เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๔

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 6 ธันวาคม 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,663
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,551
    ค่าพลัง:
    +26,390
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๔


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2021
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,663
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,551
    ค่าพลัง:
    +26,390
    วันนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ ได้ทำการปิดโครงการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติรุ่นที่ ๕ ปี ๒๕๖๔ ซึ่งโดยปกติแล้วต้องจัดอย่างน้อยปีละ ๖ ครั้ง แต่เนื่องจากว่าอยู่ในช่วงระยะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ทำให้ต้องงดลงไปหลายครั้ง ดังนั้น...ครั้งที่ ๕ นี้ ก็น่าจะเป็นครั้งสิ้นสุดของการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ปี ๒๕๖๔ ต่อไปก็จะเป็นครั้งที่ ๑ ของปี ๒๕๖๕ ก็คือช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

    จากครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ นี้ ทางวัดท่าขนุนของเราให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าไปโหลดวุฒิบัตรได้ในระบบออนไลน์ ซึ่งสะดวกด้วยประการทั้งปวง ไม่เช่นนั้นแล้วถ้ามอบให้เป็นกระดาษไป ขนาดของกระผม/อาตมภาพก็คงพอมุงหลังคาบ้านได้หลายหลัง...! เพราะว่าแค่ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนที่ผ่านมา กระผม/อาตมภาพต้องเข้าอบรมและทำแบบทดสอบ ได้วุฒิบัตรมา ๔๐๐ กว่าใบ..! ดังนั้น...ในเมื่อเป็นระบบออนไลน์ เราเก็บเอาไว้เป็นไฟล์จะสะดวกกว่า ไม่ต้องรักษากระดาษกองใหญ่ ซึ่งจะชำรุดเสียหายเมื่อไรก็ไม่รู้

    ระบบพวกนี้ ถ้าหากว่าเราเริ่มต้นแล้วก็จะทำให้ญาติโยมคุ้นชิน และท้ายที่สุดก็จะได้รับความสะดวกไปเอง จากจุดนี้ก็ต้องถือว่าทางวัดท่าขนุนเป็นวัดแรก ๆ ที่ออกวุฒิบัตรในการปฏิบัติธรรมผ่านระบบออนไลน์ ดังที่เคยได้กล่าวเอาไว้แล้วว่า ถ้าหากเรานำหน้าเขาก็ไม่เหนื่อย แต่ถ้าเราต้องวิ่งไล่ตามเขาแล้ว จะเหนื่อยมาก

    หลังจากปิดการปฏิบัติธรรมแล้ว กระผม/อาตมภาพก็ไปตรวจการสร้างหอพักนักเรียนบ้านไกล ซึ่งมีไว้ให้สำหรับนักเรียนในระดับ ปวช.ของโรงเรียนทองผาภูมิวิทยาจะได้พักกัน แล้วทางโรงเรียนก็ได้ขอข้าวสารอาหารแห้งสำหรับเด็ก ซึ่งมอบหมายให้เลขาฯ พัฒน์ (พระพัฒน์ ฐิตาจาโร) ตรงนี้เลยว่า ช่วยโทรแจ้งไปทางโรงเรียนด้วยว่า พรุ่งนี้ประมาณ ๑๐ โมงเช้า ให้เอารถมาขนข้าวสารไปได้ จะมอบให้ ๑ ตัน ไม่พอกินแล้วค่อยมาว่ากันใหม่

    หลังจากนั้นก็ไปตรวจเยี่ยมการทำงานของคณะกรรมการชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจำหน่ายสินค้าชุมชน ซึ่งช่วง ๓ วันที่ผ่านมา คณะกรรมการทุกคนบอกว่า สินค้าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ก็คือขายได้ระดับวันหนึ่งเป็นหมื่นบาท แต่ว่าเมื่อเราหักค่าวางของแล้ว คืนค่าสินค้าไป ก็ได้เงินเข้าส่วนกลางแค่ประมาณ ๔๐๐ กว่าบาทเท่านั้น..! เพราะว่าเจตนาแต่ดั้งเดิมของกระผม/อาตมภาพก็คือ การที่เราสนับสนุนให้ญาติโยมผลิตสินค้า ก็ต้องหาตลาดให้เขาด้วย ไม่อย่างนั้นแล้วผลิตมาขายไม่ได้ ก็ไม่มีใครมีอารมณ์ผลิตให้คุณหรอก..!
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,663
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,551
    ค่าพลัง:
    +26,390
    ช่วงก่อนหน้านี้ก็มีการเปิดตลาดชุมชนเวลาวัดมีงาน ก็คือขายกันในวัดเลย ในเมื่อตอนนี้เรามีร้านค้าชุมชนอย่างเป็นทางการแล้ว จึงเอาไปรวมกันที่ร้านค้า เดี๋ยวว่าจะไปปรึกษาเถ้าแก่ยุง (นายพยุง เพ็งเลา) เจ้าของร้านทองผาภูมิอิงค์เจ็ท ว่าจะทำป้ายให้ลักษณะไหนที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเห็นชัด ๆ

    เพราะว่าทุกวันนี้ส่วนใหญ่เกิน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้ว่ามีร้านค้าชุมชน เนื่องเพราะว่าอยู่ในจุดที่หักมุม หลบสายตาพอดี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็จะขับรถเลี้ยวขวาออกถนนสายหลักเพื่อกลับกรุงเทพฯ ไปเลย แต่ถ้าหากว่าเราติดป้ายใหญ่ ๆ สะดุดตาหน่อย ก็น่าจะช่วยได้มาก และสามารถที่จะประชาสัมพันธ์ได้ ๒ งานด้วยกันเลย ก็คืองานโครงการ "หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าซิ่น นั่งแคร่ไม้ ใส่บาตรพระทุกวันอาทิตย์" พร้อมกับร้านค้าชุมชนของเรา

    พอดีว่าท่านนายอำเภอนภเดช เกลียวศิริกุล พาครอบครัวแวะมาร้านค้าชุมชน จึงมีการปรึกษากัน ท่านนายอำเภอและท่านผู้กำกับคนใหม่ ก็คือ พ.ต.อ.สันติ พิทักษ์สกุล ที่ย้ายมาแทน พ.ต.อ.บุญส่งวิทย์ ห้องแซง ซึ่งย้ายไปอยู่ สภ.แสมดำ ทั้งสองท่านมีแนวคิดตรงกันว่า ควรที่จะประดับไฟที่สะพานแขวนหลวงปู่สาย เพื่อได้เป็นจุดถ่ายรูปสำหรับนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืน

    กระผม/อาตมภาพแจ้งทั้งสองท่านไปว่าบอกช้าไป ทางวัดเตรียมงานไว้หมดแล้ว ก็คือเคยประดับไฟในลักษณะไฟราวดวงเล็ก ๆ ที่ระยิบระยับเหมือนกับดวงดาว แต่ว่าลงทุนไปหลายหมื่นบาทแล้วก็ไปไม่รอด เพราะว่าหลอดไฟเสีย คือดับเร็วมาก ถ้าหากว่าดับทีเปลี่ยนทีก็ไม่คุ้ม จึงต้องยกเลิกโครงการไป

    คราวนี้พอเห็นท่านตี้ (พระวสุพล อภิปุญฺโญ) กับคณะ ช่วยกันประดับโคมไฟทางด้านถนนหน้าลานธรรมในช่วงที่ผ่านมา กระผม/อาตมภาพเห็นว่าดูดี ก็เลยให้เบิกงบประมาณไปเพื่อจัดทำโคมไฟราว เพื่อประดับสะพานแขวนของเราให้อยู่ในลักษณะเดียวกัน

    แล้วท่านนายอำเภอนภเดชก็ปรารภว่า อยากให้มีแหล่งเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของทองผาภูมิ แต่ไม่ใช่ที่มั่วสุมอบายมุข ได้คุยกันไปถึงการสร้างในลักษณะตลาดริมฝั่งแควน้อย จะอยู่ในลักษณะของการเป็นตลาดจำหน่ายสินค้า อาจจะมีการละเล่นอะไรทางวัฒนธรรมนิดหน่อย มีอาหารง่าย ๆ ที่ไม่สร้างขยะ อย่างเช่นว่าเช้า ๆ ขึ้นมาก็มี ขนมปัง กาแฟ ไข่คน อะไรระดับนั้น ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,663
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,551
    ค่าพลัง:
    +26,390
    จากการที่ปรึกษากัน ก็ตรงกับแนวคิดที่กระผม/อาตมภาพที่จะทำงานใหญ่กว่านั้นอีก ก็คือจะทำสกายวอล์ค แต่ว่ามีประโยชน์น้อย เพราะว่ามีไว้ให้คนไปเดินเล่นอย่างเดียว ในเมื่อท่านนายอำเภอนภเดชกับท่านผู้กำกับสันติออกความเห็นเรื่องนี้มา ก็เลยกลายเป็นความเห็นตรงกัน คาดว่าภายในอาทิตย์นี้ กระผม/อาตมภาพจะติดต่อผู้รับเหมามาสำรวจสถานที่ในเบื้องต้นก่อน

    ระดับแรกเลยก็คือจะสร้างยาวประมาณ ๒๐๐ เมตรริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ด้านหลังบ้านพักผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรทองผาภูมินั่นเอง จะอยู่ในระดับที่ ถ้าหากมีการสร้างเขื่อนวชิราลงกรณตอนล่างแล้ว ต้องพ้นจากระดับน้ำท่วมขัง ความกว้างก็น่าจะอยู่ที่ ๖ หรือ ๘ เมตร ก็คือเมื่อพ่อค้าแม่ขายวางสินค้าแล้ว จะต้องมีที่ให้ญาติโยมเดินดูเพื่อซื้อหาสินค้าได้สะดวก แล้วก็อาจจะมีลานสักสามสี่แห่ง อยู่ในลักษณะสำหรับตั้งโต๊ะ ตั้งเก้าอี้ สำหรับรับประทานอาหารหรือนั่งชมวิวแบบสบาย ๆ ของนักท่องเที่ยว และอาจจะเป็นลานแสดงทางวัฒนธรรมด้วย

    อันดับแรกเลยตั้งใจไว้ว่าทำไว้สองหรือสามร้อยเมตร ก็คงราคาอยู่ในระดับเลขแปดหลัก (สิบล้าน) ขึ้นไป หลังจากนั้นถ้าหากว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ จะขยายต่อไปจนถึงท่าน้ำเทศบาล ซึ่งก็คงจะยาวเป็นกิโลเมตร..!

    โครงการพวกนี้ถ้าเกิดขึ้นเมื่อไร ชาวบ้านเราได้ประโยชน์ก่อน สินค้าทุกอย่างที่ผลิตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นพืชผลการเกษตร เครื่องจักสาน ผ้าทอ สินค้าทำมืออื่น ๆ ตลอดจนกระทั่งอาหารขายจะได้ ถ้าหากว่านักท่องเที่ยวมา เรื่องของที่พัก ที่อยู่ ที่กินอะไร สารพัดทุกอย่างก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด

    ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายคิดว่าเราเป็นพระ ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการทำมาหากินของชาวบ้านด้วยหรือ ? ก็ขอบอกว่า พระเราถ้าหากว่าภาระทางใจมีน้อยแล้ว ควรที่จะช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นผู้มีอุปการคุณต่อพวกเรา ก็คือทำบุญใส่บาตรให้พวกเราได้กินได้ใช้กัน ช่วยได้มากเท่าไรก็เอาเท่านั้น

    อันดับแรกก็คือ ชุมชนรอบวัดตนเองก่อน หลังจากนั้นถ้ามีกำลังมากขึ้นแล้ว ค่อยขยายกว้างออกไปเรื่อย งานพวกนี้เมื่อเราทำแล้ว จะเกิดแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตามอีกด้วย
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,663
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,551
    ค่าพลัง:
    +26,390
    อย่างเช่นว่าโครงการ "หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าซิ่น นั่งแคร่ไม้ ใส่บาตรพระทุกวันอาทิตย์" ที่ชุมชุนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุนได้ทำขึ้นนั้น ตอนนี้ออกอีสานไปแล้ว ที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนนำเลย ของเขาจะทำกันทุกวันจันทร์ พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าหากว่านักท่องเที่ยวใส่บาตรเช้าวันอาทิตย์ที่วัดท่าขนุนเสร็จ ถ้าขับรถยาวไปเลย ก็ไปใส่บาตรเช้าวันจันทร์ที่ศรีสะเกษได้ทัน ประมาณนั้น อันนี้พูดเล่นนะ..! ก็คือท่านก็คงต้องการให้นักท่องเที่ยวมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ศรีสะเกษบ้าง

    ของเราเองนั้นก็ไม่ใช่ต้นแบบ ต้นแบบจริง ๆ ก็คือถนนสู้ศึกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของเขาเองมีพระเณรรวมแล้วแค่ ๑๐ รูป ยังสามารถจัดโครงการให้นักท่องเที่ยวใส่บาตรได้ทุกวัน แล้วพระเณรของเราจะท่วมวัดตาย..! ตั้งสี่ห้าสิบรูป..ทำไมเราจะจัดไม่ได้ ? เมื่อเห็นปุ๊บผมก็สั่งจัดตามปั๊บเลย กลายเป็นว่ากำลังติดตลาด เชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ก็ระเบิดขึ้นมาพอดี ก็อาจจะทำให้โครงการเงียบเหงาลงไปหน่อยหนึ่ง

    ช่วงนี้ก็เริ่มฟื้นตัวกลับคืนมา ท่านจะเห็นว่านอกจากวันอาทิตย์แล้ว เมื่อเช้าเขาก็ยังมาดักใส่บาตรกัน เพราะรู้ว่าพระต้องเดินผ่านตรงจุดนั้น ในเมื่อนักท่องเที่ยวมาใส่บาตร สินค้าของเราก็ขายได้ เพราะว่าร้านค้าชุมชนก็อยู่บริเวณเดียวกัน

    เรื่องของการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ญาติโยมเขา ก็คือการพึ่งพาอาศัยกันขององค์กรพุทธบริษัท ๔ ของพระพุทธเจ้า ถ้าพวกท่านสังเกต จะเห็นว่าพุทธบริษัท ๔ นั้นแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายอนาคาริกะ คือผู้ไม่มีบ้านเรือนแล้ว ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี เป็นต้น ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมให้ได้ผล คนที่ทำได้ผลแล้วไปบอกกล่าวผู้อื่น จะบอกแบบง่ายและทำได้จริง ไม่ต้องเสียเวลาไปคิดว่า คาดว่า แล้วก็ลองผิดลองถูก

    เมื่อนำไปบอกแก่ฝ่ายอาคาริกะ คือผู้ครองเรือน ได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งต้องวุ่นวายกับการมีครอบครัว ต้องทำมาหากิน แต่ก็สนับสนุนฝ่ายอนาคาริกะด้วยการถวายปัจจัย ๔ ให้ดำรงชีวิตได้ เมื่อได้หลักการปฏิบัติแบบง่ายไป ก็สามารถที่จะปฏิบัติให้เกิดผลแก่ตนเองได้เช่นกัน

    ดังนั้น...ในองค์กรพุทธบริษัท ๔ จึงเป็นไปแบบ "น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย" การที่เราอนุเคราะห์สงเคราะห์แก่ญาติโยม ไม่ว่าจะรอบวัดหรือสถานที่อื่น ก็คือการประคับประคององค์กรทางพุทธศาสนาของเรา ให้ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระเป็นเณรแล้ว ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับการทำมาหากินของญาติโยมเขา แต่เป็นหน้าที่ซึ่งเราต้องทำเลย..!

    แต่ก่อนที่เราจะทำหน้าที่เหล่านั้น เราต้องทำการชำระใจของตนเองให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เสริมสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญา ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปผจญกับงาน ซึ่งก็คือการผจญกับคนที่มีสารพัดกิเลส เราจะได้มีกำลังเพียงพอที่จะสู้กับงานทั้งหลายเหล่านั้นได้

    วันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา ตลอดจนกระทั่งบอกกล่าวแก่ญาติโยมทั้งหลายแต่เพียงเท่านี้


    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...