โลกดับเพราะมือเรา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 19 พฤศจิกายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>โลกดับเพราะมือเรา

    </TD><TD vAlign=top width=155>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>รายงานโดย :อัคร เกียรติอาจิณ:
    </TD><TD>วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โลกจะถึงกาลอวสานจริงหรือไม่?

    กับประโยคคำถามนี้ ดูเหมือนจะได้ยินถี่ขึ้นเรื่อยๆ คล้ายว่าเป็นประเด็นที่คนทั้งโลกกำลังสนใจ บางรายถึงขั้นเต้นเร่าเพราะเริ่มวิตกจริตในความไม่ปลอดภัย[​IMG]
    สืบเนื่องมาจากคำทำนายที่พรั่งพรูออกมา หลายๆ ความเชื่อต่างพุ่งเป้าไปในทิศทางเดียวกันว่า ปี 2012 โลกจะอุบัติอะไรสักอย่าง น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม เมืองดับสูญ ผู้คนล้มตาย ฯลฯ
    เหลือเพียง 3 ปี ช่วงเวลาของความเป็นความตายใกล้เข้ามา จะจริงอย่างคำทำนายหรือเปล่า คงต้องรอให้มันบังเกิดเองดีกว่า อย่าคาดเดาให้เสียอารมณ์เลย
    “โรแลนด์ เอ็มเมอริช” ผู้กำกับที่มักหยิบเอาหายนะโลกมาเล่าเป็นหนัง ให้น้ำหนักกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย จริงๆ ก็ไม่อยากมองว่าเขาหากินกับความตื่นกลัว แต่สุดท้ายอดไม่ได้หรอกที่จะคิด
    ความหวาดกังวลในสิ่งที่ชนเผ่ามายาบอกไว้ กลายมาเป็นพล็อตหนังที่อาจสร้างความหวั่นวิตกให้แก่พวกอ่อนไหว ถ้าไม่บ้าจี้ไปกับคำทำนายเสียก่อนก็ควรตั้งสติ และตั้งใจดูว่าเรื่องราวในหนังแท้จริงมันก็แค่หนัง
    การเพิกเฉยต่อความสมเหตุสมผล ตั้งแต่จุดเล็กๆ จนถึงจุดใหญ่ๆ อาจเป็นจุดด้อยของหนังที่มุ่งบันเทิงมากไปหน่อย ทั้งๆ ที่ประเด็นน่าจะถูกเน้นย้ำเพื่อความหนักแน่นเข้มข้นในถ้อยคำทำนาย
    มีเพียงกลิ่นอายที่หนังพยายามซึมซับและโอบอุ้มไว้ จะด้วยข้อจำกัดอะไรก็ตาม แต่สิ่งที่ปรากฏกลับรู้สึกว่าประโยคคำถาม โลกจะถึงกาลอวสานจริงหรือไม่? ยิ่งห่างไกลตัวทุกที
    The Day After Tomorrow (ปี 2004) Godzilla (ปี 1998) Independence Day (ปี 1996) ผลงานทุนสร้างมหาศาลที่หลายคนชื่นชอบ แต่แทบไม่ได้สะกิดต่อมความเชื่อมั่นว่ามันจะมีอยู่จริง หรือจะเกิดขึ้นจริงๆ กลายมาเป็นสูตรเดียวกันกับ 2012
    [​IMG]ไม่ใช่เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องเหลวไหล หรือเป็นแค่นิทานหลอกเด็ก แต่เมื่อนัยของสารที่หนังบอกไม่ได้ชวนขบคิดอะไรเกินกว่าอรรถรสแห่งความเพลิดเพลิน จึงจำเป็นต้องตกไปในความพยายามเป็นหายนะโลกที่พอจะอ้างอิงได้
    ในแง่ดูเอาแค่ความสนุก หนังทำหน้าที่ไม่บกพร่อง อ้อ! แต่ก็มีบางจุดเวอร์มากไปนิด ขอชมทีมโปรดักชันดีไซน์ด้านซีจียอดเยี่ยม ล้ำเกินกว่าใครจะกล้าเปรียบ ถ้าไม่ได้เข้าชิงออสการ์เห็นทีงานนี้ต้องมีเหวี่ยงกันเห็นๆ
    ฉากการหนีตายสุดฤทธิ์ของครอบครัวพระเอก (จอห์น คูแซ็ก) ทำให้หวนย้อนกลับมาทบทวนว่าเราพร้อมหรือยังที่จะออกกำลังกายเสียที เพื่อเก็บแรงเอาไว้วิ่งสู้ฟัดกับเหล่าพิภพเดือดดาล หรือไม่ก็ต้องไปหัดขับรถให้คล่อง ซิ่งได้ทะลุทะลวง ชนิดแผนดินถล่มก็บ่ยั่น
    ประโยคคำถาม โลกจะถึงกาลอวสานจริงหรือไม่? หมดความหมายลงหลังดูหนังจบ แต่มีคำถามใหม่ตามมา แล้วจากนี้ไปละ (สมมตินะสมมติ...เกิดรอดขึ้นมา) เราจะไปอยู่ไหนกัน
    หนังทำให้เห็นว่ามีเงินก็ยังเป็นพระเจ้า ช่วยบันดาลที่นั่งบนเครื่องบินส่วนตัวได้สบายๆ คนจนอย่างเราๆ โอกาสมีน้อยเต็มทน ถ้าจะรอดคงเป็นบุญพาวาสนาส่ง นอกจากเงินแล้ว เส้นก็สำคัญ ใครเส้นโตก็มีลู่ทางรอดสูง (หรือเปล่า) ขนาดใกล้ตายอยู่รอมร่อยังอุตส่าห์ใช้กลโกงกันอีกแน่ะ คิดดูละกัน คนหนอคน
    จาก 2012 คิดไปไกลถึงหนังที่กำลังจะเข้าฉาย The Road (นำแสดงโดย วิกโก มอร์เทนเซน) ชีวิตหลังโลกพินาศ เราจะไปไหนดี บนเส้นทางที่พล็อตหนังบอกไว้ ความหนาวเหน็บยะเยือก (เพราะโลกร้อนรึเปล่าเนี่ย)มีเพียงเสื้อผ้าชุดเดียวห่อหุ้มร่างกาย (เห็นไหมสุดท้ายแบรนด์เนมแพงๆ ก็ไร้ประโยชน์) ไม่มีอาหาร แถมยังมาเจอมนุษย์กินคน (ซวยละสิ)
    ภาพน้ำทะเลล้นทะลักยอดเขาเอเวอเรสต์ กวาดสรรพสิ่งหายเกลี้ยงในพริบตา ไม่เว้นกระทั่งนักบวชผู้เคร่งครัดในหลักธรรม ก็ถูกกลืนกินไปกับมหาเกลียวคลื่น ที่ที่ว่าสูงลิบกว่าระดับน้ำทะเลยังไม่ปลอดภัย แล้วที่ไหนละจะปลอดภัย
    บนเรือดำน้ำที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุพิเศษ มีแรงต้านทานความสั่นไหวได้ดี สะเทินน้ำแบบไม่เกรงกลัวสิ่งใดๆ อย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นจริง (เช่นในหนัง) คงไม่ทันแล้วละ อีก 3 ปีข้างหน้า อย่าว่าแต่ชาติมหาอำนาจที่เปี่ยมศักยภาพด้านนี้เลย ใครก็คงจนปัญญาจะรับมือกับมัน
    เมื่อถึงคราวที่โลกเอาคืนบ้าง (หลังโดนกระทำย่ำยีมาช้านาน) คนบนโลกย่อมรู้ดีต่อชะตากรรมที่จะตามมาของตัวเอง ถือว่าสมน้ำสมเนื้อกันแล้วละ


     

แชร์หน้านี้

Loading...