เหตุใด พระพุทธเจ้า จึงไม่มาเกิดและตรัสรู้ในทศวรรษที่ 20

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ongsathit, 7 ธันวาคม 2010.

  1. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    มนุษย์ส่วนมากในสมัยนี้ที่ก้าวสู่ยุค นาโน คิดว่าความสุขที่แท้จริงคือการได้สนอง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ สัมผัส จึงพยายามสร้างทุกอย่างขึ้นมาเพื่อสนองความสุข ทางกาย ดังที่เห็นในปัจจุบัน แต่ในสมัยพุทธกาลซึ้งเป็นยุคโลหะ คนสมัยนั้นคิดว่าความ สุข ที่แท้จริงคือความสุขทางใจ จึงเริ่มค้นหาความสุขนั้นใน จิตใจ
     
  2. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ผมคิดว่า พอมนุษย์ยุคเรา เจริญถึงขีดสุด

    ท้ายที่สุด พวกเค้าเหล่านั้น ก็คงคิดได้่ว่า

    ความสุขทางกายไม่จีรังยั่งยืน

    ความสุขทางใจสิ เหนือกว่า

    และแล้ว ก็เริ่มค้นหาความสุขที่แท้จริง

    และแล้ว ก็พบว่าความสุขที่แท้จริง คือพระนิพพาน

    สาธุ..............



    ปล. ผมคิดว่าสาเหตุที่พระพุทธเจ้าท่านไม่มาตรัสรู้ในยุคนี้ เพราะมนุษย์เรายังเจริญไม่ถึงขีดสุดครับ
     
  3. Phusaard

    Phusaard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +349
    จริงๆแล้วธรรมของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันก็เพียงพอทำให้หลุดพ้นได้

    แต่ชีวิตของมนุษย์สิไม่แน่นอนมันไหลลงสู่เบื้องต่ำเสมอ

    ไม่รู้ว่าจะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอีกกี่ชาติภพ

    หากกรรมยังไม่สิ้นต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก

    ก็ขอให้ได้เกิดในยุคของพระพุทธเจ้าสักพระองค์เถิด สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2010
  4. ending

    ending เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +114
    แต่ทางโลกก็ยังตัดไม่ขาดจริงๆนั้นแหล่ะ
     
  5. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้ได้เอง
    ดังนั้นหากศาสนาเก่าไม่สิ้น จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ยังไง
     
  6. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ช่วงเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันพระพุทธโคดุมท่านตรัสรู้ คงจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วยเหตุและปัจจัยที่จะพระองค์จะสั่งสอนสัตว์โลกได้ เพราะคนสมัยนั้นส่วนมาก ยังกิเลสไม่มากมายเท่าปัจจุบันนี้ เขาไม่มีโทรทัศน์ดูกัน ไม่มีหนังโป๊ดู ไม่มีละคร ข่าวเด็ดทั้งหลายดูกัน มีทุกข์ให้เห็นพอประมาณ ในหัวคนส่วนใหญ่ก็ว่างป่าว ข้าวปลาอาหารก็บริบรูณ์ เพราะคนก็ไม่มาก คุณธรรมในตัวคนตอนนั้นก็ยังมากอยู่ คนส่วนใหญ่นะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ปัจจุบันทุกข์มันท่วมท้นแต่คนมองไม่เห็น เห็นแต่สุขทางโลกอย่างเดียว แล้วดำเนินตนให้ไปให้ถึงซึ่งความสุขเหล่านั้น โดยมองข้ามทุกข์ไป แต่ก็นั่นแหละครับ ทำไม สองพันห้าร้อยปีแรก กับสองพันห้าร้อยปีหลังถึงแตกต่างกันขนาดนี้หนอ
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทธการกธรรม
    ธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
    [​IMG]
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 005273 – โดยคุณ : mayrin [ 20 พ.ค. 2545 ]
    เนื้อความ :
    อัฏฐธรรมสโมธาน

    ความถึงพร้อมด้วยธรรม ๘ ประการ
    พระโพธิ์สัตว์คือ ผู้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนานี้จะสำเร็จหรือไม่นั้น สิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ คือ การได้รับพุทธพยากรณ์ ในชาติที่พระโพธิ์สัตว์จะได้รับพุทธพยากรณ์ (ครั้งแรก) นั้น นอกจากจะต้องบำเพ็ญบารมีมามากพอแล้ว ในชาตินั้นยังจะต้องถึงพร้อมด้วยธรรม ๘ ประการคือ
    . เกิดเป็นมนุษย์
    . เกิดเป็นชาย
    . สามารถสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ในชาตินั้น
    . ได้พบพระพุทธเจ้า
    . ได้ออกบวช
    . สมบูรณ์ด้วยสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕
    . ยอมสละชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้าได้
    . มีฉันทะ วิริยะ อุตสาหะ แสวงหาอย่างใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พุทธการกธรรมทั้งหลาย
    พุทธการกธรรม

    พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ หลังจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรกว่า ท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้ในอนาคต แล้วก็จะพิจารณา พุทธการธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) ซึ่งพระโพธิ์สัตว์องค์ก่อนๆ ได้บำเพ็ญมาแล้ว ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องบำเพ็ญหรือปฏิบัติต่อข้อธรรมแต่ละข้ออย่างไร
    พระโพธิ์สัตว์จะพิจารณาพุทธการกธรรมทีละข้อ ๆ เมื่อพิจารณาจบแต่ละข้อ ก็จะหาต่อไปว่า ยังมีธรรมข้ออื่นที่ต้องบำเพ็ญอีกหรือไม่ ถ้าพบว่ายังมีอีก ก็จะพิจารณาต่อไปอีก จนครบทั้งหมด ๑๐ ข้อ ซึ่งก็คือ บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี นั่นเอง
    พุทธการธรรมที่พระโพธิสัตว์พิจารณา และเห็นว่าเป็นธรรมที่ต้องบำเพ็ญเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้
    ๑. ทานบารมี ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญทานบารมี เหมือนอย่าง หม้อน้ำที่มีน้ำเต็มแล้วคว่ำลง หม้อน้ำนี้ย่อมคายน้ำออกจนหมดสิ้นฉันใด เราก็พึงให้ทานแก่ยาจก โดยไม่มีส่วนเหลือฉันนั้น
    ๒. ศีลบารมี ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญศีลบารมี เหมือนอย่าง จามรี ชื่อว่าจามรีย่อมไม่อาลัยแม้ชีวิต รักษาพวงหางของตนฉันใด เราก็พึงรักษาศีล โดยไม่อาลัยแม้ชีวิตฉันนั้น
    ๓. เนกขัมมบารมี ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปเราพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี เหมือนอย่าง นักโทษ ที่ถูกขังและได้รับทุกข์ทรมานในเรือนจำเป็นเวลานาน เขาผู้นั้นย่อมไม่อยากอยู่ในเรือนจำ ต้องการพ้นออกไปฉันใด เราก็พึงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ อยากพ้นไปจากภพทั้งปวงด้วยการมุ่งสู่เนกขัมมะฉันนั้น
    . ปัญญาบารมี ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญปัญญาบารมี เหมือนอย่าง พระภิกษุ พระภิกษุเมื่อออกบิณฑบาตโดยไม่เลือกตระกูลว่าจะมีฐานะสูง ต่ำ หรือปานกลาง ย่อมได้อาหารเพียงพอแก่อัตภาพฉันใด เราก็พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน เพื่อถามปัญหาฉันนั้น
    ๕. วิริยะบารมี ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญวิริยะบารมี เหมือนอย่าง พญาราชสีห์ ชื่อว่าพญาราชสีห์ย่อมมีความเพียร ไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถทุกเมื่อฉันใด เราก็พึงมีความเพียรอันมั่นคงในภพทั้งปวงฉันนั้น
    ๖. ขันติบารมี ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญขันติบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผ่นดินย่อมทนได้ต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไป ไม่ว่าจะสะอาดหรือสกปรกฉันใด เราก็พึงเป็นผู้อดทนต่อการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ฉันนั้น
    ๗. สัจจบารมี ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญสัจจบารมีเหมือนอย่าง ดาวประกายพรึก ชื่อว่าดาวประกายพรึกย่อมไม่หลีกออกไปทางอื่น โคจรอยู่เฉพาะในทางของตนฉันใด เราก็พึงไม่ก้าวล่วงจากวิถีในสัจจะ พูดแต่ความจริงฉันนั้น
    ๘. อธิษฐานบารมี ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปเราพึงบำเพ็ญอธิฐานบารมี เหมือนอย่าง ภูผาหิน ชื่อว่า ภูผาหินย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลมฉันใด เราก็จงเป็นผู้ตั้งมั่นไม่คลอนแคลนในอธิฐานบารมีฉันนั้น
    ๙. เมตตาบารมี ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญบารมี เหมือนอย่าง น้ำ ชื่อว่าน้ำย่อมทำให้รู้สึกและชำระฝุ่นผงทั้งแก่คนดีและคนไม่ดีเสมอกันฉันใด เราก็พึงแผ่เมตตาทั้งแก่คนที่ทำประโยชน์และคนที่ไม่ได้ทำประโยชน์เสมอกันฉันนั้น
    ๑๐. อุเบกขาบารมี ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปเราพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผ่นดินย่อมวางเฉย ไม่รู้สึกยินดียินร้ายต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไป ไม่ว่าจะสะอาดหรือไม่สะอาดฉันใด เราก็พึงเป็นผู้วางเฉย มีใจเสมอกันทั้งในความสุขและความทุกข์ฉันนั้น
    เมื่อพิจารณาจนเห็นพุทธการกธรรมทั้ง ๑๐ ข้อนี้แล้ว พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่าธรรมทั้งหลายที่พระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆ ได้บำเพ็ญ มาแล้ว เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้ามีเพียงเท่านี้ ไม่มีข้ออื่นอีก และธรรมเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีอยู่แม้ในอากาศหรือในทิศใดๆ เลย
    "แต่ว่าตั้งอยู่ในใจของเราเท่านั้น เราพึงตั้งใจมั่นในบารมีเหล่านี้ทั้งหมด""
    พระโพธิ์สัตว์จะพิจารณาพุทธการกธรรมทั้ง ๑๐ ข้อนี้ทั้งอนุโลมและปฏิโลม คือจากต้นไปยังปลาย และจากปลายย้อนกลับมายังต้น เมื่อพระโพธิสัตว์พิจารณาอยู่อย่างนี้อยู่หลายรอบ แผ่นดินก็ไหว เกิดเสียงกัมปนาท
    มนุษย์และเทวดาที่อยู่ในที่นั้น ต่างพากันมาบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้ และของหอม เป็นต้น กล่าวสดุดีพระโพธิ์สัตว์ว่า "วันนี้ท่านปรารถนา ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ขอความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน"
    มหาวิโลกนะ

    มหาวิโลกนะ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่" ข้อตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลก ไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี ๕ อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ
    ๑. กาล คือ อายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี)
    ๒. ทีปะ คือ ทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป
    ๓. เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดน จะอุบัติในมัธยมประเทศและทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงเกิด
    ๔. กุละ คือ ตะกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุล หรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่า เวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา
    . ชเนตติอายุปริจเฉท คือ มารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือน ไปได้ ๗ วัน
    (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
    http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-14.htm
     
  8. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    เรายัง มัวจมอยู่ในกองขี้ใน ขณะนี้

    พระธรรมมีแล้ว ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม อย่างแท้จริง

    ต่อให้ พระองค์อยู่ตรงหน้า พวกที่ไม่ปฏิบัติ ก็ยังคงจมกองขี้เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
     
  9. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกคนสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ด้วยการปฏิบัติตามพระธรรม

    หมายความว่าเราท่านก็สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็แปลว่าเราทุกคนก็เข้าสู่พระนิพพานได้เท่าเทียมกัน

    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
     
  10. สัมมาสติ

    สัมมาสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +229

    ไม่ควรคาดเดา ด้วยตนเอง ในพุทธวิสัย

    อจินไตย หมายถึงวิสัยที่ไม่ควรคิดของบุคคลทั้งหลาย
    ๑.พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า
    ๒.ญาณวิสัย วิสัยของบุคคลผู้ได้ฌาณ
    ๓.กรรมวิสัย วิสัยที่เป็นกรรม วิบากแห่งกรรม
    ๔.โลกาวิสัย ความคิดเรื่องโลกทั้งหมด




    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชาติ ๑ ชรา๑ มรณะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แลไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก...ฯ”

    อภัพพสูตร ท. อํ. (๗๖)


    ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงพิจารณา "ปัญจมหาวิโลกนะ"

    ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้า บังเกิดเป็นสันตุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเผ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดทั้งสองประชากร ให้รู้ธรรม และประพฤติธรรม สมดังที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยไว้แต่แรก

    พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู "ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึงสิ่งที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาข้อตรวจสอบที่สำคัญหรือ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง" ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้ามี ๕ อย่างคือ ๑. กาล ๒.ทวีป ๓.ประเทศ ๔.ตระกูล ๕.มารดา พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือกดังนี้

    ๑. กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์
    ๒. ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป
    ๓. ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ
    ๔. ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์
    ๕. มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา


    การที่ทรงเลือก อายุกลมนุษย์ เพราะอายุมนุษย์ขึ้นลงตามกระแสสังขาร บางยุคอายุ ๘ หมื่นปี ๔ หมื่นปี ๒ หมื่นปี อายุกาลของมนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปีตรงตามที่ทรงกำหนดไว้คือต้องไม่สั้นกว่าร้อยปี ต้องไม่ยาวเกินแสนปี ที่ทรงเลือกอายุ ๑๐๐ ปีเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เหตุที่ไม่ตรัสรู้บนสวรรค์ทั้งนี้เพราะเทวดาไม่เห็นทุกข์มีแต่สุข อายุยืนยาวนานนัก จะไม่เห็นอริยสัจ การตรัสรู้ธรรมและแสดงธรรมได้ผลดีมากในเมืองมนุษย์

    การที่ทรงเลือกชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า "ทวีปแห่งต้นหว้า" เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ แผ่นดินชมพูทวีปในยุคนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียในปัจจุปันมากนัก มีดินแดนกินประเทศอื่นในปัจจุบันอีก ๖ ประเทศคือ ๑.ปากีสถาน ๒. บังกลาเทศ ๓. เนปาล ๔.ภูฏาน ๕.สิขิม ๖. บางส่วนของอัฟกานิสถาน (แคว้นกัมโพชะ ในมหาชนบท ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน)

    ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่งเป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฎอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้างมีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้างโดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย
    คนในชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทรคนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่าง ๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดาเจ้าลัทธิเจ้าสำนักผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

    การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัด เหนือ ๑ อาณาเขต อาณาเขตในคือ มัชณิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาวเป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่าปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน

    การที่ทรงเลือกอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา เพระทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมบัติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ และศากยสกุลเป็นตระกูลที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร ถ้าไม่บริสุทธิ์ก็ยากที่จะมีคนเคารพนับถือ การเผยแผ่ศาสนาจะทำได้ยาก เพราะคนในสมัยนั่นถือชั้นวรรณะกันมากจึงเลือกวรรณะกษัตริย์ ที่สูงสุด เพราะไม่ใช่เพื่อตรัสรู้อย่างเดียว ทรงประประสงค์สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนด้วย

    การที่ทรงเลือกมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่ไม่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์
    พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนมลทินโทษ มิฉะนั้น จะยากแก่การเผยแผ่ศาสนาจะถูกโจมตี พระนางสิริมหามายา ได้อธิฐานไว้ว่า ขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้าเมื่อประสูติ พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต เพระสงวนไว้สำหรับประสูติพระพุทธเจ้าองค์เดียว ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพระพุทธมารดาไม่ได้เป็นหญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพระอธิฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...