เหล่าบูรพาจารย์ผู้สืบทอดธรรมจากองค์พระบรมครูจนถึงเราชาวพุทธ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย deneta, 25 กรกฎาคม 2010.

  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    จากหนังสือ: บูชาครู บูรพาจารย์ บิดามารดา
    [​IMG]
    บรมครูผู้ยิ่งใหญ่
    ด้วยทรงเมตตาดุจห้วงมหรรณพ
    [​IMG]

    ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เป็นวันที่แผ่นดินสะเทือนสะท้านทั่วโลกด้วยเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า เมื่อพระกุมารประสูติพระองค์ทรงดำเนินไป ๗ ก้าวได้ตรัสอาสภิวาจา (คือวาจาที่กล่าวอย่างอาจหาญ) ว่า "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่เป็นไม่มีอีก"
    การตรัสวาจาที่อาจหาญนี้มีเฉพาะผู้ที่จะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น การตรัสคำว่า "ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราชาติต่อไปไม่มีอีกแล้ว" มีความหมายที่แสดงถึงที่สุดของการที่ได้บำเพ็ญบารมีมาจนเต็มที่แล้ว ในชาติภพของพระองค์ชาตินี้ไม่จำเป็นต้องสร้างบารมีเพิ่ม แต่เป็นชาติที่พระองค์ตรัสรู้ และเผยแพร่ธรรม
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ นับได้จากการที่พระองค์ได้ทรงสร้างพระบารมีสืบเนื่องยาวนานมาถึง สี่อสงไขยกับแสนมหากัปป์เพื่อรื้อขนสรรพสัตว์ ให้ข้ามห้วงแห่งวัฏสงสารด้วยความเมตตา พระองค์ทรงเป็นบรมครูอันยิ่งใหญ่อย่างหาที่เปรียบมิได้ ทรงสอนทั้งเทวดาอินท์ พรหม ยม ยักษ์ อมนุษย์ ให้รู้ธรรม ทรงใช้เวลาในการสั่งสอนสาวกและเผยแพร่พุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี จวบจนปัจุบัน (ปี ๒๕๕๒) นับได้ ๒๕๙๗ ปี
    พระพุทธศาสนาของพระองค์ได้สืบเนื่องมาจากยุคสู่ยุคด้วยการดำรงค์ไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ของผู้มีความกตัญญูกตเวทิตาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อพระศาสนา ต่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระอรหันตสาวกที่ได้มีเมตตาสั่งสอนสืบเนื่อง รักษาพระธรรมวินัย ประพฤติตนเป็นศิษย์ที่ดีตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ และความเมตตาต่อคนในยุคหลัง ทุกยุคทุกสมัยจึงมิได้ขาดสิ้นจากพระอรหันตสาวกด้วยคุณธรรมของผู้มีความกตัญญูกตเวทิตาของผู้มีธรรมและเหล่าสาวกผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
    อุบลบาลในสุวรรณภูมิ
    [​IMG]

    การเข้ามาของพระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย
    ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงค์ พงศาวดารลังกา(คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภันท์ อดีตภันท์ฑารักษ์เอก กรมศิลปกร) พ.ศ. ๓๐๓ และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (วัดพริบพรีเดิม บันทึกอักษรเทวนาคิน ขุดค้นพบ ณ ซากศิลาวัดคูบัว จ.ราชบุรี) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แค้วนสวรรณภูมิ ใน พ.ศ. ๒๓๕ (ซึ่งระยะต่างกัน ๖๘ ปี พ.ศ.๓๐๓-๒๓๕) พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ ทำการชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครังที่ ๓ ครั้นแล้วจึงอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันตเป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันตเถระ ออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศ โดยแบ่งเป็น ๙ คณะ คณะที่ ๘ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ (ไทย พม่า มอญ เขมร ลาว รามัญ ญวน ไปจรดแหลมมลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งสิ้น)

    [​IMG]

    คณะธรรมทูตคณะที่ ๘ ประกอบด้วย ๑. พระโสณเถระ ๒. พระอุตระเถระ ๓.พระยานียะ ๔. พระภูริยะ ๕พระมูนียะ

    <TABLE id=post291 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_291 class=alt1>ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณเถระกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุสยาม ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยสามเณร ๓ รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตรีบุตร แค้วนมคธซึ้งเป็นเมืองหลวงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นับเป็นเวลา ๕ ปี ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระขนม์ ตะวันทับฟ้า ราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า พระโสณะเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิวางรากฐานพระธรรมวินัยในพระบวรพระพุทธศาสนา ป็นระยะเวลา ๒๙ ปี ตามหลักฐานบันทึกนี้จะเห็นได้ว่า กล่าวเพียงพระโสณะเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตรเถระ ออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ
    ผู้มีพระคุณอย่างสูงยิ่งต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย นอกเหนือไปจากพระบรมครูผู้มีพระกรุณาธิคุณแล้ว ผู้ที่มีพระคุณสูงยิ่งต่อชาวไทย ที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาหรือแก้วมณีอันมีค่าไว้ให้ลูกหลานที่ต้องเรียนรู้ จดจำและทดแทนพระคุณดังต่อไปนี้

    ๑.ฝ่ายพระเถระพ่อแม่ครูอาจารย์ในอดีต(บูรพาจารย์)
    ๑.๑ พระโมคลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหัตเถระ ออกทำการเผยแพร่
    ๑.๒ พรโสณะเถระ
    ๑.๓ พระอุตรเถระ
    ๑.๔ พระภิกษุจากอินเดีย ชวา สุมาตรา ในปี พ.ศ.๕๐๐ ในอาณาจักรศรีวิชัย ทราวดีเป็นเมืองหลวงอยู่ที่นครปฐม
    ๑.๕ เถรวาทสายพุกาม พ.ศ. ๑๖๐๐ พระเจ้าอนุรุธมหาราช แผ่เข้ามาที่ล้านนา ลพบุรี ทราวดี
    ๑.๖ เถรวาทสายลังกาชื่อราหุล นครศรีธรรมราช
    ๑.๗ พระภิกษุไทยสมัยสุโขทัยชื่อพระอโนมทัสสีและพระสมุนะศึกษาปริยัติและปฏิบัติที่สำนักอุทุมพรบุปผามหาสวามี ณ เมืองมะติมา (เมาะตะมะ) ประเทศรามัญ สู่ประเทศไทยในยุคกรุงสุโขทัย
    ๑.๘ เถรวาทโดยตรงจากลังกามาสู่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๑๙๖๗ พระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ ๒๕ รูป พระมหาธรรมคัมภีร์ พระมหาเมธังกร พระมหาญาณมังคละ พระมหาศีลวงค์ พระมหาสารีบุตร พระมหารัตนสาคร เป็นต้น พระเขมรอีก รูปรวมเป็น ๓๓ รูป และรับอุปสมบทใหม่ศึกษาธรรมวินัย แล้วกลับมาเผยแผ่
    ๑.๙ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้นิมนต์คณะพระภิกษุจากลังกา มาสั่งสอนพระภิกษุไทย ใน พ.ศ. ๒๐๐๘ พระองค์ได้ออกผนวกด้วยเป็นเวลา ๘ เดือน
    ๑.๑๐ พระมหาเถรคันฉ่องได้นำคณะพระภิกษุเชื้อสายรามัญวงค์ ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา
    ๑.๑๑ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่สืบเนื่องมาจากยุคสู่ยุคที่มรณภาพแล้ว เช่น สมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว, สมเด็จโต พรหมรังษี, หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั้น ภูริทัตโต,หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ดูลย์ อดุโล, หลวงปู่ชา สุภัทโท, หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ, หลวงปู่บุดดา ถาวโร, หลวงปู่วัน อุตตโม, หลวงพ่อพุทธทาส, หลวงปู่จวน กุลเชฐโถ, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย, หลวงปู่สังวาล เขมโก ฯลฯ และมีพ่อแม่ครูบาอาจารย์อีกหลายองค์ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
    ๑.๑๒ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่เช่น หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ, หลวงปู่บุญญฟทธิ์ บัณทฺโต, หลวงปู่จันแรม เขมะศิริ, หลวงพ่อคุณ ปริสุทโธ, หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ ฯลฯ
    ๒. ฝ่ายฆราวาส (ในอดีต จนถึงปัจุบัน)
    ๒.๑ พระเจ้าอโศกมหาราช
    ๒.๒ กษัตริย์ไทยในยุคสุวรรณภูมินับตั้งแต่พระเจ้าโลกละว้า
    ๒.๓ บูรพกษัตริย์ไทยในทุกพระองค์ที่ทรงรักษาพระศาสนาและเป็นพุทธมามกะตั้งแต่ยุคทวาราวดี สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์
    ๒.๔ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    ๒.๕ คุณแม่บุญเรือน โตงบูญเติม, อุบาสิกากี นานายน, คุญแม่ศิริ กรินชัย ฯลฯ
    นอกจากนั้นก็ยังมีพระอรหันตสาวกทั้งที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกยุคอีกที่เป็นผู้เจริญด้วย ศีล สมาธื ปัญญา พระผู้เป็นสุปันโน ก็เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพราะท่านเหล่านั้นได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างพระผู้บรรลุถึงพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อละพระอรหันต์ เป็นผู้เคยสั่งสอนศิษย์รุ่นก่อน สืบเนื่องตลอดมาจวบจนปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>
    พระบรมครูผู้ชี้ขุมทรัพย์


    [​IMG]

    พระบรมครู (องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) เป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้แก่ศิษย์ผู้หวังซึ่งมรรคผลนิพานดังเช่นที่พระองค์ได้ทรงกล่าวกับพระอานนท์ว่า
    อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุทะถนอมเหมือนช่างปั้นหม้อที่ทำแก่หม้อที่ยังเปียกอยู่
    อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้วชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
    อานนท์ ! เราจักขนาบแล้วชนาบอีกไม่มีหยุด ผู้ใดหวังมรรคผล เป็นวัตถุประสงค์ ผู้นั้นจักทนอยู่ได้เองแล
    เหล่าสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปฏิบัติดีปฏบัติชอบ เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านได้สั่งสอนศิษย์และชี้ขุมทรัพย์ตามที่พระพุทธองค์สั่งสอน เจียรนัยจนบังเกิดเพชรล้ำค่าในวงการพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง

    <TABLE id=post4642 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_4642 class=alt1>
    บุคคลที่หายากในโลก


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรากฎแห่งบุคคล ๓ จำพวก หายากในโลก บุคคล ๓ จำพวก คือ

    ๑. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒.บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๓.บุคคลที่มีความกตญญูกตเวที

    พระพุทธองค์ทรงยกย่องผู้ที่มี"ความกตัญญู" ว่าเป็นบุคคลที่หายากในโลก

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    คัดจากหนังสือ... บูชาครู บูรพาจารย์ บิดามารดา
    มูลนิธิพุทธอเนกประสงค์ วัดสังฆทาน นนทบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...