(๕) ว่าด้วยสิ่งที่เลิศ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 16 กันยายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    ว่าด้วยการเกิดเพศหญิงเพศชาย เป็นต้น

    คำว่า แก่หญิง (อิตฺถิยา จ) ความว่า เพศหญิงของหญิงในเวลาเป็นมนุษย์ในชาติก่อนๆ ก็ปรากฎ เพศชายของชายในกาลก่อนๆ นั้นก็ปรากฎ. ความจริง หญิงเมื่อต้องการเป็นชาย พยายามบำเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นชายโดยลำดับ ก็ย่อมสำเร็จได้. ชายเมื่อต้องการเป็นหญิง ก็ประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมสำเร็จได้. ก็ในเวลานั้น ตามปกติเพศหญิงย่อมปรากฎขึ้นแก่หญิง เพศชายก็ปรากฎขึ้นแก่ชาย. คำว่า ต่างเพ่งดูกันและกันอยู่ (อุปนิชฺฌายตํ) ความว่า เพ่งอยู่คือแลดูอยู่ . คำว่า ความเร่าร้อน (ปริฬาโห) ได้แก่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจราคะ. คำว่า เถ้า (เสฏฺฐึ) ได้แก่ เถ้าถ่าน. คำว่า เมื่อนำ...ไป (นิพฺพุยหมานาย) ความว่า นำออกไป

    คำว่า รู้กันว่าไม่เป็นธรรม (อธมฺมมสมฺมตํ) ความว่า การโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้น สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม. คำว่า มาในบัดนี้รู้กันว่าเป็นธรรม (ตเทตรหิ ธมฺมสมฺมตํ) ความว่า แต่ในบัดนี้ การโปรยฝุ่นเป็นต้นนี้ สมมติกันว่าเป็นธรรม. พวกพราหมณ์ทั้งหลายพากันเที่ยวถือเอาการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม. จริงอย่างนั้น ในชนบทบางแห่ง พวกหญิงเมื่อทะเลาะกันย่อมกล่าวว่า พูดไปทำไมมี แกจักไม่ได้อะไรแม้เพียงก้อนมูลโคสด. คำว่า ต้องการเสพ (ปาตพฺยตํ) ได้แก่ ควรซ่องเสพ. คำว่า ที่สั่งสมไว้ (สนฺนิธิการกํ) ได้แก่ ทำการสั่งสม. คำว่า การขาดตอนก็ปรากฏขึ้น (อปาทานํ ปญฺญายิตฺถ) ความว่า ที่ที่เขาเก็บไปแล้วได้ปรากฎเป็นของพร่องไป. คำว่า มีเป็นหย่อมๆ ขึ้นมา (สณฺฑสณฺหา) ความว่า เป็นกลุ่มๆ เหมือนจัดไว้เป็นพวกหมู่ในที่หนึ่งๆ

    คำว่า กั้นเขตคันกัน (มริยาทํ ฐเปยฺยาม) ความว่า พวกเราจะตั้งเขตแบ่งกัน. คำว่า ยตฺตร หิ นาม ได้แก่ โย หิ นาม (ก็ขึ้นชื่อว่าสัตว์ใด). คำว่า เอามือทุบ (ปาณินา ปหรึสุ) ความว่า สัตว์เหล่านั้นเอามือตีคนที่ไม่เชื่อคำตน ถึง ๓ ครั้ง. คำว่า ในเพราะเรื่องนั้นเป็นสำคัญแล (ตหคฺเค โข ปน) แปลว่า เพราะทำเหตุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ.

    ว่าด้วยพระเจ้ามหาสมมต

    คำว่า จะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ (ขียิตพฺพิ ขีเยยฺย) อธิบายว่า พึงประกาศบอกบุคคลผู้ควรประกาศ คือ ติเตียนบุคคลที่ควรติเตียนขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่. ข้อว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใด (โย เนสํ สตฺโต) ความว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้นสัตว์ใด. ถามว่า ก็สัตว์นั้นเป็นใคร? ตอบว่า คือ พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย. ข้อว่า ให้ส่วนแห่งข้าวสาลี (สาลีนํ ภาคํ อนุปฺปทสฺสาม) ความว่า เราจักนำข้าวสาลีมาจากไร่ของแต่ละคนคนละทะนาน แล้วจะให้ส่วนข้าวสาลีแก่ท่าน ท่านไม่ต้องทำงานอะไร ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าของเราทั้งหลายเถิด

    คำว่า อักขระว่านมหาสมมตจึงได้เกิดขึ้น (อกฺขรํ อุปนิพฺพตฺตํ) ความว่า เกิดบัญญัติโวหารซึ่งเข้าใจกันได้ด้วยการนับ. ข้อว่า อักขระว่า กษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นคำที่ ๒ (ขตฺติโย ขตฺติโย เตฺวว ทุติยํ อกฺขรํ) ความว่า ไม่ใช่เฉพาะอักษรอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกสัตว์เหล่านั้นยังได้ทำการแต่งตั้งบุคคลนั้น ด้วยการยกย่องถึง ๓ ครั้งว่า ขอให้ท่านจงเป็นใหญ่ในนาของพวกเรา. คำว่า ให้ยินดี (รญฺเชติ) แปลว่าย่อมยังผู้อื่นให้มีความสุขเอิบอิ่ม. คำว่า ที่เข้าใจกันว่าเลิศ (อคฺคญฺเญน) ความว่า การบังเกิดขึ้นด้วยอักษร อันเกิดขึ้นในสมัยแห่งโลกเกิดขึ้นที่รู้กันว่าเลิศหรือรู้จักกันในส่วนเลิศ

    ว่าด้วยหมู่พราหมณ์ เป็นต้น

    คำว่า ไม่มีการหุงต้ม (วีตงฺคารา วีตธูมา) ความว่า ปราศจากควันและถ่านเพลิง เพราะไม่มีอหารที่จะพึงหุงต้มแล้วเคี้ยวกิน. คำว่า ไม่มีการตำข้าว (ปณฺณมฺสลา) ความว่า ไม่มีการซ้อม เพราะไม่มีอาหารที่พึงซ้อมตำแล้วหุงต้ม. คำว่า แสวงหาอาหาร (ฆาสเมสนา) ความว่า แสวงหายาคูและภัตด้วยอำนาจภิกขาจาร. ข้อว่า หมู่มนุษย์พบเขาเข้า (ตเมนํ มนุสฺสา ทิสฺวา) ความว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นได้เห็นบุคคลเหล่านั้น. คำว่า ไม่ได้สำเร็จฌาน (อนภิสมฺภุนมานา) แปลว่า อดกลั้นไว้ไ่ม่ได้ คือ ไม่สามารถจะอดกลั้นไว้ได้. คำว่า ทำคัมภีร์ (คนฺเถ กโรนฺตา) ความว่า แต่งและบอกสอนไตรเพท. คำว่า มาอยู่ (อจฺเฉนฺติ) แปลว่า ย่อมอยู่อาศัย. บาลีว่า อจฺเฉนฺติ ดังนี้ก็มี. เนื้อความเช่นเดียวกัน. คำว่า สมมติกันว่าเป็นคนเลว (หีนสมฺมตํ) ความว่า วาเสฏฐะ โดยสมัยนั้น คำว่าหมู่พราหมณ์ย่อมทรงจำมนต์ ย่อมบอกมนต์ เป็นคำสมมติว่าต่ำช้า. คำว่า แต่ในบัดนี้เป็นคำสมมติว่าประเสริฐ (ตเทตรหิ เสฏฐสมฺมตํ) ความว่า บัดนี้คำว่า พรหมณ์ทั้งหลาย ย่อมทรงำมนต์มีประมาณเท่านี้ ย่อมบอกกล่าวมนต์มีประมาณเท่านี้ เป็นคำสมมติว่าประเสริฐ. คำว่า ของหมู่พรามหณ์ (พฺรหฺมณเมณฺฑลสฺส) ได้แก่ หมู่พราหมณ์

    ข้อว่า ยึดมั่นเมถุนธรรม (เมถุนํ ธมฺมํ สมาทาย) แลว่า ยึดถือเมถุนธรรม. ข้อว่า แยกประกอบการงาน (วิสุํ ํ กมฺมนฺเต ปโยเชสุ ํ) ความว่า หมู่สัตว์ต่างพากันประกอบการงานที่มีชื่อเสียง คือได้รับยกย่อง มีการเลี้ยงโคและการค้าขายเป็นต้น

    คำว่า ศูทร (สุทฺทา สุทฺทา) นี้ อธิบายว่า พวกศูทร พวกศูทรถึงความเลวทรามและความต่ำต้อย เพราะทำงานหยากและทำงานต่ำนั้น คือถึงความเสื่อม. คำว่า อหุ โข ได้แก่ โหติ โข

    ชื่อว่า ติเตียนธรรมของตน (สกํ ธมฺมํ ครหมาโน) ความว่ากษัตริย์บางพระองค์ติเตียนขัตติยธรรมของตนเองอย่างนี้ว่า ใครไม่อาจจะบริสุทธิ์ได้ด้วยเพียงแต่ให้ยกเศวตฉัตรขึ้น. ในทุกบทก็มีนัยนี้. ด้วยคำว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ จากหมู่ ๔ เหล่านี้แล (อิเมหิ โข วาเสฏฺฐา จตูหิ มณฺฑเลหิ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงคำนี้ว่า เหล่าสมณะย่อมไม่มีการแบ่งแยก. แต่เพราะใครๆ ไม่อาจจะบริสุทธิ์ด้วยชาติได้ ความบริสุทธิ์จะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติชอบของตนเอง ฉะนั้นการบังเกิดของพระสมณะ จึงเกิดมีขึ้นได้ด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้ หมู่ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมอนุวัตตามหมู่สมณะ และหมู่ที่อนุวัตตามเหล่านั้น ก็ย่อมอนุัตตามธรรมเท่านั้น หาอนุวัตตามอธรรมไม่ ความจริงสัตว์ทั้งหลายอาศัยหมู่สมณะ บำเพ็ญสัมมาปฏิบัติ ย่อมถึงความบริสุทธิ์ได้

    ว่าด้วยเรื่องทุจริต เป็นต้น

    บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงไขความข้อว่า ใครๆ ไม่อาจที่จะบริสุทธิ์ด้วยชาติได้ แต่เหล่าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยการประพฤติชอบเท่านั้น ให้ชัดเจน จึงทรงเริ่มเทศนาว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี (ขตฺติโยปิ โข วาเสฏฺฐ) ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เพราะการยึดถือกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ (มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทาน เหตุ) ความว่า เพราะเหตุคือการยึดถือกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เพราะเหตุที่ยึดถือมิจฉาทิฏฐิกรรม. คำว่า ทำกรรมทั้ง ๒ อย่าง (ทฺวยการี) ความว่า มักทำกรรมทั้ง ๒ ฝ่ายอย่างนี้คือ บางเวลาทำกุศลกรรม บางเวลาทำอกุศลกรรม. คำว่า ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง (สุขทุกฺขปฏิสํเวที โหติ) ความว่า ธรรมดาว่าสถานที่ที่ให้ผลพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ในเวลาเดียวกัน หามีไม่. เพราะผู้ใดทำอกุศลกรรมไว้มาก ทำกุศลกรรมไว้น้อย อาศัยกุศลกรรม เขาไปบังเกิดในตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์. ทีนั้น อกุศลกรรมนั้นทำเขาให้เป็นคนบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เป็นคนเปลี้ยบ้าง เขาจึงไม่ควรรับราชสมบัติ หรือหากเขาเป็นอย่างนี้ในเวลาที่ได้รับการอภิเษก ก้ไม่อาจที่จะใช้โภคสมบัติได้. ต่อมาในเวลาตายของเขา ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้ง ๒ นั้นก็จะกลายเป็นเหมือนนักมวยปล้ำ ที่มีกำลังมาก ๒ คน. บรรดากรรมทั้ง ๒ นั้น อกุศลกรรมมีกำลังมากกว่า จึงห้ามกุศลกรรมไ้ว้เสีย แล้วให้สัตว์นั้นบังเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน. กุศลกรรมจะให้ผลถัดไป ทำให้เกิดเป็นช้างมงคลบ้าง ม้ามงคลบ้าง โคมงคลบ้าง เขาย่อมได้เสวยสมบัตินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาการให้ผลกรรมอย่างนี้ จึงตรัสว่า ย่อมเสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง

    ว่าด้วยการเจริญโพธิปักขิยธรรม

    คำว่า โพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๗ (สตฺตนฺนํ โพธิปกฺขิยานํ) ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการซึ่งแบ่งเป็น ๗ หมวด ตามลำดบด้วยอำนาจส่วนธรรมข้อต้นว่า สติปัฏฐาน ๔. คำว่า อาศัยการเจริญ (ภาวนมนฺวาย) ความว่า ไปตามภาวนา อธิบายว่า ปฏิบัติภาวนา. คำว่า ย่อมปรินิพพาน (ปรินิพฺพาติ) ความว่าย่อมดับด้วยการดับกิเลส. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวรรณ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว ทรงกลับมาแสดง ยกเอาพระขีณาสพผู้บรรลุสัจจะทั้ง ๔ ได้แล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยืนยันเนื้อความนั้นโดยคล้อยตามคำกล่าวถึงพระพรหมที่โลกสมมติบ้าง จึงตรัสพระดำรัสว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ (อิเมสํ หิ วาเสฏฺฐา จตุนฺนํ วณฺณานํ) เป็นต้น. พราหมณ์ แพศย์ เป็นต้น ได้อธิบายพิสดารในอัมพัฏฐสูตรแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวาทะ อันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้ประเสริฐด้วยกถามรรคนี้เพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรงกลับพระสูตรมาทรงแสดงเทศนาให้จบลงด้วยธรรมอันเป็นยอดคือพระอรหัต. คำว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีความยินดีชื่นชม (อตฺตมนา วาเสฏฺฐภารทฺวาชา) ความว่า ก็วาเสฏฐะสามเณรและภารทวาชสามเณรพากันชื่นชมยินดี ได้ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สาธุ สาธุ ดังนี้. สามเณรทั้ง ๒ นั้น กำลังน้อมระลึกถึง รู้ตามพระสูตรนี้นั่นเอง ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ฉะนี้แล

    อรรถกถาอัคคัญญสูตรที่ ๔ จบ


    พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล
    พระสุตตันตปิฎก
    สุมังคลวิลาสินี
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    ภาค ๓ เล่ม ๑
    หน้า ๑๗๘-๑๘๓
    ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย


     

แชร์หน้านี้

Loading...