เอกซเรย์ปอด วิธีวินิจฉัยความผิดปกติบริเวณทรวงอก ให้ผลเร็ว ไม่ยุ่งยาก

ในห้อง 'ลงประกาศ ซื้อ-ขาย หรือทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย monkeydluffy, 15 มีนาคม 2023.

  1. monkeydluffy

    monkeydluffy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1
    e2JTBP.png

    เวลาเกิดปัญหาบริเวณทรวงอก หรือแม้แต่ในรายการตรวจสุขภาพประจำปี วิธีตรวจยอดนิยมที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการเอกซเรย์ปอด ทั้งสามารถตรวจเห็นความผิดปกติของกระดูกบริเวณทรวงอก รวมไปถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในบริเวณทรวงอกได้ด้วย

    สำหรับการเอกซเรย์ปอดจะมีหลายรูปแบบ หลัก ๆ ที่นำมาใช้ในการตรวจบ่อยที่สุดคือการเอกซเรย์ทรวงอกด้วยรังสีเอ็กซ์ซึ่งสามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้คร่าว ๆ นับเป็นวิธีการตรวจและคัดกรองโรคในขั้นตอนแรก ๆ หากหลังเอกซเรย์ปอดและพบความปิดปกติใด ๆ แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเอกซเรย์ปอดด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำยิ่งขึ้น

    เอกซเรย์ปอด
    การเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) คือหนึ่งในวิธีการตรวจอวัยวะภายในและโครงสร้างของร่างกายบริเวณทรวงอกด้วยการบันทึกภาพถ่ายโดยใช้รังสีที่มีความสามารถในการผ่านทะลุเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย

    การมองเห็นภาพภายในร่างกายเกิดจากการที่อวัยวะในร่างกายของเรานั้นจะมีความสามารถในการดูดกลืนรังสีที่ต่างกันไป เมื่อยิงรังสีผ่านร่างกาย ส่วนที่สามารถดูดซับรังสีได้มากหรือยอมให้รังสีผ่านทะลุได้น้อยจะทำให้ภาพบนฟิล์มเป็นสีขาว และส่วนที่ดูดซับรังสีได้น้อยหรือยอมให้รังสีทะลุผ่านง่าย ๆ ภาพบนฟิล์มก็จะเป็นสีเทาดำ

    สำหรับการเอกซเรย์ปอดด้วยรังสีเอ็กซ์เป็นวิธีตรวจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนเข้ารับการเอกซเรย์ปอด มีความปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยกว่าเพราะปริมาณรังสีที่ได้รับอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีราคาถูกอีกด้วย

    ภาพจากการเอกซเรย์ปอดจะเป็นลักษณะสองมิติ และเห็นเพียงแค่ภาพขาวดำเท่านั้น จึงทำให้สามารถนำมาสังเกตความผิดปกติบริเวณทรวงอกได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น โดยทั่วไปแพทย์อาจต้องส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจด้วยการเอกซ์เรย์ปอดวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อระบุโรคหรือยืนยันผลวินิจฉัย เช่น

    • ใช้เครื่อง CT scan ที่เป็นรังสีเอกซ์เช่นกันแต่ระบบคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลในรูปแบบสามมิติ
    • ใช้เครื่อง MRI ที่เป็นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูง และมีการปล่อยคลื่นวิทยุแทนการใช้รังสีเอ็กซ์ในการฉายภาพลักษณะสามมิติ
    เอกซเรย์ปอดมีประโยชน์อย่างไร
    ประโยชน์ของการเอกซเรย์ปอดด้วยภาพถ่ายรังสีทำให้สามารถสังเกตอวัยวะภายในและโครงสร้างภายในทรวงอกดังนี้
    • ช้ยืนยันความปกติของอวัยวะภายในและโครงสร้างภายในทรวงอก มักใช้ในการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เป็นต้น
    • ใช้ตรวจหาร่องรอยโรคอันเนื่องมาจากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติบริเวณทรวงอก เช่น
    • มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หายใจลำบาก
    • มีอาการเจ็บปวดบริเวณทรวงอก
    • ใช้ในการตรวจร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพื่อให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งโครงสร้างภายในร่างกายผู้ป่วยและวางแผนการรักษาอย่างแม่นยำ
    • ใช้ในการติดตามอาการของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษา
    เอกซเรย์ปอดวินิจฉัยอะไรได้บ้าง
    การเอกซเรย์ปอดทำให้แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติภายในร่างกายเราได้เลย ทำให้สามารถนำผลการเอกซเรย์นั้นมาดูความผิดปกติและวินิจฉัยโรคได้ แพทย์สามารถวินิฉัยโรคอะไรได้บ้างจากการเอกซเรย์ปอด ?
    • โรคเกี่ยวกับปอด : วัณโรค น้ำท่วมปอด ปอดบวม มะเร็งปอด เป็นต้น
    • โรคเกี่ยวกับหัวใจ : หัวใจมีขนาด ตำแหน่ง หรือรูปร่างผิดปกติ
    • โรคเกี่ยวกับกระดูก : กระดูกซี่โครงหรือกระดูกสันหลังหักหรือร้าว ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น กระดูกพรุน กระดูกสันหลังคด เป็นต้น
    เอกซเรย์ปอดมีกี่แบบ
    ในอดีตได้มีการค้นพบรังสีเอ็กซ์ซึ่งเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถทะลุทะลวงผ่านโครงสร้างและอวัยวะภายในร่างกายได้จึงได้นำรังสีเอ็กซ์มาใช้ประโยชน์ในการตรวจสุขภาพและตรวจหาร่องรอยโรคอย่างการเอกซ์เรย์ปอด

    ต่อมาวิทยาศาสตร์ทางรังสีวิทยาและทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าขึ้นจึงได้มีการพัฒนาการเอกซเรย์ปอดให้สามารถมองเห็นภาพภายในร่างกายได้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการถ่ายภาพโครงสร้างร่ายกายแทนการใช้รังสีเอกซ์ จนถึงปัจจุบันได้มีวิธีการเอกซเรย์ปอดหลัก ๆ อยู่ 4 วิธีดังนี้


    1. การเอกซเรย์ปอดแบบทั่วไปด้วยรังสีเอ็กซ์ (CXR)
    e2JqfS.jpg
    การเอกซเรย์ปอดแบบทั่วไปด้วยรังสีเอ็กซ์ (CXR) คือ การเอกซเรย์โดยใช้รังสีเอ็กซ์เป็นตัวกลางเพื่อฉายภาพถ่ายอวัยวะภายในส่วนทรวงอก และเพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบอวัยวะภายในของผู้ป่วยได้

    ข้อดี
    การเอกซเรย์ปอดแบบทั่วไปด้วยรังสีเอ็กซ์ (CXR) ถือว่าเป็นการตรวจเพื่อเฝ้าระวังโรคด้วยการตรวจผ่านการฉายรังสีเอกซ์ โดยการเอกซเรย์นี้ทำให้เห็นร่องรอยความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้สามารถทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน ราคาไม่แพง อีกทั้งปริมาณรังสีที่ได้รับยังน้อยและไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนทำการเอกซเรย์

    ข้อเสีย
    การเอกซเรย์ปอดแบบทั่วไปด้วยรังสีเอ็กซ์ (CXR) จะมีความแม่นยำต่ำมากกว่าวิธีเอกซเรย์แบบอื่น

    2. การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
    e2JEHg.jpg
    การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) คือการฉายรังสีเอ็กซ์ไปที่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมดที่ต้องการจะทำการตรวจเช็ค หลังจากที่เอกซเรย์แล้ว ตัวคอมพิวเตอร์จะสแกนและประมวลผลภาพไปยังระบบดิจิตอลหรือเป็นภาพถ่าย 3 มิติ

    ข้อดี
    การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) จะมีความแม่นยำที่ดีกว่าแบบ CXR ดังนั้นการวินิจฉัยโรคโดยการเอกซเรย์แบบนี้จึงดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกเป็นอย่างมาก

    ข้อเสีย

    การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ผู้ป่วยต้องนอนภายในอุโมงค์แคบ ๆ และต้องใช้เวลาในการตรวจถึง 10-15 นาที ดังนั้นจะทำให้ผู้ป่วยรับปริมาณรังสีมากกว่าแบบ CXR อีกทั้งยังต้องงดน้ำและอาหารก่อนเอกซเรย์

    3. การเอกซเรย์ปอดด้วยคอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (LDCT)
    e2JAtD.png
    การเอกซเรย์ปอดด้วยคอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (LDCT) เป็นการตรวจอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งภายในบริเวณทรวงอกโดยเฉพาะ การเอกซเรย์ LDCT มักนิยมใช้ในการตรวจการทำงานของเซลล์มะเร็งในปอดซึ่งจะฉายรังสีเอ็กซ์ในปริมาณต่ำ

    ข้อดี
    • สะดวกสบาย ตรวจได้ทันที การตรวจใช้เวลาน้อย ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
    • มีความปลอดภัยสูง เพราะใช้ปริมาณรังสีต่ำ
    • สามารถตรวจพบมะเร็งปอดในช่วงแรก ๆ ได้ และช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้
    ข้อเสีย
    • มีโอกาสได้รับรังสี แต่ในปริมาณที่น้อย
    • มีราคาแพงกว่าการ Chest X – ray
    4. การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) e2JrSq.png
    การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) คือการนำร่างกายของผู้ป่วยเข้าไปยังเครื่องตรวจเอกซเรย์ซึ่งมีคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หลังจากนั้นสนามไฟฟ้าจะทำการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อฉายภาพประมวลให้ออกมาเป็นภาพถ่าย 3 มิติซึ่งสามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากกว่าการเอกซเรย์ปอดแบบ CT scans

    ข้อดี
    การเอกซเรย์แบบ MRI จะทำให้แยกความต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้ชัดเจน ดังนั้นในระยะเริ่มแรกแพทย์จะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ และยังสามารถแยกชนิดของความผิดปกติ พร้อมทั้งบอกรายละเอียดของความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ โดยจะใช้สำหรับการวินิจฉัยอาการป่วย

    ข้อเสีย
    การเอกซเรย์แบบ MRI ใช้เวลาประมาณ 30-90 นาที ในการตรวจซึ่งจะนานกว่าวิธีอื่น ๆ และไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เคยผ่านการผ่าตัดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือมีโลหะภายในร่างกาย เพราะผู้ป่วยจะต้องเอกซเรย์โดยการเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ ซึ่งถ้ามีโลหะอยู่ภายนอกหรือในร่างกาย อาจทำให้โลหะนั้นเกิดการเคลื่อนที่ และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

    ผู้ที่ควรเข้ารับการเอกซเรย์ปอด
    • ผู้ซึ่งประสบปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อและรับสารพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดอาการหายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย และ เจ็บทรวงอก
    • ผู้ที่ประสบปัญหาทางด้านกระดูกและข้อซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ การเสื่อมสภาพของแคลเซียมกระดูก กระดูกมีรูปร่างผิดปกติซึ่งทำให้ไปกดทับที่บริเวณอื่น ๆ
    • ผู้ที่ประสบปัญหาทางด้านหัวใจซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานบริเวณภายในของหัวใจที่มีความผิดปกติ
    • การเอกซเรย์ปอดยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปีอีกด้วย
    ขั้นตอนเอกซเรย์ปอด
    e2JvJZ.png
    การเอกซเรย์ปอดมีขั้นตอนดังนี้
    1. ก่อนเข้ารับการเอกซเรย์ปอด เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยเข้าไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่จัดเตรียมไว้ให้ โดยผู้ป่วยจำเป็นจะต้องถอดเสื้อผ้าของตนเองออกทั้งหมดยกเว้นกางเกงชั้นใน (สำหรับผู้หญิงจะต้องถอดชุดชั้นในหรือบราออก) และรวบผมขึ้นให้เรียบร้อย
    2. เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยยืนอยู่หน้าเครื่องเอกซเรย์ โดยจะมีการจัดท่าทางที่เหมาะสมต่อการเอกซเรย์ปอดแก่ผู้ป่วย
    3. ก่อนที่เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพเอกซเรย์จะทำการถ่ายภาพ จะมีการให้สัญญาณกับผู้ป่วยก่อน ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าให้เต็มปอดจากนั้นให้กลั้นไว้จนกว่าเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้สามารถหายใจเป็นปกติได้ ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
    ผลเอกซเรย์ปอด

    ภาพที่ได้หลังจากการเอกซเรย์ปอดจะปรากฎในลักษณะเงาขาวดำอยู่บนฟิล์มขนาดใหญ่ หรือในปัจจุบันหลาย ๆ โรงพยาบาลก็จะจัดเก็บไฟล์ภาพเอกซเรย์ปอดในรูปแบบแผ่น CD หรือไฟล์

    การแปรผลการเอกซเรย์ปอดนั้นว่าปกติหรือไม่แพทย์จะดูได้จากภาพเอกซเรย์ปอดคนไข้ เทียบกับลักษณะของปอดปกติ หากไม่พบความแตกต่างก็สามารถแจ้งได้ว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ หรือหากมีความแตกต่างจากปอดปกติอาจต้องมีการเช็กผลซ้ำหรืออาจส่งผู้ป่วยไปตรวจเพิ่มเติมต่อไป


    ผลเอกซเรย์ปอดปกติ
    e2JeVt.png
    ผลการเอกซเรย์ปอด ปกติจะทราบได้จากสภาพรูปร่าง โครงสร้างกระดูก เนื้อเยื่อห่อหุ้มภายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในบริเวณทรวงอก หากผลเอกซเรย์ปอดปกติการทำงานของอวัยวะภายในบริเวณทรวงอกเป็นปกติ ไม่มีการบวม และไม่มีอวัยวะส่วนไหนถูกกดทับกัน

    ผลเอกซเรย์ปอดผิดปกติ
    e2JFil.png สำหรับผลเอกซเรย์ปอดผิดปกติ จะทราบได้จากสภาพรูปร่าง โครงสร้างกระดูก เนื้อเยื่อห่อหุ้มภายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในบริเวณทรวงอกซึ่งทำงานอย่างไม่เป็นธรรมชาติ โดยส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะมีการติดเชื้อหรือกดทับส่วนอื่น ๆ ของอวัยวะ ส่งผลให้อวัยวะนั้นทำงานติดขัด หรือทำให้ระบบหายใจทำงานไม่เป็นไปตามจังหวะ ซึ่งจะทำให้ปอด หรือ หัวใจ เกิดอาการบวมได้

    ข้อสรุป
    การเอกซเรย์ปอดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะสามารถตรวจสอบสภาพภายในของอวัยวะส่วนทรวงอก เพื่อที่แพทย์จะดูว่าระบบการทำงานและโรคแทรกซ้อนซึ่งเกิดมาจากอาการที่สามารถเห็นได้จากภายนอกร่างกายของผู้ป่วยโดยใช้การเอกซเรย์ปอดในการถ่ายภาพเพื่อวินิจฉัยสภาพอาการและนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2023

แชร์หน้านี้

Loading...