เรื่อง สิ้นโลก เหลือธรรม โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย แดนโลกธาตุ, 8 กันยายน 2006.

  1. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,977
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="98%">[​IMG]

    [​IMG]




    สิ้นโลก เหลือธรรม
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    พากันมาฟังความเสื่อมฉิบหายของโลกต่อไป "โลก" คือความเสื่อมอันจะต้องถึงแก่ความฉิบหายในวันหนึ่งข้างหน้า เขาจึงเรียกว่าโลก ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วคำว่า โลก ก็จะไม่มี โลกเกิดจากวัตถุอันหนึ่งซึ่งเป็นก้อนเล็ก ๆ อันเกิดจากฟองมหาสุมทรที่กระทบกันแล้วกลายเป็นก้อนเล็กๆขึ้นก่อน จะเรียกว่าอะไรก็เรียกไม่ถูก เรียกว่าธาตุอันหนึ่งก็แล้วกัน คือหมายถึงวัตถุธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาเอง เป็นเองแล้วค่อยขยายกว้างใหญ่ไพศาลจรดขอบเขตแม่น้ำและมหาสมุทรทั้งสี่โดยมีจักรวาลเป็นขอบเขต แล้วค่อยปริออกมาเป็นส่วนเล็กๆน้อยๆแปรสภาพเป็นรูปลักษณะต่างๆ กัน มีอวัยวะครบบริบูรณ์ แล้วมีจิตวิญญาณซึ่งคุ้นเคยเป็นกันเอง เข้ามาครอบครองทำหน้าที่ บังคับบัญชาธาตุนั้นๆให้เป็นไปตามวัตถุของโลก ซึ่งเราเรียกกันว่า "คน " นั่นเอง<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่ละคนหรือตัวตนที่สมมติว่าคนนี้ ก็จะต้องเสื่อมสลายไปในวันหนึ่งข้างหน้าเช่นเดียวกัน แม้ในเดี๋ยวนี้คนหรือที่เรียกว่า มนุษย์สัตว์โลกหรือมนุษย์โลกก็กำลังเสื่อมไปอยู่ทุกวันๆ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เมื่อพระองค์ทรงสำเร็จพระโพธิญาณใหม่ๆว่ามนุษย์ชาวโลก นี้มีอายุประมาณ100ปีอายุคนจะลดน้อยถอยลงมาปีหนึ่ง ปัจจุบันนี้พระพุทธองค์นิพพานไปได้ประมาณ 2,500 ปีแล้ว อายุของมนุษย์จะเสื่อมลงคงเหลือประมาณ 75 ปี ถ้าจะคำนวณตามแบบนี้อายุของมนุษย์ก็เสื่อมเร็วนักหนา อายุของมนุษย์จะเสื่อมลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือ10ปี ก็มีครอบครัว เป็นผัวเมียสืบพันธุ์กัน แม้สัตว์เดรัจฉานอื่นๆก็เสื่อมลงโดยลำดับเช่นเดียวกันกับมนุษย ์ดินฟ้าอากาศก็เปลี่ยนแปลงปรวนแปรเป็นไปต่างๆ จนเป็นเหตุให้เกิดกลียุคฆ่าตายกันเป็นหมู่ๆ เหล่าๆ สัตว์ตัวใหญ่ที่มีอิทธิพลก็ทำลายสัตว์ตัวน้อย ให้ล้มตายหายสูญเป็นอันมาก มนุษย์จะกลายเป็นคนไม่มีพ่อแม่พี่น้อง หรือญาติวงศ์ซึ่งกันและกันเมื่อเห็นหน้ากันและกันก็จับไม้ค้อนก้อนดินขึ้นมากลายเป็นศาสตราวุธ ประหัตประหารฆ่ากันตาย<o:p></o:p>เป็นหมู่ๆ เรื่องศีลธรรมไม่ต้องพูดถึงเลย แม่น้ำลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึง ก็เหือดแห้งไปเป็นตอนๆ ฝนไม่ตกเป็นหมื่นๆ แสนๆปี มีแต่เสียงฟ้าร้องครืนๆแต่ไม่มีฝนตกเลย<o:p></o:p>
    เมื่อเป็นเช่นนั้น น้ำในทะเลอันใหญ่โตกว้างขวาง และลึกจนประมาณมิได้ ก็เหือดแห้งกลายเป็นทะเลทราย ปลาตัวหนึ่งซึ่งใหญ่ที่สุดในโลกมีชื่อว่า "ติมิงคละ" ก็นอนตายอยู่บนกองทราย และโดยอำนาจของแดดเผาผลาญ ทำให้ปลาตัวนั้นมีน้ำไหล ออกมาบังเกิดเป็นไฟลุกท่วมท้น ทำให้มนุษย์โลกทั้งหลายฉิบหายเป็นจุนวิจุณ เขาเรียกว่าไฟบรรลัยโลก โลกนี้ทั้งหมดก็จะกลายเป็นอัชฌัตตากาศอันว่างเปล่า สัตว์ที่มีวิญญาณก็จะขึ้นไปเกิดในภพของพรหมชั้นอาภัสสระ ซึ่งไฟไหม้ไม่ถึง<o:p></o:p>
    ในหนังสือไตรโลกวิตถารท่านกล่าวว่าโลกนี้ทั้งหมดจะต้องฉิบหายโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓ประการนี้เป็นเหตุ สัตว์หนาไปด้วยราคะ โลกนี้จะต้องฉิบหายด้วยน้ำ สัตว์หนาไปด้วยโทสะ โลกจะต้องฉิบหายด้วยไฟ สัตว์หนาไปด้วยโมหะ โลกจะต้องฉิบหายด้วยลม โลกจะต้องฉิบหายด้วยการบรรลัยโลกกันอยู่อย่างนี้ในระหว่างกัลป์ใหญ่ๆ<o:p></o:p>
    ไฟบรรลัยโลกเล็กๆที่เกิดในระหว่างกัลป์ใหญ่ๆนี้ มีปัญหาน่าพิจารณา น้ำราคะ อันมีอยู่ในมนุษย์ชาวโลกแต่ละคนมีอยู่น้อยนิดเดียว ทำไมท่านแสดงว่า สามารถท่วมโลกได้จนเป็นน้ำบรรลัยโลก โทสะและโมหะก็เหมือนกัน อยู่ในตัวมนุษย์โลกซึ่งมองไม่เห็น ทำไมจึงแสดงฤทธิ์ใหญ่โตจนไหม้โลกและพัดเอาโลกจนฉิบหาย ขอนักปราชญ์เจ้าจงใช้ปัญญาพิจารณาให้ถ่องแท้เห็นจะไม่ท่วมโลกและเผาโลกให้ฉิบหายเป็นกัปป์เป็นกัลป์ดังว่านั้นก็ได้ พวกเราชาวโลกผู้มีน้ำและไฟหรือลมอยู่ในตัวนิดหน่อยนี้คงจะมองเห็นฤทธิ์เดชเรื่องของทั้ง ๓ นี้ ว่ามีฤทธิ์เดชเพียงใด ราคะคือความกำหนัดยินดีในสิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงมีผัวเมียเป็นต้น มันท่วมท้นอยู่ในอกโดยความรักใคร่อันหาประมาณมิได้ โทสะคือไฟกองเล็กๆ นี้ก็เหมือนกันมันไหม้เผาผลาญสัตว์มนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด จนกินไม่ได้นอนไม่หลับ โมหะก็เช่นเดียวกันมันพัดเอาฝุ่นละอองกิเลสภายนอกและภายในมาท่วมทับหัวอกของคนจนมืดมิด ให้เข้าใจว่า สิ่งที่ผิดเป็นถูก ของ ๓ อย่างนี้มีฤทธิ์เดชมหาศาลสามารถทำลายโลกให้เป็นกัปป์กัลป์ได้ แต่ละกัปป์นั้นท่านไม่ได้แสดงว่ามีอายุเวียนมาสักเท่าไหร่ เป็นแต่แสดงว่าเป็นกัปป์เล็กๆในระหว่างกัปป์ใหญ่ เห็นจะเพราะน้ำราคะ ไฟโทสะลมโมหะ ท่วมโลกและเผาผลาญโลกนี้ไม่หมดสิ้น ท่านจึงไม่แสดงถี่ถ้วน เพียงแต่พูดเปรยๆ เพื่อให้นักปราชญ์ผู้มีปรีชาเอามาคิดเพื่อไม่ให้หลงผิดๆ ถูกๆ รู้จักชัดแจ้งโดยใจของตนเอง ชัดแจ้งด้วยใจของตนแล้วนำมาพิจารณาเฉพาะตนๆ<o:p></o:p>
    ความฉิบหายของโลกเป็นอย่างนี้แล้วๆเล่าๆ ไม่มีที่สิ้นสุด พระบรมโพธิสัตว์ผู้ซึ่งท่านได้บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศมาครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ชาวสวรรค์ทั้งปวงเล็งเห็นว่าโลกนี้วุ่นวายเดือดร้อนกันมาก จึงได้ไปทูลเชิญพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ลงมาปฏิสนธิในครรภ์ของพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ ตระกูลศากยราช เมื่อคลอดออกจากครรภ์ของพระมารดาแล้วเสด็จย่างพระบาทได้เจ็ดก้าว ทรงแลดูทิศทั้งสี่แล้วเปล่งอาสภิวาจาว่า "อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺมิ" เราจะเป็นเลิศในโลก <o:p></o:p><o:p></o:p>
    เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้นมาก็ได้เสวยความสุขอันเลิศ จนกระทั่งเสด็จหนีออกบรรพชาทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงได้ค้นพบพระอริยสัจธรรมสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงทรงพิจารณามองเห็นสัตว์โลก ที่เดือดร้อนวุ่นวายด้วยไม่มีศีลธรรมเป็นเครื่องครอบครองหัวใจ จึงเป็นเหตุให้เกิดการอิจฉาริษยา ฆ่าฟันกันตายเป็นหมู่ๆ เหล่าๆ เป็นเครื่องเดือดร้อนอยู่ตลอดกาลและด้วยอาศัยพระเมตตากรุณาอันใหญ่หลวงของพระพุทธองค์ที่ทรงมีต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย จึงทรงเทศนาสั่งสอนสัตว์นิกรทั้งหลายให้เข้าถึงธรรมะ ให้มีศีลธรรมประจำตนของแต่ละคนๆเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดกาล ดั่งที่พระองค์ทรงเทศนาธรรมโลกบาล คือธรรมอันเป็นเครื่องคุ้มครองสัตว์โลกมี 2 อย่าง คือหิริ และโอตตัปปะ<o:p></o:p>
    แต่มนุษย์ชาวโลกทั้งหลายกลับเห็นว่าพระพุทธเจ้าเกิดมาทีหลังโลก ท่านต้องคุ้มครองเราซิไม่ให้มีอันตรายและเดือดร้อนวุ่นวายจึงจะถูก<o:p></o:p>
    ความเป็นจริงและพระพุทธเจ้าไม่สอนให้มนุษย์เป็นทาสกรรมกรซึ่งกันและกัน แต่พระองค์สอนให้มนุษย์มีอิสระคุ้มครองตัวเองแต่ละคน จึงจะอยู่เย็นเป็นสุขถ้าพระองค์สอนให้เป็นทาสกรรมกรซึ่งกันและกันเหมือนกับตำรวจและทหารต้องอยู่เวรเข้ายาม รักษาการณ์อยู่ทุกเมื่อแล้วโลกก็ดูจะเดือดร้อนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดกาลแต่ พระองค์ทรงสอนหัวใจคนทุกคนให้รักษาตนเองโดยให้มีหิริ-โอตตัปปะ คือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ถ้าทุกๆคน มีธรรมสองอย่างนี้อยู่ในหัวใจแล้วก็จะไม่มีเวรมีภัยและการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน มนุษย์คือโลกเล็กๆนี้ก็จะ อยู่เป็นสุขตลอดกาล แล้วโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลก็จะพลอยอยู่เย็นเป็นสุขไปด้วย<o:p></o:p><o:p></o:p>
    เป็นวิสัยธรรมดาของโลกที่จะต้องมีความเห็นเข้าข้างตัวเอง คือเห็นว่าพระพุทธเจ้าจะต้องคุมครองรักษาโลกเหมือนกับตำรวจรักษาเหตุการณ์ฉะนั้น เหตุนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระธรรมแล้วจึงทรงสอนมนุษย์ชาวโลกให้มีศีลธรรมเกิดขึ้นในใจของตนแต่ละคน มนุษย์จึงจะอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ในโลกนี้ทั้งหมด โลกอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วธรรมจึงค่อยเกิดขึ้น ภายหลังดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า โลกธรรมแปด โลกที่เกิดขึ้นที่ใดธรรมต้องเกิดขึ้นที่นั้น ถ้าโลกไม่เกิดธรรมก็ไม่มี ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโลกธรรมแปดนั้น หมายถึงโลกธรรม๔ คู่มีอาการ ๘ อย่างคือ <o:p></o:p>
    มีลาภ - เสื่อมลาภ๑<o:p></o:p>
    มียศ - เสื่อมยศ๑<o:p></o:p>
    มีสรรเสริญ - นินทา๑<o:p></o:p>
    มีสุข - ทุกข์๑<o:p></o:p>
    เมื่อโลกเกิดขึ้นแล้วพระองค์จึงทรงสอนธรรมทับลงไปเหนือโลก ตัวอย่างเช่น ความได้ในสิ่งสารพัดทั้งปวงเรียกว่าลาภเกิดขึ้น มนุษย์ได้ลาภก็เกิดความพอใจยินดีแล้วไม่อยากให้ลาภเสื่อมเสียไป และเมื่อลาภเสื่อมเสียไปก็เกิดความเดือดร้อนตีโพยตีพาย วุ่นวายกระสับกระส่ายไม่เป็นอันจะกินจะนอนนั้นเรียกว่าโลกโดยแท้พระองค์จึงทรงสอนธรรมทับลงเหนือโลกแท้ คือ แสดงความได้ลาภ-เสื่อมลาภ ให้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นธรรมดาของโลก แต่ไหนแต่ไรมาโลกนี้ต้องเป็นอยู่อย่างนั้น เราจะถือว่าของกูๆไม่ได้ ถ้ายึดถือว่าของกูๆอยู่ร่ำไป เมื่อลาภเสื่อมไปมันจึงเป็นทุกข์เดือดร้อนกลุ้มใจ นั่นแสดงให้เห็นชัดเลยว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ของตนมันจึงเสื่อมไปหายไป ถ้ามันเป็นของเราแล้วไซร้มันจะหายไปที่ไหนได้ ท่านจึงว่ามันเป็นอนัตตาไม่ใช่ของตนของตัว มันจึงต้องเป็นไปตามอัตภาพของมัน พระองค์ทรงสอนอย่างนี้ ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ เห็นตามอัตภาพแท้จริงของมัน จึงเรียกว่าพระพุทธองค์ทรงสอนธรรมทับลงเหนือโลก ให้เห็นโลกเป็นธรรมนั่นเอง<o:p></o:p>
    ความได้ยศ-เสื่อมยศ ก็เช่นเดียวกัน ได้ยศคือความยกย่องว่าเป็นใหญ่เป็นโต มีหน้ามีเกียรติ มีอำนาจหน้าที่ มีชื่อเสียงจิตก็พองตัวขึ้นไปตามคำว่า "ยศ" นั้นหลงยึดว่าเป็นของตัวจริงๆจังๆ ธรรมดาความยกย่องของคนทั้งหลายแต่ละจิตละใจก็ไม่เหมือนกัน เขาเห็นดีเห็นงามในความมียศศักดิ์ของตนด้วยประการต่างๆ เขาก็ยกยอชมเชยด้วยความจริงใจ แต่เมื่อเขาเห็นกิริยาวาจาอันน่ารังเกียจของตนที่แสดงออกมาด้วยอำนาจของยศศักดิ์ เขาก็จำเป็นต้องเสแสร้งแกล้งปฏิบัติไปด้วยความเกรงกลัว ตนกลับไปยึดถือยศศักดิ์นั้นว่าเป็นของจริงของจัง เมื่อมันเสื่อมหายไป ความเกรงใจจากคนอื่นก็หมดไปด้วย ตนเองก็กลับโทมนัสน้อยใจ ไม่เป็นอันหลับอันนอน อันอยู่อันกิน แท้จริงแล้วความได้ยศ-เสื่อมยศนี้เป็นของมีอยู่ในโลกแต่ไหนแต่ไรมาเช่นนี้ ตั้งแต่เรายังไม่เกิดมา พระพุทธองค์จึงทรงสอนธรรมทับลงเหนือโลก ให้เห็นว่า ได้ยศ-เสื่อมยศนี้เป็นของมีอยู่ในโลกมิใช่ของใครทั้งหมด ถ้าผู้ใดไปยึดถือเอาของเหล่านั้นย่อมเป็นทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุดให้เห็นว่ามันเป็นอนัตตาไม่ใช่ของใครทั้งหมด มันหากเป็นจริงอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา<o:p></o:p>
    สรรเสริญ-นินทา ความสรรเสริญและนินทาก็เช่นเดียวกัน ในตัวคนคนเดียวกันนั่นแหละเมื่อเขาเห็นกิริยาอาการต่างๆที่น่าชอบ เขาก็ยกยอสรรเสริญชมเชย แต่เมื่อเขาเห็นกิริยาวาจาที่น่ารังเกียจเขาก็ติเตียนคนผู้เดียวกันนั่นแหละมีทั้งสรรเสริญและนินทา มันจะมีความแน่นอนที่ไหน อันคำสรรเสริญและนินทาเป็นของไม่มีขอบเขตจำกัด แต่คนในโลกนี้โดยมากเมื่อได้รับสรรเสริญจากมนุษย์ชาวโลกทั้งหลายที่เขายกให้ ก็เข้าใจว่าเป็นของตนของตัวจริงๆจังๆ อันสรรเสริญไม่มีตัวตนหรอก มีแต่ลมๆแล้งๆหาแก่นสารไม่ได ้แต่เรากลับไปหลงว่าเป็นตัวเป็นตนจริง ไปหลงหอบเอาลมๆแล้งๆมาใส่ตนเข้า ก็เลยพองตัวอิ่มไปตามความยึดถือนั้น ไปถือเอาเงาเป็นตัวเป็นจริงเป็นจัง แต่เงาเป็นของไม่มีตัว เมื่อเงาหายไปก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ โทมนัสน้อยใจไปตามอาการต่างๆตามวิสัยของโลก แท้จริงสรรเสริญ-นินทามันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา ก่อนที่เราจะเกิดมาเสียอีก พระพุทธองค์ทรงเห็นว่ามนุษย์โง่เขลาหลงไปยึดถือเอาสิ่งไม่แน่นอนมาเป็นของแน่นอน จึงเดือดร้อนกันอย่างนี้ แล้วพระองค์ก็ทรงบัญญัติธรรมทับลงเหนือโลกอันไม่มีแก่นสารนี้ให้เห็นชัดลงไปว่ามันไม่ใช่ของตัวของตนแต่เป็นลมๆแล้งๆ สรรเสริญเป็นภัยอันร้ายกาจแก่มนุษย์ชาวโลกอย่างนี้ แล้วก็ทรงสอนมนุษย์ชาวโลกให้เห็นตามเป็นจริงว่าสิ่งนั้นๆเป็นอนัตตาจะสูญหายไปเมื่อไหร่ก็ได้ มนุษย์ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นตามความจริงดั่งที่พระองค์ทรงสอนแล้วก็คลายความทุกข์เบาบางลงไปบ้าง แต่มิได้หมายความว่า โลกธรรมนั้นจะสูญหายไปจากโลกนี้เสียเมื่อไร เป็นแต่ผู้พิจารณาเห็นตามเป็นจริงดั่งที่กล่าวมาแล้ว ทุกข์ทั้งหลายก็จะเบาบางลงเป็นครั้งคราว เพราะโลกนี้ยังคงเป็นโลกอยู่ตามเดิม ธรรมก็ยังคงเป็นธรรมอยู่ตามเดิม แต่ธรรมสามารถแก้ไขโลกได้เป็นบางครั้งบางคราวเพราะโลกนี้ยังหนาแน่นด้วยกิเลสทั้ง ๘ ประการอยู่เป็นนิจ ความเดือดร้อนเป็นโลก ความเห็นแจ้งเป็นธรรม ทั้งสองอย่างเป็นเครื่องปรับปรุงเป็นคู่กันไปอยู่อย่างนี้ เมื่อกิเลสหนาแน่นก็เป็นโลก เมื่อกิเลสเบาบางก็เป็นธรรม<o:p></o:p>
    มีสุข-ทุกข์ ทุกข์เป็นของอันโลกไม่ชอบ แต่ก็เป็นธรรมดาด้วยโลกที่เกิดมาในทุกข์ อันนี้ก็เป็นทุกข์เดือดร้อนอยู่นั่นเอง ความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของโลกโดยทั่วไปฉะนั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นจึงเดือดร้อน เมื่อความสุขหายไปจึงไม่เป็นที่ปรารถนา แต่แท้ที่จริงความทุกข์และความสุขที่เกิดขึ้นแล้วหายไปนั้นมันหากเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา เราเกิดมาทีหลังโลก เราจึงมาตื่นทุกข์ตื่นสุขว่าเป็นของตนของตัว ยึดมั่นสำคัญว่าเป็นจริงเป็นจังเมื่อทุกข์เกิดขึ้นสุขหายไป จึงเดือดร้อนกระวนกระวาย หาที่พึ่งอะไรก็ไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาว่าโลกอันนี้มีแต่ทุกข์ไม่มีสุขเลย<o:p></o:p>
    ฉะนั้น ทุกข์จึงเป็นเหตุให้พระองค์พิจารณาจนเห็นตามสภาพความจริงแล้วทรงเบื่อหน่ายคลายจากทุกข์นั้นจึงทรงเห็นพระอริยสัจธรรม แล้วพระองค์ก็ทรงบัญญัติธรรมลงเหนือทุกข์-สุข ให้เห็นว่า โลกอันนี้มันหากเป็นอยู่อย่างนั้น อย่าถือว่าเป็นของเรา ถือเอาก็ไม่ได้อะไรไม่ถือก็ไม่ได้อะไร ปล่อยวางเสียให้เป็นของโลกอยู่ตามเดิม ทรงรู้แจ้งแทงตลอดว่าอันนั้นเป็นธรรม โลกกับธรรมจึงอยู่คู่เคียงกันดังนี้<o:p></o:p>
    ความเป็นอยู่ของโลกทั้งหมดเมื่อประมวลเข้ามาแล้วก็มี ๔ คู่ ๘ ประการ ดั่งอธิบายมาแล้ว ไม่นอกเหนือไปจากธรรม ๔ คู่ ๘ ประการนี้ โลกเกิดมาเมื่อไรก็ต้องเจอธรรม ๔ คู่ ๘ ประการนี้เมื่อนั้นร่ำไป พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงอุบัติขึ้นมาก็เพื่อมาแก้ทุกข์ ๔ คู่ ๘ ประการนี้ทั้งนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "เอสะ ธัมโม สะนะนัตโน" ธรรมนี้เป็นของเก่าแก่แต่ไหนแต่ไรมา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ก็มาตรัสรู้ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าจะมีคำถามว่าพระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในโลกก็เอาของเก่าที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆตรัสไว้แล้วแต่เมื่อก่อนมาตรัสรู้หรือ วิสัชชนาว่า ไม่ใช่เช่นนั้น ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นของที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน และไม่มีครูบาอาจารย์สอนเลย พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองต่างหาก ไม่เหมือนความรู้ที่เกิดจากปริยัติ ความรู้อันเกิดจากปริยัติไม่ชัดแจ้งเห็นจริงในธรรมนั้นๆ ส่วนธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของ ปจุจัตตัง รู้ด้วยตัวเอง ไม่มีใครบอกเล่า และก็หายสงสัยในธรรมนั้นๆ แต่เมื่อรู้แล้วมันไปตรงกับธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาไว้แต่ก่อน เช่น ทุกข์เป็นของแจ้งชัดประจักษ์ในใจ สมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อละสมุทัยก็ดำเนินตามมรรค และถึงนิโรธ ตรงกันเป๋งกับธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แต่ก่อน ๆ โน้น จึงเป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ไม่เหมือนกับคนผู้เห็นตามบัญญัติที่พระองค์ตรัสไว้แล้วและจดจำเอาตามตำรามาพูด แต่ไม่เห็นจริงตามตำราในธรรมนั้นๆด้วยใจตนเอง<o:p></o:p>
    เมื่อโลกนี้เกิดขึ้นมาแล้วจึงต้องมีการใช้จ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยนวัตถุสิ่งของซึ่งกันและกันจึงจะอยู่ได้ เหตุนั้นรัฐบาลจึงคิดเอาวัตถุธาตุคือโลหะแข็งๆมาทำเป็นรูปแบนๆ กลมๆ แล้วก็จารึกตัวเลขลงบนโลหะนั้น เป็นเลขสิบบ้างยี่สิบบ้างหนึ่งร้อยบ้าง ที่เรียกว่าเหรียญสิบบาท ยี่สิบบาทร้อยบาท เป็นต้น หรือเอากระดาษอย่างดีมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วใส่ตัวเลขลงไปเป็น สิบบ้าง ยี่สิบบ้าง หนึ่งร้อยบ้าง ห้าร้อยบ้าง ตามความต้องการแล้วเรียกว่าธนบัตร เอาไว้ให้ประชาชนแลกเปลี่ยนซื้อขายซึ่งกันและกัน เมื่อมีเงินจะซื้อวัตถุสิ่งของอะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการ คนที่ต้องการเงินก็เอาวัตถุสิ่งของ อีกคนต้องการธนบัตรที่มีราคาเท่ากันก็จะได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน การที่ได้ ของที่ตนชอบใจมาเป็นกรรมสิทธิ์ จะเป็นวัตถุหรือเงินตราก็ช่าง เรียกว่า " ได้ " แต่เมื่อได้วัตถุมาเงินก็หายไป เรียกว่าได้ลาภเสื่อมลาภพร้อมกันทีเดียว<o:p></o:p>
    โลกอันนี้เป็นอยู่อย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมา คนหลงมัวเมาในวัตถุและเงินตรา ก็คิดว่าตนได้มา ตนเสียไปก็แสดงอาการชอบใจและเสียใจตามสิ่งของนั้น ๆ พระพุทธเจ้าทรงเห็นโลกเดือดร้อนวุ่นวายด้วยประการนี้ และด้วยอาศัยความเมตตากรุณาอย่างยิ่ง ที่ทรงมีต่อบรรดาสัตว์ทั้งหลาย พระองค์จึงทรงชี้เหตุเหล่านั้นว่าเป็นทุกข์เดือนร้อนเมื่อของเหล่านั้นหายไป เป็นสุขสบายเมื่อได้ของเหล่านั้นมา ไม่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งเหล่านั้น เมื่อเกิดเป็นทุกข์กระสับกระส่ายในใจของตน ก็เป็นเหตุให้แสดงอาการดิ้นรนไปภายนอกด้วยอากัปกิริยาต่างๆจนเป็นเหตุให้เดือดร้อนวุ่นวายทั่วไปหมดทั้งโลก เหตุนั้นพระองค์จึงสอนให้เข้าใจถึง "ใจ" เพราะมนุษย์มีใจด้วยกันทุกคนสามารถที่จะรู้ได้ ผู้มีปัญญารู้ตามที่พระองค์ทรงสอนว่าได้ลาภ-เสื่อมลาภมีพร้อมๆกัน ในขณะเดียวกัน จึงไม่มีใครได้ใครเสีย ได้เพราะมัวเมา เสียก็เพราะมัวเมาในกิเลสเหล่านั้น ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นแจ้งตามนัยที่พระองค์ทรงสอนจึงสร่างจากความมืดมนเหล่านั้นพอจะบรรเทาทุกข์ลงได้บ้าง แต่มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงตามเป็นจริงแล้วจะบรรเทาทุกข์ได้ทั้งหมดเป็นธรรมล้วนๆก็หาไม่ เพราะว่า โลกนี้มันมืดมนเหลือเกิน พอจะสว่างนิดหน่อย กิเลสมันก็เข้ามาอีก โลกนี้มันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา พระองค์ลงมาตรัสรู้ในโลกอันมืดมนก็ด้วยทรงเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นความทุกข์ของสัตว์โลก จึงได้ลงมาตรัสรู้ในหมู่ชุมชนเหล่านั้น ถ้าโลกไม่มีกิเลสไม่มี พระองค์ก็ทรงไม่ได้เสด็จลงมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ลงมาตรัสรู้ในโลกนี้ก็ทำนองเดียวกัน ทรงเล็งเห็นโลกอย่างเดียวกัน คือทรงเห็นความเดือดร้อนวุ่นวายเพราะมนุษย์ไม่มีปัญญาพิจารณาเห็นโลกตามเป็นจริงดังกล่าวมาแล้ว<o:p> </o:p>
    พระองค์ทรงสอนให้พวกมนุษย์ที่มัวเมาอยู่ในโลกเหล่านั้นเห็นแจ้งประจักษ์ด้วยใจตนเองว่าเป็นทุกข์จาก ไม่เข้าใจรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะของโลกดังอธิบายมาแล้ว บางคนพอรู้บ้างก็สร่างจากความมัวเมา เพราะรู้แจ้งตามเป็นจริงของปัญญาของตนๆ แต่บางคนก็มืดมิดไม่เข้าใจของเหล่านี้ตามเป็นจริงเอาเสียเลยก็มีมากมาย ทุกข์ของโลกจึงเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสรู้ในโลกและก็อาศัยความเมตตากรุณาอย่างเดียวนี้ด้วยกันทั้งนั้น พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ทรงปรารถนาจะมาตรัสรู้ในโลกก็โดยทำนองเดียวกันนี้หรือจะกล่าวว่าโลกเกิดขึ้นก่อนแล้ววุ่นวาย กระสับกระส่ายเดือดร้อน ด้วยประการอย่างนี้จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกเรียกว่า โลกเกิดก่อนธรรม ก็ว่าได้<o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะลงมาตรัสรู้ตามยุคตามสมัยของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าคน ในยุคนั้นสมัยนั้น อายุประมาณเท่านั้นเท่านี้สมควรจะได้รับฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ พระองค์จึงได้อุบัติขึ้นมาเทศนาสั่งสอนนิกรสัตว์ทั่วโลก เมื่อเทศนาสั่งสอนแล้วจนเข้าพระนิพพาน บางพระองค์ก็ได้ไว้ศาสนา อย่างพระโคดมบรมครูของพวกเราทั้งหลาย พระองค์ทรงไว้ศาสนาเมื่อนิพพานแล้ว ๕,000 ปี เพื่ออนุชนรุ่นหลังที่ยังเหลือหลอจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป บางพระองค์ก็ไม่ได้ไว้พระศาสนาอย่างพระศรีอารยเมตไตรยทรงมีพระชนมายุ ๘0,000 ปี เป็นต้น เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงสั่งสอนมนุษย์สัตว์นิกรอยู่จนพระชนม์ได้ ๘0,000 ปี ก็เสด็จปรินิพพานแล้วก็ไม่ได้ทรงไว้พุทธศาสนาอีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่าสัตว์ผู้จะมาศึกษาพระธรรมวินัยของพระองค์ได้หมดไปไม่เหลือหลอแล้ว ผู้สมควรจะได้มรรคผลนิพพานสิ้นไปหมดเท่านั้น<o:p></o:p>
    โลกวินาศย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นวัฎจักรดั่งอธิบายมาแล้วแต่ต้นตลอดกัปป์ตลอดกัลป์ หาความเที่ยงมั่นถาวรไม่มีสักอย่างเดียว แต่คนผู้มีอายุสั้นหลงไหลในสิ่งที่ตนได้ตนเสียก็เดือดร้อนวุ่นวายอยู่ร่ำไป แท้ที่จริงสิ่งเหล่านั้นมีอยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นความเสื่อมความเสียตามนัยที่พระองค์ทรงสอนเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย จิตใจสลดสังเวชจนเป็นเหตุให้ผู้มีปัญญาเหล่านั้นเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด แล้วละโลกนี้เข้าถึงพระนิพพานจนหาประมาณมิได้ ผู้ไม่มีปัญญาก็จมอยู่ในวัฎสงสารมากมายเหลือคณานับ โลกเป็นที่คุมขังของผู้เขลาเบาปัญญา แต่ผู้มีปัญญาแล้วไม่อาจสามารถคุมขังเขาได้ โลกเป็นของเกิด-ดับอยู่ทุกขณะ ธรรมอุบัติขึ้นมาให้รู้แจ้งเห็นจริงในโลกนั้นๆ แล้วตั้งอยู่มั่นคงถาวรต่อไป เรียกว่า โลกเกิด-ดับ ธรรมเกิดขึ้นตั้งอยู่ถาวรเป็นนิจจังเพราะไม่ตั้งอยู่ในสังขตธรรม ธรรมเป็นของไม่มีตัวตน แต่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่หัวใจของคน คนรู้แล้วตั้งมั่นตลอดกาล ถึงคนไม่รู้เท่าทันแต่ธรรมนั้นก็ยังตั้งอยู่เป็นนิจกาล เป็นแต่ไม่มีใครรู้ใครสอนธรรมนั้นออกมาแสดงแก่คนทั้งหลาย ถึงแม้พระพุทธองค์จะนิพพานไปแล้ว แต่ธรรมนั้นก็ยังตั้งอยู่คู่ฟ้าแผ่นดิน จึงเรียกว่า อมตะ โลกเป็นของฉิบหายดังกล่าวมาแล้ว เพราะตั้งอยู่ใน สังขตธรรม มีอันต้องแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมที่พระองค์ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงเข้าถึงหัวใจคนเป็นของไม่มีตัวตน เป็นอนิจจังไม่ได้ ตั้งอยู่เป็นกลางๆถึงคน คนนั้นจะตายไป แต่ธรรมก็ยังมีอยู่เช่นนั้น จึงเรียกว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...