(๑๒) วิมุตติมรรค:ทางแห่งความหลุดพ้น(ภาคปัญญา)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 18 พฤศจิกายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ขอนอบน้อมแด่พระอรหันต์ อุปติสสะ ผู้รจนา หนังสือ วิมุตติมรรค

    [๑๐๐] อริยสัจสี่โดยการแจงแจง
    (ถาม) โดยการแจงแจงอย่างไร?
    (ตอบ) กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมของภูิมิสามทั้งหมด ยกเว้นตัณหาเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทัยสัจ สภาวะที่กำจัดตัณหาเป็นนิโรธสัจ สภาวะที่กำจัดตัณหาเป็นนิโรธสัจ มรรคมีองค์แปดเป็นมรรคสัจ
    อนึ่ง กิเลสเหล่าอื่น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมแห่งภูมิสามทั้งหมด ยกเว้นตัณหา เป็นทุกขสัจ ตัณหาและกิเลสทั้งหลาย (ที่ประกอบกับตัณหา) เป็นสมุทัยสัจ สภาวะที่กำจัดกิเลสเหล่านี้ให้หมดไปได้เรียกว่า นิโรธสัจ มรรคมีองค์แปดเป็นมรรคสัจ

    อีกประการหนึ่ง ยกเว้นตัณหา กิเลสทั้งหมด กุศลธรรมและอัพยากฟตธรรมในภูมิสาม จัดเป็นทุกขสัจ ตัณหา กิเลสทั้งหลายรวมทั้งอกุศลธรรมทั้งหมด จัดเป็นสมุทัย สภาวะที่กำจัดอกุศลธรรมเหล่านี้ได้ จัดเป็นนิโรธสัจ มรรคจัดเป็นมรรคสัจ

    อีกนัยหนึ่ง ยกเว้นตัณหา กิเลสทั้งหมด และอกุศลธรรมทั้งหมด (ที่ประกอบกับตัณหา) อกุศลธรรมเหล่าอื่นของภูมิสาม และอัพยากฟตธรรมของภูมิสาม จัดเป็นสมุทัยสัจ สภาวะที่กำจัดธรรมทั้งหลายเหล่านี้ได้จัดเป็นนิโรธสัจ มรรคจัดเป็นมรรคสัจ

    การปรารถนาสิ่งที่น่ายินดี ชื่อว่า ตัณหา สมุทัยหลายถึง "ประกอบด้วยตัณหา"และ "ประกอบด้วยอนุสัย" กิเลสเหล่าอื่นอีกเป็นสมุทัย ในความหมายของการต้องกำจัดและการปรากฎของภพ

    อกุศลธรรมทั้งหมด เป็นสมุทัย เพราะความหมาย่า ทำให้เกิดมี กุศลแห่งภูมิสามเป็นสมุทัย ในทีนี้ ตัณหาและกิเลสเหล่าอื่น จัดเป็นสมุทัย

    กุศลธรรมของภูมิสามจัดเป็นทุกขสัจ หรือสมุทัยสัจ เพราะเหตุแห่งลักษณะของความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ การประกอบเข้าไว้ ความจำกัด จัดเป็นทุกขสัจ เพราะเป็นลักษณะของการสะสม เหตุ ปัจจัย อุปาทาน และการรวมกัน ทุกขสมุทัยจึงสำเร็จ

    พึงทราบลักษณะของการแจกแจงดังกล่าวมานี้

    [๑๐๑] โดยความเหมือนกัน
    (ถาม) โดยความเหมือนกันอย่างไร?
    (ตอบ) อริยสัจสี่เหล่านี้ เป็นอย่างเดียวกัน โดยวิธีการ ๔ ประการ คือ
    โดยอรรถว่าสัจจะ (ความจริงแท้) โดยอรรถว่าตถตา (ความเป็นอย่างนั้นเอง) โดยอรรถว่าธัมมตา (เป็นไปตามธรรมชาติของเขาเอง) และโดยอรรถว่า สุญญตา (ความว่าง) ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยความเหมือนกัน ดังนี้
    [๑๐๒] โดยความต่างกัน
    (ถาม) โดยความต่างกันอย่างไร?
    (ตอบ) โดยความต่างกันมี ๒ สัจจะ คือ โลกียสัจจะและโลกุตตรสัจจะ
    โลกียสัจจะเป็นอาสวะ เป็นสังโยชน์ เป็นคันถะ (เครื่องรึงรัด) เป็นโอฆะ (ห้วงน้ำ) เป็นโยคะ เป็นนิวรณ์ เป็ปรามัฏฐ์ เป็นอุปาทาน ระคนด้วยกิเลส โลกียสัจจึงเรียกว่าทุกข์และสมุทัย

    โลกุตตรสัจนั้นเป็นสภาวธรรมที่ปราศจากกิเลสสาสวะ ปราศจากสังโยชน์ ปราศจากคันถะ (เครื่องรึงรัด) ปราศจากโอฆะ (ห้วงน้ำ) ปราศจากโยคะ ปราศจากนิวรณ์ ปราศจากปรามัฏฐ์ ปราศจากอุปาทาน ไม่ระคนด้วยกิเลส โลกุตตรสัจเป็นนิโรธและมรรค

    [๑๐๓] สัจจะ ๓ เป็นสังขตธรรม นิโรธสัจเป็นอสังขตธรรม
    สัจจะ ๓ เป็นสภาวะธรรมที่ปราศจากรูป สมุทัยสสัจเป็นรูปและเป็นนาม
    สมุมัยสัจเป็นอกุศล มรรคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากตธรรม
    ทุกขสัจเป็นกุศล อกุศล อัพยากตธรรม
    ทุกขสัจพึงกำหนดรู้ สมุทัยสัจพึงละ นิโรธสัจพึงบรรลุ มรรคสัจพึงปฏิบัติ
    พึงทราบความต่างกันดังกล่าวนี้
    [๑๐๔] โดยความเป็นธรรมหมวดหนึ่งและต่อๆ ไป
    (ถาม) โดยความเป็นหมวดธรรมอย่างไร?
    (ตอบ) อริยสัจเหล่านั้น มีอย่างละชนิดเดียว คือ กายซึ่งมีวิญญาณครองเป็นทุกข์ มานะคือสมุทัย การกำจัดมานะเป็นนิโรธ กายานุปัสสนาจัดเป็นมรรคสัจ
    อริยสัจหมวด ๒ นามและรูปเป็นทุกข์ อวิชชาและตัณหาเป็นสมุทัย การกำจัดอวิชชาและตัณหาเหล่านี้ได้เป็นนิโรธ สมถะและิวิปัสสนาเป็นมรรคสัจ

    อริยสัจหมวด ๓ ทุกข์ในภูมิ ๓ เป็นทุกขสัจ อกุศลมูล ๓ เป็นสมุทัย การกำจัดอกุศลมูลเหล่านี้ได้เป็นนิโรธ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค

    อริยสัจหมวด ๔ คือ อาหาร ๔ เป็นทุกข์ วิปัลลาสวัตถุ ๔ เป็นสมุทัย การละวิปัลลาสเป็นนิโรธ สติปัฏฐานสี่เป็นมรรค

    .......
    อาหาร ๔
    อาหารคือสิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกาย และหรือจิตใจมี ๔ ได้แก่
    ๑.กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกิน ดูด ซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อกำหนดรู้กวฬิการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากามคุณ ๕ ได้ด้วย

    ๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ได้แก่การบรรจบแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา (และสัญญา สังขาร) เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารไ้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาได้ด้วย

    ๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ความจงใจ เป็นปัจจัยแห่งการทำ การพูด การคิด ซึ่งเรียกว่า กรรม เป็นตัวชักนำมาซึ่งภพ คือให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา ๓ ได้ด้วย

    ๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ได้แก่วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดนามรูปได้ด้วย
    วิปัลลาสวัตถุ ๔ ได้แก่ การผิดด้วยอาหาร ๓ ในวัตถุ ๔
    ผิดด้วยอาการ ๓ คือ สัญญาวิปัลลาส จำผิด จิตวิปัลลาส คิดผิด ทิฏฐิวิปัลลาส มีความเห็นผิด

    ผิดในวัตถุ ๔ คือผิดในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ผิดในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นสุข ผิดในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา ผิดในสิ่งที่ไม่งามว่างาม

    อริยสัจหมวด ๕ คือ คติ ๕ เป็นทุกข์ นิวรณ์ ๕ เป็นสมุทัย การกำจัดนิวรณ์ทั้งหลายเป็นนิโรธ อินทรีย์ห้า เป็นมรรค

    คติ ๕ ทางดำเนินชีวิต ๕ ทางคือ นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์และเทวดา

    อินทรีย์ ๕ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
    ...........

    อริยสัจหมวด ๖ คือ ผัสสะ ๖ เป็นทุกข์ ตัณหา ๕ เป็นสมุทัย การกำจัดตัณหาเหล่านี้ได้เป็นนิโรธ ธาตุที่พึงสลัดออกจากทุกข์ ๖ เป็นมรรค ๖ เป็นมรรค
    ...............
    ธาตุที่พึงสลัดออก (นิสสรณะ ๖) ได้แก่
    ๑. สลัดออกจากพยาบาทด้วยเมตตาเจดโตวิมุตติ
    ๒. สลัดออกจากความคิดเบียดเบียนด้วยกรุณาเจโตวิมุตติ
    ๓. สลัดออกจากความไม่ยินดี (อรตี) ด้วยมุทิตาเจโตวิมุตติ
    ๔. สลัดออกจากราคะด้วยอุเบากขาเจโตวิมุตติ (ฌานที่ ๔)
    ๕. สลัดออกจากสรรพนิมิต ด้วยอนิมิตเจโตวิมุตติ
    ๖. สลัดออกจากลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงด้วยการถอนอัสมิมานะได้สิ้นเชิง (อรหัตมรรค)

    ....................

    อริยสัจหมวด ๗ คือ ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ (วิญญาณฐิติ) เป็นทุกข์ อนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ในภายใน ๗ เป็นสมุทัย การกำจัดอนุสัยเหล่านี้ได้เป็นนิโรธ โพชฌงค์ ๗ เป็นมรรค
    ....................

    ที่ตั้งวิญญาณ ๗ วิญญาณฐิติ ๗ ได้แก่
    ๑. สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นมนุษย์ฯ
    ๒. สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพรหมในปฐมฌานภูมิ
    ๓. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่นอาภัสสราพรหม
    ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น สุภกินหพรหม
    ๕. สัตว์ชั้นอากาสานัญจายตนะ
    ๖. สัตว์ชั้นวิญญาณัญจายตนะ
    ๗. สัตว์ชั้นอากิญจัญญายตนะ
    ..........................

    อริยสัจหมวด ๘ คือโลกธรรม ๘ เป็นทุกข์ มิจฉัตตะ (ภาวะที่เป็นผิด) ๘ เป็นสมุทัย การกำจัดมิจฉัตตะ ๘ นี้ได้เป็นนิโรธ มรรคมีองค์ ๘ เป็นมรรค
    ...........................

    โลกธรรม ๘ ได้แก่ ลาภเสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
    ..........................

    อริยสัจหมวด ๙ คือสัตตาวาส ๙ เป็นทุกข์ รากเหง้าของตัณหา ๙ เป็นสมุทัย การกำจัดรากเหง้าของตัณหาเหล่านี้ได้เป็นนิโรธ ธรรมทั้งหลายอันมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ ประการ เป็นมรรค
    ...........................

    สัตตาวาส ๙ ได้แก่สัตว์ในวิญญาณฐิติ ๗ เพิ่มด้วย ๘. สัตว์บางพวกไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เช่นอสัญญ๊พรหม ๙. เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม)

    รากเหง้าของตัณหา ๙ ได้แก่ ตัณหาทำให้เกิดการแสวงหา การแสวงหาทำให้เกิดลาภ ลาภทำให้เกิดการคิดใคร่ครวญ การคิดใคร่ครวญทำให้เกิดความพอใจอยากได้ (ฉันทราคะ) ความพอใจอยากได้ทำให้เกิดความยึดถือ ความยึดถือทำให้เกิดความหวงแหน ความหวงแหนทำให้เกิดความตระหนี่ ความตระหนี่ทำให้เกิดการรักษา การรักษาทำให้เกิดอกุศลธรรมหลายประการ คือ การจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การเกี่ยงแย้ง การวิวาท การพูดขึ้นมึงขึ้นกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ (อ.วิ ข้อ ๑๐๒๓)

    ธรรมทั้งหลายมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ คือ
    ๑. เมื่อมนสิการไตรลักษณ์และขันธ์ห้าแล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์
    ๒. เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ
    ๓. เมื่อเกิดปีติแล้ว กายย่อมสงบ
    ๔. เมื่อกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
    ๕. เมื่อมีความสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่น
    ๖. เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ๗. เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วย่อมเบื่อหน่าย
    ๘. เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายความกำหนดั
    ๙. เมื่อคลายความกำหนัดแล้ว จิตย่อมหลุดพ้น
    (ขุททกนิกาย ญาณกถา มหาวรรค)
    .....................
    อริยสัจหมวด ๑๐ คือ สังขารทั้งหลายในทิศทั้ง ๑๐ (บูรพรทิศ ฯลฯ) เป็นทุกข์ สังโยชน์ ๑๐ เป็นสมุทัย การกำจัดสังโยชน์เหล่านี้ได้เป็นนิโรธ สัญญา ๑๐ เป็นมรรค
    ......................
    สัญญา ๑๐ ได้แก่
    ๑. อสุภสัญญา จิตย่อมหวลกลับจากการร่วมเมถุนธรรม
    ๒. มรณสัญญา จิตย่อมหวลกลับจากการรักชีวิต
    ๓. อาหารปฏิกูลสัญญา จิตย่อมหัวกลับจากตัณหาในรส
    ๔. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา คือละตัณหาและทิฏฐิ และอุปาทานในโลก อันเป็นที่ตั้งมั่นถือมั่นและเป็นอนุสัยแห่งจิต จิตย่อมหวลกลับจากความวิจิตแห่งโลก
    ๕. อนิจจสัญญา (พิจารณาขันธ์ห้าเป็นของไม่เที่ยง) จิตย่อมหวลกลับจากการยื่นไปรับลาภ สักการะ และสรรเสริญ
    ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา จิตสำคัญในภัยเหมือนเพชฌฆาตกำลังเงื้อดาบจะฟันคออยู่
    ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา จิตย่อมก้าวล่วงกิเลสหลุดพ้นอย่างดี
    ๘. ปหานสัญญา ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไปซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้าที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๙. วิราคสัญญา พิจารณาธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิ เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ดับไปซึ่งกิเลสและกองทุกข์
    ๑๐. นิโรธสัญญา พิจารณาธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง ที่ดับโดยไม่เหลือซึ่งกิเลสตัณหาและกองทุกข์

    ..........................
    พึงทราบโดยความเป็นหมวด ดังนี้
    [๑๐๕] โดยสงเคราะห์
    (ถาม) โดยสงเคราะห์อย่างไร?
    (ตอบ) สงเคราะห์มี ๓ ชนิด คือ ขันธะสงเคราะห์ อายตนะสงเคราะห์ และธาตุสงเคราะห์
    ในที่นี้
    ทุกขสัจสงเคราะห์ในขันธ์ ๕ สมุทัยสัจและมรรคสัจสงเคราาะห์ในสังขารขันธ์ นิโรธสัจไม่สงเคราะห์ในขันธ์ใดๆ

    ทุกขสัจสงเคราะหฺ์ในอายตนะ ๑๒ สัจจะ ๓ สงเคราะห์ในธรรมายตนะ

    ทุกขสัจสงเคราะห์ในธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓ สงเคราะห์ในธรรมธาตุ

    ควรทราบโดยสงเคราะห์ดังนี้

    พึงทราบอริยสัจญาณโดยอุบายทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า อุบายแห่งการตรัสรู้อริยสัจ

    (จบอริยสัจสี่)

     

แชร์หน้านี้

Loading...