(๑) โมหวิจเฉทนี : พรรณนาความแห่งอภิธรรมมาติกา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 13 เมษายน 2010.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    โมหวิจเฉทนี
    พรรณนาความแห่งอภิธรรมมาติกา
    (rose)

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    อารัมภกถา

    ข้าพเจ้า (พระกัสสปเถระ) อันพวกอันเตวาสิกผู้สะอาด ใคร่จะทราบความของพระอภิธรรมอย่างเกลี้ยงเกลาโดยมุขของมาติกาแต่โดยย่อ อาราธนาแล้ว, ขออภิวาทระลึกถึงและสดุดีพระพุทธเจ้า, ซึ่งทรงมีพระญาณจักษุอันพระกรุณาอบรมแล้ว เป็นที่เกิดแห่งประโยชน์ใหญ่ เป็นเครื่องส่องสามัญผลแก่โลกอันมืดมน, ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นปราชญ์ เป็นผู้นำพิเศษ. พร้อมทั้งพระสัทธรรม พร้อมทั้งพระสาวก, และบรรดาพระเถระผู้ประดับด้วยอลังการ คือคุณ มีศีลอันมั่นคงเป็นต้น ผู้ยังพระศาสนาให้รุ่งเรือง ผู้เป็นปราชญ์ ผู้เป็นบุรพาจรย์ เป็นผู้รักษาไว้ซึ่งสมณวงศ์, มาติกาของพระอภิธรรม ที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพโดยวิสุทธิเทพ ทรงแสดงด้วยพระปัญญา แก่เทพทั้งหลาย ณ เทวโลกชั้นดาวดึงส์ อันใด, เืพื่อประโยชน์แก่ความไพบูลย์แห่งมาติกานั้น จักประมวลอรรถและวินิจฉัยอันมาในบาลีและอรรถกถา แต่โดยนัย จากปกรณ์ต่างๆ มีธัมมสังคณีเป็นต้น และจากบาลีอรรถกถาทั้งหลาย อันเป็นเครื่องแจกแจงอรรถและวินิจฉัย อันเปรียบด้วยสาคร เกลื่อนกล่นด้วยนัยไม่มีที่สุด ยากที่จะหยั่งลงได้ มาแต่โดยย่อทำให้ปราศจากอากูล แล้วและจักสำแดงแบบอันทรงสมรรถภาพ อันพ้นจากนิกายอื่นคล้อยตามนัยอันนำสืบกันมาของชาวมหาวิหารแต่งอรรถวรรณนาชื่อ โมหวิจเฉทนี อันจะทำความชื่นบานแก่ผู้รู้นัยได้ทุกเมื่อ.

    พรรณนาความแ่ห่งบทว่า "อภิธรรม-มาติกา"

    [๑] ในคำว่า มาติกาของพระอภิธรรม นี้ ชื่อว่าอภิธรรมโดยความว่าอย่างไร?
    โดยความดว่า ธรรมยิ่งล้ำ ธรรมพิเศษ เพราะ อภิ - ศัพท์ในคำว่า อภิธรรม นี้ส่องความว่า ยิ่งล้ำ - ยิ่งวิเศษ ราวกะอภิ - ศัพท์ ในประโยคว่า "พาฬหา มา อาวุโส ทุกฺขา เวทนา อภิกฺกมนฺติ, โน ปฏิกฺกมนฺติ - ท่านผู้มีอายุ เวทนาของข้าพเจ้ากล้าล้ำหน้าอยู่, ไม่ถอย" "อภิกฺกนฺตวณฺณา - เทพดาองค์หนึ่งมีพรรณะงามยิ่ง" ดังนี้เป็นต้น, ฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนบรรดาฉัตรและธวัชเป็นอันมากที่คนยกขึ้น ฉัตรและธวัชใดมีประมาณยิ่งล้ำ และมีสีสัณฐานพิเศษ, ฉัตรนั้น เขาเรียกว่า "อติฉัตร" และธวัชนั้นเขาเรียนกว่า "อติธวัช" ฉันใด; แม้ธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า อภิธรรม โดยอรรถว่าธรรมยิ่งล้ำ ธรรมวิเศษ ฉันนั้นนั่นแล. แท้จริง พระผู้มีพระภาคทรงถึงสุดตันตะแจกธรรมทั้งหลายมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์และปัจจยาการ เป็นต้น เป็นเอกเทศ ; มิใช่โดยนิปเทศ (ปราศจากส่วนเหลือ) พึงทราบศํพท์ว่า "อภิธรรม" โดยความว่า ธรรมยิ่งล้ำ - ธรรมวิเศษ ด้วยประการฉะนี้

    ชื่อว่า มาติกา โดยความว่าอย่างไร?
    โดยความว่าเสมอด้วยมารดา, แท้จริง บาลีประเทศนี้ชื่อว่า มาติกา โดยออรถวิเคราะห์ว่า ราวกะมารดา ; เหมือนคำว่า "ปทุมฺมิกํ มุขํ - หน้าราวกะดอกปทุม." เปรียบเหมือนมารดาย่อมคลอดบุตรต่างๆ อย่าง, ย่อมรักษาและพอกเลี้ยงบุตรนั้นๆ ฉันใด; แม้บาลีประเทศนี้ก็คลอดธรรมและอรรถต่างๆ อย่าง, และย่อมรักษาและพอกเลี้ยงธรรมและอรรถนั้นๆ ทำให้ไม่หายไปฉันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า มาติกา. ก็ธรรมและอรรถไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยมาติกาให้พิสดารโดยปกรณ์ทั้ง ๗ มีธัมมสังคณี เป็นต้น จัดได้ว่าราวกะมาติกานั้นคลอ และราวกะมาติกานั้นรักษาพอกเลี้ยง.

    [๒] จริงอย่างนั้น ในธัมมสังคณีปกรณ์มีการจำแนก ๔ อย่างคือ จิตฺตวิภัตติ - การจำแนกจิต, รูปวิภัตติ - การจำแนกรูป, นิกเขปราสิ -หมวดย่อ , อัตถุทธาร - ยกข้อความ. ใน ๔ อย่างนั้น จิตฺตวิภัตติ อธิบายจิต ๘๙ ดวง เมื่อให้พิสดาร ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ. ลำดับนั้นถึงรูปวิภัตติ อธิบายรูปโดยนัยมีเอกวิธ - รูปอย่างเดียวเป็นต้น เมื่อให้พิสดารก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ. ลำดับนั้นถึงนิกเขปราสิ ทรงย่อมูล ขันธ์และทวารเป็นต้นแสดง เมื่อให้พิสดาร ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ. ลำดับนั้นถึงอัตถุทธาระซึ่งเป็นอรรถกถาของพระไตรปิฎกพุทธวจนะ เมื่อให้พิสดาร ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ. ธัมมสังคณีปกรณ์นี้ แม้จะเป็นภาณวารประมาณ ๑๓ กว่าๆ โดยทางแห่งการบอก; เมื่อให้พิสดาร ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณด้วยประการฉะนี้.

    ในิวภังคปกรณ์ก็เหมือนกัน ได้จำแนกวิภังค์ไว้ ๑๘ คือ ขันธวิภังค์ อายตน-ธาตุ -สัจจ -อินทรีย์ - ปัจจยาการ - สติปัฏฐาน - สัมมัปปธาน - อิทธิบาท - โพชฌังค - มัคค - ญาณ - อัปปมัญญา - สิกขาบท -ปฏิสัมภิทา - ญาณวัตถุ - ขุททกวัตถุ - ธัมมหทยวิภังค์. วิภังค์เหล่านั้น เมื่อให้พิสดารโดยนัยต่าๆ มีสุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ เป็นต้น แต่ละวิภังค์ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ. วิภังคปกรณ์นี้แม้จะเป็นภาณวารประมาณ ๓๕ โดยทางแห่งการบอก; เมื่อให้พิสดารก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณด้วยฉะนี้.

    ธาตุกถาปกรณ์ก็เหมือนกัน ทรงจำแนกไว้ ๑๔ อยยาง มีสังคหะ อสังคหะ เป็ฯต้น. แม้จะเป็นภาณวาร ๖ กว่าๆ โดยทางแห่งการบอก; เมื่อให้พิสดาร ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ.

    ปุคคลปัญญํติปกรณ์ก็เหมือนกัน ทรงจำแนกไว้ ๖ อย่างคือ ขันธบัญญัติ อายตน - ธาตุ - สัจจ - อินทริย - ปุคคลปัญญัติ แมจะเป็นภาณวาร ๕ กว่าๆ โดยทางแ่ห่งการบอก; เมื่อให้พิสดารก็เป็ฯภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ.

    กถาวัตถุปกรณ์ก็เหมือนกัน ได้รวบรวมพระสูตร ๑,๐๐๐ สูตรคือ ฝ่ายสกวาที ๕๐๐ สูตร ฝ่ายปรวาที ๕๐๐ สูตร จำแนกไว้. แม้จะมีประมาณเท่าทีฆนิกายโดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคีติ โดยทางแห่งการบอก; เมื่อให้พิสดาร ก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ.

    ยมกปกรณ์ก็เหมือนกัน ทรงจำแนกไว้ ๑๐ อย่างคือ มูลยมก ขันธ - อายตน - ธาตุ -สัจจ -สังขาร - อนุสัย - จิตต - ธัมม - อินฺทริยยมก. แม้จะเป็นภาณวาร ๒๔ อย่าง มีติกปัฏฐานเป็นต้น. แม้จะเป็นภาณวารเล็กน้อย; เมื่อให้พิสดารก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ.

    ปัฏฐานปกรณ์ ทรงยึดปัจจัย ๒๔ มี เหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัยเป็นต้น จำแนกไว้ ๒๔ อย่างมีติกปัฏฐานเป็นต้น. แม้จะเป็นภาณวารเล็กน้อย; เมื่อให้พิสดารก็เป็นภาณวารไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2010
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    [๓] บาลีประเทศนี้ ท่านเรียกชื่อว่า มาติกา โดยอรรถวิเคราะห์ว่าราวกะมารดา เพราะคลอด รักษาและพอกเลี้ยงธรรมและอรรถไม่มีที่สุดไม่มีประมาณด้วยประการฉะนี้. การรักษาและการพอกเลี้ยงในที่ี้ พึงทราบโดยการกำหนดตามแนวมาติการวบรวมไว้และรักษาไว้ซึ่งบรรดาบาลีและอรรถที่หลงลืมและคลาดเคลื่อน. ก็มาติกานี้นั้นโดยปริจเฉท ๗ อย่าง ท่านตั้งไว้ในเบื้องต้นของปกรณ์ทั้ง ๗ คือธมมสังคณีมาติกา วิภังคมาติกา ธาตุกถามาติกา ปุคฺคลปัญญัติมาติกา กถาวัตถุมาติกา ยมกมาติกา ปัฏฐานมาติกา.

    ๑. พรรณาความแห่งธัมมสังคณีมาติกา

    [๑] บรรดามาติกา ๗ อย่างนั้น ธัมมสังคณีมาติกาเป็นมาติกาแรก. แม้ธัมมสังคณีมาติกานั้น ก็เป็น ๒ อย่าง คือ ติกมาติกา ทุกมาติกา. ใน ๒ อย่างนั้น ติกะ ๒๒ ชื่อว่า ติกมาติกา. ทุกะ ๑๔๒ ชื่อว่า ทุกมาติกา. อีกอย่างหนึ่ง ธัมมสังคณีมาติกานั้นเป็น ๒ อย่าง คือ อาหัจจภาษิต และสาวกภาษิต. ใน ๒ อย่างนั้น ติกะ ๒๒ และ ทุกะ ๑๐๐ คือ ธรรมเป็นเหตุ ธรรมไม่เป็นเหตุ ฯลฯ ธรรมเกิดกับกิเลส ธรรมไม่เกิดกับกิเลส นี้ชื่อว่า อาหัจจภาษิต คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นมาติกาของปกรณ์ทั้งเจ็ด. สุตตันติกมาติกา ๔๒ คือ ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา ฯลฯ ญาณในอริยมรรค ญาณในอริยผล เหล่านี้ ซึ่งอยู่ในลำดับ แห่งทุกะ ๑๐๐ นั้นชื่อว่า สาวกภาษิต เพราะเป็นมาติกาที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตเถระตั้งไว้. ก็พระเถระเมื่อตั้งมาติกาเหล่านี้ หาได้ตั้งด้วยญาณของตนโดยยกขึ้นแสดงเองไม่ แต่ได้ประมวลหมวดธรรมที่มีประเภทเกินกว่าหนึ่งจากเอกนิบาต ทุกนิบาต สังคีติสูตรและทสุตตรสูตรตั้งไว้เพื่อพระอภิธรรมิกะเถระทั้งหลายจะได้ถึงสุตตันตะได้ไม่ลำบาก.

    อีกอย่างหนึ่ง ธัมมสังคณีมาติกานั้น จัดได้เป็น ๒ ส่วนโดยสัปเทส (ยังมีส่วนเหลือ) และนิปเทส (ไม่มีส่วนเหลือ). ใน ๒ ส่วนนี้ ติกะ ๙ และทุกะ ๗๑ ขิ่อว่าสัปเทส เพราะท่านกำหนด ถือเอานามรูปยังมีส่วนเหลือ. ติกะ ๑๓ และทุกะ ๗๑ ที่เหลือ ชื่อว่านิปเทส เพราะท่านถือเอานามรูปไม่มีส่วนเหลือ. วิภาคแห่งมาติกาเหล่านั้นจึกปรากฏในอธิการะแห่งมาติกานั้นๆ นั่นแล.

    โดยการได้ชื่อก็เป็น ๒ อย่่างเหมือนกัน. แท้จริง มาติกาเหล่านี้แม้ทั้งสิ้นก็ได้ชื่อโดย ๒ วิธีคือ โดยบทต้นและโดยทุกบท. ใน ๒ วิธีนั้น ติกะว่า ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นอกุศล ธรรมเป็นอัพยากฤต นี้ได้ชื่อโดยบทต้น คือชื่อว่า กุสลัตติกะ. ติกะว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา นี้ ได้ชื่อโดยทุกบท คือชื่อว่า เวทนานัตติกะ. ชื่อของติกะและทุกะแม้ทั้งสิ้นก็พึงทราบอย่างนี้.

    [๒] ก็ธัมมสังคณีมาติกานี้นั้น ท่านกำหนดไว้โดยปริจเฉท ๑๕ . แท้จริง ติกะทั้งสิ้นมีปริจเฉทเดียว, ทุกะทั้งสิ้นมี ๑๔ ปริจเฉท: ทุกะ ๖ มีทุกะว่า ธรรมเป็นเหตุ ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นต้น เรียกว่า เหตุโคจฉกะ เพราะเป็นดุจช่อ และเป็นดุจพวง ตั้งอยู่โดยความเกี่ยวเนื่องกันและกันโดยการร้อยกรองและโดยความ. เบื้องหน้าแต่นั้น ทุกะ ๗ มีทุกะว่า ธรรมมีปัจจัย ธรรมไม่มีปัจจัย พึงทราบว่า ชื่อว่า จูฬันตรทุกะ เพราะเป็นทุกะที่ไม่เกี่ยวเนื่องกันและกัน ทรงเลือกเก็บโดยเป็นทุกะเสมอกันอย่างเดียวตั้งไว้ในระหว่างโคจฉกะและเพราะเป็นหมวดเล็กกว่าทุกะในระหว่างอื่นๆ . เบื้องหน้าแต่นั้นถึงหมวดชื่อว่า อาสวโคจฉกะ โดยทุกะ ๖ มีาอาสวทุกะเป็นต้น. ลำดับนั้นถึงหมวดชื่อว่า สัญโญชนโจฉกะ โดยทุกะ ๖ มีสัญโญชนทุกะ เป็นต้น. อย่างเดียวกัน หมวดชื่อว่า คันถ - โอฆ - โยค - นีวรณ - โคจฉกะ ก็โดยทุกกะ ๖ ๆ มี คันถ - โยค - นีวรณทุกะ เป็นต้น. หมวดชื่อว่า ปรามาสโคจฉกะ ก็โดยทุกะ ๕ มีปรามาสทุกะ เป็นต้น. เบื้องหน้าแต่นั้น ทุกะ ๑๔ มีสารัมมณทุกะเป็นต้น ชื่อว่า มหันตรทุกะ. เบื้องหน้าแต่นั้น ทุกะ ๖ มี อุปาทานทุกะ เป็นต้น ชื่อว่าอุปทานโคจฉกะ. เบื้องหน้าแต่นั้นทุกะ ๘ มีกิเลสทุกะ เป็นต้นชื่อว่ากิเลสโคจฉกะ. เบื้องหน้าแต่นั้นทุกะ ๑๘ มีทัสสเนน ปหาตัพพทุกะ เป็นต้น ชื่อว่า ปิฏฐิทุกะ. ส่วนทุกะ ๔- มีวิชชาภาคิยทุกะ เป็นต้น ชื่อว่าสุตตันติกทุกะ. พรรณนาความแห่งธัมมสังคณีมาติกา ซึ่งกำหนดไว้โดยปริจเฉท ๑๕ นี้ จักเป็นดังว่าฉะนี้ก่อน.


     

แชร์หน้านี้

Loading...