เรื่องเด่น แรงกระเพื่อมในสายธรรม ‘นักเขียนนิรนาม’ ที่เชื่อว่าเป็น ‘หลวงปู่มั่น’ คุณหญิงดำรงธรรมสาร...

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899.jpg
    การแสดงละครธรรมะผ่านตัวแสดงสตรี 12 ตัวละคร
    ที่มา หน้าประชาชื่น มติชนรายวัน
    ผู้เขียน พนิดา สงวนเสรีวานิช
    เผยแพร่ วันที่ 2 พฤษภาคม 2561

    ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ขณะที่แวดวงผู้สนใจธรรมะถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับหนังสือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติŽ ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะมิใช่งานเขียนของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อย่างที่เชื่อกัน

    บ้างก็ว่าเป็นหนังสือที่เกิดจากการปุจฉา-วิสัชนาระหว่าง พระอาจารย์มั่น และพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)

    พลันเมื่อมีการค้นพบความจริงว่า ผู้ประพันธ์หนังสือเล่มดังกล่าวแท้ที่จริงกลับเป็น สตรีŽ นามว่า คุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) ผู้ฝักใฝ่ในธรรมะตั้งแต่ยังอยู่ในปฐมวัยกระทั่งถึงแก่มรณกรรม เป็นผู้ที่ ลึกซึ้งในพระธรรม และประพันธ์หนังสือเล่มดังกล่าวตั้งแต่อยู่ในวัยเพียง 21-22 ปี ราวกับแสงไฟสาดจับชื่อ คุณหญิงใหญ่Ž ขึ้นมาอยู่ในความสนใจใคร่รู้

    แน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่เมื่อกว่า 100 ปีก่อนจะมีอุบาสิกาที่มีความรู้ความเข้าใจในธรรมะอย่างเอกอุ และถ่ายทอดธรรมะระดับปริยัติธรรมออกมาเป็นหนังสือได้อย่างเข้าใจง่าย

    เหตุนี่เองที่ทำให้ ดร.มาร์ติน ซีเกอร์ นักวิชาการชาวเยอรมัน สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ สนใจและดำเนินการขอทุนทำวิจัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับบทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาโดยใช้เวลากว่า 5 ปี ในการสืบค้นข้อมูล รวมทั้งสัมภาษณ์บุคคลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากงานเขียนทั้งหมดนั้นไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

    หนังสือ ดำรงธรรม จากผลงานวิจัยของ มาร์ติน ซีเกอร์ และรวบรวมเป็นเล่ม โดยมีบรรณาธิการร่วมคือ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ตีพิมพ์ออกมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว สร้างแรงกระเพื่อมในแวดวงผู้ที่สนใจศึกษาธรรมะไม่น้อย เนื่องจากเท่ากับเป็นการหักล้างความเชื่อเดิมที่ว่า เป็นงานประพันธ์ของพระอาจารย์มั่น

    อย่างไรก็ตาม ดร.ซีเกอร์บอกว่า หลังจากตีพิมพ์ ดำรงธรรมŽ ออกมาแล้ว ยังคงมีสิ่งที่ค้างคาในใจ

    “ในหนังสือท่านพุทธทาสคุยกับพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ว่าเคยเอางานของคุณหญิงใหญ่มาพิมพ์ แต่เราหาไม่เจอ จนกระทั่งได้พบบทความ 3 ชิ้นในหนังสือสำนักพิมพ์ของท่าน แต่ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง สำนวน เนื้อหาใกล้เคียงกัน จึงรวบรวมและพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ หัดธรรม : เสียงธรรมสตรี สมัย ร.5

    ”ผมชอบเล่มนี้มาก อธิบายธรรมในรูปแบบของการสนทนาธรรม ตั้งคำถาม และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ใช้การปุจฉา-วิสัชนา ซึ่งเป็นวิธีโบราณใช้กันมานานŽ”

    เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจถึงรูปแบบการเผยแผ่ธรรมะ ในวันเปิดตัวหนังสือ หัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.5Ž หนังสือที่เชื่อว่าเป็นผลงานของคุณหญิงดำรงธรรมสาร ที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ จึงจัดแสดงละครธรรมะ นำรูปแบบของการสนทนาธรรมปุจฉา-วิสัชนา ผ่านสตรี 12 นางคือ แม่เชื่อแน่ แม่ยกตัว แม่รัก แม่อารี แม่หยุดใจ แม่รู้จริง แม่หวังใจ แม่ทำไป แม่ชอบนิ่ง แม่ช่างตรอง แม่เรียนจำ และครู เช่นเดียวกับรูปแบบการนำเสนอในหนังสือ

    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899-1.jpg
    หนังสือ “หัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.5” เชื่อว่าเป็นผลงานของคุณหญิงใหญ่
    ความเข้าใจผิด ช่วยให้หนังสือแพร่หลาย


    ประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง อะไรเป็นเหตุให้ท่านปกปิดชื่อตนเองในฐานะผู้ประพันธ์? และถ้ามีการระบุนามคุณหญิงดำรงธรรมสาร ตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกจะเป็นอย่างไร?

    พระไพศาล วิสาโล ตั้งข้อสังเกตว่า หากมีการระบุตั้งแต่แรกว่าใครเป็นผู้เขียน หนังสือธัมมานุธัมมปฏิปัตติอาจจะถูกลืมหายไปตั้งแต่เมื่อ 60-70 ปีที่แล้วก็เป็นได้ แต่เพราะความเข้าใจผิดว่าเป็นหนังสือของพระอาจารย์มั่น ทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่ถูกฝุ่นกลบและกลับมาพิมพ์แพร่หลาย

    “ความโดดเด่นหนึ่งคือ เนื้อหามีความลุ่มลึกเข้มข้นในเชิงปริยัติและปฏิบัติ ไม่ใช่แต่เรียบเรียงสิ่งที่ได้เรียนจากพระไตรปิฏก แต่มีเรื่องประสบการณ์ ทำให้น่าสนใจ ขณะเดียวกันการใช้ปุจฉา-วิสัชนาทำให้อ่านง่าย น่าติดตาม เคร่งน้อยกว่าการเทศน์ของพระในสมัยนั้น ทั้งยังช่วยปรับท่าทีของชาวพุทธในการศึกษาในการสนทนาŽ”

    อีกคุณค่าคือทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของบ้านเรา หนังสือเล่มนี้ยังมีจุดเด่นที่ผู้เขียนเป็นฆราวาสและเป็นผู้หญิงอยู่ในสมัย ร.5 ไม่ธรรมดา เขียนตอนอายุ 21-22 ปี ถือว่ายังเด็กมากแต่เขียนได้ลึกซึ้ง

    “เราต้องเข้าใจว่า เมื่อ 100 ปีก่อนโอกาสทางการศึกษาของผู้หญิงมีน้อย ไม่สามารถบวชได้ แล้วผู้เขียนได้ธรรมะจากอะไร เข้าใจว่าจากพระเทศน์ส่วนหนึ่ง ต้องอาศัยการจดจำ ขณะที่คนจำนวนมากอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงต้องฟัง นี่คือข้อจำกัดของผู้หญิงเมื่อก่อน

    สำหรับคุณหญิงใหญ่เกิดจากการฟังพระธรรมกถึก เผลอๆ อาจจะเรียนบาลีจากการฟัง แล้วซักถามสนทนา นี่คือหัวใจนักปราชญ์ (สุจิปุลิ)Ž”

    เช่นเดียวกับ ดร.ซีเกอร์ที่บอกว่า ถ้าไม่ได้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นงานของหลวงปู่มั่น อาจจะหายไปแล้วก็ได้ เพราะไม่มีใครสนใจ แต่เพราะเชื่อกันว่าเป็นหลวงปู่มั่นจึงมีการพิมพ์ซ้ำอย่างแพร่หลาย แม้กระทั่งผมก็เถอะ อย่างน้อยถ้าไม่ได้ใส่ปากหลวงปู่มั่น ผมคงไม่ได้เจอ ชอบหนังสือเล่มนี้มากจึงทำวิจัยอย่างเอาจริงเอาจัง

    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899-2.jpg
    คุณหญิงดำรงธรรมสาร
    ปริศนานักเขียนนิรนาม


    ทั้งหนังสือ ดำรงธรรมŽ และ หัดธรรม เสียงธรรมสตรีสมัย ร.5Ž มาจากการทำวิจัยของ ดร.ซีเกอร์ ซึ่งต่อเนื่องมาจากการทำวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก หัวข้อบทบาทสตรีในพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี 2547 ความที่ได้พูดคุยสัมภาษณ์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) อยู่บ่อยครั้ง จึงเกิดคำถามว่า บทบาทของสตรีเป็นอย่างไรกันแน่ โดยเฉพาะในแง่ประวัติศาสตร์ จึงเริ่มทำการศึกษาค้นคว้าแต่นั้นเป็นต้นมา

    “ทีแรกผมสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาทผมจบภารตวิทยา ไทยศึกษาและจีนศึกษา ที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ไม่ได้ตั้งใจศึกษาเรื่องสตรีศึกษาโดยตรง แต่พอได้พูดคุยกับสมเด็จปยุต ก็เห็นว่าน่าจะศึกษามากขึ้น เพราะมีข้อมูลน้อย และเริ่มรวบรวมอัตชีวประวัตินักธรรม ผู้ที่เป็นนักปฏิบัติธรรมสตรี และเห็นว่า ถ้าเปรียบเทียบกับของพระ มีน้อยมาก แต่คำว่ามีน้อยมากก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มี

    [​IMG] [​IMG]

    “จะเห็นว่าสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 จะมีผู้หญิงไม่น้อยที่มีความรู้ทางด้านธรรม แต่การเรียนรู้ธรรมะไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือ แต่มันเกิดขึ้นเพราะการฟัง มีวิธีต่างๆ ในการท่องจำอย่างแม่นยำ อาจจะโดยการฟังพระเทศน์ และจำได้หมด และไม่ใช่เนื้อหาเท่านั้น แต่เป็นคำต่อคำก็มี เช่น คุณหญิงใหญ่ ตามหลักฐานท่านสามารถท่องพระธรรมบท ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกทั้งหมดได้ ตั้งแต่อายุยังน้อยŽ”

    กับเรื่องราวของคุณหญิงดำรงธรรมสารนั้น ดร.ซีเกอร์บอกว่า เป็นการพบโดยบังเอิญระหว่างการทำวิจัยในพื้นที่อีสาน

    ตอนนั้นใครๆ ก็เชื่อว่า หนังสือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติŽ เป็นการสนทนาธรรมระหว่างหลวงปู่มั่นกับหลวงปู่จูม ผมเองก็มีหนังสือเล่มนั้น อ่านมาและก็เชื่อเช่นนั้น แล้วจู่ๆ คุณนริศ (นริศ จรัสจรรยาวงศ์) ก็มาเล่าให้ฟังว่า ผู้เขียนอาจจะเป็นผู้หญิงŽ

    เพียงประโยคเดียวที่จุดประกายความสนใจใคร่รู้ ดร.ซีเกอร์เล่าว่า รีบดำเนินการสมัครขอทุนวิจัยกับ บริติช อคาเดมี ที่อังกฤษ ทันทีเพื่อทำวิจัยเรื่องนี้โดยตรง ว่าใครเป็นเจ้าของผลงานเหล่านั้นกันแน่

    “เมื่อรวบรวมหลักฐานต่างๆ จึงพบว่า คุณหญิงเป็นผู้เขียน หลวงปู่มั่นก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย แต่คนรุ่นหลังๆ เข้าใจผิด เพราะคุณหญิงใหญ่พิมพ์หนังสือโดยไม่ได้ใส่ชื่อตัวเองเลย เข้าใจว่าไม่ได้มีความคิดว่า เป็นของฉัน หรืออาจจะเป็นเพราะถ่อมตัวมากŽ

    “ผมใช้เวลาในการทำวิจัยเรื่องนี้ 5-6 ปี มีความสุขมาก แต่ก็ยังทำไปเรื่อยๆ เพราะไม่ใช่แค่ศึกษาเฉพาะบุคคล แต่สนใจเครือข่ายของผู้หญิงที่ศึกษาธรรมŽ”

    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899-3.jpg
    ดร.มาร์ติน ซีเกอร์ และนริศ จรัสจรรยาวงศ์ บรรณาธิการ “ดำรงธรรม” และ “หัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.5”
    ไม่ใช่แค่นักปริยัติ แต่เป็นนักปฏิบัติด้วย


    สำหรับประวัติของคุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) ในหนังสือดำรงธรรม บันทึกว่า เป็นธิดาคนเดียวของพระยาเกษตรรักษา (ช่วง) เสนาบดีกระทรวงเกษตร และคุณหญิงเกษตรรักษา เกิดเมื่อ พ.ศ.2425 สมรสกับพระยาดำรงธรรมสาร (ส่าง วิเศษศิริ, 2410-2483) มีบุตรชายเพียงคนเดียวและเสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์ ต่อมาจึงอุปการะ ประสพ วิเศษศิริ เป็นบุตรบุญธรรม

    ความที่ทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาอย่างสูง เจ้าคุณส่างสามีเป็นศิษย์วัดมหาธาตุ มีความสนิทสนมกับสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) มักพาครอบครัวเข้าวัดรักษาศีลฟังธรรมสม่ำเสมอ ขณะที่คุณหญิงใหญ่จะเข้าฟังเทศน์ถือศีล 8 กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ทุกวันพระทั้งมักหาโอกาสสนทนาธรรมอย่างสม่ำเสมอ จนถือเป็นศิษย์ทางสายอุบาสิกาที่สมเด็จฯท่านให้ความเมตตาและชื่นชมในภูมิธรรมอย่างสูง

    “คุณหญิงใหญ่มีความเข้าใจลึกซึ้งในธรรมะ และตั้งแต่ปฐมวัยมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งอย่างเห็นได้ชัด และมีความรู้ความทรงจำที่เป็นเลิศทีเดียว อาจจะแค่ฟังครั้งเดียวก็จำได้Ž” ดร.ซีเกอร์บอกเมื่อถามถึงความโดดเด่นของคุณหญิงใหญ่ในบทบาทของผู้หญิงใฝ่ธรรมะ

    “ไม่ใช่แค่ท่องจำพระสูตรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยังมีทักษะความสร้างสรรค์ การเรียบเรียง อย่างการสนทนาปุจฉา-วิสัชนาที่ได้อ่านแล้วสนุกมากๆ แต่ต้องยอมรับว่าอ่านเข้าใจยาก แม้แต่ผมยังอ่านไม่รู้กี่รอบเป็นธรรมะที่ลึกซึ้งŽ”

    เมื่อพิจารณาในส่วนของภาษาที่ใช้ ดร.ซีเกอร์บอกว่า เป็นสิ่งที่ทำยาก ต้องเกิดจากความรู้อย่างลึกซึ้ง

    “ต้องเกิดจากการปฏิบัติ นี่เป็นอีกข้อที่ทำให้ผมประทับใจ เพราะท่านไม่ใช่แค่รู้เยอะ รู้พระไตรปิฎกดีมาก ท่านไม่ใช่แค่นักปริยัติ แต่เป็นนักปฏิบัติ แต่ท่านไม่ได้อ้างว่าสิ่งที่รู้สิ่งที่ทำเป็นของตัวเอง เป็นคนถ่อมตัวมาก ไม่ได้ใส่ชื่อตัวเอง แม้ว่าจะมีพระชื่นชม แต่สนใจที่จะแบ่งปัน เผยแพร่ธรรมะไปให้ผู้อื่นด้วยŽ”

    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899-4.jpg
    พระอาจารย์ชยสาโร และพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
    เสียงธรรมสตรี เมื่อ 100 กว่าปีก่อน


    นอกจากบทบาทของการเป็นหนังสือสอนธรรมะอย่างเข้าใจง่ายของหนังสือ หัดธรรม เสียงธรรมสตรีสมัย ร.5Ž อีกสิ่งที่สะท้อนผ่านตัวอักษร ผ่านการสนทนาแบบปุจฉา-วิสัชนา ภายในเล่มคือ การได้เห็นถึงบรรยากาศของการใฝ่ธรรมะของสตรีเมื่อ 100 กว่าปีก่อน

    “เท่าที่ศึกษาได้ตามหลักฐาน คุณหญิงใหญ่สร้างกุฏิที่วัดสัตตนารถปริวัตร (อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี) คุณนายถาง คชะสุต ซึ่งเป็นสหธรรมิกา (ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน) ก็สร้างกุฏิที่นั่น และเรารู้มาว่าผู้หญิงที่สนใจธรรมะมาเจอกันที่กุฏิที่นั่น มาแลกเปลี่ยนธรรมะกัน และเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเรียนรู้ธรรมะจากพระอาจารย์ เอาความรู้กลับมาแลกเปลี่ยนมาถามตอบŽ ดร.ซีเกอร์บอก และว่า ความสนใจใฝ่เรียนรู้ธรรมะในอุบาสิกานั้นมีมานานแล้ว

    “เท่าที่มีหลักฐานคือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับมีแม่ชีสวดมนต์คงจะมีมาอย่างน้อย 200-300 ปี อาจจะมีนานกว่านั้น เพียงแต่เราขาดหลักฐาน ซึ่งความสนใจที่ว่า ผมคิดว่าอาจจะไม่ได้เพื่อทำพิธีกรรม แต่เป็นการทบทวนธรรมะ อย่าง แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ แม้จะอ่านไม่ออก แต่ใช้การท่องจำ สามารถแปลได้ อธิบายธรรมได้ด้วย เพราะเรียนมาจากพระอาจารย์

    “คุณหญิงใหญ่นั้นเป็นครอบครัวขุนนาง น่าจะอ่านออกเขียนได้บ้าง แต่ที่สำคัญคือ จำได้ดี และท่านมีหนังสือเยอะ ซึ่งข้อมูลตรงนี้มาจากการสัมภาษณ์บุตรบุญธรรมของท่าน คุณประสพ วิเศษศิริ ท่านบอกว่าแม่มีหนังสือเยอะ แต่ไม่ได้อ่าน มีคนอ่านให้ฟัง ท่านบรรยายบรรยากาศว่า ท่านนอนในมุ้ง มีคนหนึ่งนวดให้ คนนึงพัดวี อีกคนอ่านธรรมะให้ฟังŽ”

    แม้ว่า ณ วันนี้ ยังหาหลักฐานไม่ได้ว่า หนังสือหัดธรรม เสียงธรรมสตรี สมัย ร.5Ž จะเป็นผลงานของคุณหญิงดำรงธรรมสาร เพราะฉบับพิมพ์ครั้งแรกไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่ ดร.ซีเกอร์บอกว่า มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์จากหลักฐานแวดล้อม

    ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท่านเขียนตอนอายุ 21-22 ปี ถือว่าสุดยอด ท่านทำได้อย่างไรอายุเพียงเท่านี้แต่เข้าใจลึกซึ้งเรื่องในอภิธรรม

    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899-5.jpg
    “ท่านรูปร่างท้วม เรียบร้อย ใจดี” ศ.ดร.วิภา กงกะนันทน์ เหลนของคุณนายถาง คชะสุต นักปฏิบัติธรรมชั้นสูง ซึ่งปลูกกุฎิอยู่วัดสัตตนารถปริวัตร จ.ราชบุรี เล่าว่าเมื่ออายุ 7 ขวบได้เห็นคุณหญิงใหญ่ออกมาตากผ้าที่หน้ากุฎิ
    980e0b89ee0b8b7e0b988e0b8ade0b8a1e0b983e0b899e0b8aae0b8b2e0b8a2e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1-e0b899-6.jpg
    อีกฉากในละครธรรมะ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/news/938914
     

แชร์หน้านี้

Loading...