ไตรภูมิพระร่วง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย omio, 16 เมษายน 2009.

  1. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,214
    ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"
    วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่<wbr>ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการฯลฯ

    [​IMG]
     
  2. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,214
    ประวัติ ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์<wbr>ของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งแต่<wbr>งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1888 โดยมีพระประสงค์ที่<wbr>จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้<wbr>นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรี<wbr>ชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุ<wbr>ทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที<wbr>่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดี<wbr>โลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็<wbr>นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่<wbr>ในปัจจุบันนี้ เหตุผลการแต่งไตรภูมิพระร่<wbr>วงของพระมหาธรรมราชาลิไท เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองด้<wbr>วย เนื่องจากไตรภูมิเป็นเรื่องที่<wbr>เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอนให้คนรู้จักการทำความดีเพื่<wbr>อจะได้ขึ้นสวรรค์ หากแต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศี<wbr>ลก็จะต้องตกนรก กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่<wbr>พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้<wbr>นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้การปกครองบ้านเมืองให้<wbr>สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็<wbr>นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็ไม่อาจดูแลได้ทั<wbr>่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิ<wbr>พนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่<wbr>องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อที่<wbr>ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์<wbr>ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่<wbr>สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภู<wbr>มิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสั<wbr>งคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุ<wbr>กคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกั<wbr>นแต่อย่างไร
    ไตรภูมิพระร่วงเป็<wbr>นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่<wbr>าวถึง ภูมิ (แดน) ทั้งสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุ<wbr>เป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่<wbr>ามกลาง จักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้รวมเรียกว่าเขาสั<wbr>ตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า มหานทีสีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็<wbr>นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้<wbr>ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล
     
  3. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,214
    นรกภูมิ


    หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม คริสต์ พุทธและยูได อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่<wbr>วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้<wbr>งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้

    นรกของทางพุทธศาสนาต่<wbr>างจากนรกของทางตะวั<wbr>นตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิ<wbr>ดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิ<wbr>พากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้<wbr>กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้<wbr>นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่<wbr>างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้<wbr>กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้<wbr>นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรื<wbr>อตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี
    ว่ากันตามกายภาพแล้ว ทางพุทธศาสนาเชื่อว่านรกเป็นดิ<wbr>นแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่<wbr>งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภูมิ" ซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุ<wbr>ษยโลกลงไป และมีแปดชั้นหรือที่เรียกว่า "ขุม" สำหรับลงทัณฑ์ต่าง ๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิด


    [​IMG]
    ศาลมัจจุราชในนรก (สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุ<wbr>รี เล่ม 1. (2542). กรุงเทพ: กรมศิลปากร)
     
  4. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,214
    นรกภูมิ มีนรกใหญ่ 8 ขุม คือ สัญชีพนรก กาลสูตนรก สังฆาฏนรก โรรุพนรก มหาโรรุพนรก ตาปนรก มหาตาปนรก มหาอเวจีนรก สัตว์ที่เกิดในนรกแห่งนี้มีอายุ<wbr>ยืนนานนับไม่ถ้วน สัตว์นรกขุมแรกมีอายุยืนได้ 500 ปี (1 วันกับ 1 คืนของเมืองนรกเท่ากับ 9 ล้านปีของเมืองมนุษย์) ส่วนสัตว์นรกที่อยู่ขุมถัดไปมี<wbr>อายุนับทวีคูณจำนวนปีของขุ<wbr>มนรกแรก

    นรก 8 ขุมนี้ มีกำแพงเหล็กแดงลุกเป็นไฟอยู่<wbr>เสมอล้อมเป็นสี่เหลี่ยม พื้นบนและพื้นล่างก็เป็นเหล็<wbr>กแดง ที่ลุกเป็นไฟ กำแพงทั้ง 4 ด้าน ยาวด้านละ 1,000 โยชน์ หนา 9 โยชน์ มีประตูเข้า 4 ประตู ส่วนพื้นบนและพื้นล่างมีความหนา 9 โยชน์ นรกใหญ่แต่ละขุมมีนรกบริวารหรื<wbr>อนรกบ่าวล้อมอยู่ด้านละ 4 ขุม นรกใหญ่ขุมหนึ่งจึงมีนรกบ่าว 16 ขุม นรกใหญ่ 8 ขุมจึงมีนรกบ่าวทั้งหมด 136 ขุม และก็มีนรกเล็กๆ น้อยๆ อีกจำนวนนับไม่ถ้วน นรกบ่าวทั้ง 16 ขุมรวมเรียกชื่อว่า อุสุทธ (อุสสทนรก) นรกโลกันต์


    ยมบาล หรือผู้ดูแลนรกเฝ้าประตูนรกไว้ มีพระยายมราชเป็นผู้ทรงธรรมเที่<wbr>ยงตรงเป็นใหญ่เหนือยมบาลทั้<wbr>งหลาย หน้าที่ของพระยายมราชคื<wbr>อสอบสวนบุญบาปของมนุษย์ที่ตายไป หากทำบุญก็จะได้ขึ้นสวรรค์<wbr>ทำบาปก็จะตกนรก




    [​IMG]

     
  5. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,214
    นรกแปดขุม

    1. สัญชีวนรก ("นรกแห่งการเกิดอีกหน") : นรกขุมนี้มีผนังทำจากเหล็กร้<wbr>อนกั้นรอบด้าน มองไปไม่เห็นขอบ มีอาณาเขตไพศาลยิ่งนัก และทั่วบริเวณมีไฟลุกโชนหาที่ว่<wbr>างเว้นมิได้เลย ในไฟนรกนี้ปรากฏอาวุธต่าง ๆ เช่น หอก ดาบ มีด สัตว์ในขุมนี้จะวิ่งพล่านอยู่<wbr>บนไฟนรกดังกล่าว เมื่อวิ่งแล้วก็กระทบกับอาวุ<wbr>ธ เหล่านั้นได้รับบาดเจ็บเป็นนั<wbr>กหนา เมื่อถึงแก่ชีวิตก็ดี หรืออวัยวะขาดไปก็ดี ร่างกายจะกลับมามีพลานามัยสมบู<wbr>รณ์อีกครั้ง เพื่อให้รับโทษในขุมนี้จนกว่<wbr>าจะสิ้นโทษ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>นเวลาสี่พันห้าร้อยล้าน (4,500,000,000) ปีมนุษย์ หรือห้าร้อยปีนรก


    2. กาฬสุตนรก ("นรกด้ายดำ") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ สัตว์ในขุมนี้จะถูกตีเส้นบนเนื้<wbr>อตัวโดยนายนิรยบาลด้วยการนำเส้<wbr>นเหล็กเผาไฟมานาบเป็นลายบนตัว และจะถูกผ่า เลื่อย หรือตัดตามเส้นนั้น สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>นเวลาสามหมื่นหกพันล้าน (36,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือหนึ่งพันปีนรก


    3. สังฆาตนรก ("นรกตีกระทบ") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ นรกนี้จะห้อมล้อมไปด้วยภู<wbr>เขาเหล็กลูกมหึมามีไฟลุกท่<wbr>วมคอยกลิ้งเข้ากระทบกระแทกสัตว์<wbr>นรกจนเหลวเป็นวุ้นเลือด ผู้วิ่งหนีมิเข้าไปในระหว่<wbr>างเขานี้จะถูกนายนิรยบาลไล่<wbr>แทงไล่ฟันเป็นต้น เมื่อตายแล้วก็กลับเป็นปรกติเพื่<wbr>่อ รับโทษอีกครั้งเหมือนในขุมก่<wbr>อน ๆ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>น เวลาสองแสนเก้าหมื่นล้าน (290,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือสองพันปีนรก


    4. โรรุวนรก("นรกแห่งเสียงหวีดร้<wbr>อง") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ ใจกลางขุมมีเหล่าดอกบัวกลีบเป็<wbr>นเหล็กมีไฟลุกโชน สัตว์นรกจะถูกกรรมดลใจให้ดำผุ<wbr>ดล งไปในดอกบัวเหล่านั้น กลีบบัวก็จะงับอวัยวะต่าง ๆ เช่น ศีรษะ แขน และขา เป็นต้น เมื่องับไว้แล้วก็ไม่ปล่อย ไฟจากบัวก็จะเผาผลาญสัตว์นั้น สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>นเวลาเก้าแสนสามหมื่นหกพันล้าน (936,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือสี่พันปีนรก


    5. มหาโรรุวนรก ("นรกแห่งเสียงหวีดร้องอย่างหนั<wbr>ก") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ เหล่าบัวมิได้มีแต่ในกลางขุม แต่ขึ้นอยู่ทั่วไป และกลีบบัวนั้นเป็นกรด ช่องว่างที่บัวมิได้งอกจะมีอาวุ<wbr>ธลุกเป็นไฟ เช่น แหลน หลาว หอก เป็นต้น งอกขึ้นมาแทน บัวจะไม่งับสัตว์นรกไว้แน่นนั<wbr>กเพื่อให้ดิ้นพร่านไปถูกอาวุธที<wbr>่งอกขึ้น เมื่อดิ้นไปมาจนตกลงสู่พื้นแล้<wbr>วจะมีสุนัขร้ายเข้ามากัดทึ้<wbr>งจนเหลือแต่กระดูก และกลับมาสมบูรณ์เพื่อรั<wbr>บ โทษใหม่อีกจนกว่าจะหมดโทษเหมื<wbr>อนในนรกที่แล้ว ๆ มา สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>นเวลาเจ็ดหมื่นสามพันล้านเจ็<wbr>ดแสนสองหมื่นแปดพันล้านล้าน (73,000,728,000,000,000) ปีมนุษย์ หรือแปดพันปีนรก


    6. ตาปนรก ("นรกแห่งความร้อน") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ นรกนี้มีไฟลุกท่วม ในไฟมีอาวุธ เช่น หอก แหลน หลาว เป็นต้น คอยพุ่งเข้าทิ่มแทงสัตว์นรกขึ้<wbr>นตั้งไว้ย่างไฟ เมื่อเนื้อหนังมังสาของสัตว์นั้<wbr>นกรอบหลุดร่วงลงมาจะยังให้สัตว์<wbr>นั้นร่วงลงมาด้วย ครั้นร่วงแล้วจะถูกสุนั<wbr>ขขนาดใหญ่เท่าช้างวิ่งเข้ามากั<wbr>ดทึ้งจนเหลือแต่กระดูก สัตว์ใดหนีสุนัขได้จะถูกนายนิ<wbr>รยาลจับทิ่มหอกแล้วตั้งขึ้นย่<wbr>างอีกครั้ง และเช่นเดิม เมื่อตายแล้วจะลับมาสมบูรณ์เพื่<wbr>อรับโทษใหม่อีกจนกว่าจะหมดโทษ สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็นเวลาสองพันเก้าร้อยสี่สิบเจ็ดล้<wbr>านสามแสนเก้าหมื่นสองพันล้านล้<wbr>านปีมนุษย์ (2,947,392,000,000,000) หรือหนึ่งหมื่นหกพันปีนรก


    7. มหาตาปนรก ("นรกแห่งความร้อนอย่างหนัก") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ ไฟนรกนั้นจะพุ่งซัดเข้<wbr>า มาจากกำแพงนรกรอบด้าน และใจกลางนรกก็จะมีภูเขาเหล็กลุ<wbr>กเป็นไฟ เมื่อสัตว์นรกหนีไฟที่พุ่<wbr>งมาโดยปีนขึ้นไปบนเขาก็จะถูกย่<wbr>างสด และเมื่อร่วงลงมาก็จะถูกอาวุธร้<wbr>อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นเสียบตั<wbr>วตั้งไว้ย่างไฟอีกเหมือนนรกขุ<wbr>มที่แล้ว สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>นเวลาครึ่งกัลป์หรือคือเวลาอั<wbr>นประมาณมิได้


    8. อเวจีมหานรก ("นรกอันมิขาดสาย") : มีลักษณะเพิ่มเติมจากนรกขุมที่<wbr>แล้วคือ นรกขุมนี้มีกำแพงหกด้านอยู่ขุ<wbr>มเดียว โดยสัตว์นรกจะเคลื่อนไหวร่<wbr>างกายมิได้เลยเพราะถูกอาวุธร้<wbr>อน ตรึงไว้กับพื้นหมดในท่ายื<wbr>นกางแขนและขา โดยมีไฟลุกท่วมย่างสัตว์นั้น นอกจากนี่ยังมีเตาเผาใหญ่ นายนิรยบาลจะจับสัตว์โยนลงไปย่<wbr>างในเตานั้นด้วย สัตว์นรกนี้ต้องรับโทษเป็<wbr>น เวลาหนึ่งกัลป์หรือคือเวลาอั<wbr>นประมาณมิได้


    [​IMG]

    อเวจีมหานรก (สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุ<wbr>รี เล่ม 1. (2542). กรุงเทพ: กรมศิลปากร)

    (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
     

แชร์หน้านี้

Loading...