แรงกรรมแรงปณิธาน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย สุริยันจันทรา, 10 สิงหาคม 2007.

  1. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    กฎแห่งกรรม 6 ประการ
    บางคนไม่เข้าใจในกฏแห่งกรรม ก็เลยสงสัยว่ากรรมนั้นมีจริงหรือไม่ แล้วจะพิสูจน์ได้อย่างไรเราอย่าคิดว่ากรรมนั้นมองไม่เห็น แล้วไม่เชื่อว่ามีจริงก็เหมีอนกับที่พวกเราเกิดมาจากพ่อแม่ พ่อแม่มาจากไหน ? ก็มาจากปู่ย่าตายาย เรายอมรับก็เพราะเรารู้จัก เคยพบเห็นบุคคลเหล่านั้น หากถามต่อไปอีกว่า แล้วปู่ยาตายายมาจากไหนกันเล่า ? เราก็รู้อีกว่ามาจากคุณทวด หรือว่าทั้งๆ ที่เราไม่เคยพบเคยเห็นคุณทวด พ่อของทวด ปู่ของทวด แล้วก้ไม่ยอมรับว่าพวกเขามีอยู่จริงอย่างนั้นหรือ หากเราได้เข้าใจกฏแห่งกรรมที่พระพุทธองค์ตรัล เราก็จะยอมรับในข้อสงสัยนี้
    กฎข้อที่ 1 สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
    กฏข้อที่ 2 เป็นผู้รับผลของกรรม
    กฏข้อที่ 3 เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
    กฏข้อที่ 4 เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    กฏข้อที่ 5 เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
    กฏข้อที่ 6 จักทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่ว จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
    กฎข้อที่ 1
    สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
    เราทำกรรม เป็นของของเราทั้งสิ้น
    อย่างเราให้ทาน ก็ได้เรา
    เราเป็นคนกิน ตัวเราก็อิ่ม
    จะให้คนอื่นมารับแทนไม่ได้ เรากินข้าวแล้วบอกให้คุณแม่ช่วยอิ่มแทนให้หน่อย คนอื่นดูทีวี เราขอฝากดูแทนด้วย ได้ไหม ? หรือว่าเพื่อนเราทำชั่ว แล้วก็ปัดให้เรารับแทน "เอ้า แกรับไปด้วยน่ะ ข้าไม่เอาล่ะความชั่ว" เป็นใครก็ไม่รับ เพราะใครทำ ใครก็ต้องรับเป็นของของคนนั้น
    กฏแห่งกรรมข้อนี้ก็คือ ใครทำคนนั้นจะต้องไค้รับ จะไปเที่ยวโอนให้กันไม่ได้ บางคนถูกใส่ความทั้งที่ไม่ไดัทำความผิดหากกล่าวตามกฏกรรมแล้ว เราอาจเคยทำไว้แต่ชาติปางก่อนไม่อย่างนั้นคงไม่มีใครอยู่ดีๆ มาใส่ใคล้ใส่ความเรา มันต้องมีแน่
    เหมือนของของเราหาย ถูกขโมยไป หรือถูกทรยศคดโกง เป็นไปได้ที่เราเคยลักของคนอื่นมา หรือเคยทรยศคดโกงคนอื่นมาเป็นแน่ชาติก่อน จึงต้องมารับสภาพที่ถูกคนอื่นเขาโกง เนื่องจากกรรมที่เราเคยสร้างไว้
    กฎข้อที่ 2
    เราเป็นผู้รับผลของกรรม
    อย่างพ่อแม่ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ ลูกหลานได้ผลของทรัพย์สมบัตินั้น เป็นทายาทรับมรดก เราหว่านกรรมชนิดใดเอาไว้ เราก็ต้องเป็นทายาทเก็บเกี่ยวกรรมนั้น เราเป็นทายาทจะมอบให้คนอื่นเป็นทายาทร่วมมรดกไม่ได้
    เพราะฉะนั้น เราเท่านั้นเองที่จะต้องเป็นทายาท คือ ผู้รับผลของกรรมนั้น ไม่ว่าจะหว่านพืชคือกรรมชนิดไหน เราจะต้องได้รับกรรมชนิดนั้น เราต้องเป็นทายาทของกรรม
    กฎข้อที่ 3
    เราเป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
    หมายความว่า เราทุกคนนี้เกิดมาด้วยกฎแห่งกรรมกรรมเสกลรรให้เรามาเกิดเป็นมนุษย์ ให้เราเกิดมาเป็นคนไทยเกิดเป็นผู้หญิง เกิดเป็นผู้ชาย อายุสั้น อายุยืน ร่ำรวย ยากจน สวย ขี้เหร่ โง่ ฉลาด กรรมเป็นตัวกำหนดไว้แล้ว ไม่เพียงแต่กรรมนั้นส่งผลให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วก็เลร็จอย่างเดียวแม้แต่เรามานั่งอยู่ที่นี่ ยังต้องพบเจอคลาดแคล้ว สมหวัง ผิดหวัง กรรมก็กำหนดให้เรามารับสภาพที่ใด้ก่อไว้ทั้งสิ้น
    มีกษัตริย์องค์หนึ่งได้ตรัสถามอาจารย์ท่านว่า "พระคุณเจ้า เพราะเหตุใดประชาราษฏร์ในประเทศเขตคามของข้าฯต่างไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ซึ่งมีทั้งอายุยืน อายุสั้น ขี้โรค ขี้เหร่ แข็งแรง อ่อนแอ ยากจน ร่ำรวย สูงศักดิ์ ต่ำต้อย ฉลาด โง่เขลา ?"
    อาจารย์จึงย้อนถามว่า "ทูลฝ่าบาท ทำไมผลไม้จึงมีรสชาติที่ไม่เหมือนกัน มีทั้งเปรี้ยว ขม ฝาด หวาน เล่า ! "พระองค์จึงตอบว่า "ข้าคิดว่านั่นเป็นเพราะเหตุเมล็ดพันธุ์ที่แตกต่างกัน"...
    กฎข้อที่ 4
    เราเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    คือเรามีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต ถ้าเรามีพี่น้องดีเราก็ดี ถ้าเรามีพี่น้องไม่ดีเราก็แย่ เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีกรรมดีเราก็เจริญ มีกรรมไม่ดีเราก็แย่ ขึ้นอยู่ว่าเมล็ดพันธุ์ของกรรมนั้นเป็นพันธุ์ไหน? ถ้าเราปลูกพันธุ์ดีไว้ เราได้รับผลกรรมดี ถ้าเราปลูกพันธุ์ไม่ดีไว้ เราก็ได้รับผลกรรม ที่ไม่ดี
    อย่างเราปลูกข้าวพันธุ์ไหน ? ก็ต้องได้รับผลชนิดนั้นสมมติว่า เราสร้างพันธุ์ด่าเขาไว้ เมื่อด่าเขาไว้มาก ผลที่ออกมาก็ไม่แคล้วผลรับพันธุ์ด่า แต่ถ้าเราสร้างกรรมพันธุ์ให้ทานไว้พันธุ์อันนี้ก็ทำให้เรามีความร่ำรวย มันแล้วแต่พันธุ์ของกรรมเป็นกรรมชนิดไหน พันธุ์ตัวนี้แปลว่าพวกพ้อง เผ่าพันธุ์ เชื้อสาย เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เราหว่านเอง เราย่อมเป็นผู้รับกรรมนั่นเอง
    กฎข้อที่ 5
    เราเป็นผู้มีกรรมเป็นที่พี่งอาศัย
    เราทำกรรมอย่างไหน เราต้องอาศัยกรรมอย่างนั้น
    อาศัยความเฉื่อยชา หลงในความสุขสบายของอัตตาในจิตตนเข้าสู่ เทวภูมิ
    อาศัยความยึดติดในตน และความปรารถนาไม่ลิ้นสุดในจิตตนเข้าสู่ มนุษย์ภูมิ
    อาศัยความอิจฉาริษยา และแสวงหาชัยชนะด้วยเล่ห์กลต่างๆ ในจิตตนเข้าสู่ อสูรภูมิ
    อาศัยอวิชชา ความโง่เขลา ชาด้าน เก็บกดในจิตตนเข้าสู่ เดรัจฉานภูมิ
    อาศัยความตระหนี่ ความโลภ ความหิวกระหายในจิตตนเข้าสู่ เปรตภูมิ
    อาศัยความโกรธแค้น ต้องการทำลายล้างในจิตตนเข้าสู่ นรกภูมิ
    อย่างเช่น คนขายยาบ้า ยาเสพติด คนพวกนี้เมื่อตำรวจจับตัวได้ ก็ถูกส่งตัวไปติดคุกติดตาราง นี่คือทำชั่วก็ต้องอาศัยคุกตะรางเป็นที่อยู่ที่อาศัย
    กฎข้อที่ 6
    ทำกรรมใดไว้ดีหรือชั่ว
    จะต้องได้รับผลของกรรมอันนั้น
    เหมือนบุคคลหว่านพืชชนิดใด ย่อมได้รับผลชนิดนั้นถ้าหว่านข้าวต้องได้รับข้าว หว่านถั่วต้องได้รับถั่ว หว่านข้าวจะวิงวอนให้ได้ถั่ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ ปลูกมะพร้าวจะไปได้ตาลเป็นไปได้อย่างไร
    ในเมื่อสร้างกรรมไว้เมื่อปางก่อน มาครั้งนี้เมื่อกรรมโคจรมาถึง อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่เทวดาก็ยังหนีไม่พ้นกฏอันนี้ไปได้ เทวดาก็มีกรรมของเทวดา เมื่อหมดวาระเสวยเทวสมบัติก็ต้องหวนกลับมาเกิดอีก จะมาเกิดเป็นอะไรนั้นก็อยูที่กรรมที่สร้างไว้
    สัตว์ก็มีกรรมของสัตว์ เมื่อชดใช้กรรมล้างบาปในภูมิเดรัจฉานจนหมดลิ้นแล้ว พวกเขาก็มาเกิดใหม่เป็นคนได้อีก
    ที่กล่าวมานี้ จิตญาณทั้งหลายก็มาจากธรรมชาติแหล่งเดียวกันเป็นต้นกำเนิด ที่มาอยู่กันต่างภพต่างภูมิก็เนื่องจากกรรมที่ตนได้สร้างไว้ จะต้องได้รับผลของกรรมอันนั้นเป็นเรื่องธรรมดา นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2007
  2. สุริยันจันทรา

    สุริยันจันทรา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    766
    ค่าพลัง:
    +4,588
    ชนิดของกฎแห่งกรรม
    เมื่อเรารู้แล้วว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมมาเกิด แม้ว่าจะเป็นกรรมใดๆ มากมายก็แล้วแต่ ผลกรรมที่ได้รับย่อมไม่มีการคลาดเคลื่อนอย่างแน่นอน ดังนั้น กรรมที่ได้ลร้างไว้ไม่ช้าหรือเร็วย่อมส่งผล
    1. กรรมที่สร้างในชาตินี้ อาจจะส่งผลในชาตินี้ทันทีหรือชาติหน้า หรือชาติต่อๆ ไป ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เปรียบเช่น เราปลูกแตงภายในเวลา 1 ปี ก็จะได้ผลแตง แต่ถ้าเราปลูกมะพร้าวต้องรอถึง 5 ปีจึงจะให้ผล
    2. การตอบสนองของกรรมยังต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยสัมพันธ์ (บุญหนุนส่ง)
    เมล็ดดีปุ๋ยมาก (เหตุดีปัจจัยดี) ___> ผลดี
    เมล็ดดีปุ๋ยน้อย (เหตุดีปัจจัยไม่ดี) ___> ผลปานกลาง
    เมล็ดไม่ดีปุ๋ยมาก(เหตุไม่ดีปัจจัยดี) ___> ผลพอใช้
    เมล็ดไม่ดีปุ๋ยน้อย(เหตุไม่ดีปัจจัยไม่ดี) __> ผลไม่ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...