แก่นสารพระพุทธศาสนา (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sirisuk, 13 สิงหาคม 2010.

  1. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    แก่นสารพระพุทธศาสนา
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    “แท้ที่จริงนั้น แก่นสารของพระพุทธศาสนาต้องการปฏิบัติกาย วาจา ใจ
    ของตนให้บริสุทธิ์” “พระพุทธศาสนามิได้สอนให้ถือ แต่สอนให้ปฏิบัติ”

    วัดที่ตัวเรา
    ผู้นับถือพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสไปวัดไปวา เราอยู่ที่บ้านจงให้พากันมีวัดภายใน
    คือ ที่ตัวของเรา ที่บ้านของเราทุกๆ คน วัด คือ สถานที่ที่เราจะต้องบำเพ็ญคุณงามความดี

    พุทธศาสนาสอนกาย วาจา แลใจ
    พุทธศาสนาสอนกาย วาจา แลใจนี้อย่างเดียว ไม่ได้สอนสิ่งอื่นนอกจากสามสิ่งนี้
    สามสิ่งนี้เป็นหลัก จะสอนศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่พ้นจากหลักทั้งสามอย่างนี้

    ทำไมเราจึงละทุกข์ไม่ได้
    คำสอนของพระพุทธองค์ตรัสว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ แต่ทำไมเราจึงละทุกข์ไม่ได้
    ก็เพราะปัญญาของเราไม่พอ

    พุทธศาสนามีที่จบ
    เราเชื่อมั่นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรมของจริงแท้แน่นอน เป็นนิยยานิกธรรม
    นำผู้ปฏิบัติตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง อาตมาจึงว่าการศึกษาพุทธศาสนามีที่จบ

    พระพุทธรูป
    พระพุทธรูปนี้ คือ รูปของพระพุทธเจ้า หรือรูปนี้เป็นรูปของครูบาอาจารย์ของเรา
    เราเคารพนับถือคุณงามความดีของท่าน แล้วเราทำดีอยู่ตลอดเวลา เห็นรูปนั้น นึกถึงคุณของท่าน
    เพราะท่านทำดีอย่างนี้ๆ ท่านจึงได้เป็นอย่างนี้ จึงได้เป็นรูปอย่างนี้
    แล้วเราก็ทำความดี ไม่กล้าทำความชั่ว เมื่อเราทำความชั่ว เรานึกถึงรูป
    นึกถึงคุณของท่านแล้วเราก็จะละอายใจ ละความชั่วอันนั้นเสีย การนับถือเช่นนั้น
    ไม่มีเสื่อมคลายตลอดเวลาเลย เราจะทำความดีตลอดเวลา
    แต่จะให้อยู่ยงคงกระพันนั้นไม่ใช่ ให้เข้าใจโดยนัยที่อธิบายมาให้ฟังนี้

    ความรู้เรื่องจิตใจเรียกว่า “วิชชา”
    พระพุทธศาสนาสอนให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรานี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเรา
    สอนออกไปนอกนั้น นั่นไม่ใช่พุทธศาสนา มันเป็นโลก เห็นอย่างไรเรียกว่าเห็นธรรม
    เห็นภายนอกด้วยตาว่าเราเป็นก้อนทุกข์ ทั้งเห็นภายในคือ เห็นชัดด้วยใจด้วยเห็นเป็นธรรมทั้งหมด
    เราต้องพิจารณาให้ถึงสภาวะตามเป็นจริงของสังขาร ให้เห็นชัดอย่างนั้นว่ามันเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ
    เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่ตัวตนของเรา เรามัวเมามันก็หลงนะซิ หลงสมมติว่าเป็นตัวเป็นตน
    จิตธรรมชาติเป็นของผ่องใส อาคันตุกะกิเลสมันพาให้เศร้าหมอง
    ที่มาหัดทำสมาธิภาวนานี้ ก็เพื่อขัดเกลาให้กิเลสหมดสิ้นไป เพื่อให้มันใสสะอาดคืนตามสภาพเดิม
    ให้เห็นจิตเห็นใจของตน จิตเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไร
    ความรู้เรื่องของจิตของใจนี้แหละเรียกว่า “วิชชา” เกิดขึ้นแล้วเป็นปัญญาเกิดขึ้นแล้ว

    พระพุทธศาสนามีที่สุด
    พระพุทธศาสนานี้ สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุด หมดสิ้นสงสัย หมดเรื่อง ไม่เหมือนวิชาชีพอื่น
    เขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด จึงว่าพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้น ทำไม่ถึงที่สุด
    จึงจำเป็นต้องทำสมาธิบ่อย ๆ จนกว่ามันจะถึงที่สุด

    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นของอันเดียว มีความดีเกี่ยวพันกันตลอดหมด

    ตรงไปตรงมา แต่คนไม่ชอบ
    พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น ตรงไปตรงมา แต่คนไม่ชอบ บังไว้ ปกปิดไว้ มันจึงไม่เห็นของจริง
    พระองค์สอนตรงไปตรงมาเลย ท่านบอกว่าร่างกายเหมือนกับซากอสุภะ
    ท่านว่าอย่างนั้น เป็นของปฏิกูลโสโครก มีคนใดมาพูดว่าเราสกปรกนี่ โกรธใหญ่ ไม่ชอบใจเลย

    ฉลาดขึ้นมาบ้าง
    คนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง

    แก่นสารพระพุทธศาสนา
    แท้ที่จริงนั้น แก่นสารพระพุทธศาสนา คือการปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์
    ตามคำสอนของพระพุทธองค์

    พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อกรรม
    พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ผู้ใดทำกรรมดี
    ย่อมได้รับผลของกรรมดี ผู้ใดทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว คนอื่นจะรับแทนไม่ได้

    ทำดีด้วยตนเอง
    พระพุทธเจ้าทรงสอน แต่ให้ทำดีด้วยตนเอง ย่อมได้ผลดีด้วยตนเอง (คือสิ่งที่เป็นมงคล)
    ไม่ได้สอนให้คนอื่นทำให้ หรือทำให้คนอื่น

    ปฏิบัติธรรมเพื่อรู้ถึงความเป็นจริง
    ผู้มาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือมาปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์
    ก็หวังเพื่อให้รู้ถึงของจริงตามความเป็นจริง จะได้หายจากความหลงในสิ่งนั้นๆ

    พระพุทธองค์สอนของจริง
    ที่จริง คำสอนของพระพุทธองค์สอนของจริง ให้เห็นตามเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง
    พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจตามเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น จะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม
    เกิดขึ้นแล้ว มันไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นทุกข์ เมื่อผู้มาพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
    เห็นจริงดังนี้แล้ว ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น เบื่อหน่าย ปล่อยวางในสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว
    ย่อมมองเข้ามาเห็นจิตของตนผ่องใส คราวนี้เห็นจิตของตนแล้ว
    เมื่อเห็นจิตแล้ว มองดูเฉพาะจิตนั้น ไม่มองดูทุกข์ จิตนั้นก็เป็นอันหนึ่ง
    ทุกข์กลายเป็นอันหนึ่งของมันต่างหาก

    เมื่อมองลึกเข้าไปก็เห็นแต่ใจ คือมีอารมณ์อันหนึ่งของมันต่างหาก
    จะไม่เกี่ยวข้องด้วยอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

    กายกับใจ
    พุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ได้สอนที่อื่นนอกจาก “กายกับใจ”

    ร่างกายเป็นก้อนทุกข์
    พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนว่า ร่างกายของคนเรานี้เป็นก้อนทุกข์ มีชาติเป็นต้น และมีมรณะเป็นที่สุด
    เป็นของน่าเกลียด ควรเบื่อหน่าย ควรปล่อยวาง ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของตน
    เพราะมันไม่เป็นไปในอำนาจของตน

    แก่นสารพระพุทธศาสนา
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    .......................
    คุณเสรี ลพยิ้ม



    http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=416.0

    (^)(^)(^)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2010
  2. Bill2541

    Bill2541 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +159
    hp_dayhp_day
    จิ.เจ.รุ.นิ.
    ...พุทโธ...

    ...........อนุโมทนา.............
    hp_dayhp_day
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Buddha.jpg
      Buddha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      867.4 KB
      เปิดดู:
      123

แชร์หน้านี้

Loading...