โพธิปักขิยธรรมกถา พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 22 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    กัณฑ์ที่ ๖๒
    โพธิปักขิยธรรมกถา
    อริยอัฏฐังคิกมรรค


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส


    กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธีติ ฯ

    อาตมาภาพจะได้แสดงธรรมิกถา แก้โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งเป็นทางตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ทุกพระองค์มา โดยเฉพาะพระธรรมที่จะแสดงในวันนี้ แสดงในมรรคทั้ง ๘ ที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอ้นยิ่งนั้นเป็นไฉน อย่างไร ? ทำดวงตาทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ คือหนทางมี ๘ ประการนี้แหละ




    สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ
    สมฺมาสงฺกปฺโป ดำริชอบ
    สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ
    สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ
    สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
    สมฺมาวายาโม ทำความเพียรชอบ
    สมฺมาสติ ระลึกชอบ
    สมฺมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ
    ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เป็นหนทางตัดกิเลสได้ กล่าวตามคำของบาลีและคลี่คลายความเป็นสยามภาษา


    ต่อไปนี้จะได้อรรถาธิบายขยายความ คำที่พระตถาคตเจ้าแสดงเฉพาะที่ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเพราะเราท่านทั้งหลาย ส่งใจไปไม่ถูกทางของพระพุทธเจ้า จึงเข้าถึงพระพุทธเจ้าไม่ได้ ถ้าแม้ว่าเราท่านส่งใจเข้าไปถูกทางกลาง แล้วจะถูกทางไปของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์

    ในทางที่ไปนั้นเราจำจะต้องรู้ความหมายที่พระตถาคตเจ้าชี้แจงในคำที่ว่า ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งที่พระตถาคตเจ้าเข้าถึงซึ่งกลาง เข้าถึงซึ่งกลางอย่างไร ? เข้าถึงใจ เข้าถึงเนื้อแท้ เราจะต้องพินิจพิจารณา ถ้าว่าจะกล่าวโดยสามัญโวหารแล้ว ต้องกล่าวว่าใจเข้าถึง แต่ว่าต้องรู้จักคำว่า “ใจ”เสียก่อน พระตถาคตตอบว่า “อยู่กลาง” พระตถาคตคือว่า “ธรรมกาย” ตัวพระธรรมกายคือพระตถาคต เราจะต้องเข้าถึงซึ่งกลางพระตถาคต




    จะเข้าถึงอย่างไร?
    กลางอยู่ตรงไหน?
    กลางก็อยู่ตรงกลางของกายมนุษย์ อยู่ศูนย์กลางแค่ราวสะดือพระตถาคตเข้าไปถึงในนั้น และเข้าถึงทั้งตัวทางนั้น
    การเข้าถึงจะต้องเข้าถึงทั้งตัว จะแบ่งเอาอะไรไปถึงนั้นไม่ได้ ต้องถึงทั้งองค์พระธรรมกาย จะเข้าไปอย่างไร
    ธรรมกายโตเท่าไหน หน้าตักกว้าง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ธรรมกายโตถึงเท่านั้น จะเข้าไปอยู่อย่างไร
    ก็พระตถาคตเจ้าเข้าไปเดินจงกรมในเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้ เมล็ดพันธุ์ผักกาดก็ไม่โตขึ้น พระตถาคตเจ้าก็ไม่เล็กลง แต่ว่าเข้าไปเดินจงกรมอยู่ในเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้
    ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า พระพุทธเจ้ากายพระองค์มิใช่เล็กอย่างเมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดพันธุ์ผักกาดก็ไม่ได้โตขึ้น พระองค์เข้าไปในที่แคบอย่างนั้น ทำไมเข้าไปได้? ไม่ได้แน่นอน! ภิกษุรูปนั้นมีความสงสัย
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งภิกษุรูปนั้น เอากระจกส่องหน้าไปที่มหาเจดีย์ใหญ่ เมื่อถึงแล้ว ให้เอากระจกเล็กนั้นส่องที่มหาเจดีย์นั้น เจดีย์ก็ไปปรากฏเงาในกระจกทั้งองค์ กระจกก็ไม่โตขึ้น เจดีย์ก็ไม่เล็กลง
    ภิกษุนั้นเห็นเข้าก็หมดความสงสัยว่า อ้อ! เป็นพุทธวิสัยอย่างนี้



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    จึงที่ว่าพระตถาคตเข้าถึงเฉพาะซึ่งกลางเข้าไปหมดทั้งพระธรรมกาย พระธรรมกายเข้าไป เข้าไปถึงกลาง ขั้นต้นจากกายมนุษย์ เมื่อเข้าไปถึงกลาง เมื่อพระธรรมกายเข้าไปในกลาง
    ธรรมกายเข้าทางไหน?
    ตรงนี้ลำบาก ถ้าว่าไม่เห็นปรากฏละก็เข้าไม่ถูก ฟังก็ไม่รู้ เป็นของแปลกประหลาด
    เข้าตรงระหว่างตรงกลาง
    เข้าตรงไหนล่ะ
    เข้าด้วยวิธีหยุด
    ธรรมกายของพระองค์ก็หยุด หยุดในหยุด ธรรมกายหยุด หยุดในหยุด ธรรมกายหยุด หยุดในหยุด หยุดในหยุด ๆ ๆ ธรรมกายก็ดับหยาบเข้าไปหาละเอียดยิ่งหนักเข้าไปทุกที ไม่ไป ไม่มา ไม่นอก ไม่ใน เหล่านี้เรียกว่าเข้าถึงกลาง

    เพราะฉะนั้นเข้ากันไม่ถูก พวกนักปฏิบัติเข้ากลางไม่ถูก เป็นลูกพระตถาคตไม่ได้

    ถ้าเข้ากลางถูกจึงเป็นลูกพระตถาคตได้


    เหตุฉะนั้นวิธีเข้ากลางจึงสำคัญนัก

    เมื่อเข้ากลางถูกก็เป็นลูกพระตถาคตทีเดียว

    เวลานี้เราจะต้องการไปตามทางที่พระตถาคตเจ้าไปบ้าง
    เราไม่มีธรรมกาย เราไม่เห็นธรรมกาย เราจะเข้าทางไหน
    เราใช้กายมนุษย์นี่แหละ ที่เรียกว่า ใช้ใจของมนุษย์ก่อน

    กายมนุษย์เราต้องพร้อมเรียกว่ากายมนุษย์ละเอียด
    ถัดกายมนุษย์มา มีกายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า กายทิพย์
    กายนี้อยู่ในท้องเป็นกายละเอียด
    เมื่อเข้าไปในกลางกำเนิดของมนุษย์ อยู่ที่กลางกำเนิดของกายมนุษย์
    เจ้าของกายมนุษย์ รู้แต่ไม่รู้ใจหยุด รู้ว่ากายหยุดเท่านั้น แต่ว่ามันไม่เห็น คือ ใจมนุษย์ละเอียดนั่นเอง
    หยุดนิ่งอยู่กลางกายมนุษย์ อย่าเขยื้อน หยุดนิ่งเหมือนยังกับเสา ไม่ให้เขยื้อนล่ะ
    เราก็รู้เพียงว่ากายของเราหยุด แต่ที่จริงใจเราหยุด ถ้าไม่หยุดเวลาใด ก็ไม่ถูกกลางเวลานั้น

    พอหยุดเข้าแล้ว ต่อไปจะเห็นอะไร ?
    ถ้าหยุดถูกส่วนก็เห็นดวงใสเป็นดวงศีล
    ถ้าจะแยกออกก็เป็น สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว เป็นอริยมรรคเหล่านี้
    พอเห็นเข้าเป็นดวงใส กายมนุษย์ก็หยุดนิ่งกลางสิ่งนั้น พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ละเอียดเข้าไป ๆ
    พอละเอียดหนัก ๆ เข้าดวงใสนั้นก็ว่างเห็น ดวงสมาธิ
    ดวงสมาธินั้นเป็นเนื้อหนังของสมาธิ
    ถ้าจะแยกออกไปก็เป็น สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ
    หยุดนิ่งให้ถูกส่วนละเอียดหนักเข้า ดวงสมาธิก็ว่างออกไปเห็นดวงปัญญา
    ดวงปัญญาเมื่อจะแยกออกก็เป็น สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป

    เหล่านี้รวมเป็นอริยมรรค ๘ เมื่อหยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้า ดวงปัญญาก็ว่างไป ๆ ส่วนกายมนุษย์ละเอียดก็ละเอียดลงไป ๆ พอละเอียดถูกส่วนเข้าก็เห็นกายทิพย์ทีเดียว เมื่อเข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญาในกายมนุษย์ พอละเอียดถูกส่วนเข้าไปเห็นกายทิพย์ ต่อนี้หมดหน้าที่ของกายมนุษย์

    ทีนี้เป็นหน้าที่ของกายทิพย์ต่อไป
    กายทิพย์ก็ต้องเอากายทิพย์ละเอียด
    ถ้าหยุดนิ่งอยู่กลางกำเนิดของกายทิพย์
    หยุดนิ่งอยู่กลางกำเนิดอย่างนั้นเหมือนกับกายมนุษย์ที่ปฏิบัติมาข้างต้นพอถูกส่วนก็หยุดนิ่ง ๆ ก็จะเห็นดวงใส ๆ นั่นคือศีลในกายทิพย์

    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลในกายทิพย์ กายทิพย์ก็ละเอียดลงไปเห็นดวงสมาธิ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิในกายทิพย์ กายทิพย์ก็ละเอียดลงไปเห็นดวงปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอถูกส่วนเข้าดวงปัญญาก็ว่างลงเห็นกายรูปพรหม

    พอเข้าถึงกายรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ในกายรูปพรหม อยู่กลางกำเนิดศูนย์กลางกายรูปพรหมละเอียด
    พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายอรูปพรหม
    ที่นี้หมดหน้าที่ของกายรูปพรหม





    กายอรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ก็ถูกส่วนอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายธรรม มีรูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม หน้าตักไม่ถึง ๕ วา คือหย่อน ๕ วา ยังไม่ใช่ธรรมกายชั้นพระอริยบุคคล เป็นเพียงโคตรภูบุคคล นี่แหละเป็นธรรมกายตัวพระตถาคตละ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      204
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    แต่ว่าที่มาจะถึงตัวพระตถาคตนี้ ต้องมาตามอัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการคือ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ จึงมาถูกทางของพระตถาคตเจ้า
    ถ้าไม่มาทางกลางก็ไม่มาเห็นพระตถาคตเจ้า ถ้ามาเห็นได้ก็ทางนี้ละมาถึงกายธรรม เมื่อพระตถาคตในเบื้องต้นยืนยันรับเป็นพยานว่า จกฺขุกรณี มีความเห็นเป็นปกติ ญาณกรณี มีความรู้เป็นปกติ เพราะเหตุว่ากายมนุษย์เห็นไม่เป็นปกติ รู้ก็ไม่เป็นปกติ เพราะไม่มีญาณ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีญาณ ส่วนกายธรรมมีญาณ พูดถึงญาณ จกฺขุกรณี กระทำให้เห็นเป็นปกติ



    กายมนุษย์เห็นไม่ปกติ คือเห็นอย่างไร?
    ที่ถูกเห็นว่าไม่ถูก ที่ไม่ถูกเห็นว่าถูกอย่างใด
    ไม่จริงเห็นว่าจริง อย่างใดจริงเห็นว่าไม่จริง
    ที่ไม่สวยไม่งามเห็นว่าสวยงาม
    ที่สวยงามเห็นว่าไม่สวยงามผิดกันอย่างนี้ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมก็เช่นเดียวกัน
    ส่วนกายธรรมไม่เห็นอย่างนั้น เห็นเป็นปกติ เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น
    เพราะว่ากายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม มีความเห็นไม่เป็นปกติ รู้ก็ไม่เป็นปกติ


    ส่วนกายธรรมมีความเห็นเป็นปกติ รู้เป็นปกติ เห็นตลอดหมด รู้ด้วยญาณก็รู้ตลอดหมด ตรงกับความเห็นทุกอย่างไม่ต่างกัน เห็นตามถูก รู้ตามถูก สิ่งใดเป็นสุขก็เห็นว่าเป็นสุข กายธรรมเมื่อเข้าถึงแล้วสงบ
    เมื่อเป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมไม่สงบ
    ฉะนั้น จะเรียกว่า “อุปสมาย” ไม่ได้ “อภิญฺญาย” กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมจะรู้ยิ่งไม่ได้ กายธรรมรู้ยิ่งได้ ที่ว่ากายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม รู้ยิ่งไม่ได้คือ รู้ไม่ชัด รู้เหมือนฟ้าแลบ ไม่ชัดเหมือนญาณ
    เมื่อมีญาณแล้วรู้ชัดเหมือนกลางวัน
    อย่างนั้นเรียกว่า “อภิญฺญาย” เรียกว่า รู้ยิ่งจริง
    ยิ่งกว่ากายมนุษย์ ยิ่งกว่ากายทิพย์ ยิ่งกว่ากายรูปพรหม ยิ่งกว่ากายอรูปพรหม “สมฺโพธาย” รู้พร้อม รู้พร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง รู้ตามจริงทุกสิ่ง รู้พร้อมเสร็จทุกสิ่ง ไม่มีสิ่งใดที่จะไม่รู้ เมื่อมีรู้เรียกว่า รู้ด้วยญาณของธรรมกายนี้ เรียกว่า “สมฺโพธาย” รู้พร้อม “นิพฺพานาย” เพื่อนิพพาน ไปเพื่อนิพพาน ธรรมกายนี้เข้าถึงแล้วไม่ไปที่อื่นดอก ในใจไปเพื่อนิพพานอย่างเดียว ไม่ไปที่อื่นเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    นี่แหละจะได้ชื่อว่าถูกความประสงค์ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ มาทางนี้เป็นทางของพระตถาคตไม่แวะวก เข้ากลางหนหางทั้ง ๒ คือ กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามและ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า ข้อปฏิบัติเป็นกลางจริง เมื่อเรารู้จักของจริงอย่างนี้แล้ว ธรรมกายเป็นตัวพระตถาคตเจ้า เรารู้จักอย่างนี้ เราจะต้องถึงพระตถาคตเจ้า เราจะต้องทำใจของตนให้หยุดเสมอ ให้ถูกส่วนเข้า พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงใส เราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์คือ ยึดพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นที่พึ่ง


    ธรรมกายนี้แหละเป็นตัวพุทธรัตนะ หละ นี่เรารู้จักพุทธรัตนะแล้ว รัตนะแปลว่า กระไร? รัตนะแปลว่า แก้ว ธรรมกายใสแจ๋ว คือแก้วนั่นแหละ
    เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ต้องรู้จักธรรมรัตนะด้วย ธรรมรัตนะคือธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย
    ใจที่หยุดนิ่งอยู่กลางกายที่เป็นกายมนุษย์ ทำให้เกิดกายทิพย์
    ใจของกายทิพย์จะหยุดอยู่กลางกายทิพย์
    ใจของกายรูปพรหมจะหยุดอยู่ในกลางกายรูปพรหม
    ใจของกายอรูปพรหมจะหยุดอยู่ในกลางกายอรูปพรหม ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เท่ากัน เหมือนเราส่องเงาหน้าไปปรากฎในกระจกเท่ากันทุกอย่าง หน้าตักธรรมกาย ๒๐ วา ดวงธรรมกลมรอบตัวใส ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม รวมเรียกว่า ธรรมรัตนะ ทั้งนั้น
    พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ไหว้ใคร ไหว้ดวงธรรมนี้เท่านั้น ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเรียกว่า ธรรมรัตนะ
    เราไม่ได้ดวงธรรมนั้น เราก็เป็นธรรมกาย เป็นลูกพระตถาคตเจ้าไม่ได้
    ไม่ได้ดวงธรรมนั้น กายทิพย์ก็เป็นไม่ได้
    กายรูปพรหมก็เป็นไม่ได้
    กายอรูปพรหมก็เป็นไม่ได้
    กายธรรมก็เป็นอยู่ไม่ได้

    คนที่ไม่รู้จักไม่รู้จะไหว้อะไร ไหว้อะไรๆ เรื่อยเปื่อยไป
    หนักเข้าก็ไหว้ต้นไม้ใหญ่ๆ ภูเขาใหญ่ๆ อารามใหญ่ๆ เป็นต้น
    คือธรรมดาคนเราเมื่อมีทุกข์เข้า ก็ย่อมจะต้องถึงซึ่งที่พึ่งเพื่อพ้นทุกข์
    บางคนถึงภูเขาใหญ่ๆ เป็นที่พึ่ง
    บางคนถึงป่าใหญ่ๆ เป็นที่พึ่ง
    บางคนถึงอารามใหญ่ๆ เป็นที่พึ่ง
    บางคนถึงเจดีย์ ต้นไม้ เป็นมหาสักการะ เชื่อว่าเทวดาจะปกปักรักษาไว้ได้ ไม่เป็นอันตราย

    พระพุทธเจ้ารับสั่งว่า ภูเขา ต้นไม้ และอะไร ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ที่พึ่งหรอก
    พ้นจากทุกข์ไม่ได้หรอก
    ผู้ใดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งนั่นแหละเป็นที่พึ่งได้
    เพราะฉะนั้น จะพึ่งพวกภูเขา อารามใหญ่ ๆ เหล่านั้นไม่ได้
    ต้องพึ่งพระพุทธเจ้า พุทธรัตนะนั้นแหละเป็นที่พึ่งจริง ธรรมรัตนะก็เป็นที่พึ่งจริง สังฆรัตนะก็เป็นที่พึ่งจริง

    พระพุทธเจ้าท่านพบพระธรรมกายก่อน
    พระอรหันต์สาวกก็มีธรรมกายแบบเดียวกับท่านเหมือนกัน มากน้อยเท่าใด
    ตั้งแต่พระโกณฑัญญะ ภัททิยะ วัปปะ มหานามะ อัสสชิ ท่านเหล่านี้ล้วนแต่มีธรรมกายแบบเดียวกัน หรือพวกเพื่อนพระยสอีก ๕๐ ท่าน ท่านก็มีธรรมกายแบบเดียวกัน มากน้อยเท่าใด
    เหล่านี้เรียกว่า สังฆรัตนะ แปลว่า แก้ว ซึ่งเป็นสาวกของพระบรมศาสดา สังฆรัตนะ คือ ธรรมกาย มีมากน้อยต่างๆ ถึงอย่างนั้น ได้มีเห็นเป็นปรากฏขึ้นในศาสนาของพระสมณโคดมบรมศาสดา

    เมื่อรู้จักพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อย่างนี้แล้ว เราจะต้องทำตัวของเราให้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อย่างนี้ ถ้าไม่เข้าถึงจะปฏิบัติศาสนาสักโกฏิชาติก็ไม่อาจสามารถรู้รสศาสนาได้ จะปฏิบัติไปสักเท่าใดก็ตาม ก็เหมือนกับคนที่ไม่รู้จักเบญจโครสในน้ำนมสด คือไม่รู้ว่ารสเป็นอย่างไร? เป็นแต่คล้ายๆ กับคนรับจ้างเขาเลี้ยงโค พอเลี้ยงเสร็จแล้ว เวลาเย็นก็ไล่โคกลับ รับเอาค่าจ้างที่เลี้ยงไปเท่านั้นเท่านี้ ส่วนน้ำนมโคไม่ได้รับประทาน เจ้าของเขาเอาไป

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 146478.jpg
      146478.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.3 KB
      เปิดดู:
      211
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เบญจโครส คือ รสนมโค ๕ อย่าง เอานมโคทิ้งไว้ให้เปรี้ยวเรียกว่า นมเปรี้ยวเอานมเปรี้ยวมาเคี่ยวให้ข้นเรียกว่านมข้น นมข้นมีรสอันหนึ่ง เมื่อมาเคี่ยวให้แข็งเป็นก้อนเรียกว่าเนยก้อน มีรสอย่างหนึ่ง เอาเนยก้อนมาเจียวให้ใส มีรสอย่างหนึ่ง รสนม รสนมเปรี้ยว รสนมที่เคี่ยวเหมือนน้ำตาลองุ่น รสนมที่เป็นก้อน และเจียวเป็นนมใสนั้นรวมเรียกว่า เบญจโครส รสนมโค ๕ อย่างนี้ ผู้รับจ้างเลี้ยงโคไม่ได้เคยลิ้มรสเลย เจ้าของโคได้ลิ้มรสเบญจโครสนั้นฉันใด ผู้ปฏิบัติศาสนาทำตัวของตัวไม่เข้าถึงพระรัตนตรัย ก็ได้ชื่อว่า ไม่รู้จักศาสนาเลย เหมือนอย่างคนรับจ้างเลี้ยงโค ถึงเวลาก็ทำหน้าที่เท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น ใครไม่รู้จักธรรมรส รีบทำให้เข้าถึงพระรัตนตรัยเถิด ใครรู้เขาย่อมรู้ในใจ คนอื่นยังไม่รู้จักรสพระพุทธศาสนาเลย เขาก็รู้ชัดอย่างนี้ เหตุฉะนั้นให้รีบตั้งใจแน่นอน ทำใจของตัวให้หยุด จะเข้าถึงพระรัตนตรัยโดยแท้ ถ้าไม่ตั้งใจให้แน่นอนอย่างนี้ก็เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค ไม่รู้จักรสธรรมปฏิบัติว่าเป็นประการใด




    นี่แหละที่ได้ชี้แจงแสดงมาในมัชฌิมาปฏิบัติ ว่าด้วยอริยมรรคตามพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามอัตตโนมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมาภาพชี้แจงแสดงมาสมควรแก่เวลา ขอสมมติยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
    เบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
    จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
    เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
    เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ


    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่
    สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
    หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
    เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ


    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
    เท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค
    ลักษณะ
    แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
    มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
    เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
    อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ


    จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0<!-- m -->
     
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



    ๕. สรภังเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ
    [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
    โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
    สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
    เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
    ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว
    พระ
    สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
    เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้
    เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
    ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
    ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส

    เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
    สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
    เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
    ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
    เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
    ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
    -----------------------------------------------------
    พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
    ๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
    ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
    ๕. พระสรภังคเถระ.
    จบ สัตตกนิบาต.
    -----------------------------------------------------
    Quote Tipitaka:
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคตก็ชื่อว่าอยู่ไกลเธอเหมือนกัน. ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้าด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น และการรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้) ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต.
    ในคำว่า ธมฺม น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่าธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย.
    สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า<SUP>๑-</SUP>
    ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไรด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ที่เธอได้เห็นแล้ว. ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นก็เห็นธรรม ดังนี้
    และว่า<SUP>๒-</SUP> เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้.
    และว่า<SUP>๓-</SUP> เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.



    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=272
     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...