๑๐๑ ปี หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ กับ ๑๑๐ เรื่องราวคำสอนและอภิญญาของหลวงปู่

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย leo_tn, 12 สิงหาคม 2007.

  1. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +13,365
    ๑๐๙. ธรรม ทำให้ครบ

    แต่ก่อนเคยแต่ได้ยินว่าธรรมะทุกข้อล้วนพาคนไปให้ถึงนิพพานได้ ซึ่งฟังแล้วก็นึกคล้อยตาม แต่ก็อดจะเก็บความลังเลสงสัยในบางส่วนไว้ไม่ได้

    กระทั่งหลวงพ่อดู่พูดถึง "เมตตาพาตกเหว" ประกอบกับคำสอนของท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ขยายความในเรื่องทำนองเดียวกันนี้ จึงค่อยเกิดความกระจ่างและตระหนักมากขึ้นถึงการปฏิบัติธรรมที่ต้องมีปัญญากำกับในทุกๆเรื่องทีเดียว

    ดังที่หลวงพ่อดู่ยกมากล่าวเตือนข้างต้น ซึ่งเมตตาก็เป็นธรรมข้อหนึ่งในหมวดพรหมวิหาร ๔ ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก เพราะท่านสอนว่า การวางท่าทีต่อคนปกติทั่วๆไป คือ วางจิตไว้ด้วยเมตตา ส่วนกับคนที่แย่กว่าเรา ก็ต้องกรุณา ช่วยสงเคราะห์อะไรได้ก็พร้อมจะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ส่วนกับคนที่ดีกว่าหรือประสบความสำเร็จในทางที่ชอบที่ควร เราก็พลอยยินดีกับเขาไปด้วย จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน ไม่คับแคบ

    แต่ก็มีบางกรณีที่ควรวางอุเบกขา กล่าวคืออย่าเพิ่งแสดงความเมตตา กรุณา หรือมุทิตา ออกไป โดยไม่ได้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบ

    ตัวอย่างเช่น การนำเงินไปช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเมตตาและด้วยกรุณา โดยขาดการประมาณฐานะกำลังหรือความพอดี ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือผู้อื่นไม่สำเร็จแล้วก็ยังพาครอบครัวตัวเองเดือดร้อนไปด้วย นี้เรียกว่าเมตตาและกรุณาแต่ขาดอุเบกขา

    อีกตัวอย่างหนึ่งคือการนึกยินดีหรือมุทิตากับความสำเร็จของผู้อื่นอันเกิดจากความไม่ถูกต้อง เช่น จากการเอารัดเอาเปรียบหรือทุศีล อย่างนี้ไม่นึกยินดีไปกับเขาด้วย

    นี่ถ้าผู้ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เอาแต่ปฏิบัติธรรมะข้อเมตตาและกรุณา สังคมและบ้านเมืองคงเต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์ เพราะไม่ยอมอุเบกขา เอาแต่ช่วยเหลือเพื่อนฝูงคนรู้จัก โดยไม่ปล่อยให้ดำเนินไปตามกฎระเบียบที่วางไว้บ้างเลย

    ผู้ที่ไม่รอบคอบเน้นปฏิบัติต่อข้อใดข้อหนึ่งแล้วละเลยธรรมเครื่องประกอบข้ออื่นๆ ก็อาจทำให้ปฏิบัติธรรมแล้วล้มเหลวได้ นั่นไม่ใช่ว่าธรรมะอันเป็นเครื่องมือไม่ดี หากแต่เป็นความบกพร่องของผู้ใช้เครื่องมือต่างหาก

    ยังมีตัวอย่างของผู้ที่ทำความดีโดยไม่สนใจสภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่น สวดมนต์เสียงดังรบกวนคนอื่น กางกลดใจกลางเมืองเป็นเหตุให้ผู้ไม่ศรัทธาวิพากษ์วิจารณ์ หรือหลับตาทำสมาธิโดยไม่พิจารณาเรื่องกาลเรื่องสถานที่ เหล่านี้แม้ทำด้วยความมีสติ แต่ก็กล่าวได้ว่าขาดสัมปชัญญะ (อีกชื่อหนึ่งของปัญญา) ดังนั้น สติและสัมปชัญญะ จึงต้องไปคู่กัน

    แม้ในการปฏิบัติสมาธิภาวนาก็เช่นกัน สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์แปด หรือที่ย่นย่อมาเป็น ศีล สมาธิ และปัญญานั้น ในคราวที่นำมาปฏิบัติจริงๆ ท่านก็ให้ปฏิบัติธรรมข้ออื่นๆ เพื่อให้เกิดความครบถ้วนเพียงพอ ไม่ผิดพลาด กล่าวคือ จากสัมมาสมาธิ ซึ่งได้แก่ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) และความตั่งมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) นั้น ท่านก็ให้เพิ่มในเรื่องศรัทธาและปัญญาเข้าไปด้วย จากสัมมาสมาธิ จึงขยายออกมาในภาคปฏิบัติเป็นพละ ๕ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ซึ่งสติจะเป็นองค์ธรรมที่สำคัญที่คอยตรวจดูให้ศรัทธาและปัญญาสมดุลกัน รวมทั้งตรวจตราให้วิริยะและสมาธิมีความสมดุลเช่นเดียวกัน

    ผู้ที่เอาแต่ใช้ปัญญาครุ่นคิด หากขาดศรัทธา ก็ไปไม่รอดเพราะหนทางดูจะแห้งแล้ง และชวนให้อ่อนล้า ตรงกันข้าม ผู้ที่เอาแต่ศรัทธานำ โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองทางปัญญาก็อาจตกไปสู่ความงมงาย หรือไปผิดทิศผิดทางโดยไม่รู้ตัว

    ส่วนผู้ที่มีความเพียรในการปฏิบัติ หรือเพียรในการหยิบยกธรรมขึ้นมาพิจารณาโดยขาดปีติ ขาดความสงบ หรือก็คือขาดสมาธิ จะพิจารณาอะไรก้ไม่ชัดเจน อีกทั้งอ่อนล้า เหมือนผู้ไม่ได้อาหาร ไม่ได้พักผ่อนที่เพียงพอ แต่ถ้าสมาธิมากเกิน โดยไม่มีวิริยะมาช่วยให้เกิดการทำงานหรือการเฝ้าระวังของจิต ก็มีแนวโน้มจะเป็นจิตที่ดำดิ่งหรือตกภวังค์ไม่รู้เนื้อรู้ตัวได้เช่นเดียวกัน

    ดังนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ หลวงพ่อท่านสอนให้ปฏิบัติธรรมอย่างมีปัญญา โดยนำเครื่องมือที่พระพุทธเจ้าประทานมาให้นั้นอย่างครบถ้วน ครบหมวดครบหมู่ จึงจะสามารถได้รับผลสำเร็จจากการปฏิบัติธรรมตามที่ท่านมุ่งหวัง

    "พอ"
    <!-- / message -->
     
  2. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +13,365
    ๑๑๐. พุทธคุณกับการเช็คพระ

    คงไม่มีใครปฏิเสธว่า พระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลกนั้นมีความงามยิ่ง เป็นองค์พระที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกเช่นนั้น

    ครั้งหนึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ ข้าพเจ้าได้หาซื้อ ส.ค.ส.อยู่ในร้านและได้แลเห็นโปสการ์ดภาพพระพุทธชินราชจึงได้หยิบมาดู ขณะที่เพ่งมองภาพอยู่นั้น ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีพลังงานบางอย่างวิ่งออกจากภาพเข้าสู่ตัวข้าพเจ้าจนเกิดปิติขนลุก น้ำตาไหล เป็นความรู้สึกที่ชัดเจนทั้งสองมือที่จับภาพอยู่ เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในชีวิต ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความสงสัยและสนใจใคร่รู้ขึ้นมาทันที ข้าพเจ้าพยายามทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่าเหมือนกับเมื่อครั้งที่หลวงพ่อเคยมอบพระบูชาให้ข้าพเจ้า เป็นเหตุการณ์ขณะที่ท่านยื่นสองมือจับที่องค์พระพุทธรูปและสวดมนต์ให้พร ข้าพเจ้าเองก็หลับตาและยื่นมือแตะที่องค์พระเช่นกัน ในระหว่างนั้น รู้สึกว่ามีพลังงานบางอย่างวิ่งออกจากท่านผ่านองค์พระพุทธรูปเข้าสู่ตัวข้าพเจ้าและรู้สึกสว่างไสวไปหมดทั้ง ๆ ที่ยังหลับตาอยู่

    เมื่อท่านให้พรเสร็จ ท่านมองข้าพเจ้าแล้วว่า แกเป็นดี ข้าพเจ้าเรียนถามท่านว่าหลวงพ่อทราบได้อย่างไร

    ท่านตอบว่า มีปิติออกจากข้า ไหลไปที่แกแล้วกลับมาหาข้า
    หลวงพ่อได้สอนข้าพเจ้าให้หัดจับพระ ซึ่งในหมู่ศิษย์เรียกกันเองว่า เช็คพระ วิธีการคือใช้มือขวาหรือทั้งสองมือแตะที่ภาพพระหรือกำหากเป็นพระเครื่อง หรือจับที่องค์พระหากเป็นพระพุทธรูป

    จากนั้นทำจิตให้นิ่ง และจะรู้สึกสัมผัสได้ถึงพุทธคุณที่ครูบาอาจารย์ท่านได้อธิษฐานไว้

    หลวงพ่อเคยเล่าเรื่องการปลุกเสกพระให้ฟังว่า เรื่องคงกระพันชาตรีนั้นทำง่าย แค่ขนลุกก็เหนียวแล้ว แคล้วคลาดยังดีกว่าเพราะไม่เจ็บตัว แต่ที่ดีที่สุดคือเมตตาเพราะแคล้วคลาดยังมีศัตรู แต่รอดพ้นได้ ส่วนเมตตานั้นมีแต่คนรักไม่มีศัตรู การเสกพระให้มีพุทธคุณทางเมตตาจึงทำได้ยากที่สุด

    มีเรื่องปรากฏในพระธรรมบทว่า ในกรุงราชคฤห์ เด็กคนหนึ่งไปเก็บฟืนกับบิดา โคที่เทียมเกวียนได้หนีเข้าไปในเมือง บิดาจึงตามโคเข้าไป แต่เวลาจะออกจากเมืองนั้นประตูปิดเสียแล้ว จึงต้องทิ้งบุตรน้อยคนเดียวไว้นอกเมืองนั้นเอง ถึงเวลากลางคืนขณะที่เด็กนอนหลับ ได้มีพวกอมนุษย์เข้ามาทำร้ายโดยพากันลากเท้าของเด็กนั้นไปมา เมื่อเด็กตกใจตื่นขึ้นก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วร้องออกมาว่า นะโมพุทธัสสะ (ข้าขอนมัสการพระพุทธเจ้า) พวกอมนุษย์ก็ถอยกลับทันที ไม่กล้าทำร้ายเด็กนั้นอีก ความทราบถึงพระเจ้ากรุงราชคฤห์จึงเสด็จไปเฝ้าทูลเรื่องราวนี้ต่อพระพุทธเจ้า

    พระพุทธองค์ทรงรับสั่งว่า การระลึกถึงพระองค์นั้นยังไม่พอ ต้องระลึกถึงพระธรรม พระสงฆ์ ตั้งสติมั่น ไม่เบียดเบียนใคร และมีจิตเมตตาด้วย พระพุทธพจน์ข้อนี้เองที่ถึอเป็นหลักต่อมาว่าสิ่งที่ป้องกันอันตรายที่ดีที่สุดนั้นคือ เมตตา นั่นเอง

    ข้าพเจ้ารู้สึกว่าการสอนของหลวงพ่อโดยการให้เช็คพระเช่นนี้เป็นอุบายวิธีการฝึกให้ศิษย์ได้เกิด พุทธานุสติ เพราะทุกครั้งที่จับองค์พระ จิตจะมีอารมณ์น้อมไปสู่ความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระพุทธเจ้าเสมอ ทำให้เราระลึกและทำแต่สิ่งที่ดี

    มีลูกศิษย์ของหลวงพ่อที่จับองค์พระและสามารถสัมผัสถึงพุทธคุณ ได้เล่าว่าพระบูชาที่ผ่านการปลุกเสกมาแล้วนั้น หากเด่นในเรื่องคงกระพันชาตรี เมื่อจับดูก็จะมีอาการปิติขนลุกขนพองสยองเกล้า แต่หากเด่นทางเมตตา เมื่อจับดูก็จะมีปิติน้ำตาไหลและบังเกิดความสงบเยือกเย็นถึงจิตถึงใจ

    ทำไมหลวงพ่อจึงสอนเรื่องเช็คพระ ข้าพเจ้ามาใคร่ครวญดูแล้วพบว่านอกจากเพื่อให้เกิดพุทธานุสติแล้ว หลวงพ่อต้องการให้ศิษย์แต่ละคนสามารถเป็นประจักษ์พยานแก่ตนเองได้ ให้เป็นปัจจัตตัง ได้รู้เองเห็นเอง เป็นพยานให้ตนเองได้ จะได้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้นนั่นเอง มิใช่ให้ไปอวดเด่นอวดดี หรืออวดคุณวิเศษในตัว หรือเที่ยวไปเช็คพระให้ผู้อื่น ซึ่งจริง ๆ แล้ว หากผู้อื่นยังทำไม่เป็น ถึงเขาจะบอกว่าเชื่ออย่างไร โดยส่วนลึกเขาก็ยังมีความลังเลสงสัยอยู่นั่นเอง เพราะไม่รู้ไม่เห็นด้วยตนเอง

    ปัจจุบันมีผู้อ้างตนเป็นศิษย์หลวงพ่อดู่และแสดงความสามารถในการเช็คพระ ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่อง พระบูชา หรือแม้กระทั่งพระสงฆ์องค์เจ้า ว่าท่านเหล่านั้นมีคุณธรรมในระดับนั้น ระดับนี้ โดยหวังอามิสลาภผล ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งการหลงเชื่อดังกล่าวอาจนำท่านไปสู่ความเสียหาย ตั้งแต่การเสียทรัพย์หรือหลงออกนอกลู่นอกทางที่พระพุทธเจ้า รวมทั้งที่หลวงพ่อดู่พาดำเนิน กระทั่งการทำบาปกรรมจากการไปปรามาสครูอาจารย์ที่ท่านมีคุณธรรมโดยไม่เจตนา เพราะสิ่งที่หลวงพ่อดู่พร่ำสอนนนั้น จะต้องเป็นไปเพื่อการลดละความโลภ จึงเป็นข้อพึงพิจารณาระมัดระวังไม่ให้ผิดทาง
     
  3. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +13,365
    [​IMG]
    ข้าไม่มีอะไรให้แก
    ธรรมที่สอนไปนั้นแหละ ให้รักษาเท่าชีวิต
    [​IMG]

    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ
     
  4. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +13,365
  5. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    "ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีด ชั่วประเดี๋ยวเดียว เท่าช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ"

    โดนใจจริงๆครับ จะจำไว้ให้ขึ้นใจจนวันตาย
    ขอสาธุการ ในธรรมทาน ของท่านเจ้าของกระทู้ ครับ
    สาาาาา ธุ
    สาาาาา ธุ
    สาาาาา ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     
  6. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,711
    ค่าพลัง:
    +5,720
    อนุโมทนา สาธุ

    เปิดดูไฟล์ 237982
    อนุโมทนาครับแม้เนื้อหาจะดูยาว แต่แบ่งเป็นตอน แต่ละตอนสั้น ๆ แต่ได้ธรรมะจุใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2008
  7. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาสาธุค่ะ.....คำสอนของท่านเยอะมากค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีนะคะ ต้องเข้ามาอ่านบ่อย ๆ ค่ะ ^_^
     
  8. kaenlukson

    kaenlukson เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +2,126
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ

    ทาน ศีล สมาธิ(b-deejai)
     
  9. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    "เวลาเหลือน้อยแล้ว ให้รีบพากันปฏิบัติ "นึกถึงคำสอนนี้ทีไร ทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติและความเมตตาของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ พระผู้จุดประทีปในดวงใจ ลูกขอกราบนมัสการหลวงปู่ด้วยความเคารพ
     
  10. pimlada009

    pimlada009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +153
    โมทนาสาธุที่นำมาเรื่องราวและคำสอนของหลวงปู่ดู่มาเผยแพร่ค่ะ
     
  11. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขออนุโมทนาในความเพียรของเจ้าของกระทู้ ที่นำคำสอนดีของหลวงปู่มาให้เหล่าสมาชิกได้ศึกษาหาความรู้กัน ขออนุโมทนากับเหล่าสมาชิกที่ติดตามอ่านจนจบ และนำหลักธรรมคำสอนของหลวงปู่ไปปฏิบัติเพือก่อให้เกิดความสงบสุขภายในใจของทุกท่านด้วยนะคะ สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  12. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขอโมทนาบุญกุศลผลบุญในธรรมทานนี้ครับ...สาธุ...สาธุ...สาธุ
     
  13. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    บารมี มหาบารมี พิจารณา มหาพิจารณา
     
  14. สุมังคลัง

    สุมังคลัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +73
    ขออนุโมทนา ธรรมะจากหลวงปู่ดู่ ที่ท่านได้แบ่งปันเป็นธรรมทานนี้ด้วยเทอญ สาธุ
     
  15. Starpegasus

    Starpegasus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    252
    ค่าพลัง:
    +826
    กระทู้นี้เป็นกระทู้สุดยอดกระทู้หนึ่งเท่าที่อ่านมาครับ
    ทั้งธรรมะที่นำมาเผยแพร่ ทั้งความเพียรของผู้ตั้งกระทู้

    คุณสุดยอดมากจริงๆ

    ขอบคุณมากๆ และอนุโมทนา
     
  16. Eakachai

    Eakachai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +896
    สุดยอดคำสอนหลวงปู่ดู่ อ่านแล้วซาบซึ้งมากๆ
    อนุโมทนาสาธุครับ [b-wai]
     
  17. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +13,365
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  18. sriprae somsri

    sriprae somsri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +853
    To Khun Apichart,

    I tranfer money baht 2061 (D003) for Luang Pu Tuad's book producing. Kindly acknowedge receipt. The slip transferred is being sent by mail. Hope it will reach you within two days.

    Thank you and best regards,

    Sriprae Somsri
    ICAO
    252/1, Vibhavadee Rangsit Road,
    Ladyao, Chatuchak
    Bangkok 10900
     
  19. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +13,365
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  20. Follower007

    Follower007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +303
    นานๆครั้งถึงจะได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่ที่วัดสะแก และทุกครั้งที่ไป ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ(อย่างน่าใจหาย) คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจก็คือ พวกเรามักพูดกันเสมอๆว่า “รักและเคารพหลวงปู่" แต่ทำไมกลับไม่เชื่อหลวงปู่ กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามกับที่ท่านได้สอนพวกเราเสมอมา กระทู้ นี้มีวัตถุประสงค์ก็เพื่ออยากจะให้ศิษย์พี่ๆน้องๆรุ่นหลังได้ทราบถึงสิ่งที่ เป็นคำสั่งคำสอนของหลวงปู่ดู่ ที่พวกเรา (ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่) ควรเห็นความสำคัญและตั้งใจที่จะไม่ประพฤติล่วงคำสั่งคำสอนของท่าน ที่ขอยกมา ณ ที่นี้ คือบางส่วนของคำสั่งหรือดำริของหลวงปู่ที่พวกเราควรตระหนัก ได้แก่ ๑. หลวงปู่สั่งห้ามเรี่ยไรเงิน (ทุกวันนี้ยังมีประกาศห้ามเรี่ยไรเงิน – ลายมือของหลวงลุงยวง ติดไว้ที่เสาตรงข้ามกุฏิของหลวงปู่) แต่ก็ยังมีคนไม่น้อยที่ชอบมาเรี่ยไรที่หน้ากุฏิหลวงปู่อีก เหมือนจะท้าทายที่หน้าหุ้นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่ ว่าบัดนี้หลวงปู่ละสังขารไปแล้ว ไม่มีใครมาห้ามฉันได้หรอก ๒. หลวงปู่สั่งไม่ให้จับกลุ่มคุยในขณะที่กำลังภาวนากัน ก็ยังพากันจับกลุ่มคุยส่งเสียงรบกวน จะนั่งสมาธิก็มีเสียงคุยรบกวน ออกไปเดินจงกรมยามค่ำมืดก็ยังมีเสียงจับกลุ่มคุยกันอีก หากหาความสงบในวัดไม่ได้แล้ว จะไปหาความสงบ ณ ที่ใด ที่ว่าภาวนาที่ใดก็ได้นั่น หมายถึงผู้ที่ทำได้ทำถึงมาก่อนหน้านี้แล้ว จากนั้นจะไปภาวนาที่ไหน ๆ ก็ได้ แต่ผู้กำลังฝึกหัดตน สภาพแวดล้อมย่อมมีผลอย่างมาก ไม่อย่างนั้นหลวงปู่จะกล่าวหรือว่าภาวนาที่วัดกับที่บ้านนั้นย่อมไม่เหมือน กัน นี้ยังไม่นับรวมที่คุยข้ามหัวคนนั่งภาวนาก็ยังมีให้เห็น หากหลวงปู่ยังมีชีวิต ท่านจะสลดสังเวชใจเพียงใด ๓. หลวงปู่บอกว่าท่านไม่เคยวางและจะไม่วางหลักปฏิบัติใหม่ ที่เกินเลยแบบที่พระพุทธเจ้าวางไว้เด็ดขาด ก็ยังพากันอุปโลกน์สร้างวิชาพิสดารอะไรขึ้นมาอีก ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าหลวงปู่ต้องการจะเก่งเกินพระพุทธเจ้า รู้เทคนิควิธีที่ดีกว่าพระพุทธเจ้าสอนเสียอีก ๔. หลวงปู่สอนให้จริงจังและสม่ำเสมอต่อการปฏิบัติ ก็ยังพากันสอนให้ปฏิบัติแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ทั้ง ๆ ที่หลวงปู่ครูบาอาจารย์ปฏิบัติแทบล้มแทบตายกว่าจะได้ธรรม ทำเหมือนว่าจะมีบารมีธรรมที่สั่งสมอบรมมามากกว่าหลวงปู่และครูบาอาจารย์ เหล่านั้น คำว่าสบาย ๆ นั้นหมายความถึงการวางใจมิให้เกิดความเคร่งเครียดหรือเต็มไปด้วยการคาดหวัง ผลว่าเมื่อไหร่จิตจะสงบหรือเกิดปัญญาสักที พูดอีกอย่างว่า “วางใจสบาย ๆ” หมายความว่าให้จิตมีฉันทะหรือยินดีต่อการปฏิบัติ เห็นคุณค่าของการปฏิบัติซึ่งเป็นส่วนของเหตุ (มิใช่ผล) เหมือนเราเป็นช่างสร้างบ้าน ก็ให้ทำการสร้างบ้านอย่างมีความสุขและเห็นคุณค่าของการปฏิบัติในทุกขั้นตอน มิใช่ทำไปหน่อยหนึ่งแล้วก็อู้งาน มัวแต่นั่งบ่นนั่งกังวลว่าเมื่อไหร่บ้านจะเสร็จสักที ๕. หลวงปู่สอนให้ทำตามแบบพระพุทธเจ้า (คือ ศีล สมาธิ ปัญญา) เราก็ยังพากันหาทางลัดกว่านี้ เช่น ละศีลออกบ้าง ละสมาธิออกบ้าง มุ่งจับยอดคือตัวปัญญา (หรือที่นิยมเรียกว่าวิปัสสนา) เสียเลยดีกว่า ผลก็เลยเป็นเหมือนข้าวโพดปิ้งที่ไม่มีไฟ ปิ้งเท่าไร ๆ ก็ไม่สุกไม่หอม เพราะไม่มีศีลและสมาธิ องค์ประกอบจึงไม่ครบสมบูรณ์ หากบอกว่าอยู่เฉย ๆ ก็เป็นศีล วางใจเฉย ๆ ก็เป็นสมาธิ หากสิ่งเหล่านี้จะมีมาได้โดยปราศจากความเพียรชอบ ปราศจากการฝึกการฝืน ปราศจากการอบรมดัดจิตใจให้ตรง เป็นของมีได้ตามธรรมชาติหรือมีมาได้โดยง่าย ๆ พระองค์ก็คงไม่ต้องเหนื่อยสอนและวางหลักวิธีปฏิบัติมากมายเพียงนี้

    จึง ว่าหากบอกว่ารักและเคารพหลวงปู่ ก็ขอได้โปรดเชื่อท่านและปฏิบัติตามที่ท่านอบรมสั่งสอน อย่าได้ปฏิบัติอย่างที่เรียกว่า "ท้าทาย" ท่าน ก็จะได้ชื่อว่ารักเคารพท่านจริง และเป็นการปฏิบัติธรรมโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ เพื่อความยืนยาวของคำสั่งคำสอนของหลวงปู่ และประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวเราเองและผู้มาภายหลังทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ...จึงขอฝากมาให้พวกเราช่วยกันนำเอาบรรยากาศเก่าๆ เมื่อครั้งหลวงปู่ท่านยังดำรงค์ขันธ์อยู่กับพวกเรากลับคืนมาสู่วัดสะแก

    เมื่อ ครั้งพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานได้เพียงไม่กี่วัน ก็มีพระสาวกบวชใหม่ผู้เป็นพาลบางรูปกล่าวทำนองดีใจว่าต่อแต่นี้ไปก็จะไม่มี ใครมาคอยห้ามนั่นห้ามนี่อีกแล้ว พวกเขาจักทำอะไร ๆ ได้ตามชอบใจ จึงเป็นเหตุนำมาซึ่งการสังคายนาเพื่อให้เกิดพระธรรมวินัยที่เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการจดจำและเผยแพร่ โดยให้มีความสมบูรณ์บริบูรณ์เพียงพอต่อการใช้อ้างอิง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือใช้เป็นศาสดาแทนพระองค์ พระมหากัสสปะ ทั้ง ๆ ที่ท่านอยู่แต่ในป่า แต่ เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบด้านลบต่อพระพุทธศาสนา ท่านก็ออกจากป่ามาเป็นผู้นำในการทำการสังคายนาพระไตรปิฎก และในระหว่างแห่งการสังคายนาก็มีประเด็นเรื่องอาบัติเล็กน้อย ที่พระพุทธองค์อนุโลมว่าพระภิกษุสงฆ์สามารถถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเป็นประเด็น เล็กน้อยบางข้อออกได้ อย่าง ไรก็ดี พระภิกษุสงฆ์ (ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์) มีทัศนะไม่เป็นเอกฉันท์ว่าสิกขาบทอะไรบ้างที่จะอยู่ในข่ายที่พระพุทธองค์ ประสงค์ให้อนุโลมว่าเป็นประเด็นเล็กน้อยที่สามารถถอนออกได้ (คือไม่ต้องปฏิบัติตาม)

    ดังนั้น พระมหากัสสปะในฐานะประธานการสังคายนา จึง กล่าวในท่ามกลางสงฆ์ว่า เมื่อไม่มีข้อยุติว่าอะไรคือสิ่งที่เรียกว่าอาบัติเล็กน้อย เช่นนี้แล้ว เหล่าพระภิกษุสงฆ์ก็ไม่ควรประพฤติให้ชนทั้งหลายกล่าวได้ว่า สิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้นนั้นจักอยู่ได้เพียงแค่ชั่วระยะเวลาที่ พระพุทธองค์ยังทรงพระชนมาชีพอยู่เท่านั้น เปรียบเหมือนการยึดถือคำสั่งคำสอนแค่เพียงชั่วระยะกาลแห่งควันไฟเท่านั้น

    ขอ ให้พวกเรามาช่วยกันรักษาและยึดถือคำสั่งสอนของหลวงปู่ที่เรารักและเคารพ อย่าให้คำสั่งสอนของท่านเลือนหายหรือดำรงค์อยู่ได้แค่เพียงชั่วระยะกาลแห่ง ควันไฟเท่านั้น เลย...

    ที่มา คุณรณน : Luangpudu.com / Luangpordu.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...