โรงเรียนเกษตรเมืองกรุง มุ่งตามแนวพระราชดำริ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 ธันวาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>14 ธันวาคม 2548 09:41 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แปลงนาตามแนวพระราชดำริ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง "เกษตรทฤษฎีใหม่" เพื่อให้ประชาชนชาวไทยน้อมนำไปสู่การปฏิบัติบนพื้นฐานของความพออยู่พอกิน เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.48 ในการจัดสรรที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยลดรายจ่าย หากเหลือนำไปขายเพิ่มรายได้ นอกจากนั้นยังนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้ปัญญา และคุณธรรมในการดำเนินชีวิตและพัฒนาประเทศ เกิดความพอเพียง ทั้งการคิด การพูด และการกระทำที่ดีงาม สามารถเผชิญ รู้เท่าทันและแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้...

    ...และเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2549 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้น้อมรับกระแสพระราชดำรัส นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนากรุงเทพมหานครในภาพรวม และพื้นที่เกษตรกรรม ให้ประสบความสำเร็จตามแนวพระราชดำริ และเชิญชวนเกษตรกรและประชาชนชาว กทม. ทุกคนร่วมใจกันนำมาปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แบบจำลองเกษตรทฤษฎีใหม่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นายอภิรักษ์ กล่าวว่า กทม.มีพื้นที่ด้านการเกษตรจำนวน 237,224 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 26 เขต มีจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 16,786 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ปลูกพืชไร่ พืชสวน ทำสวนผลไม้ แปลงผัก รวมทั้งการทำปศุสัตว์ที่มีทั้งการทำบ่อเลี้ยงปลา บ่อกุ้ง ซึ่ง กทม.มีแนวคิดในการจัดตั้ง "โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริกรุงเทพมหานคร"ในพื้นที่ศูนย์ฝึกอบรมสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก ที่มีพื้นที่กว่า 10 ไร่ โดยจัดทำเป็นศูนย์ให้ความรู้ ฝึกอบรม และจัดทำแปลงสาธิต ด้วยการประสานงานกับสำนักงานพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องในการส่งเสริมให้ประชาชนนำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้

    นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ในการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ นั้น ตนต้องการให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันในด้านศักยภาพ หลักสูตรการฝึกอบรมแต่ละสาขาวิชา หลักการดูงานจากสถานที่จริง รวมถึงการดึงมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านการเกษตรเข้าร่วมให้ความรู้ด้วย ทั้งนี้ ในการจัดการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น จะแบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วน คือ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ส่วนแรก 10% เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งสามารถปลูกผักสวนครัวหรือเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย ส่วนที่สอง 30% เป็นพื้นที่ในการทำนา ส่วนที่สาม 30% เป็นบ่อน้ำสำหรับใช้ในเรื่องของการเกษตรและสามารถทำเป็นบ่อปลาสำหรับการบริโภค และส่วนสุดท้าย 30% เป็นพื้นที่ในการปลูกพืชไร่พืชสวน

    "ปรัชญาโดยตรงของโครงการนี้ คือ เรื่องของความพอดี เป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน โดยเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการแบ่งพื้นที่ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งมีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งผมไม่เจาะจงที่เกษตรกรอย่างเดียว ในส่วนของชีวิตคนเมือง ก็มีการส่งเสริมให้เน้นในเรื่องความพอเพียง การประหยัด การออม ซึ่งมีโครงการชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย พร้อมคู่มือการออมให้แก่ประชาชนจำนวน 1 ล้านบัญชี ซึ่งจะมีการสำรวจการใช้ชีวิตแบบพอเพียงของประชาชน โดยไม่เน้นที่ตัวเงิน เพื่อให้ทุกครอบครัวใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และจัดตั้งศูนย์บริหารเงินออมครอบครัว 12 ศูนย์ โดยจะขยายเพิ่มอีก 12 ศูนย์ในปี 2549" ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว

    นอกจากนี้ กทม.จะกำหนดโครงการตามแนวพระราชดำริที่สำคัญๆ และกำหนด 60 โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมตลอดปี 2549 ทั้งนี้ จะจัดตั้ง "สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กทม." เพื่อประสานงานติดตามโครงการ รวมถึงการประสานส่วนราชการอื่นๆ ให้ดำเนินการเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องตามแนวพระราชดำริอีกด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อให้แนวทางตามพระราชดำริมีผลสำเร็จแก่ กทม.ยิ่งขึ้น ผู้ว่าฯ กทม.ได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริแห่งแรกของ กทม.ไว้เป็นตัวอย่าง เพื่อการศึกษาและเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของเกษตรกรในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แปลงสาธิตนำร่อง ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ 3 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก ซึ่งได้รับการสนับสนุนที่ดินจากนายบุญเหลือ สมานตระกูล จำนวน 13 ไร่ 3 งาน 191 ตารางวา พื้นที่แปลงเกษตรนี้มีการแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย พื้นที่จำนวน 1ไร่ 2 งาน 21 ตารางวา เป็นที่อยู่อาศัย(คิดเป็น 10%)พื้นที่ปลูกข้าว 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา(คิดเป็น 30%) บริเวณบ่อน้ำเลี้ยงปลา 4 ไร่ 72 ตารางวา(คิดเป็น 30%)และพื้นที่ทำสวน 4 ไร่ 88 ตารางวา (คิดเป็น 30%)

    นายบุญเหลือ กล่าวว่า ขณะนี้เป็นข้าราชการบำนาญ หลังเกษียณอายุราชการ ก็เริ่มทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งในพื้นที่จะทำนาปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ได้จัดสรรพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ มีทั้งเลี้ยงปลานิล ปลายี่สก ปลาตะเพียน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้ปลูกผักสวนครัว และผลไม้ เช่น ขนุน ชมพู่ มะม่วง กระท้อน โดยส่วนใหญ่เมื่อออกดอกออกผลแล้วก็จะนำมาแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน สำหรับการมอบพื้นที่ในการจัดทำเป็นแปลงสาธิตนั้น ก็เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรทั่วไป ที่ต้องการจะศึกษาและนำกลับไปพัฒนาพื้นที่ของตน

    "ผมต้องการทำนาแบบโบราณ คือ ใช้ควายในการไถนา เพื่อเป็นการอนุรักษ์วิธีการทำนาแบบดั้งเดิมไว้ โดยเชื่อว่าต้องใช้ของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด เมื่อยกที่ดินในการทำแปลงสาธิตนี้ให้ กทม. ผมก็หวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และคาดว่าในอนาคตพื้นที่ในการทำการเกษตรของผมจะมีการพัฒนามากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย" เจ้าของแปลงสาธิตกล่าว

    นอกจากตัวเกษตรกรเองแล้วในส่วนของการศึกษาก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเขตหนองจอกให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องการให้ความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน โดยให้มีการทดลองและปฏิบัติจริงด้วยตัวของนักเรียนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับครอบครัวของตนได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ผลิตภัณฑ์จากชุมชน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นางนวรัตน์ ทองน้อย อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอิสลามลำไทร กล่าวว่า ชุมชนได้ตั้งองค์กรขึ้นเรียกว่า "องค์กรสามประสาน" คือ บ้านเปรียบได้กับร่างกาย มัสยิดเปรียบได้กับหัวใจและโรงเรียนเปรียบได้กับสมอง ซึ่งทั้งสามสิ่งนี้ต้องมีความสอดคล้อง และร่วมมือกันในการที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืน ซึ่งทางโรงเรียนมีการนำแนวพระราชดำริมาปฏิบัติทั้งในเรื่องของเกษตรทฤษฎีใหม่และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

    การเรียนการสอนของโรงเรียนนั้นจะให้นักเรียนได้มีการปฏิบัติด้วยตนเอง ในส่วนของการเกษตรนั้น โรงเรียนมีการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงกบในกระชังสำหรับจำหน่ายเพื่อบริโภค ทั้งนี้ มีการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกไว้ใช้เองด้วย นอกจากนี้ ยังให้นักเรียนจัดทำโครงการเกี่ยวกับการนำผลิตผลของตนเองมาจำหน่าย ในพื้นที่ที่จัดเป็นตลาดนัดขนาดย่อม และให้มีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายลงในบัญชี เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ขาดทุนหรือได้กำไรมากน้อยเพียงใด และนำผลที่ได้นั้นมาประมวลเพื่อที่จะแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป

    "ถึงแม้เราจะยึดถือสิ่งเก่าๆ ทั้งการใช้ควายไถนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกผักสวนครัวไว้กิน แต่เราก็ไม่ได้ปฏิเสธความเจริญ กลับนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้ชุมชนเกิดความล้าหลัง ในส่วนของการเรียนการสอนนั้น จะสอนแบบบูรณาการ ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยกิจกรรมต่างๆ จะมีทั้งครู พ่อแม่ผู้ปกครองและตัวของนักเรียนเองร่วมกันประเมินผล" คุณครูผู้ใจดีกล่าว

    การที่ กทม.น้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัตินั้น จะเห็นว่า ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง พออยู่ พอกิน และเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น มีความสอดคล้องกันอย่างยิ่งยวดโดยมุ่งหวังให้ประชาชนที่ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความสุขกับการอยู่อย่างพออยู่ พอกินภายใต้เศรษฐกิจในยุคทุนนิยมของสังคมปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...