แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ต่างๆ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 20 เมษายน 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์


    แนวทางปฏิบัติธรรมของ
    พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

    [​IMG]
    [​IMG]

    1. เริ่มต้นอริยาบทที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร หรือ รู้ "ตัว"" อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉย ๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อย ล่องลอยตามยถากรรม

    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นตามธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้ พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่าง ที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิต ให้จดจำ จากนั้น ค่อย ๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอ รักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถ ควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอน พลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อ ๆ ไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไร ก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า

    ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิต ที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายใน กายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่สวนไหนของร่างกาย ก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏใน มโนนึกชัดเจนดีก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะ ค่อยๆควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิต ให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอน ความเพียรทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของ พุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ ข้าสึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีว่า ถ้าคม ดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย เจตจำนง ต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธา ตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละ น้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะ ขาดไปเองเพราะคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ "บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครบริกรรมพุทโธ"

    2. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่ออารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละ อารมณ์นั้นทิ้งไปมาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคอง รักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอ ๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบ ๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้นเพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกริยาหรือพฤติแห่จิตได้เอง (จิตปรุง กิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต) "ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ "

    3. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ ภายนอกเมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษา สัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่า ได้ใส่ใจกับมัน) "ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่ รับมาทางอายตนะ 6 "

    4. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไป เรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิม นั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ "คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด"

    5. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่ จิตต่อไปว่ายังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายาม ใช้สติสังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจพฤติ ของจิตได้อย่างละเอียดละออตามขั้นตอนเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนั่นเอง ไปหาปรุง หาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิต ก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถ เพิกรูปปรมาณูวิญญาฯที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ "คำว่า แยกถอดรูป นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง "

    6. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณ์ฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือ ภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำ อำพรางทั้งสิ้น "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"

    7. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาศที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็น สักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้อง เกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผล ต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"

    8. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็น ธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

    การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด
    และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก

    การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ
    (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

    พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อมก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม"

    ดังนี้ จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) นั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด

    เมื่อเปรียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา

    แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุก ๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใด ๆ ไว้เลย

    เมื่อเกิดชาติหน้า เพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิกก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปีแต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว"

    กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือ บุรุษที่สูญเปล่า

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.5 KB
      เปิดดู:
      567
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2015
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร


    คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำ ด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้

    ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
    ๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

    เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภาพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่ ดังนี้ เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจทางถูก และ ละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้ว ได่กล่าวเป็นคติขึ้นว่า เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถืกดงเสือฮ้าย ดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์

    ปัจฉิมโอวาท ของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดย ยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า.. การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง....

    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    [​IMG] [​IMG]

    พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปล่อยวางอย่าไปยึดถือ ตัวกูของกู ตัวเราของเรา มันเป็นเพียงสมมุติ ให้เป็นตัวเราของเราเท่านั้นแหละ ธาตุแท้ มันไม่ได้เป็นของใคร เมื่อมีเหตุ ปัจจัยเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นอย่างนี้ เมื่อหมดเหตุ ปัจจัยมันไปไหน ก็ละลายลงไปสู่พื้นแผ่นดิน ธาตุดินก็ไปสู่ธาตุดิน

    ธาตุน้ำก็ไหล ไปสู่ธาตุน้ำ ไหลไปในอากาศ ธาตุลมก็ไปกับลม ธาตุไฟความร้อนความอบอุ่น มันก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุเหล่านี้เมื่อเขาไหลเข้าไปอยู่ในสภาพของเขา เขาก็ไม่มี ความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร เพราะธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธรรมชาติ ประจำโลกประจำวัฎฎสงสารอันนี้มานับไม่ถ้วนแล้ว มาถึงพวกเราภาวนาจะต้อง ให้รู้เข้าใจ จิตมายึดถือความทุกข์ความเวทนานี้เป็นความหลง

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
    วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

    [​IMG]

    เป็นครูสอนคนอื่นก็ดีอยู่ หากสอนตัวเองด้วยก็จะดีมากขึ้น เราตรวจคะแนนให้คนอื่น ข้อนี้ถูก ข้อนั้นผิด เราเคยตรวจดูตัวเองบ้างหรือเปล่า วันเวลาผ่านไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คะแนนฝ่ายดีกับคะแนนฝ่ายชั่วนั้น ข้างไหนมันมากน้อยกว่ากัน กับไปตรวจตัวเองเด้อ

    ศีลมีมากหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจของเจ้าให้ดีอย่างเดียวให้ดี กาย วาจา ก็จะดีไปด้วยกันนั่นแหละ

    หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร
    วัดป่าแก้ว อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    [​IMG]

    สุขได้สบายได้ แต่สุขสบายเพราะความหลงของใจ ถ้าเกิดโรคภัย เจ็บปวดขึ้น เขาจะมาเต้นรำขนาดไหนให้ดูมันก็ไม่เพลิน จะเอาเงินจะเอาทอง มาวางกองเทินไว้ใหญ่โตขนาดไหน มันก็ไม่มีความสุข เพราะใจมันเป็นทุกข์ มันห่วง มันหวงในชีวิต คนที่ไม่มีความสุขของใจ โดยส่วนใหญ่ไปสถานที่ใด ใครเข้ามาหาก็บ่นทุกข์อย่างนั้น ก็บ่นทุกข์อย่างนี้ ทั้งๆ ที่มีสมบูรณ์ทุกอย่าง บ้านช่องห้องหออะไรก็ใหญ่โต เงินทองข้าวของอะไรเยอะแยะ แต่ก็บ่นว่า ทุกข์ ทุกข์ มันทุกข์อะไร มันทุกข์ใจ

    หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ชา สุภทฺโท
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


    [​IMG]

    ธรรมดาๆ ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้ไม่มีอะไรทำไมใครเลย ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารย์เลย ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดาๆ แต่เราพูดธรรมดาได้ แต่มองไม่เห็นธรรมดา แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ ไม่มีอะไรเป็นอะไรแล้ว มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้น เราก็สงบ การปฏิบัติคืออำนาจ พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย แม้ก้อนทองคำก็ไม่มีราคา ถ้าเราไม่มารวมกันว่ามันเป็นโลหะที่ดีมีราคา ทองคำมันก็ถูกทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ

    หลวงปู่ชา สุภัทโท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดป่าถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำพู จ.อุดรธานี

    "คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีลมีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ ก็ต้องได้รับผลกรรมทั้งกรรมด ีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน เหตุนี้ เราจึงควรทำกุศล รักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วทำสมาธิจะมีความสงบสงัด จิตรวมลงได้ง่าย เพราะมันเย็น มันราบรื่นดี ไม่มีลุ่มไม่มีดอน จงพากันทำไปใน อิริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ได้ แล้วแต่ความถนัด แล้วแต่จริต อันใดมันสะดวกสบายใจ หายใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก"

    หลวงปู่ขาว อนาลโย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร


    ถ้าจิตของเราเป็นกุศล มันเป็นยังไงคือ จิตมีความสงบ มันไม่ส่งหน้า ส่งหลัง ส่งซ้าย ส่งขวา เบื้องบน เบื้องล่าง ตั้งอยู่จำเพาะท่ามกลางผู้รู้ มันมีใจเยือก ใจเย็น ใจสุข ใจสบายจิตเบา กายมันก็เบา ไม่หนักไม่หน่วงไม่ง่วงไม่เหงา หายทุกข์ หายยาก หายความลำบาก รำคาญ สบายอกสบายใจ

    นั่นแหละตัวบุญตัวกุศลแท้ นี้จะได้เป็นบุญเป็นบารมีของเรา เป็นนิสัยของเรา ติดตนนำตัว ไปทุกภพทุกชาติ นี่แหละให้เข้าใจไว้ จิตของเราสงบเป็นสมาธิ คือ กุศล อกุศลเป็นยังไง คือ จิตเราไม่ดี จิตทะเยอทะยาน จิตดิ้นรนพะวักพะวง จิตทุกข์ จิตยาก จิตไม่มีความสงบ มันเลยเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรม อกุศลธรรม อันนี้ว่าเป็นกรรมในศาสนาท่านว่า กรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในที่อื่น กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมนั้นเป็นของๆ ตนกลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหริอเป็นบาป เราจะได้นับผลของกรรมนั้นสืบไปเราจะรู้ได้อย่างไง กุศลกรรม พิจารณาดูซี่ กรรมทั้งหลายมันไม่ได้อยู่อื ่นกายกรรม แน่ะ มันอยู่ในกายของเรานี้

    มันเกิดจากกายของเรานี้ วจีกรรม มันเกิดจากวาจาของเรานี้ ไม่ได้เกิดจากอื่นไกล มโนกรรม มันเกิดจากดวงใจของเรานี้แหละ ให้รู้จักไว้ต่อไปเราไม่ต้องสงสัยว่า กรรมมันมาจากไหน ใครเป็นผู้ทำล่ะเดี๋ยวนี้เรารู้ เราเป็นผู้ทำเอง ไม่ใช่เทวบุตรเทวดาทำให้ เราทำเอาเองที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้หละ เราทำบุญบุญอันนี้ เป็นอย่างเลิศประเสริฐแท้คือเราให้ทานร้อยหน พันหน ก็ตาม อานิสงส์ไม่เท่าเรานั่งสมาธินี้มีผลานิสงส์ เหมือนทำบุญอย่างที่สุดแล้ว

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.2 KB
      เปิดดู:
      311
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2015
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    จะหยุด จะอยู่ ไม่หยุด ไม่อยู่ อย่างไรก็เรื่องของจิต
    หน้าที่ของเราทุกคนต้องมีข้อวัตร ให้มีสติ สมาธิตั้งใจให้มั่น
    รวมจิตรวมใจให้มาอยู่ภายใน "ไม่ให้ไปตามอาการภายนอก"
    จิตใจคนเราอยู่ภายในหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ...
    ให้อยู่ภายในนี่แหละ "ไม่ต้องคิดไปที่อื่น"

    ถ้ามันจากนี้ไปก็บ่มีที่สิ้น ที่สุดเอาอะไรไม่ได้
    "คิดไกลออกไปก็ยิ่งหลงเท่านั้น"
    เอาให้ใกล้เข้ามา ให้มาทำความรู้สึกที่นี้
    มาภาวนาที่จิตใจดวงที่มีความรู้อยู่

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2015
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ดุลย์ อตุโล
    วัดบูรพาราม ถ.กรุงศรีใน อ.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    [​IMG]

    ธรรมโอวาท

    สำหรับหลวงปู่นั้น ท่านเล่าว่าได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สญฺญา อนตฺตา" ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เดิความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับได้แล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า

    1. จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย
    2. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์
    3. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    4. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

    แล้วท่านเล่าว่า เมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจทั้ง 4 ได้ดังนี้แล้ว ก็ได้พิจารณาทำความเข้าใจใน ปฏิจฺจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย คติธรรม ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ "อย่าส่งจิตออกนอก" "จงหยุดคิดให้ได้" "คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้ แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้" "คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี"

    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่บุดดา ถาวโร
    วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี


    "กายเดียว จิตเดียว"

    ธรรมะเป็นอย่างไร
    ธรรมะก็หนังแผ่นเดียวนะซิ จิตเดียวนะซิ

    มีหนังแผ่นเดียวมีจิตดวงเดียวเท่านั้น
    ก็หนังแผ่นเดียวมันหุ้มอยู่ทั้งหมดกับทะลุ ๙ ช่อง
    นะวะทะวารัง (นว=๙ , ทวาร=ช่อง)
    ทะลุทางตา๒ หู๒ จมูก๒ ปาก ทวารหนัก ทวารเบา

    ศาสนาอยู่ที่กายยาววา หนาคืบ กว้างศอกนี้เอง
    เห็นเป็นกลางทั่วไปทั้งภายในภายนอก
    ผู้ปฏิบัติต้องเห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นธรรม

    หน้าเศร้า ๆ เพราะมันไม่อยู่กับที่
    ไม่อยู่กับหนัง กับจิต
    มันไปอยู่กับอารมณ์
    ประเดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวก็หัวเราะ
    มันแน่นอนเสียเมื่อไรน่ะโลกน่ะ
    ชอบใจก็หัวเราะ ไม่ชอบใจก็ร้องไห้

    อวิชชามันบัง
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนังมันบังซะ

    ให้ตายอย่างที่ผู้ที่เขารู้เขาถึงซิ
    จะได้รู้ได้ถึงกับเขาบ้าง
    กายเดียว จิตเดียว
    เอโกธัมโมไปไหนก็มีแต่ธรรมะ
    หายใจออกก็มีธรรมะ
    หายใจเข้าก็มีแต่ธรรมะจนเข้าถึงธรรมะ

    โลกุตตรธรรมมันอยู่ที่จิตเดียว จิตนี่ล่ะมันรับธรรม
    นอกจากกายกับจิตแล้ว จะไปรับที่ไหน

    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 180PX-~1.JPG
      180PX-~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      11.3 KB
      เปิดดู:
      359
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
    วัดบรรพตคีรี อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร


    "การพิจารณาไตรลักษณให้เห็นชัดประจักษ์แจ้งนี้นา ไม่หวังว่า จะหอบใส่รถไปพระนิพพานด้วยหรอก อนิจจาเอ๋ย พิจารณาเพื่อถอนความหลง ของเจ้าตัวที่เข้าใจผิดว่าเป็นของเที่ยงเป็นของสุข เป็นตัวเราเขาสัตว์บุคคล ต่างหาก เพื่อให้หน่ายความหลงของเจ้าตัวที่เคยหลงมาอวิชชาก็ว่าปัญญา เป็นหัวหน้าของสมาธิและศีลตอนนี้มีพระกำลังมาก"

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pula_125.jpg
      pula_125.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.8 KB
      เปิดดู:
      285
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  14. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
    สาธุ อนุโมทนา ครับ
    ขออนุญาติเก็บลงเครื่องส่วนตัวด้วยนะครับ
     
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่กินรี จนฺทิโย
    วัดกัณตศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ .ธาตุพนม จ.นครพนม

    [​IMG]

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแพร่ศาสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่าแต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น

    - เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า "ระวังให้ดีถ้าท่านรักใครคิดถึงใครเป็นห่วงใครผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน"
    - ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ
    - สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบครอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงไหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น
    - ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที่สุด
    - สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง
    - จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู
    - บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์
    - ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาทเข้าใจการเลี้ยงชีวิต ตามสมควรจึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
    - คนโกรธที่วาจาหยาบ
    - วาจา เช่น เดียวกับใจ
    - ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน
    - กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความอยากไม่มี
    - ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น
    - โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    วัดอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

    ธรรมโอวาท

    สำหรับการแสดงธรรมเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมนั้น ท่านแสดงธรรมอย่างตรงไปตรงมา แสดงธรรมตามทัศนะของท่าน มีคนชอบฟังมาก หลวงปู่เล่าว่า โลกนี้เขามีเครื่องผูกอันเหนียวแน่น ยากที่จะตัดได้ด้วยอย่างอื่น นอกจากพระธรรมของพระพุทธเจ้า มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องทำบาป เมื่อทำแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมที่เราทำไว้ พ่อแม่เรานั้นทำกรรม เราเกิดมาก็ทำกรรมไปอะไรที่สุดของกรรม ไม่มีใครรู้ได้ทำบาปแล้วมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย

    1. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นโสดาปัตติมรรค จิตก็เป็นโสดาปัตติผล

    2. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นพระสกิทาคามิมรรค จิตก็เป็นพระสกิทาคามิผล

    3. จิตตานุปัสสนา จิตไม่คิดมีผัวเมีย ออกบวช จิตก็เป็นพระอนาคามิมรรค จิต ก็เป็นพระอนาคามิผล

    4. จิตตานุปัสสนา จิตไม่กล่าวมุสาวาท จิตก็เป็นพระอรหัตมรรค จิตก็เป็นพระอรหัตผลอีกนัยหนึ่ง


    1. จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

    2. จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

    3. จิตออกบวช จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

    4. จิตไม่ขี้ปด จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน


    หลวงปู่สอนว่า "ธรรมะคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เองมิใช้อื่น พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้ เองมิใช้ใครอื่น เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกไข่ ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ" หรือ... "ธรรมะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการทำอะไรจริงจัง คือการตัดสินใจอย่างแน่นอนลงไป แล้วเลือกเฟ้นธรรมปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานหรอกเราก็จะได้พบสิ่งที่เราต้องการความกลัวทุกอย่างจะหายไปหมด ถ้าเราตัดสินใจอย่างใดแล้วคือเราต้องเป็นคนมีจุดมุ่งหมายอย่างหลวงตา นับตั้งแต่บวชมาได้ตัดสินใจปฏิบัติธรรมะอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้ไม่เคยลดละและท้อถอยเลย" หรือ.....

    "นักธรรม นักกรรมฐานต้องมีนิสัยอย่างเสือโคร่ง คือ

    1. น้ำจิตน้ำใจต้องแข็งแกร่งกล้าหาญไม่กลัวต่ออันตรายใดๆ
    2. ต้องเที่ยวไปในกลางคืนได้
    3. ชอบอยู่ในที่สงัดจากคน
    4. ทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย" หรือ.... "สัตว์เดรัจฉานมันดีกว่าคนตรงที่มันไม่มีมายา ไม่หลอกลวงใคร มีครูอาจารย์ก็คือคนเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสาร คนเราซิโง่เป็นพุทธะได้ แต่หลอกลวงตนเองว่าเป็นไปไม่ได้ ร่างกายก็มีให้พิจารณาว่าเป็นของเน่าเป็นของเหม็น แต่เราพิจารณาว่าเป็นของหอมน่ารัก โง่ไหมคนเรา" และเมื่อเทศน์จบลงท่านชอบถามผู้ฟังว่า "ฟังเทศน์หลวงตาดีไหม" คำถามเช่นนี้ ท่านบอกว่า หมายถึงการฟังธรรมครั้งนี้ได้รับความสงบเย็นของจิตไหม และเกิดสังเวชในความชั่วไหม? ท่านชอบตักเตือนเสมอว่าการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างที่ท่าน

    บูรพาจารย์ทั้งหลายดำเนินมานั้นท่านพยายามไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติธรรม พยายามให้เกิดความสนใจในธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ การที่เราเกิดความเบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัตินี้เป็นการที่เราจะดำเนินไปไม่ได้นาน และจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก แต่เกิดความสังเวชในธรรมบางอย่างนั้นเป็นการดี เพราะจะเป็นประโยชน์แก่เราผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วไม่เป็นไร เพราะถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วแล้วก็เร่งพยายามทำความดีต่อไป

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.7 KB
      เปิดดู:
      286
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2015
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส
    วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    [​IMG]

    หลักธรรมที่หลวงปู่บัวพาเทศนาอบรมสั่งสอนมักจะเป็นเรื่องการฝึกฝนอบรมจิตใจและการรู้จักสภาพที่แท้จริงของจิต ท่านสอนว่า

    "ธรรมชาติของปกติจิต คือพื้นที่ของภวังคจิต เป็นจิตที่ผ่องใสไพโรจน์ จิตที่แปรผันออกจากพื้นที่ของมันเพราะตัวอวิชชา คือ ความไม่รู้เท่าทันต่อโลก ไม่รู้เท่าทันต่ออารมณ์ จิตจึงได้ผันแปรออกจาก "ความปกติ" (หมายถึงความสงบ) แล้วกลายเป็นบุญหรือกลายเป็นบาป บุญก็ดีบาปก็ดีท่านเรียกว่า "เจตสิกธรรม" ซึ่งมีอยู่ประจำโลก เป็นกลางๆ ไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ บุญหรือบาปไม่ได้วิ่งเข้าไปหาใครมีแต่ตัวบุคคลเท่านั้นที่วิ่งเข้าไปหาบุญแลบาป

    บุญนั้นมีผลเป็นความสุข ส่วนบาปมีผลเป็นความทุกข์ อารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ จึงเปรียบเหมือนลม 6 จำพวก ทวาร 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และหทัยวัตถุ เปรียบเหมือนฝั่งมหาสมุทร จิตใจของคนเราก็เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร เมื่อลม 6 จำพวก เกิดเป็นพายุใหญ่ในเวลาฝนตกทำให้น้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นแล้วระลอกใหญ่โตเรือ แพ หลบไม่ทันก็ล่มจมเสียหายขึ้นนี้ฉันใด อุปมัยดังพาลชนไม่รู้เท่าทันโลก ไม่รู้เท่าทันอารมณ์ปล่อยให้โลกเข้ามาประสมธรรมปล่อยให้อารมณ์เข้ามาประสมจิต จึงเกิดราคะ โทสะ โมหะ ถ้าอยากเห็นวิมุตติ ก็ให้เพิกถอนสมมุติออกให้หมดเพราะโลกบังธรรม อารมณ์บังจิตฉันใด สมมุติก็บังวิมุตติฉันนั้น คนเราควรใช้สติปัญญาเป็นกล้องส่องใจจะได้รู้ว่าสภาพที่แท้จริงของจิตเป็นอย่างไร"


    หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    หลวงปู่มักจะเทศน์เรื่อง ไตรสรณคมน์หรือศีล 5 มากกว่าธรรมข้ออื่น ซึ่งดูเผินๆ เหมือนเป็นหญ้าปากคอก แต่ท่านว่านี่แหละคือ รากฐานของการบำเพ็ญเพียรภาวนาถ้าไม่มีฐานไม่มีศีลรองรับ ก็ยากจะดำเนินความเพียรได้ เพราะ อาทิ สีลํ ปติฎฺฐา จ กลฺยาณญฺจ มาตฺกํ ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป เพราะฉะนั้นความชำระศีลให้บริสุทธิ์

    หลวงปู่จะเทศน์ เป็นวลีสั้นๆ ประโยคสั้นๆ แต่ก็เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ถ้าปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ และพิจารณาได้ พิจารณาจริง พิจารณาถูก พิจารณาตรง พิจารณาชอบ ...แน่นอน มรรคผลนั้นคงอยู่แค่เอื้อมนั่นเอง เทศน์ที่สั้นที่สุด วาง พิจารณาตน วางตัวเจ้าของ จิตตะในอิทธิบาท 5 เอาใจใส่ มรณานุสฺสติ ให้พิจารณาความตาย... นั่งก็ตาย นอนก็ตาย ยืนก็ตาย เดินก็ตาย

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม ต.ใน เมือง อ.เมือง จ.นครพนม

    พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ เป็นพระสงฆ์ที่แสดงธรรมได้จับใจไพเราะมีโวหารปฏิภาณดี ธรรมโอวาทของท่านที่พร่ำสอนพระภิกษุสามเณรและญาติโยมอยู่เสมอคือเรื่อง "การเตรียมตัวเตรียมใจ" ซึ่งมีใจความดังนี้ "

    เราเกิดมาในชาติหนึ่งๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายของเรา เหมือนเรือไหลล่อง ผู้เป็นเจ้าของต้องเตรียมตัวระมัดระวัง หางเสือของเรือไว้ให้ดี ผู้ใดเผลอผู้ใดประมาท ผู้นั้นมอบกายของตน ให้เป็นเรือไหลล่องไปตามกระแสน้ำ ผู้นั้นเรียกว่า โง่น่าเกลียดฉลาดน่าชัง เป็นยาพิษ เรือที่เรานั่งไปนั้นหากมันล่มลงในกลางน้ำ จระเข้ก็จะไล่กิน กระโดดขึ้นมาบนดิน ฝูงแตนก็ไล่ต่อย คนเราเกิดมามีกิเลส เรียกว่า กิเลสวัฏฏะ เป็นเชือกผูกมัดคอ ผู้มีกิเลสต้องทำกรรม เรียกว่า กรรมวัฏฏะ ซึ่งก็เป็นเชือกมัดคออีกเส้นหนึ่ง ผู้ที่ทำกรรมไว้ย่อมจะได้เสวยผลของการ กระทำ เรียกว่า วิปากวัฏฏะ เป็นเชือกเส้นที่สามมัดคอไว้ในเรือนจำ เราทุกคนต้องสร้างสมอบรมปัญญา ซึ่งสามารถทำลายเรือนจำให้แตก ผู้ใดทำลายเรือนจำไม่ได้ ผู้นั้นก็จะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะนี้เรื่อยไป


    เพราะฉะนั้น เราทุกคนจะต้องเตรียมตัวเป็นนักกีฬา ต่อสู้ทำลายเรือนจำให้มันแตก อย่าให้มันขังเราไว้ต่อไป คนเราจะไปสวรรค์ก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ไปสู่อบายภูมิก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องดำเนินชีวิตในทางที่ดีที่งาม อยากดีต้องทำดีเป็น อยากได้ต้องทำได้เป็น อยากดีต้องละเว้นทางเสื่อม ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ นิททาสีลี อย่าพากันนอนตื่นสาย สภาสีลี ผู้ใดอยากดี อย่าพากันพูดเล่น อนุฏฐาตา ผู้ใดอยากดี ให้พากันขยันหมั่นเพียร อลโส ผู้ใดอยากดี อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ผู้ใดอวดเก่ง ผู้นั้นเป็นคนขี้ขลาดผู้ใดอวดฉลาดผู้นั้นเป็นคนโง่ ผู้ใดคุยโว ผู้นั้นเป็นคนไม่เอาถ่าน อยากเป็นคนดีต้องทำดีถูก เรียนหนังสือเพื่อรู้ ดูหนังสือเพื่อจำ ทำอะไรต้องหวังผล เกิดมาเป็นคนต้องมีความคิด อุบายเครื่องพ้นทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อื่นไกล หากแต่อยู่ที่มีสติสัมปชัญญะรอบคอบในทุกอิริยาบถ

    หลวงปู่จันทร์ เขมิโย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2015
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    โอวาทธรรมหลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญพโล
    วัดป่าแสนสำราญ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    ท่านอริยะย่อมอยู่เป็นสุขก็เพราะมีธรรมเป็นที่พึ่งและที่อาศัย ดังต่อไปนี้
    1. สักกายทิฐิ ไม่เห็นกายเป็นตน ไม่เห็นตนเป็นกาย ไม่เห็นกายมีในตน ไม่เห็นตนมีในกาย เหล่านี้เป็นต้น เช่น ใน เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็เหมือนกัน
    2. วิจิกิจฉา ท่านข้ามทิฐิทั้ง 2 ได้แล้ว เชื่อต่อกรรม และ ผลของกรรม
    3. สีลัพพตปรามาส ท่านเป็นผู้ไม่ถอยหลัง มีแต่เจริญก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด ท่านพิจารณาเห็นแล้วในสัจธรรมตามเป็นจริงว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่คือธรรม เป็นที่ดับทุกข์ นี่คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม อันเป็นที่ดับทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ดังนี้

    หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญพโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...