เห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบฯ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 28 กรกฎาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พาหิยทารุจีริยะ ผู้เป็นเอตทัคคะสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๗/๔๑๘
    ๑๐. พาหิยสูตร
    [๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อพาหิยทารุจีริยะ อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะใกล้ฝั่งสมุทร
    เป็นผู้อันมหาชนสักการะเคารพ นับถือบูชา ยำเกรง ได้จีวรบิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
    ครั้งนั้นแล พาหิยทารุจีริยะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่าเราเป็นคนหนึ่ง
    ในจำนวนพระอรหันต์หรือผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลก ลำดับนั้นแลเทวดาผู้เป็นสายโลหิตในกาลก่อน
    ของพาหิยทารุจีริยะ เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ ได้ทราบความปริวิตกแห่งใจ
    ของพาหิยทารุจีริยะด้วยใจ แล้วเข้าไปหาพาหิยทารุจีริยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า
    ดูกรพาหิยะ ท่านไม่เป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็นผู้ถึงอรหัตตมรรคอย่างแน่นอน
    ท่านไม่มีปฏิปทาเครื่องให้เป็นพระอรหันต์หรือเครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรค
    พาหิยทารุจีริยะถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ใครเล่าเป็นพระอรหันต์
    หรือเป็นผู้ถึงอรหัตตมรรคในโลกกับเทวโลก
    เทวดาตอบว่า ดูกรพาหิยะ ในชนบททางเหนือ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้
    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น
    ดูกรพาหิยะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแลเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรงแสดงธรรม
    เพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะผู้อันเทวดานั้นให้สลดใจแล้ว
    หลีกไปจากท่าสุปปารกะในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง ฯ
    [๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุ
    ทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ บัดนี้
    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูกรพาหิยะ พระผู้มีพระภาค
    เสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน
    เข้าไปยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
    น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและความสงบอันสูงสุด
    มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้วผู้ประเสริฐ แล้วได้เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาค หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
    ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์
    สิ้นกาลนานเถิด ฯ
    [๔๙] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรพาหิยะ
    เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่ แม้ครั้งที่ ๒
    พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิต
    ของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรด
    ทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด ฯ
    แม้ครั้งที่ ๒...แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่
    ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดง
    ธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
    แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็น
    สักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล
    เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็น
    สักว่ารู้แจ้งในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มี
    ในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย
    เพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ
    [๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน แม่โคลูกอ่อนขวิด
    พาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี
    เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต(เวลาภายหลังบริโภคอาหาร) เสด็จออกจากพระนคร
    พร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะ ยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนำไปเผาเสีย
    แล้วจงทำสถูปไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐ เสมอกับท่านทั้งหลาย
    ทำกาละแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ช่วยกันยกสรีระของพระพาหิยทารุจีริยะ
    ขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่
    ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาหิยทารุจีริยะ
    ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว
    คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะเป็นบัณฑิตปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะเหตุแห่งการแสดงธรรม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพาน ธาตุใดในนิพพานธาตุนั้น
    ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง
    ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้(สัจจะ ๔)
    รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ไม่ ไม่ ไม่
     
  4. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    เห็นสักแต่ว่าเห็น รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่นำจิตเข้าไปผัวพัน อันจะเกิดความยึดมั่นถือมั่น เวทนา และ สิ่งต่างๆเกิด ภพชาติย่อมเกิด
     
  5. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ท่าน อุรุเวลา เป็นพระอยู่หรอคับ
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมเป็นปุถุชนครับ เคยบวชตอนอายุ ๒๑ บวชตามประเพณีครับ
     
  7. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493


    คุณอุรุเวลา นำมาจากหนังสือเล่มไหนคะ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณ อุรุเวลา ไม่ต้องบอก หนังสือ เนาะ

    เพราะ จะได้ไม่เกิดกรณีพิพาท หนักหน่วง

    รึว่า คุณอุรุเวลา จะเป็นเจ้าภาพ ก็ จัดมา
     
  9. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493

    น้านิวรณ์ จะมาพิพาท กังนัมสไตค์กะเค้าด้วยหยอออออ... อิ อิ (deejai)

    ก็ทำเป็นหนังสือ ก็ต้องมีที่มาดิ จริงป่ะ เป็นฟามลับตรงไหนอ่ะน้าจ๋าาาาาา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2012
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โพสไปงั้นๆแหละ

    ไม่มีใคร กล้า ทำอะไรหรอกมั้ง
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    นี่ๆ คุณ พีรกุล เชื่อหรือเปล่าวว่า คนเขียนหนังสือนั้นเป็นพระ

    พอเป็นพระ เราก็ควรยกไว้ก่อน ไง

    อีกอย่าง พระท่านที่เขียนหนังสือท่านก็เจอกันกับ พระอาจารย์สงบ
    ออกบ่อย เจอกันทุกเช้าเย็นเลยมั้ง เพราะวัดที่มีพระอาจารย์สงบเป็น
    เจ้าอาวาส ก็น่ามีอุโบสถหลังเดียว ก็น่าจะทำวัตรด้วยกัน ร่วมสังฆกรรมกัน
     
  12. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    เชื่อ

    ใช่ๆ ถูกต้อง

    พระอาจารย์สงบ อยู่ไหนอ่ะน้า

    ปล.

    1. ภาพตัวแทนน้า ดูแล้วเป็นนักร้องเกาหลีป่ะ ไม่เหมาะสำหรับชาย ชาตรีอย่างน้า มันหวานนนนไป ว่าป่ะ อิ อิ (deejai)

    2. ใต้ภาพ พลังการให้คะแนน ทำไมเป็นสีแดงอ่ะน้า วานบอกกกกก
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ห้องพระไตรปิฏก มีพระสงฆ์เข้ามาอ่าน ดูจะไม่เหมาะไม่สมควรครับ ถ้าจะคุยกันใช้ PM จะเหมาะกว่าครับ
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ??????? ?????? ????????? ????????????? ???????????????
    ??????????? ???????????????? ???????? ???????? ???????
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2012
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เขาไล่เหมือนหมู เหมือนหมา ก็ชั่งเขา เราไม่ได้เป็นอย่างเขาว่านี่
    เป็นอย่างเขาว่าก็เรื่องหนึ่ง ไม่ต้องคิดเผื่อคนอื่น รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ก็ดีแล้ว
     
  16. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ห้องพระไตรปิฎก ก็ควรจะเป็น ห้องพระไตรปิฎก


    ไม่ควรเอาความคิดของตนเองหรือของใคร มาปนกับ พระไตรปิฎก


    หนังสือธรรมะ ที่เปิดเผยที่มาไม่ได้ หรือ ถึงจะเปิดเผยได้ ก็ควรเอาไปห้องอื่น ที่ไม่ใช่ ห้องพระไตรปิฎก
     
  17. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ไม่มีใครเขาไล่หรอก แต่ให้รู้จักกาลเทศะบ้าง แค่นั้นเอง


    ถ้ารู้ว่า อะไร ควร ไม่ควร จริง


    ก็ควรจะรู้จัก กาลเทศะ ด้วย รู้ว่า อะไร เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม ด้วย


    การศึกษาพระไตรปิฎกนั้นไม่ผิด แต่การศึกษาพระไตรปิฎกด้วยอัตตานั้นผิด


    ธรรมแท้ ไม่ได้เกิดจากสัญญาความจำเน้อ
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คำว่า "อัตตา" ไม่ได้เอามาตีความเรื่อง ถูกหรือผิด อัตตาเป็นธรรมชาติเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย
    ศึกษาเพื่อละอัตตา เห็นว่ามันไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้ศึกษาเพื่อยึดอัตตาเป็นตัวตน อัตตามันไม่ผิดไม่ถูก
    อัตตามีอัตตาก็มี อัตตาไม่มีอัตตาก็ไม่มี อัตตามีก็ได้ อัตตาไม่มีก็ได้ สัญญามีก็ได้ ไม่มีสัญญาก็ได้
    ธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ดับไปได้ก็เพราะเหตุปัจจัย
     
  19. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ไปได้นะ น้ำขุ่นๆ
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สัญญีทิฏฐิ ๑๖
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
    ตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ.
    ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ?
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย.
    ๑๙. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๐. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๑. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๒. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๓. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๔. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๕. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๖. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๗. (๙) อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๘. (๑๐) อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๒๙. (๑๑) อัตตาที่มีสัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๓๐. (๑๒) อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๓๑. (๑๓) อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๓๒. (๑๔) อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๓๓. (๑๕) อัตตาที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา.
    ๓๔. (๑๖) อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการนี้แล.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๑๖ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น
    แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้ชัดยิ่งกว่านั้น
    ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของ
    เวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบ
    ความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
    จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๘/๓๘๓
     

แชร์หน้านี้

Loading...