เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 26 เมษายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ภารกิจสำคัญก็คือไปเป็นคณะกรรมการอำนวยการในการสอบบาลีสนามหลวงครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๖๕ ที่วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ซึ่งนอกจากมีการสอบแล้ว ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารและสิ่งของพระราชทาน แก่พระภิกษุสามเณรผู้เข้าสอบในครั้งนี้อีกด้วย

    ตรงจุดนี้นั้นต้องบอกว่า การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยนั้น ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทุกยุคทุกสมัย เนื่องเพราะว่าการเรียนนักธรรมบาลีนั้น เป็นการสืบทอดคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญมาก ก็คือเราจะได้รู้ว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกนั้น มีการแปลมาผิดเพี้ยนผิดพลาดอย่างไรหรือไม่ ? เมื่อตนเองศึกษาในภาษาบาลีได้คล่องตัวแล้ว ก็สามารถที่จะแปลบาลีด้วยตนเองเพื่อตรวจสอบได้

    แต่ว่าในพระไตรปิฎกที่ได้แปลเป็นภาษาไทยของเรานั้น ตั้งแต่ฉบับสยามรัฐเป็นต้นมา ก็ได้มีการตรวจชำระหลายครั้ง เพียงแต่ว่าการตรวจชำระนั้น ก็ยังหาที่ผิดพลาดได้น้อยมาก อย่างเช่นแค่ เปลี่ยนคำว่า ชโน มาเป็น ชนํ คือ ชนทั้งหลาย เท่านั้น เป็นต้น

    การเรียนบาลีในบ้านของเราแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือประโยคเปรียญตรี เรียนตั้งแต่ประโยค ๑, ๒, ๓ ซึ่งผู้เรียนนั้น ต้องจบนักธรรมชั้นตรีเสียก่อนถึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบได้

    ประโยคเปรียญโทนั้น เรียนในประโยค ๔, ๕ และ ๖ ผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้าสอบนั้น ต้องสอบนักธรรมชั้นโทให้ได้เสียก่อน
    ระดับสุดท้าย คือเปรียญเอก อยู่ในระดับประโยค ๗, ๘ และ ๙ ผู้ที่จะมีสิทธิ์เรียนและสอบนั้น จะต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้เสียก่อน

    ดังนั้น...มีแบบธรรมเนียมอยู่อย่างหนึ่งว่า เมื่อเขียนวิทยฐานะของพระต่อท้ายชื่อ - ฉายา ก็จะมีคำว่า "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๓" เป็นต้น
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    แต่ถ้าหากถึงเปรียญเอกเป็นต้นไป คือเปรียญธรรม ๗ ประโยค ๘ ประโยค และ ๙ ประโยคนั้น ไม่ต้องมีคำว่า "น.ธ.เอก" นำหน้า เพราะว่าเป็นการบังคับอยู่แล้วว่าต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้ ถึงจะมีสิทธิ์ในการเข้าสอบเปรียญเอกทั้ง ๓ ระดับนี้

    ใครเขียนว่า "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๗" "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๘" หรือว่า "น.ธ.เอก, ป.ธ. ๙" ก็จะโดนคนอื่นโห่ว่า "เชยมาก" เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ต่อให้ไม่ระบุ เราก็จะรู้ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้ต้องจบนักธรรมชั้นเอกแล้ว

    เพียงแต่ว่าการศึกษาบาลีในบ้านเรานั้น เมื่อจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคแล้ว ถ้าหากว่าไม่ไปศึกษาในปริยัติสามัญ ก็คือปริญญาโทหรือปริญญาเอก ก็จะจบลงด้วน ๆ แค่นั้น เนื่องเพราะว่าการจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิการศึกษาให้เท่ากับปริญญาตรีเท่านั้น จัดว่าเป็นปริญญาตรีที่ต้องใช้เวลาเรียนมากที่สุดในประเทศไทย

    เนื่องเพราะว่าถ้าผู้เรียนสามารถสอบต่อเนื่องกันได้โดยไม่ตกเลยแม้แต่ครั้งเดียว ก็ต้องใช้เวลาในการเรียนอย่างน้อย ๘ ปีเต็ม แต่ในเมื่อทางด้านกระทรวงฯ อนุมัติให้แค่นั้น คนส่วนใหญ่ก็จะมาต่อในส่วนของปริญญาโท ก็คือใช้สิทธิ์ปริญญาตรีจากเปรียญธรรม ๙ ประโยค มาเรียนในระดับปริญญาโทเลย

    ในสมัยที่กระผม/อาตมภาพเรียนในระดับปริญญาโทอยู่ มีเพื่อนร่วมรุ่นบางรายที่ใช้วุฒิการศึกษาปริญญาตรีจากเปรียญธรรม ๙ ประโยคมาเรียนต่อ เป็นอะไรที่ดูแล้วน่าสงสารมาก เพราะว่าท่านไม่มีความรู้พื้นฐานในระดับมัธยม หรือว่าในระดับปริญญาตรีเลย โดยเฉพาะวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น ก็เลยทำให้ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ต้องเรียนกันด้วยความยากลำยากมาก ต้องพยายามทำความเข้าใจหนักกว่ากระผม/อาตมภาพหลายเท่า ตรงจุดนี้กระผม/อาตมภาพถึงได้ต้องมีการช่วยสรุปเนื้อหาการเรียน เพื่อที่จะให้เพื่อนเอาไปท่องจำ หรือว่าเอาไปศึกษา จะได้ช่วยให้สอบได้ง่ายขึ้น
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    แต่ว่าในประเทศพม่านั้น เมื่อท่านจบประโยค ๘ ก็คือชั้นธัมมะจริยะแล้ว เทียบเท่ากับเปรียญธรรม ๙ ประโยคของเรา เขาจะมีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เรียกว่าบาลีปารคู ถ้าหากว่าแปลเป็นภาษาไทย คือ ผู้ถึงฝั่งแห่งบาลี

    การศึกษาในระดับนี้นั้น เขาจะใช้ภาษาบาลีในชีวิตประจำวัน ก็คือสื่อสารสนทนากันเป็นภาษาบาลี เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและคุ้นเคยกับไวยากรณ์ และศัพท์แสงต่าง ๆ ของสิ่งของที่ในสมัยนี้พัฒนา หรือว่ามีขึ้นมากกว่าในสมัยโบราณ

    อย่างที่บ้านเราเมืองเรามาตกลงกันว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ นั้น ถ้าหากว่าโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ภาษาบาลีสรุปลงมาใช้คำว่า โควิโต เป็นต้น คราวนี้ในเมื่อคุ้นเคยกับศัพท์แสงทั้งเก่าและใหม่ คุ้นเคยกับไวยากรณ์บาลี สามารถใช้สนทนากันได้ในชีวิตประจำวัน ถึงจะสมกับที่ใช้คำว่าบาลีปารคู คือ ผู้ถึงฝั่งแห่งบาลี

    เช่นเดียวกับที่กระผม/อาตมภาพไปประเทศพม่า แล้วเจอพระมหาเถระบางรูป อย่างเช่นท่านอาจารย์ใหญ่ยานิกะ ซึ่งท่านเป็น "เซียนบาลี" จบธัมมะจริยะตั้งแต่สามเณร ถ้าหากว่าเป็นบ้านเราก็คือจบเปรียญธรรม ๙ ประโยคตั้งแต่เป็นสามเณร ท่านอาจารย์ใหญ่เห็นว่าพูดภาษาอังกฤษสำเนียงพม่าแล้ว กระผม/อาตมภาพต้องใช้เวลาในการฟังนานมาก ท่านจึงเปลี่ยนมาพูดภาษาบาลี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ว่า กระผม/อาตมภาพสามารถที่จะตีความในภาษาบาลีที่ท่านพูดมา ได้มากกว่าภาษาอังกฤษเสียอีก ท่านก็เลยใช้ภาษาบาลีในการสนทนาเป็นประจำ
    ตรงจุดนี้ถ้าหากว่ากระผม/อาตมภาพอยู่พม่าต่อไป อาจจะจบบาลีปารคูโดยไม่รู้ตัว เพราะว่าการใช้ภาษาบาลีสนทนานั้น ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ คือ เมื่อเรามีความคุ้นเคย ก็จะคล่องปากมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วท้ายที่สุดก็จะสามารถหลุดพูดออกไปได้อย่างอัตโนมัติ

    การเรียนภาษาบาลีในระดับนี้นั้น เท่าที่กระผม/อาตมภาพทราบมา ในบ้านเราเมืองเราก็มีอยู่แค่ ๒ แห่งเท่านั้น แห่งแรกก็คือสำนักเรียนวัดจองคำ จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้การท่องภาษาบาลีแบบเดียวกับประเทศพม่า หมายความว่าพระภิกษุสามเณรผู้เข้าเรียนบาลีนั้น จะต้องท่องจำให้ขึ้นใจทุกคำ จะไม่มีการเก็งข้อสอบ ก็คือไม่ว่าอาจารย์จะออกข้อสอบตรงไหนมา เราก็จะมี ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ ที่อยู่ในหัว สามารถที่จะทำได้ทุกข้อ
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    แต่ว่าในปัจจุบันนั้น การเรียนบาลีในประเทศไทยมีการเก็งข้อสอบ ทำให้นักเรียนบาลีจำนวนหนึ่ง ถ้าไม่ใช่ข้อสอบที่เก็งแล้วตนเองท่องจำเอาไว้ ก็จะไม่มีความชำนาญในบาลีส่วนอื่น ตรงจุดนี้อาจจะทำให้เกิดการตกต่ำของการศึกษาบาลีในประเทศไทยของเราได้

    อีกสำนักหนึ่งนั้น เกิดจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตเจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติการาม ท่านไปตั้งสถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส ขึ้นที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งปัจจุบันนี้น่าจะอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล

    ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าคุณพระราชปริยัติโมลี ท่านยังไปขอตัวอาตมภาพจากหลวงพ่อวัดท่าซุง เพื่อที่จะให้มาเรียนในสถาบันนี้ โดยที่ผู้ที่จะเข้าเรียนนั้น ต้องมีพื้นฐานจบบาลีมาอย่างน้อย ๕ ประโยค แต่ว่ากระผม/อาตมภาพเรียนถวายหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงไปว่า "ถ้าหากว่าห่างหลวงพ่อแล้ว ผมคิดว่าผมคงจะเลวแน่นอน ดังนั้น...จึงไม่ขอไปเรียนครับ"

    จนกระทั่งท้ายสุด เมื่อได้มาเป็นเจ้าคณะตำบลชะแล เขต ๒ ทางด้านสถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส ได้ยกระดับขึ้นไปเป็นวิทยาลัยสงฆ์บาฬีพุทธโฆส มีการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ สำหรับพระสังฆาธิการมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แล้วทางจังหวัดกำหนดให้กระผม/อาตมภาพมาเรียนต่อในระดับนี้ เมื่อท่าน...ตอนนั้นซึ่งเป็นเจ้าคุณพระพรหมโมลี รองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ เจอหน้ากระผม/อาตมภาพเข้าก็หัวเราะ บอกว่า "ท้ายที่สุดคุณก็ต้องมาเป็นลูกศิษย์ของผมจนได้"

    เมื่อเรียนต่อในระดับปริญญาโท ถึงได้เข้าใจว่า ทำไมการศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยของเรา จึงไม่แตกฉานเท่ากับประเทศพม่าหรือว่าประเทศลาว ? เหตุเพราะว่าเราไม่ได้เรียน "บาลีใหญ่" หรือที่เรียกว่า มูลกัจจายน์ เมื่อเรียนในระดับปริญญาตรี มีวิชาบาลีไวยากรณ์ ๑-๒-๓-๔-๕ เป็นต้น เราก็มีการศึกษาในส่วนของตำราบาลีใหญ่ที่แบ่งมาเป็นส่วน ๆ อย่างเช่น ปทรูปสิทธิ เป็นต้น ทำให้เราได้รู้ว่า ภาษาบาลีนั้นมีการเข้าสูตร มีการพิจารณาว่า การที่ใช้ทีฆสระ รัสสระ การที่เราพิจารณาจากลิงค์ คือเพศในภาษา เป็นต้น มีที่มาที่ไปอย่างไร ค่อยรู้ภาษาบาลีได้โดยชัดเจนขึ้น
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    นอกจากนี้ ประเทศพม่ายังมีการเรียนในระดับสูงยิ่งไปกว่าบาลีปารคู ก็คือการเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้ที่จบการทรงพระไตรปิฎกนั้น สามารถที่จะท่องจำพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ได้ ซึ่งตรงจุดนี้ทางกินเนสบุ๊ค เวิลด์ ออฟ เรคคอร์ด เคยได้พิสูจน์ หลวงปู่ภัททันตะ วิจิตตะ สาราภิวังสะ ที่ชาวพม่าเรียกว่า มิงกุนสยาดอ ให้ท่านลองท่องให้ฟัง ปรากฏว่าท่านสามารถท่องพระไตรปิฎกทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ได้คล่องแคล่วมาก จนได้รับการบันทึกลงในกินเนสบุ๊คว่า เป็นบุคคลที่สามารถจดจำเนื้อหาหนังสือได้มากที่สุดในโลก

    และที่สำคัญที่สุดก็คือความจำของท่านนั้น นอกจากต้องจำอักขระประมาณ ๑๐,๐๐๐ หน้ากระดาษ A4 แล้ว ถ้าหากว่าบอกบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง ท่านยังสามารถบอกได้ว่า บาลีประโยคนั้นมาจากในนิกายไหน ปิฎกไหน ของพระไตรปิฎก เรียกง่าย ๆ ว่ามีความคล่องตัวมากกว่า "กูเกิล" สมัยนี้เสียอีก เพราะว่ากูเกิลนั้น ถ้าเราถามไป ก็จะมีประโยคบาลีมาหลาย ๆ แห่ง ให้เราเลือกว่าเป็นประโยคไหน แต่ของหลวงปู่ภัททันตะ วิจิตตะ ท่านสามารถบอกได้เองเลยว่า บาลีประโยคนั้นมาจากเล่มไหน ข้อไหนของพระไตรปิฎก เป็นต้น

    แล้วในช่วงที่กระผม/อาตมภาพไปสร้างวัดอยู่ในประเทศพม่า ระหว่างที่รอวัสดุก่อสร้าง ก็ได้ไปท่องเที่ยวประเทศพม่า มีโอกาสกราบพบพระมหาเถระชาวพม่าที่จบพระไตรปิฎก คือสามารถทรงจำได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์จริง ๆ ท่านทั้งหลายเหล่านี้จะมีคำว่า ตรีปิฏกบัณฑิต ต่อท้ายนาม เป็นต้น อย่างเช่นหลวงปู่ชฏิละ วัดชุยยีเซา

    เนื่องจากว่าในสมัยที่กระผม/อาตมภาพไปสร้างวัดอยู่ ได้ไปดูการสอบพระผู้ทรงพระไตรปิฎกของเขาอยู่ ๕ ปีต่อเนื่องกัน แต่ละปีจะมีพระเข้าสอบประมาณ ๓๐ กว่ารูป ปรากฏว่าตกยกชั้นทุกรูป..! ปัจจุบันนี้จึงมีการปรับลงมาว่า จากการที่ให้ท่องจำทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เลย เป็นภาระที่หนักมาก จึงกำหนดให้ทรงจำทีละปิฎก จะเริ่มจากวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ดี พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ดี หรือว่าพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ก็ตาม
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,261
    ค่าพลัง:
    +25,980
    ถ้าหากว่าท่านสามารถท่องผ่านปิฎกใดได้ ก็ถือว่าผ่านแล้ว เก็บเอาไว้ แล้วท่านก็ไปท่องจำปิฎกอื่นแทน ถ้าหากว่าผ่านครบทั้ง ๓ ปิฎก ก็จะได้นามตรีปิฏกบัณฑิตต่อท้ายเช่นกัน ซึ่งตรงนี้ก็คือการที่ศึกษาพระไตรปิฎกตกต่ำลง คล้าย ๆ กับประเทศของเราเช่นกัน

    วันพรุ่งนี้ยังเป็นอีกวันหนึ่งที่กระผม/อาตมภาพต้องไปเป็นกรรมการตรวจเยี่ยมสนามเช่นเดิม ถ้าหากว่ามีสิ่งหนึ่งประการใดที่ควรจะบอก ควรที่จะเล่าให้แก่ท่านทั้งหลายทราบ ก็จะนำเอามาบันทึกให้ท่านทั้งหลายได้ฟังกันต่อไป

    สำหรับวันนี้ ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา ตลอดจนบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...