ไม่มีใครยากจนเกินกว่าจะเป็น “ผู้ให้”

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 2 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]




    ..บิล เกตส์ มหาเศรษฐี เจ้าของบริษัทซอฟแวร์ชื่อดังของโลก “ไมโครซอฟท์” ได้จัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือสังคม ผู้ยากไร้
    และผู้ด้อยโอกาสทั่วโลก โดยบริจาคเงินไปแล้วกว่า 9.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.4แสนล้านบาท



    ...ลีกาซิง มหาเศรษฐีชาวจีนผู้ร่ำรวยติดอันดับโลก ได้จัดตั้งมูลนิธิเพื่อสนับสนุนด้านการแพทย์ การศึกษา วัฒนธรรม
    และโครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ โดยการวางแผนขายหุ้นเพื่อนำเงินมาดำเนินการเป็นจำนวนเงินกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ



    ยอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีน้ำมันโลกผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยวิจัยหาวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ
    และพัฒนาด้านการเกษตร โดยมีสินทรัพย์ในกองทุนกว่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ



    นับเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติกันมานานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับการบริจาคเงินหรือสนับสนุนงานการกุศล
    การตั้งมูลนิธิต่าง ๆ ในการตอบแทนสังคมหลังจากที่ได้ประกอบธุรกิจจนร่ำรวยมีฐานะการเงินที่มั่งคั่งและมั่นคง ของบรรดานักธุรกิจและมหาเศรษฐีชั้นนำทั่วโลก



    มนุษย์เงินเดือนคนทำมาหากินทั่วไปอาจคิดว่า หากเรามีทรัพย์สินเงินทองร่ำรวยเทียบได้กับมหาเศรษฐีเหล่านั้น
    เราย่อมจะบริจาคเงินช่วยเหลือสังคมด้วยเช่นกัน แต่ในขณะนี้เรายังเป็นเพียงแค่


    ผมคิดว่าหากคนส่วนใหญ่ในสังคมมีความคิดเช่นนี้ ย่อมจะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศชาติในระยะยาว
    เนื่องจากการมีมุมมองความคิดที่ผิดเพี้ยนไปในเรื่องของ “การให้” และการช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่าตน



    โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจผิดโดยมองว่าผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสในสังคมคือ “หน่วยงานภาครัฐ” เท่านั้น
    เนื่องจากคิดว่าเราได้มอบหมายสิทธิในการดูแลบริหารประเทศชาติและสังคมรวมทั้งเสียภาษีให้แก่ภาครัฐไปแล้ว
    แต่ในความเป็นจริงแล้วหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เหล่านั้นไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้เพียงลำพังผู้เดียว
    เนื่องจากความจำกัดในหลายประการ ดังเช่น การงบประมาณที่มีจำกัด บุคลากรที่ไม่เพียงพอ
    ระบบการทำงานที่ล่าช้า และการไม่รู้ถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงในพื้นที่ เป็นต้น
    นขณะที่ผู้ต้องการความช่วยเหลือนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก
    เกินกำลังที่หน่วยงานดังกล่าวจะเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง และทันท่วงที



    แท้จริงแล้วไม่ว่าเราจะอยู่ในบทบาทหรือฐานะใดในสังคม ทั้งข้าราชการ คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา
    ไม่ว่าจะมีรายได้สูงหรือต่ำก็ตาม เราต่างมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็น “ผู้ให้”
    และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ทั้งสิ้นดังข้อความที่ผมเคยพูดเสมอว่า
    “ไม่มีใครเลยที่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ และไม่มีใครเลยที่จะไม่สามารถเป็นผู้ที่ให้ออกไปได้”
    เราทุกคนล้วนแล้วแต่มีความสามารถที่จะเริ่มในการเป็น “ผู้ให้” หรือ “ผู้เสียสละ”
    ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้ทั้งสิ้น โดยเริ่มจาก “การทำลายความคิดที่ผิดเกี่ยวกับการให้”



    เราพบว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถเป็น “ผู้ให้” และ “เสียสละ”
    ออกไปในการช่วยเหลือผู้อื่นได้นั้นไม่ใช่เพราะความ “ไม่สามารถ” “ไม่มี”
    “ไม่เพียงพอ” ของเราแต่เนื่องจากความเข้าใจที่ผิดและการมี “ความคิด”
    หรือ “ค่านิยม” บางประการที่ไม่ถูกต้อง อาทิ



    ความคิดที่เป็น “ปัจเจกชนนิยม” (individualism) แม้ความคิดเชิงปัจเจกนิยมจะมีสิ่งที่ดีหลายประการ
    แต่หากเราคิดอย่างไม่สมดุลจะก่อให้เกิดสภาพของการที่ต่างคนต่างอยู่
    ต่างคนต่างมุ่งแสวงหาสิ่งที่ตนพึงพอใจโดยไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเป็นเช่นไร
    ซึ่งความคิดปัจเจกชนนิยมนี้เองเป็นบ่อเกิดของความ “เห็นแก่ตัว” ที่เกิดขึ้นในสังคม



    ความคิดว่า “ตนเองจำกัด” ขาดศักยภาพ ขาดความสามารถที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ คิดว่าปัญหาของตนเองยังมีอยู่
    ดังนั้นจึงต้องรอให้ตนเองพร้อมเสียก่อนทั้งในด้านทรัพย์สินเงินทอง ความสามารถ ฯลฯ
    จึงจะสามารถไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ แต่ในชีวิตจริงแล้วคนส่วนใหญ่พบว่า
    ไม่มีผู้ใดที่อยู่ในสภาพที่พร้อมในทุกสิ่ง ดังนั้นจึงทำให้ “ความจำกัด”
    ไม่เคยสูญสิ้นไปจากชีวิต อันเป็นเหตุให้ไม่ตั้งเวลาและริเริ่มที่จะช่วยเหลือผู้อื่น



    ความไม่รู้ว่า “จะช่วยอย่างไร” รู้สึกว่าตนเองหัวเดียวกระเทียมลีบทั้ง ๆ
    ที่มีความปรารถนาอยากจะช่วยแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จะเริ่มอย่างไรดี จะช่วยใคร
    โดยวิธีใด เนื่องจากขาดผู้นำ ผู้ริเริ่ม หรือกลุ่มแนวร่วมในการดำเนินการ



    ความคิดตามค่านิยมที่ว่า “ทำดีอาจเป็นภัย” หรือทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย อาจเป็นเหตุให้ไม่อยากที่จะทำดีมาก
    เพราะถ้าทำดีจนโดดเด่นขึ้นมาแล้วอาจนำความยุ่งยากหรือนำความเดือดร้อนต่าง ๆ มาสู่ตน
    หรือในกรณีการช่วยเหลือเด็กกำพร้า อาจจะมีค่านิยมที่ผิดว่า “เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม”
    อันทำให้คนไม่กล้าที่จะรับอุปการะเด็กที่ถูกทอดทิ้งเพราะกลัวว่าจะกลับมาเป็นภัยต่อตนเองภายหลัง



    ความรู้สึก “อคติ” คิดว่าการช่วยเหลือนั้นเป็นการ “ถูกบังคับ” รู้สึกว่า “เป็นหน้าที่” ที่ต้องทำ เป็น ”การเสแสร้ง”
    ให้ได้มาซึ่งคำชมเชย ความนับหน้าถือตาโดยไม่ได้ช่วยมาจากใจจริง ดังนั้นจึงไม่ปรารถนาที่จะทำเช่นนั้น



    ผมเชื่อมั่นว่า หากเราต้องการประสบกับความสำเร็จในชีวิตอย่างมีคุณค่า เราคงต้องเรียนรู้การ “ให้”
    ที่มิใช่เป็นครั้งเป็นคราว แต่ควรเป็น ลักษณะนิสัย และ ความเคยชิน ในการให้สิ่งที่ดีแก่ผู้อื่น
    ที่สำคัญ การเสียสละเพื่อเห็นแก่ส่วนรวมนั้น มิใช่จะทำให้เราเสียประโยชน์
    แต่แท้จริงแล้วจะเป็นการสร้างกำไร ทั้งต่อตนเอง ธุรกิจ และสังคมในอนาคต
    เพราะเมื่อสังคมอยู่ได้ เราจึงสามารถอยู่ได้เช่นกัน

    ผมเองได้ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคมโครงการหนึ่งชื่อว่า “โครงการกองทุนเวลา” เพื่อเป็นช่องทางให้คนที่มีความรู้ความสามารถหรือคนที่มีโอกาสมากกว่าในสังคม ได้มีส่วนช่วยเหลือคนด้อยโอกาสหรือมีส่วนช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจ ด้วยแนวคิดที่ว่าทุกคนมีเวลาว่างในชีวิตประจำวันอยู่จำนวนหนึ่ง หากปันเวลาเหล่านั้นมาช่วยเหลือสังคม ย่อมเป็นพลังที่มีคุณค่ามหาศาล ในการรื้อฟื้นสังคมส่วนที่อ่อนแอให้กลับเข้มแข็งขึ้นมาได้ โครงการกองทุนเวลาเพื่อสังคมนี้จึงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรการกุศลที่ต้องการอาสาสมัครเพื่อช่วยงาน และอาสาสมัครที่สามารถจัดสรรเวลาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งหากท่านผู้อ่านสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการนี้สามารถเข้าไปดูในรายละเอียดได้ที่ www.timebank.in.th ครับ






    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...