แห่มาลัยข้าวตอก มีที่เดียว"ยโสธร"

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 สิงหาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    แห่มาลัยข้าวตอก มีที่เดียว"ยโสธร"

    โดย เยาวลักษณ์ โบราณมูล




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    มาลัยสายฝน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อไม่นานมานี้ มีโอกาสไปร่วมงานประเพณีแห่พวงมาลัยงานหนึ่ง ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน เป็นประเพณีของชาว ตำบลตำบลฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร เรียกว่าแห่ "พวงมาลัยข้าวตอก"

    ชาวบ้านบอกว่างานประเพณีของเขานี้มีเพียงแห่งเดียวในโลก

    และในหนึ่งปีทาง อ.มหาชนะชัย จะมีการแห่พวงมาลัย 2 ครั้ง คือแห่ไปทอดถวายที่ วัดหอก่อง ในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 ก่อนวันมาฆบูชา 1 วัน และแห่ไปถวายที่ วัดฟ้าหยาด ในงานบุญประจำปี หรือบุญกุ้มข้าวใหญ่ รวมถึงบุญคูณลานให้เสร็จพร้อมกันทีเดียว ซึ่งอยู่ประมาณเดือนยี่หรือเดือนสองของปี

    "พวงมาลัยข้าวตอก" เป็นพวงมาลัยที่ทำด้วย "ข้าวตอก" หรือที่ชาวบ้านเรียกข้าวตอกแตกเป็นหลัก ทำจากข้าวเปลือกที่คั่วให้แตกออกเป็นดอกขาว ใช้ข้าวเปลือกใหม่ๆ ที่ผึ่งแห้งสนิทแล้วมาคั่วไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกัน เมื่อร้อนถึงขีดหนึ่งเนื้อในจะขยายบานออก ดันเปลือกให้ขาดจากกัน เมื่อฝัดเอาเปลือกทิ้งไป จะได้ข้าวตอกไว้ใช้ในการทำพิธีต่างๆ หรือปรุงเป็นอาหารอื่นๆ

    ข้าวตอก เป็นข้าวที่ขยายเม็ดออกบาน มีสีขาว เก็บไว้ได้นานไม่เสีย จึงถือเป็นสิ่งมงคลที่ใช้ในการทำพิธีมงคล ใช้โปรยรวมกับดอกไม้ และเงินทอง เป็นเคล็ดว่าให้รุ่งเรืองเฟื่องฟูขยายออกได้เหมือนข้าวตอก

    ที่ว่ามาข้างต้นไม่ได้เขียนเอง แต่ลอกมาจากตำราที่เขาว่าไว้

    ทำไมที่ตำบลฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร จึงมีงานประเพณีแห่พวงมาลัยข้าวตอก

    เรื่องนี้ได้รับการบอกเล่าจาก ปรีชา สายหงษ์ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลฟ้าหยาด ว่า ประเพณีนี้มาจากการจัดข้าวตอกดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชา มีจุดเริ่มต้นมาเมื่อไหร่นั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์มาเทศน์โปรดพระมารดา เหล่าเทวดาต่างแสดงความยินดีโดยการโปรยข้าวตอกดอกไม้เป็นพุทธบูชา

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ประเพณีแห่พวงมาลัยข้าวตอก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    หรืออีกนัยหนึ่งตามโบราณอีสานนิยม เมื่อมีการขนข้าวขึ้นเล้าแล้วชาวบ้านจะแยกข้าวบางส่วนใส่กระสอบ หรือกระเชอเอาไว้สำหรับตำข้าวไว้หุงกิน โดยกะปริมาณให้พอดีกินถึงวันเปิดเล้า คือเมื่อเอาข้าวขึ้นเล้าแล้ว และสู่ขวัญข้าวเสร็จ คนโบราณจะปิดเล้าข้าวไว้ และจะเปิดเล้าข้าวอีกครั้งเพื่อนำข้าวมาตำในช่วงเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ หรือวันมงคลอื่นๆ ทั้งนี้แล้วแต่ท้องถิ่น

    สำหรับบ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย ได้กำหนดไว้ในวันมาฆบูชา โดยจะเปิดเล้าข้าวและร่วมทำบุญตักบาตรตลอดจนการให้ทานต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา และความเป็นสิริมงคล

    ปรีชาเล่าอีกว่า อีกสายหนึ่งนั้นมาจากเนื้อความในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยพระสุตันตปิฎก บทปรินิพพานสูตร

    กล่าวถึง "ดอกมณฑารพ" ซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เมื่อถึงเวลาดอกมณฑารพจะบานและร่วงหล่น มักจะเป็นเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จตุรงคสันนิบาต และทรงแสดงพระธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ดอกมณฑารพจึงได้ร่วงหล่นมายังโลกมนุษย์

    ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา ดอกมณฑารพก็ได้ร่วงหล่นลงมาทั้งก้านและกิ่งเปรียบเหมือนความเสียอกเสียใจต่อการเสด็จดับขันธ์ของพระพุทธองค์

    ข่าวการเสด็จปรินิพานได้แพร่ขยายออกไปในหมู่ข้าราชบริพาร ประชาชนทั้งหลาย ได้พากันมาถวายสักการะพระบรมศพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความซาบซึ้งในพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    การทำมาลัยข้าวตอก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    หมู่ข้าราชบริพารทั้งหลายและประชาชนพากันเก็บเอาดอกมณฑารพที่ร่วงหล่นไปสักการบูชาและรำลึกถึงพระพุทธองค์ เมื่อเวลาผ่านไปดอกมณฑารพที่เก็บมาสักการบูชาเริ่มเหี่ยวแห้งและหมดไป

    "มาถึงปัจจุบันเพื่อให้สืบทอดถึงการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ และพระกรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวบ้านจึงพากันนำเอาข้าวตอกมาร้อยเป็นสายยาวแทนดอกมณฑารพเพื่อถวายสักการะ เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้" ปรีชาเล่า

    ปรีชาบอกอีกว่า การจัดข้าวตอกดอกไม้สำหรับถวายเป็นพุทธบูชาได้ปฏิบัติทุกปีติดต่อกันมามิได้ขาด ในตอนแรกการนำข้าวตอกมาถวายเป็นพุทธบูชานั้นจะนำใส่พานแล้วโปรยเวลาพระเทศน์ ต่อมาได้นำข้าวตอกมาประดิษฐ์ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงเรียกกันว่า พวงมาลัยข้าวตอก และเกิดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

    ประเพณีแห่พวงมาลัยข้าวตอกของชาวตำบลฟ้าหยาด มีเพียงที่เดียวในโลก

    "พวงมาลัยข้าวตอก ทำด้วยข้าวตอกแตก คือข้าวเปลือกที่คั่วให้ข้าวแตกออกจากเปลือกด้วยความร้อนจากไฟ คล้ายการคั่วข้าวโพด ข้าวเปลือกที่ใช้ต้องเป็นข้าวเหนียวเท่านั้นเพราะจะมีความเหนียวและคงทนกว่าข้าวเจ้า ถ้าใช้ข้าวเจ้าข้าวตอกแตกที่ได้จะเปราะหักง่าย"

    พวงมาลัยข้าวตอกของชาวตำบลฟ้าหยาด มี 2 ลักษณะ คือมาลัยข้อที่ต่อกันเป็นข้อๆ และเป็นแบบที่มีมาแต่โบราณ ส่วนมาลัยสายฝนจะมีการร้อยเป็นสายยาวปล่อยลงมาคล้ายกับสายฝนที่กำลังโปรยสู่พื้นดิน ซึ่งเป็นแบบที่คนสมัยใหม่ดัดแปลงและพัฒนาขึ้น

    สำหรับการร้อยข้าวตอกนั้น ปรีชาอธิบายว่า เริ่มจากการเอาข้าวเหนียวเปลือกมาคั่วในหม้อดิน ที่ต้องเป็นหม้อดิน เพราะความร้อนจะได้กระจายทั่วถึงทำให้ข้าวตอกแตกที่ได้นั้นสุขพอดีเท่ากันทุกเมล็ด จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาร้อยต่อดอกแบบอุบะ มีความยาว 3 ขนาด ซึ่งเรียกขั้นตอนนี้ว่า การทำสายพวงมาลัย

    การที่มาลัยมีจำนวนสายมาก-น้อย เล็กหรือใหญ่นั้นตามกำลังศรัทธาและความสามารถของคนทำ

    สายมาลัยจะถูกนำมามัดใส่กรงที่ทำด้วยไม้เป็นรูปสามเหลี่ยมสองอันผูกไขว้กัน ทำให้เกิดมุมที่แตกต่างกันเช่น มุมนอก 6 มุม จะมัดสายมาลัยที่สั้นที่สุดมุมละ 5-9 สาย มุมใน 6 มุม จะมัดสายมาลัยที่ยาวขนาดกลางมุมละ 5-9 สาย และมุมตรงกลาง จะทำเป็นพวงใหญ่และยาวที่สุดสายเดียว

    เมื่อนำสายมาลัยมัดใส่กรงไม้แล้วก็จะนำมาประดับตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลวดลายตาข่าย ลายเกล็ด ลายก้านสามดอก ลายกระเบื้อง ลายสี่ก้านสี่ดอก ลายดาวกระจาย ลายแก้วชิงดวง ลายแมงมุม ลายดาวล้อมเดือน ลายวิมานแปลง ตามแต่ฝีมือและความชำนาญของผู้ทำ

    "สมัยก่อนผู้คนจะเอาดอกจานที่มีสีแดงสดมาร้อยเป็นอุบะ ทำให้พวงมาลัยข้าวตอกมีสีสันบ้างแต่ก็ไม่มากเท่าทุกวันนี้ เพราะแต่ละหมู่บ้านจะมีการนำดอกไม้ประดิษฐ์ หรือกระดาษสีมาประดับตกแต่งทำให้มีสีสันสวยงามมากยิ่งขึ้น"

    พวงมาลัยข้าวตอกที่ทำเสร็จแล้วจะนำไปแห่ในวันเวลาที่นัดหมายกันไว้ โดยชาวบ้านที่เป็นเจ้าของพวงมาลัยจะนำพวงมาลัยของตนเองมารวมกัน มีขบวนกลองยาวช่วยเพิ่มความสนุกสนาน ทำให้ประเพณีการแห่ พวงมาลัยข้าวตอกได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น

    ไม่เฉพาะแค่ชาวตำบลฟ้าหยาด แต่เป็นประชาชนจากทุกสารทิศที่เดินทางไปร่วมชมและทำบุญ


    ---------------
    ที่มา:มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01pra02300850&day=2007-08-30&sectionid=0131
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...