ไฟไหนจะร้อนเท่าไฟนรก....

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 4 เมษายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <table style="font-size: 12px;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="560"><tbody><tr style="font-size: 12px;" valign="top"><td style="font-size: 12px;" class="title" height="65" width="278">:<!-- InstanceBeginEditable name="groupname" -->: ธรรมบรรยาย พระเทพสิงหบุราจารย์ ::<!-- InstanceEndEditable --></td> <td style="font-size: 12px;" class="txt9" align="right" width="282"><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง ไฟไหนจะร้อนเท่าไฟนรก
    โดย สุทัสสา อ่อนค้อม<!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> <tr style="font-size: 12px;" valign="top"> <td style="font-size: 12px;" colspan="2"><!-- InstanceBeginEditable name="txt" --> เสียงร้องด้วยความเจ็บปวดของหมู ยามที่มันถูกมีดปลายแหลมแทงคอนั้น ช่างบาดลึกเข้าไปในจิตใจของอาตงทุกครั้งที่ได้ยิน เด็กชายวัยสิบสามไม่เข้าใจเลยว่า เหตุใดบิดาจึงมายึดอาชีพที่แสนจะทารุณโหดร้ายเช่นนี้ แม้จะได้ยินมาตั้งแต่เกิด เพราะตาแป๊ะเตี๋ยวยึดอาชีพขายหมูชนิดเลี้ยงเองฆ่าเองเสร็จ หากเขาก็หดหู่หม่นหมองใจทุกครั้งที่ได้ยินเสียงมันร้องเหมือนจะข้อให้ไว้ชีวิต เด็กชายเคยฟังพวกผู้ใหญ่เขาพูดกันว่า คนที่ฆ่าสัตว์เมื่อตายไปจะต้องตกนรก เขาไม่อยากให้ผู้บังเกิดเกล้าตกนรก เพราะเคยเห็นภาพของนรกที่มีผู้วาดไว้ตามผนังโบสถ์มาแล้ว มันช่างน่าเกลียดน่ากลัวเสียเหลือเกิน
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">นับแต่มารดาจากโลกนี้ไปตั้งแต่ปี ๒๔๖๐ เขาก็เหลือบิดาเพียงผู้เดียว ไม่มีญาติพี่น้องที่ไหนอีก เนื่องจากผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองพากันอพยพมาจากเมืองจีน ตั้งแต่เขายังไม่เกิด จำได้ว่าตอนนั้นเขาร้องไห้มากที่สุดในชีวิต บิดาของเขาก็โศกเศร้าอยู่นานกว่าจะทำใจได้ สามปีแล้วสินะที่มารดาจากเขาและบิดาไป ก็พวกผู้ใหญ่อีกนั่นแหละที่พูดเข้าหูเขาบ่อย ๆ ว่าที่มารดาเขาอายุสั้นก็เพราะบิดาของเขาชอบฆ่าสัตว์ ถ้าเรื่องที่พวกเขาพูดมานั้นเป็นความจริง ป่านฉะนี้มารดาก็คงถูกลงโทษอย่างสาหัสสากรรจ์อยู่ในนรก ช่างน่าสงสารมารดานัก เด็กชายวัยสิบสามออกสับสนว่า ก็ในเมื่อบิดาเป็นคนทำ แล้วใยกรรมจึงไปตกที่มารดา คนเราทำกรรมแทนกันได้กระนั้นหรือ อาตงเคยขอร้องไห้ตาแป๊ะเตี๋ยวเลิกอาชีพนี้ แต่กลับถูกตะคอกเอาว่า "ลื้อมังลูกนอกคอก สองให้ก็ไม่เอาว่าฆ่าหมูนั้งลีทำให้ลวยเล็ว อีกหน่อยลื้อต้องมาฝึกกะเตี่ย โตขึ้งจะล่ายยึกอาชีกนี้เลี้ยงตัว" บิดาของอาตงบอกอย่างนี้ </td> </tr> </tbody></table> "แต่มันบาปนะเตี่ย" เด็กชายท้วง
    "บากเบิกชิกหายอาลาย อั๊วะเลี้ยงลื้อมาจงโตป่างนี้ไม่ใช่เพาะขายหมูเลอะ" ยามใดที่ตาแป๊ะใช้คำว่า "อั๊วะ" กับลูกแสดงว่าแกกำลังโกรธ
    "เห็นเขาพูดกันว่า คนที่ฆ่าสัตว์เมื่อตายไปต้องตกนรกนะเตี่ย" ลูกชายบอกกล่าว "แล้วลื้อไปเชื่อมังทำมายฮึอาตง เชื่อทำมาย ไอ้ชิกหายพวกนั้งมังอิกฉาอั๊วะ มังเห็งอั๊วะลวยกว่ามังน่ะ" ตาแป๊ะเตี๋ยวคิดไปอีกอย่าง
    "ก็ไหน ๆ เตี่ยรวยแล้วก็น่าจะเลิกได้ หันไปขายผักขายหญ้าดีกว่าจะได้ไม่ต้องทำบาปทำกรรม เชื่อข้าเถอะ" อาตงพยายามเกลี้ยกล่อมผู้เป็นพ่อ
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"เลื่องอาลายอั๊วะจาเลิก ก็อั๊วะทำมาตั้งแต่ลื้อยังไม่เกิกตั้งแต่มาจากเมืองจิง เลี้ยวมังก็ลวงขึ้ง ๆ ว่าแต่ลื้อเถอะ ต่อไปนี้ต้องมาฝึกงางกะเตี่ย" แกออกคำสั่ง </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "ไม่เอาหรอกเตี่ย ข้ากลัวตกนรก" เด็กชายรีบปฏิเสธ
    "นาลกนาแล้กอาลายโง่ตายห่า อ้ายพวกเชื่อนาลกมังพวกขี้เกียก คงเลาเกิกมาเลี้ยวก็ตาย ตายเลี้ยวก็เลี้ยวกัง นาลกซาหวังมีที่ไหน เลื่องโกหกทั้งน้าง อีเอาไว้หลอกคงโง่ต่างหาก" ตาแป๊ะเตี๋ยวพูดไปตามความเชื่อของตน แกไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ตรงข้ามกับลูกชายซึ่งแอบไปคุยกับหลวงตาที่วัดบ่อย ๆ จนเกิดศรัทธาปสาทะอยากจะบวชเป็นเณร จะได้ไม่ต้องมาฆ่าหมูขายอย่างบิดา
    "เตี่ย ข้าขออะไรเตี่ยอย่างนึ่งได้ไหม" เด็กชายทำท่าประจบด้วยการเข้ามาโอบเอวบิดา ตาแป๊ะอารมณ์ดีขึ้น ตอบลูกไปว่า "ขออาลาย ลื้ออยากล่ายอาลายเตี่ยจาให้หมกทุกอย่าง แต่ลื้อต้องมาฝึกงางกะเตี่ย" แกตั้งเงื่อนไข
    "แต่สิ่งที่ข้าขอเตี่ยนั้น หากเตี่ยให้ ข้าก็มาฝึกงานกับเตี่ยไม่ได้" ลูกชายชี้แจง
    "ลื้อจะขออาลาย" ตาแป๊ะเตี๋ยวออกสงสัย อาตงรวบรวมความกล้าแล้วตอบว่า
    "ขอบวชเณร นะเตี่ยนะ ข้าอยากบวชเณร อยากบวชมานานแล้ว"
    "หา! เลื้อว่าอาลายนะ" บิดาถามเสียงดัง
    "ข้าอยากบวชเณร" ลูกชายตอบเสียงดังไม่แพ้กัน
    "บวกเนง" ตาแป๊ะเตี๋ยวทำตาโต คำพูดของลูกชายทำให้แกตระหนก
    "ลื้อจาบวกทำชิกหายอาลาย นี่ลื้อเป็งบ้าไปเลี้ยวเหลอ" พูดอย่างฉุนเฉียว
    "ข้าไม่ได้เป็นบ้า ข้าพูดจริง ๆ ให้ข้าบวชเณรเถอะนะเตี่ยนะ" อาตงวิงวอน

    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">"อั๊วะไม่ให้บวก ข้าวบ้างเลามีกิง เลื่องอาลายจาไปเที่ยวขอข้าคงอื่งกิง" แกพูดโกรธ ๆ รู้สึกผิดหวังในลูกชายคนเดียวมาก ท่าทางอาตงคงจะเอาดีไม่ได้เสียแล้ว มีอย่างที่ไหน แทนที่จะยึดอาชีพดี ๆ อย่างที่แกทำอยู่ กลับจะไปบวชเณร ข้างฝ่ายลูกชายก็รู้สึกผิดหวังในบิดาเช่นกัน บิดาไม่เคยรับฟังความคิดเห็นของเขา ไม่เคยเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ตัวเขาเคยหนีไปคุยกับหลวงตาที่ วัดพุทธาราม บ่อย ๆ เคยชวนแกไปด้วยหากก็ได้รับการปฏิเสธไปเสียทุกครั้งด้วยเหตุผลที่ว่า "เสียเวลาทำมาหากิน" และที่เขาไม่ชอบบิดาอีกอย่างหนึ่งก็คือ แกด่าเก่ง พูดคำด่าคำ มาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะคำว่า "ฉิบหาย" นั้น แทบจะติดปากเลยทีเดียวตอนสายวันนั้น เด็กชายตงถือโอกาสตอนบิดาไปขายหมู แอบไปหาหลวงตาที่วัดพุทธารามด้วยดวงหน้าเศร้าสร้อย เด็กชายคลานเข้าไปหาท่านแล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์อย่างที่ครูเคยสอน </td> </tr> </tbody></table> "หลวงตาครับ ผมพูดกับเตี่ยเรื่องบวชเณรแล้ว แต่แกไม่อนุญาตครับ" อาตงรายงาน ขณะพูดมือทั้งสองยังคงอยู่ในท่าประนมอันแสดงถึงความเคารพนบนอบต่อภิกษุอาวุโส
    "ไม่อนุญาตก็บวชไม่ได้" ท่านกล่าวเสียงเรียบ เด็กชายจึงต่อรองว่า "หลวงตาบวชให้ผมก่อนแล้วค่อยไปขออนุญาตทีหลังจะได้ไหมครับ"
    "ไม่ได้หรอกอาตงเอ๊ย มันผิดวินัย ผู้จะบวชต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ผู้ปกครองเสียก่อน ไม่งั้นบวชไม่ได้" ท่านอธิบาย เด็กชายตงครุ่นคิดอยู่ประเดี๋ยวหนึ่งก็ถามอีกว่า "ถ้าขออนุญาตแม่คนเดียวจะได้ไหมครับ"
    "คงได้มั้ง" ท่านผ่อนผัน ครั้นนึกได้ว่าเด็กชายเป็นกำพร้าจึงพูดขึ้นว่า "ก็แม่ของเจ้าเขาตายไปตั้งนานแล้วไม่ใช่หรือ"
    "ผมจะบอกดวงวิญญาณของแกนะครับ จะไปจุดธูปบอกที่ฮวงซุ้ย" อาตงออกอุบาย ภิกษุสูงวัยซึ่งมีตำแหน่งเป็นสมภารวัด นึกชมในความเป็นคนเจ้าความคิดของเด็กอายุสิบสาม จึงตอบว่า
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"ตามใจเจ้าก็แล้วกัน จะเอายังงั้นก็ได้" ท่านมองอาตงอย่างถูกชะตา ดูหน่วยก้านแล้วเด็กคนนี้มีทีท่าว่าจะเหมาะสมกับเพศบรรพชิต บางทีอาจจะทำให้กรรมของผู้ที่เป็นพ่อทุเลาเบาคลายลงได้บ้าง นับเป็นวาสนาของตาแป๊ะเตี๋ยว ซึ่งแม้แกจะเป็นมิจฉาทิฐิ หากก็มีลูกเป็นสัมมาทิฐิ </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "เตี่ยของเจ้าคงไม่มาอาละวาดเอากะข้านา" ท่านพูดไปอย่างนั้นเอง รู้ว่าตาแป๊ะจะไม่ทำอย่างนั้น เด็กชายตงก็รับรองว่า "เตี่ยไม่ทำอย่างนั้นแน่ครับ ผมรู้" เขารู้ว่าบิดาเกลียดพระ เกลียดแบบจงเกลียดจงชังโดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้สาเหตุว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น บิดาเคยปรารภกับเขาบ่อย ๆ ว่า
    "เตี่ยไม่อยากเห็งพะเลยอาตง เห็งเลี้ยวมังคื่งไส้อยากจะอ้วก ทำมายคงอื่งมังไม่เป็งอย่างเตี่ยก็ไม่ลู้" อาตงเคยเอาไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง เขาก็พูดให้อาตงไม่สบายใจว่า ที่เตี่ยเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นบาปหนาสาหัสมาก อยากจะถามหลวงตาอยู่เหมือนกัน แต่ก็เกรงว่าจะได้รับคำตอบที่ทำให้ไม่สบายใจอีก สู้ไม่ถามเสียยังดีกว่า อาตงเองก็ไม่รู้ว่าเพราะบิดาเกลียดพระจึงทำให้บิดาคลื่นไส้เมื่อเห็นพระ หรือว่าคลื่นไส้เมื่อเห็นพระจึงทำให้บิดาเกลียดพระ มันอะไรกันแน่ ยิ่งคิดก็ยิ่งงง เหมือนจะรู้ว่าเด็กชายกำลังคิดอะไรอยู่ ภิกษุสูงวัยจึงเอ่ยขึ้นว่า "เตี่ยของเจ้าน่ะกรรมหนัก ไม่งั้นก็คงไม่ถึงกับเกลียดพระเกลียดเจ้าหรอก แต่ก็ยังโชคดีที่ได้ลูกมีปัญญาอย่างเจ้า จำคำของข้าไว้นะอาตง บวชแล้วก็ขอให้ทำกรรมฐานให้เคร่งครัด แล้วจะช่วยเตี่ยของเจ้าได้บ้าง ไม่มากก็น้อย"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">"ถ้าอย่างนั้น ผมจะไปจุดธูปบอกแม่แล้วหลวงตา บวชให้ผมเลยนะครับ" เด็กชายพูดอย่างปลาบปลื้ม บวชเสียวันนี้จะได้ไม่ต้องฟังเสียงหมูร้องไห้ใจหม่นหมองอีก </td> </tr> </tbody></table> "อย่าเพิ่งบวชวันนี้เลย ทางที่ดีเจ้ากลับบ้านไปก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยมา อย่าลืมเขียนหนังสือบอกเตี่ยเจ้าไว้เสียด้วย แกจะได้ไม่ห่วงว่าเจ้าหายไปไหน" ท่านสมภารแนะ
    "เตี่ยอ่านหนังสือไม่ออกหรอกครับ แต่ไม่เป็นไรเดี๋ยวแกก็คงเอาไปให้เพื่อนบ้านอ่านให้ฟัง ขอบพระคุณหลวงตามากครับที่กรุณา" เขาก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วคลานถอยหลังออกมา เมื่อได้ระยะห่างพอสมควรจึงลุกขึ้นเดินลงบันไดกุฏิมุ่งหน้ากลับบ้าน
    อาตงรู้สึกใจหายที่จะต้องทิ้งตาแป๊ะเตี๋ยวผู้เป็นพ่อให้อยู่เพียงลำพัง รู้ว่าแกจะต้องเปล่าเปลี่ยวเดียวดายหากไม่มีเขา ถึงอย่างไร บิดาก็รักเขามาก เขาเองก็รักบิดามากไม่แพ้กัน ไม่อยากทิ้งแกไป แต่ก็นั่นแหละ วันหนึ่งบิดาคงบังคับให้เขาฆ่าหมูแล้วก็คงพากันตกนรกตามมารดาไป เด็กชายมีความเชื่อมั่นว่า การบวชของตนจะช่วยให้ผู้เป็นพ่อพ้นจากนรก มิฉะนั้นท่านสมภารคงไม่พูดว่าเขาจะช่วยบิดาได้ คืนนั้นเด็กชายตงนอนกระสับกระส่าย ไม่อาจข่มตาให้หลับลงได้ พรุ่งนี้แล้วสินะที่เขาจะต้องจากบิดาไปอยู่วัด
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">ตาแป๊ะนอนกรนเสียงดังเช่นทุกคืน แกคงไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะต้องถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว "ไม่มีทั้งอาอี๊และอาตง" แกคงจะเหงามาก น่าสงสารเหลือเกิน คิดมาถึงตอนนี้น้ำตาเด็กชายไหลรินลงมาอาบแก้ม ลุกขึ้นจากที่นอน ค่อย ๆ คลานไปที่ปลายเท้าของบิดาแล้วก้มลงกราบขอขมาลาโทษ อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะถึงเวลาที่บิดาตื่นขึ้นมาฆ่าหมู เพราะทำเช่นนี้ทุกวันเป็นกิจวัตร ครั้งนี้คงเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาจะได้ยินเสียงร้องอย่างน่าเวทนาของเจ้าหมูเคราะห์ร้ายเหล่านั้น </td> </tr> </tbody></table> เวลาตีสองเศษ ๆ ตาแป๊ะเตี๋ยวตื่นขึ้นมาปฏิบัติภารกิจประจำวันของแก ลำดับแรกคือการจุดตะเกียงเจ้าพายุซึ่งจะส่องแสงสว่างไสวไปทั่วบริเวณเล้าหมู วันนี้จิตใจแกไม่สดชื่นแจ่มใสเอาเสียเลย มันวาบ ๆ หวิว ๆ เหมือนชีวิตขาดอะไรไปสักอย่าง ความรู้สึกเช่นนี้เคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งก่อนหน้าที่เมียรักของแกจะจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ หรือว่า ... อาตงกำลังจะจากแกไปอีกคน เป็นไปไม่ได้ อาตงร่างกายแข็งแรงออกอย่างนั้น คงไม่เจ็บไข้ได้ป่วยถึงกับเสียชีวิตเป็นแน่ "เป็งปายม่ายล่าย เป็งปายม่ายล่าย" ชายวัยห้าสิบเศษปลอบตัวเองพลางสะดัดศีรษะอย่างแรงเหมือนจะไล่ความคิดร้าย ๆ ออกไป แกรีบจุดไฟในเตาด้วยฟืนที่อาตงหาเตรียมไว้ให้ จากนั้นจึงเอากระทะใบใหญ่ตั้งบนเตา ตักน้ำใส่ลงไปจนเกือบถึงขอบ น้ำจะเดือดทันเวลากับที่แกแทงคอหมูเสร็จ นำมันลงไปลวกทั้งตัวก่อนลงมือชำแหละเจ้าหมูเคราะห์ร้ายตัวนั้น ถูกแกจับมัดขาทั้งสี่ข้างอย่างแน่นหนา แล้วจึงใช้มีดปลายแหลมแทงที่คอให้ทะลุไปถึงขั้วหัวใจ มิฉะนั้นมันไม่ยอมตายง่าย ๆ เลย เสียงร้องโหยหวนของมันนอกจากจะไม่สามารถเรียกความสงสารจากแกได้แล้ว ยังทำให้แกรำคาญอีกด้วย บิดาของเด็กชายตงไม่เคยเกิดความรู้สึกร่วมในความเจ็บปวดของเจ้าหมูตัวใดทั้งสิ้น
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ชำแหละหมูเสร็จ ตาแป๊ะเตี๋ยวจึงนำมันมาจัดเรียงไว้ในเข่งเตี้ย มีใบบัวรองที่ก้นเข่ง แยกส่วนที่เป็นเนื้อ มัน กระดูก และเครื่องในไม่ให้ปะปนกัน จากนั้นจึงล้างหน้าใส่เสื้อเตรียมออกไปขาย อาตงลูกชายคนเดียวของแกลุกขึ้นหุงหาอาหารเช่นทุกวัน ดูเหมือนว่าวันนี้จะลุกเช้ากว่าปกติ ไม่รู้ว่าเกิดขยันอะไรขึ้นมา อีกหน่อยแกจะให้อาตงลุกขึ้นมาช่วยชำแหละหมูแล้วจึงค่อย ๆ สอนวิธีแทงให้ ถึงตอนแกแก่ทำไม่ไหวจะได้มีคนทำแทน </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ใกล้เที่ยง ตาแป๊ะเตี๋ยวก็หาบเข่งซึ่งมีเพียงตาชั่งคันยาวกับมีดและเขียงกลับมา ส่วนหมูนั้นขายหมดไม่มีเหลือ
    บ้านดูเงียบเหงาวังเวงผิดปกติ "หลืออาตงอีหลับ ก็ไม่เคยนองกางวังนี่นา หลือว่าอีไม่ซำบาย" แกคิดไปร้อยแปด เพื่อความแน่ใจแกจึงตะโกนเข้าไปในบ้าน "อาตง อาตง เตี่ยกลับมาเลี้ยว" ไม่มีเสียงตอบออกมาจากข้างใน แกตะโกนเรียกซ้ำ ๆ กันอีกสองสามครั้งแล้วจึงผลักประตูบานหนาเข้าไป ภายในบ้านว่างเปล่า ไม่มีวี่แววว่าอาตงจะอยู่ในนั้น บนโต๊ะกินข้าวมีกระดาษวางอยู่แผ่นหนึ่ง แกเดินไปใกล้ ๆ ก็จำได้ว่าเป็นลายมือของลูกชายเขียนไว้ด้วยตัวหนังสือภาษาไทย พอจะเดาออกว่าได้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น คว้ากระดาษแผ่นนั้น ได้ก็ตรงแน่วไปยังบ้านเพื่อนของลูกชาย "อาเปี๊ยก อาเปี๊ยกอยู่ละป่าว ออกมาหาอาแปะหน่อย" แกตะโกนเรียกเพื่อนของอาตงอยู่หน้าประตูรั้วบ้าน เสียงตะโกนของแกทำให้สุนัขสี่ห้าตัววิ่งกรูเข้ามาพร้อมเสียงเห่าระงม หญิงสาวผู้หนึ่งรีบลงจากเรือนมาไล่ฝูงสุนัข ซึ่งวิ่งแตกกระจุยไปคนละทิศละทาง แล้วเชื้อเชิญแกขึ้นบ้าน

    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" align="center">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">"อั๊วะจามาหาอาเปี๊ยก" แกบอกจุดประสงค์ของการมา
    "เปี๊ยกไม่อยู่จ้ะ" เถ้าแก่มีอะไรหรือจ๊ะ ฉันเป็นพี่สาวเขาเอง" หล่อนแนะนำตัว
    "อาเปี๊ยกอีไปหนาย"
    </td> </tr> </tbody></table> "ไปนากับพ่อตั้งแต่เช้า ประเดี๋ยวก็คงกลับ เถ้าแก่ขึ้นไปรอบนบ้านก่อนก็ได้จ้ะ" หล่อนเชื้อเชิญอีก ตาแป๊ะมีท่าทางลังเล แต่แล้วก็พูดขึ้นว่า "อั๊วะจาให้อีอ่างไอ้นี่หน่อย" พูดพร้อมกับยื่นกระดาษแผ่นนั้นให้หญิงสาว หล่อนรับมาอ่าน ตาแป๊ะแอบสังเกตว่าคิ้วทั้งสองของหล่อนขมวดเข้าหากันขณะที่อ่านข้อความในกระดาษแผ่นนั้น
    "อีเขียงว่ายังไง" ถามอย่างอยากรู้
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"อาตงหนีไปบวชเณรแล้วละเถ้าแก่" หล่อนบอก ตาแป๊ะเตี๋ยวตบอกผางพูดอย่างโกรธกริ้วว่า "อั๊วะนึกเลี้ยวว่ามังต้องทำอักปียังงี้ หนายลื้อลองอ่างให้อั๊วะฟังหน่อยซิ" แกบอก หญิงสาวจึงอ่านตามตัวอักษรที่ปรากฏในแผ่นกระดาษนั้นให้แกฟัง </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "กราบเท้าเตี่ยที่เคารพรักอย่างสูง เมื่อเตี่ยพบหนังสือฉบับนี้ อาตงของเตี่ยก็คงเป็นเณรเรียบร้อยแล้ว ที่อาตงต้องหนีมาบวชก็เพราะเคยขอจากเตี่ยแล้วเตี่ยไม่ยอม อาตงก็เลยต้องทำเช่นนี้ โปรดอโหสิให้อาตงด้วย ขณะเดียวกัน อาตงก็ให้หนังสือฉบับนี้เป็นเสมือนหลักฐานการขออนุญาตจากเตี่ย ขอเตี่ยอย่าได้คิดว่าลูกชายของเตี่ยเป็นคนเนรคุณ เพราะการบวชครั้งนี้ก็เพื่อจะช่วยเตี่ยโดยแท้ อยากขอร้องเป็นครั้งสุดท้ายให้เตี่ยเลิกขายหมู แล้วหันไปทำอย่างอื่นที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หากเตี่ยเลิกได้ อาตงจะสึกออกมาช่วยเตี่ยค้าขาย แต่ถ้าเลิกไม่ได้ลูกชายของเตี่ยก็จะขอบวชไปจนตลอดชีวิต สุดท้ายนี้ขอให้เตี่ยจงรักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี อย่าคิดอะไรมากจะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยไปเสียเปล่า ถึงอย่างไรอาตงคนนี้ก็ยังรักยังเคารพและอยากเห็นเตี่ยมีความสุข ขอกราบแทบเท้ามาด้วยความเคารพรักอย่างสูง...จากอาตงลูกชายของเตี่ย"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">ระหว่างที่ฟังหญิงสาวอ่านหนังสือฉบับนั้น ตาแป๊ะเตี๋ยวใช้มือหยาบกร้านของแกลูกคลำเคราดำที่ยาวลงมาจนถึงราวนมเล่นอยู่ไปมาเพื่อคลายความเครียด ไม่นึกไม่ฝันมาก่อนว่าจะต้องมาพบกับความผิดหวังมากมายถึงเพียงนี้ ลูกหนอลูกช่างไม่รักดีเอาเสียเลย แกอุตส่าห์ทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการทำมาหากินหวังจะให้ลูกเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ลูกกลับเกียจคร้านไม่เจริญรอยตาม ดีแต่จะไปเที่ยวขอทานเขากิน ช่างไม่มีศักดิ์ศรีเอาเสียเลย จิตใจของตาแป๊ะเตี๋ยวกำลังหวั่นไหวปั่นป่วน ทั้งรักทั้งแค้นประดังแน่นอยู่ในอก จนมิรู้ที่จะจัดการกับชีวิตอย่างไร ทันทีที่หญิงสาวอ่านจบ แกรีบกล่าวคำขอบใจแล้วหันหลังกลับ เพื่อมิให้ฝ่ายนั้นได้เห็นน้ำตาแห่งความระทมทุกข์ที่กำลังไหลพ้นขอบตาลงมาอาบแก้ม </td> </tr> </tbody></table> พี่สาวของเด็กชายเปี๊ยกเห็นตาแป๊ะเตี๋ยวเดินคอตกจากไป ก็ให้รู้สึกสงสารแกยิ่งนัก แม้จะไม่ค่อยชอบแกสักเท่าไหร่ เพราะน้องชายเคยมาเล่าให้ฟังบ่อย ๆ ถึงความร้ายกาจของแก ในตำบลนี้ จะหาคนรักใคร่ชอบพอกับแกสักคนก็ทั้งยาก พวกชาวบ้านพากันลงความเห็นว่า แกเป็นคนบาปหนาเพราะนอกจากจะไม่เคยทำบุญสุนทานแล้ว ยังด่าเก่งอีกด้วย แกเที่ยวด่าเขาไปหมด แม้กระทั่งพระ เถร เณร ชี ก็ไม่มียกเว้น เขาว่าคนอย่างแกตายไปจะต้องตกนรกอเวจีไม่ได้ผุดได้เกิดเลยทีเดียว แต่ก็น่าแปลกที่อาตงลูกชายของแกกลับเป็นคนดี ไม่น่าเป็นไปได้ที่คนเลว ๆ อย่างแกจะมีลูกดี ๆ อย่างอาตง แสดงว่า นางเซาะกิม เมียของแกต้องเป็นคนดี แล้วอาตงมีนิสัยติดมาทางแม่ ทว่าหล่อนก็ยังสงสัยอยู่อีกนั่นแหละว่า ถ้าเมียของแกเป็นคนดีจริงแล้วทำไมจึงมาอยู่กับคนเลว ๆ อย่างแกได้ มันเหมือนน้ำกับน้ำมันที่ไม่มีวันจะผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้เลย แล้วหล่อนก็สรุปเอาเองว่า ที่นางเซาะกิม อายุสั้นก็เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกับคนเลว ๆ อย่างตาแป๊ะเตี๋ยวได้นั่นเอง
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ความเป็น คนเจ้้าทิฐิทำให้ตาแป๊ะเตี๋ยวไม่ไปตามลูกชายกลับ แกคิดเอาเองว่าเมื่ออาตงทนต่อความลำบากไม่ไหวก็คงจะสึกออกมาอยู่กับแกเอง เป็นนักบวชต้องเที่ยวขออาหารคนอื่นกิน ไหนเลยจะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง อีกไม่นานเมื่ออดอยากปากหมองหนักเข้าก็ต้องซมซานกลับมา ตาแป๊ะเตี๋ยวไม่ศรัทธาในพระสงฆ์องค์เจ้า แกดูถูกคนพวกนี้ว่าเกียจคร้านในการทำมาหากินและชอบเอาเปรียบผู้อื่น แกเกลียดพระเกลียดเณรมาแต่ไหนแต่ไร ไม่อยากพบ ไม่อยากเสวนาด้วย เพียงเห็นกันไกล ๆ ก็ยังรู้สึกคลื่นไส้ชวนให้อาเจียนเสียแล้ว ทำไมหนออาตงลูกชายของแกจึงคิดผิดด้วยการเที่ยวไปเบียดเบียนคนอื่นทั้งที่แกก็มีให้กินให้ใช้อย่างเหลือเฟือถึงปานนี้ การกระทำของอาตงถือเป็นความผิดใหญ่หลวงนัก ซมซานกลับมาเมื่อใดแกจะตีเสียให้เข็ด จะได้หลาบจำ</td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    สามเดือนผ่านไป อาตงก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับมาอยู่บ้าน ตาแป๊ะเตี๋ยวรู้สึกผิดหวังและว้าเหว่ระคนกัน แกคงจะต้องทำอะไรสักอย่าง นั่นคือต้องไปเอาตัวอาตงกลับมาก่อนที่อะไร ๆ มันจะสายเกินแก้
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ข้างฝ่ายอาตงนั้นเมื่อได้เปลี่ยนจากเพศฆราวาสมาถือเพศบรรพชิตแล้ว ก็ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเคร่งครัด หลวงตาซึ่งเป็นสมภารวัดได้ให้ความเมตตาแก่เณรตงเป็นพิเศษด้วยเห็นว่าเป็นเด็กดีมีความกตัญญูสูง </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "หลวงตาครับ ทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตอบแทนคุณของพ่อแม่ได้อย่างเลิศที่สุด" เณรตงถามท่านสมภารในเช้าวันหนึ่ง ทุกครั้งที่พูดกับภิกษุอาวุโสรูปนี้ มือทั้งสองจะอยู่ในท่าประนมเสมอ
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">"เออ! เข้าใจถามดีนี่นะ เอาละเมื่อเจ้าอยากรู้ข้าก็จะบอกให้เอาบุญ" พูดจบก็ลุกขึ้นเดินไปที่ตู้พระคัมภีร์ หยิบพระไตรปิฎกมาพลิกดูสี่ห้าเล่ม แล้วจึงหยิบติดมือมาเล่มหนึ่งพูดกับเณรตงว่า "นี่ หลักฐานอยู่ในเล่มนี้ ฟังให้ดีนะข้าจะอ่านให้ฟัง" ท่านเปิดคัมภีร์เล่มนั้นแล้วอ่าน </td> </tr> </tbody></table> "...ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบุคคลสองท่านเราไม่กล่าวว่าจะกระทำตอบแทนได้ง่ายเลย สองท่านคือใคร คือ มารดาและบิดา หากบุตรจะเอามารดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง เอาบิดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง ปรนนิบัติ ถึงเขาจะมีอายุยืนด้วยการขัดสี นวดฟั้น อาบน้ำให้ และแม้ว่าท่านทั้งสองจะพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขา นั่นก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้กระทำคุณหรือได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา ถึงบุตรจะพึงสถาปนามารดาบิดาไว้ในราชสมบัติ ทรงอิสราธิปัตย์บนมหาปฐพีอันมีสัตตรัตนะมากหลายนี้ ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันได้ทำคุณ หรือได้ตอบแทนมารดาบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย...ส่วนว่าบุตรคนใด ชักจูง ปลูกฝัง ประดิษฐานซึ่งมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาไว้ในศรัทธาสัมปทา...ซึ่งมารดาบิดาผู้ทุศีลไว้ในสีลสัมปทา...ผู้มีมัจฉริยะไว้ในจาคสัมปทา...ผู้ทรามปัญญาไว้ในสัญญาสัมปทา ด้วยการกระทำเพียงนี้จึงชื่อว่าเป็นอันได้แทนคุณ ได้ตอบแทนแก่มารดาบิดา...
    เณรตงฟังท่านสมภารตั้งแต่ต้นจนจบอย่างตั้งอกตั้งใจ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างตามภูมิความรู้ระดับประถมสี่ของตน อ่านจบท่านสมภารถามผู้เป็นศิษย์ว่า "เป็นไง เข้าใจซาบซึ้งแล้วหรือยัง"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"ครับ หลวงตากรุณาสรุปอีกครั้งเถิดครับ ตอนท้าย ๆ ผมยังไม่เข้าใจนัก" เณรตงขอร้อง ท่านสมภารจึงสรุปให้ฟังว่า "กล่าวโดยย่อก็คือ พระพุทธองค์ทรงสอนว่า บุคคลจะทำการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ได้อย่างดีเลิศที่สุดก็คือการทำให้พ่อแม่เปลี่ยนจากความเห็นผิดมาเป็นความเห็นถูกต้อง เช่นถ้าพ่อแม่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ แล้วบุตรสามารถทำให้ท่านเชื่อได้ อย่างนี้ถือว่าเป็นการตอบแทนอย่างสูงสุด" </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "ถ้าอย่างนั้นผมจะต้องทำให้โยมเตี่ยหันมาเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษให้ได้" เณรตงพูดอย่างมั่นใจ
    "ดี ขอให้สำเร็จเถอะ ข้าขออนุโมทนาด้วย คงต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดเชียวละ เพราะตาแป๊ะเตี๋ยวแกมีความเห็นสุดโต่งออกอย่างนั้น แต่ข้าเชื่อว่าเจ้าต้องทำได้สำเร็จ อย่าท้อถอยเสียก่อนก็แล้วกัน" ท่านสมภารพูดให้กำลังใจ
    "ผมจะพยายามจนสุดความสามารถเลยเชียวครับ" ตอบด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความรักและความกตัญญูต่อผู้บังเกิดเกล้า
    "หมั่นเจริญกรรมฐานแล้วแผ่เมตตาให้แกทุกวัน ไม่ช้าคงเห็นผล เอาละนะได้เวลาแล้ว แยกไปปฏิบัติที่กุฏิของเจ้าได้ ค่ำ ๆ ค่อยมาสอบอารมณ์กับข้า"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">"กราบขอบพระคุณหลวงตามากครับ" พูดพร้อมกับก้มลงกราบท่านสมภารด้วยความรู้สึกซาบซึ้งในบุญคุณของท่าน จากนั้นจึงแยกตัวไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่กุฏิของตน </td> </tr> </tbody></table> กุฏิที่ท่านสมภารให้เณรตงอยู่เป็นเรือนไม้หลังเล็กกะทัดรัด ตั้งอยู่ใกล้ป่าช้ามากกว่าหลังอื่น ๆ ภายในเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่าสองวา ยาวสามวาสองศอก นอกจากใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังเป็นที่ปฏิบัติธรรมของเณรรูปนี้อีกด้วย เมื่อถึงกุฏิเณรตงเริ่มลงมือปฏิบัติกรรมฐานโดยสวดมนต์ทำวัตรเช้าอันถือเป็นขั้นเริ่มต้นของการปฏิบัติ เพราะการสวดมนต์เป็นการสำรวมจิตให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเดินจงกรม เริ่มตั้งแต่ระยะที่หนึ่งไปจนถึงระยะที่หก เดินจงกรมอยู่ประมาณหนึ่งชั่วโมง จิตของท่านเริ่มจะตั้งมั่น จากนั้นจึงนั่งกรรมฐานในท่า "ขัดสมาธิเพชร" โดยยกขาซ้ายวางทับบนขาขวา แล้วจึงยกขาขวาวางทับบนขาซ้ายอีกทีหนึ่ง มือทั้งสองวางบนตักโดยให้มือขวาวางทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น แล้วเพ่งพิจารณาลมหายใจเข้าออกด้วยการบริกรรมว่า "พอง-หนอ" เมื่อท้องพองเพราะหายใจเข้า และ "ยุบ-หนอ" เมื่อท้องยุบเพราะหายใจออก พยายามให้สติจับอยู่กับอาการพองยุบอย่างนี้มิให้ซัดส่ายไปที่อื่นจนกว่าจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิซึ่งจะสามารถข่มนิวรณธรรมให้สงบระงับลงได้ จากนั้นจึงตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ตามแนวสติปัฏฐานสี่ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนามตามสภาวธรรมและตามกฎของไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และปราศจากตัวตนที่เที่ยงแท้
    อาศัยความเพียรอันยิ่งยวด การปฏิบัติของเณรตงจึงก้าวหน้าขึ้นทุกวัน แม้จะปฏิบัติมาเพียงสามเดือนเท่านั้น พระเณรหลายรูปที่บวชมาก่อนท่าน บางรูปก็ยังไม่สามารถแยกรูป แยกนามได้เพราะย่อหย่อนในความเพียร ด้วยจริยาวัตรอันดีงามนี้ทำให้ท่านเป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของท่านสมภารยิ่งนัก
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ออกจากกรรมฐานแล้ว เณรตงก็ตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง ท่านสมภารสอนไว้ว่าบุญกุศลที่ได้จากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นสามารถอุทิศไปได้ทุกภพภูมิ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ล่วงลับไปแล้วหรือผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นทั้งโยมบิดาและโยมมารดาจะต้องได้รับบุญกุศลที่ท่านอุทิศไปให้อย่างแน่นอน ส่วนบุญกุศลที่เกิดจากการทำบุญบริจาคทานจะอุทิศให้ได้เฉพาะผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตเท่านั้น หากไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์หรือเทวดา จะไม่ได้รับบุญกุศลอังกล่าว </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เวลาสองยามของคืนวันหนึ่ง ขณะที่เณรตงกำลังหลับสนิทอยู่ในกุฏิของท่าน ก็ต้องตกใจตื่นเพราะเสียงเคาะประตูปัง ๆ อย่างไม่เกรงอกเกรงใจของผู้มาเยือนในยามวิกาล
    "นั่นใคร มีธุระอะไรดึกดื่นป่านนี้" ท่านร้องถามออกไปและเสียงที่คนข้างนอกตะโกนตอบเข้ามาทำให้ท่านตระหนก
    "เตี่ยเอง เปิดปาตูให้เตี่ยหน่อย" เป็นเสียงของตาแป๊ะเตี๋ยวบิดาของท่านนั่นเอง ทั้งดีใจทั้งหวั่นหวาดระคนกัน ดีใจเพราะจะได้พบบิดา หากก็หวั่นว่าฝ่ายนั้นจะบังคับให้สึก ท่านคลำหาไม้ขีดมาจุดเทียนไข ยังผลให้ห้องแคบ ๆ นั้นสว่างขึ้นแล้วจึงเดินไปเปิดประตู
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"เจริญพร โยมเตี่ยทำไมถึงมาดึกดื่นอย่างนี้" ท่านทักพลางเชื้อเชิญให้บิดาเข้ามาข้างใน ตาแป๊ะเข้ามานั่งพลางกวาดสายตาสำรวจไปทั่วห้อง ไม่เห็นสมบัติมีค่าอันใดนอกจากของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงไม่กี่ชิ้น ไฟฉายที่แกถือติดมือมากระบอกหนึ่งนั้นยังดูมีค่ามากกว่าสมบัติที่ลูกชายมีอยู่ อาตงช่างมีความเป็นอยู่อย่างขัดสนเสียเหลือเกินในความคิดของผู้เป็นพ่อ </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "อาตง เตี่ยมาลับลื้อกับบ้าน" แกเอื้อนเอ่ย มองหน้าลูกก็อุปาทานว่าทั้งผอมทั้งดำไม่อ้วนท้วนขาวผ่องเหมือนตอนที่อยู่กับแก
    "โยมเตี่ยเลิกฆ่าหมูขายแล้วหรือ" ถามเพื่อทบทวนเงื่อนไขที่เคยให้ไว้กับบิดา
    "เตี่ยจาเลิกทำมาย มังเป็งอาชีกสุกจาหลิกที่ถ่ายทอกมาจากบังพะบุหลุก" แกพยายามพูดให้ลูกชายเห็นความสำคัญของอาชีพที่ทำอยู่
    "ทำไมโยมเตี่ยถึงมาดึกดื่นอย่างนี้" เณรตงเปลี่ยนเรื่องถามด้วยคร้านที่จะฟังบิดาพร่ำพรรณนาถึงสิ่งเป็นโทษว่าเป็นคุณ
    "เตี่ยจามาทำมายกางวัง ม่ายอยากเห็งหน้าพะ พวกอีขี้เกียกชิกหาย ลีแต่ขอทางคงอื่งกิง" แกบอกเหตุผลแต่ไม่ได้บอกว่าเพราะคิดถึงลูก คิดถึงมากกว่าทุกวันจนนอนไม่หลับ
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"ลื้อต้องสึกไปอยู่กะเตี่ย" คำว่า "สึก" ช่างบาดใจเณรตงเสียนัก ท่านรีบปฏิเสธทันควันว่า "อาตมาไม่สึก ตราบใดที่โยมเตี่ยไม่เลิกขายหมู อาตมาก็จะไม่สึก" นอกเหนือจากเงื่อนไขที่ให้ไว้กับบิดาแล้วท่านเองก็ไม่อาจปฏิเสธว่า พึงพอใจกับความสงบแห่งจิตซึ่งจะหาไม่ได้นอกเสียจากการถือเพศบรรพชิต </td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "อั๊วะไม่เลิกเลี้ยวอั๊วะก็จาให้ลื้อสึกล่วย" ตาแป๊ะเตี๋ยวพูดเสียงดังด้วยความโกรธ
    "โยมเตี่ยฟังอาตมาพูดสักหน่อยเป็นไร ที่อาตมามาบวชนี่ก็เพื่อจะช่วยโยมเตี่ยหรอกนะ"

    "ช่วยชิกหายอาลาย ลื้ออย่ามาพูกให้เสียเวลา ถ้าลื้อจาช่วยอั๊วะจิงก็ต้องสึกเหลียวนี้" แกพูดพร้อมกับลุกขึ้นฉุดมือเณรลูกชาย น่าแปลกที่ไม่รู้สึกคลื่นไส้เหมือนทุกครั้งที่เข้าใกล้ผ้าเหลือง ทว่าเณรตงรู้ว่านั่นเป็นอานิสงส์ของบุญกุศลที่ท่านอุทิศส่งมาให้ทุกค่ำคืน ช่างได้ผลทันตาเห็นดีเหลือเกิน
    "อย่า...โยมเตี่ยจะทำอย่างนี้ไม่ได้ อาตมาเป็นเณรนะ" ท่านห้ามเสียงหลง
    "เนง เนิงอั๊วะไม่สงใจ ลื้อต้องไปกะอั๊วะเหลียวนี้" แกเข้ายื้อยุดฉุดลากเป็นพัลวัน

    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">"อาตมาไม่ไป ถึงจะเอาไปฆ่าให้ตายอาตมาก็จะไม่ยอมสึก" เณรลูกชายพูดเสียงหนักแน่นเฉียบขาดจนบิดานึกท้อ หากทิฐิมานะที่แนบเนื่องอยู่ในกมลสันดานมาตั้งแต่เกิดทำให้แกไม่ยอมแพ้ </td> </tr> </tbody></table> "ให้ลื้อลู้ไปซีว่าจะลีกว่าอั๊วะ" ว่าแล้วก็ลากลูกชายถูลู่ถููกังออกมาจากห้อง เณรตงพยายามสะบัดแขนออกจากการเกาะกุมหากก็ไม่สำเร็จ เพราะบิดาแข็งแรงกว่า
    "ปล่อยอาตมาก่อน ไม่งั้นโยมเตี่ยจะต้องเสียใจ" ท่านขู่
    "อั๊วะไม่ป่อย ลื้อต้องไปกะอั๊วะเหลียวนี้ ลู้ละป่าวอีกไม่กี่วังอายุลื้อก้อจาคบสิกสี่เลี้ยว ยังจามาเที่ยวขอทางเค้ากิง น่าอายชิกหายเลย" แกบ่นอุบ
    "เอาละ ในเมื่อพูดกันไม่รู้เรื่องเราก็อย่าได้เจอะเจอกันอีกเลย" พูดจบก็สะบัดแขนอย่างแรงจนหลุดจากการเกาะกุมแล้วกระโจนลงจากกุฏิวิ่งหายไปทางป่าช้าหลังวัด เมื่อหายตกตะลึงตาแป๊ะเตี๋ยววิ่งลงบันไดไล่ตามไป แสงจันทร์สลัวรางในคืนข้างแรมทำให้พอมองเห็นทางโดยไม่ต้องพึ่งไฟฉาย สุนัขในวัดพากันเห่าเสียงขรมและวิ่งกรูเข้ามา ความกลัวจะถูกสุนัขกัด ทำให้แกหันหลังกลับแล้ววิ่งอ้าวไปทางหน้าวัด ครั้นแน่ใจว่าสุนัขเหล่านั้นไม่ตามมาจึงเปลี่ยนเป็นเดินเร็ว ๆ แล้วค่อยช้าลง ๆ กระทั่งถึงบ้าน จิตใจของแกในยามนี้ช่างรันทดหดหู่เสียนัก น้ำตาไหลรินอาบแก้มโดยมิรู้ตัว

    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...