(๑๑) วิมุตติมรรค:ทางแห่งความหลุดพ้น(ภาคปัญญา)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 17 พฤศจิกายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ขอนอบน้อมแด่พระอรหันต์ อุปติสสะ ผู้รจรนา หนังสือวิมุตติมรรค


    [๙๐] อีกประการหนึ่ง บุคคลเดินตามอริยมรรค เขาย่อมเห็นแต่ในนิพพาน นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
    เขาตื่นอยู่ในนิพพานเท่านั้น นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
    เธอละวจีทุจริต นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
    เธองดเว้นจากการกระทำชั่วทางกาย นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
    เธอละความเพียรที่ผิด นี้เีรียกว่า สัมมาวายามะ
    เธอนึกถึงนิพพานเป็นอารมณ์เสมอ นี้เีรียกว่า สัมมาสติ
    เธอเพ่งนิพพานเป็นอารมณ์ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
    [๙๑] ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ วิมังสาอิทธิบาท และธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ นับเข้าในสัมมาทิฏฐิ
    วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยอิทธิบาท ฉันทอิทธิบาท วิริยสัมโพชฌงค์ สัมมัปปธาน ๔ นับเข้าในสัมมาวายามะ

    สตินทรีย์ สติพละ สติสัมโพชฌงค์ สติปัฏฐาน ๔ นับเข้าในสัมมาสติ

    สมาธินทรีย์ สมาธิพละ จิตตอิทธิบาท สัทธินทรีย์ สัทธาพละ สมาธิสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพธฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นับเข้าในสัมมาสมาธิ

    โพธิปักจิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้ นับเข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ ดังนั้นพึงทราบทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจดังกล่าวนี้
    [๙๒]
    (ถาม) เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอริยสัจ ๔ ไม่ตรัสสอนอริยสัจ ๓ หรืออริยสัจ ๕
    (ตอบ) (ถ้าตรัสสอนอริยสัจ ๓ หรืออริยสัจ ๔) ก็อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ อริยสัจเหล่านี้เป็นผลและเป็นเหตุระดับโลกียะ และระดับโลกุตตระ เพราะฉะนั้น อริยสัจจึงมี ๔
    (ถาม) อะไรเป็นผล อะไรเป็นเหตุของโลกียสัจจะ
    (ตอบ) ทุกข์และสมุทัย เป็นผลเและเป็นเหตุของโลกียสัจจะ
    นิโรธเป็นผลของโลกุตตระสัจะ มรรคเป็นเหตุของโลกุตตระสัจจะ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสอนอริยสัจเป็น ๔ มิใช่ ๓ หรือ๕

    อีกประการหนึ่ง เพราะเหตุแห่งกิจ ๔ ดังนี้ คือ ปริญเญยยะ (ควรรู้) ปหาตัพพะ (ควรละ) สัจฉกตัพพะ (ควรทำให้แจ้ง) ภาเวตัพพะ (ควรเจริญ) อริสัจจึงมี ๔

    [๙๓] ลักษณะของอริยสัจทั้งหลายเหล่านี้ พึงทราบโดยอุบาย ๑๑ ประการคือ โดยความหมาย โดยลักษณะ โดยลำดับ โดยย่อ โดยอุปมา โดยวิภาค (จำแนกอรรถแห่งอริยสัจ) โดยการแจกแจง โดยความเหมือนกัน โดยความต่างกัน โดยอย่างต่างๆ โดยเป็นธรรม หมวดหนึ่ง และต่อๆ ไปและโดยสงเคราห์

    [๙๔] โดยความหมายของคำ
    (ถาม) โดยความหมายของคำเป็นอย่างไร?
    (ตอบ) อริสัจเป็นคำสอนของพระอริยเจ้า เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าอริยสัจ
    เพราะการทำให้แจ้งอริยสัจสี่เหล่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าทำอริสัจสี่ให้สมบูรณ์
    คำว่า สัจจะ หมายความว่า ความเป็นอย่างนั้น (ตถตา) ความไม่เป็นอย่างอื่น ความเป็นอย่างเดียว ได้ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธคือความดับที่เป็นผล มรรคคือทางอันสูงที่สุด พึงทราบโดยความหมายของคำดังกล่าวนี้

    [๙๕] โดยลักษณะ
    (ถาม) โดยลักษณะเป็นอย่างไร?
    (ตอบ) ทุกข์มีลักษณะของความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    สมุทัยมีลักษณะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    นิโรธมีลักษณะของการไม่เกิดอีก
    มรรคมีลักษณะเป็นทางแห่งความสำเร็จ
    อีกนัยหนึ่ง ทุกข์มีลักษณะเป็นความเสียใจ ความคับแค้นใจ การประกอบไว้ ความจำกัด
    สมุทัยมีลักษณะเป็นการสะสม เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สังโยชน์เป็นอุปาทาน
    นิโรธมีลักษณะเป็นเนกขัมมะ (ออกจากกาม) วิเวก อสังขตะ และอัพพยากตธรรม
    มรรคมีลักษณะเป็นยาน การถึง การเห็นและการพึ่งพา
    พึงทราบโดยลักษณะดังกล่าวนี้
    [๙๖] โดยลำดับ
    (ถาม) โดยลำดับอย่างไร?
    (ตอบ) ทุกขสัจที่ตรัสสอนเป็นข้อแรก เพราะทุกข์มองเห็นได้ง่าย และเพราะในโลกนี้ เมื่อพูดถึงทุกข์แล้ว ก็สามารถที่จะเข้าใจได้โดยง่ายดาย สมุทัยสัจเป็นคำสอนถัดไป การดับสมุทัยก็คือการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง และมรรคเป็นคำสอนข้อสุดท้าย วิธีนี้มีลักษณะเหมือนกับแพทย์ผู้ฉลาดผู้หนึ่ง ตรวจหาตำแหน่งที่ปรากฎอาการของโรคเสียก่อน ต่อมาจึงค้นหาสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิด โรค เพื่อดับโรค แพทย์จึงสั่งยาให้ตามลักษณะของโรค ในที่นี้ พึงทราบว่า โรคเปรียบเหมือนทุกข์ เหตุและปัจจัย (ของโรค) เป็นสมุทัย การดับสิ้นไปของโรค เป็นนิโรธ และการให้ยารักษาโรคเป็นมรรค

    พึงทราบอริยสัจโดยลำดับ ดังกล่าวนี้
    [๙๗] อริยสัจสี่โดยย่อ
    (ถาม) โดยย่อเป็นอย่างไร?
    (ตอบ) ชาติ (การปรากฎของขันธ์ในภพนั้นๆ) เป็นทุกข์ การเกิดเป็นสมุทัย การดับไปแห่งทุกข์เป็นนิโรธ ทางนำไปสู่การดับทุกข์เป็นมรรค

    ที่ใดมีกิเลส ที่นั้นมีทุกข์ กิเลสเป็นสมุทัย การกำจัดกิเลสเสียได้เป็นนิโรธ วิธีการกำจัดกิเลสเป็นมรรค

    ทุกขสัจกำจัดสักกายทิฏฐิ สมุทัยสัจกำจัดอุจเฉททิฏฐิ ทุกขนิโรธสัจกำจัดสัสสตทิกฐิ มรรคสัจกำจัดมิจฉาทิฏฐิ ทั้งหมด

    พึงทราบอริยสัจโดยย่อดังนี้
    [๙๘] อุปมาด้วยต้นไม้ที่เป็นพิษ อุปมาด้วยเรือ อุปมาด้วยภาระ (ของหนัก)
    (ถาม) โดยอุปมาอย่างไร?
    (ตอบ) ทุกข์พึงเห็นว่าเป็นเหมือนต้นไม้มีพิษ สมุทัยเหมือนน้ำท่วมอยู่ฝั่งนี้ นิโรธเหมือนฝั่งโน้นที่เป็นแดนเกษมจากความทุกข์และความกล้ว และมรรคเหมือนเรือที่แล่นไปดี

    บุคคลพึงเห็นทุกข์เหมือนของหนักที่นำไป สมุทัยเหมือนการถือของหนักนั้น นิโรธเหมือนการวางของหนักลง และมรรคเหมือนวิธีวางของหนัก

    พึงทราบอริยสัจโดยอุปมาดังนี้
    [๙๙] โดยวิภาค
    (ถาม) โดยวิภาคอย่างไร?
    (ตอบ) สัจจะมี ๔ คือ สัจจวาจา สัจจวิทยา ปรมัตถสัจจะ และอริยสัจ

    ก็แล บุคคลพูดคำจริง ไม่พูดคำเท็จ นี้เรียกว่า สัจจวาจา
    การค้นคว้าวิจัยว่่าสิ่งใดไม่จริง ไม่แท้ นี้เรียกว่า สัจจวิทยา
    นิพพานเป็นปรมัตถสัจจะ
    สัจจะที่ปฏิบัติโดยพระอริยเจ้า ชื่อว่า อริยสัจ อริยสัจเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

    พึงทราบอริยสัจโดยวิภาค ดังนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...