ใครเคยภวังค์ขจิต บ้างจ๊ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ลูกอิสระ, 23 มีนาคม 2012.

  1. ลูกอิสระ

    ลูกอิสระ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +9
    แล้วเราจะออกภวังค์ขจิต ได้อย่างไร
    เพราะมันไม่ใช่ความจำ แต่มันเป็นวิปลาสแห่งจิต
    ดีก็ไม่ใช่เลวก็ไม่ใช่ บางทีเฉยก็ไม่ใช่ จิตภวังค์ก็ไม่ได้ไปไหน
    เหมือนหลุมดำของจิต ว่างก็ไม่ใช่เพราะมันมีอาการปรากฎ
    อาการมันตื้อ ๆ มองไม่เห็น ดำๆมึดๆ แล้วก็ทำความเข้าใจผิดว่า สำเร็จแล้ว
    จะทำไงดี เมื่อตกอยู่ในภวังค์นี้ สำหลับคนเล่น ฌาน
     
  2. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ความแปรปรวน:cool:
     
  3. jubganoi

    jubganoi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +13
    ผมแนะนำให้รู้ไปตรงๆ และไม่ปรุงต่อ
     
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณขอรับ คุณเข้าใจผิดแล้วขอรับ คำว่า
    ภวังคจิต หมายถึง ระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ขอรับ
     
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ภวังคจิตที่ผมเจอ ไม่เหมือนที่คุณกล่าวครับ นิ่งสงบแต่ไม่รับรู้อะไรเลยครับ

    ไม่รับรู้ถึงร่างกาย ไม่รับรู้ว่ามีตัวตน ไม่รับรู้ว่ามีลมหายใจ นี่ครับภวังคจิต

    แต่หากข้ามผ่านมาแล้ว ก็ยังไม่รับรู้ลมหายใจ ไม่รับรู้ถึงร่างกาย

    แต่รับรู้ว่ามีตัวตนชัดเจน ตัวที่รับรู้นี่ครับ ชัดเจนมาก นี่คือ จิต ครับ

    เป็นลักษณะเหมือนตื่นขึ้นมาน่ะครับ แต่ไม่มีร่างกาย ไม่มีลมหายใจครับ

    ที่ยังรับรู้ว่า อาการตื้อๆ มองไม่เห็น ดำๆมืดๆ ยังไม่ถึงครับ

    สาธุครับ
     
  6. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    เอาที่เจ๋งกว่า "ตกภวังคจิต" ดีกว่านะ ตามนี้เลยครับ
    .."สมาธิภาวนา"....
    [ame=http://www.youtube.ug/watch?v=0Ab22HkdujY]สมาธิภาวนา (ท่านพ่อลี ธัมมธโร) - YouTube[/ame]
    (ใจความสำคัญอย่ตั้งแต่นาทีที่5 เป็นต้นไป)
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บทที่ 12 กิจของภวังคจิต

    ณะที่ไม่รู้สึกตัว ขณะที่ไม่คิดนึก ขณะที่ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต ขณะนั้นมีจิตหรือไม่? ขณะที่ไม่รู้สึกตัว ขณะที่ไม่คิดนึก ขณะนั้นก็ต้องมีจิต มิฉะนั้นก็ไม่มีชีวิต จิตที่เกิดดับนั้นเป็น ภวังคจิต ภวังค์ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" ซึ่งภาษาอังกฤษแปลว่า การดำรงภพชาติ ภวังคจิตทำกิจสืบต่อดำรงภพชาติ ทำให้สภาพที่บัญญัติว่า สัตว์มีชีวิตอยู่ได้
    บางคนอาจสงสัยว่าภวังคจิตเกิดบ่อยๆไหม ภวังคจิตเกิดมากมายนับไม่ถ้วนขณะที่ไม่รู้สึกตัว ไม่คิดนึก ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิต ขณะที่หลับแล้วฝัน อกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดแต่แม้ในขณะที่หลับแล้วไม่ฝัน ก็ยังต้องมีจิตเกิดอยู่นั่นเอง จิตขณะนั้นเป็นภวังคจิต ขณะตื่นก็มีภวังคจิตเกิดนับไม่ถ้วน ภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่งๆ ดูประการหนึ่งว่าการได้ยินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการเห็นสิ้นสุดลง แต่ตามความเป็นจริงแล้วมีวิถีจิตเกิดขึ้นหลายวาระ และในระหว่างวิถีจิตวาระหนึ่งๆก็มีภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะ
    ภวังคจิตเป็นจิตประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกของชาติหนึ่งๆ เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น เป็นจิตขณะที่สอง และเป็นภวังคจิตดวงแรกของชาตินั้น
    ภวังคจิต เป็น วิบากจิต เป็นผลของกรรมเดียวกันกับการที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ในชาติหนึ่งจะมีปฏิสนธิจิตดวงเดียวเท่านั้น แต่มีภวังคจิตนับไม่ถ้วน ไม่ใช่เฉพาะภวังคจิตดวงแรกเท่านั้น แต่ภวังคจิตทั้งหมดในชาตินี้เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด
    ปฏิสนธิจิตมี 19 ประเภท ฉะนั้น ภวังคจิตก็มี 19 ประเภท ถ้าเกิดในทุคติภูมิ ปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก ภวังคจิตทั้งหมดก็เป็นอกุศลวิบากด้วย ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอเหตุกกุศลวิบาก บุคคลนั้นจะพิการตั้งแต่เกิด และภวังคจิตทุกดวงในชาตินั้นก็เป็นอเหตุกกุศลวิบาก ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยโสภณเหตุ) ภวังคจิตก็เป็นสเหตุกะเช่นเดียวกัน ภวังคจิตทุกขณะตลอดภพชาตินั้นเป็นประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิตของชาตินั้น
    ผู้ที่ปฏิสนธิจิตเป็น ทวิเหตุ คือ ประกอบด้วย
    อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ภวังคจิตก็เป็นทวิเหตุ บุคคลนั้นสามารถอบรมเจริญปัญญาได้ แต่จะไม่บรรลุอริยสัจจธรรมในชาตินั้น ผู้ที่ปฏิสนธิจิตเป็น ติเหตุ คือประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ และ ปัญญา (อโมหะ) ภวังคจิตก็เป็นติเหตุกะ บุคคลนั้นมีอุปนิสัยที่จะอบรมเจริญปัญญา และอาจจะบรรลุอริยสัจจธรรมในชาตินั้น บุคคลที่มีปฏิสนธิจิตประกอบด้วยโสมนัสเวทนา ภวังคจิตทุกดวงในชาตินั้นก็ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา
    จิตทุกดวงต้องมีอารมณ์ ฉะนั้น ภวังคจิตก็ต้องมีอารมณ์ด้วย จิตเห็นมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ จิตได้ยินมีเสียงเป็นอารมณ์ แต่ภวังคจิตมีอารมณ์ที่ต่างกับอารมณ์ที่ปรากฏทางทวาร 5 และทางมโนทวาร ภวังคจิตซึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต
    ในบทที่ 10 ได้กล่าวถึงปฏิสนธิจิตว่ามีอารมณ์เดียวกับอกุศลจิตหรือกุศลจิตซึ่งเกิดก่อนจุติจิตของชาติก่อน ถ้าอกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด อกุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิตและมีอนิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์ ถ้ากุศลกรรมเป็นปัจจัยไห้ปฏิสนธิจิตเกิด กุศลจิตจะเกิดก่อนจุติจิตและมีอิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ชนิดใด ปฏิสนธิจิตในภพชาติต่อไปต้องมีอารมณ์เดียวกันนั้นเอง
    เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตดวงแรกในชาตินั้นก็เกิดสืบต่อรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต ภวังคจิตทุกดวงในชาตินั้นรู้อารมณ์เดียวกันนั้น
    ในวิสุทธิมัคค์ ขันธนิทเทส กล่าวถึงภวังคจิตว่า
    ชื่อว่าภวังควิญญาณ อันติดตามปฏิสนธิวิญญาณนั้นๆ ในเมื่อปฏิสนธิวิญญาณดับไปแล้ว เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นๆ เป็นเช่นเดียวกัน ในอารมณ์นั้นเอง เป็นไปอยู่ๆ เมื่อไม่มีจิตตุปบาทดวงอื่น ซึ่งทำให้ความสืบต่อหมุนกลับอย่างนี้ ว่าเป็นอย่างนั้นอีกๆ ภวังควิญญาณนั้นก็เป็นไป นับประมาณไม่ได้ ในเวลาก้าวลงสู่ความหลับเป็นต้นๆ แห่งบุคคลผู้ไม่ฝันเห็น (สุบิน) ดุจกระแสนํ้าไหลเรื่อยไปฉะนั้นฯ
    ภวังคจิตเปรียบเหมือนกระแสนํ้าที่สิ้นสุดลงเมื่ออารมณ์ปรากฏทางทวารหนึ่งทวารใดใน 6 ทวาร เมื่อปัญจทวารวิถีจิตหรือมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว กระแสภวังคจิตก็เกิดสืบต่อไปอีก
    เมื่ออารมณ์กระทบทวารหนึ่งทวารใดในปัญจทวาร กระแสภวังคจิตจะสิ้นสุดลง แล้ววิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น แต่การรู้อารมณ์จะยังไม่เกิดทันที เช่น เมื่อเสียงกระทบกับโสตปสาท จิตได้ยินจะเกิดทันทีไม่ได้ ภวังคจิตยังเกิดดับสืบต่อก่อนโสตทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงเสียงที่กระทบและจิตได้ยินเกิดขึ้น ภวังคจิตไม่ได้ทำกิจนึกถึงเสียงที่กระทบโสตปสาท ภวังคจิตไม่รู้เสียงนั้น ภวังคจิตกระทำกิจของตนเองคือดำรงสืบต่อภพชาติไว้และมีอารมณ์ของตนเอง คือมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต แม้ว่าภวังคจิตไม่รู้เสียงที่กระทบโสตปสาท แต่เสียงนั้นก็กระทบภวังคจิต จึงทำให้ภวังคจิตไหว ต่อจากนั้นกระแสภวังค์ก็สิ้นสุดลง แล้วโสตทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้เสียงนั้น
    เมื่อรูปกระทบทวารและกระทบภวังคจิต ภวังคจิตที่รูปกระทบเป็น อตีตภวังค์ ภวังคจิตต่อจาก
    อตีตภวังค์เป็น ภวังคจลนะ คือเป็นภวังคจิตที่ไหวเพราะอารมณ์กระทบ แม้ว่าจะไม่รู้อารมณ์นั้นก็ตาม ภวังคจิตดวงสุดท้ายของกระแสภวังค์ก่อน
    ปัญจทวารวัชชนจิตจะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์นั้นเป็น ภวังคุปัจเฉทะ
    ชื่อต่างๆที่บัญญัติขึ้นเรียกภวังคจิตนั้นไม่ได้หมายถึงกิจต่างๆ ภวังคจิตมีเพียงกิจเดียวเท่านั้นคือ ดำรงภพชาติของสัตว์ ชื่อต่างๆนั้นเพียงชี้ให้เห็นว่าเป็นภวังคจิตสามดวงสุดท้ายก่อนที่กระแสภวังค์จะสิ้นสุดลง และวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใหม่ เมื่อวิถีจิตสิ้นสุดลง กระแสภวังค์ก็เกิดสืบต่อดังนั้นการเกิดดับสืบต่อกันของจิตจึงไม่ขาดสายเลย
    เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบทวารหนึ่งทวารใดใน 5 ทวารแล้ว มโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นสืบต่อ โดยมีภวังคจิตเกิดคั่นระหว่างปัญจทวารวิถีจิตและมโนทวารวิถีจิต เมื่อมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว กระแสภวังค์ก็เกิดดับสืบต่ออีก
    อารมณ์ที่กระทบปสาทรูป 5 เป็นรูป รูปเกิดแล้วก็ดับ แต่รูปธรรมดับไม่เร็วเท่านามธรรม รูปๆหนึ่งเป็นอารมณ์ของวิถีจิตหลายดวง เช่น เสียงซึ่งเป็นรูปที่กระทบกับโสตปสาท ก็มีโสตทวารวิถีจิตหลายดวงเกิดขึ้นรู้เสียงนั้น ก่อนวิถีจิตจะเกิด ก็มีภวังคจิตเกิดก่อน ภวังคจิต 3 ดวงสุดท้าย คือ อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะเกิดก่อนโสตทวารวิถีจิต
    เมื่อกระแสภวังคจิตสิ้นสุดลง โสตทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้เสียงทางโสตทวาร โสตทวารวิถีจิตอื่นๆที่เกิดต่อจากโสตทวาราวัชชนจิตต่างทำกิจของตนๆก่อนที่เสียงจะดับไป รูป มีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับ 17 ขณะ นับตั้งแต่อตีตภวังค์เป็นต้นไป ถ้าวิถีจิตทางโสตทวารเกิดครบทุกวิถี ก็จะมีจิตเกิดดับสืบต่อกัน 17 ดวง แต่ถ้ารูปซึ่งเป็นอารมณ์เกิดแล้วกระทบอตีตภวังค์หลายขณะ รูปนั้นก็จะดับก่อน วิถีจิตหลังๆจึงเกิดไม่ได้ เพราะเหตุว่ารูปมีอายุเท่ากับ 17 ขณะของจิตเท่านั้น เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นจนถึงโวฏฐัพพนจิต รูปก็ดับไป กุศลจิตหรืออกุศลจิตก็เกิดไม่ได้ บางวาระอดีตภวังค์เกิดขึ้นแล้วดับไป ภวังคจลนะเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่
    ภวังคุปัจเฉทะไม่เกิด เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะไม่มีวิถีจิต เช่น เสียงกระทบโสตปสาท อตีตภวังค์เกิดขึ้นแล้วดับไป ภวังคจลนะเกิดสืบต่อ แต่ภวังคุปัจเฉทะไม่เกิด กระแสภวังค์ไม่ขาด โสตทวารวิถีไม่เกิด ฉะนั้นจึงไม่ได้ยินเสียง
    เมื่อปัญจทวารวิถีเกิดขึ้นรู้รูปซึ่งกระทบปสาท และเมื่อวิถีจิตดวงสุดท้ายดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดขึ้นอีก แต่อารมณ์นั้นสามารถรู้ได้ทางมโนทวาร ภวังคจิตสองดวงสุดท้าย คือ ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ จะเกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต 7 ขณะเกิดสืบต่อมโนทวาราวัชชนจิต สรุปมโนทวารวิถีจิตได้ดังนี้
    ภวังคจลนะ
    ภวังคุปัจเฉทะ
    มโนทวาราวัชชนจิต
    อกุศลจิตหรือกุศลจิต 7 ขณะ (สำหรับพระอรหันต์เป็นกิริยาจิต)
    ทางมโนทวารวิถีนั้น ก่อนภวังคจลนะเกิด มีภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันมากมาย และทางมโนทวารวิถีไม่มีอตีตภวังค์
    เมื่อมโนทวารวิถีจิตดับไปหมดแล้ว กระแสภวังค์เกิดอีกจนกว่าวิถีจิตซึ่งรู้อารมณ์ทางปัญจทวาร หรือทางมโนทวารจะเกิดภวังคจิตนับไม่ถ้วนเกิดตลอดเวลาในชีวิตของเรา ภวังคจิตเกิดคั่นปัญจทวารวิถีซึ่งรู้อารมณ์ทางทวาร 5 หรือมโนทวารวิถีซึ่งรู้อารมณ์ทางมโนทวาร
    มโนทวาร คืออะไร? มโนทวารต่างกับปัญจทวารซึ่งเป็นรูปปัญจทวาร ได้แก่ จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท และกายปสาท มีกายปสาททั่วร่างกาย มโนทวารไม่ใช่รูปใดใน 5 รูปนี้ บางคนอาจสงสัยว่ามโนทวารเป็นนามหรือรูป เราควรจะพิจารณาว่า มโนทวารวิถีจิตดวงแรกนั้นรู้อารมณ์ได้อย่างไร มโนทวารวิถีจิตดวงแรกซึ่งนึกถึงอารมณ์ คือ มโนทวาราวัชชนจิต จิตดวงนี้ไม่นึกถึงอารมณ์ทางปัญจทวาร ฉะนั้น มโนทวาร จึงเป็น นามธรรม เป็น จิต จิตที่เกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิต คือ ภวังคุปัจเฉทจิต ภวังคุปัจเฉทจิตคือมโนทวาร ซึ่งมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์สืบต่อจากภวังคุปัจเฉทะ
    การศึกษาปัญจทวารวิถีจิตและมโนทวารวิถีจิตซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จะทำให้เราเข้าใจสภาพธรรมว่าเป็นธาตุที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นอนัตตา เช่น เราอาจรู้สึกดื่มดํ่าเมื่อได้ยินเสียงที่ไพเราะ สภาพธรรมที่เรายึดถือว่าเป็นการได้ยินที่ยาวนานนั้น ความจริงเป็นขณะสั้นนิดเดียว เกิดแล้วก็ดับไป ถึงแม้ว่าจะยังไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เสียงนั้นก็ได้ผ่านมโนทวารแล้ว เพราะจิตเกิดดับสืบต่อเร็วมาก เสียงเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน
    ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค วีณาสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
    "... ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ยังไม่เคยได้ยินเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่ น่าบันเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้
    บุรุษนั้นกราบทูลว่า "ขอเดชะ" เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ เสีบงนั้นน่าชอบใจ น่าใคร่ น่าบันเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้"
    พระราชาหรืออำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา"
    ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย พึงกราบทูลว่า "นี่คือพิณนั้น เสียงของพิณนี้น่าชอบใจ ... น่าพัวพันอย่างนี้"
    พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เราเถิด"
    ราชบุรุษกราบทูลว่า "ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือธรรมดาว่าพิณนี้อาศัยกระพอง อาศัยแท่น อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคัน และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประดับหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้"
    พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณนั้น 10 เสี่ยงหรือ 100 เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆแล้วพึงเผาด้วยไฟ แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่าโปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่นํ้ามีกระแสอันเชี่ยว
    ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้คนต้องมัวเมาประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขตฉันใด"
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมแสวงหารูปเท่าที่มีคติ เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ใด เมื่อเธอแสวงหาวิญญาณเท่าที่มีอยู่ใด ความยึดถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้ความยึดถือนั้นก็ไม่มีแก่เธอฯ"

     
  8. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    โมกขุบายวิธี ๓

    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)​


    วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย



    ฌานและสมาธิมีที่สุดต่างกัน

    ฌานมี ภวังค์ เป็นที่สุด สมาธิมีสมาธิเป็นที่สุด ภวังค์มี ๓ คือ ภวังคบาต ภวังคจลนะ และ ภวังคุปัจเฉทะ อาการที่จิตตกเข้าสู่ภวังค์ มีลักษณะวูบวาบหรือแวบเดียวแล้วถอนออกมาเรียก ภวังคบาต อาการที่จิตไหวตัวตกเข้าสู่ภวังค์แล้วไม่ยอมออกมารับอารมณ์ภายนอก แต่เสวยอารมณ์อยู่ภายในใจเอง ซึ่งมีอาการคล้ายๆ กับอารมณ์ภายนอก ต่างแต่มีรสชาติพิเศษกว่า หรือที่จิตกำลังจะปล่อยวางอารมณ์รวมเข้าเป็นภวังคุปัจเฉทะ แต่ยังไม่สนิทพอที่จะวางได้ ก็เรียกว่า ภวังคจลนะ อาการที่จิตตัดอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกขาดหมด รวมเข้าเป็นก้อนเดียว ไม่มีอาการแตกแยกแม้แต่นิดเดียว เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะ

    ภวังค์เป็นชื่อภพของจิต เมื่อจิตมาถือปฏิสนธิในกายนี้ และกายนี้ยังมีอยู่ จิตที่ถูกอบรมให้ละถอนอุปาทานได้แล้ว ก็จะเข้าไปรวมเป็นภวังค์ตั้งอยู่ในภูมิของตนโดยเฉพาะ ถ้ากายนี้แตกดับ อาศัยไม่ได้แล้ว จิตดวงนั้นก็จะเป็นภพของตนเอง ไม่ต้องรับสัมผัสที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายประสาท เมื่อจิตเดินอยู่ในภวังค์ทั้งสามนี้ เรียกว่าจิตเดินในสายของตน ส่วนอรูปฌาน ๔ จิตได้เข้าถึงภวังคุปัจเฉทะแล้วโดยประการทั้งปวง ยึดเอาอรูปธรรมเป็นอารมณ์ สำหรับภูมิของฌานนี้ ไม่มีปัญญาพอจะยกไตรลักษณะขึ้นพิจารณาให้เห็นชัดแจ้งในอริยสัจ ๔ ได้ จึงไม่เป็นทางที่จะให้สิ้นภพสิ้นชาติได้

    สมาธิมี ๓ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ อาการที่ทำสมาธิจิตมีสติรวมเข้าไปตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่รวมชั่วครู่ชั่วขณะวับๆ แวบๆ แล้วหายไป จนจับอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ เรียก ขณิกสมาธิ อาการที่จิตจวนจะรวมเข้าสู่อัปปนา ซึ่งรวมเข้าไปถึงกับตัดอารมณ์ขาดทีเดียว จะรวมแหล่มิรวมแหล่ แต่ไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ยึดเอาอารมณ์มาเป็นอุปาทานเครื่องถือมั่น เรียกว่า อุปจารสมาธิ อาการที่จิตรวมเข้าสนิทสนม ตัดอารมณ์ทั้งปวดขาดสิ้น และถอนสละออกจากอุปาทาน แล้วเข้ารวมกำลังสติ สมาธิและปัญญาให้มีกำลังสมบูรณ์ผ่องใส สว่างแจ่มจ้าอยู่โดยลำพังดวงเดียว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอุปาทานใดๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ จิตที่ถอนออกมาจากอัปปนาแล้วมาเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ ไม่ถึงกับถอนออกไปเป็น ขณิกะหรือฟุ้งซ่าน ก็เรียกว่า อุปจารสมาธิ เหมือนที่เรียกว่าอุปจาระถอนออกมาจากอัปปนา เบื้องต้นเรียกว่าอุปจาระเข้าถึงอัปปนา

    ฌานและสมาธิเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

    ฌานกับสมาธิต่างเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กำลังแก่กันและกันไปในตัว บางครั้งจิตเข้าฌาน (คือภวังค์) ขาดจากอารมณ์ภายนอกที่หยาบๆ เพ่งอยู่เฉพาะแต่ในอารมณ์ของฌานพอประมาณ แล้วออกมามีสติพิจารณาอารมณ์ของฌานหรืออารมณ์อื่นๆ ทำให้สติกล้าพิจารณาไตรลักษณะชัดเจนขึ้นกว่าเดิม จิตจะเข้าสมาธิได้รวดเร็วและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บางครั้งจิตเข้าถึงสมาธิ มีสติ มีปัญญาผ่องใส เบิกบาน ดำเนินอยู่ในไตรลักษณญาณตามวิถี ถ้าสติอ่อน ปัญญาก็ซบเซาลง สมาธิก็ซึม แล้วจิตจะเข้าฌาน (ภวังค์) เงียบไป หรือไม่ก็น้อมไปหาความสุขของฌาน (คือเอกัคคตารมณ์) แล้วเสวยสุขอยู่

    สรุปแล้ว ฌานและสมาธิของผู้ฝึกหัดยังไม่ชำนาญย่อมผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นในอารมณ์กรรมฐานอันเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ จะห้ามมิให้เกิดเป็นเช่นนั้นหาได้ไม่ แม้ผู้ได้ฝึกหัดให้ชำนาญแล้วก็จำจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันนั้น หรือนำมาใช้ในบางกรณี เว้นแต่ผู้ที่ติดอยู่ในฌานโดยส่วนเดียว จึงจะไม่ยอมออกและเปลี่ยนไปรับเสวยอารมณ์อื่น

    บางส่วนจาก :
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_06_03.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2012
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
    ขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังจะหลับ พระองค์เข้าฌาน 4 ก่อนอันเป็นธรรมดาอย่างนั้น ที่
    เรียกว่า ตถาคตไสยาครับ แต่ขณะที่พระองค์หลับ เป็นภวังคจิตครับ
    ส่วนขณะที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานนั้น เป็นธรรมดาีอีกเช่นกัน คือ ในวันที่พระ
    พุทธเจ้าตรัสรู้และวันที่พระพุทธเ้จ้าจะปรินิพพาน วันนั้นพระองค์จะเสวยสุขด้วยการเข้า
    สมาบัติมากมาย ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า ทรงเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ ๒๔
    แสนโกฎิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปสู่ต่างประเทศสวมกอดคนที่
    เป็นญาติ.
    พระองค์จึงเข้ารูปฌาน และเข้าอรูปฌาน และเมื่ออกจากอรูปฌาน ก็เข้านิโรธสมาบัติ
    ดับ จิต เจตสิก ซึ่งพระองค์จะไม่ปรินิพพานหลังจากนิโรธสมาบัติครับ และอรูปฌานเลย
    เมื่อพระองค์ดับจิต เจตสิกทีเ่ป็นนิโรธสมาบัติแล้วก็ทรงย้อนถอยกลับ เข้า เนวสัญญา
    ...ย้อนไปที่รูปฌานอีกครั้งและสุดท้าย พระองค์เข้าจตุตถฌาน และพิจารณาองค์ของ
    ฌานก่อนครับ จึงปรินิพพานด้วยภวังคจิต ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่พระองค์จะต้อง
    พิจารณาองค์ฌานก่อน คือ หลังจากจตุตถฌานเกิดขึ้นและดับไป พระองค์พิจารณาองค์
    ฌาน จึงปรินิพพาน แต่จะไม่ปรินิพพาน ในอรูปฌานที่ดับไป เหตุผลเพราะพระองค์จะ
    ต้องเข้าสมาบัติครบตามจำนวน เพราะหลังจากอรูปฌานดับไป จะต้องเป็นสัญญาเวท
    นิยตนิโรธสมาบัติ ดับ จิต เจตสิกซึ่งต้องเป็นลำดับต่อไปอย่างนี้ จึงปรินิพพานไม่ได้ จึง
    ต้องปรินิพพาน เมื่อ จตุตถฌานดับไป พิจารณาองค์ฌานและปรินิพพานครับ นี่คือความ
    เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกผู้เลิศ มีพระสารีบุตร ที่ปรินิพพานอย่าง
    นี้ครับ เพระาพระองค์ย่อมเสวยสุขด้วการเข้าสมาบัติจนครบ ๒๔ แสนโกฎิ ครับ
    ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 193​
    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรมเสด็จเข้าสู่นครนิพพาน ทรงเข้า
    สมาบัติทั้งหมดนับได้ ๒๔แสนโกฎิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไป
    สู่ต่างประเทศสวมกอดคนที่เป็นญาติ.
    ก็ในคำว่า จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา สมนนฺตรา ภควาปรินิพฺพุโต นี้
    ความว่า. มีลำดับ ๒ อย่างคือ ลำดับแห่งฌาน ๑ ลำดับ แห่งปัจจเวกขณญาณ ๑.
    การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังคจิต แล้วปรินิพพานในขณะ
    นั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งฌาน. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้ว
    พิจารณาองค์ฌานซ้ำอีกหยั่งลงสู่ภวังคจิตเเล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำ
    ดับแห่งปัจจเวกขณญาณ. ลำดับ ๒ อย่างดังว่ามานี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้า
    ฌานแล้ว ออกจากฌานแล้วทรงพิจารณาองค์ฌานปรินิพพานด้วยอัพยากตทุกข
    สัจจะอันเป็นภวังคจิต.
     
  10. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ภวังคจิตมีเพียงกิจเดียวเท่านั้นคือ ดำรงภพชาติของสัตว์

    น่าสนใจ สำหรับคำกล่าวนี้ ดำรงภพชาติของสัตว์

     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมมีตัวอย่างเรื่องหนึ่งครับ ให้สังเกตุกันครับ

    เวลามนุษย์นั่งหลับ และ หลับลึก ขณะนั้น มีใครรู้ว่าตนเองนั่งหลับ

    รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่บ้างครับ มีแต่ความว่างเปล่า ที่สงบนิ่ง โดยไม่มีการรับรู้ใดๆใช่ไหมครับ

    นี่ล่ะครับ ภวังคจิต ว่างเปล่า สงบนิ่ง และ ไม่รับรู้สิ่งใด

    สาธุครับ
     
  12. นันโท

    นันโท สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +2
    2รวมมาเป็น1

    จิตเป็นของละเอียด..เมื่อจิตไปตกนรกใครจะช่วยยกขึ้นได้แต่ถ้าหากจิตเป็นตัวเป้นตนก็คงจะพอช่วยกันได้.....เมื่อมีชีวิตอยู่ก็จิตดวงนี้...แต่ถ้าตายไปล่ะก็ไอ้จิตดวงนี้.....หวังว่าคนที่เป็นสัตรบุรษคงจะเข้าใจนะคับ....สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอยู่ที่จิตเพราะฉนั้นจงทำให้ 2กลายเป้น1 นั้นก็สำเร็จแล้ว...ไม่มีสิ่งใดต้องทำอีกแล้วเมื่อสิ่งที่ต้องทำเสร้จสิ้นแล้ว....บายนะคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...