แนวทางปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย gatsby_ut, 24 มิถุนายน 2010.

  1. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ คือ การพ้นทุกข์

    ทุกข์ หมายถึงสิ่งที่ทนได้ยาก
    ทุกข์เกิดจาก เครื่องเศร้าหมองของจิต อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง คือ กิเลส<O:p
    กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดจาก ความทะยานอยาก คือ ตัณหา<O:p
    ตัณหา ความทะยานอยาก เกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น คือ อุปทาน<O:p
    อุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น เกิดจาก ความไม่รู้ คือ อวิชชา
    <O:pก็ อวิชชา ความไม่รู้ นี้แล เป็นสาเหตุให้มี ร่างกาย คือ ขันธ์ ๕
    <O:p
    ขันธ์ ๕ ร่างกายนี้ เกิดจาก กิเลส ตัณหา อุปทาน และ อกุศลกรรม<O:p
    ถ้าเราจะหน่ายทุกข์ ก็จงหน่ายที่ ร่างกาย เถิด
    <O:p
    การหน่ายร่างกาย คือ ละสักกายทิฐิ องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ชี้ไว้ ๔๑ เส้นทาง แต่ละเส้นทาง ก็สามารถ ถึงที่สุดของความพ้นทุกข์ได้ คือ

    มหาสติปัฏฐานสูตร ๑ (ทุกจริต ปฏิบัติได้) เป็นแนวทางของ สุกกวิปัสสโก

    กรรมฐาน ๔๐ (ปฏิบัติตามจริต ๖ มี ๓๐ กอง จริตกลาง มี ๑๐ กอง) เป็น แนวทางของ สุกขวิปัสโก ถ้าจับ กสิน ด้วย ก็เป็นแนวทางของ เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฎิสัมภิทัปปัตโต ถ้าทำได้นะ

    [​IMG]

    ถ้าเราละ สักกายทิฐิ ได้แค่ตัวเดียว ครูบาอาจารย์ ท่านว่า ความเป็นพระอริยะ เหมือนหญ้าปากคอก
    <O:p
    ฉะนั้น ในเมื่อทาง มีถึง ๔๑ ทาง เธอจง ฉลาด เลือกทาง ซึ่งมีอยู่ ในการปฏิบัติ<O:p
    ตาม ระดับ สติ ปัญญา เหมือนคนไข้ เลือกยาที่จะรักษา ตัวเอง

    [​IMG]
    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเอง

    [​IMG]<O:p

    ขณิกสมาธิ <O:p

    มีท่านพุทธศาสนิกชนมากท่าน ได้มีจดหมายมาขอวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบง่ายๆ เพื่อฝึกด้วยตนเอง อาตมาจึงเขียนวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองขึ้น เป็นแบบฝึกใน หมวดสุกขวิปัสสโก คือฝึกแบบง่ายๆ ขอให้ท่านผู้สนใจปฏิบัติตามนี้<O:p

    สมาธิ<O:p

    อันดับแรก ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่า สมาธิ ก่อน สมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึงการตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั้นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ

    [​IMG]<O:p

    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ<O:p

    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ ก็คือ ต้องการให้อารมณ์สงัดและเยือกเย็น ไม่มีความวุ่นวายต่ออารมณ์ที่ไม่ต้องการ และความประสงค์ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อยากให้พ้นอบายภูมิ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน อย่างต่ำถ้าเกิดใหม่ขอเกิดเป็นมนุษย์และต้องการเป็นมนุษย์ชั้นดี คือ
    <O:p
    ๑. เป็นมนุษย์ที่มีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ไม่มีอายุสั้นพลันตาย
    ๒. เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ทรัพย์สินไม่เสียหายด้วยไฟไหม้, โจรเบียดเบียน, น้ำท่วม หรือลมพัดทำลายให้เสียหาย
    ๓. เป็นมนุษย์ที่มีคนในปกครองอยู่ในโอวาท ไม่ดื้อด้านดันทุรังให้มีทุกข์ เสียทรัพย์สินเงินทองและเสียชื่อเสียง
    ๔. เป็นมนุษย์ที่มีวาจาไพเราะ เมื่อพูดออกไปเป็นที่พอใจของผู้รับฟัง
    ๕. เป็นมนุษย์ที่ไม่มีอาการปวดประสาท คือปวดศีรษะมากเกินไป ไม่เป็นโรคประสาท ไม่เป็นบ้าคลั่งเสียสติ<O:p
    รวมความโดยย่อก็คือ ต้องการเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุขทุกประการ เป็นมนุษย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินทุกประการ ทรัพย์ไม่มีอะไร เสียหายจากภัย ๔ ประการ คือ ไฟไหม้ ลมพัด โจรรบกวน น้ำท่วม และเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุข ไม่เดือดร้อนด้วยเหตุทุกประการ<O:p

    ประสงค์ให้เกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์<O:p

    บางท่านก็ต้องการไปเกิดบนสวรรค์ เป็นเทวดาหรือนางฟ้าที่มีร่างกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่และสมบัติเป็นทิพย์ไม่มีคำว่าแก่ ป่วย และยากจน (ความปรารถนาไม่สมหวัง) เพราะเทวดาหรือนางฟ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีความปรารถนาสมหวังเสมอ
    บางท่านก็อยากไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมีความสุขและอานุภาพมากกว่าเทวดาและนางฟ้า บางท่านก็อยากไปนิพพาน
    เป็นอันว่าความหวังทุกประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นจะมีผลแก่ทุกท่านแน่นอน ถ้าท่านตั้งใจทำจริงและปฏิบัติตามขั้นตอน
    แบบที่บอกว่าปฏิบัติแบบง่ายๆ นี้ ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนท่านจะได้ทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดโดยใช้เวลาไม่นานนัก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่ท่านทำจริงตามคำแนะนำหรือไม่เท่านั้นเอง<O:p

    อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ<O:p

    สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิทจนไม่รู้อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง

    [​IMG]<O:p

    เริ่มทำสมาธิ<O:p

    เริมทำสมาธิใช้วิธีง่ายๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น เพราะไม่สำคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริงๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เราต้องการก็ใช้ได้ <O:p

    อาการนั่ง<O:p

    อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลำพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้หรือนอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่านบูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและหายใจออก คำว่ากำหนดรู้ คือ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมากก็ให้สังเกตด้วยว่า หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้ามาแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิมากแล้ว การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นใน
    เวลานั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ<O:p


    การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่าต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยคำสั้นๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาวๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนาอย่างง่ายคือ "พุทโธ" คำภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก เพราะเป็นนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงพระพุทธเจ้าเฉยๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่า คนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ ไม่ใช่นับร้อยนับพัน

    พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่าสู่กันฟังข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น<O:p
    เมื่อคำภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจ จงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อยๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนาเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งซ่านจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉยๆ หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ หรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนดอย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมา จะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มความฟุ้งซ่านมากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำอย่างนั้น<O:p

    ขณิกสมาธิ<O:p

    อารมณ์ที่ทรงสมาธิระยะแรกนี้จะทรงไม่ได้นาน เพราะเพิ่งเริ่มใหม่ ท่านเรียกสมาธิระยะนี้ว่า ขณิกสมาธิ คือสมาธิเล็กน้อย ความจริงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงอารมณ์ไม่ได้นานก็มีอานิสงส์มาก เช่น ท่านมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร<O:p

    ฝึกทรงอารมณ์<O:p

    อารมณ์ทรงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงได้ไม่นาน แต่ท่านทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล ตามที่ทราบมาแล้วในเรื่องมัฏฐกัณฑลีเทพบุตร แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่ามีสมาธิดีกว่า จะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่นาน หรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้

    ให้ท่านภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่าในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรกคือไม่ยอมคิดอย่างอื่น จะประคองใจให้อยู่ในคำภาวนา และรู้ลมเข้าลมออก ทำครั้งละสิบเพียงเท่านี้ ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่างน้อยสิบนาทีหรือครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่เงียบสงัดมาก อารมณ์จะสบาย จงพยายามทำอย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมาก บังคับอารมณ์เพียงสิบเท่านั้นพอ ใช้เวลาประมาณ หนึ่งเดือนจะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี

    [​IMG]<O:p

    อย่าฝืนอารมณ์ให้มากนัก<O:p

    เรื่องของอารมณ์เป็นเรื่องไม่แน่นอนนัก ในกาลบางคราวเราสามารถควบคุมได้ตามที่เราต้องการ แต่ในกาลบางคราวเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะกระสับกระส่ายเสียจนคุมไม่อยู่ ในตอนนั้นเราควรจะยอมแพ้มัน เพราะถ้าขืนต่อสู้จะเกิดอารมณ์หงุดหงิดหรือเครียดเกินไป ในที่สุดถ้าฝืนเสมอๆ แบบนั้น อารมณ์จะกลุ้ม สมาธิจะไม่เกิด สิ่งที่จะเกิดแทนคือ อารมณ์กลุ้ม เมื่อปล่อยให้กลุ้มบ่อยๆ ก็อาจจะเป็นโรคประสาทได้
    <O:p
    ข้อที่ควรระวังก็คือ ทำแบบการนับดังกล่าวแล้วนั้นสามารถทำได้ถึงสิบครั้ง หรือบางคราวทำได้เกินสิบครั้งก็ทำเรื่อยๆ ไป ถ้าภาวนาไปไม่ถึงสิบ อารมณ์เกิดรวนเร กระสับกระส่าย ให้หยุดสักประเดี๋ยวหนึ่งแล้วทำใหม่ สังเกตดูอารมณ์ว่าจะสามารถควบคุมภาวนาไปได้ไหม ถ้าสามารถควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตของภาวนาได้ และรู้ลมหายใจเข้าออกควบคู่กันไปได้ดีก็ทำเรื่อยๆ ไป แต่ถ้าควบคุมไม่ไหวจริงๆ ให้พักเสียก่อน จนกว่าใจจะสบายแล้วจึงทำใหม่ หรือเลิกไปเลย วันนั้นพัก ไม่ต้องทำเลย ปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปกับการคุย หรือชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุ หรือหลับไปเลย เพื่อให้ใจสบาย ให้ถือว่าทำได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้ไม่ช้าจะเข้าถึงจุดดี คือ อารมณ์ฌาน
    <O:p
    คำว่า ฌาน คือ อารมณ์ชิน ได้แก่ เมื่อต้องการจะรู้ลมหายใจเข้าออกเมื่อไร อารมณ์ทรงตัวทันที ไม่ต้องเสียเวลาตั้งท่าตั้งทางเลย ภาวนาเมื่อไรใจสบายเมื่อนั้น แต่ทว่าอารมณ์ฌานโลกีย์ที่ทำได้นั้นเอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย ไม่ป่วย มันก็สามารถคุมอาการภาวนาหรือรู้ลมหายใจเข้าออกได้สบาย ไม่มีอารมณ์ขวาง แต่ถ้าร่างกายพร่องนิดเดียวเราก็ไม่สามารถคุมให้อยู่ตามที่เราต้องการได้

    ฉะนั้นถ้าหลงระเริงเล่นแต่อารมณ์สมาธิอย่างเดียว จะคิดว่าเราตายคราวนี้หวังได้สวรรค์ พรหมโลก นิพพานนั้น (เอาแน่นอนไม่ได้) เพราะถ้าก่อนตายมีทุกขเวทนามาก จิตอาจจะทรงอารมณ์ไม่อยู่ ถ้าจิตเศร้าหมองขุ่นมัวเมื่อก่อนตาย อาจจะไปอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานได้ ยกตัวอย่าง พระเทวทัต ท่านได้อภิญญาโลกีย์มีฤทธิ์มาก แต่ก่อนจะตายเกิดมีอารมณ์หลงผิดคิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้า เมื่อตายแล้วลงอเวจีมหานรกไป พวกเราเองก็เหมือนกันถ้าหลงทำเฉพาะสมาธิ ไม่หาทางเอาธรรมะอย่างอื่นเข้าประคับประคอง สมาธิก็ไม่สามารถช่วยได้ จึงต้องใช้ธรรมะอย่างอื่นเข้าประคองใจด้วย ธรรมะที่ช่วยประคองใจให้เกิดความมั่นคงไม่ต้องลงอบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนี้ ก็ได้แก่ กรรมบถ ๑๐ ประการ คือ <O:p


    กรรมบถ ๑๐<O:p

    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลำบาก
    ๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ
    ๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น
    (ขอแถมนิดหนึ่ง ไม่ดื่มสุราและเมรัยที่ทำให้มึนเมาไร้สติ)
    ๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง
    ๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้ฟัง
    ๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน
    ๗. ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
    ๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้
    ๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทำร้ายใคร
    ๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี

    [​IMG]<O:p

    อานิสงส์กรรมบถ ๑๐<O:p

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็น ผู้ทรงสมาธิในศีล

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้<O:p
    ๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนมีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน มีอายุยืนยาว ไม่อายุสั้นพลันตาย
    ๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี
    ๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี ไม่ดื้อด้าน อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร และการไม่ดื่มสุราเมรัย เมื่อเกิดเป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง ไม่เป็นโรคเส้นประสาท ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด<O:p
    เรื่องของวาจา<O:p
    ๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก, และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นคนปากหอม หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูดเขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัยปัจจุบันจะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขและทรัพย์สินมหาศาลเพราะเสียง<O:p
    เรื่องของใจ<O:p
    ๕. อานิสงส์ข้อที่แปด, ข้อเก้า, และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจากการคิดลักขโมยเป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสอนของท่านด้วยความเคารพ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอารมณ์สงบและมีความสุขสบายทางใจ ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว
    <O:p
    อานิสงส์รวม<O:p
    เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์รวมแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานในขั้นนี้ ถึงแม้ว่าจะทรงสมาธิไม่ได้นานตามที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ นั้น ถ้าสามารถทรงกรรมบถ ๑๐ ประการได้ครบถ้วน ท่านกล่าวว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป บาปที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยใดก็ตาม ไม่มีโอกาสนำไปลงโทษในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น อีกต่อไป
    <O:p
    ถ้าบุญบารมีไม่มากกว่านี้ ตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดบุญแล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์ จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น แต่ถ้าเร่งรัดการบำเพ็ญเพียรดี รู้จักใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ก็สามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้

    [​IMG]<O:p

    แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐

    การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วนให้ปฏิบัติตามนี้ <O:p
    ๑. คิดถึงความตายไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจจะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่ำไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้ว ขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่พอใจที่สุดของเรา
    <O:p
    ๒. คิดต่อไปว่าเมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นในเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอให้ปฏิบัติตามคำสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไรขอไปนิพพานแห่งเดียว
    <O:p
    เมื่อนึกถึงความตายแล้วตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก แล้วตั้งใจนึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจำและพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาด คิดติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่าวันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาดพลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วัน ไม่นานนัก อย่างช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบท จะไม่มีการผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อใดท่านทรง

    อารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้ โดยที่ไม่ต้องระวัง ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้น ขณิกสมาธิ ได้ครบถ้วน เมื่อตายท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่นอน
    <O:p
    ถ้าบารมีอ่อน เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญาแบบเบาๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุข ไม่เมาในร่างกายเราและร่างกายเขา ไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพานได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้

    อ้างอิง คำสอนพระราชพรหมยาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2011
  2. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๒



    พุทธภาษิต


    ท่านทั้งหลาย จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย<O:p


    เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้นส่วนความพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่ เราชี้แล้ว บอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง<O:p


    <O:p

    ใด ใด ในโลกล้วนอนิจจัง ...<O:p
    อย่าคิดว่าชีวิตเราจะยืนยาว ทุกสิ่ง เมื่อมีการเริ่มต้น ก็ต้องมีการจบลง ธรรมดา มันเป็นอย่างนี้<O:p
    <O:p

    มีรักร้อยทุกข์ร้อย มีรักสิบทุกข์สิบ ไม่มีรักไม่มีทุกข์ความ<O:p


    โศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี<O:p


    <O:p

    ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ <O:p
    <O:p

    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง<O:p


    การไม่กระทำบาปทั้งปวง ด้วย กาย วาจา ใจ<O:p


    กุสะลัสสูปะสัมปะทา<O:p


    การทำกุศลให้ถึงพร้อม ด้วย กาย วาจา ใจ<O:p


    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง<O:p


    การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง<O:p


    เอตัง พุทธานะสาสะนัง<O:p


    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย<O:p


    <O:p

    หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว<O:p
    .. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า .. <O:p
    วะยะธัมมาสังขารา<O:p
    ..สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา<O:p</O:p
    อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ <O:p
    ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด<O:p
    ..อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา<O:p
    ..นี่เป็นพระวาจาครั้งสุดท้าย ของเราตถาคต<O:p

    <O:p


    จิตฺเต สงฺกิลิฏเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.<O:p


    เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.<O:p


    อะจิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา <O:p


    เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้.<O:p


    <O:p

    อะจีรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ <O:p
    อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง<O:p
    ร่างกายนี้ปราศจาก วิญญาณแล้ว<O:p
    ร่างกาย ก็ถูกทอดทิ้ง เหมือนกับท่อนไม้ ที่ไร้ประโยชน์<O:p
    ( หากกายนี้ ปราศจากวิญญาณ จักนอนทับแผ่นดิน<O:p
    ราวกับท่อนไม้ ไร้ประโยชน์ อันบุคคลทิ้งแล้ว )<O:p

    <O:p


    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา <O:p


    ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ<O:p


    เตสํ เหตุ ตถาคโต <O:p


    พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น<O:p


    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ <O:p


    และความดับของธรรมเหล่านั้น<O:p


    เอวํ วาที มหาสมโณ <O:p


    พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้<O:p


    <O:p

    ปุตตัง คีเว <O:p
    บุตร คือห่วงผูกคอ<O:p
    ภริยา หัตเถ <O:p
    ภรรยา คือห่วงผูกมือ<O:p
    ธนัง ปาเท <O:p
    สมบัติ คือห่วงผูกเท้า<O:p
    <O:p

    ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม <O:p


    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต<O:p


    <O:p

    การให้ทาน เพื่อกำจัดความโลภ <O:p
    การรักษาศิล เพื่อกำจัดความโกรธ <O:p
    การเจริญภาวนา เพื่อกำจัดความ หลง<O:p

    <O:p


    กมฺ มุนา วตฺตตี โลโก<O:p


    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม<O:p


    <O:p


    โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท<O:p></O:p>


    พึงตัดความโกรธ ด้วยปัญญา<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน<O:p></O:p>


    ความเกิบ ทำให้จิตกำเริบขึ้น<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    โกโธ ทุมฺเมธโคจโร <O:p></O:p>


    ความโกรธ เป็นอารมณ์ของผู้มีปัญญาทราม<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ขนฺติ สาหสวารณา <O:p></O:p>


    ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํวทามิ.<O:p></O:p>


    ภิกษุทั้งหลาย เรา (ตถาคต)กล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    <O:p> </O:p>


    จิตฺตํ ทนฺติ สุขาวหํ<O:p></O:p>


    จิตที่ฝึกแล้วย่อมนำสุขมาให้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ชิเน กทริยํ ทาเนน<O:p></O:p>


    พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ทนุโต เสฎฺโฐ มนุสุเสสุ<O:p></O:p>


    ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝีกตนแล้วประเสริฐสุด<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ทุกฺโข ปาปสฺส อุจจฺโย<O:p></O:p>


    การสั่งสมบาป ย่อมนำทุกข์มาให้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ทุฎฺโฐปิ พาหุ ภาสยิ<O:p></O:p>


    คนโกรธแล้ว มักพูดมาก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ <O:p></O:p>


    บุรุษอาชาไนย ย่อมหาได้ยากยิ่ง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ธมฺมถาโม ภวํ โหติ<O:p></O:p>


    ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ<O:p></O:p>


    ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ธมฺโม หเว รกฺ ขติ ธมฺม จารึ<O:p></O:p>


    ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นกฺขตฺตํ ปฎิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา<O:p></O:p>


    ประโยชน์ได้ล่วงเลย คนโง่มัวถือฤกษ์อยู่<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ<O:p></O:p>


    ไม่พึงวิตกกังวลถึงอนาคต<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ<O:p></O:p>


    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา<O:p></O:p>


    ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ไม่มี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา<O:p></O:p>


    แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นตฺถิ พาเล สหายตา <O:p></O:p>


    ความเป็นเพื่อน ย่อมไม่มีในคนพาล<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกฺพฺพโต<O:p></O:p>


    ชื่อว่า ที่ลับของคนบาป ย่อมไม่มีในโลก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ<O:p></O:p>


    ความรักอื่นจะเสมอด้วย รักตัวเองไม่มี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    น เว ยาจนฺติ สปฺปญฺญา<O:p></O:p>


    ผู้มีปัญญา ย่อมไม่ขอเลย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    น สิยา โลก วฑฺฒโน<O:p></O:p>


    อย่าพึงเป็นคนรกโลก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    น หิ สาธุ โกโธ <O:p></O:p>


    ความโกรธ ไม่มีดีเลย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปญฺญา นรนํ รตนํ<O:p></O:p>


    ปัญญาเป็นรัตนของนรชน<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต<O:p></O:p>


    ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปมาโท มจฺจุโน ปทํ<O:p></O:p>


    ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปาปํ ปาเปน จินฺติตํ<O:p></O:p>


    ความชั่ว คนชั่วคิด<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปาปานํ อกรณ์ สุขํ<O:p></O:p>


    การไม่ทำชั่ว ให้เกิดสุข<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปาปานิ ปริวชฺชเย<O:p></O:p>


    พึงละเว้นบาปทั้งหลาย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ปูชโก ลภเต ปูชํ<O:p></O:p>


    ผู้ทำการบูชา ย่อมได้รับการบูชา<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ผาตํ อริเหฐยํ ปรํ<O:p></O:p>


    ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนเขา<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    มนาโม โหติ ขนฺติโก<O:p></O:p>


    ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบของผู้อื่น<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    มลิตฺถิลา ทูจฺจริตํ<O:p></O:p>


    ความประพฤติชั่ว เป็นมลทินของหญิง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    มา โกธสฺส วสํ คมิ<O:p></O:p>


    อย่าลุอำนาจ ความโกรธ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ยถาวาที ตถาการี<O:p></O:p>


    พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ยํ เว เสวติ ตาทิโส<O:p></O:p>


    คบคนเช่นไรก็เป็นคนเช่นนั้นแล<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ยาจโก อปฺปิโย โหติ<O:p></O:p>


    ผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    เย ปมตฺตา ยถา มตา<O:p></O:p>


    คนประมาทก็เหมือนคนตาย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    เย เวรํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ<O:p></O:p>


    เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิเตนโส<O:p></O:p>


    คนโง่รู้ว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้น<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ<O:p></O:p>


    พึงปกป้องภัย ที่ยังมาไม่ถึง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ<O:p></O:p>


    คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ<O:p></O:p>


    ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สกฺกตวา สกฺกโต โหติ<O:p></O:p>


    การสักการะผู้อื่น ย่อมได้รับการสักการะตอบ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สงฺขารา ปรามา ทุกฺขา<O:p></O:p>


    สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ<O:p></O:p>


    สังขาร ที่ยั่งยืนไม่มี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สจฺ จํ เว อมตา วาจา<O:p></O:p>


    คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สจฺเจนาลิกวาทินํ<O:p></O:p>


    พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สติมา สุขเมธติ<O:p></O:p>


    คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ<O:p></O:p>


    ความผิดของผู้อื่นเห็นได้ง่าย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สนฺตุฎฺฐิ ปรมํ ธนํ<O:p></O:p>


    ความสันโดด เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ<O:p></O:p>


    การแสดงธรรมให้เกิดสุข<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ<O:p></O:p>


    การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ<O:p></O:p>


    รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา<O:p></O:p>


    ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยดารสนทนา<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ<O:p></O:p>


    อันความดี คนชั่วย่อมทำได้ยาก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ<O:p></O:p>


    กรรมของตนย่อมนำไปสู่ทุคติ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สามญฺเญ สมโณ ติฎฺเฐ <O:p></O:p>


    สมณะพึงตั้งอยูในภาวะแห่งสมณะ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สุกรํ สาธุนา สาธุ<O:p></O:p>


    ความดี อันคนดีย่อมทำได้ไม่ยาก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมฺตตา สุภาวิตา<O:p></O:p>


    ํผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สุขา สทฺธมฺมเทสนา<O:p></O:p>


    ละเหตุทกุข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ <O:p></O:p>


    การฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    สีลํ โลเก อนุตฺตรํ<O:p></O:p>


    ศีลเป็นเยี่ยมในโลก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    หนนฺติ โภคา ทมฺเมธํ <O:p></O:p>


    โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนปัญญาทราม<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อกตํ ทุกฺกฎํ เสยฺโย<O:p></O:p>


    ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อกฺโกเธน ชิเน โกธํ<O:p></O:p>


    พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อิจฺฉา โลกสฺมิ ทชฺชหา<O:p></O:p>


    ความอิจฉา ละออกได้ยากในโลกนี้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา<O:p></O:p>


    ความยากหาที่สุดมิได้<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตีตํ นานฺราคเมยฺย<O:p></O:p>


    ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตีตํ นานฺวาคเมยฺย<O:p></O:p>


    ไม่พึงหวนคะนึงถึงอดีต<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตนํ ทมยนฺตึ ปณฺฑิตา<O:p></O:p>


    บัณฑิต ย่อมฝึกตน<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตโน ปนา ทุทฺทสํ<O:p></O:p>


    ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา<O:p></O:p>


    บัณฑิตย่อมฝึกฝนตนเอง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตนา อกตํ ปาปํอตฺตนา ว วิสุ ชฺฌติ<O:p></O:p>


    คนไม่ทำบาปเอง ย่อมเป็นผู้หมดจดเอง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย<O:p></O:p>


    ชนะตนเองนั่นแหละเป็นคนดี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย<O:p></O:p>


    ตนแลเป็นที่รักยิ่ง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ<O:p></O:p>


    ตนแลเป็นที่พึ่งแแห่งตน<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อปฺปมาทำ ปสํสนฺติ<O:p></O:p>


    บัญฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ<O:p></O:p>


    ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาท<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อโรคฺยปรมา ลาภา<O:p></O:p>


    ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อวิชฺชา ปรมํ มลํ<O:p></O:p>


    ความเขลาไม่รู้จริงเป็นมลทิน<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อสาธุธํ สาธุนา ชิเน<O:p></O:p>


    พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ<O:p></O:p>


    มารดาบิดา เป็นผู้ควรคำนับของบุตร<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ<O:p></O:p>


    กำลังใจพึงรู้ได้ ในคราวมีอันตราย<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ<O:p></O:p>


    ความอิจฉา ย่อมเสือกไสซึ่งนรชน<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา <O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ<O:p></O:p>


    ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา<O:p></O:p>


    ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา<O:p></O:p>


    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    <O:p> </O:p>


    ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ<O:p></O:p>


    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อต<SUB>.</SUB>ตนา โจทยต<SUB>.</SUB>ตานํ
    จงเตือนตนด้วยตนเอง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.<O:p></O:p>


    คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.

    <O:p></O:p>


    ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ <O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา<O:p></O:p>


    ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
    เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก <O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    ชิเน กทริยํ ทาเนน<O:p></O:p>


    พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
    สจฺเจนาลิกวาทินํ
    พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง<O:p></O:p>


    <O:p> </O:p>


    มนุญฺญเมว ภาเสยฺย<O:p></O:p>


    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
    วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ

    ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล<O:p></O:p>


    <O:p
    อันยศลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
    เว้นเสียแต่ ต้นทุน บุญกุศล<O:p
    ทิ้งสมบัติ ทั้งหลาย ให้ปวงชน
    ร่างของตน เขายังเอา ไปเผาไฟ<O:p
    เจ้าเกิดมา มีอะไร มาด้วยเล่า
    เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
    ตัวเจ้ามา มือเปล่าจะเอาอะไร
    เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา
    [​IMG]

    จริต ๖ และ กรรมฐานคู่จริต


    กรรมฐานกองแรกที่ท่านต้องใด้ก่อนคือ อานาปานานุสสติ<O:p

    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี ๖ ประการคือ<O:p

    ๑ ราคจริต<O:p

    จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ กรรมฐานที่เหมาะกับจริต นี้คือ
    กายคตานุสสติ พิจารณา หาความสกปกของร่างกาย
    อสุภ ๑๐ ได้แก่
    อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
    วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
    เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
    วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
    วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
    วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
    วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
    หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
    โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
    ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
    อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก กายคตานุสสติ คือ พิจารณาร่างกาย<O:p

    ๒ โทสจริต<O:p

    มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว <O:p
    กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    นีลกสิน เพ่งสีเขียว
    ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
    โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
    โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
    เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
    กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
    มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
    อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย<O:p

    ๓ โมหจริต<O:p

    มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้ กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    อานาปานานุสสติ<O:p

    ๔ วิตกจริต<O:p

    มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจ กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    อานาปานานุสสติ<O:p

    ๕ สัทธาจริต<O:p

    มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    ๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์<O:p

    ๖ พุทธจริต<O:p

    เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี กรรมฐานที่เหมาะกับจริตนี้คือ
    มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส
    จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    <O:p
    กรรมฐานกลางที่เหมาะกับทุกๆจริต มี ๑๐ กอง คือ
    ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
    อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
    เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    วาโยกสิน เพ่งลม
    อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง <O:p
    อากาศกสิณ เพ่งอากาศ
    อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
    วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
    อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

    อารมณ์ที่กล่าวมา ๖ ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน
    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มีนาคม 2011
  3. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๓

    หัวข้อธรรม พื้นฐานเบื้องต้น สำหรับนักปฏิบัติ ที่ควรรู้ และจดจำ

    [​IMG]


    ไตรลักษณ์ ๓


    <O:p
    สามัญญลักษณะ ๓ อย่าง
    ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญญลักษณะ
    ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
    ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง.
    ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์.
    ๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน.

    สํ. สฬ. ๑๘/๑.<O:p</O:p


    อิทธิบาท ๔


    <O:p</O:p
    คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง
    ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น.
    ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น.
    ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ.
    ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น.
    คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้อง
    ประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย.

    อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๒๙๒.
    [​IMG]
    <O:p</O:p
    พรหมวิหาร ๔


    <O:p</O:p
    ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข.
    ๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.
    ๓. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี.
    ๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ.
    ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่.

    อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๓๖๙.<O:p</O:p
    อริยสัจ ๔

    ๑. ทุกข์
    ๒. สมุทัย คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
    ๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
    ๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
    ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นของทาน ได้ยาก.
    ตัณหาคือความทะยานอยาก ได้ชื่อว่าสมุทัย เพราะเป็นเหตุให้ ทุกข์เกิด.
    ตัณหานั้น มีประเภทเป็น ๓ คือตัณหาความอยากในอารมณ์
    ที่น่ารักใคร่ เรียกว่ากามตัณหาอย่าง ๑ ตัณหาความอยากเป็นโน่น
    เป็นนี่ เรียกว่าภวตัณหาอย่าง ๑ ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่
    เรียกว่าวิภวตัณหาอย่าง ๑.
    ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ได้ชื่อว่านิโรธ เพราะ
    เป็นความดับทุกข์.
    ปัญญาอันชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความ
    ดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ได้ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นข้อ
    ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
    มรรคนั้นมีองค์ ๘ ประการ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ดำริ
    ชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทำความ
    เพียรชอบ ๑ ตั้งสติชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑.

    อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑๒๗.<O:p</O:p

    [​IMG]

    ขันธ์ ๕


    <O:p</O:p
    กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่าขันธ์ ๕ <O:p</O:p
    ๑. รูป ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่ารูป.
    ๒. เวทนา อารมณ์ ที่สัมผัส ทั้งทุกข์ หรือ สุข และไม่ทุกข์ ไม่สุข<O:p</O:p
    ๓. สัญญา ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ<O:p</O:p
    ๔. สังขาร อารมณ์ ปรุงแต่ง ทั้งดี และเลว<O:p</O:p
    ๕. วิญญาณ ความรู้ หนาว ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น

    อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑.<O:p</O:p
    นิวรณ์ ๕

    ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี ๕ อย่าง
    ๑. พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น เรียกกามฉันท์.
    ๒. ปองร้ายผู้อื่น เรียกพยาบาท.
    ๓. ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม เรียกถิ่นมิทธะ.
    ๔. ฟุ้งซ่านและรำคาญ เรียกอุทธัจจกุกกุจจะ.
    ๕. ลังเลไม่ตกลงได้ เรียกวิจิกิจฉา.

    องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๒.<O:p</O:p


    ปิติ ๕

    เป็นอาการที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติสมาธิที่อยู่ในขั้น อุปจาร<O:p</O:p
    สมาธิ ซึ่งไม่เหมือนกันทุกคน
    และไม่ใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นทั้ง ๕ อย่างเสมอไป<O:p</O:p
    ๑. ขุททกาปีติ มีลักษณะ คือ ขนพองสยองเกล้า <O:p</O:p
    ๒. ขณิกาปีติ มีลักษณะ คือ น้ำตาไหล <O:p</O:p
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีลักษณะ คือ ตัวโยกตัวโคลง <O:p</O:p
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีลักษณะ ตัวลอย <O:p</O:p
    ๕. ผรณาปีติ มีลักษณะ กายซาบซ่าน - คล้ายกายโปร่ง <O:p</O:p
    ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับทางกายไม่ต้องสนใจ จิตใจเป็นสมาธิตั้งมั่น<O:p</O:p
    เท่านั้น<O:p</O:p


    อายตนะภายใน ๖


    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. อินทรีย์ ๖ ก็เรียก.


    ม. ม. ๑๒/๙๖. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕.
    <O:p</O:p




    อายตนะภายนอก ๖


    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย
    ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ. อารมณ์ ๖ ก็เรียก.
    ม. อุป. ๑๔/๔๐๑. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๘๕<O:p</O:p
    <O:p</O:p



    จริต ๖
    <O:p</O:p

    ๑ ราคจริต<O:p
    จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ <O:p
    ๒ โทสจริต<O:p
    มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว <O:p
    ๓ โมหจริต<O:p
    มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้ <O:p
    ๔ วิตกจริต<O:p
    มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจ <O:p
    ๕ สัทธาจริต<O:p
    มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา <O:p
    ๖ พุทธจริต<O:p
    เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี
    <O:p

    โลกธรรม ๘

    ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น
    เรียกว่าโลกธรรม. โลกธรรมนั้น ๘ อย่าง คือ
    มีลาภ ๑
    ไม่มีลาภ ๑
    มียศ ๑
    ไม่มียศ ๑
    นินทา ๑
    สรรเสริญ ๑
    สุข ๑
    ทุกข์ ๑.
    ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควร
    พิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
    ความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำ
    จิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา.

    องฺ. สฏฺฐก. ๒๓/๑๕๘.<O:p</O:p</O:p


    ญาณ ๘

    ๑ ทิพจักขุญาณ แปลว่า ตาทิพย์ คือ มองเห็นอีกโลกหนึ่งได้ เป็นโลกทิพย์ ที่เห็นด้วยจิต ตาเนื้อหมดสิทธิ์ เพราะไม่มีความสามารถตามธรรมชาติ
    ๒ จุตูปปาตญาณ แปลว่า ญาณล่วงรู้สืบประวัติการเกิดของสิ่งมีชีวิต ว่าก่อนมาเกิดคนนี้เป็นใคร มาจากไหน เป็นต้น
    ๓ เจโตปริยญาณ แปลว่า ญาณล่วงรู้ทราบวาระจิตใจคนอื่น ดูใจได้นั่นเอง
    ๔ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แปลว่า ญาณระรึกชาติ ก็คือ ระลึกชาติย้อนไปดูได้
    ๕ อตีตังสญาณ แปลว่า ญาณทราบอดีต ในความหมายว่าย้อนอดีตไปนานแสนนานก็ทราบได้
    ๖ อนาคตังสญาณ แปลว่า ญาณทราบอนาคต ในความหมายว่าเล็งดูอนาคตแล้วทราบอนาคตได้
    ๗ ปัจจุปปันนังสญาณ แปลว่า ญาณทราบปัจจุบัน เช่น ตอนนี้คนนี้ทำอะไรอยู่ เป็นต้น
    ๘ ยถากัมมุตาญาณ แปลว่า ญาณทราบเหตุผลตามกรรม เช่น เพราะเหตุใดจึงเกิดมารวย สวย เก่ง อันนี้เพราะบุญส่งผล..เพราะเหตุใด จึงเกิดมา อาภัพ ลำบาก เจ็บป่วยบ่อย อันนี้เพราะอกุศลกรรมเก่าส่งผล..แล้วกรรมอะไรก็ค่อยดูอีกที<O:p


    วิปัสสนาญาณ ๙

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
    <O:p๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ <O:p
    ๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว <O:p
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร <O:p
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย <O:p
    ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย <O:p
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร <O:p
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร <O:p
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ

    <O:p
    <O:p

    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

    <O:p๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน.
    ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล.
    ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.
    ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ ผู้ใหญ่.
    ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจ ที่ชอบ.
    ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ.
    ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ.
    ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม.
    ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม.
    ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง.

    สุ.วิ. ๓/๒๕๖. อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ. ๒๙. ตฏฺฏีกา. ๑๗๑.<O:p


    ทุกข์ ๑๐

    ความทุกข์ ๑๐ ประเภท<O:p

    ๑ สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร คือ เกิด แก่ เจ็บ และตาย<O:p
    ๒ ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส <O:p
    ๓ นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย <O:p
    ๔ พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะโรคต่างๆ<O:p
    ๕ สันตาปทุกข์ ทุกข์เกิดจากกิเลส คือ โลภ โกรธ หลง <O:p
    ๖ วิปากทุกข์ ทุกข์เกิดจากกรรมเก่าตามมาให้ผล<O:p
    ๗ สหคตทุกข์ (วิปริณามทุกข์) ทุกข์เกิดจากโลกธรรม 8<O:p
    ๘ อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์เกิดจากการหาอาหาร<O:p
    ๙ วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการทะเลาะวิวาท
    <O:p๑๐ ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอด คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕<O:p


    กรรมบถ ๑๐<O:p

    จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่
    ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
    ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
    จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
    ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด.
    ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ.
    ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ. จัดเป็นมโนกรรม ๓ อย่าง
    ๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา.
    ๙. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา.
    ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม.
    กรรม ๑๐ อย่างนี้เป็นทางบุญ ควรดำเนิน.

    ที. มหา. ๑๐/๓๕๙. ที ปาฏิ. ๑๑/๒๘๔. ม. มู. ๑๒/๕๒๓. <O:p


    บารมี ๑๐<O:p

    บารมี แปลว่า กำลังใจ <O:p
    ทานบารมี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ <O:p
    ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล <O:p
    ๓ เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น <O:p
    ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป <O:p
    วิริยบารมี วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ <O:p
    ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ <O:p
    สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี <O:p
    อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ <O:p
    เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น <O:p
    ๑๐ อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ <O:p


    สังโยชน์ ๑๐

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี ๑๐ อย่าง <O:p
    ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา <O:p
    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย <O:p
    ๓. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง <O:p
    ๔. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์ <O:p
    ๕. ปฏิฆะ มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ <O:p
    ๖. รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน <O:p
    ๗. อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน <O:p
    ๘. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี <O:p
    ๙. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน <O:p
    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ธันวาคม 2010
  4. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๔

    การทำสมาธิ ให้เกิดผล
    ลองสำรวจตัวเอง ว่าเรามี อิทธิบาท ๔ ครบหรือเปล่า มีศิลบริสุทธิ์หรือเปล่า มีพรหมวิหาร ๔ บ้างหรือเปล่า ถ้าจิตมีนิวรณ์ สมาธิไม่เกิด ถ้าจิตมีสมาธิ นิวรณ์ ก็ไม่เกิด (เหมือนเด็กเล่นกระดานหก)

    ในขั้นแรก ถ้าจะนั่งสมาธิ อย่าสวดมนต์นาน
    นั่งในท่าที่สบายที่สุดผ่อนกล้ามเนื้อให้หย่อน อย่าเกร็ง หลับตา ช้าๆ นะ หายใจเข้า-ออก ให้สุด ลึกๆ สัก ๔-๕ ครั้ง (ระบาย ลมหยาบ) เอาใจรู้ลม เข้า ออก ช้า ๆ (อย่าใช้ประสาทตาเพ่ง จะปวดหัว) ลมหายต้องปล่อย ตามธรรมชาติ นะ อย่าฝืนลม เมื่อลมหายใจ เรียบแล้ว ค่อยใส่คำภาวนา (เครื่องโยงจิต) ที่ชอบที่สุด สมมุติว่าชอบ พุทโธ นะ พอลมเข้า นึกว่าพุท ลมออก นึกว่าโธ ใช้ใจนึกนะ กำหนด รู้ตามอย่างเดียว ตัดความมอยากรู้ อยากเห็น ทั้งหมดอย่าเกร็งร่างกาย
    <O:p
    การฝึกสมาธิ ให้เกิดผล ไม่ว่าเราจะนั่ง ยืน เดิน นอน ได้หมด ลืมตา หลับตาไม่จำเป็น ให้มีสติ รู้ ลมหายใจ เข้าออก หรือพิจารณา ไว้เป็นปกติ ตามโอกาสอำนวย จะนึกคำภาวนา หรือไม่ก็ได้ ให้มีสติรู้อย่างเดียว มันจะลืมบ้าง ก็ช่างมัน นึกมาได้ก็เริ่มใหม่ (เราฝึกที่จิต ไม่ได้ฝึกร่างกาย )
    <O:p
    และ หมั่น พิจารณา กฏของไตรลักษ์ เพื่อหาทุกข์ ไว้เนืองๆ เป็นประจำ ค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณา อย่างเช่น

    ความเจ็บไข้ ไม่สบาย เป็นทุกข์ จริงมั้ย ?
    <O:p
    ร่างกายเรา เดินเข้าหาความ เสื่อมสลาย จริงมั้ย ?<O:p

    ทุกวันนี้ เราเดินเข้าหา ความตาย อยู่ทุกวัน จริงมั้ย ?
    <O:p
    ความตาย ย่อมมีกับเรา แน่นอน จริงมั้ย ?
    <O:p
    เราต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจ มันเป็นทุกข์ จริงมั้ย ?
    <O:p
    เมื่อเราตาย สมบัติที่เรามีอยู่ ย่อมเป็นสมบัติโลก จริงมั้ย ?

    อุจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำหนอง สเลด น้ำลาย ฯลฯ มันสกปก จริงมั้ย ?

    ของเหล่านี้ มีมาในร่างกายเรา และ ร่างกายคนอื่น จริงมั้ย ?

    หากเราเห็นคนแก่ เราก็พิจารณาว่า เราเองก็ต้องแก่ และเดินเข้าหา ความตายอยู่ทุกวัน

    หากเราเห็นคนเจ็บ เราก็จารณาว่า เราเองก็ต้องเจ็บ

    หากเราเห็นคนตาย เราก็พิจารณาว่า เราเองสักวัน คงต้องตาย ความตายไม่มีนิมิต เครื่องหมาย เราอาจจะตายวันนี้ ก็ได้


    อันนี้เป็นตัวอย่างของการหาทุกข์ นะ คือมองอะไร ให้เห็นตามความเป็นจริง โยงเข้าหากฏของไตรลักษ์ ถ้าทำได้ แก่นของศาสนา เป็นของไม่ยาก
    เวลาทำ อย่าอยาก ทำในท่าสบายๆ แต่ถ้าอยากเห็นความเป็นทิพย์ ค่อยมาว่ากันใหม่ เอาตรงนี้ก่อน<O:p
    การหาทุกข์ เพื่อน้อมนำสู่ นิพพิทาญาน และ สังขารุเปกญาน เพื่อก้าวสู่ โคตภูญาน นำไปซึ่ง อริยมรรค อริยผล

    ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมะสัส อุปยาส ความเศร้าโศกเสียใจ ก็เป็นทุกข์ <O:p


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1024088/[/MUSIC]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มีนาคม 2011
  5. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๕

    แนวทางเริ่มต้นของนักปฏิบัติ

    นักปฏิบัติควรเริ่มต้นปฏิบัติ ด้วย
    ทาน(เพื่อ ตัดความโลภ)
    ศีล(เพื่อ ตัดความโกรธ)
    ภาวนา(เพื่อ ตัดความหลง)

    เพื่อความสุขในชาตินี้ และ ชาติหน้า และเมื่อผลการปฏิบัติ เริ่มทรงตัวดีแล้ว ก็มาเริ่มปฏิบัติ ในเรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อมรรคผล นิพพาน

    อธิศีล เพื่อ พระโสดาบัน และ พระสกิทาคามี ละสังโยชน์ ๓
    อธิจิต เพื่อ พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕
    อธิปัญญา เพื่อ พระอรหันต์ ละสังโยชน์ ๑๐


    ๑ทาน(การให้) ก็ควรฉลาดในการให้โดยเลือกชนิดของทานและเนื้อนาบุญโดย
    การให้ทาน พระพุทธเจ้าทรงตรัส ไว้อย่างนี้ คือ

    การให้ทานแก่คนที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่ท่านผู้มีศีลบริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระโสดาปัตติผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระสกิทาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอนาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระอนาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พรอนาคามีผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแพรอนาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอรหัตมรรคครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระอรหัตมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอรหันต์ครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระอรหัตผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทานครั้งหนึ่ง
    ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทานครั้งหนึ่ง
    และทรงตรัสต่อไปว่า
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
    การให้ธรรมมะ เป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

    ๒ ศีล รักษาตามฐานะ อันมีทั้ง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 ควรมีพรหมวิหาร 4 ประจำใจเพื่อความตั้งมั่นของศีลในการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ต้องไม่ละเมิดศีลเอง ไม่ยุยงให้คนอื่นละเมิดศีล และ ไม่ยินดีเมื่อคนอื่นละเมิดศีลแล้ว


    ๓ สมาธิ ความตั้งมั่นของจิต(สมาธิจะตั้งมั่นได้ด้วยศีลและศีลจะตั้งมั่นได้ด้วยพรหมวิหาร 4 )โดยเริ่มต้นที่ อาณาปานสติ คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก จนจิตเข้าถึงฌาน ปัญญา คือ การรอบรู้ในกองสังขารทั้งหลายโดยใช้วิปัสสนาญาณ
    การพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย และวางเฉยในกองสังขารทั้งหลาย (นิพพิทาญาณ และ สังขารรุเปกขาญาณ)
    อุปมาเหมือนการโค่นต้นไม้(สักกยะทิฐิ)

    ศีล เปรียบเสมือนดังขวาน
    สมาธิ คือการลับขวานให้คม
    ปัญญา (วิปัสสนาญาณ)คือการฟันโค่นต้นไม้นั่นเอง..
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- edit note -->




    หลวงพ่อรู้ทั้งอดีตและอนาคต

    มีอยู่วันหนึ่ง เรืออากาศตรีชัยชนะ จั่นบำรุง(ยศในขณะนั้น)ซึ่งได้สมัครไปบินรบในสมรภูมิลาว (ขณะนั้นกำลังมีการรบกันอยู่อย่างรุนแรง)ได้ขอติดตามข้าพเจ้าและภรรยาไปกราบหลวงพ่อที่วัดท่าซุง ด้วยความตั้งใจก็เพื่อไปสอบถามหลวงพ่อ ถึงความปลอดภัยของตนในการตัดสินใจไปรบในลาวนั่นเอง ซึ่งหลวงพ่อก็ได้เมตตาบอกว่า
    <O:p
    “ความจริงคุณชัยชนะ ไปคราวนี้ต้องตายนะ แต่บังเอิญเมื่อตอนอายุ 9 ขวบไปพุ่งหลาวโดนน้ำ ศีรษะด้านหลังไปเจอไม้ไผ่ที่เขามัดกันพงผักบุ้ง เสียบเอาถึงเลือดตกยางออกมาแล้ว จึงนับเป็นการชดใช้กรรมไปแล้วส่วนหนึ่ง ดังนั้นการไปบินรบในครั้งนี้แม้เครื่องบินจะถูกยิงตกก็จะไม่ถึงตายนะ จะช่วยทำพิธีแก้ให้เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา”
    <O:p
    ต่อจากนั้น หลวงพ่อก็ให้คุณชัยชนะจัดการปล่อยนก,ปล่อยปลา,ถวายพระพุทธรูป และรดน้ำมนต์ให้(เท่าที่ข้าพเจ้าพอจะจำได้)
    <O:p
    เรื่องที่น่าแปลกในตอนนั้นก็คือ ข้าพเจ้าและบรรดาผู้ติดตามไปในครั้งนั้น แม้จะนั่งอยู่ข้างหลังจนเกือบชิดและช่วยกันมองหาแผลเป็นบน
    <O:p
    ศีรษะของเรืออากาศตรีชัยชนะ สักเพียงใดก็หาเห็นไม่ เพราะผมแกหนาและดกมากปิดบังไว้หมด ต่อเมื่อคุณชัยชนะยอนรับว่า “ตอนอายุ 9 ขวบผมกระโดดน้ำแล้วถูกไม้ไผ่เสียบจริงๆ และบัดนี้แผลเป็นนั้นก็ยังอยู่” ว่าแล้วก็แหวกผมดกหนาที่ปิดบังแผลเป็นออกให้ทุกคนดู
    <O:p
    ต่อมาเรืออากาศตรีชัยชนะ ก็จากกองบิน 4 ไปปฏิบัติภารกิจการบินรบในลาวและใน 2-3 เดือนต่อมา ข้าพเจ้าก็ได้ทราบข่าวว่าเครื่องบินของคุณชัยชนะถูกยิงตก แต่คุณชัยชนะปลอดภัย เพียงแต่แขนเดาะต้องเข้าเผือกอยู่ระยะหนึ่งเท่านั้น และที่น่าแปลกใจมากก็คือ ทางคณะกรรมการที่ไปสอบสวนเครื่องบินตกได้เล่าว่า เครื่องบินของเรืออากาศตรีชัยชนะนั้นน่าที่จะต้องตกเหวอย่างยิ่ง เพราะหัวเครื่องพ้นปากเหวไปเกือบครึ่งลำแล้ว แต่เคราะห์ดีที่ไปพาดบนต้นไม้ใหญ่
    <O:p
    การที่หลวงพ่อรู้ไปถึงอดีตของเรืออากาศตรีชัยชนะ เมื่อตอน 9 ขวบและล่วงรู้ถึงอนาคตอันใกล้ว่าเครื่องบินจะต้องตกอีกทั้งทำพิธีแก้เพื่อผ่อนหนักเป็นเบาให้เช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้ามั่นใจว่าหลวงพ่อต้องได้อตีตังสญาณ และอนาคตตังสญาณ อย่างแน่นอน<O:p

    @@@@@@@@@@@@@@@@@

    อ้างอิง หนังสือ สู่แสงธรรม




    <CENTER><O:p</CENTER><DD>




    <DD>







    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2010
  6. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๖

    คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า
    ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    ควรบูชาพระคาถานี้ ในตอนเช้าของทุกวัน โดยจัดหาภาชนะ ใส่ปัจจัย (เงินทำบุญ) อันควร วางไว้ด้านหน้าพระพุทธรูป จะเป็นบาตรพลาสติด เล็กๆ หรือ จาน ชาม ก็ได้ และเราจะใส่ วันละเท่าไหร่ก็ได้ นะ เช่นวันบาท หรืสองบาท หรือสามบาท อันนี้ แล้วแต่เรานะ แต่ขอให้ ปฏิบัติ ทุกวันอย่าให้ขาด วันใหนขาด ก็สามารถ ใส่ย้อนหลังได้ นะ เรียกว่า ถวายสังฆทาน กันทุกวัน นะ อันนี้ อานิสงค์ สูงมาก นะ

    จบเงินในมือ ว่า
    <O:p


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓จบ )
    <O:p
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
    <O:p

    นำเงินใส่ภาชนะอันควร แล้วกล่าว พระคาถา ๙ จบ
    <O:p


    "วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ
    พุทธัสสะ สวาโหม"(อ่านว่า สะหวา - โหม)
    <O:p

    กล่าวคำอฐิฐาน
    <O:p


    ข้าพเจ้าขอถวายปัจจัยนี้ เป็นสังฆทาน ถวายแด่ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย โดยมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เทอด และหากยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่มี และ อบายภูมิ จงอย่าได้ปรากฏบังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย
    <O:p

    เมื่อมีโอกาสอันควร จงนำเงินนี้ ไปถวาย เป็นสังฆทาน หรือวิหารทาน ตามวัดต่าง ๆ




    คำสมาทานพระกรรมฐาน
    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อ ฤาษี )


    สมาทานศิล ๕<O:p


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)<O:p</O:p


    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p


    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p


    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ<O:p</O:p

    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อทินนาทานา เเวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ



    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลังวิโสทะเย<O:p</O:p


    </O:p


    คำบูชาพระรัตนตรัย<O:p</O:p

    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ สวากขาโต เยนะ ภะคะวาตา ธัมโม<O:p
    สุปะฎิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะนิพพุโตปิ ปัจฉิมมาชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเมสักกาเร ทุคคะตะปัณณา การะภูเต ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ<O:p
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ ( กราบ ) สวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ( กราบ )<O:p
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ( กราบ )<O:p


    คำขอขมาพระรัตนตรัย<O:p



    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง<O:p



    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต<O:p



    กรรมอันใดที่ข้าพเจ้า ได้ประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมี องค์สมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย และ สิ่งศักสิทธิ์ทั่วสากลภิภพ ทั้งในอดีตชาติ และชาติปัจจุบัน ด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย และ สิ่งศักสิทธิ์ทั่วสากลภิภพ ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่ พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ<O:p



    คำสมาทานพระกรรมฐาน<O:p


    ( ว่าพร้อมกัน 3 ครั้ง ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ<O:p
    อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะฉามิ<O:p
    ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพพระพุทธเจ้าทั้งหลาย<O:p
    ขอมอบกาย ถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุธเจ้า <O:p
    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์<O:p
    พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย <O:p
    ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุงเป็นที่สุด <O:p
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะ พระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ<O:p
    พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5<O:p
    และ วิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฏ ในกายทวาร ในวจีทวารในมโนทวาร <O:p
    ของข้าพพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด<O:p
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใสและพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกๆประการ เหตุใด ที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้นโดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด



    เริ่ม่ทำสมาธินะ เมื่อเสร็จแล้ว ก็อุทิศส่วนกุศลนะ
    <O:p


    คำอุทิศส่วนกุศล<O:p

    อิทัง ปุญญะ ผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้<O:p
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เวรทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิหรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ตราบท้าวเข้าสู่พระนิพพาน<O:p
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลนี้ ของข้าพเจ้า ในครั้งนี้ด้วยเถิด<O:p
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนา ส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด<O:p
    ผลบุญใดที่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิด <O:p
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ ( กราบ )<O:p
    สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ( กราบ )<O:p
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ( กราบ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 พฤศจิกายน 2010
  7. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๗

    เรื่องพระพุทธชินราช


    [​IMG]


    ตามที่หลวงพ่อท่านได้สร้าง "พระพุทธชินราช" ประดิษฐานเป็นพระประธานไว้ที่วิหาร 100 เมตร เพื่อไว้สักการะบูชาของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธรูปองค์นี้สร้างได้สวยสดงดงามมาก นอกจากญาติโยมทั้งหลายจะได้อานิสงส์ในการร่วมสร้างกันแล้ว หลวงพ่อท่านได้บอกว่า พระพุทธชินาชองค์นี้ ถ้าเกิดฝนแล้งจะอธิษฐานขอฝนก็ได้
    ในโอกาสนี้จึงขอนำเรื่องราวของพระพุทธชินราช ที่หลวงพ่อเคยประสบเหตุการณ์มาแล้ว มาเล่าสู่กันฟัง...
    เนื่องจากมีผู้หญิงคนหนึ่งนำพระพุทธชินราชมาให้หลวงพ่อปลุกเสก เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว บอกว่า "เอาพระพุทธชินรารมาให้เสก ไม่รู้ฉันจะเสกบทไหน...กลัวท่านจะเสกหัวฉันเข้าน่ะซิ" พอยกมือขึ้นอาราธนาบารมีท่าน...ท่านบอก "มันก็ยี่ห้อเดียวกับแก แกก็ติดชินราช"
    ถูกของท่าน ที่ว่าถูกของท่านคือว่า พระพุทธรูปที่นำมาถวาย ถ้าหากว่ามันไม่เกินวิสัยจริงๆ ฉันต้องทำเรือนแก้วให้ได้ เพราะว่าฉันชอบชินราช เพราะอะไร... "ชินราข" เขาแปลว่า "ชนะ"
    เหตุเกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี

    [​IMG]

    เรื่องพระพุทธชินราช เริ่มต้นมันมีอยู่คราวหนึ่ง คือว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่คิดว่าจะสร้างพระพุทธชินราช คืนหนึ่งก็เข้านอน ตอนหนุ่มๆนะ เป็นพระ ตื่นขึ้นมาตีสอง ตะเกียงมันก็ไม่ได้จุด มันมืดตื้อ เห็นขาวๆหน้าประตูด้านใน เหนือประตูขึ้นไป
    ถามว่า "ใคร?" บอกว่า "ฉัน...พระพุทธชินราช"
    ถามว่า "มายังไงครับ?" บอกว่า "จะมาอยู่ด้วย"
    เราก็นึก เอ....ท่านจะอยู่ยังไง...พอคิดว่าท่านจะอยู่ยังไง...แล้วท่านก็หายไป แต่จิตเรารักพระพุทธชินราชอยู่ตลอดเวลาเพราะท่านสวย ดูแล้วดูไม่อิ่ม
    แล้วก็ปีนั้นต่อมาอีก ๒ เดือน ฉันก็ไปอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วก็จะไปเข้าที่อำเภออู่ทอง ตอนนั้นป่ามันมีเยอะ เราก็จะไปซื้อไม้ที่มันถูกต้องตามกฏหมาย คือว่าต้นไม้ออกจากโรงเรื่อยนี่มันถูก คือออกจากที่นี่มันถูก พอไปก็เอาเรือไปจอดที่ตลาดบางลี่ ก็มีเรือเรี่ยไรอยู่ลำ เขาจอดอยู่ทางด้านโน้น
    พอเรือเราไปจอด ปรากฏว่าพวกผู้หญิง จีนบ้าง ไทยบ้าง แบกโตก แบกขันแตก แบกเครื่องทองเหลือง ลงไปเป็นแถวสัก 20 ราย ขนาดแบกไปเลยนะ
    ไปถึงแวะไปทางเรือก็ถาม "ทำไมโยม...?"
    บอก "เอาเครื่องทองเหลือง ทองขาวทำบุญ"
    "อ้าว...ก็ลำโน้นเขาโฆษณาจะสร้างรอยพระพุทธบาท" ไอ้เราเครื่องขยายเสียงก็ไม่มี จะไปซื้อไม้ เครื่องขยายเสียงจะมีได้ยังไงเล่า เขาถามว่า "จะสร้างอะไร?"
    บอก "ไม่ได้สร้างล่ะ จะมาซื้อไม้"
    คนอื่นเขาก็กลับไปหมด ก็เหลือผู้หญิงจีนอยู่คนหนึ่ง แกไม่ยอมไป แกก็พูดอยู่อย่างนั้นแหละ ถาม"ไม่สร้างอะไรรึ?"
    พูดไป พูดมา พูดมาพูดไป ก็นึกขึ้นมาได้ว่า เราคิดว่าจะสร้างพระพุทธชินราช แต่ว่ากำหนดไว้อีก ๓ ปีจึงจะสร้าง ไม่ได้สร้างปีนั้นเพราะเห็นว่าท่านมาคงจะเป็นสัญญลักษณ์ แกถามขึ้นมาก็เลยนึกขึ้นมาได้"ฉันจะสร้างเมือนกันแหละโยม...แต่อีก ๓ ปี"
    แกบอก "เอางี้ก็แล้วกัน ๓ ปี ฉันจะฝากไปด้วย"
    ได้เรื่องเลย...ขันลงหินแกสวยมาก เราเห็นยังนึกเสียดายของเก่า แต่ว่าของเก่าหรือไม่เก่าเราเสียดายไม่ได้ เวลาสร้างต้องทุบกันแน่ ฝากไปด้วย ๓ ปี ก็ไม่เป็นไร เลยบอกว่า
    "เอางี้ดีกว่าโยม เวลาที่ฉันจะสร้าง ฉันจะมาใหม่"
    แกบอก "ไม่ได้หรอก ดีไม่ดีฉันจะตายเสียก่อน"
    แกก็ให้สตางค์ ๑๐ บาทเป็นค่าแรงงาน ให้ค่าบำเหน็จแล้วแกก็เดินกลับบ้านไป แกกลับขึ้นไปมือเปล่านี่ พวกนั้นก็ถามว่า
    "ขันแกไปไหนล่ะ?"
    "ลำนั้นเขาสร้างเหมือนกันนะ แต่สร้างพระพุทธชินราช"
    แกพูดเท่านั้นแหละ ยายพวกนั้นแบกลงมาอีกแล้ว
    "ท่านทำไมโกหกฉันล่ะ?"
    แล้วกัน แหม..ซวยเลย เราเสียยี่ห้อ บอก "ทำไมเล่า?"
    "ก็ท่านจะสร้างพระพุทธชินราช ทำไมท่านไม่รับของล่ะ" ก็บอกว่า "อีก ๓ ปีนะโยม"
    "อ้าว...ถ้ายังงั้นฉันก็ฝากบ้างสิ" แกก็เลยฝากไว้
    ปรากฏว่า แกถือของลงมา ต่างคนต่างฝาก ก็ไม่ต้องนอนกันละ ปรากฏว่าเรือไม่มีที่นอน ทำยังไงล่ะ...มันชักจะยุ่งเสียแล้ว ก็คิดว่าเรื่องมันใหญ่ไปมากแล้ว เลยต้องตกบันไดพลอยโจน เช้าต้องจอดอยู่อีก เช่าเรือต่อเขาอีกลำ ของมันอยู่ในเรือยนต์เต็ม ก็เช่าเรือเขา เขาถามว่า "เช่าทำไม?" บอก "ใส่ของ"
    เจ้าของเรือเขาก็ดี บอกว่า
    "ไม่ต้องเช่า..วัดนี้ ถ้าวัดอื่นอาจจะต้องเช่า"
    "เสียเวลานะโยม หลายวันนะ"
    "เสียเวลาก็ไม่เป็นไร เรือไม่ได้ใช้"
    เขาก็มาคุมเรือให้เอง เอาของใส่จอดอยู่ที่นั่น รุ่งขึ้นมึงมา กูมา ผลที่สุดเห็นท่ามันจะเต็มลำอยู่แล้ว ทองเหลืองทองขาวนะ ก็จะลากลับ กลับไม่ได้อีกแล้ว เรือวิ่งมาจะออกปากคลอง มึงเรียก กูเรียก ร้องไห้จะตาย ไม่มีที่ใส่ ก็นึกว่า เออ..ตกลงไม้เม้ย..ไม่ต้องหากันละ ไอ้เราอุตส่าห์ไม่เรี่ยไร วิ่งไปเรียบๆ มึงกวักกูกวัก กวักผ้าก็ต้องแวะ ต้องกลับมานอนที่เดิมใหม่ ผลที่สุดก็เลยขึ้นไปที่เทศบาล ถามว่า "มีเครื่องขยายเสียงไหม..ขอเช่า"
    ปลัดเทศบาลก็แปลกเหมือนกัน บอกว่า "ถ้าวัดอื่นต้องเช่า แต่วัดนี้ไม่ต้องเช่า ผมให้พนักงานไปเสร็จ"
    "เออ...ก็ดีเหมือนกัน มีคนร่วมมมือได้ด้วยดี...เสร็จ"
    เป็นอันว่ากว่าจะถึงวัด ทองเหลืองทองขาวเต็มทั้งเรือต่อเรือยนต์ สมัยนั้นเงินมันยังแพงอยู่นะ ยังได้เงินมาอีก ๒ หมื่นบาท มันเป็นการบังคับว่าต้องทำแหงๆ ไม่ทำไม่ได้ ใช่ไหม..


    ฝนตกตั้งแต่เริ่มสร้าง

    [​IMG]

    เมื่อมาหาช่างก็รู้สึกว่ามันพอไปหมด เขาเรียกว่า "พอหมด" ทองก็พอ เงินก็พอ ไปถามเขาว่าจะเอาเท่าไร...ก็พออีก ยังขาดเงินอีกอย่างเดียว คือการจัดงาน อันนี้ไม่ใช่ของแปลก เป็นอันว่าของท่านครบเสร็จ เวลาจัดงานก็มาตกลงกับช่าง ช่างบอกว่า
    "พอเริ่มปั้นหุ่น ฝนตกหนัก ปั้นหุ่นเสร็จ เอาสีผึ้งใส่ ฝนตกอีก เอาดินทรายทับ ฝนตกอีก"
    เขาลากหุ่นไปจากกรุงเทพฯ ไปที่วัดบางนมโค พอไปถึง ฝนตกใหญ่ ทีนี้ก็มาถึงวันหล่อ ตามธรรมดาวันหล่อพระ ฝนต้องตกปรอยๆ ตกหยิมๆ จึงจะดี ใช่ไหม...วันนั้นไม่หยิมละ ล่อเม็ดโป้งๆเลย พอเทเสร็จฝนก็ลงจั้กๆ น้ำนอง พอเลิกแล้วหุ่นเย็นก็ให้ช่างทุบ ช่างไม่ยอมทุบหุ่น บอกว่า
    "ลักษณะอย่างนี้ พระเสียหมด หมายความว่าจะยกหุ่นมากรุงเทพฯเลย แล้วก็มาแต่ง ถ้าเสียหายก็ต้องทำกันใหม่เลย"
    ก็เลยบอกว่า "ไม่ได้หรอก งานมันยังมีอยู่ พิธีกรรมฉันเป็นคนทำนะ พิธีกรรมเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากว่าผลเสียหายเกิดขึ้น ก็แสดงว่าคนที่ทำพิธีกรรมน่ะทำไม่ถูก"
    ช่างแกเกิดไม่ยอมทุบ ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน ผลที่สุดก็ตัดสินใจ เสียเป็นเสีย ลักษณะฝนตกแบบนี้เขาต้องเสีย พอทุบหุ่นออกมาแล้ว เรียบร้อยเกือบไม่ต้องแต่ง อีตาช่างน้ำตาไหล บอกว่า "ผมไม่เคยเจอะเลย"เพราะยังไงๆก็ต้องมาแต่งที่กรุงเทพฯให้เรียบร้อย เอาตะไบขัดให้ดี ใช่ไหม...แล้วก็ปิดทองเสร็จ เขาก็เอาไป
    พอดีฝนมันแล้งจัด ชาวบ้านเขาจะไปเล่นนางแมวนางหมาอะไรนั่นแหละนะ แบบสมัยเก่า ฉันก็ไปยืนที่หน้าต่าง ถามเขาว่า "ทำไมเล่า?" บอก "จะไปเล่นขอฝน"
    บอกว่า "กลับไปเถอะ พรุ่งนี้เขาจะเอาพระพุทธชินราชมาจากกรุงเทพฯ ฝนจะตกตลอดตามที่ต้องการ" ไอ้เราก็โม้ไปอย่างงั้นละ โม้ส่งเดช เจ้าพวกนั้นทำยังไง...วันรุ่งขึ้นมันก็มากันเต็มวัดเลย ไม่ใช่ตำบลเดียว ๒-๓ ตำบล ฝนมันไม่ตกนี่ แกก็มานั่งคอยพระพุทธชินราช ฝนจะตกไหม...
    ไอ้เราก็ชักใจเสีย จะไปไหนก็ไปไม่ได้ ถ้าฝนไม่ตกมันคงทุบเราแน่ ก็เป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ บังเอิญก็ได้ พุทธานุภาพก็ได้ พอเรือที่บรรทุกพระพุทธชินราชไปถึง พอจอดเทียบท่าวัดฝนตก ๒ ชั่วโมงเต็ม ตกขนาดไม่ลืมหูลืมตา ล่อเต็มที่จั้กๆตั้งเวลาได้ ๒ ชั่วโมง
    ก็เป็นอันว่าการแบกพระขึ้นเป็นของไม่ยาก เขาดีใจกันใหญ่ ช่วยแบกพระบ้าง ช่วยแบกคนบ้าง มันล่อกันเต็มที่เลย พอขึ้นมาเสร็จ เขาก็ตั้งกฏเลย แกเลยบังคับต้องทำบุญ ๓ วัน พวกนั้นเขาทำเอง ก็เลยบอกว่า
    "แกจะทำสักกี่ร้อยวันก็เชิญ ฉันอยู่วัดไม่ต้องบิณฑบาต"
    เขาก็ขนกันทำบุญ พอทำบุญเสร็จ เขาเวียนเทียนเสร็จก็เข้าที่ ทีหลังก็ขอท่านตอนเย็น ขอให้ฝนตกพอดีๆเท่าที่ข้าวเขาต้องการ ตกตลอดทุกวัน


    อธิษฐานขอฝนตกที่อื่นก็ได้

    [​IMG]

    ตอนนั้นมีเรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่งก็ไปสร้างโบสถ์ที่ จ. ราชบุรี เขาให้ไปสร้างโบสถ์ แต่มันเป็นที่แนวลึกเข้าไปที่ใกล้ๆแม่น้ำ บางที่เราไปง่าย เขาไม่ให้สร้างหรอก ไอ้ที่ชาวบ้านทำไม่ถึงละเราไป
    ก่อนจะไปก็อาราธนาท่าน ขอบารมีท่าน ไม่ได้แบกท่านไปด้วยหรอกนะ ถ้าเรือบ่ายหน้าเข้าคลองเล็กละก้อ...พอไปถึงที่เรียบร้อย ขอให้ฝนตกใหญ่ ๒ ชั่วโมง แล้วก็ไป ก็น่าแปลกเรือเราไม่ได้บรรทุกท่านไป แต่เรานึกถึงท่าน ขณะที่เรือวิ่งไปเดือนเมษายนไม่มีแสงแดดเลย ไอ้เมฆนี่ที่จะบังทับไปอยู่ตลอดเวลา แปลกดีเหมือนกัน
    เมื่อไปถึง พอเรือเบนเข้าคลองเล็กปรากฏว่าฝนตกพรำๆไปถึงที่พอนั่งเรียบร้อยแล้วฝนตกลงมา 2 ชั่วโมง มีโยมคนหนึ่งมาบอก
    "ท่าน..ดินสูงมาก ได้อีกสักชั่วโมงก็ดี" เอางั้นอีก ไอ้เราก็ปากหมา บอก "เอาตีสองนะโยม...เอาอีก ๒ ชั่วโมง"
    เราก็นึกว่าตีสองใครจะไปนั่งอยู่มันกลับไปหมด ตกก็ตกไม่ตกก็ช่าง มันต้องกลับไปหมด ใช่ไหม...ที่ไหนได้ คนที่มามันไม่ยอมกลับ มันคอยดูตีสองอีก ซวยละเรา...เอายังไงกันแน่นะ มันก็นั่งดูนาฬิกา ถาม "อยู่ทำไม?"
    "ก็ท่านบอกตีสองฝนจะตก"
    เราก็เลยบอกว่า "ฉันพูดไปยังงั้นแหละ ด้วยพุทธานุภาพ ท่านจะให้หรือไม่ให้ ฉันบังคับไม่ได้นะ"
    เขาก็บอก "ไม่เป็นไรนะ เดี๋ยวขอดูใหม่"
    ดาวที่เต็มฟ้าไม่มีมัวสักนิดเดียว เห็นดาวสบาย เค้าก็ไม่มี พอนาฬิกาตีเป๋ง...ลงพั๊วทันที ล่ออีก ๒ ชั่วโมง
    แต่ก็แปลก พอฉันจำจะต้องย้ายวัด เพราะครบ ๒๐ พรรษาตามที่หลวงพ่อปานท่านสั่ง ก็เอามาไม่ได้เพราะว่าเป็นของสงฆ์ พอออกมาไม่ได้ พออยู่ข้างหลังใครไปขอเท่าไรฝนก็ไม่ตกเป็นไง...?
    ถามท่านว่า "ทำไมจึงเป็นยังงั้น?"
    บอก "ไม่มีใครเขารู้จักฉันนี่ แม้แต่ไหว้ยังไหว้ไม่ถูกเลย" นี่เรื่องของพระพุทธชินราช ท่านให้ผลดีจริงๆ

    @@@@@@@@@@@@@@@@@

    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype class=inlineimg id=_x0000_t75 title="Tongue out" alt="" border="0" src="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" o< v:shapetype path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" filled="f" stroked="f" smilieid="24"><O:p
    <O:p
    อ้างอิง หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหา เล่ม ๔</v:shapetype>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤศจิกายน 2010
  8. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๘


    แนวทางเริ่มต้นของนักปฏิบัติ
    นักปฏิบัติควรเริ่มต้นปฏิบัติ ด้วย
    ทาน(เพื่อ ตัดความโลภ)
    ศีล(เพื่อ ตัดความโกรธ)
    ภาวนา(เพื่อ ตัดความหลง)
    เพื่อความสุขในชาตินี้ และ ชาติหน้า และเมื่อการปฏิบัติ เริ่มทรงตัวดีแล้ว ก็มาเริ่มปฏิบัติ ในเรื่องของ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้ถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
    ๑ทาน(การให้) ก็ควรฉลาดในการให้โดยเลือกชนิดของทานและเนื้อนาบุญโดย
    การให้ทาน พระพุทธเจ้าทรงตรัส ไว้อย่างนี้ คือ
    การให้ทานแก่คนที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่ท่านผู้มีศีลบริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระโสดาปัตติผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระโสดาปัตติผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระสกิทาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระสกิทาคามีผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระสกิทาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอนาคามีมรรคครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแก่พระอนาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พรอนาคามีผลครั้งหนึ่ง
    การให้ทานแพรอนาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับให้ทานแก่พระอรหัตมรรคครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระอรหัตมรรค ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระอรหันต์ครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระอรหัตผล ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่ง
    ถวายทานแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง
    มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทานครั้งหนึ่ง
    ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทานครั้งหนึ่ง
    และทรงตรัสต่อไปว่า
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
    การให้ธรรมมะ เป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
    ๒ ศีล รักษาตามฐานะ อันมีทั้ง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 ควรมีพรหมวิหาร 4 ประจำใจเพื่อความตั้งมั่นของศีลในการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ต้องไม่ละเมิดศีลเอง ไม่ยุยงให้คนอื่นละเมิดศีล และ ไม่ยินดีเมื่อคนอื่นละเมิดศีลแล้ว
    ๓ สมาธิ ความตั้งมั่นของจิต(สมาธิจะตั้งมั่นได้ด้วยศีลและศีลจะตั้งมั่นได้ด้วยพรหมวิหาร 4 )โดยเริ่มต้นที่ อาณาปานสติ คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก จนจิตเข้าถึงฌาน ปัญญา คือ การรอบรู้ในกองสังขารทั้งหลายโดยใช้วิปัสสนาญาณ
    การพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย และวางเฉยในกองสังขารทั้งหลาย (นิพพิทาญาณ และ สังขารรุเปกขาญาณ)
    อุปมาเหมือนการโค่นต้นไม้(สักกยะทิฐิ)

    ศีล เปรียบเสมือนดังขวาน
    สมาธิ คือการลับขวานให้คม
    ปัญญา (วิปัสสนาญาณ)คือการฟันโค่นต้นไม้นั่นเอง


    http://siriwichayofunds.siamvip.com/default.aspx?mr=1&titleTh=%CA%C1%D1%A4%C3%CA%C1%D2%AA%D4%A1&titleEn=Member%20Register

    <CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กุมภาพันธ์ 2011
  9. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๙



    [​IMG]


    วิชชาสาม

    อัชฌาสัย เตวิชโช

    อัชฌาสัยเตวิชโช หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชชาสาม คือทรงคุณสามประการ ใน
    ส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้

    ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติที่แล้วๆ มาได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
    ๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป


    เมื่อพิจารณาตามคุณพิเศษสามประการนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าท่านที่มีอุดมคติในด้าน
    เตวิชโชนี้ ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อนจะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิดก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมาได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น


    ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้า เลยนั้น ท่านประเภทนี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทางปลายทางเสียก่อน ถ้าต้องทำแบบคลุมหน้าเดินอย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคาญใจหยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วนใหญ่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้กรรมฐานประเภททิพยจักษุญาณ หรือมโนมยิทธิ เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จะยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้

    <O:p
    แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช
    ทราบแล้วว่า เตวิชโชมีอะไรบ้าง ขอนำแนวปฏิบัติมาเขียนไว้ เพื่อรู้แนวทาง หากท่านผู้อ่านประสงค์จะรู้ หรือจะนำไปปฏิบัติก็จะสะดวกในการค้นคว้า เตวิชโชหรือท่านผู้ทรงวิชชาสาม มีปฏิปทาในการปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ๑. การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
    ๒. ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิญญาเป็นบาท คือกสิณกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐาน
    ให้เกิดทิพยจักษุญาณ กสิณที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณนั้นมีอยู่สามกองด้วยกัน คือ
    ๑. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    ๒. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
    ๓. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว


    กสิณทั้งสามอย่างนี้ อย่างใดก็ตาม เป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุญาณทั้งสิ้น แต่ตามนัย
    วิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้งสามอย่างนี้ อาโลกกสิณเป็นกสิณสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง ท่านว่าเจริญอาโลกกสินั่นแหละเป็นการดี

    วิธีเจริญอาโลกกสิณเพื่อทิพยจักษุญาณ การสร้างทิพยจักษุญาณด้วยการเจริญ อาโลกกสิณนั้น ท่านให้ปฏิบัติดังนี้ ท่านให้เพ่งแสงสว่างที่ลอดมาทางช่องฝาหรือหลังคาให้กำหนดจิตจดจำภาพแสงสว่างนั้นไว้ให้จำได้ดี แล้วหลับตากำหนดนึกถึงภาพแสงสว่างที่มองเห็นนั้น ภาวนาในใจ พร้อมทั้งกำหนดนึกถึงภาพนั้นไปด้วย ภาวนาว่า "อาโลกกสิณัง" แปลว่า แสงสว่างกำหนดนึกไป ภาวนาไป ถ้าภาพแสงสว่างนั้นเลอะเลือนจากไป ก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนภาพนั้นติดตา ติดใจ นึกคิดขึ้นมาเมื่อไร ภาพนั้นก็ปรากฏแก่ใจตลอดเวลา ในขณะที่กำหนดจิตคิดเห็นภาพนั้นระวังอารมณ์จิตจะซ่านออกภายนอก และเมื่อจิตเริ่มมีสมาธิ ภาพอื่นมักเกิดขึ้นมาสอดแทรกภาพกสิณเมื่อปรากฏว่ามีภาพอื่นสอดแทรกเข้ามาจงตัดทิ้งเสีย โดยไม่ยอมรับรู้รับทราบ กำหนดภาพเฉพาะภาพกสิณอย่างเดียว ภาพแทรกเมื่อเราไม่สนใจไยดีไม่ช้าก็ไม่มารบกวนอีก เมื่อภาพนั้นติดตาติดใจ จนเห็นได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะเห็นได้แล้ว และเป็นภาพหนาใหญ่จะกำหนดจิตให้ภาพนั้นเล็ก ใหญ่ได้ตามความประสงค์ ให้สูงต่ำก็ได้ตามใจนึก เมื่อเป็นได้อย่างนั้นก็อย่าเพิ่งคิดว่าได้แล้ว ถึงแล้วจงกำหนดจิตจดจำไว้ตลอดวันตลอดเวลา อย่าให้ภาพแสงสว่างนั้นคลาดจากจิต จงเป็นคนมีเวลา คืออย่าคิดว่าเวลานั้นเถอะเวลานี้เถอะจึงค่อยกำหนด การเป็นคนไม่มีเวลา เพราะหาเวลาเหมาะไม่ได้นั้นท่านว่าเป็นอภัพพบุคคลสำหรับการฝึกญาณ คือเป็นคนหาความเจริญไม่ได้ ไม่มีทางสำหรับมรรคผลเท่าที่ตนปรารถนานั่นเอง ต้องมีจิตคิดนึกถึงภาพกสิณตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ ไม่ยอมให้ภาพนั้นคลาดจากจิต ไม่ว่า กิน นอน นั่ง เดิน ยืน หรือทำกิจการงาน ต่อไปไม่ช้าภาพกสิณก็จะค่อยคลายจากสีเดิม เปลี่ยนเป็นสีใสประกายพรึกน้อยๆ และค่อย ๆ ทวีความสดใสประกายมากขึ้น ในที่สุดก็จะปรากฏเป็นสีประกายสวยสดงดงาม คล้ายดาวประกายพรึกดวงใหญ่ ตอนนี้ก็กำหนดใจให้ภาพนั้นเล็ก โต สูง ต่ำ ตามความต้องการ การกำหนดภาพเล็ก โต สูง ต่ำและเคลื่อนที่ไปมาอย่างนี้ จงพยายามทำให้คล่อง จะเป็นประโยชน์ตอนฝึกมโนมยิทธิ คือ ถอดจิตออกท่องเที่ยวมาก เมื่อภาพปรากฏประจำจิตไม่คลาด เลื่อนได้รวดเร็ว เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว ก็เริ่มฝึกทิพยจักษุญาณได้แล้ว เมื่อฝึกถึงตอนนี้ มีประโยชน์ในการฝึกทิพยจักษุญาณ และฝึกมโนมยิทธิ คือถอดจิตออกท่องเที่ยว และมีผลในญาณต่างๆ ที่เป็นบริวารของทิพยจักษุญาณทั้งหมด เช่น

    ๑. ได้จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วไปเกิด ณ ที่ใด ที่มาเกิดนี้มาจากไหน
    ๒. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตของคนและสัตว์
    ๓. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่เกิดมาแล้วในกาลก่อนได้
    ๔. อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีตได้
    ๕. อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในกาลข้างหน้าต่อไปได้
    ๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้เหตุปัจจุบันว่า ขณะนี้อะไรเป็นอะไรได้
    ๗. ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลกรรมของสัตว์ บุคคล เทวดา และพรหมได้ว่าเขามีสุขมีทุกข์
    เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ


    การฝึกกสิณจนถึงระดับดีมีผลมากอย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงอย่าท้อถอย สำหรับวันเวลาหรือไม่นานตามที่ท่านคิดหรอก จงอย่าเข้าใจว่าต้องใช้เวลาแรมปี คนว่าง่ายสอนง่ายปฏิบัติตามนัยพระพุทธเจ้า สั่งสอนแล้ว ไม่นานเลย นับแต่อย่างเลวจัดๆ ก็สามเดือน เป็นอย่างเลวมาก อย่างดีมากไม่เกิน

    เจ็ดวันเป็นอย่างช้า ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะท่านผู้นั้นเคยได้ทิพยจักษุญาณมาในชาติก่อนๆ ก็ได้เพราะท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรรคว่า "ท่านที่เคยได้ทิพยจักษุญาณมาในชาติก่อนๆ แล้วนั้น พอเห็นแสงสว่างจากช่องฝาหรือหลังคา ก็ได้ทิพยจักษุญาณทันที" เคยพบมาหลายคนเหมือนกัน แม้แต่มโนมยิทธิซึ่งเป็นของยากกว่าหลายร้อยรายที่พอฝึกเดี๋ยวนั้น ไม่ทันถึงชั่วโมงเธอก็ได้เลย ทำเอาครูอายเสียเกือบแย่ เพราะครูเองก็ย่ำต๊อกมาแรมเดือน แรมปี กว่าจะพบดีเอาความรู้นี้มาสอนได้ก็ต้องบุกป่าบุกโคลนขึ้นเขาลำเนาไม้เสียเกือบแย่ แต่ศิษย์คว้าปับได้บุปอย่างนี้ ครูจะไม่อาย แล้วจะไปรออายกันเมื่อไร แต่ก็ภูมิใจอยู่นิดหนึ่งว่า ถึงแม้ครูจะทึบ ก็ยังมีโอกาสมีศิษย์ฉลาดพออวดกับเขาได้กำหนดภาพถอนภาพ เมื่อรู้อานิสงส์อาโลกกสิณแล้ว ก็จะได้แนะวิธีใช้ฌานจากฌานในกสิณต่อไป การเห็นภาพเป็นประกายและรักษาภาพไว้ได้นั้นเป็นฌานต้องการจะดูนรกสวรรค์ พรหมโลก หรืออะไรที่ไหน จงทำดังนี้ กำหนดจิตจับภาพกสิณตามที่กล่าวมาแล้วให้มั่นคง ถ้าอยากดูนรก ก็กำหนด จิตลงต่ำแล้วอธิฐานว่าขอภาพนี้จงหายไป ภาพนรกจงปรากฏขึ้นมาแทน เท่านี้ภาพนรกก็จะปรากฏ อยากดูสวรรค์กำหนดจิตให้สูงขึ้น แล้วคิดว่า ขอภาพกสิณจงหายไป ภาพสวรรค์จงปรากฏแทน ภาพพรหม หรืออย่างอื่นก็ทำเหมือนกัน ถ้าฝึกกสิณคล่องแล้วไม่มีอะไรอธิบายอีก เพราะภาพอื่นที่จะเห็นก็เพราะเห็นภาพกสิณก่อน แล้วกำหนดจิตให้ภาพกสิณหายไป เอาภาพใหม่มาแทน การเห็นก็เห็นทางใจเช่นเดียวกับภาพกสิณ แต่ชำนาญแล้วก็เห็นชัดเหมือนเห็นด้วยตา เล่นให้คล่อง จนพอคิดว่าจะรู้ ก็รู้ได้ทันทีทันใด ไม่ว่าตื่นนอนใหม่ กำลังง่วงจะนอน ร้อน หนาว ปวด เมื่อย หิว เจ็บไข้ได้ป่วยทำได้ ทุกเวลาอย่างนี้ก็ชื่อว่าท่านได้กสิณกองนี้แล้วและได้ทิพยจักษุญาณแล้ว เมื่อได้ทิพยจักษุญาณเสียอย่างเดียว ญาณต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ไม่มีอะไรจะต้องทำ ได้ไปพร้อมๆ กัน เว้นไว้แต่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ท่านว่าต้องมีแบบฝึกต่างหาก แต่ตามผลปฏิบัติพอได้ทิพยจักษุญาณเต็มขนาดแล้ว ก็เห็นระลึกชาติได้กันเป็นแถว ใครจะระลึกได้มาก ได้น้อยเป็นเรื่องของความขยันและขี้เกียจ ใครขยันมาก ก็ระลึกได้มาก ขยันน้อยก็ระลึกได้น้อย ขยันมากคล่องมาก ขยันน้อยคล่องน้อย ไหน ๆ ก็พูดมาถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้ว ขอนำวิธีฝึกปุพเพนิวาสานุสสติญาณมากล่าวต่อกันไว้เสียเลย ฝึกปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การเจริญปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือฝึกวิชาการระลึกชาตินั้น ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ในกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องเป็นฌานในกสิณ อย่างอื่นไม่ได้ นี่ว่าเฉพาะคนเริ่มฝึกใหม่ ไม่เคยได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณมาในชาติก่อนๆ เมื่อเข้าฌาน ๔ แล้ว ออกจากฌาน ๔ มาพักอารมณ์อยู่เพียงอุปจารฌาน เรื่องฌานและอุปจารฌานนี้ขอให้ทำความเข้าใจเอาตอนที่ว่าด้วยฌานจะเขียนต่อไปข้างหน้า หากประสงค์จะทราบก็ขอให้เปิดต่อไปในข้อที่ว่าด้วยฌาน เมื่อพักจิตอยู่เพียงอุปจารฌานแล้ว ก็ค่อย ๆ คิดย้อนถอยหลังถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตตั้งแต่เมื่อตอนสายของวัน ถอยไปตามลำดับถึงวันก่อนๆ เดือนก่อนๆ ปีก่อนๆ และชาติก่อนๆ ตามลำดับ ถ้าจิตฟุ้งซ่านก็พักคิดเข้าฌานใหม่ พอจิตสบายก็ถอยออกมา แล้วถอยไปตามที่กล่าวแล้ว ไม่นานก็จะค่อยๆ รู้ค่อยๆ เห็น การรู้การเห็นเป็นการรู้เห็นด้วยกำลังฌานอันปรากฏเป็นรูปของฌาน คือ รู้เห็นทางใจอย่างเดียวกับทิพยจักษุญาณเห็นคล้ายดูภาพยนต์เห็นภาพพร้อมกับรู้เรื่องราวต่างๆ พร้อมกันไป รู้ชื่อ รู้อาการ รู้ความเป็นมาทุกอย่าง เป็นการสร้างความเพลิดเพลินแก่นักปฏิบัติ ทำให้เกิดความรื่นเริงหรรษา มีความสบายใจเป็นพิเศษ ดีกว่ามั่วสุมกับคนมากที่เต็มไปด้วยกิเลสและตัณหา มีประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาญาณมาก เพราะรู้แจ้งเห็นจริงว่า การเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด หาที่สุดมิได้นี้เป็นความจริง การเกิดแต่ละครั้งก็เต็มไปด้วยความทุกข์ทุรนทุรายไม่มีอะไรเป็นสุข บางคราวเกิดในตระกูลยากจน บางคราวเกิดในตระกูลเศรษฐี บางคราวเกิดในตระกูลกษัตริย์ ทรงอำนาจวาสนา บางคราวเป็นเทวดา บางคราวเป็นพรหม บางคราวเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน รวมความว่าเราเป็นมาแล้วทุกอย่าง ไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาการพ้นทุกข์เพราะการเกิดไม่ได้เลย เมื่อเห็นทุกข์ในการเกิดก็เป็นการเห็นอริยสัจ ๔ จัดว่าเป็นองค์วิปัสสนาญาณ อันดับสูง การเห็นด้วยปัญญาญาณจัดเข้าในประเภทรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่เห็นแบบวิปัสสนึก คือ การคาดคะเนเดาเอาเอง เดาผิดบ้างถูกบ้างตามอารมณ์คิดได้บ้าง หลง ๆ ลืมๆ บ้าง เป็นวิปัสสนึกที่ให้ผลช้าอาจจะเข้าใจในอริยสัจได้แต่ก็นานมากและทุลักทุเลเกินสมควร ที่เหลวเสียนั่นแหละมาก ส่วนที่ได้เป็นมรรคผลมีจำนวนน้อยเต็มทน ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ผ่อนคลายมานะ นอกจากจะทราบประวัติของตนเองในอดีตชาติแล้ว ยังช่วยทำให้มีปัญญาญาณรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจได้โดยง่าย ยิ่งกว่านั้นยังคลายมานะ ความถือตนถือตัว อันเป็นกิเลสตัวสำคัญ ที่แม้พระอนาคามีก็ยังตัดไม่ได้ จะตัดได้ก็ต่อเมื่อถึงอรหัตตผล นั่นแหละ แต่เมื่อท่านได้ญาณนี้แล้ว ถ้าท่านคิดรังเกียจใคร คนหรือสัตว์ รังเกียจในความโสโครก หรือฐานะ ชาติตระกูล ท่านก็ถอยหลังชาติเข้าไปหาว่า ชาติใด เราเคยเป็นอย่างนี้บ้าง ท่านจะพบว่าท่านเองเคยครองตำแหน่งนี้มาก่อน เมื่อพบแล้ว จงเตือนใจตนเองว่า เมื่อเราเป็นอย่างเขามาก่อน เขากับเราก็มีสภาพเสมอกัน เราเป็นอย่างนั้นมาก่อน เขากับเรามีสภาพเสมอกัน เราเป็นอย่างนั้นมาก่อนเขาก็ชื่อว่าเราเป็นต้นตระกูล สภาพการณ์อย่างนั้น ที่เขาเป็นอย่างนั้น เพราะเขารับมรดกตกทอดมาจากเราเราจะมารังเกียจทายาทของเราด้วยเรื่องอะไร ถ้าเรารังเกียจทายาท ก็ควรจะรังเกียจตัวเองให้มากกว่าเพราะทราบแล้วว่าเป็นอย่างนั้นไม่ดี เป็นที่น่ารังเกียจ เราทำไมจึงไม่ทำลายกรรมนั้นเสีย กลับปล่อยให้เป็นมรดกตกทอดมาให้บรรดาอนุชนรุ่นหลังต้องรับกรรมต่อ ๆ กันมา เป็นความชั่วร้ายเลวทรามของเราต่างหาก ไม่ใช่เขาเลว คิดตัดใจว่า เราจะไม่ถือเพศ ชาติตระกูล ฐานะเป็นสำคัญ ใครเป็นอย่างไร ก็มีสภาพเสมอกันโดยเกิดแล้วตายเหมือนกันหมด ฐานะความเป็นอยู่ ชาติ ตระกูล ในปัจจุบัน เป็นเสมือนความฝันเลื่อนลอย ไม่มีอะไรเป็นของจริง ในที่สุดก็ต้องตกเป็นเหยื่อของมัจจุราชทั้งสิ้น คิดตัดอย่างนี้ จะบรรเทามานะ ความถือทะนงตัวเสียได้ ความสุขสงบใจก็จะมีตลอดวันคืน จะก้าวสู่อรหัตตผล ได้อย่างไม่ยากนัก




     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กรกฎาคม 2010
  10. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    พระคำข้าว (พระมหาลาภ) เป็นพระเนื้อผงสีขาวปางมารวิชัย สร้างแบบพระพุทธชินราช มี ๒ รุ่น รุ่นที่ ๑ ปลุกเสกเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๓ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์ รุ่นที่ ๒ สร้าง ๕,๐๐๐,๐๐๐ องค์ ปลุกเสก ๒ ครั้ง คือ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๓ และ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๔ ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อ นั่งในกรอบรูปพัดยศ มีชื่อ พระราชพรหมยาน อยู่ตรงที่นั่ง



    พระหางหมาก (พระมหาลาภ) เป็นพระเนื้อผง สีแดง ปางสมาธิ บางทีก็เรียกพระหางพลู ปลุกเสกเมื่องานเป่ายันต์เกราะเพชร ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ ด้านหน้าใต้ฐานพระเขียนว่า วัดท่าซุง ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อนั่งในกรอบรูปพัดยศ มีชื่อ พระราชพรหมยาน ใต้ที่นั่งและด้านล่างเขียนว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2012
  11. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG] <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กรกฎาคม 2010
  12. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๑๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 สิงหาคม 2012
  13. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๑๓



    บัว ๔ เหล่า
    เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป
    บัว ๔ เหล่า ได้แก่


    ๑. อุคฆฏิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที <O:p

    ๒. วิปจิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป <O:p

    ๓. เนยยะ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง <O:p

    ๔. ปทปรมะ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน <O:p

    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กันยายน 2010
  14. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๑๔


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 ตุลาคม 2010
  15. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ขอเวลานิด ครับ บทเริ่มต้น รอข้อมูล ตอนที่ ๑๕


    พุทธภาษิต


    อะจีรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง<O:p
    ร่างกายนี้ ไม่ช้าก็มีวิญญาณไป ปราศจากวิญญาณแล้ว ร่างกายก็ถูกทอดทิ้งเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์<O:p



    เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
    เตสํ เหตุ ตถาคโต พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ และความดับของธรรมเหล่านั้น


    เอวํ วาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้<O:p




    ปุตโต คีเว
    เชือกคือลูกมัดที่คอ <O:p
    ภริยา หัตเถ
    เชือกคือเมียมัดที่มือ
    ธนัง ปาเท
    เชือกคือสมบัติมัดที่เท้า

    <O:p


    ส่วนสุด ๒ อย่างที่นักปฎิบัติ ควรเลี่ยงเสีย<O:p

    ๑... อัตตกิลมถานุโยค เว้นจากการทรมานตัว นั่งเครียด ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ก็พักผ่อน อย่าไปทรมานมัน มันจะเกิดเป็นโรคประสาท ทำแค่พอดี มันไม่ไหวก็นอนภาวนาให้มันหลับไป<O:p


    ๒.. กามสุขัลลิกานุโยค เวลาที่จะเริ่มภาวนาและพิจารณา ขณะเดียวกันนั้นก็นึกอยากจะได้ชั้นโน้น นึกอยากจะได้ชั้นนี้ นึกอยากจะได้อย่างนั้น ตัวอยากนี่ท่านแปลว่า กาม คือความใคร่ มันทำให้อารมณ์ใจกระสับกระส่าย ไม่มีผลในด้านของความดี<O:p




    มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา<O:p
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ



    เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ.
    ภิกษุทั้งหลาย เรา (ตถาคต) กล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

    <O:p


    นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ<O:p
    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง<O:p



    อโรคฺยปรมา ลาภา<O:p
    ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง<O:p



    วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ<O:p
    คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร<O:p



    อต<SUB>.</SUB>ตนา โจทยต<SUB>.</SUB>ตานํ( อัตตะนา โจทะยัตตานัง )
    จงเตือนตนด้วยตนเอง<O:p



    นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.<O:p
    คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.



    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ<O:p
    การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง<O:p



    กม<SUB>.</SUB>มุนา วต<SUB>.</SUB>ตตี โลโก
    สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม<O:p



    นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา<O:p
    แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี<O:p
    <O:p


    ( ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง )<O:p
    ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม<O:p



    ปูชโก ลภเต ปูชํ<O:p
    ผู้ทำการบูชา ย่อมได้รับการบูชา<O:p


    อนิจจาสังขารา นั้นไม่เที่ยง วะตะเพียงลาลับดับสังขาร<O:p
    สังขารากลายกลับนับชั่วกาล ไม่ช้านานละร่างไปห่างไกล<O:p
    อุปะทะ เกิดกายทั้งชายหญิง ล้วนแต่สิ่งปรุงแต่งตำแหน่งไหน<O:p
    จะดีชั่วปะปนระคนไป งามวิไล อัปลักษณ์ กรรมชักพา<O:p
    วะยะธัมมิโน โอ้แปรเปลี่ยน ต้องหมุนเวียนชั่วกาลนานหนักหนา<O:p
    เกิดแล้วแปร แลเห็นเป็นธรรมดา ไม่นานหนาต้องสิ้น ชีวินไป<O:p
    อุป ปัช ชิตวา ท่านว่าเกิด จะงามเลิศ ขี้เหร่ ไม่เก๋ไก๋<O:p
    เป็นบุรุษ สตรี ศรีวิไล จะเป็นไพร่ เศรษฐี มีเงินทอง<O:p
    นิรุช ฌันติ ต้องดับ กลับร่าง ไม่มีว่างมีเว้น เป็นเจ้าของ<O:p
    ต้องเวียนเกิดเวียนตายเป็นก่ายกอง ตามทำนอง ดำรัส พระศาสดา<O:p
    เตสัง วูปะสะโม อย่าโง่เขลา ทุกค่ำเช้าท่องบ่น มนต์คาถา<O:p
    สงบจิต ใจไว้ ภาวนา คงไม่ช้า ต้องถึง ซึ่งนิพพาน<O:p
    สุโข โอ้สุขแท้ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่หมุนเวียนเข้าระงับ ดับสังขาร<O:p
    ไม่ปรุงแต่งตัวตน ปนวิญญาน ดับดวงมาลย์เชื้อดับไม่กลับมา<O:p
    การเกิดแก่ เจ็บตาย สลายแล้ว เพราะรู้แนว ระงับ ดับสังขาร์<O:p
    นามรูป สงบลับ ดับกิริยา ไม่กลับมาเกิดใหม่ ไร้กังวล
    <O:p
    อันยศลาภ หาบไป ไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ ต้นทุน บุญกุศล<O:p
    ทิ้งสมบัติ ทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตน เขายังเอา ไปเผาไฟ<O:p
    เจ้าเกิดมา มีอะไร มาด้วยเล่า เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
    ตัวเจ้ามา มือเปล่าจะเอาอะไร เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา





    ขออภัย ครับ ข้อมูลทำกระทู้ ที่จะติดตั้งใหม่ ครับ
    อย่าโพสต์ นะครับ ขอบพระคุณ ครับ คือ ผมซุ่ม น่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...