ใครบ้างต้อง "อาบัติปาราชิก" ข้อนี้แล้ว แต่ยังทำดื้อแพ่ง...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย phodej, 7 เมษายน 2015.

  1. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    (พระเจ้าพิมพิสาร) “.... ที่โยมพูดนั้นหมายถึงสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษามีความรังเกียจแม้ในโทษเล็กน้อย....
    พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยม จะฆ่า จองจำ หรือเนรเทศสมณพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด ท่านรอดเพราะขน แต่อย่าได้ทำอย่างนี้อีก...."

    (ประชาชนชาวบ้าน) “...พวกท่านปราศจากความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ยังถูกสมณะเหล่านั้นหลอกลวง ไฉนคนอื่นจักไม่ถูกหลอกลวงเล่า”
    มจร. (แปล). วิ.มหาวิ. (ทุติยปาราชิก) 1/87/77
    *****************

    "...หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุเมื่อดำเนินคดีชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดีแพ้ความต้องอาบัติถุลลัจจัย”
    มจร. (แปล). วิ.มหาวิ.(ทุติยปาราชิก) 1/102,103,104,105/86,87,88

    หมายเหตุ : 1. พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์เมืองราชคฤห์ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน
    2. คำว่า “รอดเพราะขน” หมายถึงรอดเพราะสวมเครื่องแบบนักบวชเฉย ๆ ซึ่งท่านเปรียบเทียบเครื่องแบบที่ใช้เหมือนดังเช่นขนที่ใช้ปกป้องความผิดตนเอง
    3. คำว่า “เจ้าของทอดธุระ” หมายถึงเจ้าของทรัพย์เกิดความท้อแท้ และหมดอาลัยตายอยาก หรือหมดหวังกับทรัพย์สินเหล่านั้นแล้วว่า ทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ได้เป็นสมบัติของเราอีกต่อไปแล้ว เป็นต้น

    ปัญญา เประยะโพธิ์เดช
    1 เมษายน 2558 : 10.48 น.
     
  2. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    ...ปัญหาถามว่า ถ้าหากพวกพระที่เป็นปาราชิกแล้ว ?....

    “...ปัญหานี้ถามมาน่าอนุโมทนามาก.... “พระที่ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ไม่ยอมบอกคืนลาสิกขาบทยังอาศัยผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ และยังให้บวชกุลบุตรหรือสังฆกรรมอยู่ สังฆกรรมนั้นจะสมบูรณ์หรือไม่ ในกรณีที่ให้อุปสมบท ถ้าอุปัชฌาย์ต้องหรือคู่สวดคนใดคนหนึ่ง หรือผู้ที่นั่งหัตถบาสต้องแล้ว ผู้ที่บวชพระนั้นจะเป็นพระโดยสมบูรณ์หรือไม่ ?...”

    ....ปุคคลวิบัติ กรรมวิบัติ สังฆกรรมวิบัติ วิบัติไปหมดเลย ศาสนาวิบัติกับบุคคลเหล่านี้ ขอให้เข้าใจ เมื่อต้องอาบัติปาราชิกแล้ว จะสึกหรือไม่สึกก็ตาม จะบอกลาบอกเลิกสิกขาบทหรือไม่บอกก็ตาม พูดง่าย ๆ ว่าไม่มีสิกขาบทจะลาแล้ว จักสิไปลานำอีหยัง เหมิดแนวสิลาแล้วเผิ่นนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับคนไข้ ก็คือคนตายแล้ว ไม่รู้จะรักษาพยาบาลยังไง ถ้าคนไข้โคม่า ยังจะผ่าตัด ยังจะให้อ๊อกซิเย่นช่วย พอจะมีโอกาสฟื้นคืนมา อันนี้ตายแล้ว ปัวบ่อดี ปัวคนตาย จักสิปัวแนวใด เว้าภาษาอิสาน ไม่ต้องพยาบาลคนตาย ไม่ต้องรักษาเพราะตายแล้วมีแต่เผาทิ้ง จะบอกลาก็ไม่ต้องบอก จะบอกหรือไม่บอกก็ไม่มีสิกขาบทให้ลา เหมิดแล้วแนวสิลา….”

    บรรยายโดย...พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ (ยอดหอ)... เมื่อวันที่..13 พฤษภาคม 2538
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2015
  3. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    พิจารณาเลือกทำบุญ สิ่งที่ควรถวาย ไม่ส่งเสริมกิเลสให้คนบวช เกื้อกูลให้เขาปฏิบัติ อย่ายึดติดบุคคล เคารพคำสอนสูงสุด มีหลายกลุ่มดีมากๆที่เน้นและช่วยส่งเสริมภาคปฏิบัติให้ความรู้แนะนำการสืบทอดศาสนาด้วยการทำดีสอนสมาธิมีกิจกรรมงานบุญเช่นเก็บขยะทาสีวัดหรืออื่นๆ โมทนาสาธุด้วยครับ
     
  4. sudarutmung

    sudarutmung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2015
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    สาธุครับๆๆ
     
  5. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    ...ความจริงที่...?

    ภาพนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนะครับ ไม่ใช่ภาพตัดต่อ เพียงแต่เติมข้อความคำพูดให้ได้อ่านกันสนุก ๆ และมีการเซ็นเซ่อร์ภาพบางส่วนด้วยเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นครับ... คนที่ติดตามข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอดจะทราบรายละเอียดทั้งหมดได้เอง...(สำหรับผู้ที่รู้พระธรรม วินัยอย่างละเอียดและเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้จริง ๆ จะมีคำวินิจฉัยตามพระพุทธบัญญัติเพียงอย่างเดียวนะครับ ไม่มีคำวินิจฉัยเป็นอื่นได้เลย แต่ถามว่าพากันเคารพเชื่อถือและทำตามพระธรรม วินัยของพระพุทธเจ้าจริงหรือเปล่า ? ผู้ที่มีปัญญาและไม่มีอคติแท้จริงคิดดูเอาเองนะครับ)...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2015
  6. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ๓.๒ ปาราชิก สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการลักทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้
    พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้….(มีเนื้อหาเหมือนอนุบัญญัติ)
    อนุบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว (ให้) ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

    ๑) ที่มาของพระบัญญัติ สิกขาบทนี้มีพระธนิยะเป็นต้นบัญญัติ (อาทิกัมมิกะ) โดยเรื่องมีอยู่ว่า ท่านพระธนิยะได้ทำกุฎิหญ้าอาศัยอยู่ในป่า เวลาท่านไม่อยู่ถูกพวกชาวบ้านมาขโมยรื้อถอนเอาหญ้าของท่านไปหลายต่อหลายครั้ง ต่อมาท่านจึงได้นำดินมาขยำเป็นโคลนทำกุฏี จากนั้นจึงได้นำหญ้าไม้และโคมัย (มูลโค) มาเผากุฏีนั้น กุฏีเมื่อเผาสุกแล้วก็มีสีสวยงามมาก (สีเหมือนหม้อดินเผา) พระพุทธองค์ได้ตำหนิการกระทำของพระธนิยะนั้นว่า ไม่เหมาะสมไม่ควรทำ ไม่ใช่กิจของสมณะ เพราะการกระทำนั้นได้เบียดเบียนทำลายสรรพสัตว์เล็กๆ ไปเป็นอันมาก และเพื่อมิให้ภิกษุทั้งหลายทำตามอย่างนั้น พระองค์จึงสั่งให้ภิกษุไปทุบทำลายกุฏีนั้นของพระธนิยะเสีย

    ส่วนพระธนิยะเมื่อถูกพระพุทธเจ้าห้ามทำกุฏีด้วยดินแล้ว จึงคิดจะสร้างกุฏีด้วยไม้แทน (เพราะถ้าจะทำกุฏีหญ้าอีก ก็เกรงว่าชาวบ้านจะมารื้อเอาหญ้าไปอีก) ดังนั้นท่านจึงได้เข้าไปขอไม้หลวงจากเจ้าพนักงานรักษาไม้ในวัง แต่เจ้าพนักงานตอบว่าไม้ไม่มีจะถวายให้ มีแต่ที่เก็บไว้ซ่อมแซมพระนครในคราวจำเป็นเท่านั้น ถ้าพระคุณเจ้าต้องการ ต้องไปบิณฑบาตจากพระราชา (พระเจ้าพิมพิสาร) เอาเองเถิด ฝ่ายพระธนิยะเมื่อเจ้าพนักงานพูดเช่นนั้น จึงตอบไปว่า พระราชาได้พระราชทานให้แล้ว ดังนี้ ฝ่ายเจ้าพนักงานได้คิดว่า พระคุณเจ้าเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สงบคงจะไม่กล้าพูดเล่น พระราชาคงจะพระราชทานให้จริง ดังนี้แล้ว ได้ให้ไม้เหล่านั้น ท่านพระธนิยะได้สร้างกุฏีหลังใหม่ด้วยไม้หลวงเหล่านั้น ต่อจากนั้นมาได้มีคณะผู้ตรวจราชการหลวงมาตรวจราชการไม่เห็นไม้หลวง เรื่องจึงแดงขึ้น เจ้าพนักงานรักษาไม้นั้นถูกจับไปสอบสวน ส่วนพระธนิยะเมื่อทราบเรื่องจึงได้เข้าไปในวังเพื่อแก้ข้อกล่าวหาด้วย ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเมื่อทราบเรื่องจึงได้ตรัสกับพระธนิยะว่า “พระคุณเจ้าบอกว่าโยมได้ถวายไม้นั้นให้แล้ว เนื่องจากโยม (พระราชา) มีธุระมากมีภาระกิจมากจนจำไม่ได้ ระลึกไม่ได้ว่าได้ถวายไม้ให้พระคุณเจ้าตั้งแต่ครั้งใด ? พระธนิยะได้ตอบว่า “พระองค์ระลึกได้ไหม ! ตั้งแต่ครั้งพระองค์ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใหม่ๆ พระองค์ได้เปล่งพระวาจาเช่นนี้ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ ข้าพเจ้าถวายแล้วแก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ขอสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย โปรดใช้สอยเถิด ดังนี้” ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารครั้นได้สดับคำของพระธนิยะเช่นนั้น จึงตรัสว่า “โยมระลึกได้แล้ว (แต่) คำของโยมนั้นหมายถึง หญ้า ไม้และน้ำ ที่มีอยู่ในป่า ไม่มีใครหวงแหน ซึ่งพระสงฆ์และพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นที่รักใคร่ต่อการศึกษาย่อมรู้จักและพึงใช้สอยไม้เหล่านั้น แต่พระคุณเจ้าได้ใช้เล่ห์เพื่อนำไม้ที่เขาไม่ได้ให้ไปใช้ โยมจะพึงฆ่าหรือจองจำหรือเนรเทศ ซึ่งสมณะได้อย่างไร นิมนต์ท่านกลับเถิด ท่านรอดตัวไปได้เพราะเพศบรรพชิตแล้ว แต่อย่าได้ทำอย่างนี้อีก” ดังนี้ แล้วได้ส่งพระธนิยะกลับไป

    ความเรื่องนี้ทราบไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงประชุมพระสาวกแล้วได้บัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุนำเอาของที่เขาไม่ได้ให้มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ผู้ใดเอาไปต้องปาราชิก หลังจากทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้ไปลักเอาห่อผ้าของช่างย้อมผ้ามาจากป่า แล้วถูกพวกภิกษุติเตียน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงตอบว่า สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัตินั้น คือห้ามเฉพาะของในบ้าน ไม่รวมถึงป่าด้วย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม (อนุบัญญัติ) อีก ให้รวมไปถึงในป่าด้วย ดังนั้น ความตอนหนึ่งว่า “…อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้….จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี …ต้องปาราชิก หาสังวาสมิได้”

    ๒) สารัตถะในทุติยปาราชิก เป้าหมายของอทินนาทานสิกขาบทนี้ มีรายละเอียดลึกซึ้งและซับซ้อนมาก โดยเฉพาะในคัมภีร์บาลีอรรถกถาฎีกา ยิ่งมีรายละเอียดซับซ้อนมากขึ้น สารัตถะสำคัญของสิกขาบทนี้ ทรงมุ่งหมายให้พระภิกษุเป็นคนซื่อตรง ให้เป็นเนื้อนาบุญเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์ควรจะต้องมีความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นคนปฏิบัติซื่อตรง (อุชุปฏิปนฺโน) ไม่มีมายาสาไถยหรือเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุใด ตนเองเป็นอย่างหนึ่ง แต่แสดงอาการให้คนอื่นรู้อีกอย่างหนึ่ง (อาการแห่งมายา - เจ้าเล่ห์) การบริโภคปัจจัยสี่ ของเธอ เป็นการขโมยบริโภค เป็นเช่นเดียวกันกับนายพราน ผู้ล่อลวงดักสัตว์กิน มีภิกษุจำนวนมาก ผู้มีกาสาวพัสตร์พันคอ แต่เป็นผู้มีธรรมทาน ไม่สำรวม ย่อมเกิดในนรก เพราะ บาปกรรมนั้น ผู้ทุศีล ไม่สำรวมบริโภคเหล็กที่ร้อนเป็นเปลว ยังดีกว่าบริโภคก้อนข้าวของชาวเมือง"

    ดังนั้น พระภิกษุสงฆ์จะต้องมีความบริสุทธิ์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพราะผู้ที่บวชเป็นภิกษุแล้ว ย่อมไม่ถือเอาของ ๆ ผู้อื่น ที่เขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตคิดจะขโมย (อทินนาทาน) โดยที่สุดแม้แต่เส้นหญ้า (อนฺตมโส ติณเสลากํ อุปาทาย) หากภิกษุใด ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ราคาบาทหนึ่ง หรือ เกินกว่าหนึ่งบาท ภิกษุนั้นไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อพระศากยบุตร (อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย) ท่านเปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หล่นจากขั้ว แล้วไม่อาจกลับเป็นเขียวสดได้อีก พระพุทธองค์ทรงประสงค์ให้พระภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ในเรื่องนี้จริง ๆ ให้น่าเคารพนับถือ เชื่อถือได้ สมกับที่ชาวบ้านเคารพกราบไหว้ เชิดชูเลี้ยงดูปัจจัยสี่ มิให้เดือดร้อน ดังนั้นจึงทรงมีนโยบาย มิให้ภิกษุสะสมทรัพย์สินเงินทอง แม้จะได้มาโดยชอบธรรม ยิ่งเป็นของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยแล้ว แม้แต่เส้นหญ้า ก็ไม่ควรถือเอา (อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย)

    ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้พระสงฆ์มีความประพฤติซื่อตรงทั้งต่อหน้าและลับหลัง เพื่อเป็นเนื้อนาบุญดังกล่าว จึงทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อฝึกหัดขัดเกลาอย่างลึกซึ้ง ถึงกับมีพระวินัยบัญญัติละเอียดให้พระสงฆ์จะบริโภคสิ่งของใดๆ จะต้องได้รับประเคน คือ ได้รับมอบถวายให้ถึงมือจริงๆ จึงจะสามารถฉันสิ่งของต่างๆ ซึ่งพระวินัยข้อนี้ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ประเพณีวินัยข้อนี้ ได้สร้างศักดิ์ศรีให้กับภิกษุสงฆ์ ในพุทธศาสนาเป็นอันมาก แต่ฆราวาสบางคน ก็รู้สึกรำคาญ เมื่อไปเลี้ยงพระที่มีอาหารมาก ๆ พระเอง บางรูปก็เคร่งในเรื่องนี้ จนน่ารำคาญเหมือนกัน เช่น เมื่อเขาประเคนอย่างหนึ่งแล้ว เอื้อมมือไปหยิบอย่างอื่นประเคน มือไปกระทบกับสิ่งที่ประเคนแล้ว โดยไม่เจตนา ก็บอกให้เขาประเคนใหม่ ความเกินพอดี ในพระบางรูป บางพวกก่อความเดือดร้อนแก่ตน และ ผู้อื่นอยู่เนือง ๆ อันที่จริงเรื่องนี้ควรคำนึกถึงความพอดี เพราะความพอดีนั้นดีเสมอ" (มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ)” "

    แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้มุ่งหวังพระนิพพานแต่มุ่งหวังลาภสักการะ ย่อมมีปฏิปทาที่แตกต่างกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ปฏิปทา ของผู้หวังลาภเป็นอย่างหนึ่ง ปฏิปทา ของผู้มุ่งนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง (เป็นคนละอย่าง) ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้อย่างนี้แล้ว ไม่พึงยินดี ไม่พึงเพลิดเพลิน ในเรื่องสักการะ พึงพอกพูนให้มากซึ่งความวิเวก" แต่หากเป็นคนเจ้าเล่ห์ไม่ซื่อตรงแล้ว ทำมายาให้น่าเชื่อถือ ดังมีเรื่องเล่าไว้ในกุหชาดก ว่า ดาบสผู้หนึ่ง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของกฎุมพี (ผู้มีทรัพย์, ผู้มีอันจะกิน) ครอบครัวหนึ่งมารับอาหารที่บ้านกฎุมพีทุกวัน เป็นเวลาหลายปี กฎุมพีได้ทองมาลิ่มมาแท่งหนึ่ง นำไปฝากดาบสไว้ โดยขุดหลุมฝังไว้ใกล้อาศรม คิดว่าปลอดภัยกว่าอยู่ที่บ้าน ต่อมาดาบสเกิดความโลภ อยากได้ทองคำแท่ง จึงไปบอกลากฎุมพีว่า จะไปอยู่ที่อื่น เพราะ อยู่ที่นั่นนานมาแล้ว ธรรมดานักพรตไม่ควรอยู่ที่เดียวนาน กฎุมพีอ้อนวอนให้อยู่ด้วยความเลื่อมใส แต่ก็ไม่อาจเหนี่ยวรั้งไว้ได้ ดาบสเดินออกจากเรือน ด้วยอาการสำรวม เป็นพิเศษ กฎุมพีออกมาส่ง เพิ่มพูนความเลื่อมใสยิ่งขึ้น ขอร้องให้กลับมาอีก ในโอกาสอันควรแล้วกลับเข้าบ้านไป

    สักครู่หนึ่ง ดาบสเดินกลับมา กฎุมพีดีใจ ถามว่า ท่านมีอะไรจะสั่งอีกหรือ? ดาบสบอกว่า เมื่อเดินออกไป เส้นหญ้าจากชายคาหล่นมาติดอยู่ที่ชฎา จึงเอามาคืน ธรรมดานักพรต ไม่ควรถือเอาของผู้อื่น แม้เพียงเส้นหญ้าแล้วจากไป กิริยาอาการ ของดาบสได้เพิ่มพูนความเลื่อมใส ปิติปราโมทย์ แก่กฎุมพีเป็นอย่างมาก พร้อมอุทานว่า "พระคุณเจ้าของเรา ช่างสำรวมระวัง และ ขัดเกลาดีจริงหนอ" ขณะนั้น มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ท่านหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นพฤติกรรมดาบสแล้ว ถามกฎุมพีว่า ได้ฝากอะไรไว้กับดาบสบ้างหรือไม่? กฎุมพีตอบว่า ได้ฝากทองไว้แท่งหนึ่ง "ท่านรีบตามดาบสไปเถอะ ช้าหน่อยทองจะหาย" "ท่านคิดอย่างนั้นกับพระคุณเจ้าได้อย่างไร?" กฎุมพีถามกึ่งไม่พอใจ กึ่งสงสัยกึ่งกังวล "เคร่งเกินเหตุ คงจะซ่อนความชั่วไว้ภายใน เอาความเคร่งออกบังหน้า" บัณฑิตตอบ"แต่ท่านรีบไปเถอะ เดี๋ยวไม่ทันกาลกฎุมพีรีบไป เจอดาบสขุดทองได้เรียบร้อยแล้ว กำลังเตรียมหนี จับได้คาจอบคาเสียม กฎุมพีจึงได้ตาสว่างขึ้น ได้เห็นแจ้งในคำของบัณฑิต ที่เตือนให้เขารีบตามดาบสมา

    ดังนั้นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จะต้องมีความซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรจนาไว้โดยย่อในวินัยมุข เล่ม ๑ เกี่ยวกับเรื่องการถือกรรมสิทธิ์ ทรงรจนาไว้ตอนหนึ่งว่า "การถือเอาทรัพย์เป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดว่า ถึงที่สุด ด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ตัวอย่างเช่น ภิกษุกล่าวตู่ เพื่อจะเอาที่ดินของผู้ใดผู้หนึ่ง เจ้าของเป็นผู้มีวาสนาน้อย เถียงไม่ขึ้น ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะนั้น ถ้าเจ้าของยังไม่ปล่อยกรรมสิทธิ์ ฟ้องภิกษุในศาลเพื่อเรียกที่ดินคืน ต่างเป็นความแก้คดีกัน ถ้าเจ้าของแพ้ ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุด ภิกษุเป็นโจทก์ฟ้องความเอง เพื่อจะตู่เขา ที่ดินก็เหมือนกัน แต่คำว่า เจ้าของแพ้ความนั้น พึงเข้าใจว่า แพ้ในศาลสูงสุด เป็นจบลงเท่านั้น เพื่อจำง่ายควรเรียกว่า ตู่”
    ทรัพย์ตามความหมายในสิกขาบทนี้มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น วิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่มีวิญญาณครอง เช่น มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น หรือ อวิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นต้น และไม่ว่าทรัพย์นั้นจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม เช่น อยู่ในบ้าน อยู่ในน้ำ ฝังดินไว้ หรือแม้แต่แขวนไว้ตามต้นไม้ เป็นต้น ก็ตาม ถือว่าเป็นทรัพย์ต้องห้าม ถ้าภิกษุถือเอาด้วยอาการแห่งขโมย ทรัพย์ทุกอย่างอาจทำให้ภิกษุต้องอาบัติได้ทั้งนั้น การถือเอาด้วยอาการแห่งขโมยนั้น เรียกว่า อวหาร ซึ่งมาจากศัพท์ว่า อว + หาร + (อว = ลง ในทางที่ไม่ดี + หาร = การนำไป ) เมื่อรวมกันแล้ว ก็แปลว่า การลัก การขโมย เป็นต้น

    ท่านจำแนกไว้ ๑๓ ลักษณะ คือ ลัก ชิงหรือวิ่งราว ลักต้อน แย่ง ลักสับ ตู่ ฉ้อหรือฉ้อโกง ยักยอก ตระบัด ปล้น หลอกลวง กดขี่หรือกรรโชก ลักซ่อน อวหารทั้ง ๑๓ ประการนี้ ถ้าภิกษุลงมือทำด้วยตนเอง เรียกว่า สาณัตติกะ คือ การทำความผิดด้วยตนเอง แต่ถ้าสั่ง คือให้ผู้อื่นทำแทนตน เรียกว่า อาณัตติกะ ต้องอาบัติเพราะสั่งให้เขาทำ และต้องอาบัติในเวลาที่ผู้รับคำสั่งนั้นไปลักทรัพย์หรือทำอวหารได้ของมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิกขาบทนี้เป็นทั้งสาณัตติกะ และ อาณัตติกะ คือ ทำเองก็ต้อง สั่งผู้อื่นทำก็ต้องเหมือนกัน

    เรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวินิจฉัยไว้ในวินีตวัตถุ มีทั้งหมด ๑๕๓ เรื่อง เช่น เรื่องช่างย้อม ภิกษุพระฉัพพัคคีย์ รูปหนึ่งลักห่อผ้าของช่างย้อม เกิดความรังเกียจว่าตนต้องอาบัติปาราชิกแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่าพวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว และเรื่องนำแก้วมณีล่วงด่านภาษี มีบุรุษคนหนึ่งนำแก้วมณีราคาแพงเดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นเห็นด่านภาษีแกล้งทำว่าเป็นไข้ ฝากห่อของของตนไว้กับภิกษุโดยที่ภิกษุไม่รู้ว่ามีของหนีภาษีซ่อนอยู่ด้านใน เมื่อเดินทางพ้นด่านภาษีไปแล้ว ขอห่อของคืนพร้อมกับบอกพระภิกษุว่าตนไม่ได้เป็นไข้ แต่ต้องการหนีภาษี ภิกษุนั้นเกิดความรังเกียจว่า ตนต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสตอบว่าภิกษุผู้ไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ จากตัวอย่างในวินีตวัตถุ แสดงให้เห็นว่า ในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ คือ จะต้องมีเจตนาจึงจะเป็นอาบัติ ซึ่งเกณฑ์ในการปรับอาบัติในสิกขาบทนี้ คือ ในการตัดสินว่าภิกษุถือเอาทรัพย์เช่นไรต้องอาบัติ เช่นไรไม่ต้องอาบัติ หรือทรัพย์เช่นไรเป็นข้อห้าม

    สำหรับภิกษุนั้นท่านให้ถือเอาหลักวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์นั้นด้วยอาการ ๕ อย่าง เหล่านี้ คือ
    ๑) ทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน
    ๒) มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน
    ๓) ทรัพย์มีค่าได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสกนั้นขึ้นไป
    ๔) มีไถยจิตปรากฎขึ้น (จิตคิดจะลัก)
    ๕) ภิกษุทำทรัพย์ (นั้น) ให้เคลื่อนจากฐาน


    ถ้าพร้อมด้วยอวหาร ๕ อย่างนี้ ในขณะที่ภิกษุลูบคลำทรัพย์นั้นต้องทุกกฏ ขณะทำให้เคลื่อนไหวต้องถุลลัจจัย เมื่อทำทรัพย์นั้นให้พ้นจากที่ตั้ง หรือเคลื่อนจากฐาน ต้องปาราชิก ส่วนในข้อ ๓ นั้น ถ้าทรัพย์มีค่า ๑ มาสก (หรือน้อยกว่า) ต้องทุกกฏ มีค่า ๒ - ๓ - ๔ มาสก ไม่เกินนี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้ามีค่า ๕ มาสกขึ้นไป ต้องปาราชิก

    วิเคราะห์ของที่ทำให้ ภิกษุผู้ลัก เป็นปาราชิก ที่ว่า ๑ บาท (เป็นเงินตรา) ราคาเท่า ๑ บาท หรือ เกิน ๑ บาท (ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา) เล็งว่าเป็น สิ่งของซึ่งจะต้องตีราคา คำว่า ๑ บาท ในสมัยพุทธกาลนั้น ๕ มาสก เป็น ๑ บาท ๕ บาท เป็น ๑ กหาปณะ คิดเป็นมาตราทองคำ คือ ทองคำหนัก ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เท่ากับ ๑ มาสก ๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท เพราะฉะนั้น ๑ บาท จึงเท่ากับ ทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก ยี่สีบคูณสี่ เท่ากับ แปดสิบ ทองคำหนัก ๘๐ เมล็ดข้าวเปลือก ๑ กหาปณะ เป็นราคาเงินไทย เวลานี้เท่าใด ๑ บาทขึ้นไป อันเป็นวัตถุแห่งปาราชิกนั้น คิดเป็นราคาเงินไทยเท่าใด ถ้าขโมยเงิน หรือ ขโมยของต่ำกว่า ๑ บาท ลงมา อาบัติก็ต่ำลงมา คือ ๒-๔ มาสก เป็นอาบัติถุลลัจจัย (หยาบ) ตั้งแต่ ๑ มาสก ลงมาเป็นทุกกฏ (ไม่ดี ไม่งาม ไม่เหมาะ ไม่ควร ทำชั่ว)

    ในสิกขาบทนี้ ลักษณะที่ภิกษุไม่ต้องอาบัติมี ๘ ประการ คือ
    ๑) ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของตน
    ๒) ภิกษุถือเอาด้วยความคุ้นเคยกันหรือถือเอาด้วยวิสาสะ•
    ๓) ภิกษุถือเอาด้วยเข้าใจว่าเป็นของยืม
    ๔) ภิกษุถือเอาของผู้ตายหวงแหน เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกต่อ
    ๕) ภิกษุถือเอาของที่สัตว์หวงแหน เช่น เสือกัดเนื้อตาย ถือเอาบางส่วนมาทำเป็นอาหาร
    ๖) ภิกษุถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา คือเข้าใจว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว
    ๗) ภิกษุเป็นบ้า
    ๘) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ



    พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร - คาถาสังคณิกะ - วิเคราะห์ปาราชิก เป็นต้น - วิเคราะห์ปาราชิก - วิกิ
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เอารูปมาลง แล้วทำไมไม่ไปอ่านต้นเรื่องละครับ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

    หรือแกล้งทำเป็นไม่รู้

    คร่าวๆ พระท่านเค้าจ่ายเงินจองค่าที่พักเรียบร้อยแล้ว

    พอถึงเวลา รร เค้ากลับไม่ยอมให้เข้าพัก

    พอไม่ให้เข้าพัก ก็ต้องคืนเงินให้พระสิครับ หรือจะให้จ่ายฟรี แต่ไม่ได้พัก

    เคนะ
     
  8. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    ..ผมจะไม่ขอเสวนากับพวกปาราชิก...

    อาบัติปาราชิก ต่างกรรม ต่างวาระ หลายเรื่องด้วยกัน (ผมรู้เรื่องอะไรมากมายกว่านั้นเยอะที่คนอื่นไม่รู้แต่ไม่ขอพูด)...ผมจะไม่ขอเสวนากับคนปาราชิกและพรรคพวกที่ยกตูดกันโดยไม่ยอมรับความจริงและเคารพต่อพระธรรม วินัยของพระพุทธเจ้า... ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ๆ ก็ตาม ไม่ว่าอนันตจักรวาฬนี้จะพินาศย่อยยับไปอีกกี่แสนล้านครั้ง ก็อย่าให้คนพวกนี้ได้มีโอกาสเสวนากับผมไปชั่วอนันตกาลด้วยเถิด สาธุ !...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  9. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    ...เงิน ทอง เป็นของเฉพาะชาวบ้าน...

    เงิน ทอง เป็นของที่เหมาะสมและคู่ควรกับชาวบ้านเท่านั้น ไม่ใช่ของเหมาะสมหรือคู่ควรกับนักบวชที่ประกาศตนว่าเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เพราะอาบัติเรื่องเงิน ทอง สำหรับพระภิกษุ ไม่สามารถจะปลงอาบัติให้หายได้ ตราบใดยังถือกรรมสิทธิ์ในเงิน ทอง จะต้องเป็นอาบัติเรื่องนี้จนตลอดชีวิต ไม่มีทางแก้อาบัติเรื่องนี้ได้ จนกว่าจะสละสิทธิ์เสียก่อน (คือสละจริง ๆ โดยไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่บอกสละ แต่เอาไปฝากโยมหรือฝากธนาคารเอาไว้ อย่างนี้ แสดงว่ายังถือกรรมสิทธิ์อยู่ พระภิกษุที่รับเงินเดือนล้วนแต่เป็นอาบัติข้อนี้กันทั้งนั้น และคงจะต้องเป็นอาบัติไปจนตายนั่นแหละ อย่าได้มาบอกเชียวนะว่ามีศีลบริสุทธิ์หมดจด... ถามว่าระหว่างคำพูดของพระพุทธเจ้า กับคำพุดของพวกลูกศิษย์ชั้นปลายแถวอย่างในปัจจุบัน คำพูดของใครศักดิ์สิทธิ์และน่าเชื่อถือมากกว่ากัน ? นี่คือเครื่องวัดสัจจะของผู้ที่ประกาศตนว่าเคารพเชื่อถือพระพุทธเจ้า อีกแบบหนึ่ง ว่าพูดจริงหรือแค่คำโกหกตอแหล)...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒





    เรื่องเมณฑกะคหบดี
    [๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะ ท่านมี
    อิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ ท่านสระเกล้า แล้วให้กวาดฉางข้าวนั่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าว
    เปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาด
    จุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงหม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
    อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ
    เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่ง ถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
    เงินนั้นไม่หมดสิ้น ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ
    นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและ
    กรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้
    คือเมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย.
    พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้ทรงสดับข่าวว่า เมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือน
    อยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของพระองค์ เธอมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้ว
    ให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพ
    เห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกง
    หม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยัง
    ไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงินพันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น
    แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่หมดสิ้น ตลอดเวลาที่ถุงเงิน
    ยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนาน
    ใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอด
    เวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว
    มีรอยไถถึง ๗ รอย.
    ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ตรัสเรียกมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ
    มารับสั่งว่า ข่าวว่าเมณฑกะคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของเรา เธอมี
    อิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าวนั่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือก
    ตกจากอากาศเต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำ
    หนึ่งอาฬหกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงใบหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
    อาหารนั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เขา
    ถือถุงจุเงินพันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร เงิน
    นั้นไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ
    นางนั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและ
    กรรมกร ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้
    คือ เมื่อเขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย พนาย เธอจงไปดูให้รู้เห็นเหมือนอย่างเรา
    ได้เห็นด้วยตนเอง.
    ท่านมหาอำมาตย์รับพระบรมราชโองการของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า เป็น
    ดังพระราชประสงค์ พระพุทธเจ้าข้า แล้วพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า เดินทางไปยังภัททิยะนคร
    บทจรไปโดยลำดับจนถึงเมืองภัททิยะ เข้าไปหาเมณฑกะคหบดี ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเมณฑกะ-
    *คหบดีว่า ท่านคหบดี ความจริงข้าพเจ้ามาโดยมีพระบรมราชโองการว่า พนาย ข่าวว่าเมณฑกะ-
    *คหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครภัททิยะแคว้นของเรา ครอบครัวของเธอมีอิทธานุภาพเห็น
    ปานฉะนี้ คือ เธอสระเกล้าแล้วให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือกตกจากอากาศ
    เต็มฉาง ภริยามีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ นางนั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬ
    หกใบเดียวเท่านั้น และหม้อแกงหม้อหนึ่ง เลี้ยงอาหารแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร อาหารนั้น
    ไม่หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ บุตรมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เขาถือถุงจุเงิน
    พันหนึ่งถุงเดียวเท่านั้น แล้วแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร เงินนั้นไม่
    หมดสิ้นตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา สะใภ้มีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือนางนั่งใกล้
    กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น แล้วแจกข้าวกลางปีแก่บุรุษที่เป็นทาสและกรรมกร
    ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่ ทาสมีอิทธานุภาพเห็นปานฉะนี้ คือ เมื่อ
    เขาไถนาด้วยไถคันเดียว มีรอยไถถึง ๗ รอย พนาย เธอจงไปดูให้รู้เห็นเหมือนอย่างเรา ได้เห็น
    ด้วยตนเอง ท่านคหบดี ข้าพเจ้าขอชมอิทธานุภาพของท่าน.
    จึงเมณฑกะคหบดีสระเกล้าแล้ว ให้กวาดฉางข้าว นั่งอยู่นอกประตู ท่อธารข้าวเปลือก
    ตกลงมาจากอากาศเต็มฉาง
    มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ขอชม
    อิทธานุภาพของภรรยาท่าน
    เมณฑกะคหบดีสั่งภรรยาในทันใดว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงเลี้ยงอาหารแก่เสนา ๔ เหล่า
    ขณะนั้น ภรรยาท่านเมณฑกะคหบดีได้นั่งใกล้กระถางข้าวสุกขนาดจุน้ำหนึ่งอาฬหกใบ
    เดียวเท่านั้น กับหม้อแกงหม้อหนึ่ง แล้วเลี้ยงอาหารแก่เสนา ๔ เหล่า อาหารนั้นมิได้หมดสิ้นไป
    ตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไปจากที่
    มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของภรรยาท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
    ขอชมอิทธานุภาพของบุตรท่าน
    จึงเมณฑกะคหบดีสั่งบุตรว่า ถ้าเช่นนั้น พ่อจงแจกเบี้ยหวัดกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า
    ขณะนั้น บุตรของท่านเมณฑกะคหบดีถือถุงจุเงินพันหนึ่ง ถุงเดียวเท่านั้น แล้วได้แจก
    เบี้ยหวัดกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า เงินนั้นมิได้หมดสิ้นไป ตลอดเวลาที่ถุงเงินยังอยู่ในมือของเขา
    ท่านมหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของบุตรท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
    ขอชมอิทธานุภาพของสะใภ้ท่าน
    เมณฑกะคหบดีสั่งสะใภ้ทันทีว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงแจกข้าวกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า
    ขณะนั้น สะใภ้ของเมณฑกะคหบดีได้นั่งใกล้กระเฌอจุข้าว ๔ ทะนานใบเดียวเท่านั้น
    แล้วได้แจกข้าวกลางปีแก่เสนา ๔ เหล่า ข้าวนั้นมิได้หมดสิ้นไปตลอดเวลาที่นางยังไม่ลุกไป
    จากที่
    มหาอำมาตย์สรรเสริญว่า ท่านคหบดี อิทธานุภาพของสะใภ้ท่าน ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
    ขอชมอิทธานุภาพของทาสท่าน
    เมณ. อิทธานุภาพของทาสข้าเจ้า ท่านต้องชมที่นา ขอรับ.
    ม. ไม่ต้องละท่านคหบดี แม้อิทธานุภาพของทาสท่าน ก็เป็นอันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
    ครั้นเสร็จราชการนั้นแล้ว ท่านมหาอำมาตย์นั้นพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า ก็เดินทางกลับพระนคร
    ราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทุกประการ.
    [๘๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว
    เสด็จจาริกทางพระนครภัททิยะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จจาริก
    โดยลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครภัททิยะแล้วทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขต
    พระนครภัททิยะนั้น.
    พระพุทธคุณ

    เมณฑกะคหบดีได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดมศากยบุตร ทรง
    ผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับถึงพระนครภัททิยะ ประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตพระนคร
    ภัททิยะ ก็พระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
    เหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชา
    และจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
    ของทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอน
    หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ ทวยเทพและมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น
    งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์
    บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี
    หลังจากนั้น เมณฑกะคหบดีให้จัดแจงยวดยานที่งามๆ แล้วขึ้นสู่ยวดยานที่งามๆ มี
    ยวดยานที่งามๆ หลายคันแล่นออกจากพระนครภัททิยะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค.
    พวกเดียรถีย์เป็นอันมาก ได้เห็นเมณฑกะคหบดีกำลังมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้
    ทักถามเมณฑกะคหบดีว่า ท่านคหบดี ท่านจะไปที่ไหน?
    เมณ. ข้าพเจ้าจะไปเฝ้าพระสมณะโคดม เจ้าข้า.
    ด. คหบดี ก็ท่านเป็นกิริยวาท จะไปเฝ้าสมณะโคดมผู้เป็นอกิริยวาททำไม เพราะ
    พระสมณะโคดมเป็นอกิริยวาท แสดงธรรมเพื่อความไม่ทำ และแนะนำสาวกตามแนวนั้น
    ลำดับนั้น เมณฑกะคหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น เดียรถีย์พวกนี้จึงพากันริษยา แล้วไปด้วย
    ยวดยานตลอดภูมิภาคที่ยวดยานจะไปได้ ลงจากยวดยานแล้ว เดินเข้าไปในพุทธสำนัก ถวาย
    บังคมพระผู้มีพระภาค นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    ทรงแสดงธรรมโปรด

    พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพพิกถาแก่เมณฑกะคหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
    ของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ท่าน
    เมณฑกะคหบดีมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว
    จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์
    สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านเมณฑกะ-
    *คหบดี ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ
    เป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น.
    แสดงตนเป็นอุบาสก

    ครั้นเมณฑกะคหบดีเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว หยั่งลงสู่ธรรม
    แล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัยถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้อง
    เชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ภาษิตของพระองค์
    แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรง
    ประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทาง
    แก่คนหลงทางหรือส่งประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
    นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธ-
    *เจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมกับ
    ภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปิติ
    ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ
    ครั้นเมณฑกะคหบดีทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมทำ
    ประทักษิณกลับไป แล้วสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้
    เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร
    เสร็จแล้ว.
    ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนิน
    เข้าไปทางนิเวศน์ของเมณฑกะคหบดี ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ พร้อมด้วย
    ภิกษุสงฆ์
    ขณะนั้น ภรรยา บุตร สะใภ้ และทาส ของเมณฑกะคหบดีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เขาทั้งหลาย
    คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย
    และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน
    มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม
    ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่เขาทั้งหลาย ณ สถานที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
    ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน
    ควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.
    ครั้นชนเหล่านั้นเห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้วหยั่งลงสู่ธรรมแล้ว
    ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัยแล้ว ถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อ
    ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
    นัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรม
    โดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
    หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า คนมีจักษุจะเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ขอถึง
    พระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายว่า เป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
    ครั้นเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร
    อันประณีต ด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้าม
    ภัตรแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลปวารณาแด่พระผู้มีพระภาคว่า ตราบใดที่
    พระองค์ยังประทับอยู่ ณ พระนครภัททิยะ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายภัตตาหารเป็นประจำแก่ภิกษุสงฆ์
    มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
    ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป.
    เมณฑกคหบดีอังคาสพระสงฆ์

    [๘๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครภัททิยะตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว
    ไม่ได้ทรงลาเมณฑกะคหบดี เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางชนบทอังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
    หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เมณฑกะคหบดีได้ทราบข่าวแน่ชัดว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จพระ
    พุทธดำเนินไปทางชนบทอังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป จึงสั่ง
    ทาสและกรรมกรว่า พนายทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสาร
    บ้าง ของขบฉันบ้าง ลงในเกวียนให้มากๆ และคนเลี้ยงโค ๑,๒๕๐ คน จงพาแม่โคนม ๑,๒๕๐ ตัว
    มาด้วย เราจักเลี้ยงพระสงฆ์ด้วยน้ำนมสดอันรีดใหม่ที่มีน้ำยังอุ่นๆ ณ สถานที่ๆ เราได้พบ
    พระผู้มีพระภาค ครั้นเมณฑกะคหบดีตามไปพบพระผู้มีพระภาค ณ ระหว่างทางกันดาร จึงเข้าเฝ้า
    พระผู้มีพระภาค ถวายบังคมยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลอาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า
    ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า
    เพื่อเจริญบุญกุศลและปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดย
    ดุษณีภาพ ครั้นเมณฑกะคหบดี ทราบการทรงรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่ง
    ถวายบังคมทำประทักษิณกลับไป แล้วสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต โดยผ่านราตรีนั้น
    แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร
    เสร็จแล้ว.
    ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธ-
    *ดำเนินเข้าสถานที่อังคาสของเมณฑกะคหบดี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงเมณฑกะคหบดีสั่งคนเลี้ยงโค ๑,๒๕๐ คนว่า พนายทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
    จงช่วยกันจับแม่โคนมคนละตัว แล้วยืนใกล้ๆ ภิกษุรูปละคนๆ เราจักเลี้ยงพระด้วยน้ำนมสด
    อันรีดใหม่ที่มีน้ำยังอุ่นๆ ครั้นแล้วได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย-
    *โภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดอันรีดใหม่ด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตรแล้ว ภิกษุ
    ทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคนน้ำนมสด พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จงรับประเคนฉันเถิด.
    เมื่อเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร
    อันประณีต และด้วยน้ำนมสดรีดใหม่ด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จ ทรงนำ
    พระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมณฑกะคหบดีนั่งอยู่
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทาง
    กันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย ขอประทานพระ
    วโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตเสบียงเดินทางแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
    เมณฑกานุญาต
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
    ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงทำธรรมีกถา
    ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป
    ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้ คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร
    ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ
    พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน
    ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก
    สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรา
    มิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๑๖๙ - ๒๓๖๓. หน้าที่ ๘๘ - ๙๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...63&pagebreak=0
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เรื่องเมณฑกะคหบดี ขออนุญาติ พระพุทธเจ้า

    ให้พระภิกษุ รับเงินทอง จากชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง

    พระพุทธเจ้า อนุญาติ ให้รับได้


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒
    เรื่องเมณฑกะคหบดี​
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก
    สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้


    เมณฑกานุญาต
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
    ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงทำธรรมีกถา
    ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป
    ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้ คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร
    ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ
    พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน
    ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก
    สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๑๖๙ - ๒๓๖๓. หน้าที่ ๘๘ - ๙๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka...63&pagebreak=0
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ชาตรูปรชตํ อุคฺคณฺเหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ ภิกษุรูปใดก็ตามรับเงินก็ดี ทองก็ดี หรือสิ่งที่สมมุติให้เป็นเงินก็ดี รับเองก็ดีต้องอาบัติ ให้คนอื่นรับต้องอาบัติ หรือเขารับให้ยินดีก็ต้องอาบัติจากการรับของเขา นั่นฟังซิปรับขนาดนั้น นี่เป็นพระบัญญัติเบื้องต้น อันดับที่สองเมณฑกเศรษฐีไปขอความผ่อนผันจึงลดลงมา แต่ก่อนไม่ให้รับทั้งนั้นเลย ต่อมาอันดับหลังนี้จึงมาผ่อนผันให้เขารับแทนได้ แต่ให้ยินดีในกัปปิยภัณฑ์ที่เขาจะไปซื้อมา ไม่ ให้ยินดีในเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ถ้ายินดีปรับอีก แน่ะฟังซิ คือท่านตัดขาดเพื่อไม่ให้มีความเยื่อใยในสิ่งเหล่านี้เลย จะได้ปฏิบัติธรรมสะดวกไม่มีอะไรเลย เพราะอันนี้เป็นภัยมาก พระพุทธเจ้าจึงตัดอย่างรุนแรง คือเป็นภัยต่อการบำเพ็ญธรรม เอาละเลิกกัน
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระวินัยปิฎก

    เภสัชชขันธกะ​


    เมณฑกานุญาต​

    ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง

    ไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้าขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดย
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระวินัยปิฎก

    เภสัชชขันธกะ

    เมณฑกานุญาต

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง

    สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ

    กลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน

    เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

    หลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส

    มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียง

    จะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ ภิกษุต้องการ

    ข้าวสารพึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียวพึงแสวงหาถั่วเขียวต้องการถั่ว

    ราชมาสพึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือพึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย

    พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมันพึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนยใสก็พึงแสวง

    หาเนยใส มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง

    ไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้าขอท่านจงถวายสิ่งนั้น

    ด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจาก

    กัปปิยภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดย
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่มีศีลข้อไหนที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า รับเงินทอง จับเงิน จับทอง แล้ว ปาราชิก ขาดจากความเป็นพระ


     
  17. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    ...เงิน ทอง ก็คือ อสรพิษของพระ...

    (ขอบใจที่ copy เอาข้อความมากมายมาวาง โดยแทบไม่ต้องลงทุนเหนื่อยพิมพ์อะไร คริ คริ สำหรับผมมันแทบไม่มีความหมาย เพราะสิ่งเหล่านี้ผมเคยอ่านและศึกษามาอย่างผู้เข้าใจพอสมควร ไม่ใช่แค่ท่องจำอย่างเดียว แต่ก็ดีอาจจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่เขาไม่เคยศึกษาจะได้อ่าน)

    ...ลำพังแค่รับเงิน ทอง ที่ได้มาโดยสุจริต ไม่เป็นปาราชิก แต่เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ (เป็นอาบัติที่แก้ไม่ตก ตลอดชีวิต ถ้ายังถือกรรมสิทธิ์) แต่เรื่อง เงิน ทอง มันมีรายละเอียดปลีกย่อยหลายประเด็นที่ทำให้เข้าข่ายปาราชิก (ซึ่งส่วนใหญ่) ไม่ค่อยจะรู้กัน (หรืออาจรู้ เพียงแต่ไม่เข้าใจหรือทำเป็นไม่รู้ ไม่ซี้ เพราะความหน้าด้าน หรืออะไรก็ตาม)...

    หมายเหตุ : เงิน-ทอง ไม่ว่าคุณจะเรียกมันด้วยชื่ออะไร มันก็คือเงิน-ทอง นั่นแหละ (อย่าตอแหล !) ก็เหมือนที่คุณเรียกสัตว์เลี้ยง 4 ขาชนิดหนึ่งนั่นแหละ ไม่ว่าจะเรียก...“dog”, “สุนัข”, “หมา”, “ไอ้ดำ”, “ไอ้ด่าง”, “ไอ้ตูบ” หรือ “ทูนหัวของบ่าว” ฯลฯ มันก็คือหมาดี ๆ นี่เอง ไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้หรอก (อย่าตอแหล ! --> ฮ่วย ! 2 ตอแหลแล้วเฟ้ย คงต้องพอเท่านี้ก่อน... คริ คริ)

    ปัญญา เประยะโพธิ์เดช
    16 มิถุนายน 2558 : 14.55 น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    แล้วตัวเองละ ไม่ใช่พระ เห็นเงินทอง เป็นอะไร ยังใช้เงินทอง เลี้ยงชีพหรือไม่

    ดูตัวเองก่อนที่จะไปจับผิดพระ ดีกว่านะ



    มีที่มาที่ไปใน พระวินัยปิฎก


    เรื่องเมณฑกะคหบดี ขออนุญาติ พระพุทธเจ้า

    ให้พระภิกษุ รับเงินทอง จากชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง

    พระพุทธเจ้า อนุญาติ ให้รับได้


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒
    เรื่องเมณฑกะคหบดี​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <center>เมณฑกานุญาต </center> ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส. มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้ คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส. มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการก สั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรา มิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.



    พระพุทธเจ้าอนุญาติให้รับสงสัยจะมีบางคน ทำตัวเก่งเกิน
    </pre>
     
  20. phodej

    phodej เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    190
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +300
    ...ขี้เกียจพูดด้วย...

    ...ถ้าไม่รู้อะไรทั้งหมดเกี่ยวกับผม ที่เคยทำอะไรเอาไว้บ้าง ก็อย่าแสดงความเห็นอะไรดีกว่านะ ขี้เกียจจะชี้แจง อยากเข้าใจอะไรผิด ๆ เกี่ยวกับผมก็ตามสบาย รับผิดชอบชีวิตตัวใครตัวมันเอาเองก็แล้วกัน...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...