ไทฉิ(ไท้เก้ก) โยคะ สติปัฏฐาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย กลกาล, 17 มิถุนายน 2008.

  1. กลกาล

    กลกาล สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +0
    ไทฉิ โยคะ สติปัฎฐาน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผู้แสวงหาเพื่อความหลุดพ้น (โมกษะ) ครั้งอดีตไม่ว่าเป็นสมรในพระพุทธศาสนา โยคีหรือนักพรตเต๋า หรือ ศาสนิกผู้โถมศรัทธาค้นหาองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็ล้วนแต่ได้เรียนรู้บอกกล่าวถึงสภาพตื่นขึ้นของจิต จากถ้อยคำของท่านผู้รู้ประสบพบเห็นมาแล้วทั้งสิ้น ในช่วงชีวิตของเรา จากการไม่เคยได้ยินได้ฟัง เราได้เลื่อนขึ้นสู่การได้ยินได้ฟัง เราเคยเห็นโยคีผู้แสวงหาเล่นโยคะ หรือรำมวยไทฉิ หรือเห็นพระภิกษุเดินจรงกลม ทำกรรมฐานเราเริ่มเรียนรู้เพิ่มเติมว่า ความเชื่อเรื่องการหลุดพ้นนั้นยังมีชีวิตชีวาอยู่แม้ในปัจจุบันนี้ เมื่อเราศึกษาใกล้ชิดในเรื่องเช่นนี้ เราจะหายเข้าใจผิดไปทีละน้อย และค่อยๆกลายเป็นผู้ซึ่งมุ่งแสวงหาสภาพหลุดพ้นจากเขาคนหนึ่งด้วยทั้งที่หนหนึ่งเราเคยดูถูกเหยียดหยามหรือเยาะเย้ยด้วยซ้ำ โยคะไม่เป็นเพียงฤๅษีดัดตนแก้เมื่อย ไทฉิ ไม่ใช่มวยจีน และการกำหนดสติของพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ท่าทีของ วัฒนธรรมอีก แต่มันเป็นการแสวงหาเพื่อความหลุดพ้น อย่างรู้สึกตัวทั่วพร้อม มันไม่ใช่การกระทำที่เพ้อฝัน งมงายแต่อย่างใด<o:p></o:p>
    ไม่ใช่ง่ายนักที่จะชี้ถึงสภาพหลุดพ้น อันเป็นเรื่องลึกซึ้งในภายในของแต่ละคน อันรู้ได้จำเพราะตัว แต่ไม่ยากนักที่จะชี้ให้เห็นความสำคัญ และความจำเป็นในการเรียนรู้จักตัวเองอันจะนำไปสู่การมีชีวิตที่อิสระ และการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เมตตากรุณา แต่ตราบใดที่คนเรายังค้นไม่พบ ศักยภาพและความกลมกลืนในภายในตัวเองแล้ว ความเชื่อต่อสภาพหลุดพ้นก็ยังหาเกิดได้ไม่ และดังนั้นเองคนส่วนใหญ่จึงโน้นไปในทางที่ไม่เชื่อ หรือถือเสียว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อและอาจจะมองเลยไปในแง่ลบว่าผู้ประสงค์ความหลุดพ้นนั้นงมงาย เฟ้อฝัน ทั้งนี้เพราะมีเหตุที่จะเห็นเช่นนี้สนับสนุนโดยรอบด้าน กล่าวคือการขาดความรู้สึกตัวของผู้แสวงหา ทำให้จิตคลั่งไคล้เคลิบเคลิ้มขาดความสัมพันธ์กับชีวิตจริงนั้นเอง<o:p></o:p>
    การค้นหาศักยภาพและความกลมกลืนเพื่อความลุถึงสมาธิอันแรงกล้า ได้เป็นอุดมการณ์ของศาสนิกของทุกลัทธิอตมภาพ ชีวิตนิรันดร โมกษะ ไกลวัย แผ่นดินสวรรค์ ได้กลับกลายเป็นเป้าหมายแห่งการค้นหาของอนุชนทุกรุ่น ทุกๆ ลัทธิล้วนยืนยันว่าหลักของตนจริงแท้ และมีท่าทีปฏิเสธความเชื่อของผู้อื่นอยู่ในที ลักษณะเช่นนี้แหละคือสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมอันกำหนดให้สมาชิกของชุมชนหนึ่ง ๆ มีบุคลิกภาพทัศนคติไม่ตรงกัน โน้นน้าวไปในทางอคติละรุนแรง จิตใจที่คลั่งความเชื่อตามทางของวัฒนธรรมนั้น ก็หลงลืมชีวิตล้วนๆๆก้อยู่เหนือคำอธิบายของลัทธิใดๆๆ ไปหมดสิ้น มนุษย์ยืนยันสัจจะของตนว่าจริงแท้ และว่าของผู้อื่นมดเท็จก็เพราะความยึดมั่น มี ทิฐิ มานะ ตัณหา เป็นตัวบงการมนุษย์สุญเสียความเป็นมนุษย์ก็เพราะลัทธิ ความเชื่อและอำนาจของความกลัวนั้นเองที่มนุษย์มุ่งสู่ลัทธิความเชื่ออย่างฝังหัว ชนิดไม่เหลียวแลต่อลัทธิแท้ดั้งเดิมล้วนๆ ยังมีการใช้ชีวิต ที่อยู่เหนือความเชื่อได้หรืไม่ ชีวิตเช่นนี้จะตกต่ำเลวทราม ตามจริยธรรม วัฒนธรรม หรือว่ากลมกลืน ตามธรรม๙ติกันแน่ ตรงนี้แหละที่เราจำต้องหันมาพิจารณา โยคะ ไทฉิ ละสติปัฏฐาน 4 รวมถึงการเพ่งเพื่อกลมกลืนกับพระผู้เป็นเจ้าการกระทำจำเพาะนี้คือ การตามรู้ตามเห็นอย่างใกล้ชิดต่อการดำรงชีวิตอยู่เหนือคำอธิบายของหลักลัทธิ เป็นการเห็นสภาวะตามที่เป็นจริง เป็นเอง ปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ เป็นการเห็นชีวิตการดำรงอยู่ทุกสิ่ง โดยไม่แบ่งแยกแจกตามระบบคุณค่าทางวัฒนธรรม ระบบตรรกวิธี หรืออื่นใด กล่าวคือเป็นการเห็นความเป็นเองของชีวิต อย่างลึกซึ้งถึงแก่น พ้นสัญญาลักษณ์ และกรอบทฤษฎีต่างๆ<o:p></o:p>
    จิตตามวิสัยสามัญนั้น ต้องประกอบด้วยสัญญาลักษณ์ความเชื่อและอคติ และนึกคิดไปโดยไม่รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่เคยได้ตั้งสติย้อนมาเฝ้าดูอาการล้วนๆ ของจิต เพราะมัวเมาเพลิดเพลินคิดนึก จึงไม่เห็นความคิดนึก จึงไม่รู้สึกต่อการมีชีวิตล้วนๆ อันผ่องแผ้วได้ <o:p></o:p>
    โยคะ ไทฉิ สติปัฏฐาน ก็คือการทำความรู้ตัว กำหนดความรู้ตัวอยู่บนฐานของการเคลื่อนไหวที่เป็นจริงและต่อเนื่องเพื่อรู้แจ้งและกลมกลืนเป็นการทำลายความไม่รู้ด้วยความรู้ต่างๆๆ เป็นช่วงเพ่งจำเพาะอยู่เหนือความรู้สึกนึกคิด อันเรียกเอาศักยภาพแห่งการดำรงชีวิตคืนมา และกำลังภายในจากแหล่งกำเนิน คือกระแสสมาธิอันลึกซึ้งและแรงกล้าจะเข้ามาเปลี่ยนกระแสธารของชีวิตให้ไหลย้อนกลับหลักสู่ต้นกำเนิด อันพรั่งพร้อมด้วยปรีชาญาณ ที่แหล่งกำเนิดชีวิตนั้นไม่ใช่การดำรงอยู่ เป็นใหญ่เหนือความหมายรู้เรื่องอยู่หรือตาย และด้วยอิสระเช่นนี้เท่านั้นจึงเรียกว่า เป็นความสุขสงบกล่าวคือสงบจากการดิ้นรนเพื่ออยู่ พลังทั้งหมดของการมีชีวิตอยู่ไม่ถูกทำลายไปเพราะความนึกคิด วิตก กังวล หื่นกระหายที่จะได้ชีวิตในมายา ดังนั้นชีวิตจึงเปิดเผยถึงธาตุแท้อันไม่ถูกจำกัดอยู่ในกรอบทัศนคติใดๆ ศักยภาพและการสร้างสรรค์ศิลป์ศาสตร์ เห็นความนึกคิดนี้ เป็นการรู้รอบถ้วนทั่วกลมกลืน และเป็นกันเอง ไม่ใช่การเพ่งเพื่อหยุดพิจารณาใดๆ การรู้ความรู้สึกก็คือ เวทนานุปัสนา รู้การเคลิ่อนไหวคือกายานุปัสนา การรู้เห็นความนึกคิด คือจิตตานุปัสนา ละเป็นการรู้เห็นในขณะอันเป็นจริง มิใช่คลาดเคลื่อน หรือคาดคิดหรือหาเหตุอันไม่ได้เห็นสภาพจริง<o:p></o:p>
    การมีสติรู้เห็นถ้วนทั่ว ปล่อยวางไม่ยึดถือ เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่ทีละตอนตามทางการอธิบายสติปัฏฐาน 4 นั้น เป็นประสบการณ์โดยตรง อยู่เหนือการคาดคิดวิพากษ์วิจารณ์ หรือไตร่ตรองเป็นสภาพกลมกลืน และเห็นแจ้งต่อความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นอยู่เอง นี่คือใจความของภาคปฏิบัติไม่ใช่ระบบอธิบายคุณค่าใดๆ เราจะเห็นว่า โยคะ ไทฉิ ละสติปัฏฐานนั้น เป็นกลวิธีพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วถึงโดยอาศัยการเคลื่อนไหวอันเนิบช้าละต่อเนื่องเพื่อเกิดอำนาจสมาธิตามธรรมชาติให้พอเพียงที่จะปลุก โพธิ ให้ตื่นขึ้น ทั้งโยคะ ไทฉิ สติปัฏฐานหาใช่สัจจะไม่ แต่เป็นเทคนิคในการเร้าให้ธาตุแท้ของจิตได้แสดงศักยภาพของมันออกมา ชื่อต่างๆ ที่เรียกว่า เวทนา จิต อาสวะ ฯลฯ อะไรเหล่านี้เป็นสิ่งสมมุติ หากยึดถือเข้าแล้ว การปลุกโพธิให้ตื่นก็หาสำเร็จไม่ จนไม่อาจล่วงรู้ถึงสิ่งจริงที่เหนือสมมุติได้ ชีวิตกับความสว่างและอิสรภาพนั้นคือสิ่งเดียวกัน ชีวิตคือสภาพตื่น รู้แจ้งอยู่เองแล้วเราสูญเสียหลงลืมมันไป ก็เพราะมายาภาพทางวัฒนธรรมอันก่อเกิดเป็นความรู้สึกนึกคิด แล้วยึดถือว่าเป็นจริงเป็นจัง จนเป็นความเชื่อ ทิฐิเกิดอหังการรุนแรง ทนทุกข์ทรมาน และไร้ความสามารถ ขาดกรุณายิ่ง <o:p></o:p>
    โดย พระโกวิท เขมานันทะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...