เสขิยวัตรทางธรรมทางโลก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 7 กรกฎาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px solid">
    เสขิยวัตร<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทางธรรม ทางโลก<o:p></o:p>
    15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันอาสาฬหบูชา ปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 7กรกฎาคม <o:p></o:p>
    ตามประวัติทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงอาสาฬหบูชา เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือพระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือธรรมจักกัปปวัตนสูตร หมายถึงพระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรม ที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้ <o:p></o:p>
    หน่วยงานรัฐหรือราชการคือกรมการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ส่งเสริมเผยแพร่งานพระพุทธศาสนาก็เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำกิจกรรม ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม เวียนเทียน <o:p></o:p>
    ถัดวันรุ่งขึ้น ก็เข้าแรม 1 ค่ำ เป็นวันเข้าพรรษา ปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 8 กรกฎาคม เป็นวันเริ่มต้นที่พระ ภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่กับที่วัด ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี (8 ก.ค.-3ต.ค.) กิจกรรมงานบุญก็ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา หล่อเทียน แห่เทียนเข้าวัดหรือนำไปถวายวัด ไม่ใช่แห่เทียนรอบวัดหรือแห่อยู่นอกวัด แล้วไปตั้งประกวดโชว์กันที่สวนสาธารณะอย่างที่ทำกันทุกวันนี้<o:p></o:p>
    เรื่องแห่เทียนออกนอกวัดนี้ กรมการศาสนาก็ดี สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ก็ดี ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจพิธีของการหล่อเทียน แห่เทียนให้ประชาชนเข้าใจ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ทำกันเพี้ยนๆ ที่สุดแล้วจะหาแก่นของหล่อเทียนพรรษาไม่เจอ <o:p></o:p>
    พูดถึงเข้าพรรษาแล้ว ขอหยิบงานเขียน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านว่าเรื่อง บวช และหลังบวช มาให้อ่านกัน ว่าเมื่อกุลบุตรหรือผู้ชายคนไทยเมื่ออายุครบ 20 ถือธรรมเนียมเข้าบวช ในระหว่างพรรษาไปอยู่กันในวัดเข้าไปอยู่ในสังคมสงฆ์ <o:p></o:p>
    ในสังคมไทยสมัยก่อนถือว่า การเข้าบวชนี้เป็นการทำให้คนเป็นคน ที่เขาเรียกว่า คนสุก ได้รับการศึกษาอบรมแล้วด้วยดี เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไปได้ <o:p></o:p>
    เมื่อสึกออกมาแล้ว เทียบกับเดี๋ยวนี้ก็เห็นจะต้องให้เกียรติเท่ากับผู้ที่ได้รับปริญญา เพราะคนที่สึกจากพระแล้ว เขาเรียกว่า บัณฑิต ย่อลงมาเป็น ทิด ภาษาไทยไม่ชอบหลายพยางค์ก็เรียกว่า พี่ทิดบ้าง พ่อทิดบ้าง จนไปถึงอ้ายทิดสุดแล้วแต่ แต่ก็ยังเป็นบัณฑิตอยู่นั่นเองเป็นการยกย่อง<o:p></o:p>
    แม้แต่คนที่บวชแล้ว ไปเกิดผิดวินัยขั้นปาราชิกขาดจากสงฆ์ ต้องสึกออกมา คนไทยก็ยกย่องเรียกว่า สมี หรือท่านสมี เป็นที่นับน่าถือตา <o:p></o:p>
    คำว่าสมีนั้น มาจากภาษาเขมรว่า สมีร สมีรแปลว่า เสมียน นั่นเอง ในภาษาไทยคือเป็นคนที่รู้หนังสือ อ่านออกเขียนได้ เขาเรียกว่าท่านสมี ในข้อนี้ก็เป็นเรื่องแปลก อังกฤษเรียกพระว่าเสมียนเหมือนกัน คือเรียกว่า parish แปลว่า เสมียน ซึ่งหมายถึงคนเขียนหนังสือ โปรดสังเกตไว้ด้วยนี่พูดขึ้นมาเพราะเห็นว่ามันแปลกดี<o:p></o:p>
    ในสมัยก่อนสังคมยกย่องคนที่บวชเรียนแล้วมาก จะทำอะไรก็มีผู้นับน่าถือตา ขอลูกสาวใครก็รีบยกให้ไม่ขัดข้อง จะหาการหางานที่ไหนได้โดยสะดวก สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่แผ่นดินพระเจ้าบรมโกศลงมาทางราชการถือเคร่งครัดว่า คนที่จะเข้ารับราชการได้นั้นจะต้องบวชมาก่อน ถ้าคนที่ยังไม่ได้บวชเขาไม่รับเข้าทำราชการ จะต่อเนื่องลงมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ต้องการคนที่บวชเรียนแล้วเข้ามารับราชการ เพราะเป็นผู้ที่รู้หนังสือดี มีสติปัญญา เรียกได้ว่าเป็นคนที่ได้ศึกษาเล่าเรียนแล้ว<o:p></o:p>
    อิทธิพลของการบวชในระหว่างพรรษานี้ เรียกได้ว่ามีอยู่มากในชีวิตของคนไทย ประการแรก ในทางใจคนที่บวชเรียนมาแล้วก็ย่อมจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม มีความสงบ มีความเที่ยงธรรมในใจ และมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น<o:p></o:p>
    และในทางใจนั้น การอบรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปบวช ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ยึดอะไรมากนัก ไม่ว่าจะเป็นในทางใดๆ ทั้งสิ้น คนปัจจุบันดูลักษณะนี้อาจจะเห็นเป็นทางเสียก็ได้ แต่ว่าคนไทยก็อยู่ด้วยกันเป็นสุขเป็นเวลาช้านาน เพราะเรื่องไม่ยึดอะไรมากนัก มีทุกข์ก็สามารถที่จะปลอบทุกข์ของตนเองได้ หรือมีวิธีทำให้ทุกข์คลายได้ เมื่อมีสุขก็ไม่ประมาท นี่เป็นทรรศนะของศาสนาพุทธ ซึ่งได้รับมา<o:p></o:p>
    ใน ประการที่สอง ทางความเป็นอยู่ และมารยาทของคนไทยนั้น พูดไปแล้วเป็นมารยาทของสงฆ์ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ทั้งนั้น เพราะว่านอกจากศีลปาติโมกข์คือศีล 227 ข้อของพระแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติหมวดเสขิยวัตร ซึ่งพระท่านเรียกว่า ศีลนอกปาติโมกข์ไว้อีกเป็นอันมาก เหล่านี้เป็นมารยาทของพระ <o:p></o:p>
    ท่านสอนวิธีนั่ง วิธีลุก วิธีเดิน จะพูดจากับผู้ใหญ่หรือคนที่อ่อนวัยกว่าตน ตลอดจนพิธีรับประทานอาหาร ไม่ให้กินมูมมาม ไม่ให้เคี้ยวจั๊บๆ ไม่ให้พูดในขณะข้าวเต็มปาก ไม่ให้เปิบเกิน 1 องคุลี เปิบข้าวไม่ให้เอามือตักแล้วป้ายเข้าไปที่ปากอะไรอย่างนั้น นี่อยู่ในเสขิยวัตรทั้งสิ้น ซึ่งก็กลายมาเป็นมารยาทของคนไทยตลอดมาจนทุกวันนี้<o:p></o:p>
    นอกจากนั้นในหมวดเสขิยวัตร ยังสอนเรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกาย ของบ้านช่อง เป็นต้นว่า ห้ามพระทิ้งของขยะมูลฝอยจากหน้าต่างกุฏิ นี่ก็ห้ามไว้เป็นอาบัติแล้ว แล้วก็ห้ามเข้าไปนั่งเอาหลังพิงฝาผนังใด แม้จะในโบสถ์หรือวิหารที่ใดก็ตาม ที่มีภาพจิตรกรรมเขียนอยู่ เหล่านี้เป็นเรื่องของให้รู้จักความเป็นอยู่อย่างดี ซึ่งก็มีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยโดยทั่วไป<o:p></o:p>
    ประการสาม น่าจะมี แต่จะมีหรือไม่ผมก็ไม่ทราบ สงสัยจะไม่มีคือในทางการเมือง ก็น่าจะมีคนที่เข้าไปบวชเรียนในพระพุทธศาสนา จะได้รู้จักวิธีทำสังฆกรรม ทำอุโบสถ ลงอุโบสถหรืออุปสมบทกรรม <o:p></o:p>
    ผมมีความเห็นว่า เมื่อได้ผ่านสิ่งเหล่านี้มาแล้ว น่าจะเป็นประชาธิปไตย เพราะเหตุว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติให้สงฆ์มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตลอด อย่างที่ได้ชี้ให้เห็นในพิธีบวชนาคต้องมีผู้เสนอญัตติต่อสงฆ์ สงฆ์มีสิทธิค้านได้ที่จะไม่รับคนนั้นเข้าบวช<o:p></o:p>
    ในพิธีทอดกฐินก็เช่นเดียวกัน เมื่อชาวบ้านเอาผ้ากฐินไปถวายแล้ว เพราะเป็นการถวายต่อสงฆ์ จะต้องมีผู้เสนอญัตติสงฆ์ว่า สงฆ์องค์ใดควรจะได้ครองผ้ากฐินนั้น และเมื่อตรวจญัตติหรือเสนอญัตติแล้วก็เปิดโอกาสให้สงฆ์ทุกองค์ ซึ่งรวมอยู่ในคณะสงฆ์คัดค้านได้ ถ้าเห็นว่าไม่สมควร และเคยมีมาแล้วในประวัติศาสตร์ของพระศาสนาในเมืองไทยที่ท่านคัดค้านกัน<o:p></o:p>
    ปกติก็เสนอญัตติให้สมภารเป็นผู้รับกฐิน แต่เคยมีพระลูกวัดคัดค้านมาหลายวัด เพราะเห็นสมภารปฏิบัติไม่ดี ไม่ชอบ การที่เข้าไปอยู่ในสงฆ์นั้น น่าจะทำให้คนรู้จักวิถีทางของประชาธิปไตยดีขึ้น แต่ว่าจะรู้จัก ไม่รู้จัก ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน <o:p></o:p>
    ที่นี้เราออกจากวัดเสียที สึกออกมาแล้วก็แต่งงาน มีเหย้ามีเรือนเป็นฆราวาส เมื่อสึกแล้วก็ต้องถือว่าพ้นเพศพรหมจรรย์ เข้าสู่สภาพครองเรือน<o:p></o:p>
    ผู้อยู่ในเพศพรหมจรรย์และที่เป็น พี่ทิด พ่อทิด และอ้ายทิด หรือวัยเกินบวชไปแล้ว แต่ไม่เคยบวชได้อ่านแล้วก็ลองเอาไปคิดเล่นๆ หรือจริงกันดู <o:p></o:p>
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> [​IMG]รูปประกอบข่าว</TD></TR><TR><TD><TABLE style="WIDTH: 100%; BORDER-COLLAPSE: collapse" id=NewsCurrentDetail1_dlimage border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=TableAnswerContent><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>สยามรัฐออนไลน์ : หน้าข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...