(๓๓) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 21 พฤษภาคม 2010.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ครั้งที่ ๑๔๑
    บรรยายวันจันทร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๐๖

    เรื่อง


    มหาสติปัฏฐาน
    (ข้อว่า ป่าช้า ๙ ข้อที่ ๖)

    วันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อที่ ๖ สืบต่อไป
    ถ. ป่าช้าข้อที่ ๖ ได้แก่อะไร?
    ต. ได้แก่ การพิจารณาซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึง กระจัดกระจายไปในทิศต่างๆ คือ กระดูกมือ กระดูกเท้า กระดูกแข้ง เป็นต้น ไปอยู่คนละทาง ผู้ปฏิบัติธรรมก็พิจารณาน้อมนำเข้ามาสู่กายของตนเองว่า "ร่างกายนี้ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้"

    ถ. การพิจารณาอย่างนี้ มีอะไรเป็นหลักอ้าง?
    ต. มีมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักอ้าง ดังบาลีว่า
    ปุน จปรํ ภิกฺขุ เสยฺยถาปิ ปสฺเสยฺย สรีรํ สีวถิกาย อฑฺฑิตํ อฏฺฐิกานิ อปคตนหานุสมฺพนฺธานิ ทิสาวิทิสา วิกฺขิตฺตานิ" เป็นต้น
    ความว่า
    "ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ป่าช้า ๙ ข้อที่ ๖ ยังมีอยู่อีกคือ ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารพึงพิจารณาเห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึง กระจัดกระจายไปในทิศต่างๆ คือ กระดูกมือ กระดูกเท้า กระดูกแข้ง กระดูกขา กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกบ่า กระดูกไหล่ กระดูกคอ กระดูกคาง กระดูกฟัน กระดูกกระโหลกศีรษะ ไปอยู่คนละทิศละทาง ผู้ปฏิบัติธรรมก็น้อมนำมาสู่กายของตนนี้ พิจารณาว่า ถึงร่างกายนี้ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้แน่นอน" ดังนี้
    ถ. ในป่าช้าข้อนี้ มีวิธีปฏิบัติโดยย่ออย่างไรบ้าง?
    ต. มีวิธีปฏิบัติโดยย่อดังนี้ คือ
    ๑. ให้เข้าไปสู่ป่าช้า ซึ่งมีซากศพดังที่กล่าวมานั้น เบื้องแรกเจริญสมถกรรมฐานก่อน เช่น เดินจงกรม ภาวนาว่า "อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๒๐ นาที แล้วนั่งขัดสมาธิในที่อันสมควร เพ่งดูกระดูกเป็นอารมณ์ โดยภาวนาว่า "อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ" จนกว่าใจจะสงบเป็นสมาธิประมาณ ๑๐-๒๐ นาที แล้วเจริญวิปัสสนากรรรมฐานต่อโดยใช้สติกำหนดรูปนาม เอาอาการพอง ยุบของท้องเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" ประมาณครั้งละ ๓๐ นาทีหรือ ๑-๒ ชั่วโมงก็ได้

    ๒. ถ้าไม่ไปป่าช้า จะหากระดูกไว้ในห้องที่เราอยู่สักชิ้นก็ได้ เดินจงกรมภาวนาว่า "อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๑๐-๒๐นาที แล้วนั่งขัดสมาธิ เพ่งดูกระดรูกให้วางไว้เพียงระดับตา ห่างจากตัวประมาณ ๑ ศอกคืบ ภาวนาว่ "อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๑๐-๒๐ นาที เมื่อใจเป็นสมาธิพอสมควรแล้ว ให้ใช้สติกำหนดอาการพอง ยุบของท้อง โดยภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" ประมาณ ครั้งละ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง มากกว่านั้นก็ยิ่งดี

    ๓. วิธีที่ง่ายที่สุด สำหรับผู้ไม่ค่อยมีเวลา และสำหรับผู้มักกลัวผี ให้ปฏิบัติดังนี้คือ
    ก. ให้เดินจงกรม เอาสติไว้ที่ส้นเท้า ภาวนาว่า "ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ" ประมาณ ๑๐-๒๐-๓๐ นาที"

    ข. ให้นั่งลงขัดสมาธิ เอามือขวาทับมือซ้าย เอาขาขวาทับขาซ้าย หลับตา เอาสติไว้ที่ท้อง กำหนดอาการพองยุบ ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" ประมาณ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง

    ค. ถ้ามีเสียงมารบกวน ให้ใช้สติกำหนดที่หูภาวนาว่า "ได้ยินหนอ ๆ" จนกว่าเสียงจะหายไป หรือจนกว่าจะไม่มีความรำคาญ เมื่อเสียงหายไปแล้ว ให้กลับมากำหนดพองยุบต่อไปอีก จนกว่าจะเห็นสมควรแก่เวลาประมาณ ๔๕ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง มากกว่านั้นก็ยิ่งดี

    ฆ. ถ้ามีเวทนารบกวน เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย คัน ก็ให้กำหนดได้ ภาวนาว่า เจ็บหนอๆ เป็นต้น เมื่อเวทนาหายแล้ว ให้กลับไปกำหนดพอง ยุบ ต่อไปอีก

    จ. ถ้าใจคิด ใจฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ หรือใจโกรธ ดีใจ เสียใจ ก็ใช้สติกำหนดได้ ให้เพ่งตรงไปที่หัวใจ ภาวนาว่า "คิดหนอๆ " หรือ "ฟุ้งซ่านหนอ" จนกว่าจะหยุด ครั้นหยุดคิด หยุดฟุ้งซ่านแล้ว ให้กลับไปกำหนดท้องพอง ยุบต่อไปอีก

    ฉ. เวลานอน ให้เอาสติไว้ที่ท้อง ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" จนหลับไปด้วยกัน และให้สังเกตให้ละเอียดว่า จะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ ถ้าจับได้เป็นการดีมาก แสดงว่า สติ สมาธิ ปัญญาอยู่ในขั้นแก่กล้าพอสมควร

    ถ. การปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ได้พิจารณาป่าช้าข้อที่ ๖ นี้หรือไม่? เพราะเหตุไร?
    ต. ชื่อว่า ได้พิจารณาป่าช้าทั้ง ๙ ข้อทีเดียว เพราะร่างกายทั้งหมดนี้ มีป่าช้าครบบริบูรณ์ดีแล้ว จะหาซากศพที่ไหนบริบูรณ์อย่างนี้ได้ยากที่สุด

    ถ. การเจริญกรรมฐานนี่้ จะต้องขอกรรมฐานเสียก่อน จึงลงมือปฏิบัติได้ หรือไม่ต้องขอก็ปฏิบัติได้?
    ต. ได้ทั้ง ๒ อย่าง จะขอกรรมฐานเสียก่อน รับกรรมฐานเสียก่อนจึงมาปฏิบัติด้วยตัวเองก็ได้ เหตุท่ขอก็เพราะเราไม่เคย อาจจะทำไม่ถูก ถึงแม้จะมีตำราดู ก็สู้มีผู้สอนให้ไม่ได้ ดุจเด็กนักเรียนในทางโลกนั่นแหละ ตำรามีมากมาย ก็ต้องพึ่งครูสอนอยู่แทบทั้งนั้น โบราณท่านว่า "สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ สิบชำนาญไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ" ดังนี้

    ถ้าเราเข้าใจดีแล้ว ลงมือปฏิบัติเลยก็ได้ ถ้าทำถูกก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน

    ถ. อยากทราบว่า เมื่อสมัยก่อนๆ นั้น ปฏิบัติกันอย่างไร?
    ต. ท่านแสดงไว้ในวิสุทธิมรรค ว่า
    "กมฺมฏฺฐานทายกํ กลฺยาณมิตฺตํ อุปสงฺกมิตฺวา"
    ให้เข้าไปหากัลยาณมิตร ผู้ให้กรรมฐานก่อน
    ถ. กัลยาณมิตรนั้น ได้แก่บุคคลเช่นไร?
    ต. ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้ใดแสวงหาแต่ประโยชน์เกื้อกูล ตั้งอยู่ในฝักฝ่ายแห่งความเจริญ ประกอบด้วยคุณธรรมดังนี้ คือ มีศีลเป็นที่รัก ใจคอหนักแน่น ฝึกฝนอบรมตนมาดี ขยันสอน อดทนต่อถ้อยคำล่วงเกิน สามารถอธิบายที่ยากๆ ให้ศิษย์เข้าใจได้ แนะนำศิษย์แต่ในทางที่ดี มีสัทธา สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ท่านผู้นั้น ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตร คือมิตรที่ดีแท้

    ถ. ในสมัยพุทธกาลและสมัยต่อๆ มา ไปรับกรรมฐานจากใคร?
    ต. ท่านแสดงไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้คือ
    ๑. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเ้จ้า
    ๒. พระอสีติมหาสาวก คือสาวกใหญ่ ๘๐ รูป มีพระอัญญาโกณทัญญะ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น
    ๓. พระอรหันต์
    ๔. พระอนาคามี พระสกิทาคามี พระโสดาบัน
    ๕. ปุถุชนผู้ได้ฌาฯ
    ๖. ผู้ทรงปิฎก ๓ ผู้ทรงปิฎก ๒ ผู้ทรงปิฎก ๑
    ๗. เมื่อหาท่านผู้ทรงปิฎกหนึ่งก็ไม่มี ให้ไปหาท่านผู้มีความชำนาญในสังคีติหนึ่งพร้อมทั้งอรรถกถา สามารถเป็นอาจารย์บอกสอนได้ เป็นกัลยาณมิตร แล้วรับกรรมฐานในสำนักของท่านได้

    ถ. จะต้องมอบกายถวายตัวต่อพระอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานหรือไม่?
    ต. ในวิสุทธิมรรค ภาค ๑ หน้า ๑๔๕ บรรทัดที่ ๒๐ เป็นต้นไป ท่านกล่าวไว้ว่า
    กลฺยาณมิตฺตํ อุปสงฺกมิตฺวา พุทฺธสฺส วา ภควโต อาจริยสฺส วา อติตานํ นิยฺยาเทตฺวา กมฺมฏฺฐานํ ยาจิตพฺพํ

    แปลเป็นใจความว่า ผู้ที่จะรับกรรมฐาน เป็นผู้มีอัธยาศัยอันถึงพร้อมแล้ว และเป็นผู้มีอธิมุติอันถึงพร้อมแล้ว พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรแล้วมอบกายถวายตัวต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือต่อพระอาจารย์ แล้วขอกรรมฐานเถิด และท่านได้แสดงคำมอบกายถวายตัวต่อพระพุทธเจ้าต่ออาจารย์ไว้ ดังนี้

    คำมอบกายถวายตัวต่อพระพุทธเจ้า
    อิมาหํ ภควา อตฺตภาวํ ตุมฺหากํ ปริจฺจาชามิ

    คำมอบกายถวายตัวต่อพระอาจารย์
    อิมาหํ ภนฺเต อตฺตภาวัง ตุมฺหากํ ปริจฺจชามิ


    ถ. การมอบกายถวายตัวอย่างนี้ เพื่อประโยชน์อะไร?
    ต. ตามหลักในวิสุทธิมรรค ท่านได้แสดงไว้ว่า มีประโยชน์ดังนี้ คือ
    ๑. เภรวารมฺมเณ อาปาถมาคเตปิ ภยํ น อุปฺปชฺชติ เมื่ออารมณ์ที่น่ากลัวผ่านมาสู่คลองในเวลาปฏิบัติ ก็จะไม่เกิดความกลัว

    ๒. โสมนสฺสเมว อุปฺปชฺชติ เกิดแต่ความโสมนัสฝ่ายเดียว

    ๓. ตเมนํ อาจริโย อามิเสน วา ธมฺเมน วา สงฺคณฺหาติ พระอาจารย์ย่อมสงเคราะห์ผู้นั้น ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมะบ้าง

    ๔. สุพฺพโจ อาจริยายตฺตวุตฺติเยว โหติ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย มีความประพฤติเกี่ยวเนื่องกับพระอาจารย์ คือ ถ่ายทอดความประพฤติอันดีงามจากพระอาจารย์ได้

    ๕. สาสเน วุฑฺฒิ วิรุฬฺหึ เวปวุลฺลํ ปาปุณาติ ผู้นั้น ย่อมจะถึงแต่ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนา ดังอันเตวาสิกของพระจูฬปิณฑปาติกตัสสเถระ เป็นตัวอย่าง

    ถ. ก่อนแต่จะลงมือปฏิบัติกรรมฐานจะต้องแผ่เมตตาหรือไม่?
    ต. ในวิสุทธิมรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๒๒ ท่านแสดงไว้ว่า
    กมฺมฏฺฐานิเกน หิ ภิกฺขุนา ปฐมํ ตาว ตํ ปริจฺฉินฺทิตฺวา สีมฏฺฐกภิกูขุสงฺเฆ สุขิตา ภวนฺตุ อพฺยาปชฺฌาติ เมตฺตา ภาเวตพฺพา
    ใจความว่า
    จริงอยู่ ภิกษุผู้จะจเจริญกรรมฐานในชั้นต้น ต้องตัดปลิโพธินั้นก่อนแล้ว จึงแผ่เมตตาไปในภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในศีลว่า "สุขิตา ภวนฺตตุ อพฺยาปชฺฌา" ขอจงเป็นผู้มีความสุขเถิด อย่าได้มีความเบียดเบียนเลย ดังนี้
    ตโต สีมฏฺฐกเทวตาสุ ต่อจากนั้นพึงเจริญเมตตาในเทวดาผู้อยู่ในสีมา
    ตโต โคจรคามมฺหิ อิสฺสสรเน ต่อจากนั้นพึงเจริญเมตตาในอิสสรชนเฉพาะในโคจรคาม
    ตโต ตตฺถ มนุสฺเสสุ อุปาทาย สพฺพสตฺเตสุ ถัดจากชั้นพึงเจริญเมตตาในสรรพสัตว์ จนชั้นพวกมนุษย์ในที่นั้น

    ถ. การเจริญเมตตาก่อนเพื่อประโยชน์อะไร?
    ต. เพื่อประโยชน์ อย่างนี้คือ
    ๑.โส หิ ภิกฺขุสงฺเฆ เมตฺตาย สหวาสีนํ มุทรุจิตฺตตํ ชเนติ
    ภิกษุย่อมยังภิกษุผู้อยู่ร่วมกันให้เป็นผู้มีจิตปราณี เพราะเมตตาในภิกษุสงฆ์

    ๒. อถสฺส เต สขสํวาสา โหนฺติ
    พวกภิกษุเหล่านั้นจะเป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างสนิทสนมกับภิกษุนั้น

    ๓. สีมฏฺฐกเทวตาสุ เมตฺตาย มุุกต จิตฺตาหิ เทวาตาหิ ธมฺมิกาย รุกฺขาย สุสธวิหิตรุกฺโข โหติ
    พวกเทวดาผู้มีจิตอ่อนน้อม เพราะเมตตาที่ตนได้แผ่ไปในเทวดาผู้ตั้งอยู่ในสีมา ก็จะพากันจัดการรักษาให้เป็นอย่างดีด้วยการรักษาอันเป็นธรรม

    ๔. โคจรคามมฺหิ อิสฺสรชเน เมตฺตาย มุทุกตจิตฺตสนฺตาเนหิ อิสฺสรชเนหิ ธมฺมิกาย รกฺขาย สุรกฺขิตปริกฺขาโร โหติ
    อิสสรชนทั้งหลายก็จะมีจิตันดานอ่อนน้อมเพราะตนได้แผ่เมตตาไปแล้ว ในอิสสรชนเฉพาะในโคจรคามนั้น แล้วจะได้ช่วยกันรักษาบริขารให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีด้วยการรักษาอันถูกธรรม

    ๕. ตตฺถ มนุสฺเสสุ เมตฺตาย ปสาทิกจิตฺเตหิ เตหิ อปริภูโต หุตฺวา วิจรติ
    จะเป็นผู้เที่ยวไปอย่างสะดวกสบาย เพราะมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้นมีจิตใจเลื่อมใสด้วยอำนาจเมตตาที่ตนได้แผ่ไปแล้ว

    ๖. สพฺพาสตฺเตสุ เมตฺตาย สพฺพาตฺถ อปฺปฏิหตจาโร โหติ
    จะเป็นผู้เที่ยวไป ไม่ขัดข้องในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาที่ตนได้แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย

    ๗. เอกานิสํสา ปาฏิกงฺขา
    จะได้อานิสงส์ ๑๑ ประการคือ
    ๑. สุขํ สุปติ หลับเป็นสุข
    ๒. สุขํ ปฏิพุชฺฌติ ตื่นเป็นสุข
    ๓. น ปาปิกํ สุปินํ ปสฺสติ ไม่ฝันเป็นสิ่งที่ลามก
    ๔. มนุสฺสนํ ปิโย โหติ เป็นที่รักใคร่ของมนุษย์ทั้งหลาย
    ๕. อมนุสสานํ ปิโย โหติ เป็นที่รักใคร่ของอมนุษย์ทั้งหลาย
    ๖. เทวตา รกฺขนฺติ เทวดาทั้งหลายย่อมพากันรักษา
    ๗. นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ จะไม่ถูกไฟไหม้ ไม่ถูกยาพิษ ไม่ถูกศัตรา
    ๘. ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ จิดเป็นสมาธิเร็ว
    ๙. มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ สีหน้าเปล่งปลั่ง
    ๑๐. อสมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ ไม่หลงตาย
    ๑๑. อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกูปโค โหติ ถ้าไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน จะได้ไปเกิดในพรหมโลก
    ๘. ภิกฺขเว อิมํ ตุมฺเห พหิ วิหารสฺส วนสณฺฑโต ปฏฺฐาย สชฺฌายนฺตา อนฺโตวิหารํ ปริเสยฺยาถ

    สมเด็จพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลายพวกเธอพากันสวดเมตตาสูตรนี้ จำเดิมแต่ชัดป่าของวิหาร แล้วจึงเข้าไปส่วิหาร"

    เมื่อเราเจริญเมตตา ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติตามพระโอวาทของสมเด็จพระสัมมสัมพุทธเจ้า ประการหนึ่ง เทวดาทั้งหลายก็มีจิตเมตตาอีกด้วย

    ๙. วิรูปกฺเขหิ เม เมตฺตํ
    ในชันธปริตต์ พระองค์ก็ทรงสอนให้แผ่เมตตาเพื่อป้องกันขันธ์ คืออัตตภาพ ร่างกายของตน เพราะครั้งแรกภิกษุไปเดินจงกรมไม่แผ่เมตตาจึงถูกงูกัด ครั้นต่อมาพระพุทธองค์ตรัสสั่งให้แผ่เมตตาก่อนจึงเดินจงกรม ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ถูกงูกัด


    ถ. การพิจารณาป่าช้าข้อที่ ๖ จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างไร?
    ต. จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างนี้ คือ
    ๑. ฉฏฺฐสิวฏฺฐิกปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสุจฺจํ สติที่กำหนดป่าช้าข้อที่ ๖ จัดเป็นทุกขสัจ

    ๒. ตสฺสา สมุฏฺฐาปิกา ปุริมตณฺหา สมุทยสจฺจํ ตัณหาก่อนๆ ที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทยสัจ

    ๓. อุภินฺนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ ความไม่เป็นไปแห่งทุกข์ และสมุทัย คือ ทุกข์กับสมุทัยดับลงไปจัดเป็นนิโรธสัจ

    ๔. ทุกฺจปริชานโน สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค มคฺคสัจฺจํ อริยมรรคกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ จัดเป็นมัคคสัจ

    วันนี้ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่า้ช้า ๙ ข้อที่ ๖ มา ก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้
    (rose)








     

แชร์หน้านี้

Loading...