แนวทางสายกลาง ข้อเสนอ 8 ประการ "องค์ทะไลลามะ"

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 8 พฤษภาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    แนวทางสายกลาง ข้อเสนอ 8 ประการ "องค์ทะไลลามะ"


    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ประชาชนชาวทิเบตไม่ยอมรับสภาพของทิเบตในปัจจุบันที่อยู่ภายใต้สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ก็ไม่ได้แสวงหาเอกราชของทิเบตอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต แนวทางสายกลางระหว่าง 2 ขั้วนี้ก็คือ นโยบายและมาตรการที่จะบรรลุถึงการปกครองตนเองอย่างแท้จริงสำหรับชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดที่อยู่มาแต่ ดั้งเดิม 3 จังหวัดในเขตแดนของประเทศจีน

    ทางสายกลางนี้คือท่าทีที่ไม่ได้แบ่งแยกดินแดนและไม่รุนแรง ซึ่งจะปกป้องประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

    กล่าวคือ สำหรับชาวทิเบตประโยชน์ก็คือ การปกป้องและอนุรักษ์วัฒนธรรม ศาสนา และอัตลักษณ์ของเชื้อชาติ สำหรับชาวจีนก็คือ ความมั่นคงและบูรณาการของแผ่นดินแม่ สำหรับประเทศเพื่อนบ้านและฝ่ายอื่นๆ ก็คือเขตชายแดนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความสงบสันติ

    ความเป็นมาของ

    "แนวทางสายกลาง"


    แม้ว่า "ข้อตกลง 17 ประการ" ระหว่างรัฐบาลทิเบตและจีนไม่ได้บรรลุผล แต่เพราะเห็นแก่ประโยชน์ร่วมกันของประชาชน ทะไลลามะ ได้ทรงพยายามทุกทางที่เป็นไปได้เพื่อให้เกิดการตกลงกับรัฐบาลจีนอย่างสันติเป็นเวลา 8 ปี ตั้งแต่ ค.ศ.1951 (พ.ศ.2494)

    น่าเสียดายที่กองทัพจีนได้ปล่อยให้ทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงใน กรุงลาซา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของทิเบต ทำให้ทะไลลามะ ทรงเชื่อว่าความหวังของพระองค์ที่จะอยู่ร่วมกับรัฐบาลจีนนั้นเป็นไปไม่ได้อีกแล้ว พระองค์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการลี้ภัยไปยังอินเดีย และทรงงานเพื่ออิสรภาพ และความสุขของประชาชนชาวทิเบตทั้งปวง

    ตั้งแต่พระองค์เสด็จถึงอินเดีย จนถึงปี 1979 (2522) สำนักบริหารกลางของทิเบต (คือรัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบต) และประชาชนชาวทิเบตมีนโยบายที่มุ่งเอกราชของทิเบต แต่ทว่าโลกได้มีการอิงอาศัยกันและกันมากยิ่งขึ้น ทั้งในทางการเมือง การทหาร และทางเศรษฐกิจ ดังนั้นสภาพความเป็นอิสระของประเทศและประชาชาติต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในประเทศจีน ก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเช่นกัน และในที่สุดก็จะถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่าย จะต้องมาเจรจากันจริงๆ ทะไลลามะจึงทรงเชื่อมานานแล้วว่า การเปลี่ยนนโยบายจากการฟื้นฟูอิสรภาพของทิเบตมาเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมทั้งแก่ชาวจีนและชาวทิเบตจะเป็นผลดียิ่งขึ้นต่อการแก้ไขปัญหาทิเบตโดยวิธีเจรจา

    ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1970 (2513) พระองค์ได้จัดให้มีการอภิปรายในประเด็นนี้ และได้ขอคำแนะนำจากประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทิเบต คณะรัฐบาลทิเบต นักวิชาการและผู้มีประสบการณ์หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1979 (2522) เติ้ง เสี่ยว ผิง ผู้นำของจีนได้มีข้อเสนอไปยังทะไลลามะ ว่า "เว้นแต่เรื่องเอกราชแล้ว เรื่องอื่นๆ สามารถเจรจากันเพื่อแก้ไขปัญหาได้" ซึ่งข้อเสนอนี้ตรงกับ สิ่งที่ทะไลลามะ เชื่อมานานแล้ว พระองค์จึงตอบรับอย่างดีในทันที โดยตกลงที่จะเจรจาและได้เปลี่ยนนโยบายฟื้นฟูเอกราช ของทิเบตมาเป็น "แนวทางสายกลาง"

    ภายหลังจากตกลงใจที่จะใช้ "แนวทางสายกลาง" ทะไลลามะได้จัดให้มีการประชุมวาระพิเศษเป็นเวลา 4 วันที่เมืองธรรมศาลา เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 1988 (2531) การประชุมนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทิเบตคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากนิคมผู้ลี้ภัยทุกแห่ง และสมาชิกสภา ชาวทิเบตในท้องถิ่น ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนทิเบต ชาวทิเบตที่เพิ่งลี้ภัยมาถึง และแขกพิเศษ ผู้เข้าร่วมประชุมได้อภิปรายกันอย่างรอบด้านเกี่ยวกับถ้อยคำในข้อเสนอ และในที่สุดก็รับรองอย่างเป็นเอกฉันท์

    หลักสำคัญของ

    "แนวทางสายกลาง" 8 ประการ

    1.สำนักบริหารกลางแห่งทิเบตไม่ได้แสวงหาเอกราชของทิเบต แต่พยายามที่จะสร้างหน่วยทางการเมืองอันประกอบด้วยจังหวัดดั้งเดิมของทิเบต 3 จังหวัด

    2.หน่วยทางการเมืองดังกล่าวต้องมีสถานะของการปกครองตนเอง (autonomy) ในเชิงภูมิภาคและเชื้อชาติอย่างแท้จริง

    3.การปกครองตนเองนี้จะต้องปกครองด้วยหน่วยนิติบัญญัติและหน่วยบริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนด้วยกระบวนการประชาธิปไตย

    4.ทันทีที่รัฐบาลจีนยอมรับสถานะ ดังกล่าวแล้ว ทิเบตจะไม่มุ่งที่จะแบ่งแยก หากแต่จะยังคงอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อไป

    5.จีนสามารถจะคงกองกำลัง ติดอาวุธจำนวนจำกัดในทิเบตได้ เพื่อการปกป้องคุ้มครองจนกว่า ทิเบตจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเขตแห่งสันติภาพและปลอดความรุนแรงได้แล้ว

    6.รัฐบาลจีนเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมืองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการป้องกันประเทศสำหรับทิเบตในขณะเดียวกันชาวทิเบตจะจัดการกิจการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทิเบต เช่น ด้านศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สุขภาพ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ

    7.รัฐบาลจีนจะต้องหยุดนโยบายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในทิเบต และการย้ายประชากรชาวจีนเข้าไปในดินแดนทิเบต

    8.การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทิเบต ทะไล ลามะ จะทรงผู้รับผิดชอบหลักต่อการเจรจาและการตกลงกับรัฐบาลจีนด้วยความจริงใจ

    ลักษณะพิเศษของ "แนวทางสายกลาง"

    ด้วยการตระหนักว่า ความเป็นเอกภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างประชาชนชาวทิเบตและจีนนั้น สำคัญยิ่งกว่าสถานะทางการเมืองของชาวทิเบต ทะไลลามะ จึงได้ทรงดำเนินแนวทางสายกลางอันให้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นความก้าวหน้าทางการเมืองอย่างยิ่งใหญ่ ที่อยู่บนฐานของความเท่าเทียมกันของเชื้อชาติอย่างไม่เกี่ยวข้องกับขนาดของประชากร ขนาดเศรษฐกิจหรือความเข้ม # แข็งทางการทหาร ถ้าประชาชนชาวทิเบตและจีนสามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมแล้วก็จะทำให้เกิดเอกภาพระหว่างเชื้อชาติ เสถียรภาพทางสังคม และบูรณาการทางดินแดนของประเทศจีนอย่างแน่นอน


    ****************************
    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://matichon.co.th/prachachat/pr...g=02spe02080551&day=2008-05-08&sectionid=0223
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    จีนต้องการองค์ทะไลลามะ

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>โรเบิร์ต เทอร์แมน เป็นศาสตราจารย์แห่งพุทธศาสนาอินโดทิเบต ศึกษาในภาควิชาศาสนา มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเป็นประธานมูลนิธิบ้านทิเบตในสหรัฐอเมริกา ผลงานหนังสือที่กำลังตีพิมพ์ในเดือนมิถุนายนนี้ คือ "Why the Dalai Lama Matters : His Act of Truth as the Solution for China, Tibet and the World"

    ก่อนหน้านี้ โรเบิร์ต เทอร์แมน เขียนบทความเรื่อง "จีนต้องการองค์ทะไล ลามะ" ลงตีพิมพ์ในวอชิงตันโพสต์ วันพุธที่ 26 มีนาคม 2008 สาระสำคัญมีดังนี้

    เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับมนุษยชาติ ในช่วงต้นศตวรรษใหม่นี้เอง ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาน่าหวาดกลัวจากหายนะใหญ่หลวงจากธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรืออาจะป็นช่วงศตวรรษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสังคมโลกอันสงบสุข ในบรรดาผู้นำของโลกทั้งหมดในขณะนี้องค์ทะไลลามะเป็นผู้ที่แสดงความเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ ด้านสติปัญญา และด้านจริยธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ พระองค์ชี้แจงและแสดงให้เราเห็นเป็นตัวอย่างถึงวิถีแห่งศานติและความสุข

    นี่คือเคล็ดลับแห่งการเป็นบุคคลยอดนิยมระดับโลกของพระองค์ ตัวตนและคำสอนของพระองค์นั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อชาวทิเบตต่อชาวจีน ต่อพวกเราทุกคนและต่อคนรุ่นใหม่ๆ ในอนาคต

    หากจะพูดถึงการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองใดๆ ที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อ ขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณ นั่นคือการรณรงค์ตลอด 50 ปีที่ผ่านมาขององค์ทะไลลามะเพื่ออิสรภาพแห่งประชาชนของพระองค์ และการจลาจลประท้วงที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ โดยชายทิเบตผู้หวังว่าจะมีอิสระในการฟื้นฟูชีวิตทางด้านจิตวิญญาณของตนอย่างใกล้ชิดกับผู้นำทางจิตวิญญาณและทางการเมืองของพวกเขา การกระทำแห่งความจริงเหล่านี้ กล่าวคือ การที่องค์ทะไลลามะยืนยันในหลักอหิงสาและเจรจาตอบโต้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งกระทำโดยหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการที่ชาวทิเบตลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้ถึงแม้ว่าความเป็นไปได้จะริบหรี่น้อยนิด

    ทั้งหมดนี้อาจส่งผลลัพธ์อันมหัศจรรย์ ให้เกิดขึ้นได้ หนึ่งใน "ต้นเหตุแห่งความพ่ายแพ้" อันยิ่งใหญ่ของโลกอาจมีความเป็นได้ที่จะประสบความสำเร็จขึ้นมา

    ความสำเร็จดังกล่าวนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ประการแรก เริ่มด้วยผู้นำจีนที่ริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ได้ก้าวอย่างระมัดระวังเข้าสู่แสงแห่งการประชาสัมพันธ์และความคิดเห็นบนเวทีโลก ด้วยการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก

    ประการที่สอง ที่กำลังเกิดอยู่ในขณะนี้ สดๆ ร้อนๆ โดยชาวทิเบตผู้กล้าหาญก้าวเดินด้วยตัวเองผ่านเลยแผนการต่างๆ ที่ผู้นำได้วางไว้ และแม้ว่าความหวังจะริบหรี่ ก็ยังยืนหยัดต่อสู้เพื่อความจริงแห่งการมีตัวตนในฐานะที่เป็นคนชนชาติทิเบตของพวกเขา ได้เสี่ยงชีวิตเพื่อประท้วงการทำลายล้างอย่างสิ้นซากของวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต พวกเขาได้กระทำเช่นนี้มาตลอด ในการยืนหยัดต่อสู้ด้วยหลักอหิงสา

    ถึงแม้ว่าช่วงเวลาหลายศตวรรษที่มีแต่ความขมขื่น และความร้ายแรงในสถานการณ์ปัจจุบันจะทำให้บางคนสูญเสียหลักการในการยืนหยัดด้วยอหิงสา และกระทำการด้วยความรุนแรง พวกเขาลุกขึ้นสู้กับ ห่ากระสุนของกองทหารจีน โบกธงแห่งอิสรภาพ และยังยืนหยัดต่อไป ถึงแม้จะรู้ว่าต้องมีการสูญเสียชีวิตอย่างมหาศาลและการสูญสิ้นเสรีภาพที่จะตามมา

    องค์ทะไลลามะมิได้ร้องขอให้พวกเขาเสียสละตนเองเช่นนี้ พระองค์ประกาศจะลาออกจากตำแหน่งหากพวกเขายังกระทำการด้วยความรุนแรง และยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังเจ็บปวดต่อการเคียดแค้นจากเจ้าหน้าที่ของทางการซึ่งเป็นที่คาดเดาได้ว่าจะต้องเกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกับพระองค์และทั้งโลกก็ต้องตะลึงกับการแสดงออก ถึงความเชื่ออันลึกซึ้งของประชาชนผู้กล้าหาญของพระองค์ ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนแห่งความหาญกล้าเช่นเดียวกับสงครามกลางเมืองในสหรัฐในช่วงศตวรรษที่แล้ว และในแอฟริกาใต้

    โอกาสที่เหล่าผู้นำชาวจีนมีอยู่ในขณะนี้นั้นไม่น้อยไปกว่าการเขย่าโลกทั้งใบให้สะเทือนได้ ตลอดหกสิบปีที่ผ่านมาผู้นำเหล่านี้พยายามที่จะครอบงำและควบคุมใช้ความพยายามอยางถึงที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลงทิเบตและประชาชนทิเบตให้กลายเป็นจีนและประชาชนจีน ซึ่งเป็นโครงการที่องค์ทะไลลามะเรียกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม และผู้นำเหล่านี้ไม่เคยประสบความสำเร็จ "กลุ่มคนวงในของทะไลลามะ" ที่พวกเขาคอยกล่าวหาและปฏิญาณที่จะทำลาย มาตลอดกลับกลายเป็นคนทิเบตทั้งหมด ทุกคน

    ตอนนี้เหล่าผู้นำจีนจะมีโอกาสที่จะตรวจตราข้อเท็จจริง เสาะหาความจริง และยอมรับความล้มเหลวด้วยการพยายามทำ ในสิ่งใหม่ พวกเขาได้ใช้ความพยายามโดยไม่จำเป็นเพื่อเป็นศัตรูกับมิตรแท้ที่ดีที่สุดในโลกนี้ นั่นคือองค์ทะไลลามะ ผู้ซึ่งเป็นที่ เชื่อกันในหมู่พุทธบริษัทว่าเป็นเทพแห่งความกรุณาปรานีกลับชาติมาเกิด

    ไม่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังเป็นที่เคารพรักในหมู่ประชาชนทุกศาสนาและผู้ที่มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในฐานะที่เป็นนักคิดผู้ให้แรงบันดาลใจ เป็นครู และเป็นตัวอย่างทางจิตวิญญาณ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล เป็นเสมือนคานธีที่ยังมีชีวิต และผู้เผยแพร่หลักอหิงสา การเจรจาด้วยปัญญา และความหวังที่ไม่มีวันดับ พระองค์ได้หยิบยื่นมิตรภาพด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์ให้กับพวกเขาตลอดมาโดยมีเป้าหมายที่จะหาทางแก้ปัญหาที่จะเป็นที่พอใจกับทั้งจีนและทิเบต

    ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่ประธานาธิบดี หู จิ่น เทา จะยื่นมือออกมาและยอมรับ ความช่วยเหลือของพระองค์

    *************************
    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://matichon.co.th/prachachat/pr...g=02spe03080551&day=2008-05-08&sectionid=0223
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. tong1965

    tong1965 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +35
    ขอให้ทุกประเทศทั่วโลกจงเป็นสุขเทอญ
     
  4. ก.แก้วคำ

    ก.แก้วคำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +72
    อัพพะยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...