เอามาฝาก เห็นว่าน่าจะไปกันได้

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย thavornsiripat, 5 สิงหาคม 2008.

  1. thavornsiripat

    thavornsiripat สิ่งใดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มี เป็นธรรมดา เช่นนั้นเอง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    2,073
    ค่าพลัง:
    +13,918
    <table class="BwDhwd"><tbody><tr><td class="zyVlgb XZlFIc"><table class="O5Harb"><tbody><tr><td>[​IMG][​IMG]volunteer spirit


    </td></tr></tbody></table></td><td class="i8p5Ld">
    </td><td class="i8p5Ld">
    </td></tr></tbody></table> <table style="border: 0px solid rgb(46, 220, 231); background-color: rgb(46, 220, 231);" border="0" cellpadding="5"><tbody><tr> <td>[​IMG] </td> </tr> <tr> <td> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td>
    <table border="0" cellpadding="5"> <tbody> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td></tr></tbody></table> <table border="0"> <tbody> <tr> <td style="width: 240px;" valign="top"> สกู๊ปพิเศษ
    เปิดกระเป๋ายังชีพ
    จิตอาสาต้นแบบ
    สะท้อนภาพภัยพิบัติ<wbr>จากสองกระจกเงา
    บทความ
    คำเตือนย่อมไร้ค่า ถ้าไม่ฟัง
    ดูแลหัวใจอาสา
    สองใจอาสาเพื่อนพึ่งภาฯ ยามวิกฤติ
    สาระน่ารู้
    เตรียมตัวเตรียมใจรับมือภัยพิบั<wbr>ติ
    deep insight
    เดินไปกับจิตอาสา
    </td> <td style="width: 430px;" valign="top"> "ภัยพิบัติ" หรือ เหตุการณ์ที่เป็นภัย ฟังแล้วดูน่าตกใจใช่ย่อย เราอาจจะคิดถึงสึนามิ พายุแคททารีน่า พายุนากิส แผ่นดินไหว โคลนถล่ม ฯลฯ
    แต่จริงๆ แล้วเหตุการณ์ที่เป็นภั<wbr>ยอาจจะมาจาก แก้วบาดเท้า ฝาท่อน้ำเปิดทิ้งไว้ ฝนตก น้ำท่วม ลมกรรโชกแรง แบตมือถือระเบิด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดรอบตัว อยู่บนหน้าผาก โหนกคิ้ว ใต้ฝ่าเท้า ข้างๆ โต๊ะทำงาน บนฟ้า หรือ ใต้ดิน
    จะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม มันก็เกิด
    สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ทำให้เหตุปัจจัยของเหตุแห่งภั<wbr>ยนั้นลดน้อยถอย ลง เริ่มจากรู้จักสิ่งรอบตัวของเรา ในบ้าน บนถนนที่เดินทุกวัน รถเมล์ที่ขึ้นประจำ ปลูกต้นไม้เยอะๆ ธรรมชาติจะได้สบายใจขึ้น ฯลฯ และสิ่งที่มิพักควรลืม คือ "สติ" ในการใช้ชีวิต
    จิตอาสารฉบับนี้แม้จะชื่อ "เรื่องการรับมือภัยพิบัติ" แต่ก็ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า "การเตือนให้ตระหนัก ไม่ใช่ตระหนก"
    การตระหนักก็คือการรู้ดีๆ นี่เอง น่าแปลกใจว่าประวัติศาสตร์มนุ<wbr>ษย์เราใช้ชีวิตกันยาวนานนับพั<wbr>นปี หลายยุคสมัย แต่ไม่ว่าจะกี่ชีวิตต่างก็ต้<wbr>องการ "รู้ตัวเอง" เท่านั้น

    บรรณาธิการจิตอาสา
    volunteerspirit@gmail.com

    </td> <td> </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  2. ทามปายได้

    ทามปายได้ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +56
    เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ แต่ที่เว็บพลังจิตผมก็เห็นมาเยอะแล้ววว >.<
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สะท้อนภาพภัยพิบัติจากสองกระจกเงา


    ภัยพิบัติ คือ เหตุการณ์ที่เป็นรุนแรงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ว่า น้ำท่วม สึนามิ โคลนถล่ม พายุ หรือ แผ่นดินไหว นี่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกแล้ว หลายเหตุการณ์เกิดในบ้านเรา หรือเพื่อนบ้านที่อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกล เรารู้จักภัยพิบัติมากน้อยสักแค่ไหน? ตระหนักรู้ในภัยรอบตัวสักเพียงใด? ลองมาฟังสองหัวเรือใหญ่ของ “มูลนิธิกระจกเงา” องค์กรอาสาสมัครที่เอาจริงกับการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา และ เอ ธนพล ทรงพุฒิ ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน
    [​IMG]
    ภัยพิบัติเรื่องใกล้ตัว
    พี่หนูหริ่ง บอกเล่าให้เราฟังว่า ภัยพิบัตินั้นมีแนวโน้มที่จะมีถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ด้วยปัจจัยสองอย่าง คือ วิกฤติสิ่งแวดล้อม และ การวิธีการใช้ชีวิตของมนุษย์
    “ดูจากสภาพ น้ำ อากาศ ป่า ในตอนนี้ที่ตกต่ำมาก ป่าเหลือพื้นที่น้อยและมีลักษณะเป็นเกาะแก่ง ฉะนั้นเวลาน้ำหลากทีดินโคลนแทบจะไปทั้งหมด ขณะนี้ภัยพิบัติจะส่งผลต่อคนมากขึ้น เพราะคนขยายตัวไปทุกที่และทุกทิศ แนวตั้ง แนวนอน แนวดิ่ง มีคนอยู่เต็มไปหมด เช่น บนตึกสูงๆ หากเกิดแผ่นดินไหวย่อมเสี่ยงภัยมากกว่าปกติ หรือ ริมหาด ก็มีบ้าน ร้าน ตึก หากเกิดสึนามิหรือพายุ ก็ย่อมพัดคน พัดสิ่งก่อสร้างไปหมด”
    นอกจากนี้ภัยพิบัติยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากมีสภาพที่พร้อมอยู่แล้ว เช่น เขื่อนศรีนครินทร์และแก่งเสือเต้น เป็นเขื่อนที่สร้างบนรอยเลื่อนของแผ่นดินทำให้เสี่ยงต่อเหตุการณ์เขื่อนแตก หากเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากพอ, ปัจจุบันภาคเหนือมีสถิติแผ่นดินไหวมากครั้งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แม้จะมีระดับที่ไม่รุนแรงก็ตาม, กรุงเทพฯ มีพื้นใต้ดินที่เป็นดินโคลน หากเกิดแผ่นดิวไหวเพียง 4-5 ริกเตอร์ก็มากเพียงพอที่จะก่อให้เกิดอันตราย
    พี่หนูหริ่งสะท้อนต่อไปว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดจากธรรมชาติอย่างเดียว แต่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ด้วย “ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและการเมือง เช่น กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดปลายน้ำเจ้าพระยาไปสู่ทะเล ควรจะเป็นที่สำหรับระบายออก แต่ปีที่ผ่านมา กรุงเทพต้องสร้างแนวกั้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วม ในขณะที่จังหวัดข้างเคียงน้ำท่วมติดต่อกันถึง 3 เดือน“

    แผนการรับมือ
    “หากเป็นภัยขนาดเล็ก หน่วยงานและองค์กรหลักจะดูแลได้ หากเป็นภัยขนาดใหญ่ เช่น สึนามิ ดินโคลนถล่ม น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือ พายุนารืกีส กลไกหลักมักจะไปไม่ถึงทุกที่ ประชาชนต่างหากต้องช่วยกันดูแลตัวเองและเตรียมความพร้อม” พี่เอกล่าว

    จากประสบการณ์การทำงาน พี่เอกล่าวว่ารัฐไทยเรานั้นจริงๆ มีแผนการเตรียมรับมือภัยพิบัติมากมาย แต่มักติดในเรื่องงบประมาณและการซักซ้อมแผน และหลายครั้งเมื่อแผนการรับมือได้รับการอนุมัติแล้ว ข้อมูลก็ไม่ทันสมัยพอในการใช้จริง

    “ต้องเข้าใจว่ารัฐเขามีงานล้นมือ เราก็พยายามช่วยเต็มที่ เช่น หมู่บ้านที่อยู่พื้นที่เสี่ยงโคลนถล่ม ต้องมีการซ้อมแผนอพยพอยู่เนืองๆ รวมถึงมีปฏิทินภัยพิบติและการรับมือ ถ้ามีชุดความรู้อาจจะลดความเสียหายได้มากขึ้น”

    สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “ความรู้” พี่เอให้ความเห็นว่า กระทรวงศึกษาธิการน่าจะเพิ่มชุดความรู้เรื่องภัยพิบัติให้แก่เด็กๆ บรรจุอยู่ในตำราเรียน เช่น สลน. สปช. หรือหนังสือนอกเวลา ในชั้นอุดมศึกษาก็สามารถต่อยอดไปในผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้ โดยมีการวัดผล สอบวัดความรู้ ความเข้าใจ ในวิชานั้นๆ พร้อมกับมีแผนการซักซ้อมให้สอดคล้องกับพื้นที่ ตัวอย่างเช่น หากอาศัยในภาคใต้ต้องทำความรู้จักเรื่องสึนามิและพายุ อาศัยในภาคเหนือต้องทำความรู้จัก แผ่นดินไหว พายุฝน หรือ โคลนถล่ม เพื่อที่จะรู้ว่า เดือนไหนของปีเสี่ยงภัยในเรื่องอะไร และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    “บ้านเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติน้อยมาก ถ้าเราสนับสนุนต้นทุนทางการศึกษาแต่เด็ก น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เด็กๆ จะรู้จักเอาตัวรอด เช่น ตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิ มีเด็กต่างชาติมาเที่ยวไทย พอเห็นน้ำลดลงกระทันหัน เขาเคยเรียนมาว่าถ้าน้ำลดแบบนี้แปลว่ากำลังจะเกิดสึนามิ ขอให้รีบขึ้นที่สูง เด็กคนนี้ก็วิ่งไปบอกทุกคนที่อยู่ใกล้ เป็นต้น”

    นอกจากนี้การเตรียมตัวเรื่องภัยพิบัติจำเป็นต้องมี “การฝึกอบรม” กับกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในเอเชียมีหน่วยงานที่มีชุดความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติชื่อว่า ADPC (Asian Disaster Preparedness Centre) เป็นแหล่งความรู้ด้านภัยธรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย เช่น ฝนตก น้ำท่วม พายุ สึนามิ ภัยหนาว ภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน แผ่นดินไหว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรมีโอกาสเรียนรู้เอาไว้

    แต่ถึงอย่างไรการรับมือภัยพิบัติก็ไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะแต่ละภัยมักมีสิ่งใหม่ให้เรียนรู้อยู่เสมอ พี่เอเสนอว่า การทำงานฟื้นฟูภัยพิบัติควรบูรณาการจากหลายภาคส่วน การรับมือภัยพิบัติจึงจะยกระดับมากขึ้น เช่น ชุดประสบการณ์ ความรู้เรื่องภัยพิบัติด้านต่างๆ การจัดการฟื้นฟูชุมชน ความเข้าใจในโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น


    [​IMG]
    การรับมือด้วยตัวเอง
    สำหรับพี่เอ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ความรู้

    “ต้องทำการบ้าน ทำความรู้จักภัยต่างๆ ภัยที่อาจเกิด ซ้ำซ้อนที่เกิดจากภัยพิบัติ เช่น สึนามิ หลังสึนามิมี after shock ซึ่งอาจจะกลาย Main Shock ก็ได้ หรือดินโคลนถล่ม หลังโคลนถล่มจะเกิดอะไรขึ้น หรือหากเกิดแผ่นดินไหวในเมือง ถ้าคุณอยู่ในตึกสูง วิธีการเอาตัวรอดคืออะไร ภัยซ้อนจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง เช่น ถ้าแผ่นดินไหวมีแนวโน้มที่ตึกอาจจะเกิดการบิดตัว กระจกบนตึกสามารถตกลงมาได้ เราต้องหาที่กำบัง เป็นต้น”

    นอกจากนี้ถ้าเตรียมตัวสิ่งของที่ต้องใช้ยามฉุกเฉินไว้ เช่น ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร กล่องพยาบาล น่าจะมีประโยชน์กับตนเองและคนรอบข้าง

    ข้อดีของภัยพิบัติ
    ใช่ว่าจะมีข้อเสียและเรื่องน่าสะพรึงกลัวเท่านั้น คนทำงานย่อมเห็นอีกด้านที่มีคุณประโยชน์ของงานภัยพิบัติเช่นกัน พี่หนูหริ่งชวนมองเห็นโอกาสในวิกฤติ

    “อย่างแรก ภัยพิบัติช่วยเปิดต่อมจิตอาสา หรือ ต่อมมนุษยธรรมของคนเราอย่างแรง ปกติทุกคนจะมีต่อมตัวเอง หรือ สัญชาติญาณการเอาตัวรอด แต่ทุกคนก็มีต่อมคนอื่นอยู่ด้วย เวลามีภัย เห็นคนอื่นเดือดร้อน ต่อมนี้จะเปิดทันที คนที่ไม่เคยทำงานอาสา เขาเหมือนโดนกระชาก รู้สึกอยากช่วยเหลือ แต่พอต่อมเปิดปุ๊บเขาจะวิ่งมาเข้าหาองค์กรอาสาสมัคร พอเคยทำซักครั้งหนึ่ง เขาจะคิดถึงคนอื่นมากขึ้น อาสาสมัครทำอะไรให้คนอื่นง่ายขึ้น

    สอง ภาวะวิกฤติสามารถหลอมจิตสาธารณะมิติต่างๆ ได้แก่ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ คนในสังคม ต่างมาช่วยส่วนที่ประสบภัย ฉะนั้นจึงถือเป็นโอกาส ถือเป็นภาวะพิเศษที่สามารถพลิกประเทศได้”

    ภัยพิบัติมันเสพติด

    ด้านพี่เอที่หันมาจับงานภัยพิบัติ 3 ปีเต็มตั้งแต่เหตุการณ์สึนามิ เล่าให้เราฟังว่า งานภัยพิบัติยังมีผู้เล่นในภาคพัฒนาเอกชนไม่มากนัก เมื่อกระจกเงาหันมาทำด้านนี้ และเปิดให้อาสาสมัครที่สนใจได้เรียนรู้หน้างานจริง คนทำงานก็จะได้ทำอย่างถึงใจและเสพติดจนหยุดไม่ได้

    “งานภัยพิบัติมันเสพติด คือ เวลามีภัยพิบัติ ผมจะอยู่นิ่งไม่ได้ อยากทำ กระหายใคร่รู้ อย่างสึนามิ ตอนนั้นเราไม่รู้อะไรเลย เกิดจากความรู้สึกอยากช่วยก็ลงไป ขนส่ง ขนศพ ทำได้หมด กลับมากรุงเทพก็อยู่ไม่ได้ เพราะรู้ว่ามีงานมหาศาลรออยู่ เราขอไปทำงานกับศูนย์อาสาสมัครผู้ประสบภัยสึนามิ(TVC) และพอเกิดโคลนถล่มก็ไปอีก เพราะ เราเห็นว่ามันสุดมือของรัฐ เราก็เข้าไปช่วยชาวบ้านขุดโคลน งานตรงนี้มันมันส์ มันเสพติด ใคร่รู้ มีอะไรให้รู้เต็มไปหมด”

    หลังจากงานภัยพิบัติครั้งแรก พี่เอได้พัฒนาตัวเองเป็นคนทำงาน ตั้งคำถามและหาความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่มือประสานงานที่พร้อมสำหรับงานภัยพิบัติ

    “งานภัยพิบัติเป็นงานที่เราคนเดียวทำไม่ได้ ต้องมีทีม มีกองหลัง มีชุมชนที่พร้อม ไม่ใช่แค่การตั้งรับ แต่ต้องมีการเตรียมตัว มีชุดความรู้ และการลงมือทำจริง”

    ก้าวต่อไปของงานภัยพิบัติ


    สำหรับกระจกเงา ตอนนี้ได้เริ่มเขียนโครงการแผนจัดการภัยพิบัติภาคประชาชนปีสองแล้ว โดยเน้นไปที่ ภัยพิบัติทางน้ำ ดินโคลนถล่ม น้ำป่า และแผ่นดินไหว เน้นเตรียมความพร้อมประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ

    ขณะนี้กำลังเตรียมรวบรวมข้อมูลทำชุดสื่อและฐานข้อมูลด้านภัยพิบติ ร่วมกับแอคชั่นเอดประเทศไทยและมูลนิธิกองทุนไทย สำหรับวิธีการลดการเสี่ยงภัยให้กับตัวเองเพื่อแจกกับพื้นที่เสี่ยงภัย และแผนการเตรียมความพร้อมกับชุมชน ณ พื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งกำลังเริ่มต้นเก็บข้อมูลเดือนหน้าที่จะถึงนี้

    “ตอนนี้เราสโคปพื้นที่เสี่ยงภัยก่อนแล้วค่อยขยายผลกับโรงเรียน กลุ่มคนต่างๆ ซึ่งถ้าหากบุคคลทั่วไปสนใจในเรื่องภัยพิบัติสามารถติดตามในเว็บไซค์ของกระจกเงา และเว็บไซค์ที่เกี่ยวข้อง หรือมาร่วมงานอาสาสมัครได้ ยินดีต้อนรับเสมอครับ”
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เปิดกระเป๋ายังชีพ




    ของสำคัญในกระเป๋าของเราอาจเป็น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องสำอางค์ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ไอพ็อตรุ่นใหม่ สมุด ดินสอ ปากกา จนไปถึงยาดม แต่ในยามคับขันเมื่อภัยมาถึงตัว เหล่าสิ่งของมีค่ากลับไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญ ชีวิตและความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนนึกถึง ​
    ในห้วงยามที่ภัยพิบัติถูกพูดถึงบ่อยแสนบ่อย และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ถี่ครั้งขึ้น การเตรียมตัวไว้ก่อนไม่ใช่เรื่องเสียหาย ซ้ำยังเป็นการดูแลตนเองและคนอื่นไปในตัว
    แต่เตรียมอย่างไร เตรียมอะไรล่ะ? คำถามนี้เกิดขึ้นในใจเราเป็นแว่บแรก
    จิตอาสารฉบับนี้จึงอาสา คุ้ย แคะ แกะ เกา (แถมด้วยเขี่ยและขอ) ดูกระเป๋ายังชีพและการเตรียมตัวของ 2 หนุ่ม 1 สาว ที่ตื่นตัวและใคร่รู้ในเรื่องภัยใกล้ตัวยิ่ง
    [​IMG]



    ของอุ่นใจในเป้พี่แว่น
    พี่แว่น ไพโรจน์ วิสุทธิวงศ์รัตน์ หรือที่คนสนิทก็เรียกว่า “เต็มเอว” ทำไมน่ะหรือ? ก็พี่แว่นมักมีของสำคัญๆ อยู่เต็มเอวไปหมด ไม่ว่ามีดพก โทรศัพท์มือถือ ไฟฉาย ฯลฯ และด้านหลังมักมีกระเป๋าเป้ใบเขื่องแขวนไว้ประจำตัวเสมอ ซึ่งบรรจุไปด้วยของใช้จำเป็น
    ประกอบด้วย ไฟฉาย (แบบมีหลอดสำรอง), ถ่านสำรอง, มีดพับสวิสอาร์มี่ติดตัว 1 พับ ในเป้ 1 พับ, แว่นขยาย, ไฟเช็ค, เชือกร่มยาว 5 เมตร, ยา : พาราเซตามอล ยาหม่องน้ำ, ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ไหมขัดฟัน แปรง ยาสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ, ถุงพลาสติก, ถุงกันน้ำ, ถุงขยะสีดำ, นกหวีด, เสื้อกันฝน, หมวก (1-2 ใบ), เข็มทิศ นอกจากนี้บางวันยังมีถุงย่อยสำหรับใส่เสื้อผ้าสำรองและผ้าขาวม้าอีกต่างหาก
    ทำไมถึงพกของมากมายขนาดนี้?
    พี่แว่นเล่าที่มาที่ไปว่า มันเริ่มมาจากวันหนึ่ง ในปี 2536 พี่แว่นนัดเพื่อนทานข้าวหลังม.รามคำแหง แต่เกิดเหตุการณ์ 4 อย่างขึ้นพร้อมกัน ได้แก่ ฝนตก น้ำท่วม ไฟดับ และเพื่อนทำกุญแจอพาตเมนท์หล่นหายระหว่างทาง ทำให้พวกเขาต้องเพ่งหากุญแจกันให้วุ่น ในตอนนั้นพี่แว่นพยายามหายืมไฟฉายจากเพื่อนบ้านอยู่นาน แต่พอยืมมาได้หลอดก็ดันขาดเสียนี่ ทำให้พวกเขาต้องคลำหาในความมืด กว่าจะได้เข้าห้องก็แทบแย่ พี่แว่นจึงเริ่มมีความคิดว่าหากมีไฟฉายไว้กับตัวคงดีไม่น้อย หลังจากนั้นก็เริ่มพกไฟฉายอันเล็กๆ ไว้กับตัว
    พร้อมทั้งพี่แว่นเป็นคนเดินป่า ทำให้รู้ว่ามนุษย์เราต้องการตัวช่วยแค่ไหนอะไรบ้าง ตั้งแต่แสงสว่างที่สร้างเองไม่ได้ จึงต้องมี ไฟแช็ค ไฟฉาย และถ่านสำรองเอาไว้ติดตัว, ความแหลมคมที่มีไม่มากเพียงพอ จึงต้องมีมีด แหนบ ไว้ใช้งาน และ นกหวีดที่เอาไว้ใช้เมื่อที่ต้องการส่งสัญญาณไปที่ไกลๆ
    “จริงๆ มันไม่ใช่ถุงยังชีพหรอก แต่เป็นของในเป้ประจำตัวที่ไปไหนมาไหนด้วยตลอด วันไหนไม่สะพายแล้วมันไม่มั่นใจ ถ้าเกิดอะไรขึ้น หรืออยู่ในสถานการณ์คับขันจะทำอย่างไร ทำให้เรามีของพวกนี้ตลอด และส่วนหนึ่งเพราะมีคนมาหายืมของกับเราบ่อย แว่นมีไอ้นั่นไหม มีไอ้นี่ไหม เราเลยพกตลอดเลย บางทีพกเผื่อคนอื่นด้วยซ้ำ”
    แต่ก็ใช่ว่าจะพกเปล่า มีด ไฟฉาย และเสื้อกันฝน เป็นของที่ได้ใช้อยู่เสมอ
    มีครั้งหนึ่งพี่แว่นอยู่ในอาคารสูงแล้วเกิดไฟดับ ในตึกมืดมาก แต่เนื่องจากหลายคนทราบว่าพี่แว่นมีไฟฉาย ทุกคนจึงมาหาเพื่อพี่แว่นให้ช่วยนำทางลงจากตึก คราวนั้นทุกคนจึงออกมานอกอาคารอย่างไม่ลำบากนัก
    แม้ว่าการพกของเหล่านี้จะถูกมองว่าเป็นคนแปลก แต่พี่แว่นให้ความเห็นว่าของบางอย่างก็ควรมีไว้ติดตัวบ้าง เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่คาดฝัน ของจำเป็นก็ได้แก่ นกหวีด ไฟฉาย มีดพก และเบอร์โทรฉุกเฉิน เช่น ศูนย์นเรนธร, สน.พื้นที่ที่เราไปบ่อยๆ เป็นต้น
    [​IMG]
    เตรียมความรู้ = เตรียมตัว
    พี่หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้คลุกวงในกับงานภัยพิบัติ หรือ ที่บางคนเรียกเอาฮาว่า “อาบัติ” บอกกับเราว่า การเตรียมตัวของพี่หนูหริ่ง คือ การติดตามข้อมูลข่าวสาร
    “เวลาเราพูดถึงภัยพิบัติเรามักคิดถึงภัยใหญ่ๆ แต่จริงๆ ภัยเล็กๆ มีบ่อย เกิดถี่และมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบ หากติดตามข่าวสารเรื่อยๆ จะรู้ ว่าควรวางตัวไว้ตรงไหนทำอะไร หรือไม่ควรอยู่ไหน ทำอะไร เช่น ฤดูฝน เราไม่ควรไปเที่ยวในที่ใกล้น้ำ เช่น น้ำตก แม่น้ำ”
    หรืออาจกลับมามองตัวเองง่ายๆ ว่าอยู่ในพื้นที่ไหน เสี่ยงภัยในเรื่องอะไร หากอยู่ใกล้ทะเล อยู่ใกล้น้ำ ก็ต้องระวังน้ำท่วม น้ำหลาก หรือสึนามิ หากอยู่กรุงเทพก็ต้องระวังแผ่นดินไหว เพราะชั้นดินกรุงเทพเป็นดินเหลวกลางทะเล จึงเสี่ยงไม่น้อยหากเกิดแผ่นดินไหวใต้พื้นพิภพ
    “ความจริงก็คือ ภัยพิบัติขนาดใหญ่ยังไงก็รับมือไม่ได้ มันเกินจินตนาการ อุปสรรคสารพัด การเตรียมของไว้ก็เป็นเรื่องดี ตามคู่มือต้องมีน้ำดื่ม เลื่อย ค้อน ถุงมือหนัง วิทยุ ไฟฉาย ซึ่งในแต่ละภัยของที่จำเป็นใช้ก็ต่างกัน”
    [​IMG]
    เตรียมใจเมื่อภัยมา
    อ.มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ
    เป็นอีกคนที่เห็นเรื่องภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัว
    “สถานการณ์รอบตัวบ่งชัดขึ้นเรื่อยๆ ถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ ในหลายประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยๆ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ในบ้านเราไม่ค่อยเตรียมกัน พี่คิดว่าเตรียมไปก็ไม่เสียหายอะไร ไม่เตรียมเลยอาจจะฉุกเฉินเกินไป เพราะตอนนี้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และข่าวลือต่างๆ มากขึ้น”
    เมื่อถามว่าอ.มิเตรียมอะไรบ้าง อ.มิบอกว่าเตรียม 3 อย่าง ได้แก่
    เตรียมสิ่งของ เช่น ถุงยังชีพ ซึ่งประกอบด้วย อาหารแห้งที่อยู่ได้ 2-3 วัน ยารักษาโรค อุปกรณ์สำหรับเดินป่า วอลค์กี้ทอลค์กี้
    เตรียมบ้านพักฉุกเฉินที่เขาใหญ่ ซึ่งเป็นบ้านพักตากอากาศ ตั้งใจเตรียมไว้สำหรับอยู่ฉุกเฉินเป็นเดือน โดยพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด เช่น ติดพลังงานแสงอาทิตย์ การรักษาโรคเบื้องต้น การสื่อสารกับภายนอก อาหารยังชีพ และเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
    และสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ เตรียมใจ
    การเตรียมใจในที่นี่ไม่ใช่แค่การเตรียมตัวตาย แต่เป็นการเตรียมใจเพื่ออยู่ในสถานการณ์อย่างที่มันเกิดขึ้นจริง
    จากประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครที่สีนามิ อ.มิเล่าให้ฟังถึงคราวที่ข่าวมีแผ่นดินไหว และคาดว่าจะเกิดสึนามิรอบสอง ผู้คนในพื้นที่ตระหนกตกใจมาก ถึงกับมีรายหนึ่งหุนหันขับรถหนี จนชนคนเสียชีวิต
    “ตอนนั้นเราต้องรวมพลปลอบประโลมเพื่อนนานาชาติกว่าสองร้อยคน เหตุการณ์ที่รุนแรงทำให้คนเครียดและก่อเหตุได้ง่าย การเตรียมใจไม่ใช่แค่เพื่อตัวเรา แต่เผื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วย”
    การฝึกสติในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัยประจำตัว จึงเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง “อารมณ์อะไรจะเกิดก็รู้เห็นตามจริงทันการณ์ ไม่บานปลายเกิน เข้าใจสภาวะความเป็นจริงในกายใจของตนเองและผู้อื่น การจัดการอะไรๆ ตรงหน้าก็ง่ายขึ้น”
    มาถึงตรงนี้ มันอาจจะไม่แค่เรื่องของกระเป๋า แต่เป็นทุนรอนในตัวของทุกผู้คน ตั้งแต่ทุนทรัพยากร ทุนความรู้ ทุนสติ ทุนปัญญา การเตรียมตัวไว้ไม่ใช่เรื่องเสียหลาย เพราะชีวิตคือความแน่นอนที่ไม่แน่นอนมิใช่หรือ?
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เตรียมตัวเตรียมใจรับภัพพิบัติ


    หากใครคิดว่าเรื่องภัยพิบัติเป็นเรื่องน่าหัวเราะแล้วละก็ ถามตัวเองใหม่อีกทีดีกว่าไหม ว่าจริงๆแล้วคุณกำลังกลัวอะไรอยู่ ?
    ภัยพิบัติเป็นเรื่องแน่นอนสำหรับชีวิตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนนี้ สิ่งที่ควรทำคือเตรียมตัวและหัวใจของเราให้พร้อมรับเหตุการณ์ต่างๆอย่างสดใหม่จะดีกว่า ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เรามีชีวิตรอดปลอดภัยแต่เพียงผู้เดียว แต่เพื่อให้เราสามารถดูแลคนรอบข้างของเราได้ สามารถที่จะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
    เราอาจจะเสียเวลาสักหน่อยเพื่อจะจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ไว้สำหรับเหตุฉุกเฉิน แต่เราต้องไม่ลืมนะว่าเครื่องมือที่สำคัญที่สุดนั้นอยู่ในตัวเราเรียบร้อยแล้ว นั่นก็คือ “สติ” นั่นเอง เราอาจจะวางแผนได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้นแล้ว เราจะเดินไปหยิบไฟฉายที่ไหน หรือว่าต้องหยิบจับอะไรบ้าง แต่เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าตอนนั้นเราจะมีสติหรือไม่ เพราะสติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในปัจจุบันขณะ ที่นี่ เดี๋ยวนี้เท่านั้น
    เอาละ! สติมาปัญญาเกิด เรามาดูกันสิว่าเราจะเตรียมตัวและหัวใจอย่างไรกันได้บ้าง
    [​IMG]

    1 เตรียมกระเป๋ายังชีพ
    ภายในประกอบด้วยของต่างๆ ดังนี้ ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย นกหวีด ยาสามัญประจำบ้าน น้ำดื่ม อาหารสำเร็จรูป เครื่องนอน เสื้อผ้า 2-3 ชุด ยาสีฟัน แปรงสีฟัน มีด ไฟแช๊คหรือไม้ขีดไฟ เชือก ของใช้ส่วนตัว ฯลฯ กระเป๋ายังชีพนี้อาจจะมีแบบเต็มรูปแบบ สำหรับไว้ที่บ้านในจุดที่หยิบฉวยง่าย และแบบชุดพกพาสำหรับพกพาไปให้ในทุกๆที่
    ตัวอย่างกระเป๋ายังชีพของพี่แว่น

    2. ทำความรู้จักกับสถานที่ที่เราอยู่
    เมื่อเราอยู่ในอาคารเราก็ควรจะรู้ว่า อาคารมีทางเข้าทางออกตรงไหนบ้าง บันไดหนีไฟที่ใกล้ที่สุดไปทางไหน และเมื่ออยู่ในบ้าน เราก็ควรจะรู้จักแผงควบคุมไฟฟ้าของบ้าน ท่อแก๊สหรือวาล์วแก๊สอยู่ตรงไหน รวมไปถึงวาล์วน้ำด้วย และทางหนีทีไล่ต่างๆ
    การทำความรู้จักสถานที่นี้เป็นการฝึกสติในชีวิตประจำวันอย่างมาก เพราะในแต่ละวันเรามีโอกาสไปอยู่ในสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคยบ่อยครั้ง และแม้แต่ในสถานที่ที่คุ้นเคย เช่นบ้าน เราก็ต้องหมั่นสำรวจตรวจตราความเรียบร้อยนี้อยู่ทุกวัน คุณแม่บ้านสามารถฝึกสติในชีวิตประจำวันได้โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปเข้าวิปัสสนาที่ไหนเลย
    [​IMG]

    3. ทำความรู้จักกับความตื่นตระหนก
    ความตื่นตระหนกกับภัยพิบัติเป็นของคู่กัน แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะสามารถดูแลมันได้หรือไม่ต่างหาก หรือปล่อยให้มันทำให้เราตัดสินใจอะไรผิดๆ ทำให้เรื่องแย่ๆกลับแย่ลงไปอีก
    การโอบอุ้มความตื่นตระหนกนั้นเป็นเรื่องที่สามารถฝึกได้ และแต่ละคนก็มีเรื่องให้ตื่นตระหนกแตกต่างกันไป เราลองฝึกกับเรื่องเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวันก่อน เช่น กลัวที่สูง กลัวแมลงสาบ กลัวที่มืด ฯลฯ เมื่อความตื่นตระหนกมาเยือน ขอให้เรารู้ทันมันให้ได้เสียก่อน ว่านี่เราตื่นตระหนกกับสิ่งนี้นะ และหยุดยืนประจันหน้ากับมัน (ในระยะเสี่ยงที่ไม่ทำให้เราหัวใจวายตายไปซะก่อนนะ) บอกแล้วมันว่า เรายอมละ เราตื่นตระหนกกับสิ่งนี้จริงๆเชียว แต่เราไม่ถอดใจหรอกนะ นี่ไง! อย่างน้อยๆเราก็ไม่ตื่นตระหนกไปกับความตื่นตระหนกของเราอีกต่อไป
    [​IMG]
    สิ่งสำคัญอีกอย่างในการนี้ คือเราต้องชักชวนเพื่อนของเราให้ร่วมฝึกสติเตรียมรับมือภัยพิบัติไปกับเราด้วย นอกจากว่าทำคนเดียวจะไม่สนุกแล้ว เพื่อนจะคอยเตือนเราได้ว่าสิ่งไหนที่เราขาด และสิ่งไหนที่เราทำเกินไป และเหนือสิ่งอื่นใด เราเตรียมการทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะมีชีวิตรอด ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์ได้ ไม่ใช่การเอาตัวรอด เพื่ออยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

    ขอบคุณ
    บทความ How to survive in a disaster? โดย Amanda Ripley
    How to Survive (Almost) Anything: 14 Survival Skills โดย Laurence Gonzales
    คู่มือ เตรียมรับมือภัยแผ่นดินไหว โดย กรุงเทพประกันภัย
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    หากเป็นไปได้อาจจะขอประสานงานกันกับกลุ่มจิตอาสานี้ในอนาคตครับ
     
  7. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    สะท้อนภาพภัยพิบัติจากสองกระจกเงา


    ภัยพิบัติ คือ เหตุการณ์ที่เป็นรุนแรงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ว่า น้ำท่วม สึนามิ โคลนถล่ม พายุ หรือ แผ่นดินไหว นี่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกแล้ว หลายเหตุการณ์เกิดในบ้านเรา หรือเพื่อนบ้านที่อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกล เรารู้จักภัยพิบัติมากน้อยสักแค่ไหน? ตระหนักรู้ในภัยรอบตัวสักเพียงใด? ลองมาฟังสองหัวเรือใหญ่ของ “มูลนิธิกระจกเงา” องค์กรอาสาสมัครที่เอาจริงกับการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ หนูหริ่ง สมบัติ บุญงามอนงค์ ประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา

    เจอกันอีกแล้วคุณหนูหริ่ง
    สวัสดีค่ะ จำกันได้ไหม ที่ไปเอากล้องที่เขาหลักไงคะ
    ใช่แล้ว งานภัยพิบัติมันทำให้จิตเราตื่นตัว หลายคนกลับไปมีชีวิตแบบเดิมๆ ไม่ได้ เพราะสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามันยิ่งใหญ่กว่า...

    งานนี้ภัยจะมาทางไหนหนอ...
    สู้ สู้ นะคะ ช่วยกัน
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ทฤษฎีโลกกลม หรือเรื่องราวต่างๆที่ทำให้หลายๆท่านได้มาพบกันนั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญแน่นอน

    ต่อไปน่าที่จะมีการประสานงานกับเพื่อนๆจากเวบไซท์อื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยเหลือส่วนรวม มาจอย มาร่วมงานกันอีกมากครับ


    ตอนนี้ เหตุผลว่า ทำไม อ.ไก่ต้องลงไปในงานสึนามิก็เริ่มกระจ่างขึ้นแล้ว
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,934
    *** โลกกลม ****

    สุดท้าย...ท่านต้องไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
    หลักโลกุตตระธรรม
    ไปรับสัจจะ ทำในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ ยังทำไม่ได้
    สุดท้าย ทุกท่านก็ต้องทำ
    เพื่อชีวิตที่ดี หลุดพ้นทุกข์

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...