โลมา ที่ปากอ่าวบางปะกง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย PyDE, 4 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ... เรื่อง
    นุ บางบ่อ ... ภาพ
    ไผ่พริ้ว ... อยู่ในภาพ(มั้ง)

    <TABLE cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160>[​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top width=767>
    ระหว่างเดือนธันวาคม ไปจนถึงกุมภาพันธ์ น้ำทะเลในอ่าวไทยหนุนสูงในช่วงกลางวัน ทำให้ระดับน้ำบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงค่อนข้างสูงและคงที่ สามารถพบเห็นโลมาอิรวดี โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และโลมาเผือกหลังโหนก ได้ง่าย
    โลมาทั้งสามชนิด ที่พบเห็นใกล้ปากแม่น้ำบางปะกง เป็นโลมา ในกลุ่มที่ชอบหากินใกล้ชายฝั่ง พบได้บ่อยในทะเลเขตร้อน สิ่งที่ดึงดูดให้โลมาเข้ามาหากินในบริเวณนี้ ก็เนื่องจากบริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างน้ำจืด และน้ำเค็ม มีแถบของป่าชายเลน ตลอดแนวชายฝั่ง และลำน้ำ องค์ประกอบทางธรรมชาติเหล่านี้ทำให้มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช และสัตว์ ปริมาณมหาศาล เป็นอาหารของปลานานาชนิด ได้แก่ ปลากะพง ปลากระบอก ปลาดุกทะเล ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุกทะเล ซึ่งเป็นอาหารโปรดของโลมาอิรวดี จะพากันว่ายเข้ามาหาอาหารบริเวณปากแม่น้ำ เป็นฝูงใหญ่ พวกโลมาจึงตามเข้ามาจับกิน
    โลมาอิรวดี จะรวมฝูง 5 - 10 ตัว ช่วยกันต้อนเหยื่อให้อยู่ในวงล้อม แล้วว่ายโฉบเข้าไปกัดกิน บางครั้งจะพุ่งขึ้นมาเหนือผิวน้ำ เห็นครีบหลังสีเทา ที่มีลักษณะเป็นแนวโค้ง ตัดกับยอดคลื่น หรือพากันลอยตัวขึ้นผิวน้ำ แล้วพ่นฝอยน้ำออกจากช่องขับน้ำ ด้านบนของลำตัว เกิดเป็นเสียงหวีดหวิวเบาๆ
    พฤติกรรมการหาอาหารของโลมา เป็นภาพที่น่าประทับใจ และดึงดูดให้ผู้คนหลั่งใหลกันมาชม จนเกิดเป็นกิจกรรมนำชมฝูงโลมาของชาวประมง มานานกว่า 10 ปี
    โลมาเป็นสัตว์สังคม มักพบรวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีการสื่อสารกันในกลุ่มด้วยเสียงที่ซับซ้อน ฉลาด และเป็นมิตร อาจกล่าวได้ว่า เป็นสัตว์ที่มีเสน่ห์ และให้ความรู้สึกเป็นมิตรกับมนุษย์มากกว่าสัตว์ชนิดใด และแม้จะล่าปลากินเป็นอาหาร แต่ชาวประมงในละแวกปากแม่น้ำบางปะกง ก็ไม่ถือว่าเป็นศัตรู แต่ยังมีรูปแบบที่เกื้อกูลกัน กล่าวคือ การปรากฏตัวของโลมาบอกได้ว่าฤดูที่ปลาใกล้ปากอ่าวชุกชุมมาถึงแล้ว อีกทั้งการรวมฝูงล่าเหยื่อของโลมา ทำให้ชาวประมงทราบถึงตำแหน่งของฝูงปลา ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้เกิดรายได้จากการนำนักท่องเที่ยวล่องเรือชมพวกมันอีกด้วย
    อย่างไรก็ตาม การเกื้อกูลที่ดำรงอยู่นี้ ดำเนินไปโดยปราศจากการจัดการที่ยั่งยืน บางครั้งอาจก่อให้เกิดผลร้ายกับฝูงโลมาจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยเหตุนี้ ความร่วมมือในการจัดทำแผนการจัดการที่ดี สำหรับโลมาบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ตลอดจนอ่าวไทยตอนในจึงมีความจำเป็น เนื่องจากโลมามิใช่เพียงตัวละครเอกในธุรกิจท่องเที่ยวเท่านั้น หากแต่มีหน้าที่ที่สำคัญกว่านั้นมากนัก ในการเป็นกลไกหนึ่งของระบบนิเวศชายฝั่งอันอุดมสมบูรณ์
    รู้จักโลมา
    โลมา และ วาฬ เป็นสัตว์ในกลุ่มเดียวกัน เป็นสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด ปรับตัวมาอาศัยในทะเลมานานกว่า 65 ล้านปี เท่าที่มีรายงานพบในน่านน้ำประเทศไทย มีทั้งสิ้น 25 ชนิด แต่ที่พบเห็นได้บ่อยใกล้ชายฝั่ง มี 3 ชนิด คือ โลมาอิรวดี, โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และโลมาเผือกหลังโหนก
    โลมา และวาฬ เป็นผู้บริโภคระดับบนในห่วงโซ่อาหาร ช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศในทะเล การกินปลาเป็นอาหาร เป็นการควบคุมประชากรปลา ในขณะเดียวกัน ยังช่วยกำจัดปลาที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง มิให้มีโอกาสกระจายพันธุ์ต่อไปได้ เช่นเดียวกับหน้าที่ของสัตว์ผู้ล่า ในป่าบนแผ่นดิน การรวมฝูงล่าปลาขนาดกลาง และขนาดเล็กกินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้โลมา ช่วยรักษาสมดุลให้กับท้องทะเล ขณะเดียวกัน พวกมันยังส่งผ่านพลังงานต่อไป เมื่อตกเป็นเหยื่อของปลานักล่าขนาดใหญ่ ได้แก่ ฉลาม
    ไม่เพียงหน้าที่ในระบบนิเวศ มนุษย์ยังเชื่อกันว่าโลมา เป็นมิตร หลายต่อหลายครั้งที่พวกมัน ช่วยเหลือมนุษย์จากการโจมตีของฉลาม เป็นผู้ช่วยที่ดีในการหาปลาของชาวประมงพื้นบ้าน และยังสร้างความสุขให้กับมนุษย์เมื่อได้พบเห็นการรวมฝูงในธรรมชาติ
    โลมาทั้ง 3 ชนิด ที่พบได้บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง แม้จะไม่ถูกคุกคามจากการล่าโดยตรง แต่พวกมันก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามอื่นๆ โดยมนุษย์ ทั้งจากกิจกรรมทางน้ำที่หนาแน่น ทั้งการขนส่ง และการประมง การนำเรือออกไล่ตามเพื่อติดตามดูพฤติกรรม โดยขาดความเข้าใจ ปัญหามลพิษ การทำลายป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ
    โลมาอิรวดี
    พบเห็นได้บ่อย และง่ายที่สุดใกล้ปากแม่น้ำบางปะกง ตลอดจนอ่าวไทยตอนใน ชื่อโลมาอิรวดี มาจากแหล่งที่พบครั้งแรกโดยชาวตะวันตก ในแม่น้ำอิรวดี ซึ่งโลมาชนิดนี้ สามารถว่ายน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ตามลำน้ำขนาดใหญ่ ในอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย และ กัมพูชา

    โลมาอิรวดี เมื่อโตเต็มที่มีขนาด2.1-2.6 เมตร ลำตัวสีเทาเข้ม หัวโหนก ค่อนข้างกลม ไม่มีจงอยปากยื่นยาวเหมือนโลมาชนิดอื่น แต่ปากค่อนข้างงุ้ม เต็มไปด้วยฟันแหลมคม ครีบหลังทรงสามเหลี่ยมปลายกลมมน ขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับโลมาชนิดอื่น อยู่ค่อนไปทางหาง
    โลมาอิรวดี ว่ายน้ำค่อนข้างช้า มักโผล่ครีบหลังขึ้นมาให้เห็นเพียงช่วงสั้นๆ ชอบโผล่ส่วนหัวขึ้นมาเหนือน้ำ และมองออกไปโดยรอบ
    การรวมฝูงล่าปลาเป็นอาหาร ทำให้พวกมันเป็นผู้ช่วยที่ดีของชาวประมง เนื่องจากฝูงปลาที่แตกตื่นจะเตลิดเข้าไปติดอวนของชาวประมง
    โลมาหัวบาตรหลังเรียบ
    ลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับโลมาอิรวดี ทั้งสีผิว ลักษณะหัว จงอยปาก และพฤติกรรม แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ระหว่าง 1.0 - 1.9 เมตร และไม่มีครีบหลัง เป็นโลมาที่อาศัยใกล้ชายฝั่ง ในเขตน้ำตื้นแม้จะพบแพร่กระจายในเขตอ่าวไทย แต่ก็พบเห็นได้ยากเนื่องจากไม่มีครีบหลังให้สังเกต

    จากรายงานของชาวประมงบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ระบุว่า บางครั้งพบหากินร่วมกับโลมาอิรวดี
    โลมาเผือกหลังโหนก
    มีขนาดใหญ่กว่าโลมาอิรวดีมาก โตเต็มที่มีขนาดถึง 3.2 เมตร จุดเด่นอยู่ที่สีผิวที่ซีดขาว หรือสีชมพูจางๆ พบทั่วไปใกล้ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ รวมถึงชายฝั่งอ่าวไทย

    โลมาเผือกหลังโหนก มีรูปร่างยาว ปากเรียวยาว สีที่ลำตัว มีหลากหลายทั้งสีน้ำตาลเหลือซีด เทาจางๆ ไปจนถึงขาวอมชมพู และยิ่งอายุมาก สีที่จะงอยปากจะยิ่งจางลง เนื่องจากมีขนาดใหญ่ และสีอ่อน ว่ายน้ำได้ช้า โลมาเผือกหลังโหนกจึงเห็นได้ง่าย และเห็นได้จากระยะไกล ประกอบกับครีบหลัง ที่ฐานโค้งกว้างมาก มีขนาดเกือบ 1 ใน3 ของหลัง ยิ่งทำให้เห็นได้เด่นชัด อย่างไรก็ตาม โลมาชนิดนี้ ค่อนข้างระแวดระวังเรือ ไม่ชอบว่ายเข้ามาใกล้ หรือว่ายนำเรือ แต่ชอบใช้หางตีน้ำ หรือตะแคงตัวว่ายน้ำ
    ข้อควรปฏิบัติในการดูโลมา
    1. เมื่อเข้าใกล้ฝูงโลมาควรเคลื่อนเรือให้ช้าทีสุด เบาเครื่อง หรือ ให้เรือเดินช้าๆ
    2. รักษาระยะห่างไม่ควรเข้าใกล้เกิน 30 เมตร
    3. ไม่ควรนำเรือเข้าฝ่ากลางฝูงโลมา หรือไล่หลังโลมา ควรดูอยู่ข้างๆ ฝูง
    4.ไม่ควรนำเรือไปดักหน้า หรือขวางหน้าฝูงโลมา
    5.ไม่ควรเร่งเครื่องเรือ หรือเร่งความเร็วกะทันหัน
    6.ไม่ควรให้อาหารโลมา เพราะจะทำให้นิสัยการกินอาหารเปลี่ยนไป และอาจขาดธาตุอาหารที่ร่างกายต้องการ

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]


    [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...