(๕)โพธิธรรมทีปนี: ทุกข์อยู่ที่ไหน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 17 ธันวาคม 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ทุกข์อยู่ที่ไหน

    สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเชี่ยวชาญในการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นพระบรมศาสดาเอกในโลก เพราะทรงรู้แจ้งในพระจตุราริยสัจธรรม ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาแสดงที่อยู่แห่งความทุกข์เอาไว้โดยพระบาลีเป็นอาิทิว่า

    ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกขา
    "อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์"

    โดยพระพุทธวจนะนี้ เราก็ย่อมหาที่ตั้งแห่งความทุกได้แล้วว่า ทุกข์ทั้งหลายอันมีมากมายนั้น มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน ถูกแล้ว ตั้งอยู่ที่อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้ง เป็นที่อยู่แห่งความทุกข์ ทีนนี้ก้มีคำถามต่อไปว่า

    อุปาทานขันธ์ ๕ คืออะไรบ้าง?

    อุปาทานขันธ์ ๕ นั้นคือ
    ๑. รูปอุปาทานขันธ์
    ๒. เวทนาอุปาทานขันธ์
    ๓. สัญญาอุปาทานขันธ์
    ๔. สังขารอุปทานขันธ์
    ๕. วิญญาณอุปาทานขันธ์
    อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เมื่อจะสรุปลงรวมกันเข้าเพื่่อให้เข้าใจจดจำได้ง่ายๆ ก็สรุปลงเป็นสภาพธรรม ๒ ประการเ่ท่านั้น คือ เป็นรูป ๑ เป็นนาม ๑ โดยมีวิธิีการสรุปดังนี้

    รูป... ได้แก่รูปอุปาทานขันธ์
    นาม...ได้แก่ เวทนา- สัญญา - สังขาร - วิญญาณอุปาทานขันธ์


    รูปและนามอันสรุปมาจากอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ได้แก่อะไร? รูปและนามอันสรุปมาจากอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ถ้าจะว่าให้ฟังกันง่ายๆ ก็ได้แก่รูปกายและจิตใจของแต่ละสัตว์แต่ะบุคคลนั่นเอง เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ ถ้าพบเห็นคำว่า "อุปาทานขันธ์ ๕" ก็ดี หรือคำว่า "รูปนาม" ก็ดี ก็พึงเข้าใจเถิดว่าหมายถึงสิ่งเดียวกัน คือหมายถึงรุปกายและจิตใจนั่นเอง! รูปกายและจิตใจนี้เป็นสถานที่ตั้งแห่งความทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดและอาศัยอยู่ที่รูปกายและจิตใจนี่เอง ถ้าไม่มีรูปกายและจิตใจแล้ว ความทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่มี การที่ความทุกข์ทั้งหลายจะเกิดมีขึ้นได้แก่เพราะเหตุว่า มีรูปกายและจิตใจเป็นสถานที่เกิดอาศัยเป็นสำคัญ หากจะมีปัญหาว่า ความทุกข์ทั้งหลายซึ่งเกิดและอาศัยเป็นอยู่ในรูปกายและจิตใจดังว่ามานั้น มันได้ทำคุณประโยชน์อะไรเพื่อเป็นการสนองคุณให้สมแก่การที่รูปกายและจิตใจให้มันเกิดและอาศัยอยู่บ้างหรือเปล่า? เปล่า.. ความทุกข์ทั้งหลายมันไม่เคยทำคุรประโยชน์อะไร ให้แก่รูปกายและจิตใจเลยแม้แต่สักนิดเดียว นอกจากจะไม่ทำคุณประโยชน์ให้แล้ว มิหนำซ้ำยังกลับนำความจัญไรมาให้แก่รูปกายและจิตใจอย่างมากมายอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความทุกข์ทั้งหลายย่อมได้ชื่อ่าเป็นสภาวะเนรคุณคือไม่มีคุณมีแต่โทษโดยส่วนเดียว ฉะนั้นเมื่อมันเกิดและอาศัยอยู่ในรูปกายและจิตใจ หรือที่เรียกตามศัพท์ธรรมะว่าอุปาทานขันธ์ ๕ แล้วก็ย่อมจะมุ่งหน้าทำการเบียดเบียนทำลายอุปาทานขันธ์ ๕ เรื่อยไปเป็นนิตย์ ในกรณีที่ความทุกข์นำความจัญไรมาให้แก่อุปาทานขันธ์ ๕ โดยการเบียดเบียนทำลายอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่เสมอเป็นนิตย์นั้น มีความอุปมาดังต่อไปนี้
    ขึ้นชื่อว่าไฟ ย่อมมีปกติทำลายเบียดเบียนเชื้อไฟอยู่เสมอเป็นธรรมดา

    ขึ้นชื่อว่าเครื่องประหาร ย่อมมีปกติทำลายเบียดเบียน คือแทงทะลุเป้าเป็นธรรมดา

    ขึ้นชื่อว่าสัตว์ซึ่งมีปกติกินเลือด เช่นเหลือบ ยุง เป็นต้น ย่อมทำการเบียดเบียนกัดดูดสัตว์ที่มีเลือด คือ โค กระบือ และมนุษย์เราเป็นต้นอยู่เสมอเป็นธรรมดา

    ขึ้นชื่อ่าโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านเป็นอาชีพ ย่อมทำการเบียดเบียนปล้นฆ่าชาวบ้านชาวเมืองอยู่เสมอเป็นธรรมดา

    อุปมาดังกล่าวมานี้ฉันใด ความทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดและอาศัยอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ ก็ย่อมมีปกติเบียดเบียนทำลายอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่เสมอเป็นธรรมดาฉันนั้นเหมือนกัน ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า "ทุกขอริยสัจมีการเบียดเบียนกันเป็นลักษณะ" ดังนี้

    ก็ทุกขอริยสัจธรรมนี้ ย่อมปรากฎมีแก่บรรดาสัตว์บุคคลทุกหมู่เหล่าและทุกชีวิตไม่มีใครี่จะหลีกเีลี่ยงพ้นไปได้ ไม่ว่าจะตายจะเกิดสักกี่แสนกี่โฏฎิชาติก็ตาม ก็ย่อมจักต้องประสกับความทุกข์อยู่เสมอร่ำไป เพราะความทุกข์นี้ไซร้ เป็นสิ่งที่ขุดออกไปให้หลุดพ้นจากสันดานได้ยากนักหนา สมกับนามของมันที่ ว่า "ทุกข์" ซึ่งแปลว่าสภาพที่จะขุดให้หลุดพ้นออไปจากจิตสันดานได้โดยยาก ด้วยประการฉะนี้

    ทุกขสมุทัยอริยสัจธรรม

    อริยสัจธรรมอันดับที่ ๒ มีชื่อว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ซึ่งแปลว่า อริยสัจคือเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์

    การที่ทุกขสมุทัยอริยสัจปรากฎโฉมหน้าขึ้นมาเป็นอันดับที่สองรองจากทุกขอริยสัจเช่นนี้ ก็มีสาเหตุว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผุ้ทรงตรัสรู้พระจตุราริยสัจอย่างแท้จริง เมื่อทรงประกาศให้ชาวโลกได้ทราบว่าสัตว์กำลังตกอยู่ในกองทุกข์ ด้วยอริยสัจข้อที่หนึ่งดังกล่าวมาแล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงชี้แจงว่า ความทุกข์ทั้งหลายที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ทุกฃีวิตนั้น มันมีเหตุเกิด มิใช่เกิดมาลอยๆ โดยหาเหตุผลมิได้ และเพื่อจะทรงป้องกันความเข้าใจผิดของประชาชนทั้งหลาย ที่มักจะเข้าใจผิดกันอยู่เสมอ เช่นเข้าใจว่า
    ความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นจากพรหมลิขิต คือมีพระพรหมวิเศษซึ่งมีนากรใดก็ไม่ทราบได้ และมีนิสัยใจคอกับทั้งกรรมเวรอันใดก็ไม่รู้แต่สู้อุตส่่าห์ขยันลิขิตชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ให้ได้รับภัยพิบัติและให้ได้รับความทุกข์ต่างๆ นานา
    ความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นจากเทวดาสาปแช่ง ! คือมนุษย์และสัตว์ ซึ่งได้รับความทุกข์อยู่ในขณะนี้ ก็เพราะมีความผิดต่อเทวดา มีความผิดต่อพระเจ้าผู้มีฤทธิ์ ซึงสถิตอยู่ ณ สวรรค์เมืองห้ามาก่อน เลยถูกเทวดาหรือพระเจ้าถีบส่งให้ลงมาเกิด ได้รับทุกข์ทรมานเพื่อเป็นการไถ่ถอนบาปของตนที่ทำไว้แต่ครั้งไหนก็ไม่ทราบ
    ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากพวกผี ปีศาจ ราชทูตมันแกล้ง! คือความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งหลายเป็นอเนกประการที่มนุษย์และสัตว์ได้รับนั้น เกิดขึ้นเพราะการกระทำผิดต่อผีเจ้าผีป่าซาตานเหล่านั้นมันโกรธ มันจึงเลยแกล้งบันดาลให้ได้รับความทุกข์ต่างๆ นานาที่อำนาจแห่งผีจะกระทำได้

    เพื่อทรงป้องกันความเข้าใจผิดดังกล่าวนี้ โดยมีพระพุทธประสงค์จะทรงชี้แจงให้ชาวโลกด้ทราบถึงเหตุแห่งความทุกข์อย่างแท้จริง จึงได้ตรัสอริยสัจธรรมข้อที่ ๒ คือทุกขสมุทัยอริยสัจธรรม

    ทุกขสมุทัยอริยสัจธรรมหรือเหตุเกิดแห่งความทุกข์อ่ย่างแท้จริงคืออะไร
    เหตุเกิดหรือบ่อเกิดแห่งความทุกข์อย่างแท้จริงนั้น คือ " ตัณหา" สมจริงตามนามบัญญัติแห่งตัณหา ซึ่งมีอรรถวิเคราะห์ว่า


    ตัณหา

    ตสตีติ ตณฺหา
    "ธรรมชาติที่ยังจิตให้สะดุ้งดิ้นรนขวักไขว่ไม่สงบลงได้
    ธรรมชาตินั้นเรียกชื่อว่า "ตัณหา"


    จริงอยู่ความทุกข์ต่างๆ มีการเกิด แก่ ตายและความไม่สบายกายไม่สบายใจเป็นต้น เมื่อสาวเข้าไปหาตัวต้นเหตุให้เกิดเหล่านี้แล้ว ท่านผู้มีปัญญาผ่องแผ้วทั้งหลายก็ย่อมจะทราบว่า ตัวต้นเหตุอันแท้จริงที่บันดาลให้ความทุกข์เหล่านี้เกิด ก็คือตัณหา ซึ่งได้แก่ความอยากได้ ความยินดี ความพอใจนั่นเอง! ทั้งนี้ก็โดยมีอธิบายว่า

    ธรรมดาคนเรามที่เกิดมาในโลกนี้ แล้วให้เกิดมีอันเป็นต้องสะดุ้งยุ่งเหยิงขวักไขว่พยายามขวนขวายประกอบกิจการต่างๆ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีอย่างชุลมุนวุ่นวายเช่นเวลานี้นั้น ก็เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่น่ายินดีน่าปรารถนาต่างๆ ด้วยกันทั้งสิ้น แม้จะเหนื่อยกายเหนื่อยใจสักเพียงไหนก็ตาม ก็ไม่ย่นย่อท้อถอยหลัง มุ่งหวังแต่จะให้สำเร็จในกิจที่ตนกระทำเท่านั้น อุตส่าห์ก้มหน้ากระทำไปจนสำเร็จสิ่งที่ตนปรารถนาสมประสงค์ แต่่คนทั้งหลายก็หารู้ไม่เลยว่า ตนตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งตัรหา ตัณหาเป็นตัวบันดาล ตัณหาเป็นผู้จัดแจงให้ต้องเหนื่อยยากให้ต้องลำบากาย ให้ต้องลำบากใจ การที่ตนต้องเหนื่อยยากลำบากได้รับความทุกข์ต่างๆ นานา ก็เพราะอำนาจการบันดาลของรูปตัรหา ความพอใจในรุปบ้าง สัททตัณหา ความพอใจในเสียงบ้าง เช่นนี้เป็นต้น

    ตัณหากล่าวคือความปรารถนา ความยินดีพอใจในรุป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ที่ตนคิดว่าจะนำความสุขมาให้เหล่านี้เองเป็นเหตุ การขวนขวายพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ จนได้รับทุกข์ร้อนและความเหนื่อยยากลำบากกายและใจนั้นเป็นผล แต่การที่จะได้รับความทุกข์และความเหนื่อยยากมากน้อยขนาดไหนนั้น ก็สุดแต่ว่าในดวงใจมีตัณหาคอยชักใยอยู่มากน้อยแค่ไหน คือถ้าในดวงใจมีตัณหาความปรารถนาน้อย ก็จะชักใยให้สะดุ้งยุ่งยากขวักไขว่ขวนขวายน้อย เมื่อมีการขวนขวายพยายามน้อย ความทุกข์ยากความเหน็ดเหนื่อยก็ย่อมจะมีน้อยเป็นธรรมดา ถ้าในดวงใจมีตัณหาพอประมาณ ก็จะเป็นเหตุให้การขวนขวายเป็นไปพอประมาณ ความทุกข์ยากลำบากอันเป็นผลที่ได้รับก็ย่อมจะมีพอประมาณ ยิ่งถ้าในดวงใจมีตัณหาคือความปรารถนายินดีเป็นอันมาก ก็จักเป็นเหตุให้มีการขวนขวายมาก ความทุกข์ยากอันเป็นผล ก็ย่อมจักปรากฎมีมากเป็นธรรมดา รวมความว่า "ยิ่งมีตัณหาอันเป็นตัวเหตุให้มีการขวนขวายพยายามมากขึ้นเท่าใด การได้รับความทุกข์อันเป็นผล ก็ย่อมจักปรากฏมากขึ้นเท่านั้น"

    อนึ่ง ถ้าการขวนขวายพยายามนั้นเป็นไปในทางดี เช่นพยายามทำกุสลกรรมต่างๆ คือ ทาน - ศีล - ภาวนา เพื่อปรารถนาความสุขให้ยิ่งขึ้นไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า การทำกุศลกรรมด้วยความปรารถนาดีเช่นนี้ นับว่าทำไปด้วยอำนาจความบันดาลแห่งตัณหา และเป็นเหตุให้ความทุกข์เกิดขึ้นได้ คือเป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ ความเหนื่อยกายเหนื่อยใจในขณะที่กำลักระทำและเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ต้องได้รับความทุกข์ในโลกหน้าต่อไปอีก คือเมื่อผู้ทำกุศลกรรมนั้นไปเกิดในโลกหน้า ชาติหน้าไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีความสุขได้เสวยสมบัติวิเศษอย่างไร แต่การที่จะพ้นจากชาิติทุกข์ ชราทุกข์และมรณทุกข์เป็นอันไม่มี แต่ผุ้ที่ได้รับความทุกข์เช่นนี้ ย่อมมีความอดทนได้โดยเห็นว่าเป็นของธรรมดา เพราะคำที่ตนมิได้มีปัญญาหยั่งทราบลงไปอย่างลึกซึ้งเลยว่า ชาติทุกข์ ชราทุกข์ และมรณทุกข์ที่ตนกำลังไดรับอยู่ และจักต้องได้รับต่อไปเป็นเวลาช้านานอีกไม่รู้ว่ากี่ล้านชาตินั้น มันเป็นผลสืบเนื่องมาจากตัณหาเป็นเหตุ

    ยิ่งในกรณีแห่งการขวนขวายพยายามอันเป็นไปในทางไม่ดี ประพฤติอกุศลกรรมความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม มีโลภเจตนาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้อื่นเป็นอาจิณ เพื่อให้ได้ทรัพย์สินเงินทองมาสำหรับใช้จ่ายบำรุงความสุขแห่งตน ตามความบงการแห่งตัณหาด้วยแล้ว ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์หนักยิ่งขึ้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ ผู้ี่ถูกตัณหาพาให้ทำทุจริตนั้นย่อมจักได้รับทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอย่างหนัก เช่น ถูกติเตียนดูหม่ินจากบัณฑิตทั้งหลาย ถ้าถูกเขาจับได้ต้องได้รับโทษทางกฎหมายบ้านเมือง บางทีได้รับโทษถึงประหารชีวิตก็มี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ี่เห็นโดยประจักษ์แจ้งในชาตินี้ เมื่อดับขันธ์สิ้นชีวิตตายลงไปแล้ว ความทุกข์อันเกิดจากตัณหาพาให้ทำทุจริตนั้น ก็จะปรากฎให้ประจักษ์แจ้งยิ่งขึ้น คือต้องไปเกิดในอบายภูมิกลายเป็นสัตว์นรกปรตอสุรกายเดียรัจฉาน ได้รับความทุกข์ทรมาณอย่างแสนสาหัส และถ้าลงว่าได้ไปเกิดเป็นอบายสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งดังว่ามาแล้ว ย่อมมีหวังน้อยที่จักมีโอกาสได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก เพราะจะต้องทนทุกข์อยู่ ณ ที่นั้น นานนักหนา


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2009
  2. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเชี่ยวชาญในการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นพระบรมศาสดาเอกในโลก เพราะทรงรู้แจ้งในพระจตุราริยสัจธรรม ได้ทรงมีพระพุทธฎีกาแสดงที่อยู่แห่งความทุกข์เอาไว้โดยพระบาลีเป็นอาิทิว่า

    ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกขา
    "อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์"

    โดยพระพุทธวจนะนี้ เราก็ย่อมหาที่ตั้งแห่งความทุกได้แล้วว่า ทุกข์ทั้งหลายอันมีมากมายนั้น มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน ถูกแล้ว ตั้งอยู่ที่อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2010
  3. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ทุกขสมุทัยอริยสัจธรรมหรือเหตุเกิดแห่งความทุกข์อ่ย่างแท้จริงคืออะไร
    เหตุเกิดหรือบ่อเกิดแห่งความทุกข์อย่างแท้จริงนั้น คือ " ตัณหา" สมจริงตามนามบัญญัติแห่งตัณหา ซึ่งมีอรรถวิเคราะห์ว่า

    ตสตีติ ตณฺหา
    "ธรรมชาติที่ยังจิตให้สะดุ้งดิ้นรนขวักไขว่ไม่สงบลงได้
    ธรรมชาตินั้นเรียกชื่อว่า "ตัณหา"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...