แผ่เมตตาพรหมวิหารบัวบาน สายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ (พระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 7 กุมภาพันธ์ 2014.

  1. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    แผ่เมตตาพรหมวิหารบัวบาน
    สายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    (ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า สุก ไก่เถื่อน)



    วิธีปฏิบัติ

    คำอาราธนาออกพรหมวิหารบัวบาน
    (เมตตาเจโตวิมุตติ)
    ข้าฯขอภาวนา เมตตาเจโตวิมุตติ เพื่อจะขอเอายัง ออกบัวบานพรหมวิหารเจ้านี้จงได้

    ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด

    อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อขอเอายัง เมตตาเจโตวิมุตติ ในห้อง ออกบัวบานพรหมวิหารเจ้านี้จงได้

    ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปจฺจโย โหนฺตุ


    อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที



    การกำหนดจิต
    ถ้าจะออกพรหมวิหารบัวบาน
    ครั้นตั้งจักร ด้วย สุขี จึงออก สุขี แต่ในภูมิ ไป ทุติยะ

    ครั้นถึง ทุติยะ จึงออกด้วย อเวรา แต่ ทุติยไปให้ออกขึ้นตรงหน้า ขึ้นเบื้องบน ให้ถึงพรหมโลก
    จนจบอเวรา แล้วจึงคลุม แต่พรหมโลกลงมา เอาขอบจักรวาลให้เห็นขอบจักรวาลอยู่

    จบอเวราแล้วช้อนขึ้นไปตามศิลาปฐพีรอบลงไปเอา อเวจีมหานรก ด้วย อเวรา จบหนึ่งเล่า

    แล้วกลับเข้ามายัง ภูมิ บริกรรม ด้วย สุขี อยู่ในภูมิ นั้น สักคำหมากหนึ่ง แล้วออกจากสมาธิ


    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


    พระศาสดา ตรัสเมตตาเจโตวิมุตติ

    พระบรมศาสดา ตรัสว่า เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ประกอบไปด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เปรียบดังคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากเลย

    ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร และอรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

    ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะ และวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมตตาเจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นพยาบาท ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ข้อนี้มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทจักครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าเมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆอบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ประการเป็นไฉน คือ

    ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑
    ตื่นเป็นสุข ๑
    ไม่ฝันลามก ๑
    ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑
    ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑
    เทวดาย่อมรักษา ๑
    ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑
    จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑
    สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑
    ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ ๑
    เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้วอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ



    กราบขอบพระคุณแหล่งที่มา :

    ๑) คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
    พระครูสิทธิสังวร(วีระ ฐานวีโร) รวบรวม เรียบเรียง

    ๒) เว็บไซด์ : ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื


    (ยังมีต่อ.....)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2014
  2. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    สรุปแนวทางการแผ่พรหมวิหาร ๔ บัวบาน
    สายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    (ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า สุก ไก่เถื่อน)



    พรหมวิหาร ๔
    (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)


    เมตตาพรหมวิหาร
    คำอาราธนา
    คำภาวนา แผ่เมตตาในตน ๗ บท
    ออกทิศเมตตาพรหมวิหาร บทที่ ๑
    ออกทิศเมตตาพรหมวิหาร บทที่ ๒
    ออกทิศเมตตาพรหมวิหาร บทที่ ๓
    ออกทิศเมตตาพรหมวิหาร บทที่ ๔
    วิกุพพนา
    อาราธนา พิจารณาดู ๔ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๘ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๑๐ ทิศ
    เวียนทิศเมตตา ๕ รอบ
    แผ่เมตตา รอบนอก


    กรุณาพรหมวิหาร
    คำอาราธนา
    แผ่กรุณารอบใน
    แผ่กรุณา ๑๐ ทิศ
    แผ่ออกทิศกรุณา บทที่ ๑
    แผ่ออกทิศกรุณา บทที่ ๒
    แผ่ออกทิศกรุณา บทที่ ๓
    แผ่ออกทิศกรุณา บทที่ ๔
    อาราธนา พิจารณาดู ๔ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๘ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๑๐ ทิศ
    เวียนทิศกรุณา ๔ รอบ


    มุทิตาพรหมวิหาร
    คำอาราธนา
    แผ่มุทิตาในตน

    แผ่มุทิตา ๑๐ ทิศ
    ออกทิศมุทิตาพรหมวิหาร บทที่ ๑
    ออกทิศมุทิตาพรหมวิหาร บทที่ ๒
    ออกทิศมุทิตาพรหมวิหาร บทที่ ๓
    ออกทิศมุทิตาพรหมวิหาร บทที่ ๔
    อาราธนา พิจารณาดู ๔ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๘ ทิศ
    อารธนา พิจารณาดู ๑๐ ทิศ
    เวียนทิศมุทิตา ๔ รอบ
    คำแผ่มุทิตารอบนอก


    อุเบกขาพรหมวิหาร
    คำอาราธนา
    คำแผ่อุเบกขารอบใน
    แผ่ทิศอุเบกขา ๑๐ ทิศ
    ออกทิศอุเบกขาพรหมวิหาร บทที่ ๑
    ออกทิศอุเบกขาพรหมวิหาร บทที่ ๒
    ออกทิศอุเบกขาพรหมวิหาร บทที่ ๓
    ออกทิศอุเบกขาพรหมวิหารบทที่ ๔
    ออกทิศอุเบกขาพรหมวิหาร บทที่ ๕
    อารธนา พิจารณาดู ๔ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๘ ทิศ
    อาราธนา พิจารณาดู ๑๐ ทิศ
    เวียนทิศอุเบกขา ๕ รอบ
    แผ่อุเบกขารอบนอก ๕ รอบ


    ยุคนิทธวรรค เมตตากถา


    อัปปมัญญา พรหมวิหาร๔


    ---------------------------------------------------------------------------------------

    กราบขอบพระคุณที่มา :
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ

    (ยังมีต่อ.....)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2014
  3. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    อัปปมัญญา พรหมวิหาร 4
    สายพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    (ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า สุก ไก่เถื่อน) ​


    ดูกร ราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้
    ดูกร ราหุล เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้
    ดูกร ราหุล เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้
    ดูกร ราหุล เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฎิฆะได้


    พรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา (ขาว) กรุณา (แดง) มุทิตา (เหลือง) อุเบกขา (เขียว)


    เมตตา คือ ความอยากให้ผู้อื่นมีสุข ความไม่เบียดเบียน ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน ความรัก คือ ความรักที่ปราศจากราคะ


    --------------------------------------------------------------------------------------​

    บุคคลที่เป็นโทษแห่งเมตตา​


    ๑.บุคคลที่เกลียดกัน ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนรักกันย่อมลำบาก
    ๒.บุคคลที่เป็นสหายรักกันมาก ตั้งไว้ในฐานแห่งคนกลาง ๆ ย่อมลำบาก เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแก่เขาจนถึงกับร้องไห้ได้
    ๓.บุคคลที่เป็นกลาง ๆ กัน ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนรักย่อมลำบาก
    ๔.บุคคลที่เป็นศัตรูกัน ความโกรธย่อมเกิดขึ้น

    เหตุนั้น ไม่ควรเจริญในบุคคล ๔ ประเภทข้างต้น


    ในบุคคลที่เป็นข้าศึกกัน มีเพศเป็นข้าศึกกัน เพศตรงข้าม
    เมื่อเจริญเจาะจง ถึงเพศมีเป็นข้าศึกต่อกัน ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น


    ในคนที่ทำกาลกิริยา ตายแล้ว ไม่ควรเจริญด้วยทีเดียว
    เมื่อเจริญไปจิตก็ไม่ถึงอัปปนาสมาธิไม่ถึงอุปจารได้เลย เพราะเมตตามีสัตว์ทั้งหลายเป็นอารมณ์



    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


    กราบขอบพระคุณที่มา
    :
    Somdechsuk.org | เวทาสากุ

    (ยังมีต่อ.....)
     

แชร์หน้านี้

Loading...