เหตุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 1 สิงหาคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เพราะฉะนั้น

    ในขณะนี้ ก็เป็นจิต ประเภทหนึ่งประเภทใด ในจิต ๘๙ ดวง

    และ ก็เป็น ปัจจุบันนธรรม

    เป็นผล

    ซึ่งเกิดเพราะ จิตและเจตสิกก่อนๆ

    ที่ได้เกิดแล้ว ในอดีต.


    .


    หรือในขณะนี้เอง

    จิตประเภทหนึ่งประเภทใด ที่เกิดแล้วในขณะนี้

    ก็จะเป็น อุปนิสสย คือเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย

    (ปกติ + อุปนิสสย + ปัจจัย)

    ที่จะทำให้ จิตต่อ ๆไป เกิดขึ้น ข้างหน้า.

    ในขณะที่ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ก็เช่นกัน

    ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะ ปกตูปนิสสยปัจจัย คือ

    กรรมหนึ่งกรรมใด ที่มีกำลัง เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

    ทำให้วิบากจิตนั้นๆ เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏในขณะนั้นๆ

    ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ

    อารมณ์มี ๖

    รู้ได้ทางทวารทั้ง ๖ คือ

    ๑. รูปารมณ์

    รู้ได้ทางจักขุทวาร.

    ๒. สัททารมณ์

    รู้ได้ทางโสตทวาร.

    ๓. คันธารมณ์

    รู้ได้ทางฆานทวาร.

    ๔. รสารมณ์

    รู้ได้ทางชิวหาทวาร.

    ๕. โผฏฐัพพารมณ์

    รู้ได้ทางกายทวาร.

    ๖. ธัมมารมณ์

    รู้ได้ทางมโนทวาร.

    อารมณ์ที่ ๖ ธัมมารมณ์

    เป็นอารมณ์ ที่รู้ได้เฉพาะทางใจ ทางเดียวเท่านั้น


    มี ๖ อย่าง คือ

    [​IMG] ปสาทรูป ๕ [​IMG] สุขุมรูป ๑๖

    [​IMG] จิต [​IMG] เจตสิก [​IMG] นิพพาน [​IMG] บัญญัติ.

    (จากปรมัตถธรรมสังเขป "บัญญติ".)

    ...................................................


    เพราะฉะนั้น ปกตูปนิสยปัจจัย

    มีการจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ
    .........ตัวอย่าง เช่น



    [​IMG]
    กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด

    กุศลจิต และเจตสิก
    (ซึ่งเกิดร่วมกับกุศลจิตนั้นๆ) ไ ด้.

    .........................................


    [​IMG] อกุศล ซึ่งกำลังเกิดขึ้นเป็นไปในขณะนี้

    เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ให้เกิดอกุศล ในภายหน้าได้.

    ...........................................


    [​IMG] อัพยากตธรรม เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อัพยากตธรรมได้

    (อัพยากตธรรม คือ ปรมัตถธรรมใดๆทั้งหมดที่ไม่ใช่กุศลธรรมและอกุศลธรรม)


    ...........................................

    [ว่าด้วยปฏิปทา (ทางดำเนิน) สูตรที่ ๕]


    จาก... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ ๖๔๔ ​
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ ๖๔๔

    ๕. ปัญจมปฏิปทาสูตร

    [ว่าด้วยปฏิปทา (ทางดำเนิน) สูตรที่ ๕]

    [๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้, ๘ ประการ เป็น

    ไฉน? คือ อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น) ๑ อารักขสัมปทา (ความ

    ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้) ๑ กัลยาณมิตตตา(ความเป็นผู้มีมิตรดี) ๑

    สมชีวิตา (ความเป็นผู้เลี้ยงชีพพอเหมาะ) ๑ สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วย

    ศรัทธา) ๑ สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑ จาคสัมปทา (ความถึงพร้อม

    ด้วยการสละ) ๑ ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    สัมปทา ๘ ประการนี้แล.

    นิคมคาถา

    คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท

    จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์

    ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ

    ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิกัตถ-

    ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้

    ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้า

    ผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมาให้ในโลก

    ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และ ความสุข

    ในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญแก่

    คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.
    จบ ปฏิปทาสูตรที่ ๕.


    ข้อความโดยสรุป
    ปัญจมปฏิปทาสูตร

    [ว่าด้วยปฏิปทา (ทางดำเนิน) สูตรที่ ๕]

    ------------------------------

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัมปทา(ความถึงพร้อม) ๘ ประการ ดังนี้คือ

    ๑. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ไม่เกียจคร้านในการทำงาน)

    ๒. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นนั้น)

    ๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรที่ดีงาม คบหาบุคคลผู้มีศรัทธา ศีล จาคะ และ

    ปัญญา)

    ๔. สมชีวิตา (ความเป็นผู้เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ใช้จ่ายทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย)

    ๕. สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า)

    ๖. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น)

    ๗. จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการสละ ยินดีในการให้ทาน รู้ถ้อยคำของผู้ขอ)

    ๘. ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญาที่เห็นความเกิดดับ เป็นอริยะ

    ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ)

    และพระองค์ได้ตรัสว่า ความถึงพร้อม ๘ ประการนี้ นำความสุขมาให้ในโลกทั้งสอง

    คือ ความสุขในปัจจุบันนี้ และ ความสุขในภายหน้า.

    ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๑๖๑
    ๕. มัยหกสกุณชาดก

    ว่าด้วยการใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์

    [๙๓๑] นกชื่อมัยหกะ นกเขา บินไปที่ไหล่เขา

    และซอกเขา เกาะต้นเลียบที่มีผลสุก ร้องว่า

    ของกู ๆ.
    [๙๓๒] เมื่อมันร้องอยู่อย่างนี้ ฝูงนกที่นั้นมารวม

    กัน พากันกินผลเลียบแล้วบินหนี มันก็ยังร้อง

    อยู่นั่นเอง ฉันใด.
    [๙๓๓] บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือน

    กัน รวบรวมทรัพย์ไว้มากมาย ตนเองก็ไม่ได้ใช้

    สอยเลย ไม่มอบส่วนแบ่งแก่ญาติทั้งหลายด้วย.
    [๙๓๔] เขาไม่ได้ใช้สอยผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไม่รับ-

    ประทานภัตตาหาร ไม่ทัดทรงดอกไม้ ไม่ลูบไล้

    เครื่องลูบไล้ ไม่ใช้อะไรสักครั้งเดียว และไม่

    สงเคราะห์ญาติทั้งหลาย.
    [๙๓๕] เมื่อบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ว่า ของกู ๆ หวง

    แหนไว้ ภายหลังพระราชาบ้าง โจรบ้าง ทายาท

    ผู้ไม่เป็นที่รักบ้างเอาทรัพย์ไป คนนั้นก็จะบ่นเพ้อ

    อยู่นั่นแหละ.
    [๙๓๖] ส่วนผู้มีปรีชาใช้เองด้วย สงเคราะห์ญาติ

    ทั้งหลายด้วย เขาจะได้รับเกียรติ เพราะการ

    สงเคราะห์นั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ก็จะบรรเทิงใน

    สวรรค์.​


    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่
    อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
    ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค
    และที่ผ่านมาพี่สาวและคนในครอบครัวได้ศึกษาธรรมะ
    ที่ผ่านมาได้ร่วมบุญสร้างศาลาไม้สัก ศาลาเอนกประสงค์ ปลูกป่าต้นไม้
    บูรณะเจดีย์หลวงปู่มั่น ไถ่ชีวิตโคกระบือ ถวายพระธาตุให้กับพระสงฆ์
    และวันนี้จะได้นำพระธาตุไปประดิษฐาน จำนวน 2 วัด และ
    ที่ผ่านมาได้นำทองคำบริสุทธิ์100เปอร์เซ็นต์ไปหล่อพระ และนำทองแดง
    แผ่นเงิน ทองเหลือง ไปหล่อพระด้วย และวันนี้ได้นำทองคำแท้
    ไปประดิษฐานพระพุทธรูป และได้นำทองคำแท้ไปเคลือบเก้าอี้เก่าๆ
    และเสาบริเวณวัดให้เป็นทอง
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญร่วมทำบุญซ่อมแซมหลังคาศาลาการเปรียญ วัดป่าบำเพ็ญธรรม
    สามารถร่วมทำบุญได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาหินกอง ชื่อบัญชี วัดป่าบำเพ็ญธรรม เลขที่บัญชี ๑๔๐-๐-๑๒๕๘๕-๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...