ในชีวิตประจำวัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 16 พฤศจิกายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ในชีวิตประจำวัน จิต เจตสิก รูป เกิดเพราะปัจจัย เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

    เพราะมีปัจจัยทำให้จิตประเภท โลภะ โทสะ โมหะ เห็น ได้ยิน เป็นต้น เกิดขึ้น จิต

    ประเภทนั้นๆก็เกิดขึ้น จะห้าม หรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เมื่อต้องการสภาพจิตที่

    ดี ๆ เช่น เมตตา สติปัฏฐาน ปัญญา เกิดขึ้น แต่เพราะไม่มีปัจจัยจิตเหล่านี้ก็ไม่เกิด

    ขึ้น บังคับไม่ได้ แม้ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา ความไม่สบายใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้น

    เพราะมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ห้ามหรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ แม้รูปร่างกายของเรา บังคับ

    ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ก็ไม่ได้ การบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน ไม่เป็น

    ไปตามอำนาจ ชื่อว่า อนัตตา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#fefbe7 height=22></TD><TD bgColor=#fefbe7 height=22 align=right><INPUT class=nostyle value=12163 align=absMiddle type=checkbox name=t_sel> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD> พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

    อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.

    อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้

    คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง

    การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูญ ไปจากอาการที่เป็น

    ไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ

    ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็น

    สิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เมื่อกล่าวถึงธรรมแล้ว มีทั้งธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้ว

    ก็ดับไป ไม่ยั่งยืน เป็นสังขารธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวัน

    เพราะในชีวิตประจำวัน มีสภาพธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา และมีธรรม

    อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่เกิดไม่ดับคือ พระนิพพาน ผู้ที่จะประจักษ์

    แจ้งพระนิพพานได้นั้นต้องเป็นพระอริยบุคคล เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ธรรมทั้งหลาย

    ทั้งปวง ไม่มีเว้นอะไรเลย เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่

    ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
    การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความ

    เจริญขึ้นของปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูก เห็นถูก จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็จะค่อย ๆ

    รู้ขึ้นไปตามลำดับ

    ปัญจวัคคิยสูตร

    ว่าด้วยอนัตตลักษณะ

    [๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสปตน

    มฤคทายวันกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเบญ

    จวัคคีย์ ฯลฯ แล้ว

    ตรัสว่า


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้ว

    ไซร้ รูปนี้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอ

    รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่

    ตัวตน ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า
    ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนามิใช่ตัวตน ก็หากเวทนานี้จักเป็นตัวตนแล้ว

    ไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาว่า ขอ

    เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่เวทนา

    มิใช่ตัวตน ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา

    ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญามิใช่ตัวตน ก็หากสัญญานี้จักเป็นตัวตน

    แล้วไซร้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสัญญา

    ว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะ

    เหตุที่สัญญามิใช่ตัวตน ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตาม

    ความปรารถนาในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้

    เป็นอย่างนั้นเลย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารมิใช่ตัวตน ก็หากสังขารนี้จักเป็นตัวตน

    แล้วไซร้ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในสังขาร

    ว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุ

    ที่สังขารมิใช่ตัวตน ฉะนั้น

    สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในสังขารว่า ขอ

    สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณมิใช่ตัวตน ก็หากวิญญาณนี้จักเป็นตัว

    ตนแล้วไซร้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาใน

    วิญญาณว่า ขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ก็เพราะเหตุที่วิญญาณมิใช่ตัวตน ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

    และไม่ได้ตามความปรารถนาในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้

    เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    [๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

    ไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

    ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตัวตนของเรา ?

    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

    ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

    ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นตัวตนของเรา ?

    ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.​
    <HR>
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ ๑๓๗
    [๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูปอย่างใด อย่าง

    หนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอกหยาบหรือ

    ละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึง

    เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

    เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น

    อดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น

    เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง

    อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ

    ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สัญญาทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน

    ชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่

    ใช่ตัวตนของเรา สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ

    ปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ สังขารทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็น

    ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น

    นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น

    อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว

    หรือประณีต ทั้งที่อยู่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญ

    ความข้อนั้น ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราเราไม่เป็นนั่น นั่น

    ไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    [๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่าง

    นี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ใน

    วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุด

    พ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว

    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้

    มิได้มี.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้จบลงแล้ว ภิกษุเบญจ

    วัคคีย์ต่างมีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แหละเมื่อ

    พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็มีจิต

    หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น.​
    จบ ปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗
    อรรถกถาปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗


    ในปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า ปญฺจวคฺคิเย ได้แก่นักบวช ๕ รูป มีพระอัญญาโกณฑัญญเถระเป็นต้น

    ซึ่งเป็นอุปัฏฐากเดิม.


    บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า วันแรม ๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

    ปัญจวัคคีย์ผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลตามลำดับ ตั้งแต่ทรงประกาศธรรมจักรในวัน-

    อาสาฬหปุณณมีว่า บัดนี้เราจักแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอทั้งหลาย.

    บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ตรัสคำนี้ คือ อนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นไปโดย

    นัยเป็นต้นว่า ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดังนี้.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่าอนัตตา ด้วยเหตุ ๔ อย่างที่กล่าว

    แล้วในก่อน. เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. เพราะโดยฐานะเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาค

    เจ้าตรัสอนัตตลักษณะเท่านั้น มิได้ตรัสอนิจจลักษณะและทุกขลักษณะ บัดนี้ ทรง

    แสดงลักษณะเหล่านั้น เพื่อรวมแสดงลักษณะทั้ง ๓ จึงทรงเริ่มคำนี้.


    พึงทราบดังนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    เป็นอนัตตา. คำอธิบายอย่างพิสดารในคำว่า ยงฺกิญฺ จิ รูปํ เป็นต้น กล่าวไว้แล้วใน

    ขันธนิเทศ ตอนว่าด้วยปัญญาภาวนาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง พึง

    ทราบตามทำนองที่กล่าวแล้วนั่นและ ก็ในพระสูตรนี้ ท่านกล่าวอนัตตลักษณะเท่านั้น

    แล.​
    จบ อรรถกถาปัญจวัคคิยสูตรที่ ๗

    ๗. ฏีกาปัญจวัคคียสูตร

    (
    ในฉบับฉัฏฐสังคายนาเป็น อนัตตลักขณสูตร ทั้งพระบาลี อรรถกถาและฏีกา)


    ๕๙. ข้อความว่า อุปัฏฐากเดิม หมายถึง ชนผู้เคยเป็นอุปัฏฐาก ในคราวที่ทรง

    ตั้งความเพียรครั้งแรก ฯ

    ข้อความว่า ด้วยเหตุ ๔ อย่างที่กล่าวแล้วในก่อน หมายถึง เหตุ ๔ อย่าง

    ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คือ
    ๑) เพราะเหตุที่เป็นธรรมไม่เป็นไปในอำนาจ

    ๒) เพราะเหตุที่เป็นธรรมไม่มีเจ้าของ

    ๓) เพราะเหตุที่เป็นธรรมว่างเปล่า

    ๔) เพราะเหตุที่เป็นธรรมปฏิเสธอัตตา
    ข้อความว่า โดยฐานะเพียงเท่านี้ หมายถึง โดยการแสดงพระสูตรเพียงเท่านี้

    เริ่มตั้งแต่ รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดังนี้ ไปจนถึง

    เอวํ เม วิญฺญาณํ มา อโหสิ ขอวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้

    ข้อความว่า ตรัสลักษณะเหล่านั้น หมายถึง ได้ตรัสลักษณะที่ยังมิได้ตรัส

    นั่นแหละให้ยิ่งขึ้น, หาได้ตรัสอนัตตลักษณะที่ตรัสแล้วให้ยิ่งขึ้นไปไม่ ฯ

    ข้อความว่า รวมแสดง หมายถึง ประมวล ฯ

    ข้อความว่า คำอธิบายอย่างพิสดาร หมายถึง อรรถกถา (กถาแสดงเนื้อความ

    พระบาลี) โดยพิสดาร

    ข้อความว่า ทรงแสดงอนัตตลักษณะเท่านั้น หมายถึง ตรัสเฉพาะอนัตตลักษณะ

    เพราะเป็นพระสูตรมากไปด้วยอนัตตลักษณะ และเพราะมีอนัตตลักษณะเป็นประธาน ฯ

    จริงอยู่ อนัตตลักษณะเท่านั้น จัดว่าเป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพราะแม้ลักษณะอื่นๆมีอนิจจตา

    เป็นต้น ที่ตรัสไว้ ก็เพื่อแสดงอนัตตลักษณะนั้นนั่นแหละ ในเบญจขันธ์นั้น ตามอัธยาสัยของ

    เวไนยสัตว์ เช่นนั้น ฯ
    จบ ฏีกาปัญจวัคคิยสูตร

    หมายเหตุ แปลจาก คัมภีร์สังยุตตฏีกา ทุติยภาค ฉบับมหาจุฬา ฯ หน้า ๒๗๐

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD align=middle>กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
    สัตว์โลกได้พึ่งพิง ม ลบาปบำเพ็ญบุญ
    ข้าขอประนตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
    สัมพุทธการุณ ญ ภาพนั้นนิรันดร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้
    ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
    ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
    ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    พวกภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
    จักเป็นผู้เลิศ




    เอาบุญมาฝากเมื่อวานนี้ได้ไหว้หลวงพ่อทวารวดี ไหว้หลวงพ่อโสธร ไหว้พระประธาน ที่ชลบุรี และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของแม่ให้ดีขึ้น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน และได้ขอขมาโทษมารดา วันนี้ได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน มาตลอด กำหนดอิริยาบทย่อย และตั้งใจว่า จะเดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ และตั้งใจที่จะไปบริจาคเลือดครั้งที่ 14 ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...