อาตมภาพจักยกอุปมาถวาย ก็ธรรมดาว่าธัญชาติข้าวเปลือกมีอยู่ ๒ ชนิดด้วยกัน ชนิดหนึ่งชื่อว่า กุมุทธภัณฑิกะ คือ ข้าวละมาน มักมีอยู่ในปัจจันตประเทศ ข้าวชนิดนี้เป็นข้าวเบาหว่านลงในนาเดือนเดียวสองเดือนก็ได้ผล อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า ข้าวสาลี เป็นข้าวหนัก หว่านลงในนา ๕ เดือนหรือ ๖ เดืนอจึงได้ผล อาตมภาพใคร่จักถามบพิตรพระราชสมภารว่า บรรดาข้าวทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชนิดไหนจะมีภาษีดีกว่ากัน?"

    "ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา! อันว่าข้าวสาลีนั้นมีภาษีดีกว่า เพราะเป็นข้าวที่ควรแก่การที่จะกระทำให้เป็นพระกระยาหารแห่งท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง แต่ว่า ข้าวเบาชนิดกุมุทธภัณฑิกะนั้น สำหรับใช้เป็นอาหารของเหล่าทาสและกรรมกรทั้งหลาย"

    "มหาราชะ! อันว่าอกุศลกรรมทั้งหลายให้ผลน้อย จึงได้ผลเร็ว เปรียบเสมือนข้าวเบาซึ่งมีผลน้อยควรเป็นอาหารแห่งเหล่าทาสกรรมกร จึงเผล็ดผลอย่างรวดเร็ว แต่กุศลกรรมทั้งหลายนั้นสิให้ผลมาก จึงได้ผลช้าเปรียบเสมือนข้าวสาลี ซึ่งดูคุณภาพดี ควรเป็นอาหารแห่งบุคคลสำคัญคือท้าวพระยามหากษัตริย์ เป็นข้าวหนัก จึงเผล็ดผลช้าเป็นเวลาหลายเดือน ขอถวายพระพร"

    "ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา! เหตุไฉน พระผู้เป็นเจ้าจึงไพล่วิสัชนาไปว่าอกุศลให้ผลน้อยจึงได้ผลเร็วเล่า โยมเห็นว่าการที่บุคคลกระทำอกุศลแล้วได้รับผลเร็วเป็นทิฐธรรมเวทนียะนี่แหละ เป็นการแสดงว่าอกุศลกรรมีกำลังแรงกล้า โยมจะอุปมาให้ฟัง

    ธรรมดาโยธาทหารกล้าผู้ใดเข้าสู่สงครามปราบปรามข้าศึกให้ปราชัยจับตัวนายทัพมาได้โดยไว ไม่เสียเวลาเนิ่นช้า ขุนพลโยธาผู้นั้น ก็ย่อมจะมีชื่อระบือลือชาว่าแกล้วกล้าสามารถเผด็จศึกได้อย่างรวดเร็วง่ายดายด้วยกำลังแรงและกำลังความรู้ในตำรับพิชัยสงครามเป็นเอก

    คนนักคำนวณผู้ใด หากเป็นผู้ชำนาญในการการนับเป็นอย่างเยี่ยม สามารถนับได้อย่างรวดเร็วว่องไว ของมากมายนับครู่เดียวก็เสร็จแล้วไม่เนิ่นช้า คนนักคำนวณผู้นั้นก็ย่อมได้รับความยกย่องว่าเป็นนักคำนวณเก่ง

    คนปล้ำผู้ใดเป็นผู้ทรงพลังแรงกล้า อาจสามารถที่จะปล้ำคู่ต่อสู้ได้ล้มลงทั้งยืน นอนดิ้นระด่าวอยู่กับพื้นโดยไว ให้ถึงซึ่งความปราชัยได้อย่างรวดเร็วในท่ามกลางประชุมชน คนปล้ำผู้นั้นย่อมได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปล้ำเอกผู้ทรงพลัง

    อกุศลกรรมก็เช่นเดียวกัน คือเป็นสภาพมีพลังแรงกล้า เพราะฉะนั้นจึงสามารถให้ผลรวดเร็วเป็นปัจจุบันทันตาเห็น ส่วนกุศลกรรมนั้นสิ เพราะเหตุที่มีกำลังด้อยกว่าจึงไม่ค่อยสามารถให้ผลปรากฏอย่างรวดเร็วเท่าไร หรือพระผู้เป็นเจ้าจะวิสัชนาว่าอย่างไร"

    พระนาคเสนผู้ปรีชาไว จึงวิสัชนาโดยยืนยันมติเดิมว่า

    "ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่ากุศลกรรมกับอกุศลกรรมนี้ต่างก็ให้ผลเป็นทิฐธรรมเวทนียะในปัจจุบันทันตาเห็นดุจเดียวกันจริงๆ ไม่แปลกกันเลย แต่เมื่อจะกล่าวในประเด็นที่ว่ากรรมชนิดไหนจะมีกำลังแรงกล้ากว่ากันแล้ว กุศลกรรมนั้นแหละมีกำลังแรงกล้ากว่าอกุศลกรรม อกุศลกรรมมีกำลังน้อยกว่ากุศลกรรมโดยแท้

    แต่ที่บพิตรพระราชสมภารทรงพระอุตสาหะรำพึงลึกซึ้งตรัสไว้แต่ตอนต้นโน้นว่า เห็นคนทั้งหลายกระทำอกุศลกรรมคือ ทำปาณาติปาตฆ่าคน ปล้นชาวบ้านและคนเดินทางเป็นต้น แล้วได้รับความวิบัติฉิบหายไปตามๆ กัน เพราะถูกเจ้าพนักงานบ้านเมืองเขาจับไปลงโทษลงอาชญาเหล่านั้น เขาได้รับผลทันตาเห็นเป็นอกุศลทิฐธรรมเวทนียะ จะทรงลงพระมติเอาเองดังนี้ ยังไม่ถูกก่อน ยังเป็นพระมติที่ใช้ไม่ได้ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า พระราชบัญญัติมีมาแต่ก่อนเป็นประเพณี สมเด็จพระราชาธิบดีทรงมีพระบมราชโองการให้ตราเป็นพระราชกำหนดบทพระอัยการได้แล้วว่า มันผู้ใดกระทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์มีคุณ เป็นต้นว่าฆ่ามนุษย์ทั้งหลาย แม้มันผู้ใดกระทำอทินนาทานปล้นสะดมฉ้อโกงทรัพย์สินของผู้อื่นเอามาเป็นของตน กระทำกาเมสุมิจฉาจารประพฤติผิดในทางกามล่วงภรรยาสามีผู้อื่น เข้าลักษณะคบชู้อันน่าอดสูนักหนา กล่าวมุสาวาทคือเจรจาลวงให้เขาเสียทรัพย์ เจรจาหยาบคาย บริภาษด่าว่าผู้อื่นด้วยคำหยาบช้า และเสพสุรายาเมา แสดงกิริยาบ้าเขลาต่างๆ มันผู้นั้นเป็นคนชั่วมีโทษ ท่านว่าให้ลงอาญาแก่มันผู้นั้นตามสถานโทษานุโทษ เมื่ออาณาประชาชนกระทำผิด ซึ่งตรงกับพระราชกำหนดบทพระอัยการแล้ว เจ้าพนักงานท่านก็ลงโทษลงอาญาฆ่าตีตามสถานโทษเป็นธรรมดา อย่างนี้มหาบพิตรพระราชสมภารก็เหมาเอาว่า เป็นอกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรม ซึ่งความจริงหาใช่เป็นอกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมไม่ โดยที่แท้เป็นการประพฤติผิดพระราชกำหนดกฎหมายต่างหาก เมื่อเข้าใจเข้วเขวเห็นการผิดพระราชกำหนดกฏหมายเป็นอกุศลทิฐธรรมเวทนียกรรมไปเสียเช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้เห็นผิดต่อไปว่า การที่อกุศลกรรมให้ผลเร็วทันใจก็เพราะอกุศลกรรมเป็นกรรมที่มากไปด้วยแรงกำลัง

    ก็ถ้าจะมีกฏหมายดั้งเดิมบ่งบังคับไว้ว่า บุคคลผู้ใดอุตสาหะรักษาศีล ๕ เป็นนิจศีลแล้ว ให้พระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์และทรัพย์สินบริวารแก่บุคคลผู้นั้นเป็นจำนวนเท่านั้นๆ ดังนี้ก็ดี บุคคลผู้ใดอุตสาหะรักษาศีล ๗ อันเป็นอุโบสถศีล รักษาศีล ๑๐ รักษาศีล ๒๒๗ อุตสหาะจำเริญภาวนาอันมีอานิสงส์มหาศาลให้พระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์และทรัพย์สินบริวารให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ดังนี้ก็ดี เช่นนี้แล้วจะเป็นอย่างไร กฎหมายที่ให้ความสุขความเจริญแก่บุคคลผู้กระทำกุศลกรรมเช่นว่ามานั้นมีบ้างหรือไม่เล่า บพิตรพระราชสมภาร"

    "กฏหมายแปลกประหลาดเช่นพระผู้เป็นเจ้าถามมานั้นไม่มี"

    "ก็เพราะกฏหมายไม่มี คนที่ทำกุศลกรรมจึงไม่ได้รับผลแห่งการทำความดีเห็นทันตา ซึ่งผิดกับการทำความชั่ว อันคนที่ทำความชั่วแล้วได้รับผลในปุจจุบันทันตาเห็นนั้นก็เพราะมีกฏหมายบ่งระบุไว้ ฉะนั้นการที่เห็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลมีกำลังแรงกว่าทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลนั้นยังไม่ได้ก่อน เพราะบางทีกรรมที่เข้าใจนั้น ยังไม่เข้าขั้นทิฐธรรมเวทนียกรรมก็ได้ จะอย่างไรก็ตาม ขอให้บพิตรพระราชสมภารจงเข้าพระทัยเถิดว่ากกุศลกรรมกับอกุศลกรรมนี้ต่างก็มีหน้าที่ให้ผลเป็นทิฐธรรมเวทนียะ คือสามารถที่จะให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็นดุจเดียวกัน หากว่าจะเข้าขั้นทิฐธรรมเวทนียกรรมจริงๆ แต่ถ้าจะว่าถึงกำลังแรงและการให้ผลในสัมปรายิกภพภายภาคหน้าแล้ว กุศลกรรมย่อมมีกำลังแรงกล้าและให้ผลหนักหนากว่าอกุศลกรรมเป็นไหนๆ

    ในกรณีนี้ พึงเห็นว่า กุศลกรรมมีกำลังแรงกล้าอาจสามารถนำสัตว์ให้เข้าถึงพระนิพพานเหมือนเช่นพระองคุลิมาลเถรเจ้า จริงอยู่เดิมทีเมื่อเป็นโจรประกอบอกุศลกรรมอยู่นั้น พระองคุลิมาลท่านฆ่าฟันมนุษย์เสียเป็นอันมาก ครั้นได้บรรพชาอุปสมบทเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จโลกุตรธรรมเข้าขั้นพระอรหันต์แล้ว อุกศลกรรมที่ฆ่าฟันมนุษย์ทั้งหลายนั้นก็หมดประสิทธิภาพหาตามทันไม่ และได้กลายเป็นอโหสิกรรมไปในที่สุด ดังนั้น ขอบพิตรพระราชสมภารจงรับทราบไว้ในพระทัยเถิดว่ากุศลกรรมนี้มีกำลังแรงกล้าที่จะจะนำบุคคลผู้เป็นเจ้าของให้ลุล่วงเข้าถึงโลกุตตรธรรมข้ามพ้นอกุศลกรรมทั้งปวงไปได้อย่างแน่นอน ขอถวายพระพร"

    เมื่อพระนาคเสนผู้มีปรีชาวิสัขนาดังนี้ สมเด็จพระเจ้ามิลินทราชาธิบดีก็ทรงปลงพระปัญญาเห็นด้วย จึงตรัสสรรเสริญว่า

    "ข้าแต่พระนาคเสนผู้มีปรชา! พระผู้เป็นเจ้านี้เป็นวุฒิมันตบุคคล คือเป็นบุคคลที่มีญาณอันจำเริญยิ่ง จึงสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โยมนี้ว่าไปตามโลกีย์ แต่พระผู้เป็นเจ้าผู้มีปรีชาลึกลับแก้ด้วยโลกุตระ ที่นี้โยมเห็นด้วยแล้วละว่า กุศลกรรมมีกำลังกว่าอุกศลกรรม โยมขอรับไว้ในกาลบัดนี้"

    ตรัสสรรเสริญสาวกแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์เจ้าดังนี้แล้ว สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ป่ินประชาชาวสาคลราชธานี ก็ทรงมีพระทัยผ่องแผ้ว และทรงเตรียมพระองค์จะทรงปุจฉาในปัญหาต่างๆ อีกต่อไป

    "เป็นอย่างไรบ้างเล่า ประสก!" ภิกษุหนุ่มผู้เทศนามิลินทปัยหามานาน กล่าวถามอุบาสกชราซึ่งกำลังฟังเพลินอยู่ "เป็นอย่างไรบ้าง ได้ฟังเรื่องที่เล่านี้แล้ว พอจะเข้าใจในการให้ผลแห่งบุญและบาปที่เคยงุนงงสงสัยมาเมื่อแต่ก่อนบ้างหรือไม่เล่า"

    อุบาสกเฒ่ากล่าวแบ่งรับแบ่งสู้ ซึ่งพระภิกษุหน่มผู้เทศนาก็รู้อยู่ว่าตาเฒ่ายังไม่ค่อยเข้าใจแจ่มแจ้งดีนัก คิดว่าจักอธิบายเพิ่มเติมต่อไปอีก แต่เห็นว่าพระสุริยากำลังลาลับจากขอบฟ้าย่างเข้ายามราตรี ทั้งขณะนี้ริ้นยุงอันแสนจะเหลือชุมมันก็พากันมารุมเบียดเบียนมากมาย จึงระงับความคิดที่จะอธิบายในเรื่องนี้ไว้ก่อน แล้วจึงลุกขึ้นและกล่าวคำอำลาแยกทางจากผู้เฒ่าโวหารกล้า ดุ่มเดินฝ่าความมืดมุ่งหน้าไปสู่อารามอันเป็นที่พำนักชั้่วคราวแห่งตน ด้วยประการฉะนี้

    เห็นทีจะถึงกาลอวสานกันได้ละกระมัง เรื่องทิฐธรรมเวทนียกรรมนี้ ฉะนั้นจึงสรุปความลงเสียทีว่า ทิฐธรรมเทวนียกรรมนี้ได้แก่เจตนาที่ประกอบอยู่ในปฐมชวนะ คือชวนะดวงที่ ๑ ซึ่งมีประสิทธิภาพให้ผลแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมเป็นปัจจุบันทันตา ไม่ว่าจะเป็นทิฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลกรรมหรือฝ่ายอกุศลก็ตาม บุคคลกระทำในชาติใดก็ย่อมให้ผลในชาตินั้นเอง ถ้ามิได้ให้ผลในชาตินั้นก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป

    ในปากกาลจตุกกะ หรือประเภทแห่งกรรมที่ว่าโดยเวลาที่ให้ผลนั้น นอกจากทิฐธรรมเวทนียกรรมที่เราเพิ่งจากมาหยกๆ เมื่อตะกี้นี้แล้ว กรรมที่เราจักต้องพบต้องศึกาาในลำดับต่อไปก็คือกรรมที่มีชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...