(๑๔) โมหวิเฉทนี: พรรณนาความแห่งทุกมาติกา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 30 พฤศจิกายน 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    พรรณนาความแห่งทุกมาติกา

    ก็ในทุกมาติกา เราจักทำแต่อรรถวรรณนาแห่งบทที่ยังไม่ได้มาในหนหลังเท่านั้น.

    สังวัณนาแห่งเหตุโคจฉกะ

    [๑๐๙] พึงทราบวินิจฉัยในเหตุโคจฉกะก่อน: ในบทว่า เหตู ธมฺมา (ธรรมเป็นเหตุ) นี้ เหตุมี ๔ อย่าง คือ เหตุเหตุ, ปัจจยเหตุ, อุตตมเหตุ, สาธารณเหตุ. บรรดาเหตุ ๔ อย่างนั้น ธรรม ๖ มีโลภะ เป็นต้น ชื่อว่า เหตุเหตุุ (เหตุโดยความเป็นเหตุ). มหาภูตรูปเป็นต้น ชื่อว่า ปัจจัยเหตุ (เหตุโดยความเป็นปัจจัย) ของอุปาทารูปเป็นต้น. กุศล-อกุศล และอิฏฐ-อนิฏฐารมณ์ ชื่อว่า อุตตมเหตุ (เหตุอันสูงสุด) ในเราพะความบังเกิดขึ้นแห่งวิบาก. ธรรมมีอวิชชาเป็นต้น ชื่อว่า สาธารณเหตุ (เหตุทั่วไป) ของธรรมมีสังขารเป็นต้น. แต่ในที่นั้นทรงประสงค์ เหตุเหตุ. ธรรมกล่าวคือ เหตุโดยอรรถว่าเป็นมูลราก ชื่อว่าเหตุุ ธมฺมา. ปาฐะว่า เหตุธมฺมา ก็มี; อรรถก็อันเดียวกันนั่นแหละ. บทว่า น เหตุ (ไม่เป็นเหตุ) เป็นคำปฏิเสธธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ.

    บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรม ๓ อย่างที่เป็นกุศลและอัพยากฤต คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ, และ ๓ อย่างที่เป็นอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ, รวม ๖ อย่างนี้ชื่อว่า เหตุ. เจตสิกที่เหลือเว้นธรรม ๖ อย่างนี้, จิตทั้งปวง, รูปและนิพพาน ชื่อว่า น เหตุ (ไม่เป็นเหตุ). อนึ่ง ทุกะนี้ เป็นนิปเทสทุกะ, เหตุทุกะ ทุกะแรก จบ.

    ธรรมชื่อว่า สเหตุกะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นไปกับด้วยเหตุอันเป็นไปโดยสัมปโยค (การประกอบกัน). ชื่อว่า อเหตุกะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ไม่มีเหตุอันเป็นไปอย่างนั้น.


    บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น จิต ๗๑ ดวง อันเว้นจากอเหตุกจิต ชื่อว่า สเหตุกะ (ธรรมมีเหตุ). บรรดาจิต ๗๑ ดวงนั้น โมหมูลจิต ๒ ดวงเป็นสเหตุกะ โดยโมหะเท่านั้น; โลภมูลจิต ๘ ดวง เป็นสเหตุกะ โดยอกุศลเหตุ ๒ คือ โลภะและโมหะ, โทสมูลจิต ๒ ดวง เป็นสเหตุกะโดยโทสะและโมหะ; กุศลจิตและอัพยากฤตจิตที่เป็นญาณวิปยุต ๑๒ ดวง เป็นสเหตุกะ โดยกุศลเหตุหรืออัพยากฤตเหตุ ๒ คือ อโลภะและอโทสะ; จิต ๔๗ ดวงที่เหลือเป็นสเหตุกะ โดยกุศลเหตุหรืออัพยากฤตเหตุทั้ง ๒ มี อโลภะเป็นต้น. ส่วนธรรมเหล่านี้คือ โมหะในโมหมูลจิต, จิต ๑๘ ดวงคือ ทวิปัญจวิญญาณ (นับเป็น ๑๐) มโนธาตุ และสันตีรณอย่างละ ๓ โวตุถปนะ ๑ หสิตุปปาทะ ๑ (รวม ๑๘ ดวง), รูปและนิพพาน ชื่อว่า อเหตุกะ (ธรรมไม่มีเหตุ). ส่วนบรรดาเจตสิก โลภะ โทสะ และวิจิกิจฉาเป็นสเหตุกะโดยโมหะเท่านั้น; ทิฏฐิและมานะ เป็นสเหตุกะโดยอกุศลเหตุ ๒ คือ โลภะและโมหะ; อิสสา มัจฉริยะและกุกกิจจะ เป็นสเหตุกะโดยโทสะและโมหะ. ส่วน โมหะ เป็นสเหตุกะโดยอกุศลเหตุ ๒ อย่างคือ ลางที โดย โลภะ, ลางทีโดยโทสะ ก็มี; เป็นอเหตุกะในโมหมูลจิต ก็มี, ถีนะและมิทธะเป็นสเหตุกะโดยอกุศลเหตุทั้ง ๓ คือ ลางที โดยโลภะและโมหะ, ลางทีโดยโทสะและโมหะ , อหิริกะ อโนตตัปปะและอุทธัจจะ เหมือนอย่างนั้น, และโดยโมหะอย่างเดียว, ส่วนอโมหะ เป็นสเหตุกะโดยกุศลเหตุหรืออัพยากฤตเหตุ ๒ คือ โดยอโลภะและอโมหะ, ลางทีโดยอโลภะ. ส่วนกุศล -อัพยากฤตเจตสิก ๒๒ ที่เหลือเป็นสเหตุกะโดยเหตุทั้ง ๓ ก็มี โดยเหตุ ๒ ก็มี. ส่วน ฉันทะ เป็นสเหตุกะโดยเหตุทั้ง ๓ตามที่ควร; ปีติ ลางทีเป็นสเหตุกะโดยเหตุ ๕ เว้น โทสะบ้าง, เป็นอเหตุกะบ้าง. เจตสิกมีชาติสาม ๑๑ ดวงที่เหลือเป็นสเหตุกะโดยเหตุ ๖ บ้าง เป็นอเหตุกะบ้าง, อนึ่ง ในทุกะนี้ เวทนาที่เป็นโทมนัสเป็นธรรมมีเหตุสองเทียว; ที่เป็นโสมนัสและอุเบกขา ลางทีเป็นสเหตุกะโดยเหตุ ๕ เว้นโทสะบ้าง, เป็นอเหตุกะบ้าง; ที่เป็นสุขและทุกข์เป็นอเหตุกะเทียว, ก็ทุกะนี้เป็นนิปปเทสทุกะแล, ทุกะที่ ๒ จบ.

    [๑๑๐] ธรรมชื่อว่า เหตุสัมปยุตตะ (สัมปยุตด้วยเหตุ) โดยอรรถวิเคราะห์ว่าประกอบด้วยเหตุโดยความเป็นธรรมเกิดร่วมกัน เป็นต้น. ชื่อว่า เหตุวิปปยุตตะ (วิปยุตจากเหตุ) โดยอรรถวิเคราะห์ว่าไม่ประกอบด้วยเหตุ. เหตุสัมปยุตตทุกะนี้ ไม่ต่างอะไรกันกับสเหตุกทุกะที่กล่าวแล้วในลำดับ; แท้จริง ก็สเหตุกทุกะนั่นเอง พระผู้มีพระภาคตรัสแม้โดยความเป็นเหตุสัมปยุตตทุกะ ด้วยสามารถอัธยาศัยของบุคคลพวกที่จะเข้าใจได้อย่างนั้น. เหตุในการตรัสทุกะที่มีอรรถเสมอกัน แม้ในเบื้องหน้าก็พึงทราบอบ่างนี้. ทุกะที่ ๓ จบ.

    ส่วนทุกะที่ ๔ เป็นต้น เพราะทรงแสดงให้เป็น ๓ ทุกะ คือ ๒ ทุกะทรงแสดงให้ประกอบด้วยบทแรกในทุกะที่ ๑ (เหตู ธมฺมา), ในทุกะที่ ๒ (สเหตุกา ธมฺมา), และในทุกะที่ ๓ (เหตุสัมปยุตฺตา) ; อีกทุกะหนึ่ง ทรงประกอบบทหลังในทุกะที่ ๑ (น เหตุธมฺมา) ด้วยทุกะที่ ๒ (สเหตุกาธมฺมา, อเหตุกาธมฺมา); ฉะนั้น อรรถแห่งบทของทุกะที่ ๔ เป็นต้นนั้น จึงมีนัยอันกล่าวแล้วเทียว.

    อนึ่ง ในเหตุโคจฉกะนั้น ทุกะนี้ว่า ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ, ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ดังนี้เกิดได้ฉันใด; แม้ทุกะนี้ว่า ธรรมเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุ, ธรรมไม่มีเหตุและไม่เป็นเหตุ ดังนี้ก็เกิดได้ฉันนั้น. แม้ด้วยการประกอบด้วยเหตุสัมปยุตตทุกะโดยนัยนี้ ก็จะได้ทุกะใหม่อีกหนึ่ง, อนึ่ง ทุกะนี้ว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ, ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ ดังนี้อันพุทธาทิบัณฑิตย่อมได้ฉันใด; แม้ทุกะนี้ว่า ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ, ธรรมเป็นเหตุแต่ไม่มีเหตุ ดังนี้อันพุทธาทิบัณฑิตก็ย่อมได้ฉันนั้น, อนึ่ง ในสเหตุกทุกะนี้ พุทธาทิบัณฑิตย่อมได้ทุกะสองฉันใด; แม้ในสัมปยุตตทุกะ พุทธาทิบัณฑิตก็ย่อมได้ทุกะสองว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่สัมปยุตด้วยเหตุ, ธรรมไม่เป็นเหตุและวิปยุตจากเหตุ ดังนี้, และว่า ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตตด้วยเหตุ, ธรรมเป็นเหตุแต่วิปยุตจากเหตุ ดังนี้ ฉันนั้น. รวมเป็นทุกะอื่นอีก ๕ ที่พุทธาทิบัณฑิตอาจที่จะประกอบในเหตุโคจฉะกะ. แต่ทุกะทั้ง ๕ นั้น บัณฑิตอาจที่จะทราบได้ โดยครรลองพระบาลีที่ตรัสไว้นั่นเทียว. เพราะฉะนั้น จึงพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์ไว้ในทุกะ ๖ นั่นแล.

    บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใดเป็นเหตุ ๒-๓ เกิดด้วยกันในจิตดวงหนึ่ง, ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเหตุและมีเหตุโดยเพ่งธรรมอื่น. ก็ในสเหตุกจิตทั้งหลาย ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เหลือเว้นเหตุชื่อว่า มีเหตุและไม่เป็นเหตุ, ธรรมไม่มีเหตุทั้งปวงเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศล กุศล-อัพยากฤตเว้นเหตุ และฉันทะ เป็นธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เท่านั้น. เจตสิกมีชาติ ๓ ที่เหลือ ก็เหมือนกันและเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงด้วย. ส่วน โมหะเป็นเหตุและมีเหตุ และเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. ทุกะที่ ๔ จบ

    แม้ทุกะถัดไปก็เหมือนทุกะนี้ ทุกอย่างแล. ทุกะที่ ๕ จบ.

    ในสเหตุกะจิตทั้งหลาย ธรรมคือจิตและเจตสิก เว้นเหตุ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ. อเหตุกจิต รูปและนิพพาน ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ, ส่วนเหตุ ๖ เป็นธรรมไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. คำที่เหลือ พึงเข้าใจง่ายทีเดียวแล. ทุกะที่ ๖ จบ

    เหตุโคจฉกะ จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2011
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งจูฬันตรทุกะ

    [๑๑๑] พึงทราบวินิจฉัยในจูฬันตระทุกะ ๗: ธรรมชื่อว่าสัปปัจจยะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นไปกับด้วยปัจจัยอันยังตนให้สำเร็จ; คือ จิต เจตสิกและรูป. ชื่อว่า อัปปัจจยะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ปัจจัยในการเกิดหรือการตั้งอยู่ ไม่มีแก่ธรรมเหล่านี้เพราะความไม่มีแห่งการไม่มีแล้วมาเกิดมีขึ้นนั่นเอง; คือนิพพาน นั้นเทียว. ก็โดยเทสนา ในทุกะนี้ทรงทำนิเทศโดยพหุวจนะ ด้วยอำนาจธรรมอันตกไปในกระแสแห่งความเป็นธรรมมีรสเสมอกัน. แม้ในทุกมีสนิทัสสนะทุกะเป็นต้น ก็อย่างนี้. ก็ทุกะนี้และทุกะ ๖ เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบว่าเป็นนิปปเทสทุกะ. อนึ่ง เบื้องหน้าแต่นี้ไป เราจักไม่กล่าวว่า "ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง" ดังนี้ในทุกะใด; ทุกะนั้นพึงถือเอาว่าเป็นนิปปเทส. สัปปัจจยทุกะ จบ

    ธรรมชื่อว่า สังขตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาประชุมกันทำ (ปรุงแต่ง). ชื่อว่า อสังขตะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ไม่ใช่สังขตะ. ก็ทุกะนี้ เหมือนกับสัปปัจจยทุกะทุกอย่างทีเดียว.

    รูปายตนะ ชื่อว่า สนิทัสสนะ. ธรรมที่เหลือทั้งจิต เจตสิก รูปและนิพพาน ชื่อว่า อนิทัสสนะ. สนิทัสสนะทุกะ จบ

    รูป ๑๒ คือ ปสาทรูป (๕) และวิสยรูป (๗) ชื่อว่า สัปปฏิฆะ ธรรมที่เหลือทั้งจิต เจตสิก รูปและนิพพาน ชื่อว่า อัปปฏิฆะ

    ธรรมชื่อว่า รูปี โดยอรรถวิเคราะห์ว่ามีรูปโดยอวินิพโภครูป. หรือชื่อว่า รูปี โดยอรรถวิเคราะห์ว่ามีรูปที่มีความแตกสลายเป็นลักษณะ; คือภูตรูปและอุปาทายรูปนั่นเอง. ธรรมมิใช่ธรรมมีรูป ชื่อว่า อรูปี; คือ จิต เจตสิก รูป (รูปในที่นี้น่าจะหมายถึง วินิพโภครูป ซึ่งพ้นจากความหมายของบทว่า รูปี ตามอรรถวิเคราะห์แรก; แต่ในฉบับฉัฏฐสังคายนาไม่ปรากฎศัพท์ว่ารูปนี้.) และนิพพาน รูปีทุกะจบ.

    วัฏกะ เรียกว่า โลก โดยอรรถว่า พินาศไป, สลายไป, ธรรมชื่อว่า โลกียะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ประกอบในโลกโดยความเป็ฯธรรมเนื่องในโลกนั้น; คืออุปาทานขันธ์ ๕ . ธรรมชื่อว่า โลกุตตระ โดยอรรถวิเคราะหซ๋า ข้ามขึ้นจากโลกนั้น โดยความเป็นธรรมไม่เนื่องในโลกนั้น; คือริยมรรค อริยผลและนิพพาน. ส่วนในพวกเจติสก คำที่พึงกล่าวในติกะนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเสกขติกะ. โลกิยทุกะจบ.

    [๑๑๒] บทว่า เกนจิ วิญฺเญยฺยา โดยอรรถว่า ธรรมอันจิตบางอย่าง คือ อย่างหนึ่งในบรรดาจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น คือ อันจุกขุวิญญาณ หรือวิญญาณอื่นมีโสตวิญญาณ เป็นต้น พึงรู้แจ้ง. บทว่า เกนจิ น วิญฺเญยฺย โดยอรรถว่า ธรรมอันจิตบางอย่าง คือ อันจักขุวิญญาณ หรือวิญญาณอื่นมีโสตวิญญาณเป็นต้นนั้นนั่นแหละไม่พึงรู้แจ้ง. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นทุกะได้ โดยความต่างแห่งอรรถของบททั้งสอง. แม้ในบทภาชนีย์ก็ไม่พึงถือเอาว่า ทุกะหนึ่งเพียงแค่นี้ว่า "ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้, ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้" ดังนี้แล้ว พึงทราบว่า ทุกะหนึ่งดังนี้ว่า "ธรรมเหล่าใดอันจักขุวิญยาณรู้ได้, ธรรมเหล่านั้น โสตวิญญาณรู้ไม่ได้; หรือธรรมเหล่าใด โสตวิญญาณรู้ได้, ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้" ดังนี้.

    ทุกะนั้นมีอรรถดังนี้ว่า รูป พึงรู้ได้ด้วยจักขุ; แต่เสียงไม่พึงรู้ได้ด้วยจักขุ. การกำหนดทุกะแม้ในบทที่เหลือ ก็พึงทราบอย่างนี้. บรรดาบททั้งสองนั้น รูปายตนะ ชื่อว่า อันจักขุหรือจักขุวิญญาณ พึงรู้แจ้ง; รูปธรรมที่เหลือชื่อว่า อันจิตบางอย่าง คืออันจักขุหรือจักขุวิญญาณนั้นนั่นแหละไม่พึงรู้แจ้ง. วิภาคในโยชนา ๔ แม้ที่มีโสต ฆาน ชิวหา กาย หรือวิญญาณนั้นๆ เป็นมูล ก็พึงทราบตามสมควร. อนึ่ง วิสัย ๕ มีรูปเป็นต้น อันมโนธาตุ ๓ ชื่อว่า จิตบางอย่างพึงรู้; รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือ อันมโนธาตุ ๓ ชื่อว่าจิตบางอย่างนั้นนั่นแหละ ไม่พึงรู้แจ้ง. ทุกะด้วยสามารถแห่งธรรมอันมโนวิญญาณพึงรู้ พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสไว้ในบาลี เพราะไม่มีธรรมอันมโนวิญญาณไม่พึงรู้แจ้งโดยสามัญ แม้โดยแท้; แม้ถึงอย่างนั้น ก็พึงตรัสโดยวิเศษเทียว. จริงอย่างนั้น กามาวจรธรรมแม้ทั้ง ๖ อย่าง อันมโนวิญญาณมีกามาวจรวิบากเป็นต้น ชื่อว่า อันจิตบางอย่าง พึงรู้แจ้ง; บัญญัติที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจรและโลกุตตร อันมโนวิญญาณมีกามาวจรวิบาก เป็นต้น ชื่อว่า อันจิตบางอย่างนั้นนั่นนแหละ ไม่พึงรู้แจ้ง, อนึ่ง บัญญัติที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร อันจิตบางอย่างมีกุศลจิต เป็นต้นพึงรู้แจ้ง; โลกุตตรธรรมอันจิตบางอย่างมีกุศลจิตเป็นต้นนั้นนั่นแหละไม่พึงรู้แจ้ง. อนึ่ง นิพพาน อันจิตบางอย่างที่เป็นโลกุตตระพึงรู้แจ้ง; โลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมที่เหลือ อันจิตบางอย่างที่เป็นโลกุตตรนั้นนั่นแหละไม่พึงรู้แจ้ง. ธรรมอันจิตบางอย่าง คือ อันมโนวิญญาณอันต่างโดยรูปาวจรและอรูปาวจรเป็นต้น พึงรู้แจ้งและไม่พึงรู้แจ้ง บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยนัยดังกล่าวมานี้. ธรรมทั้งปวงชื่อว่า อันจิตบางอย่างพึงรู้แจ้ง, อันจิตบางอย่างไม่พึงรู้แจ้ง อย่างนี้. แม้บัญญัติทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า อันบัณฑิตย่อมได้ในทุกะนี้. เกนจิวิญฺเญยฺยทุกะ จบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2011
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งอาสวโคจฉกะ

    [๑๑๓] วินิจฉัยในอาสวโคจฉกะ ธรรมชื่อว่า อาสวะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่าไหลไปทั่ว คือ โดยรอบ; ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ไหลไป คือ เป็นไปทั่ว ทางจักษุบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง, หรือชื่อว่า อาสวะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่าไหลไปทางธรรมตราบเท่าโคตรภู, ทางโอกาสตราบเท่าภวัคคพรหม. อธิบายว่า ทำธรรมเหล่านี้และโอกาสนี้ไว้ภายในเป็นไปทั่ว. แท้จริง อา อักษรตัวนี้มีการทำไว้ภายในเป็นอรรถ ชื่อว่า อาสวะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ราวกะ อาสวะ (เครื่องดอง) มีน้ำเมาเป็นต้น โดยอรรถว่า อันบุคคลอบรมแล้วสิ้นกาลนาน ดังนี้บ้าง. ก็ผิว่า ธรรม พึงชื่อว่า อาสวะโดยอรรถว่า อันบุคคลอบรมแล้วสิ้นกาลนานไซร้, ธรรมเหล่านี้เท่านั้นควรเพื่อจะเป็น (อาสวะ) เพราะเป็ฯธรรมไม่มีเบื้องต้น. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อาสวะ โดยอรถวิเคราห์ว่าไหลไป คือไหลไปทั่ว สู่อายตะ คือสังสารทุกข์ ดังนี้บ้าง. ธรรมอื่นจากนั้น ชื่อว่า โน อาสวา - ไม่ใช่อาสวะ,

    บรรดาธรรมทั้ง ๒ นั้น ธรรม ๔ เหล่านี้ คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ เป็นธรรมชื่อว่า อาสวะ. บรรดาอาสวะ ๔ อย่างนั้น โลภะที่บังเกิดขึ้นในโลภสหคตจิต ๘ ดวง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า กามาสวะ. แต่ในอัฏฐสาลินีได้กล่าวไว้ว่า "ราคะที่เป็นไปในเบญจกามคุม ชื่อว่า กามาสวะ," "ราคะที่สหรคตด้วยทิฏฐิไม่เป็นกามาสวะ; แต่เป็นธรรมชื่อว่า ทิฏฐิราคะ," และว่า "ฉันทราคะที่บังเกิดแก่พรหมทั้งหลาย ในเพราะวิมาน ต้นกัลปพฤกษ์และอาภรณ์ ไม่เป็นกามสวะ เพราะราคะที่เป็นไปในเบญจกามคุณเป็นธรรมเสื่อมไปแล้วในพรหมโลกนี้นี่แหละ."

    ก็เพราะได้กล่าวไว้ในบาลีว่า "กามาสวะบังเกิดในจิตตุปปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง" และว่า "ทิฏฐาสวะ, อวิชชาสวะ บังเกิดเพราะอาศัย กามาสวะ" ความจึงปรากฏว่า เว้นภวาสวะเสีย โลภะที่เหลือแม้ทั้งหมดเป็นกามาสวะ. ความเป็นภวาสวะแห่งราคะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ และแห่งราคะในวัตถุมีผ้าและอาภรณ์เป็นต้นของพวกพรหม ท่านทำแล้ว โดยบาลีมีอาทิว่า "แท้จริง ราคะที่วิปยุตจากทิฏฐิเท่านั้นเป็นภวาสวะในปวัตติกาล ด้วยสามารถความปรารถนาภพ ในรูปธาตุ; แต่ในอรูปธาตุนี้ ภวราคานุสัยก็นอนเนื่องอยู่" ดังนี้. โลภที่พ้นจากกามาวะหรือภวาสวะไม่มีเลย; ผิว่าพึงมีไซร้, ก็ควรจะต้องกล่าวไว้ในบาลีว่า "โลภะเป็นอาสวะก็มี, ไม่เป็นอาสวะก็มี" ดังนี้. อนึ่ง อวิชชาสวะที่สัมปยุตด้วยโลภะอันวิปิยุตจากทิฏฐิก็ควรจะต้องกล่าว่า "สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี, วิปยุตจากอาสวะก็มี" ดังนี้.

    [๑๑๔] ก็ในอัฏฐสาลินีได้กล่าวอรรถของบทว่า "ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย" อันมาในกามาสวนิเทสในบทภาชนีย์ไว้ว่าดังนี้ "ความพอใจด้วยอำนาจจความใคร่ในเบญจกามคุณ." แต่บทนั้น อาจที่จะทำอรรถโยชนาว่า "กิเลสกามในวัตถุกามทั้งหลาย" ดังนี้บ้างก็ได้ เพราะธรรมอันเป็นไปในภูมิสาม เป็นวัตถุกาม และเพราะความกำหนัดยินดีในธรรมอันเป็นไปในภูมิสามนั้นทั้งหมดเป็นกิเลสกาม.

    สมจริงดังคำอันพระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ในมหานิทเทสว่า "วัตถุกามเป็นไฉน? รูปอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด, ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด, ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด... ธรรมเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม. กิเลสกามเป็นไฉน? กามคือความพอใจ, กามคือความกำหนัดฯลฯ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่, ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่, ความยินดีด้วยอำนาจความใคร่, ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่, ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่, ความหมกมุ่นด้วยอำนาจความใคร่ ในกามทั้งหลายใด; โอฆะคือความใคร่, โยคะคือความใคร่, อุปาทานคือความใคร่, นีวรณ์คือความพอใจในกาม... ธรรมเหล่านี้เรียกว่ากิเลสกาม." อีกอย่างหนึ่ง พระธรรมเสนาบดี เมื่อกล่าวความที่กิเลสกามเป็นโอฆะคือกามเป็นต้นด้วยบทว่า "โอฆะคือกาม โยคะคือกาม" ดังนี้ เป็นต้น ก็ชื่อว่า อนุญาต ความที่ราคะอันมีเพียงวัตถุกามเป็นอารมณ์เป็นอาสวะเป็นต้น; มิได้อนุญาตความที่ราคะอันเป็นไปในเบญจกามคุณเป็นอาสวะเป็นต้น. แท้จริง แม้ในอัฏฐสาลินีก็ได้กล่าวอรรถของบทว่า "ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย" ในบทภาชนีย์แห่งอุทานโคจฉกะไว้ว่า "กิเลสกามในวัตถุกามทั้งหลาย" ดังนี้เท่านั้น. ในโคจฉกะอื่นจากนั้นคือในเหตุโคจฉกะ คันถโคจฉกะและกิเลสโคจฉกะ ก็ได้กระทำการกำหนดโดยหาส่วนเหลือมิได้ ได้แก่โลภะนั่นแหละ; ในโคจฉกะนอกนี้มิได้กระทำ. อนึ่ง ในโคจฉกะเหล่านั้น เมื่อตรวจดูความหมายของโลภะตามครรพลองบาลี ก็ปรากฏการกำหนดโลภะโดยหาส่วนเหลือมิได้ เพราะเป็นอาการสักว่ากิเลสกาม. อรรถรูปว่า "ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในเบญจกามคุณ" นั้นพึงพิจารณาแล้วถือเอา.

    โลภะอันเป็นไปโดยความเป็นความกำหนัดด้วยความพอใจในรูปภพและอรูปภพ และโดยความเป็นความหมกมุ่นและความยินดีในกาม อันบังเกิดในจิตที่วปิยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง ชื่อว่า ภวาสวะ. ก็ในอัฏฐสาลินีได้กล่าวไว้ว่า "แม้ราคะที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิชื่อว่า ภวาสวะ"; แต่คำนั้นไม่อาจที่จะถือเอาเพราะได้กำหนดไว้ในบาลีแล้วว่า "ภาวสะบังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะอันวิปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง" ส่วนอธิบายพึงแสวงหา. ทิฏฐิ ๖๒ ประเภท แม้ทั้งหมดชื่อว่า ทิฏฐาสวะ. โมหะอันมีวัตถุ ๘ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า อวิชชาสวะ. บรรดาอาสวะ ๔ นั้น ทิฏฐาสวะ อันปฐมมรรคละได้. จะกล่าวว่า "กามาสวะอันมรรคทั้ง ๔ ละได้" ก็ควร; แต่ท่านได้กล่าวไว้ว่า "อันมรรคที่ ๓ ละได้". ภวาสวะและอวิชชาสวะอันมรรคที่ ๔ ละได้. ก็เพราะบรรดาอาสวะ ๔ นี้ กามาสวะและภวาสวะเป็นธรรมมีโลภะเป็นสถาวะ ธรรมเหล่านี้จึงเป็นธรรม ๓ อย่างโดยสภาวะ; แต่เป็นธรรมชื่อว่า อาสวะ ๔ โดยวิภาค. เว้นอาสวะ ๔ นี้ ธรรมที่เหลือทั้งหมด ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ชื่อว่า โนอาสวา (ไม่เป็นอาสวะ). อาสวะทุกะ ทุกะแรกจบ.

    [๑๑๕] ธรรมเหล่าใดเป็นไปกับด้วยอาสวะทั้งหลายอันทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สาสวะ (เป็นอารมณ์ของอาสวะ) คือ โลกิยธรรมทั้งหมด. อาสวะอันจะเป็นอย่างนั้นไม่มีแก่ธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อนาสวะ (ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ) คือ โลกุตตรธรรม ๙ นั่นแล. ส่วนเจตสิกในทุกะนี้ก็อย่างเดียวกันกับที่กล่าวไว้ในโลกิยทุกะนั่นแล. สาสวทุกะ ทุกะที่ ๒ จบ.

    อรรถแห่งบทของทุกะ ๔ มีทุกะที่ ๓ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อรรถรูปที่เหลือในอาสวโคจฉกะนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเหตุโคจฉกะ; แต่มีแปลกกันดังนี้: ในเหตุโคจฉกะนั้น ทุกะสุดท้ายว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ, ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ นี้ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบบทที่ ๓ ในทุกะแรกด้วยทุกะที่ ๒ ตรัสไว้ ฉันใด, แม้ในอาสวโคจฉกะนี้ จะได้ตรัสฉันนั้นว่า "ธรรมไม่เป็นอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของดาสวะ, ธรรมไม่เป็นอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" ดังนี้ก็หามิได้. ก็ทุกะสุดท้ายนี้ พึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์ไว้ในอาสวโคจฉกะนี้โดยนัยดังกล่าวแล้วในทุกะนั้นๆ. แม้ในสัญโญชนโคจฉกะ เป็นต้น ก็พึงทราบตามสมควรเหมือนอย่างในอาสวโคจฉกะนี้.

    บรรดาธรรมเหล่านั้น อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ. โมหะในโทสะมูลแจตและโมหมูลจิต, กุศลจิตและอัพยากฤตจิต, รูป,และนิพพาน ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากอาสวะ, บรรดาเจตสิกเว้นโมหะเสีย อกุศลเจตสิกที่เหลือเป็นธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะสิ้น. ส่วนโมหะแม้มีชาติสาม ก็เป็นได้แม้ทั้งสองส่วน. เจตสิกที่เหลือเป็นธรรมวิปยุตจากอาสวะเท่านั้น แล. ทุกะที่ ๓ จบ.

    อาสวะ ๔ เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ; โลกิยธรรมที่เหลือจากนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ. ก็ในอาสวโคจฉกะนี้ โลกุตตระเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกที่เหลือจากที่ได้กล่าวไว้ว่าเป็นอาสวะ, กับกรุณาและมุทิตา เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะเท่านั้น; เจตสิกที่เหลือก็เหมือนกันและเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง, ทุกะที่ ๔ จบ.

    ส่วนธรรมเหล่าใดเป็นธรรม ๒-๓ อย่างคือ เป็นโลภะและโมหะ, เป็นโลภะทิฏฐิและโมหะ บังเกิดโดยความเป็นอันเดียวกันในโลภมูลจิตทั้งหลาย, ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ. อกุศลจิต ๑๒ ดวง แลธรรมที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิตนั้นเว้นอาสวะเสีย เป็นธรรมชื่อว่า สัปมยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ. ก็ในทุกนี้ ธรรมวิปยุตจากอาสวะเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. ส่วนบรรดาเจตสิก อกุศลทั้งหลายเว้นอาสวะเสีย เป็นธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ. โมหะเป็นอาสวะและสัปมยุตด้วยอาสวะก็มี, เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงก็มี. เจตสิกที่มีชาติสาม เป็นธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี, เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงก็มี, เจตสิกที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงคำที่เหลือ ควรเข้าใจง่ายทีเดียว. ทุกะที่ ๕ จบ.

    ธรรมเว้นจากโลกุตตระ ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ, โลกุตตระชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ก็ในทุกะนี้ ธรรมสัปยุตด้วยอาสวะเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. ส่วนบรรดาเจตสิก กรุณาและมุทิตาเป็นธรรมวิปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เท่านั้น. โมหะก็เหมือนกัน และเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง, กุศล-อัพยากฤตเจตสิกที่เหลือเป็นได้ทั้งสองส่วน. เจตสิกที่มีชาติสามเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง แม้โดยส่วนทั้งสองเทียว. ส่วนอกุศลเว้นโมหะเสียเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. ทุกะที่ ๖ จบ.

    อาสวโคจฉก จบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2011
  5. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งสัญโสญชนโคจฉกะ

    [๑๑๖] วินิจฉัยในสัญโญชนโคจฉกะ ธรรมชื่อว่า สัญโญชน์โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ประกอบ คือผูกบุคคลที่มีไว้ในวัฎฎะ; ธรรมอ่นจากนั้น ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์

    บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรม ๑๐ อย่างนี้คือ กามราคสัญโญชน์, ปฏิฆ-มาน-ทิฏฐิ-วิจิกิจฉา-สีลัพพตปรามาส-ภวราค-อิสสา-มัจฉริย-อวิชชาสัญโญชน์ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์.

    บรรดาธรรม ๑๐ อย่างนั้น กาม-ภว-ทิฏฐิ-และอวิชชาสัญโญชน์ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.


    โทสะ ซึ่งบังเกิดอยู่ในสัตว์ทั้งหลายโดยอาการ ๙ อย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า "บุคคลนี้ได้ประพฤติ, ประพฤติอยู่, จักประพฤติ, อนัตถะ (ความเสียหาย) แก่เรา; ได้ประพฤติ, ประพฤติอยู่, จักประพฤติอนัตถะแก่คนที่รักของเรา, ได้ประพฤติ, ประพฤติอยู่, จักประพฤติประโยชน์แก่คนไม่เป็นที่รักของเรา" ดังนี้, และในสังขารทั้งหลายด้วยสามารถความโกรธในที่ไม่ควรโกรธ, แม้ทั้งหมดชื่อว่า ปฏิฆสัญโญชน์.

    มานะ อันเป็นไปโดยอาการ ๓ อย่าง อย่างนี้ว่า "เราเลิศกว่าเขา, เราเสมอเขา, เราเลวกว่าเขา" ดังนี้ทั้งหมดชื่อว่า มานสัญโญชน์. มานะบังเกิดแก่คนซึ่งเป็นผู้เลิศกว่าได้ ๓ อย่างว่า เราเลิศกว่าเขา, ว่าเราเสมอเขา, และว่าเราเลวกว่าเขา. แม้แก่บุคคลผู้เสมอและเลวก็เหมือนกัน, บรรดามานะเหล่านั้น มานะว่าเลิศกว่าเขาของบุคคลผู้เลิศกว่า พึงทราบว่าเป็นยาถาวมานะ (ถือตัวตามที่เป็นจริง); มานะว่าเมอเขาของบุคคลผู้เสมอ, มานะว่าเลวกว่าเขาของบุคคลผู้เลวกว่า ก็เหมือนกัน. มานะอย่างละสองๆ นอกนี้ของบุคคลแม้ทั้ง ๓ พึงทราบว่าเป็นอยาถาวมานะ (ถือตัวไม่ตรงตามความเป็นจริง)

    วิจิกิจฉา อันเป็นไปด้วยสามารถความสงสัยในพระพระศาสดา, ในพระธรรม, ในพระสงฆ์, ในสิกขา, ในที่สุดข้างต้น, ในที่สุดข้างปลาย, ในที่สุดทั้งสอง, และในปฏิจจสมุปปันนธรรมชื่อว่า วิจิกิจฉาสัญโญชน์.

    ทิฏฐิ อันเป็นไปโดยอาการแห่งการถือว่า "ความบริสุทธิ์เป็นได้ด้วยศีลพรตมีโคศีลและโคพรตเป็นต้นนั่นแลชื่อว่า สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์.

    ทิฏฐิเหลือจากนั้น พึงถือเอาว่า ทิฏฐิสัญโญชน์.

    ความริษยาอันเป็นไปโดยอาการแห่งความไม่อดกลั้นในลาภสักการะ-การเคารพ-การนับถือ-การไหว้-และการบูชาของผู้อื่นเป็นต้น ชื่อว่า อิสสาสัญโญชน์.

    ความตระหนี่ ๕ อย่างนั้น ตระหนี่อาวาส,ตระหนี่สกุล, ตระหนี่ลาภ, ตระหนี่วรรณะ, ตระหนี่ธรรม ชื่อว่า มัจฉริยสังโยชน์. ก็ภิกษุเมื่ออยู่ในอารามทั้งสิ้นหรือในบริเวณและโรงกลมเป็นต้น ไม่ปรารถนาการมาในที่นั้นแห่งภิกษุอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร; แม้ที่มาแล้วก็ปรารถนาให้ไปเสียโดยพลันทีเดียว; นี้ชื่อว่า ตระหนี่อาวาส (อาวาสมัจฉริยะ). แต่สำหรับภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการอยู่่ในที่นั้นของพวกภิกษุ ผู้ก่อการทะเลาะวิวาทไม่ชื่อว่าตระหนี่อาวาส ส่วนตระหนี่สกุล (กุลมัจฉริยะ) เป็นแก่ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการเข้าไปของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักรูปอื่นในสกุลอุปฐากหรือในสกุลญาติของตน; แต่ไม่เป็นแก่ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาบุคคลลามก; เพราะบุคคลลามกนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อทำลายความเลื่อมใสของสุกลเหล่านั้นแล. ตระหนี่ลาภ (ลาภมัจฉริยะ) เป็นแก่บุคคลซึ่งเป็นผู้มีศีลได้จตุปัจจัยในที่อันเป็นที่ได้ของตนแล้วคิดว่า "จงอย่าได้" ส่วนผู้ใดมักยังศรัทธาไทยให้ตกแม้ของที่จะถึงความบูดเน่าก็ยังไม่ให้แก่ผู้อื่น เมื่อบุคคลเห็นผู้นั้นได้อยู่ จึงคิดว่า "ถ้าผู้มีศีลอื่นพึงได้ลาภนี้ , ลาภนี้ก็จะพึงถึงการบริโภค" ดังนี้ไม่ชื่อว่าตระหนี่ วรรณะคือสรีระก็ดี วรรณะคือคุณก็ดี อันทัดเทียมกับตนชื่อว่า วรรณะ . บรรดาวรรณะ ๒ อย่างนั้น เมื่อบุคคลได้ยินคนกล่าวถึงวรรณะคือสรีระของผู้อื่นว่า "รูปงาม น่าเลื่อมใส" และวรรณะคือคุณของผู้อื่นโดยนัย เป็นต้นว่า "มีศีล มีธุดงค์" ในที่อันเป็นที่กล่าววรรณะของตน แล้วอดกลั้นไม่ได้ เป็นอาการชื่อว่า ตระหนี่วรรณ (วรรณมัจฉริยะ) ทั้งสองอย่าง. แต่สำหรับภิกษุผุ็เป็นใครสรรเสริญภิกษุซึ่งมิใช่ผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นคนวิบัติ อุปถัมภ์อยูในบริษัททั้งหลายแล้วไม่อดกลั้นอยู่ด้วยความเป็นผู้เกลียดคนชั่ว ไม่เป็นอาการชื่อว่า ตระหนี่วรรณะ, ปริยัติเท่านั้นชื่อว่า ธรรม; ปฏิเวธไม่ชื่อว่าธรรม (ในคำว่า ตระหนี่ธรรม) เพราะพระอริยทั้งหลายไม่มีความตระหนี่ในปฏิเวธนั้น. ก็เมื่อภิกษุใคร่จะไม่แสดงปริยัติอันเป็นคัมภีร์ที่ตนซ่อนไว้ เป็นอาการชื่อว่า ตระหนี่ธรรม. แต่สำหรับภิกษุผู้ไม่ให้ปริยัติแก่คนโลเลประเดี๋ยวเป็นสมณะ ประเดี่๋ยวเป็นนิครณฐ์เป็นต้น เที่ยวไปด้วยคิดว่า "คนผู้นี้จักทำลายธรรมพิเศษอันสุขุมละเอียดที่ได้เล่าเรียนสืบต่อกันมาทำให้เลอะเลือน จักทำลายลัทธิสมัยของเรา" ดังนี้ โดยเห็นแก่ธรรม, หรือสำหรับภิกษุผู้ไม่ให้ปริยัติแก่คนซึ่งโดยปรกติเป็นคนโอ้อวด เป็นคนมีมายา ด้วยคิดว่า "คนผู้นี้เรียนธรรมอันละเอียดสุขุมแล้ว พยากรณ์ธรรมอื่นแล้วจักพินาศ" ดังนี้ โดยเห็นแก่บุคคลไม่เป็นความตระหนี่ธรรรม. แม้ความตระหนี่ ๕ อย่างของคฤหัสถ์ก็พึงทราบตามสมควรเหมือนอย่างของภิกษุ. อนึ่งพึงถือเอาโดยสังเขปว่า "ขึ้นชื่อว่าความตระหนี่ ทั้งของคฤหัสถ์และบรรพชิตมีการซุกซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ

    ก็บรรดาสัญโญชน์เหล่านี้ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สัลัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ โสดาปัตติมรรคละได้; ปฏฺหฃฆะ อนาคามิมรรคละได้; กามราคถพึงกล่าวว่ามรรคทั้ง ๔ ละได้, แต่ได้กล่าว่า มรรคที่ ๓ ละได้; มานะ ภวราคะ อวิชชา อรหัตตมรรคละได้. อนึ่ง บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น อยาถาวมานะ (ความถือตัวที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงฆ พึงเห็นว่า ปฐมมรรคละได้. ธรรม ๘ อย่างเท่านั้นโดยสภาวะเกิดเป็นสัญโญชน์ ๑๐ เพราะบรรดาสัญโญชน์เหล่านี้ กามราคะและภวราคะเป็นสภาวะแห่งโลภะ, ทิฏฐิและสีลัพพตปรามาสเป็นสภาวะแห่งมิจฉาทิฏฐิ. โลกิยธรรมและโกุตตรธรรมที่เหลือเว้นสัญโญชน์ ๑๐ นี้ชื่อว่า โน สัญโญชนา (ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์). อรรถรูปที่เหลือเหมือนอาสวะทุกะ. สัญโญชนทุกะ ทุกะแรก จบ.

    [๑๑๗] ธรรมเหล่าใด เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัญโญชน์ทั้งหลาย ด้วยการเข้าถึงความเป็นอารมณ์แล้วยังสัญโญชน์ให้งอกงาม เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อ สัญโญชนียะ (เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์) คือสาสวธรรม (ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ)นั่นเอง. แม้ในบทว่า นีวรณียะ (ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์) ก็เหมือนกัน. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ชื่อ อสัญโญชนียะ คืออนาสวะ (ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ) นั่นเอง. อรรถรูปที่เหลือ เหมือนสาสวทุกะนั่นแล. สัญโญชนียทุกะ ทุกะที่ ๒ จบ.

    แม้ทุกะที่ ๓ เป็นต้นก็เหมือนทุกะที่ ๓ เป็นต้นในอาสวโคจฉกะนั่นเอง. ในที่นี้จักกล่าวเพียงแต่ที่แปลกเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น อกุศลจิต ๑๒ ดวง ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์. โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จิตที่เหลือ รูปและนิพพาน ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากสัญโญชน์, อรรถรูปที่เหลือก็เหมือนกันนั่นแหละ. สัญโญชนสัมปยุตทุกะ ทุกะที่ ๓ จบ.

    สัญโญชน์ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. โลกิยธรรมเหลือจากนั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่เป็นสัญโญชน์. คำอันเหลือ ควรเข้าใจง่ายทีเดียว สัญโญชนสัญโญชนียทุกะ ทุกะที่ ๔ จบ .

    ส่วนธรรมเหล่าใดเป็น ธรรม ๒-๓ อย่าง คือเป็นวิจิกิจฉาโมหะ, เป็นโทสะ-อิสสา-โมหะ, เป็นโทสะ-มัจฉริยะ-โมหะ, เป็นโลภะ-มานะ-โมหะ, และเป็นโลภะ-ทิฏฐิ-โมหะ บังเกิดโดยความเป็นอันเดียวกันในอกุศลจิต ๑๑ ดวงเว้นอุทธัจจะ, ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชนฺ์และสัปมยุตด้วยสัญโญชน์, ทุกะที่เหลือและทุกะในลำดับ เหมือนทุกะที่ ๕ และที่ ๖ ในอาสวโคจฉกะนั้นเทียว. แปลกันเพียงบทว่า สัญโญชนะในที่แห่งบทว่า อาสวะเท่านั้น . สัญโญชนสัญโญชนสัปมยุตทุกะ ทุกะที่ ๕ และสัญโญชนวิปปยุตสัญโญชนียทุกะ ทุกะที่ ๖ จบ


    สัญโญชนโคจฉกะ จบ
     
  6. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
  7. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งคันถโคจฉกะ


    [๑๑๘] วินิจฉัยในคันถโคจฉกะ; ธรรมชื่อว่า คันถะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ผูก คือสืบต่อบุคคลที่มีธรรมเหล่านี้ไว้ในวัฏฏะด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ. ธรรมอื่นจากนั้นชื่อว่า ธรรมไม่เป็นคันถะ.

    บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้คือ อภิชฌา-กายคันถะ, พยาปาท, สีลัพพตปรามาส, อิทังสัจจาภินเวสกายคันถะ ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ, อภิชฌานั่นเอง ชื่อว่า "อภิชฌากายคันถะ" โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ผูกไว้ซึ่งนามกายโดยนัยดังกล่าวแล้ว. แม้ในบททั้ง ๓ ที่เหลือก็นัยนี้. ทิฏฐิแม้ทั้งหมดเว้นสีลัพพตปรามาสชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวส เพราะปฏิเสธความเป็นสัพพัญญูแล้วตั้งมั่นโดยอาการนี้ว่า "โลกเที่ยง, นี้เท่านั้นจริง; อื่นเปล่า". คันถะ ๓ อย่างที่เหลือ ได้กล่าวอรรถาธิบายได้แล้ว, บรรดาคันถะเหล่านี้ คันถะ ๒อย่างข้างท้าย ปฐมมรรคละได้; พยาบาท มรรคที่ ๓ ละได้; อภิชฌา มรรคทั้ง ๔ ละได้. ก็ธรรม ๓ โดยสภาวะเหล่านี้ เกิดเป็นธรรมชื่อว่า คันถะ ๔. ธรรมทั้งปวงที่เหลือเว้นคันถะเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นคันถะ, คันถทุกะ ทุกะแรก จบ.

    ธรรมเหล่าใดอันคันถะพึงผูกไว้ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์เพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า คันถนียะ (เป็นอารมณ์ของคันถะ) ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ชื่อว่า อคันถนียะ. อรรถรูปที่เหลือเหมือนสาสวทุกะนั่นแล. คันถนียทุกะ ทุกะที่ ๒ จบ.

    อกุศลจิต ๑๐ ดวง เว้นโมหะมูลจิต, และธรรมที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต ๑๐ ดวงนั้น เว้นโลภะในจิตที่วิปปยุตจากทิฏฐิ และโทสะในโทสมูลจิต ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ. โลภะ โทสะ ตามที่กล่าวแล้ว, โมหมูลจิต; กุศลจิต; อัพยากฤตจิต; รูปและนิพพานชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากคันถะ, ส่วนบรรดาเจตสิกธรรม ทิฏฐิ มานะ อิสสา มัจฉริย กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ เป็นธรรมสัมปยุตด้วยคันถะทีเดียว. โทสะ วิจิกิจฉาและเจตสิกธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นธรรมวิปยุตจากคันถะทีเดียว. เจตสิกธรรมที่เหลือเป็นได้แม้ทั้ง ๒ อย่าง คันถสัมปยุตตทุกะ ทุกะที่ ๓ จบ.

    คันถะ ๔ ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ. โลกิยธรรมที่เหลือจากนั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ. บรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเว้นคันถะและอัปปมัญญาก็เหมือนกัน. ส่วนเจตสิกที่เหลือก็เหมือนกันและเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. อนึ่ง โลกุตตรธรรมเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในที่นี้. คันถ ๘ คันถนียทุกะ ทุกะที่ ๔ จบ.

    ทิฏฐิ ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ. โลภะก็เหมือนกันและเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. ธรรมที่เหลือเว้นคันถะในธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะเสีย ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ . ส่วนธรรมวิปยุตจากคันถะ เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในที่นี้. ก็บรรดาเจตสิกธรรม มานะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ และมิทธะ เป็นธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็นคันถะ. โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ และเจตสิกที่มีชาติ ๓ เหมือนอย่างนั้นก็มี และเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง; เจตสิกที่เหลือ เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. คำอันเหลือควรเข้าใจง่ายทีเดียว คันถ ๘ คันถสัมปยุตทุกะ ทุกะที่ ๕ จบ.

    ธรรมเว้นจากโลกุตตระชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ, ส่วนโลกุตตระชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ, ส่วนธรรมสัมปยุตด้วยคันถะเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. ก็บรรดาเจตสิก โทสะ วิจิกิจฉา กรุณาและมุทิตา เป็นธรรมวิปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะเทียว. โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุุทธัจจะและโลภะ ก็เหมือนกัน และเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. เจตสิกที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เหลือเป็นได้แม้ทั้งสองอย่าง. ส่วนเจตสิกที่มีชาติ ๓ เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงแม้ทั้งสองอย่าง. แม้อกุศลเจตสิกที่เหลือเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว, คันถวิปปยุตต ๘คันถีนยีทุกะ ทุกะที่ ๖ จบ.

    คันถโคจฉกะ จบ.


    สังวัณนาแห่งโอฆ-โยคโคจฉกะ

    โอฆ-โยคโคจฉกะ เหมือนอาสวโคจฉกะทุกประการ; แท้จริง เพียงแต่อรรถแห่งบทและเพียงแต่ชื่อเท่านั้นเป็นความแปลกกันในที่นี้. วินิจฉัยในอรรถแห่งบทและชื่อนั้น: ธรรมชื่อว่า โอฆะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า กด คือ ทับ บุคคลที่มีธรรมเหล่านี้ไว้ในวัฏฏะ. ชื่อว่า โอฆนียะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า อันโอฆะทั้งหลายพึงก้าวล่วงโดยความเป็นธรรมอันตนพึงทำให้เป็นอารมณ์ก้าวล่วง. แม้ในบทว่า โยคนียะก็เหมือนกัน. ธรรมชื่อว่า โยคะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ประกอบไว้ในวัฏฏะ. อรรถรูปที่เหลือก็เหมือนกัน.

    โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012
  8. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สังวัณนาแห่งนีวรณโคจฉกะ

    [๑๑๙] วินิจฉัยในนีวรณโคจฉกะ: ธรรมชื่อว่า นีวรณะ โดยอรรถวิเคราะห์ว่า กั้น หรือ ห่อหุ้มจิต. บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรม ๖ ประการนี้คือ กามฉันทนิวรณ์, พยาปาทนิวรณ์, ถีนมิทธนิวรณ์, อุทธัจจกุกุจฺจนิวรณ์, วิจิกิจฺฉานิวรณ์, อวิชฺชานิวรณ์ ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์, ความเป็นปึก อธิบายว่า ความกระด้างแห่งจิต โดยความเป็นจิตไม่แผ่ขยายราวกะก้อนเนยใสชื่อว่า ถีนะ ในประชุมแห่งบทว่า ถีนมิทธะ. กิเลสวัตถุใด กำจัด (กุศล) เพราะเหตุนั้นกิเลสวัตถุนั้นชื่อว่า มิทธะ คือความไม่ควรแก่การงาน, อธิบายว่า ทำความโงกง่วง. ก็ถีนมิทธะนี้เป็นเหตุของความโงกง่วงบังเกิดขึ้นแก่พระเสขะและปุถุุุชนทั้งหลาย ในกาลส่วนเบื้องต้นและในกาลส่วนเบื้องปลายของความหลับ; ไม่บังเกิดขึ้นในกาลเป็นที่หยั่งลงสู่ความหลับ. แท้จริงแม้พระขีณาสพก็มีการหยั่งลงสู่ความหลับได้ด้วยอำนาจความสืบต่อแห่งภวังคจิตอันไม่เจือปนด้วยความทุรพลแห่งกรัชกาย; แต่การหยั่งลงสู่ความหลับนั้น ไม่เป็นเหตุของถีนมิทธะแก่พระขีณาสพเหล่านั้นได้; คงเป็นได้เฉพาะแก่พระเสขะและปุถุชนเท่านั้น.

    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "รูปเท่านั้นโงกง่วง". คำนั้นไม่ชอบ. เพราะพระบาลีแสดงการประกอบด้วยอรูปธรรมว่า "ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์, และเป็นธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์" ดังนี้ ถีนมิทธนิวรณ์จึงเป็นทั้งอรูป และอกุศล, และเพราะพระบาลีแสดงปหานะมีคำว่า "เพราะถีนมิทธนิวรณ์เป็นกิเลสชาติอันภิกษุนี้ละได้แล้วไ ดังนี้เป็นต้น ถีนมิทธนิวรณ์จึงเป็นอกุศลเพราะอกุศลทั้งหลายเท่านั้นอันบุคคลพึงละ. แท้จริง ถีนมิทธนิวรณ์นี้ บังเกิดได้แม้ในอรูปภพ: พึงยังคำทั้งปวงในวิภังค์ของอุเทศว่า "นีวรณธรรมอาศัยนีวรณธรรมบังเกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะปุเรชาตปัจจัย" นี้ มีคำว่า "ถีนมิทฺธ-อุทธัจจ-อวิชชานิวรณ์ อาศัยกามฉันทนิวรณ์บังเกิดขึ้นในอรูปภพ" ดังนี้เป็นต้นให้พิศดาร. ส่วนบทภาชนีย์ของบทว่า มิทฺธนั้นว่า "ความหลับ ความโงกง่วง" ดังนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยสามารถผลูปจาร. สองบทว่า "ถีนะและมิทธะ" นี้ ตรัสทำให้เป็นนิวรณ์หนึ่งในฐานะนิวรณ์. สองบทว่า "อุจธัจจะและกุกกุจจะ" นี้ก็เหมือนกัน.

    ใน ๒ บทนั้น วิปปฏิสาร(ความเดือดร้อนใจ) อันบังเกิดขึ้นโดยนัยมีคำว่า "กรรมอันงามเราไม่ได้ทำ, กรรมอันลามกเราได้ทำแล้ว" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรำคาญ); ด้วยเหตุนั้นนั่นแลพระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ในบทภาชนีย์แห่งบทว่า อทธัจจะ นั้นว่า "ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ" ดังนี้ด้วย. ส่วนคำว่า "ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร" ดังนี้เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงมูลเหตุของกุกกุจจะ. แท้จริง ในเพราะวตีกกมะที่ได้กระทำด้วยความสำคัญอย่างนั้น วิปปฏิสารว่า "ความชั่วเราได้ทำแล้ว" จึงบังเกิดขึ้นในภายหลัง ราวกะที่บังเกิดแก่ภิกษุทั้งหลายมีพระสุทินเป็นต้น. ส่วนกุกกุจจะที่มาในพระวินัยว่า "ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ รังเกียจอยู่ (กุกฺกุจฺจายนฺโต) มิได้รับ" ดังนี้ ไม่เป็นนีวรณกุกกุจจะ (ความรำคาญโดยความเป็นนิวรณ์), เพราะกุกกุจจะไม่มีแก่พระอรหันต์เลย; แต่พึงทราบว่า ขึ้นชื่อว่า ความรังเกียจทางพระวินัย กล่าวคือความพิจารณาว่า "ควร, ไม่ควร" นี้เป็นรูปเปรียบของนิวรณ์ นิวรณ์ที่เหลือมีอรรถอันกล่าวแล้วทีเดียว.

    อนึ่ง บรรดานิวรณ์ ๖ นี้ กุกกุจจะและวิจิกิจฉา ปฐมมรรคละได้; พยาบาท มรรคที่ ๓ ละได้; ถีนมิทธะ, อุทธัจจะและอวิชชา มรรคที่ ๔ ละได้; กามฉันทะ พึงกล่าวว่า อันมรรคแม้ทั้ง ๔ ละได้; แต่ได้กล่าวไว้ว่าอันมรรคที่ ๓ ละได้, ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นธรรม ๘ โดยสภาวะเกิดเป็นนิวรณ์ ๖. ส่วนธรรมที่เหลือเว้นธรรมเหล่านี้เสีย ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นนิวรณ์, นีวรณทุกะ ทุกะแรกจบ.

    นีวรณิยทุกะ ทุกะที่ ๒ เหมือนสาสวทุกะทีเดียว

    [๑๒๐] อกุศลจิต ๑๒ ดวง ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์. จิตที่เหลือ รูปและนิพพาน ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากนิวรณ์, บรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกเป็นธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์เทียว; ส่วนกุศล-อัพยากฤตเจตสิกเป็นธรรมวิปยุตจากนิวรณ์ แล. เจตสิกที่เหลือเป็นได้แม้ทั้ง ๒ อย่าง, นีวรณสัมปยุตตทุกะ ทุกะที่ ๓ จบ.


    นิวรณ์ ๖ ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์. โลกิยธรรมที่เหลือ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์. โลกุตตรธรรมเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. อรรถรูปที่เหลือเหมือนทุกะที่ ๔ ในอาสวโคจฉกะ. นีวรณ นีวรณียทุกะ ทุกะที่ ๔ จบ.

    นิวรณ์ ๖ ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์ และสัมปยุตตด้วยนิวรณ์. ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ อื่นจากนิวรณ์นั้น ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์. บรรดาเจตสิก อกุศลเจตสิกที่เว้นจากนิวรณ์ก็เหมือนกัน. ส่วนเจตสิกที่มีชาติ ๓ เหมือนอย่างนั้นด้วยเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงด้วย. กุศล-อัพยากฤตเจตสิกเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึง. ส่วนธรรมที่วิปยุตจากนิวรณ์ทั้งหมดเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. นีวรณนิวรณสัมปยุตตทุกะ ทุกะที่ ๕ จบ.

    ธรรมนอกจากโลกุตตระ ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากนวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ . โลกุตตรธรรมชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. ส่วนบรรดาเจตสิก กรุณาและมุทิตา เป็นธรรมวิปยุตจากนิวรณ์นิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์. กุศล-อัพยากฤตเจตสิกเป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง. เจตสิกที่มีชาติ ๓ เหมือนอย่างนั้นด้วย เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงด้วย. ส่วนอกุศลเจตสิกเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงเทียว. นีวรณวิปปยุต ๘ นีวรณิยทุกะ ทุกะที่ ๖ จบ.

    นีวรณโคจกะ จบ.

    สังวัณนาแห่งปรามาสโคจฉกะ

    [๑๒๑] วินิจฉัยในปรามาสโคจฉกะ ธรรมเหล่าใด เมื่อก้าวล่วงอาการมีความไม่เที่ยงเป็นต้น อันเป็นอาการตามเป็นจริงแห่งธรรมทั้งหลายเสียแล้ว เป็นไปด้วยอำนาจความเห็นวิปลาส มีเห็นว่า ธรรมทั้งหลายเสียแล้ว เป็นไปด้วยอำนาจความเห็นวิปลาส มีเห็นว่า เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่าจับต้องโดยอาการตรงกันข้ามเพราะเหตุนั้นธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ปรามาสะ คือมิจฉาทิฏฐิ. เหตุในการแสดงไขโดยพหุวจนะได้กล่าวแล้วทีเดียว. ธรรมอื่นจากปรามาสะนั้นทั้งหมดชื่อว่า โนปรามาสะ (ธรรมไม่เป็นปรามาส). ปรามาสทุกะ ทุกะแรก จบ.

    ธรรมชื่อว่า ปรามัฏฐะ เพราะเป็นธรรมอันปรามาสะทั้งหลายจับต้องแล้วด้วยสามารถการกระทำให้เป็นอารมณ์. อรรถรูปอันเหลือ เหมือนอาสวทุกะนั่นเอง. ปรามัฏฐะทุกะ ทุกะที่ ๒ จบ.

    ธรรมนอกจากทิฏฐิในจิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า ะรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ. จิตที่เหลือ รูปและนิพพานชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากปรามาสะ ส่วนทิฏฐิเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้ ส่วนบรรดาเจตสิกที่เหลือ มานะ โทสะ อิสส มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา และกุศล-อัพยากฤตเจตสิกเป็นธรรมวิปยุตจากปรามาสะ เท่านั้น. เจตสิกที่เหลือเป็นได้ทั้ง ๒ อย่าง. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ ทุกะที่ ๓ จบ.

    ทิฏฐิเท่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ. โลกิยธรรมที่เหลือชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ. ส่วนโลกุตตรธรรมเป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. อรรถรูปที่เหลือควรเข้าใจง่ายทีเดียว. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ ทุกะที่ ๔ จบ.

    ก็ในโคจฉกะนี้ ทุกะนี้มีคำว่า "ธรรมเป็นปรามาสะและสัมปยุตด้วยปรามาสะไ ดังนี้เป็นต้น จัดไม่ได้เพราะทิฏฐิย่อมไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเลย.

    ในทุกะสุดท้าย ธรรมนอกจากโลกุตตระ ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ. ก็ปรามาสะและธรรมสัปยุตด้วยปรามาสะนั้น เป็นธรรมอันไม่พึงกล่าวถึงในทุกะนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเทียว. ปรามาสโคจฉกะ จบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...