ไม่มีนี่คือความตรง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 13 กันยายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ไม่มี.!.....นี่คือความตรง.


    เพราะว่า ลักษณะ "แข็ง" มีจริง ๆ


    ฟังแล้ว อย่างเพิ่งเบื่อ

    ฟังแล้ว ฟังอีก แล้วค่อย ๆ พิจารณาตามความเป็นจริง

    ว่า วันหนึ่ง ๆ มีการกระทบ แข็ง กี่ครั้ง ตั้งแต่ตื่น
    .........


    มีใครนับ มีใครบอกได้ไหม..........?

    บอกไม่ได้เลย.!

    เพราะอะไรคะ
    ...
    .?

    เพราะไม่ได้ใส่ใจ ในลักษณะที่ แข็ง.!


    เช่น

    ขณะที่กระทบ แข็ง ก็เป็น ช้อน เป็นซ่อม เป็นแก้วน้ำ

    ฯลฯ


    แม้แต่ขณะนี้
    ...ขณะที่กำลังกระทบ แข็ง

    ก็ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด.!


    นี่แสดงให้เห็นว่า

    แม้ ปรมัตถธรรม กำลังปรากฏ ทางกาย

    คือ มีการกระทบ อ่อน-แข็ง โดยอาศัยกายปสาทรูป

    และ รูป ซึ่งมีลักษณะ อ่อน-แข็ง นี้

    ปรากฏให้จิตรู้ลักษณะของแข็ง ได้.


    แต่ว่า....ปรากฏเพียงชั่วขณะที่สั้นมาก.!


    เพราะฉะนั้น

    "ความทรงจำ"

    เรื่องลักษณะสัณฐาน ของสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นเอง

    ที่ทำให้ นึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทันที.!


    ที่ใช้คำว่า "ทันที"

    ผู้ที่ศึกษา ปรมัตถธรรม ก็ต้องเข้าใจด้วย ว่า

    หมายถึงจิตประเภทไหน

    เกิดทางทวารไหน มีจิตอะไรคั่น ก่อนที่จะถึงมโนทวาร


    แต่ที่กล่าวนี้

    กล่าวโดยนัยของพระสูตร

    ซึ่งไม่ได้แสดง เรื่องของจิตแต่ละขณะ

    หรือ จิตแต่ละวาระ ฯ

    แต่

    เป็นการแสดงให้ผู้ฟังที่กำลังฟังในขณะนี้

    สามารถที่จะพิจารณาได้ว่า

    ขณะที่กำลังกระทบ แข็ง
    ...ขณะนี้

    เมื่อไม่มี "สัมมาสติ" ระลึก เพื่อที่จะศึกษา "ลักษณะที่แข็ง"

    ก็ไม่รู้ลักษณะ แข็ง ที่กำลังกระทบ

    ตามความเป็นจริง.


    ความรู้จริง ๆ

    ก็คือ ว่า

    แข็ง เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

    ที่ปรากฏทางกาย

    ไม่ใช่ สิ่งต่าง ๆ ที่เคยทรงจำไว้.


    หรือ

    ทางตา ซึ่ง เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ก็เป็นสภาพธรรม อีกอย่างหนึ่ง

    ที่ปรากฏได้เฉพาะทางตา เท่านั้น

    ซึ่ง คนตาบอด ไม่เห็น.


    แต่เมื่อเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา

    เรามักเห็น ว่า เป็นคนนั้น คนนี้ หรือ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด.

    แสดงให้เห็นว่า

    แม้สิ่งที่ปรากฏทางตา มีจริง ๆ

    แต่เกิด-ดับเร็วมาก

    และ

    "ความทรงจำ"

    เรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตานั้น
    ...เกิดสืบต่อ.!

    ทำให้ขาดการสังเกต ขาดการใส่ใจ

    และ ไม่รู้ ว่า แท้จริงแล้ว

    สิ่งที่ปรากฏทางตา นั้น
    เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

    ซึ่งปรากฏทางตา เท่านั้น.!


    เพราะฉะนั้น

    ขณะนี้จริง ๆ
    ....ถ้าจะศึกษาธรรมะ

    ก็คือ การศึกษา สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้.!


    มีการเห็น
    ....ซึ่งเคยเป็นเรา ที่เห็น.!

    และ เคยคิดว่า เป็นคนนั้น คนนี้ หรือ เป็นสิ่งต่าง ๆ


    มีสักขณะไหม
    ........ที่เริ่มจะ รู้ หรือ เฉลียวใจ

    หรือ สติ เกิด ระลึกได้ ว่า

    เป็นเพียง สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เมื่อเห็น.!


    ปรากฏเพียงชั่วขณะที่สั้นมาก เฉพาะเมื่อเห็น

    ขณะใด ไม่เห็น
    ...
    สิ่งนี้ ไม่ปรากฏ.


    .


    เพราะฉะนั้น


    "สิ่งที่ทรงจำไว้"

    เมื่อเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ว่ามีอยู่
    ....
    ไม่เกิด ไม่ดับเลย

    และ คิดว่า เป็นของเรา ตลอดเวลา นั้น.


    แท้จริงแล้ว

    ปรากฏทางตา เมื่อ กำลังเห็น เท่านั้น.!

    ขณะใด ที่ไม่เห็น
    ....สิ่งนั้น ก็ไม่ปรากฏ


    เพียงแต่ "ทรงจำ" ไว้ ว่า มีสิ่งนั้น ๆ

    ทรงจำไว้ ว่า เป็นเรา หรือ เป็นของเรา.!


    ความจริง

    สภาพธรรมแต่ละประเภท

    มีความสำคัญ เฉพาะของตน ๆ



    พระผู้มีพระภาคฯ

    มิได้ทรงแสดง เฉพาะ "เหตุปัจจัย" เพียงปัจจัยเดียว.



    มิได้ทรงแสดงเฉพาะ

    "อารมณ์" ซึ่ง เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น และรู้อารมณ์นั้น

    โดย (อารมณ์นั้น)

    เป็น "อารัมมณปัจจัย" แก่จิต เพียงปัจจัยเดียว.



    แต่

    พระผู้มีพระภาคฯ

    ทรงแสดง ปัจจัยต่าง ๆ โดยละเอียด ครบถ้วน

    ทรงจำแนก ปัจจัย เป็นประเภทใหญ่ ๆ ๒๔ ปัจจัย.

    และ ทรงแสดงปัจจัยย่อย ของบางปัจจัย

    ใน ปัจจัย ๒๔ ปัจจัยนั้น ด้วย.


    .


    เช่น


    จักขุปสาทรูป.


    เกิดขึ้น เพราะปัจจัยอื่น ๆ

    จักขุปสาทรูป

    ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ "เหตุปัจจัย"


    และ

    จักขุปสาทรูป

    ก็เป็นปัจจัย โดยเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ (อินทริยปัจจัย)

    คือ

    เป็นปัจจัย

    โดย เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตน.



    ฉะนั้น

    จักขุปสาทรูป จึงเป็น "จักขุนทรีย์"

    คือ

    เป็น "รูปธรรม" ซึ่งมีสภาพที่เป็นใหญ่ ในการเป็นปัจจัย

    ให้ "จักขุวิญญาณ" เกิดขึ้น "เห็น" สิ่งที่ปรากฏทางตา.


    .


    ถ้าหากไม่มี

    จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท.

    (ปสาทรูป ๕)

    รูป ร่างกาย นี้....จะเหมือนกับอะไร.?


    ก็ เหมือนกับท่อนไม้.!

    คือ

    ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ไม่รู้โผฏฐัพพะ.



    ฉะนั้น

    "ปสาทรูป ทั้ง ๕" นี้

    จึงเป็น ปัจจัย

    โดยเป็น "อินทริยปัจจัย"

    คือ

    สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ เฉพาะกิจของตน ๆ


    .


    เช่น


    จักขุปสาทรูป เป็น อินทริยปัจจัย

    เป็นใหญ่ ในการกระทบรูปารมณ์

    ซึ่ง

    เป็นปัจจัยให้เกิด จักขุวิญญาณ
    (จิตเห็น)

    จักขุวิญญาณ เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา.


    ซึ่ง

    รูปอื่น ๆ ทั้งหมด ที่ไม่ใช่ "จักขุปสาทรูป"

    ไม่สามารถทำกิจเห็น ได้เลย.!


    และ สิ่งที่ปรากฏทางตา นั้น

    จะปรากฏชัดเจน หรือไม่ แค่ไหน
    ................

    ก็แล้วแต่ สภาพความใส ของ จักขุปสาทรูป.


    ซึ่ง

    ความใสของจักขุปสาทรูป

    ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "เจตนา"

    หรือ ความปรารถนา ความต้องการของบุคคลใดเลย.!


    แต่

    ขึ้นอยู่กับ

    "อินทริยปัจจัยของการเห็น"

    คือ

    "จักขุปสาทรูป"


    .


    โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป

    ก็เป็น "อินทริยปัจจัยเฉพาะกิจของตน ๆ"

    โดยนัยเดียวกัน.
    สภาพธรรม ทุกประเภท

    เป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น

    โดย เป็นปัจจัยต่าง ๆ


    .


    โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก

    และ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก
    (อโมหเจตสิก)

    เป็นปัจจัย โดย เป็น "เหตุ" (เหตุปัจจัย)


    .


    ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

    มี อกุศลเหตุ เกิดขึ้นมาก
    ....กุศลเหตุ ก็มีบ้าง

    แต่เมื่อเทียบกันแล้ว

    กุศลเหตุ เกิดขึ้นน้อยกว่า อกุศลเหตุ มาก.!


    .


    การที่ กุศลเหตุ จะค่อย ๆ เจริญขึ้น

    จนกระทั่งมีกำลังมากกว่า อกุศลเหตุ นั้น.


    เกิดจาก การอบรมเจริญปัญญา

    เพื่อ รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

    ตามปกติ

    ตามความเป็นจริง.


    เพราะว่า

    การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามปกติ ตามความเป็นจริง นั้น

    เป็น "ปัญญาเจตสิก"

    ซึ่งเป็น "อโมหเหตุ"


    .


    ตราบใด ที่ปัญญายังไม่ รู้ชัด ในลักษณะของสภาพธรรม

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง.


    การที่จะไม่ให้ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ

    เจริญงอกงามไพบูลย์ นั้น

    เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้.!


    .


    เพราะว่า

    ไม่มีสภาพธรรมใดเลย ที่จะละคลาย และ ดับอกุศลได้

    นอกจาก

    "ปัญญาเจตสิก" ซึ่งเป็น "อโมหเหตุ"


    .


    เมื่อได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม

    และ "เข้าใจ" ใน "ลักษณะ" ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.

    และ

    เป็นผู้ที่มีการ อบรมเจริญสติปัฏฐาน.!


    กุศลธรรม ที่เป็น อโมหเหตุ คือ ปัญญาเจตสิก

    จะค่อย ๆ เจริญขึ้น ๆ

    จนกระทั่งสามารถที่จะ รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    เป็น พระโสดาบัน เป็นลำดับแรก

    ซึ่ง สามารถดับอกุศลธรรมบางประเภทได้ เป็นสมุจเฉท.


    .


    ผู้มี่เป็น พระโสดาบันบุคคล พระสกทาคามีบุคคล

    และ พระอนาคามีบุคคล

    เป็น "พระเสขบุคคล"

    ซึ่ง ยังต้องมีการอบรมเจริญปัญญา ต่อไปอีก

    จนกว่าจะดับ "เหตุ" ได้หมด

    ทั้ง อกุศลเหตุ และ กุศลเหตุ

    และถึงความเป็น พระอรหันต์.


    .


    เพราะว่า

    ถ้ายังมี กุศลเหตุ

    ก็ยังมัปัจจัยให้เกิด กุศลวิบาก
    ....ไม่จบสิ้น.!



    .


    พระอรหันต์

    ผู้ดับ อกุศลเหตุ และ กุศลเหตุ ได้หมดเป็นสมุจเฉท

    ถึงแม้ว่า จิตของท่าน

    จะเกิดร่วมกับ อโลภเจตสิก หรืออโทสเจตสิก

    หรือ อโมหเจตสิก
    (ปัญญาเจตสิก)


    เจตสิกเหล่านี้ ที่เกิดร่วมกับจิตของพระอรหันต์

    เป็น "อัพพยากตเหตุ"

    คือ

    ไม่เป็น "เหตุ" ที่จะทำให้เกิด "ผล"

    คือ วิบาก อีกต่อไป.


    .


    วันนั้น
    ....ย่อมถึงได้.!

    เมื่อ มี เหตุ

    คือ ความเพียรในการอบรมเจริญปัญญา ไปเรื่อย ๆ



    ผู้ที่ บรรลุผล เช่นนั้น
    ....ในอดีต

    ก็มีแล้วเป็นอันมาก.!



    ฉะนั้น

    ถ้าการบรรลุผลเช่นนั้น เป็นไปไม่ได้
    ....................

    ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถที่จะบรรลุผลเช่นนั้นได้เลย.!



    แต่

    ผล เช่นนั้น ย่อมไม่เร็ว
    ....ตามที่หวัง.!

    เพราะ ผล ต้องสมควรแก่ เหตุ.



    ฉะนั้น

    เมื่อ "ปัญญา" ยังไม่เกิด
    ....ยังไม่เจริญขึ้น

    ก็ไม่มี "เหตุ" ที่จะดับกิเลสได้.!



    และ

    "ปัญญา" ก็ต้องเกิดขึ้น
    ......เจริญขึ้น

    "ตามลำดับขั้นของปัญญา"

    ในการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม.

    ตามปกติ

    ตามความเป็นจริง.



    จนกว่า จะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท.



    ฉะนั้น

    ควร ระลึกไว้ เสมอ ว่า

    การศึกษา เพื่อให้เข้าใจ เรื่องจิต เจตสิก และ รูป นั้น.


    ก็เพื่อ "อบรมเจริญสติปัฏฐาน"


    คือ

    ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

    ที่เป็น จิต เจตสิก และ รูป

    ที่กำลังปรากฏ แต่ละขณะ ๆ

    ตามปกติ

    ตามความเป็นจริง.


    โดย

    ไม่คลาดเคลื่อน จาก "ธรรม"

    ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสรู้ และ ทรงแสดง.


    .


    ถ้า "ศึกษาเข้าใจ" อย่างหนึ่ง

    แต่

    "ปฏิบัติ" อีกอย่างหนึ่ง.


    โดย ไม่ระลึก รู้ ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ตามปกติ

    ตามความเป็นจริง

    ตามที่ได้ศึกษาเข้าใจ

    ก็ไม่สามารถที่จะ ประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรม

    ดับกิเลส ได้ เป็นสมุจเฉท.


    .


    สำหรับ "อกุศลเหตุ ๓" นั้น

    จะเป็น เจตสิกชาติอื่น ไม่ได้.!


    ไม่ว่าจะเป็น

    โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก.


    ซึ่ง

    อกุศลเหตุ คือ เจตสิก ทั้ง ๓ ประเภทนี้

    เมื่อเกิดร่วมกับจิตขณะใด

    จิตขณะนั้นต้องเป็น จิตชาติอกุศล เท่านั้น.!


    หมายความว่า

    อกุศลเหตุ ๓ ประเภท นี้ เป็นปัจจัยให้เกิด อกุศลจิต.!


    ทั้งในขณะที่อกุศลจิตขณะนั้น ๆ เกิดขึ้น

    และ สะสม-สืบต่อไปในอนาคตด้วย.!


    .


    แต่

    "โสภณเหตุ ๓ "

    คือ

    อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก


    เจตสิก ๓ ประเภทนี้


    เกิดขึ้น เป็น ชาติกุศล ก็มี

    เกิดขึ้น เป็น ชาติวิบาก ก็มี

    เกิดขึ้น เป็น ชาติกิริยา ก็มี


    เพราะว่า

    อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก.


    เกิดร่วมกับ กุศลจิต ก็ได้

    เกิดร่วมกับ กุศลวิบากจิต ก็ได้

    เกิดกับ โสภณกิริยาจิต ก็ได้


    .


    คำว่า "โสภณ" มีความหมายกว้างกว่า คำว่า "กุศล"

    เพราะว่า

    "โสภณธรรม"

    ได้แก่


    สภาพธรรม ที่เป็น
    กุศลจิต

    สภาพธรรม ที่เป็น
    กุศลวิบากจิต

    สภาพธรรม ที่เป็น โสภณกิริยาจิต


    .


    เมื่อจำแนก สภาพธรรมทั้งหลาย โดยหมวด ๓

    ได้แก่


    กุสลา ธมฺมา

    อกุสสลา ธมฺมา

    อพฺยากตา ธมฺมา


    ก็จำแนก เจตสิก ที่เป็น เหตุ ๖ ออกเป็น เหตุ ๙


    คือ


    อกุศลเหตุ ๓.

    ได้แก่

    โลภเจตสิก ๑. โทสเจตสิก ๑. โมหเจตสิก ๑.


    .


    กุศลเหตุ ๓.

    ได้แก่

    อโลภเจตสิก ๑. อโทสเจตสิก ๑. ปัญญาเจตสิก ๑.


    .


    อัพพยากตเหตุ ๓.

    ได้แก่

    อโลภเจตสิก ๑. อโทสเจตสิก ๑. ปัญญาเจตสิก ๑.




     

แชร์หน้านี้

Loading...