เอลนีโญ่ กำลังมา เตรียมตัวยังไง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย นโมโพธิสัตโต, 27 พฤษภาคม 2023.

  1. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    เอลนีโญ่กำลังมา เตรียมตัวยังไง

     
  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    WMO เตือนโลกรับมือปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ่’ ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เผย ฤดูฝน 2566 ไทย คาดจะมาช้า และค่าฝนตกจะเฉลี่ยน้อยกว่าปีที่แล้ว

    องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ ดับเบิลยูเอ็มโอ (WMO) องค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ เปิดเผยว่า WMO ได้ประมาณการว่า มีโอกาส ร้อยละ 60 ที่จะเกิดปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ และมีโอกาสร้อยละ 80 ที่จะเกิดเอลนีโญภายในสิ้นเดือนกันยายน

    เอลนีโญ เป็นรูปแบบสภาพภูมิอากาศที่มักจะเกี่ยวข้องกับการที่อุณหภูมิอากาศปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก รวมถึงความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่บางส่วนของโลก และเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ส่วนอื่นของโลก โดยเกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2018-2019

    และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา หรือ 3 ปี โลกเผชิญกับสภาวะอากาศที่เป็นผลมาจากปรากฏการณ์ ‘ลานีญา’ เป็นระยะเวลายาวนาน และสิ้นสุดไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ภูมิอากาศมีสภาพเป็นกลาง

    อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และการเกิดเอลนีโญ จะทำให้อุณหภูมิโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกและอาจจะสูงทำลายสถิติก็เป็นไปได้

    นายเพทเทรี ทาลัส เลขาธิการ WMO ระบุว่า โลกควรเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับความร้อน ความแห้งแล้ง หรือปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก อาจนำมาซึ่งการทุเลาจากภัยแล้งในฮอร์น ออฟ แอฟริกา” (Horn of Africa) และผลกระทบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลานีญา แต่ก็อาจกระตุ้นให้เกิดสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็น ในการริเริ่มคำเตือนล่วงหน้าเพื่อให้ผู้คนปลอดภัย

    [ฤดูฝนของไทยในปี 2566]

    กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2566 ระบุว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งช้ากว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5 และน้อยกว่าปีที่แล้ว

    (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 14 และปริมาณฝนรวมทั้งปีมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ร้อยละ 24)

    โดยทั้งในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน ตั้งแต่เริ่มต้นเดือนกรกฎาคม และช่วงครึ่งหลังฤดูฝน เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5

    แต่จะมีฝนทิ้งช่วง ในช่วงเดือนมิถุนายน – กลางเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ทำให้พื้นที่แล้งซ้ำซาก บริเวณนอกเขตชลประทานอาจจะเกิดการขาดแคลนน้ำใช้สำหรับทำการเกษตรได้ในหลายพื้นที่

    ในช่วงครึ่งหลังของฤดูฝนนั้น จะเป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสที่จะเกิดพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้

    โดยในบางช่วงนั้น จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยนั้น จะมีลักษณะเป็นพายุลมแรง มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

    1683178070_78141_.jpg

    [กรมชลประทาน ทำแผนรับมือ เอลนีโญ่]

    นายประพิศ จันทร์มา อธิบดี กรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนนี้ จะส่งผลให้ทั้งประเทศไทยเกิดฝนตกน้อยกว่าปกติ กรมชลประทาน จึงได้เตรียมแผนรับมือตั้งแต่ช่วงฤดูฝนปี 2566 นี้เป็นต้นไป เพื่อลดผลกระทบต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

    โดยได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ เฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญให้เร่งเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำที่กรมชลประทานได้ปรับปฏิทินเพาะปลูกให้เกษตรกรได้เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนฤดูน้ำหลากจะมาถึง

    ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรกรได้เพาะปลูกแล้ว และจะเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันก่อนน้ำหลากในช่วงกลางเดือนกันยายน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากอุทกภัย
    นอกจากนี้ ได้กำชับให้โครงการชลประทานทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2566 ที่กรมชลประทานกำหนด ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูฝนปี 2566 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนด อย่างเคร่งครัด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด


    ขอบคุณ https://workpointtoday.com/weather-el-nino/
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
     
  4. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
     
  5. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
     

แชร์หน้านี้

Loading...