โลก ฉัน และความรัก กับอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 15 กันยายน 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    โลก ฉัน และความรัก กับอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD height=10 background=thpv_images/border/br_brown01_01.gif width=20></TD><TD background=thpv_images/border/br_brown01_02.gif></TD><TD height=10 background=thpv_images/border/br_brown01_03.gif width=20></TD></TR><TR><TD background=thpv_images/border/br_brown01_04.gif></TD><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD height=50> </TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 width="93%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=30></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top> [SIZE=+2][/SIZE]ามเช้าของวันที่ 13 มีนาคม สังฆะพลัมน้อยและกองบรรณาธิการวารสารพลัมได้มานั่งล้อมวงกัน ณ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกับ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เดินเท้าจากเหนือสู่ใต้ของประเทศเพื่อเรียนรู้การ "เดินสู่อิสรภาพ"
    ด้วยความเกื้อกูลของร่มไม้ อากาศเย็นสบายของเชียงใหม่ รอยยิ้มและหัวใจที่เปิดกว้างของทุกคน ทำให้การสนทนาครั้งนี้ได้บำรุงหล่อเลี้ยงความรักและความเข้าใจอย่างเหลือประมาณ อาจารย์ประมวลได้กรุณาแบ่งปันจากหัวใจด้วยประสบการณ์ของท่าน ทำให้เห็นว่าตัวเราไม่ได้แยกขาดจากผู้คนรอบข้าง พ่อแม่ คนรัก สรรพชีวิตและโลกใบนี้ และนี่คือการสนทนาธรรมของเราค่ะ

    น้อง บก. ธรรมสวัสดีค่ะทุกคน ชื่อ พ. ค่ะ เป็นอาสาสมัครของหมู่บ้านพลัม ดูแลวารสารพลัมค่ะ ตัวเองมีโอกาสได้มาเชียงใหม่บ่อยๆ เพราะมักมีกิจกรรมภาวนาเกิดขึ้นที่นี่ มาเชียงใหม่คราวนี้ได้มาสนทนาธรรมกับอาจารย์ หลวงพี่และสังฆะพลัมน้อยรู้สึกมีความสุขมากค่ะ
    หลวงพี่พิทยา ชื่อพิทยาครับ หลวงพี่กลับมาเมืองไทยเพื่อช่วยงานภาวนา มาอยู่กับพี่ๆ น้องๆ ก่อนจนเริ่มงานภาวนา หลวงพี่เป็นคนนครศรีธรรมราช บ้านเดียวกับอาจารย์ครับ
    อ. ประมวล ผมชื่อประมวลครับ ปัจจุบันไม่มีสถานภาพอะไร อดีตเป็นอาจารย์อยู่คณะมนุษย์ศาสตร์ จะเรียกว่าเป็นนักเดินทางก็ได้นะครับ เพราะเดินทางบ่อย แต่การเดินทางข้างนอกไม่สนใจเท่าไหร่ สนใจการเดินทางในจิตใจตนเอง และมีความสุขที่ได้พบปะกัลยาณมิตรที่มีความใส่ใจมิติภายใน เพราะได้เรียนรู้จากท่านเหล่านั้นมากมาย

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="69%">น้อง บก. ขออนุญาตเริ่มสนทนาธรรมเลยนะคะ อยากชวนอาจารย์ประมวลเล่าถึงความเข้าใจของอาจารย์ เกี่ยวกับหัวข้อของวารสารพลัมฉบับนี้ค่ะ "โลกคือเรา เราคือโลก"
    อาจารย์ จากประสบการณ์การเรียนรู้ของผม ผมพบความหมายของความทุกข์ ซึ่งเกิดจากสำนึกของเราแยกออกมาจากโลก แยกออกมาจากกฎเกณฑ์ธรรมชาติ เมื่อธรรมชาติไม่เป็นไปดังใจเราปรารถนา เราก็รู้สึกคับแค้นใจ ยกตัวอย่างความรู้สึกคับแค้นในตัวผม เมื่อผมกำลังก้าวเข้าสู่วัยชรา มันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าชีวิตผมกำลังก้าวไปสู่การมอดดับ ในขณะเดียวกันผมก็มีจิตปรารถนาให้ชีวิตรุ่งโรจน์อยู่ แต่ปัจจัยที่รุ่งโรจน์กลับลดน้อยถอยลง ความรู้สึกนี้มันทำให้ผมระลึกถึงสิ่งที่ผมได้เรียนจากพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ตอนที่ท่านเป็นสิทธัตถกุมาร ท่านก็เกิดความคับแค้นเมื่อเห็น ความแก่ ความเจ็บ ความตายท่านรู้ตัวว่าวันหนึ่งท่านก็จะเป็นแบบนั้นเช่นเดียวกัน ท่านปรารถนาที่จะออกจากความคับแค้นนี้จึงออกบวช ผมสำนึกได้ว่าผมเรียนพุทธศาสนาเสียเปล่า แต่ไม่ได้น้อมเอาสิ่งนี้เป็นวิถีชีวิต สิ่งนี้ทำให้ผมรู้สึกตัวว่า ผมไม่สามารถออกจากความคับแค้นนี้ได้ด้วยการคิดหรือการตรึกตรองเอา แต่ต้องกลับไปสู่การภาวนาอย่างแท้จริง การภาวนาก็คือ การทำให้สภาวะจิตใจเกิดความหมายกระจ่างชัดในแง่มุมต่างๆ และมีพลังเพียงพอที่จะทำให้เราเข้าใจและสามารถออกจากความรู้สึกคับแค้นนี้ได้
    ธรรมชาติมันมีมรรควิถีของมันเองนะครับ เมื่อเราก้าวลงไปในแม่น้ำลำคลองที่ไหลเชี่ยว ถ้าเราว่ายตามกระแสน้ำ มันย่อมไม่ยากเย็นอะไร แต่ทันทีที่เราว่ายทวนกระแสน้ำ มันก็จะต้องใช้พลังมหาศาล และเมื่อใดที่เราอ่อนล้า เราก็จะถูกกระแสน้ำนั้นพัดพาไปในทิศทางที่เราไม่ปรารถนาทันที ชีวิตที่ผ่านมา ผมว่ายทวนกระแสน้ำมาตลอดทำให้ผมเหนื่อยล้า จนวันหนึ่งที่ผมแก่ตัว ผมลองปล่อยตัวไปตามกระแสน้ำ ผมจึงรู้สึกตัวว่า ผมไม่จำเป็นต้องว่ายทวนน้ำเลย น้ำพัดพาเราไปในทิศทางที่ดีด้วยซ้ำ และที่สำคัญคือ มันต้องเป็นไปอย่างนั้นอยู่แล้ว เราเพียงแค่ตระหนักรู้ถึงความหมายของการพัดพาไปของกระแสน้ำก็พอ
    และคำพูดที่ว่า "โลกก็คือตัวเรา" ก็คือ เราเป็นตัวเราเพราะเรามีโลกใบนี้อยู่ และโลกใบนี้มีกฎเกณฑ์ธรรมชาติแห่งการอิงอาศัยร่วมกันอย่างวิจิตรบรรจง จนยากที่มนุษย์เล็กๆ อย่างพวกเราจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้ทั้งหมด มันอิงอาศัยกันอย่างไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะสามารถเกาะเกี่ยว โอบอุ้ม ค้ำชูกันและกันได้อย่างนี้ สิ่งเล็กสิ่งน้อยเกื้อกูลสิ่งใหญ่ สิ่งใหญ่ก็เกื้อกูลสิ่งเล็กสิ่งน้อย แม้กระทั่งชีวิตของเราที่เกิดมาได้นั้นก็ได้รับการเกื้อกูลจากสิ่งต่างๆ มากมาย และเราก็เกื้อกูลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
    </TD><TD width="6%"></TD><TD vAlign=center width="25%">
    [​IMG]


    "โลกก็คือตัวเรา"
    ก็คือ เราเป็นตัวเรา
    เพราะเรามีโลกใบนี้อยู่
    และโลกใบนี้
    มีกฎเกณฑ์ธรรมชาติ
    แห่งการอิงอาศัยร่วมกัน
    อย่างวิจิตรบรรจง
    ...
    แม้กระทั่งชีวิตของเรา
    ที่เกิดมาได้นั้น
    ก็ได้รับการเกื้อกูล
    จากสิ่งต่างๆ มากมาย
    และเราก็เกื้อกูลให้สิ่งต่างๆ
    เกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE> วันหนึ่ง เมื่อผมเดินในป่าและเห็นมดกำลังลากไส้เดือน ช่วงขณะหนึ่งจิตของผมยังเป็นจิตของนักวิชาการที่รู้สึกว่าผมควรจะช่วยเหลือไส้เดือน แต่ขณะที่ผมนั่งลงและพยายามหาเศษกิ่งไม้เพื่อเขี่ยมดออก ผมก็พบว่าไส้เดือนตัวนั้นถึงจุดจบของชีวิตเสียแล้ว หลังจากพบความจริงนั้นผมไม่ได้เสียใจ ผมกลับได้สัมผัสว่า มดไม่ได้เบียดเบียนไส้เดือน แต่ไส้เดือนต่างหากที่เกื้อกูลให้มดฝูงนี้มีชีวิตต่อไป เพราะตอนที่ไส้เดือนตัวนี้ยังอยู่ในวัยหนุ่มมันคงอยู่ใต้ผิวดินอย่างมีความสุข และเมื่อถึงคราวสิ้นอายุขัยของมัน มันก็ได้ทำตัวเองให้เป็นประโยชน์ต่อฝูงมด และฝูงมดเหล่านี้ก็กัดกินไส้เดือนเพื่อยังชีพ เพื่อเกื้อกูลสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ต่อไป ผมจำได้ว่า ผมนิ่งอยู่ในความรู้สึกดื่มด่ำนั้น จากเล็กๆ ขยายไปสู่ความรู้สึกลึกๆ ว่ามดและไส้เดือนเหล่านี้มีพระคุณต่อผมอย่างล้นพ้น ไม่เพียงแต่บอกความจริงกับผม แต่มันได้ให้ความเข้าใจแก่ผมว่า ชีวิตของผมที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้ก็อยู่ในวงจรแห่งการเกื้อกูลแบบนี้เช่นเดียวกัน แม้ผมจะไม่ได้กินมดกินไส้เดือนเป็นอาหาร แต่อาหารที่ผมกินทุกมื้อมาจากห่วงโซ่แห่งอาหารที่มดและไส้เดือนอาศัยอยู่
    ในชีวิตของเรา ถ้าเรามองภาพเช่นนี้ มันจะเกิดความหมายขึ้นในใจ ความหมายดังกล่าวช่วยให้ ความรู้สึกคับแค้น หวั่นไหว วิตกกังวล หวาดกลัวต่อชีวิตจางคลายลงไปเลยอัตโนมัติ
    น้อง บก. สาเหตุของความคับแค้น หวั่นไหว วิตกกังวล หวาดกลัวต่อชีวิต มีต้นเหตุมาจากอะไรบ้างค่ะ
    อาจารย์ ผมเข้าใจว่าในปัญหาหนึ่งที่ผมพบ ผมพบความเป็นปัจเจกบุคคลที่ถูกสถาปนาขึ้นในความรู้สึกสำนึกของพวกเราแต่ละคน ผมขอยกตัวอย่าง ผมพบความจริงข้อนี้จากความรู้สึกของผมเทียบเคียงกับความรู้สึกของมิตรท่านหนึ่ง มิตรของผมคนนี้เป็นนักศึกษาซึ่งกำลังอยู่ในวัยหนุ่มสาว เขามาพบผมด้วยปัญหาของพ่อและคนรัก ตอนนี้เขาจบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและรุ่งโรจน์ในหน้าที่การงานของเขา แต่เขาไม่สามารถแต่งงานกับผู้ชายคนรักที่รู้จักกันตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยได้ เพราะว่าคุณพ่อของเธอไม่เห็นด้วยที่จะให้ลูกสาวของท่านซึ่งเรียนจบมาในสายวิทยาศาสตร์ มีตำแหน่งการงานที่มั่นคง และมีรายได้สูง ต้องมาแต่งงานกับผู้ชายที่เรียนจบทางสังคมศาสตร์ ทำงานไม่มั่นคง และมีเงินเดือนน้อย เธอรู้สึกเจ็บปวดมาก ด้านผู้ชายก็รู้สึกเจ็บปวดไม่ต่างกัน
    ผมนั่งฟังเธอ ผมเข้าใจเธอ ผมเข้าใจว่าเมื่อวันหนึ่งความรักที่งอกงามในใจ ความรักเป็นของเรา ไม่ใช่ของพ่อ พ่อไม่ได้มีส่วนปลูกสร้างต้นรักต้นนี้ แต่พ่อกลับไม่ปรารถนาให้ต้นรักต้นนี้งอกงามในใจของลูก เธอจึงเกิดความอึดอัดขับข้องใจ ด้านคุณพ่อ พ่อก็รักลูกและวางแผนชีวิตให้ลูกเป็นอย่างดี คุณพ่อท่านนี้เป็นคุณครู เมื่อลูกเรียนจบระดับประถมก็พยายามวิ่งเต้นให้ลูกได้เข้าโรงเรียนที่ดีในระดับมัธยม เพื่อให้ลูกสามารถเลือกคณะที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยได้ เมื่อเรียนจบลูกก็ได้ทำงานเป็นบุคลากรที่มีคุณค่า มีตำแหน่งการงานที่ดี พ่อย่อมใฝ่ฝันให้ลูกมีครอบครัวที่มั่นคง
    ผมถามเธอว่า เมื่อก่อนเคยรู้สึกอึดอัดขัดข้องกับความรักของพ่อที่มีต่อเราไหม เธอบอกว่าไม่เคยรู้สึก แต่มารู้สึกมากในตอนนี้ และถึงกับถามผมว่า ถ้าเขาตัดสินใจปฏิเสธพ่อ แล้วเสนอเงื่อนไขกับคนรักให้ไปอยู่ด้วยกันจะดีหรือเปล่า ผมตอบไปว่าอย่าทำอย่างนั้นเลย ผมเชื่อว่าจริงๆ แล้ว คุณพ่อเพียงแต่มีความรัก ความห่วง ความกังวลในอนาคตของลูกสาวเท่านั้น ทำไมเราไม่เอาความรักความห่วงกังวลนี้แปลงมาเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์เล่า กลับนำไปเป็นพลังที่ทำลายของชีวิตเราเสียได้ เราน่าจะสื่อสารกับพ่อกับคนใกล้ชิดให้ดีกว่านี้ ผมขอให้เขากลับไปสื่อสารด้วยความรักความเข้าใจ เมื่อสื่อสารกับพ่อก็ขอให้สื่อสารด้วยความเข้าใจในความรู้สึกลึกซึ้งของพ่อที่มีต่อลูก เมื่อสื่อสารกับแฟนก็ขอให้เข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งของผู้ชายคนหนึ่งที่มีต่อคนรัก การสื่อสารในมิตินี้ไม่ใช่เพื่ออื่นใด แต่เพื่อรักษาความรักที่งดงามในตัวเรา
    ผมคุยกับหลายคนที่เป็นคนหนุ่มสาว พวกเขาบอกว่าความรักไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ถามว่าทำไมไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะความรักเป็นสิ่งที่มีสภาวะแห่งการผูกโยงสัมพันธ์กัน รักมีผลต่อคนรอบข้าง เมื่อเรามีความรัก หมายความว่า เราจะสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น เกื้อกูลกันได้ง่ายขื้น มีพลังที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้กันได้มากขึ้น ความรักจึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแต่เป็นเรื่องสาธารณะที่มีผลกระทบกับคนทุกๆ คน
    สาเหตุที่ผมยกกรณีมิตรคนนี้ของผมขึ้นมาพูดก็เพื่อบอกว่า ในความรู้สึกของพวกเรานั้น เรามีก้อนของความรู้สึกที่มีความปรารถนาของเราเป็นตัวตั้ง เราเป็นตัวตนของเรา เราแยกขาดจากพ่อแม่ แยกขาดจากสิ่งแวดล้อมของเรา ฉันปรารถนาเช่นนี้ ฉันจะทำเช่นนี้ ผมเข้าใจว่าอันนี้คืออุปสรรคอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้้เราเข้าไม่ถึงความหมายของความเป็นโลก

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="31%">
    [​IMG]
    </TD><TD width="1%"></TD><TD vAlign=top width="68%">น้อง อ. ผมอยากแบ่งปันครับ ก่อนที่จะได้มาคุยกับอาจารย์วันนี้ ผมมีเรื่องที่ขัดใจกับแม่ แม่อยากให้เราทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ซึ่งเราไม่ต้องการ วันนี้เหมือนเป็นเหตุบังเอิญที่ทำให้ผมได้ร่วมวงวันนี้ เพราะเพื่อนที่รู้จักกันบอกข่าว ผมสนใจเลยโทรหาพี่ในสังฆะเมื่อคืนนี้ เช้าวันนี้จึงได้มาร่วมวงสนทนา เหมือนทุกอย่างกำหนดให้ผมได้มาอยู่ที่นี่ และตอนนี้ใจผมได้รับการคลี่คลาย ความรู้สึกผมที่มีต่อแม่ดีขึ้นมาก ผมไม่รู้ว่าความรู้สึกนี้เหมือนตอนที่อาจารย์เห็นไส้เดือนกับมดหรือเปล่า (ยิ้ม) แต่ตอนนี้หัวใจผมพองโตมากๆ ครับ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
    อาจารย์ ขอแลกเปลี่ยนครับ เท่าที่ผมได้สนทนากับคนหนุ่มสาว พวกเขามีปัญหาหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ปัญหากับคนใกล้ชิด ผมพยายามเตือนให้เขากลับไปสื่อสารกับคนรักหรือคุณพ่อคุณแม่ใหม่ แม้ว่าเราจะรู้สึกลึกๆ ว่าพ่อแม่รักเรา แต่บางครั้งความรู้ของเราก็ไม่ได้ช่วยคลี่คลายอะไรได้ ด้วยเพราะความรักของพ่อแม่ก็มีเงื่อนไขเงื่อนปมข้อจำกัดชุดหนึ่ง แต่หากเราเข้าใจสถานการณ์ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่มีความรักต่อเรา และพยายามสื่อสารกับท่าน พลังความรักที่มีอยู่ในใจของท่านก็จะทำให้เราสื่อสารกันได้ดีขึ้น ผมขอขอบคุณมากที่เล่าเรื่องแม่ให้ฟัง ผมเชื่อความรักแบบที่ไม่เอาความปรารถนาของตัวเราเองเป็นที่ตั้ง แต่เอาความรักที่มีอยู่และสัมผัสได้เป็นที่ตั้ง เราจะสามารถสื่อสารกับโลกใบนี้ทั้งใบ เริ่มต้นที่จะสื่อสารกับพ่อกับแม่ และต่อไปเราจะสามารถสื่อสารกับเพื่อนอีกมากมาย และสุดท้ายเราจะสามารถสื่อสารกับโลกใบนี้ได้เลย โลกที่เราอาศัยอยู่ชั่วครู่ชั่วยาม โลกใบนี้ที่มีความรักความเกื้อกูลต่อเราเป็นที่สุด ถ้าเราเข้าใจประเด็นที่โลกใบนี้เกื้อกูลเรา ผมรู้สึกว่าเราไม่มีอะไรที่จะน่าคับแค้นใจอีกแล้ว เราจะมีแต่ความรู้สึกปลื้มปิติที่เราได้มีโอกาสผุดบังเกิดในโลกใบนี้ มีโอกาสเจริญเติบโตรับรู้ความรักความงดงามของโลกใบนี้
    วันหนึ่ง ผมตื่นขึ้นตอนเช้ามืดและนั่งภาวนา ณ จุดหนึ่งบนเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ผมเห็นแสงสว่างยามเช้าที่งดงามมาก แสงอาทิตย์สาดส่องเทือกเขาหิมาลัยที่ปกคลุมไปด้วยหิมะสีขาวเป็นสีทองสุกปลั่ง ผมยืนขึ้นมองภาพนั้นด้วยเนื้อตัวสั่น ปลื้มปิติใจว่าเราช่างมีโอกาสอันวิเศษเหลือเกินที่ได้เกิดมาบนโลกใบนี้ ได้รับรู้ความงดงามของโลกใบนี้ ทำไมก่อนหน้านี้ เราไม่สามารถรับรู้ความงดงามนี้ได้ ผมจึงระลึกรู้ได้ว่า ในอดีตจิตของเรานั้นมีอะไรมาปิดกั้น แต่ทันทีที่เรามีจิตโน้มรับความหมายของสิ่งที่เรียกว่าความรัก เราจะรับรู้ได้ว่ามันกล่อมเกลาเรา มันโอบอุ้มเรา และทำให้เรานุ่มนวลอ่อนโยนขึ้น ...๐


    เพ็งจันทร์<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD height=10 background=thpv_images/border/br_brown01_01.gif width=20></TD><TD background=thpv_images/border/br_brown01_02.gif></TD><TD height=10 background=thpv_images/border/br_brown01_03.gif width=20></TD></TR><TR><TD background=thpv_images/border/br_brown01_04.gif></TD><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD height=50> </TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 width="93%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%">
    </TD></TR><TR><TD height=30></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top>น้อง บก. ขอบคุณการแบ่งปันจากอาจารย์ค่ะ ตอนนี้อยากเปิดให้ทุกคนได้ถามคำถามหรือแลกเปลี่ยนค่ะ
    ถาม ผมมีความเห็นว่าความเป็นมิตรเป็นสิ่งที่สำคัญ พอคนไหนเป็นมิตรกับเรา ความกลัวของเราจะหายไป เช่น ถ้าเราเดินทางไปต่างจังหวัด แล้วเราต้องเดินทางกับคนที่ไม่รู้จัก ใจเราจะเต็มไปด้วยความวิตกกังวล แต่ถ้าเป็นคนที่เรารู้จัก เราจะสนิทใจ สบายใจ เวลาที่เราได้สวดบทแผ่เมตตาที่ว่า "สรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น" ความรู้สึกวิตกกังวลก็ค่อยๆ คลายลง อยากจะถามอาจารย์ว่าความอึดอัดที่เห็นว่าเราแตกต่างกับเขา มันจะสลายหรือทำให้นุ่มนวลลงได้อย่างไร
    อาจารย์ คำถามนี้คือคำตอบอยู่แล้วละครับ คำว่า "มิตร" คือคำว่าเมตตาและความรัก มันคือคำเดียวกัน เพียงแต่ถูกปรุงให้ใช้ในแต่ละสถานการณ์เท่านั้น คนที่เป็นมิตรคือคนที่มีจิตประกอบด้วยความเมตตาต่อกัน เมื่อมีจิตเมตตาต่อกันและกัน เราก็เป็นมิตรของกันและกัน ทันทีที่เรามีความเป็นมิตร เราก็มีความเมตตา มีอยู่ครั้งหนึ่งผมได้ฟังบทแผ่เมตตาของภาคเหนือ ความหมายของบทนั้นคือการแผ่เมตตาให้หมดสิ้นทั้งสากลจักรวาล ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะไม่ได้รับความเมตตาจากเรา เมื่อเรามีความเมตตาต่อทุกสิ่ง ผมเชื่อว่าเราไม่มีอะไรต้องกลัวหรือวิตกกังวลอีกต่อไปแล้ว เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถแผ่เมตตาในลักษณะนี้ได้ แม้ชีวิตของเราจะจบลง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเลย ความกลัวของคนเรา หมายถึง เราคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นอย่างอื่นดำรงอยู่ แต่พอเราแผ่เมตตาไปทั่วทั้งจักรวาลแล้ว ผมเข้าใจว่าแม้เราจะไม่มีชีวิตแล้ว แต่ความรักความเมตตานั้นยังคงอยู่เสมอ
    เวลาเราพูดถึงความรัก ผมจะคิดถึงคุณแม่ เรารักแม่อย่างมาก แม้แม่จากไปแล้ว แต่ยังมีความหมายของบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่หล่อเลี้ยงผมอยู่ ผมยังสัมผัสได้ว่า อะไรที่แม่ไม่อยากให้ผมทำ จนถึงปัจจุบันนี้ผมก็จะไม่ทำ อะไรที่แม่อยากให้ผมทำ ผมก็ยังทำอยู่จวบจนทุกวันนี้ คำสั่งคำสอนและความปรารถนาของแม่ที่มีอยู่ในใจผมไม่เคยตายจากไปกับผู้หญิงคนหนึ่งที่จบชีวิตลงเลย และความรักความเมตตาที่แม่มีอยู่ในตัวผมยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ผมมีความรู้สึกคล้ายๆ กันว่า เมื่อถึงวันหนึ่งที่แต่ละคนต้องล้มหายตายจากไป แต่ความมิตรนั้นยังคงอยู่ มันช่วยเอื้อเฟื้อเกื้อกูลบุคคลอื่นจำนวนมาก
    ที่หมู่บ้านพลัม หลวงปู่ท่านจะพูดถึงสังฆะอยู่เสมอ คำว่าสังฆะคือสภาวะที่ตรงกันข้ามกับปัจเจก มันหมายถึงการหลอมรวมชีวิตของปัจเจกจำนวนมากให้มาเป็นหนึ่งเดียวและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พระพุทธองค์ถึงกับตรัสเลยนะครับว่า “สงฆ์หรือสังฆะนั้นเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของชีวิตพรหมจรรย์” นั่นแสดงว่า ชีวิตที่ประเสริฐคือชีวิตที่เป็นสังฆะ ผมเข้าใจว่าหลายคนไม่มีสังฆะแม้แต่ในครอบครัวที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ เรารู้สึกอยากแยกตัวเองออกจากพ่อแม่ ความปรารถนาของพ่อแม่ไม่ใช่ความปรารถนาของเรา นี่คือการสูญเสียความเป็นสังฆะ เมื่อเราสูญเสียความเป็นสังฆะ เราจะเป็นตัวตนที่โดดเดี่ยวและว้าเหว่ เราโหยหาบางสิ่งบางอย่าง และความโหยหานี้ก็ปรากฏขึ้นมาเป็นความกลัว ฉะนั้นพวกเราที่มีโอกาสฝึกภาวนาตามแนวทางของหลวงปู่ สิ่งนี้จึงเป็นที่สำคัญและวิเศษมาก เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถสำนึกได้ถึงความเป็นสังฆะ ชีวิตเราที่เคยบอกว่าน่ากลัว มันก็จะไม่น่ากลัวมากนัก เคยสังเกตไหมครับว่า ท่ามกลางความมืดพอมีคนอีกคนมาอยู่ด้วยกัน ความกลัวก็จางหายไป คนสองคนที่เคยกลัวกันทั้งคู่ แต่มาอยู่ด้วยกันความกลัวก็ลดน้อยถอยลง นั่นไงครับ สังฆะได้เกิดแล้ว ความเป็นปัจเจกหายไปแล้ว

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="69%">ถาม ผมมักมีเสียงที่ตัดสินตัวเอง คอยตำหนิติเตียนตัวเองอยู่เสมอ ทำให้ผมเกิดความเครียดได้ง่าย เมื่อเราตัดสินตัวเองก็ทำให้ตัดสินคนอื่นไปด้วย เราจึงรู้สึกแปลกแยกและกลัวคนรอบข้างอยู่เสมอ แต่พอมองลึกๆ แล้ว ผมต้องการให้คนอื่นมารักและเข้าใจเรา เมื่อเขารัก เขาชม เราก็รู้สึกดีมาก แต่พอเขาไม่รัก ไม่ชม เราก็เสียใจ นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจผมเสมอ ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้ผมเป็นทุกข์ คือ ความคิดว่ามีตัวเรา มีตัวเราที่อยากให้เขามารัก มีตัวเราที่ไม่อยากให้เขาไม่ชอบ ผมจึงผึกปฏิบัติอยู่เสมอเมื่อมีความคิดแบบนี้ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า วิธีที่ผมมองอยู่นั้นถูกหรือเปล่าจึงอยากถามอาจารย์ครับ
    อาจารย์ ผมว่า ถ้าเราตัดสินตัวเองในความหมายของการพินิจใคร่ครวญ มันจะไม่ใช่เป็นการตำหนิประณาม แต่มันคือความเห็นใจ เวลาที่ตัวเองทำอะไรผิด เราก็เกิดความเห็นใจในตัวเอง เวลาที่เราตัดสินคนอื่น เราอาจเคยใช้ความหมายถูกผิดไปกำกับเขา แต่ถ้าเราเห็นใจเขา เราจะเข้าใจว่าทำไมเขาจึงต้องทำสิ่งนั้น ถ้าเราเห็นใจเขา เราก็จะเกิดความเข้าใจ ความเข้าใจนี้จะช่วยให้ความโกรธความแค้นชิงชังในตัวเราน้อยลง ผมเข้าใจว่าเวลาที่เราตัดสินตัวเองและรู้สึกกดดัน จริงๆแล้ว เราไม่ได้ตัดสินตัวเองด้วยตัวเองหรอก เราใช้เกณฑ์บางอย่างมากดดันตัวเรา แต่ถ้าเราพินิจใคร่ครวญตัดสินตัวเราเองในความหมายที่เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจข้อจำกัด เงื่อนไข และสถานการณ์ของเรา เราจะไม่สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานมาเป็นตัวกำหนดว่า เราสามารถทำสิ่งนี้ได้ในทุกสถานการณ์ เราอาจทำสิ่งนี้ได้ในสถานการณ์หนึ่ง และเราอาจทำสิ่งนี้ไม่ได้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง เรารู้ว่าในสถานการณ์ที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยที่ทำให้เราทำสิ่งนี้ไม่ได้ เมื่อเราเห็นความโยงใยของสถานการณ์ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งต่างๆ เราก็จะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ของคนอื่นด้วยเช่นเดียวกัน เราจะเห็นใจเขามากขึ้น พอเราเห็นใจเขา เราก็จะเกิดความรู้สึกว่า เราจะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลอะไรเขาได้บ้าง เราจะเป็นสังฆะที่คอยโอบอุ้มสนับสนุนส่งเสริมให้เขาได้อย่างไร
    </TD><TD width="6%"></TD><TD vAlign=center width="25%">
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE> สิ่งที่เราเรียกว่าความรักความเมตตานั้นไม่ใช่สิ่งที่จะผุดปรากฎขึ้นมาได้ง่ายๆ กับทุกคน มันจะปรากฏขึ้นกับคนใกล้ชิดที่เกื้อกูลกันมาพอสมควร ถ้าจะให้เรารักศัตรูก็ค่อนข้างยาก จะให้เมตตาคู่แข่งก็ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเราเข้าใจความหมายของการยึดโยงโลกภายนอกกับเรื่องราวในจิตใจคนๆ หนึ่ง เราจะเห็นโอกาสเลยครับ โอกาสที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลคนๆ นั้นให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆ เกิดความรัก เกิดพลังภายในใจ เพราะความรักจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดการเกื้อกูล ฉะนั้นหากวันหนึ่งเพื่อนที่เคยยิ้มแย้มแจ่มใสให้เรา เขาไม่ยิ้มให้เรา เราจะไม่เสียใจ เพราะเรารู้ว่าสถานการณ์ในวันนั้นเป็นสถานการณ์ที่บีบคั้นและทำให้เขายิ้มได้ยาก เราต่างหากที่ต้องช่วยสร้างสถานการณ์ที่เอื้อให้เขายิ้มได้ ความรู้สึกแบบนี้คือความเห็นใจ ซึ่งทำให้เรามองเห็นข้อจำกัดในตัวเรา และมองเห็นข้อจำกัดในใจคนอื่น การมองแบบนี้จะทำให้เราเกิดพลังที่จะเห็นใจและเข้าใจ


    เมื่อการสนทนาธรรมจบลง เราไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน น้องๆ ช่วยกันม้วนเก็บเสื่อที่หยิบยืมมาใช้ ด้านอาจารย์ประมวลและหลวงพี่พิทยาก็สนทนาธรรมย่อยอย่างเป็นกันเองด้วยสำเนียงใต้ จนแดดเริ่มแรงแยงตาพวกเราจึงยกมือไหว้ล่ำลากันด้วยหัวใจที่เบิกบานและพองโต ...๐
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...