เรื่อง ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม โดย พระครูภาวนาวิสุทธิ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 8 มกราคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <table style="font-size: 12px;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="560"> <tbody><tr style="font-size: 12px;" valign="top"><td style="font-size: 12px;" class="title" height="65" width="278">:<!-- InstanceBeginEditable name="groupname" -->: ภาคชีวประวัติ ::<!-- InstanceEndEditable --></td> <td style="font-size: 12px;" class="txt9" align="right" width="282"><!-- InstanceBeginEditable name="name" -->เรื่อง ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม
    โดย พระครูภาวนาวิสุทธิ์<!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> <tr style="font-size: 12px;" valign="top"> <td style="font-size: 12px;" colspan="2"><!-- InstanceBeginEditable name="txt" --> <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">อาตมาชื่อเดิม จรัญ นามสกุล จรรยารักษ์ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานนามสกุลนี้ให้แก่คุณปู่ อาตมาเป็นนักศึกษาเที่ยวค้นคว้าหาความรู้ ทั้งวิชาทางโลกและทางธรรม เรียนชั้นประถมศึกษา เรียนชั้นมัธยมศึกษาจนเข้านักเรียนนายร้อยตำรวจตามลำดับ แต่ไม่คิดว่าจะมาบวชในบวรพุทธศาสนา เพราะไม่เคยเชื่อเลื่อมใสมาแต่เดิม นอกเหนือจากนั้นยังเรียนวิชาช่างกลจากอาจารย์ เลื่อน พงศ์โสภณ และเรียนวิชาดนตรีดีดสีตีเป่าจากหลวงพระดิษฐ์ไพเราะ ด้วยนิสัยชอบพอกันกับ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว อาตมาเคยอยู่วัด แต่ไม่ได้อยู่ด้วยความเลื่อมใส อยู่เพื่อการศึกษา อาศัยวัดอาศัยวาทั้งเป็นบ้านนอกคอกนาเข้ามาสู่กรุงเทพมหานครตามลำดับ
    </td> </tr> </tbody></table> อาตมาไม่มีนิสัยเลื่อมใสพระมาแต่เดิมแล้วก็นิสัยกระด้าง ไม่ชอบที่จะไหว้พระ ก็ไหว้ด้วยความจำยอมและจำเป็น เพื่อจะไปอาศัยพึ่งพระเท่านั้น นี่นิสัยอาตมา เวลากาลผ่านมาอาตมาก็จบหลักสูตรทางโลก แต่ทางธรรมยังไม่มีเลย อายุก็เหยียบย่างเข้า ๒๐ ปีบริบูรณ์ โดยบิดาโยมมารดาใคร่จะให้อุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนา พูดถึงเรื่องนี้แล้วอาตมาส่ายหน้าไม่สนใจในการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแต่ประการใด แต่อาตมาก็ต้องจำใจจำยอมรับ เพราะคุณพ่อคุณแม่ก็คิดว่ามีลูกชายก็ต้องการให้บวช ตามหลักและประเพณีของคนโบราณพ่อแม่ย่อมรักลูกอย่างแก้วตา แก้วตาทั้งสองข้างนี้ทุกคนก็เข้าใจดี หวงแหนเหลือเกิน อาตมาคิดทบทวนโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่าถ้าเราจะฝ่าฝืนไม่บวชในพุทธศาสนาแล้วก็จะเป็นการอกตัญญูไม่รู้พระคุณของท่านผู้มีอุปการคุณ จึงยอมรับเข้าบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ได้เข้าไปเป็นเณร บวช อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ อาตมาตั้งใจว่าจะบวชเพียง ๓ เดือน ๑๐ วัน หรือ ๔ เดือน ๑๒๐ วันเท่านั้น ต้องการจะลาสิกขาลาเพศ พรหมจรรย์ไปสู่เพศฆราวาสตามเดิม ต้องการไปศึกษาหรือไปทำงานทำการทางโลก เพราะเราต้องอาศัยโลกอยู่
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="90%"> อาตมาตั้งใจอย่างนี้แล้ว อาตมาก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี แต่ภูมิลำเนาบ้านเกิดเมืองนอนนั้นอยู่เขตในคลองลพบุรีต่อสิงห์บุรีนั้นใกล้เคียงกัน เหตุที่ต้องมาบวชวัดพรหมบุรี ก็เพราะอพยพบ้านเมืองมาอยู่ในตลาดปากบาง เพราะขโมยขโจรชุกชุม จึงได้หนีเข้าตลาดไป ตามเหตุผลของบิดามารดา อาตมาก็ได้ตามบิดามารดามาอยู่ในตลาด ประกอบกิจการค้าตามลำดับมา แต่อาตมาก็ไม่เคยได้ช่วยพ่อแม่ประกอบการค้าแต่ประการใด เพราะมุ่งมาดปรารถนาการศึกษาแต่เล็กมาตามลำดับ
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="10%">[​IMG] </td> </tr> </tbody></table> พอจบหลักสูตรการศึกษาพอสมควรอายุครบถ้วน ๒๐ ก็ไม่ได้ปริญญา แต่ก็สำเร็จการศึกษาวิชาช่างกลและวิชาอื่นก็คือดนตรีดีดสีตีเป่าดังกล่าวแล้ว ขอรวบรัดตัดให้สั้นว่าได้เคยบวชในพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ก็เป็นเวลานานถึง ๓๔-๓๕ ปีมาแล้ว การบวชติดต่อกันมา ๑ พรรษา ก็ท่องหนังสือจนครบหลักสูตร ตั้งใจว่าออกพรรษาได้กฐินแล้วสึก อาตมาก็เตรียมเครื่องพร้อมแล้วที่จะลาสิกขาในวันนั้น แต่ก็มีเรื่องอัศจรรย์ดลบันดาลให้เกิดเสียงประหลาดดังขึ้นง่วงเหงาหาวนอน เสียงประหลาดนี้ดังมาก
    "คุณบวชนี้นะดีแล้วจะสึกก็ไม่เป็นไร นะโมยังไม่ได้ นะโมยังไม่ได้ ได้นะโมแล้วค่อยสึก"
    ก็พิจารณาดู เอ ได้นะโมตัสสะ ภะคะวะโตนี้ได้มาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ๆ แล้วสวดมาตั้งแต่อยู่โรงเรียนแล้ว คิดอย่างนี้แต่ก็ยังตอบไม่ถูกว่า นะโมคืออะไร นี่แหละเสียงอัศจรรย์เสียงประหลาดดังขึ้น
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">"นะโมยังไม่ได้จะสึกหรือ น่าเสียดายเหลือเกินนะ" อาตมาก็ ! พะว้าพะวังกังขา จิตใจชักไม่ค่อยจะดีแล้ว เสียงนี้มันอยู่ที่ไหน และก็ง่วงเหงาหาวนอนขึ้นมาอีก เสียงประหลาดดังขึ้นอีกว่า "นี่คุณสึกก็ไม่เป็นไร ง่ายนิดเดียว ไม่ยากอะไรนักหนา แต่ขอถามว่าพุทธคุณได้หรือยัง ธรรมคุณได้หรือยัง สังฆคุณได้หรือยัง" อาตมาก็โมโห โกรธาในใจได้เสียงบ้า ๆ บอ ๆ อยู่ที่ไหน ว่าพุทธคุณเราก็ได้ อิติปิโสเราก็คล่องปาก แต่มันอาจจะไม่คล่องใจก็อาจจะเป็นได้ อันนี้เสียงประหลาดดังขึ้นมา ทั้งอาตมาก็ไม่สบายใจเลยนึกถึงคำโบราณว่า ถ้าจิตใจไม่ดีแล้วอย่าสึก ถ้าสึกไปแล้วเป็นคนสุก ๆ ดิบ ๆ เอาดีไม่ได้แล้วจะเป็นคนบ้าบอคอแตกโบราณเขาว่าไว้ เลยต้องเลื่อนการสึกออกไปจากเดือน ๑๑ ขอเลื่อนไปเป็นเดือน ๑๒ เดือน ๑๒ สึกแน่เตรียมพร้อมไว้แล้ว ไม่ได้ตั้งใจจะอยู่ในเพศพรหมจรรย์หรือบรรพชิตนี้ตลอดกาล แต่คิดว่าเราจะต้องสึกอย่างแน่นอน เพราะงานมันรออยู่ข้างหน้า จะต้องไปรับราชการ จะต้องไปทำหน้าที่มากมาย เพราะเรามีวิชามีความรู้ต้องไปกลัวอะไร คิดอย่างนี้นะ คิดถึงหลักสุนทรภู่ที่ว่า
    </td> </tr> </tbody></table> "วิชาพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งใคร" อาตมาท่องได้ตั้งแต่เป็นเด็กว่า "อันข้าไทยได้พึ่งเขาจึงรัก
    แม้ถอยศักดิ์สิ้นอำนาจวาสนา เขาหน่ายหนีมิได้อยู่คู่ชีวา แต่วิชาช่วยกายจนวายปราณ" มาถึงตอนนี้ขอฝากญาติโยมเลยนะ ถ้ามีลูกสาวกับลูกชายนี่ โยมจะเอาใจใส่ใครมาก โยมจงเอาใจใส่ลูกสาวให้เชี่ยวชาญชำนาญการกว่าลูกผู้ชาย เพราะถ้าไม่มีวิชาความรู้นี่ไม่เชี่ยวชาญเคหะศาสตร์ ไม่เข้าใจแม่บ้านการเรือนไปได้สามีเขาก็แผลงฤทธิ์เอา อาตมาเคยเห็นนะ ตี ๔ ตี ๕ ตกใต้ถุน นี่ไม่มีธรรมะเลย นี่ลูกสาวเราไม่เชี่ยวชาญ ไม่ชำนาญการ เราไม่เคยตีลูกสาว แต่เราไปเห็นต่อหน้า ต่อตา ตำตา ตำตอ อย่างนี้เราไม่โมโหหรือ ถึงไม่โกรธแต่ไม่พอใจลูกเขย แน่นอน
    อาตมาพูดมาถึงตอนนี้แล้ว ก็ได้ความคิดว่า เอ... นะโมยังไม่ได้ ใช่แล้ว เมื่อก่อนนี้ อาตมาเถียงพ่อเถียงแม่คำไม่ตกฟาก ไม่มีอ่อนน้อมต่อใคร แข็งกระด้างและปากแข็ง เถียงผู้ใหญ่นี่ซิไม่มีเพลงนะโมคิดได้ตอนหลัง คิดได้อ้อบวชนี่เอาเพลงนะโมไปก่อนหรือ อาตมาก็มาแปลได้ตอนหลัง อ้อเพลงนะโมแปลให้เด็กฟังง่าย ๆ ก็แปลว่า "อ่อนน้อม ถ่อมตน ปากก็หวาน ตัวก็ก็อ่อน มือก็อ่อน นอบน้อมกตัญญู เชิดชู ระเบียบ เพียบด้วยวินัย ตั้งใจศึกษา นำมาพ้นทุกข์ เป็นสุขอนันต์ เป็นหลักสำคัญ" อ้อนะโมอย่างนี้หรือ โง่มาเสียนาน อ้อเพลงนะโม นี่มาพึ่งคิดได้ไม่กี่ปีนี้เอง เมื่อก่อนใครมองหน้าไม่ได้ ดูหน้าไม่ได้โดนต่อยเลย มันแข็งอย่างนี้ นี่ขาดบทนะโม
    <!-- InstanceEndEditable --></td> </tr> </tbody> </table>
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" rowspan="2" width="20%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="80%"> อยู่กับหลวงพ่อเดิม เรียนตำรับพิชัยสงครามและวิชาเลี้ยงช้าง
    </td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">ได้ความอย่างนั้นแล้ว อาตมาก็ซักผ้าซักผ่อนเตรียมเดินทางเที่ยวไปในป่าเที่ยวไปเรื่อย ๆ ก็ไปเจอ หลวงพ่อเดิม พระครูนิวาสธรรมขันธ์ อายุท่าน ๑๐๕ ปี ไปอยู่กับท่าน ๖ เดือน ไปขอเรียนวิชา บทแรก ท่านก็เล่าวิชาพิชัยสงครามให้ฟัง แล้วก็รู้เรื่องตามลำดับพิชัยสงคราม ท่านเก่งเพลงกระบี่ เพลงกระบอง ท่านเป็นอาจารย์องค์ที่ ๕ ของแม่ทัพกรุงศรีอยุธยา</td> </tr> </tbody> </table> เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ แม่ทัพหนีลงเรือมุ่งสู่นครสวรรค์บรรพชาอุปสมบทหมด อาตมาไปอยู่ที่วัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ไปอยู่กับหลวงพ่อ นึกว่าจะให้เราเรียนคาถามหานิยมเพื่อเราจะสึกหาลาเพศ ประกอบอาชีพการงาน มีคนรักนับถือ นิยมชมชอบ กลับกลายเป็นว่าให้วิชาเลี้ยงช้างเสียเลย อาตมาไม่เอา แต่หลวงพ่อเดิมบอกว่าเอาเถอะ "ลูกเอ๋ยหลานเอ๋ย มันจะเกิดประโยชน์ในวันหน้า" อาตมาก็จำต้องยอมรับวิชาเลี้ยงช้างต่อช้างป่า วิชาจับช้างตกน้ำมันอย่างไร เลยก็ได้มาใช้ในภายหลัง ตอนที่แม่ชีที่สมัยเมื่ออดีตชาติเป็นช้างอยู่เขาภูพาน แล้วกลับกลายมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ในไม่กี่ปีผ่านมาเลย ซักไซร้ไล่เลียง อาตมารู้จากนิสัยช้าง อ้อคนนี้เป็นช้างมาก่อนแน่นอนอยู่ในป่าเขาภูพาน ในภาคอีสานนั้นเมื่อสมัย หลวงปู่มั่น ภูริทัต เมื่อสมัย พรานทองดี ที่ไปต่อช้างป่ามา อันนี้ไม่ขอเล่าขอฝากไว้เท่านี้ รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามต้องรู้ทุกอย่างเลยกลับกลายเป็นว่าได้ตำรับพิชัยสงคราม เรียน
    รู้เหตุผลต้นปลายมาได้มาจากไหน ตำรับพิชัยสงครามอยู่ที่วัด เรียนต้องเรียนกระบี่กระบอง สมัยโบราณกาล ประเทศชาติอยู่รอดมาได้ เพราะนิสัยไทยชาวพุทธนี้เป็นทหารของพระพุทธเจ้าก่อนแล้ว จึงจะเป็นทหารของพระราชา เรียนเพลงกระบี่กระบองมาก่อนในวัด ต้องเข้าใจ นะ สมัยก่อนในวัดมีราชบุรุษ สาขานานาประการในสถาบันนี้
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">๑. ราชบุรุษที่เราเรียกกันทุกวันนี้ว่า รัฐศาสตร์ปกครองตัวเอง ปกครองตนและปกครองคนอื่นได้ นี่ราชบุรุษในวัด
    ๒. นิติศาสตร์ครบ ประเพณีวินัยครบจากวัดและยังมีข้อคิดในหลักธรรม และคิดคำนวณในการสาขาประกอบอาชีพการงานเรียนที่วัดครบ
    มีสถาบันการเรียนในพระไตรปิฎกนี้ครบ นอกเหนือจากนั้นแล้วเวชศาสตร์ แพทยศาสตร์ ฝนยาทา เรียนที่วัดนี้ ๕๐ ปีก่อนนี้มา นี้ท่านทั้งหลายโปรดคิดดูนะ
    </td> </tr> </tbody> </table> นอกเหนือจากนั้น ได้แก่ศิลปะ หัตถกรรม ช่อฟ้า หน้าบรรพ คันทวย วิชาช่าง เรียนจากวัดและก็ศิลปหัตถกรรมนี้เอามาจากวัดแล้ว วัดถ่ายทอดให้กรมศิลปากรไปแล้ว เช่น วิจิตรศิลป์ หรือภาคศิลปะต่าง ๆ ที่วัดพระแก้วเอามาจากไหนไม่ใช่เอามาจากวัดหรือ อนึ่งวิชาดนตรีดีดสีตีเป่า และตำรับพิชัยสงคราม เพลงกระบี่กระบองออกจากวัดครบถ้วนนานาประการเลย เรียกว่า วัดเป็นสถาบันพัฒนาคุณธรรมพัฒนาอาชีพและพัฒนาสังคมพร้อมที่วัดทั้งหมดเรียนวิชายืดเหรียญ
    ต่อจากนั้นอาตมาคิดว่าจะเดินทางไปพบพระในป่าเลยขอนแก่นไป เดี๋ยวนี้เป็นบริเวณน้ำท่วม ต้องการจะไปเรียนยืดเหรียญเป็นหวย ๓ ตัวเขาล่ำลือกัน อาตมาก็ตื่นกับเขาบ้าง อยากจะไปเรียนยืดเหรียญ ไปเจอโยมคนหนึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านอายุ ๘๔ ปี ไปพักบ้านนี้ และอาตมาก็ถามโยมว่าพระองค์ไหนที่ยืดเหรียญได้อยู่ที่ไหนพาไปที โยมผู้นี้เล่าว่าพระองค์นี้นะถึงปีท่านจะมาอยู่ที่ต้นไทรนี้ปีละครั้ง ครั้งละหนึ่งเดือนแล้วท่านก็หายไป ตั้งแต่ผมเป็นเด็ก แก้ผ้าแก้ผ่อนไปเลี้ยงวัวกับพ่อ แล้วอาศัยกินข้าวในบาตรของท่านมาจนผมมีอายุ ๘๔ ปี เดี๋ยวนี้ท่านก็ยังอยู่แต่ไม่ทราบว่าอายุเท่าไหร่ อาตมาก็ให้โยมนี้พาไป ต้องเดินไปไกลมาก ตอนเช้าท่านไปบิณฑบาต จากต้นไทรไปหมู่บ้านประมาณ ๓-๔ กิโล ท่านอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ต้นไทรสาขา เดี๋ยวนี้ไปไม่ได้แล้วเป็นเขตน้ำท่วมมีเขื่อนเลยขอนแก่นขึ้นไป โยมผู้ใหญ่บ้านอายุ ๘๔ ปี นี้เล่าให้ฟังว่า โยมมีกล่องยาอยู่หนึ่งกล่อง กล่องยานี้เป็นทองเหลืองและก็มีหูมีเชือกร้อยผูกเอวและมีฝาเปิด-ปิด และก็มีบุหรี่เป็นมวนอยู่และมีไฟแชกคือมีหินอยู่ก้อนหนึ่งมีเหล็กตีไว้จุดสำหรับสูบ ตั้งแต่ครั้งพ่อเป็นกำนันหรือเป็นผู้ใหญ่บ้านเก่าเขาเรียกเป็นขุนบรรดาศักดิ์ แต่เหรียญอันนั้นมีอยู่เหรียญหนึ่งอยู่ก้นกล่องยานี้ โยมนี้ลืมไปแล้ว ตั้งแต่ขอพ่อคือ ไม่ใช่เหรียญบาทที่เขาไปเช่ากันหรอก ที่เขาจะไปยืดกันที่แท้จริงเป็นเหรียญพระราชทานขององค์พระราชาหรือจะเป็นรัชกาลที่ ๔ หรือรัชกาลที่ ๕ อะไรจำไม่ได้ไม่มี
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="79%">ร.ศ.หลวงพ่อองค์นี้ท่านไม่พูดนะ วันนั้นเกิดพูดขึ้นมา บอกโยม "มีของดีในกล่องยา ไม่น่าจะมาทิ้งนะ" โยมนี่ลืมไปแล้วเพราะมันอยู่กันกล่องนี่นานแล้วยาหมดก็ใส่ยา ยาหมดก็ใส่ยา เลยไม่ได้ดู หลวงพ่อองค์นั้นพูดว่านี้ "เอาไปบูชาเสียลูกหลานจะได้อยู่เย็นเป็นสุขเป็นเหรียญพระราชทานนะ" ขององค์พระราชานะที่ให้บำเหน็จรางวัลแก่ผู้ใหญ่บ้านกำนันที่ทำงานดี ปกปักรักษาราษฎรดีอยู่เย็นเป็นสุขร่มเย็นเป็นสุขในหมู่บ้านนั้น จึงพระราชทานเหรียญนี้ มีเลขอยู่ ๓ ตัว ผลสุดท้าย โยมเลยมาเล่าให้ลูกหลานฟังว่า "โอ้หลวงพ่อนี่เกิดพูดขึ้นมาแล้ว ตามปกติท่านไม่พูด ท่านนั่งทำสมาธิอยู่ใต้ต้นไทรนั้น ๑ เดือนแล้วก็หายไปทุกปี"
    </td> <td style="font-size: 12px;" width="21%"><table style="font-size: 12px;" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="90"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="45">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="45">[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody> </table> อาตมาก็กลับวัดตั้งหน้าศึกษาธรรมแล้วก็เดินทางต่อไปเรียนกรรมฐานจากองค์โน้นองค์นี้ อาตมาก็ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อลี วัดอโศการาม เมื่อสมัยยังไม่สร้างวัดบางปิ้ง ท่านเดินธุดงค์ไปสู่จันทบุรี ไปเมืองลพบุรี อาตมาตามท่านไปเลยนะ ตามไปภาคอีสาน ไปภาคเหนือ เดี๋ยวนี้อาตมาไม่ได้ไปติดต่อ ไม่รู้จักใครแล้ว วัดบางปิ้งท่านมรณภาพแล้ว เจริญภาวนา พุทหายใจเข้า โธหายใจออก ตามหลักไปแล้วไปเจอพระอีกองค์หนึ่ง กสิณเก่ง กสิณขยายดวงไฟ ได้แล้วไปเจอพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งเรียนมโนมยิทธิ ไปคุยกับเทวดาก็ได้นะ เอ เข้าท่านะดีนะสนุกดีจัง แล้วก็ไปคุยกับเมืองนรกได้นะ ไปเจอยมบาล อาตมาก็บอกจะเอาค่าแป๊ะเจี๊ยะมาให้ ขอให้ญาติอาตมาขึ้นจากเมืองนรก ยมบาลก็เอ่ยว่า "พระคุณเจ้าที่เคารพ นับประสาอะไรที่จะช่วยญาติของพระคุณเจ้าเล่า แค่แม่ยายผม ผมยังช่วยไม่ได้ ช่วยไม่ได้จริง ๆ ภรรยาผมที่นะเขาบอกว่า ให้ช่วยแม่เถอะนะพี่นะ นึกว่าสงสารแม่ แม่ฆ่าเป็ด ฆ่าไก่มามากมาย ฆ่าหมู ฆ่าไก่ โหดเหี้ยมใจดำ ทารุณดุร้าย ฆ่าเพื่อกินกันตาย ช่วยแม่เถอะ" นี่ยมบาลเล่าให้อาตมาฟัง ว่าจะพยายามช่วยแม่เสียหน่อย แต่โจทก์มันมากันเยอะ ห่านมันก็มาร้อง เป็ดก็มาร้อง หมูก็มาร้อง ว่าไม่ได้นะ ยมบาลไม่ได้นะ นี่ทำฉันให้ทุกข์ทรมานเหลือเกิน ยมบาลเห็นท่าไม่ดี ช่วยไม่ได้ มโนมยิทธิอาตมาลองทุกอย่างนะแล้วก็ยังผิดทางอยู่ไม่รู้ว่าทางไหนมันจะแน่นอนที่จะช่วยตัวเองได้ เอาทุกอย่างมโนมยิทธินี้เกิดประโยชน์ไหม ช่วยตัวได้ไหม ก็ไม่ได้ ให้พ้นทุกข์ได้ไหม ก็ไม่ได้ ลองแล้วนะ อาตมาที่พูดนี่อาตมาเป็นพระนะ ไม่ได้โกหกโยมนะ
    ในเวลากาลผ่านมาอายุอาตมาพอ ๔๕ แล้วก็ตั้งเข็มต้องการปรารถนาไปพบหลวงพ่อองค์นี้ให้ได้ แล้วอาตมาก็มาสวดมนต์ ภาวนา ตามลัทธินี้ ได้ไปพบหลวงพ่อนี้ที่เขาใหญ่ จะต้องเดินทางไปด้วยทางเท้าและไปถึงที่ต้นไม้ใหญ่ เลยที่เขาใหญ่ไประหว่างจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดสระบุรี เรียกกันว่าดงพระยาไฟ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปตั้งใหม่ เปลี่ยนดงพระยาไฟเป็นดงพระยาเย็น
    <!-- InstanceEndEditable -->
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" valign="top" width="12%"><table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="57"><tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" width="47">[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> <td style="font-size: 12px;" width="88%">อาตมาก็ไปบ้านโยมขอดูเหรียญพระราชทานมี ร.ศ. อยู่มีเลขอยู่ ๓ ตัว แล้วก็เดินทางไปพบท่าน พอไปถึงก็ไปกราบท่าน ท่านก็นั่งหลับตาอยู่เสมอไม่พูดไม่จา ร่างกายสังขารของท่านประมาณ ๗๐ ปี ฟันดีครบ และผมไม่หงอกเลย ผมดำ และร่างกายของท่านดำ ร่างกายสมบูรณ์แบบ ไม่ใช่คนอ้วนทรวดทรงสมส่วนทุกประการ อาตมาก็ไปกราบท่านตอนเมื่อราว ๒๔๙๓ อาตมาไปกราบแล้วพูดกับท่านว่า หลวงพ่อครับ หลวงพ่อทำไมไม่พูด หลวงพ่อครับอยู่วัดไหน หลวงพ่อครับผมเดินทางไกล อุตส่าห์ลำบากลำบนมาจากสิงห์บุรี เพื่อเดินทางมายังต้นไทรนี้ ต้องมาพักบ้านโยมอยู่ในหมู่บ้านเก่าซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน กว่าจะเดินมาถึงนี่ต้องลำบากลำบนเหลือเกิน กระผมใคร่จะมาเรียนวิชายืดเหรียญ กระผมทราบจากชาวกรุงเทพฯ อยากจะยืดเหรียญเป็นหวย ๓ ตัว คิดว่าผมยังอยู่ในทางโลกเป็นพระภิกษุใหม่อยากจะมาเรียนยืดเหรียญ เพื่อไปให้โยมรวยสักหน่อยจะได้ไปแทงหวย นี่ตั้งใจอย่างนั้นจริง ๆ
    </td> </tr> </tbody> </table> แต่ท่านก็ไม่พูดเลย ทำเฉยนั่งสมาธิของท่านอยู่เรื่อยอยู่ที่โคนต้นไทรนั้น ดูแล้วมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง มีบาตรอยู่ลูกเดียวและผ้าอยู่ผืนหนึ่งและผ้าสังฆาฏิท่านดาดอกตลอดเวลา ท่านมีกลดปักอยู่ยอดไทรและมีอะไรอีก มีกาน้ำมีกระบอก กระบอกนั้นเป็นแทนแก้ว กระบอกขัดซะเป็นมันเลยแทนแก้วสำหรับรินน้ำ เท่านั้นเองไม่มีอะไรเลย อาตมาก็กราบนมัสการต่อไป เอ ไม่เอากับเราแน่ ไม่ลืมตาดูเราเลยนะ
    อาตมาก็เปลี่ยนคำพูดใหม่ว่า "พระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพ ผมเป็นพระภิกษุนวกะพึ่งบวชได้นี่พรรษา ๓ แล้วก็ยังอยากจะมาเรียนมาศึกษาทางธรรม" เปลี่ยนคำพูดใหม่ "กระผมยังเป็นภิกษุนวกะยังไม่รู้ทางธรรมว่าข้อปฏิบัติ ข้อวัตรเจริญสมาธิภาวนา ก็อยากจะมากราบเรียนพระเดชพระคุณหลวงพ่อแนะแนวทางบ้างครับ" ขยับตาหน่อยขยับตาแล้ว คือเราพูดไปตั้งนาน ไม่เคยลืมตาและไม่ได้มองเลยพอพูดบอกจะมาศึกษาธรรม ให้หลวงพ่อแนะแนวเท่านั้นท่านก็ลืมตาขึ้น ลืมตาขึ้นมาแล้วก็ไม่ยิ้มแย้ม หน้าบึ้งไม่ยิ้มเลย
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ท่านลืมตาขึ้นมาท่านบอก "ดีแล้วอุตส่าห์สนใจธรรม" ในเมื่อท่านพูดแล้วอาตมาก็ถามว่า "จะมีแนวอย่างไร" ท่านพูดสั้นมาก จนตีความหมายไม่ได้เลยบอก "คุณรู้ไหมพระพุทธเจ้าสอนอะไร" "ไม่ทราบบวชมุ่งมาทำอะไรอยู่ล่ะ บวชมุ่งอยู่ที่ไหนล่ะ" เราก็ยอมรับ บอกเรียนนวโกวาท เรียนธรรมะ เรียนวินัย "อย่าลืมนะเรียนหมดเลยเรียนเลยไปหมด รู้มากไป คุณรู้มากคงใช้ไม่ได้เลย" คำที่สองของท่าน "รู้มากคงใช้ไม่ได้เลย ไม่ได้ผล" "เธออย่าลืมนะว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร สอนทุกข์และสอนวิธีดับทุกข์" นี่ท่านสอน "ท่านสอนอะไรอีกรู้ไหมคุณ" "ไม่ทราบครับ" "เอาล่ะจะบอกให้สอนไม่ให้เบียดเบียนตน สอนไม่ให้เบียดเบียนคนอื่น พร้อมกับไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย" "หาที่มีของทุกข์ให้ได้ศึกษาข้อนี้ในตัวเรา มีอะไรมีทุกข์หาที่มาของทุกข์แล้วปฏิบัติ" "วิธีปฏิบัติอย่างไรหรือ ศีล สมาธิ ปัญญา"
    </td> <td style="font-size: 12px;" align="right" width="25%">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> ได้ความแล้ว อ้อไอ้นี่เราก็เรียนมานี่ เรานึกไว้ในใจ โถ! แค่นี้เองหรือ เรานึกว่าจะมีอภินิหารมากกว่านี้ดีกว่านี้เราก็เรียนเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา นี่แค่นึกนะ เพียงนึกน่ะ ท่านชี้หน้าเลย "คุณมันอย่างนี้เรียนเลยไปหมด ไอ้ที่จะทำไม่ทำ เสือกผ่าเอาที่ไม่ได้ความ ไอ้ที่ได้ไม่เอา เอาไอ้ที่ไม่ได้ ไอ้ที่จริงไม่ชอบ ไปชอบเอาที่ไม่จริง" ท่านว่า อาตมาถึงจำที่ท่านพูดมานี่ คำพูดนี่พูดบ่อยด้วยนะ ไอ้ที่จริงไม่ชอบ ไปชอบไอ้ที่ไม่จริง ไอ้ที่ได้ไม่เอา เสือกไปเอาไอ้ที่ไม่ได้เลยไม่ได้กันเลย ไอ้ที่ไม่ได้ปล่อยไว้ก่อนสิ ไอ้ที่อยู่ที่จะได้ไม่เอา ท่านด่าให้แสบเลยนะ อาตมาแสบไส้เหลือเกินวันนั้น เราก็เจ็บในกลอน วันนั้นกลับไปนอนไม่สบายเลย นอนไม่สบายจริง นี่ละพระในป่าแหลมคม อาตมาดูสังเกตท่าน คมกริบ คมคาย มีทั้งคมสัน
    ท่านชี้แจงหลายเรื่องหลายอย่างวันนั้นมันก็เย็นแล้ว อาตมาก็บอกโยมผู้ใหญ่บ้านเก่า บอกโยมไม่ต้องรอฉันขอนอนที่นี่ อาตมาจะรอดูว่ากลางคืนจะพูดมากกว่านี้ไหม กลางวันไม่พูด ท่านอาจจะพูดกลางคืน นึกในใจนะเลยต้องกราบท่านใหม่ บอกพระเดชพระคุณหลวงพ่อ กระผมขอถวายตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อนะ ท่านก็ลืมตามาของใจมากที่จะฝากตัวเป็นลูกศิษย์เป็นลูกศิษย์จริงนะ สำหรับวันนี้นะท่านชี้หน้าเลย "ความขลังของพระอาจารย์แต่ย้อนกลับไปเป็นความคลั่งของศิษย์คือเธอ" ท่านชี้หน้าเลย ตามจริงท่านด่าได้เจ็บเหลือเกิน หาว่าเราคลั่ง นึกไม่พอใจเลยนะ ท่านพูดแหลมคมมาก อาตมาดูท่านอยู่ในป่ายังพูดแหลมลึก อาตมายังจำได้ท่านพูดแหลมคม ๓ ข้อ คมกริบ พูดหรือถามไม่เข้าเรื่องเข้าราว ไม่ตอบเก็บอยู่ข้างใน คมคาย ท่านเอาด้ามมาแทงเราซะเจ็บใจเลย คมสัน ของท่านยังแน่นอน เอาขวานตอกเราเสียแล้วนะ นึกว่าตอกตะปูไม่ต้องใช้คมสันตอกเราเสียแย่เลยอย่างนี้ จึงจัดได้ว่า องค์นี้มีทั้งคมกริบ มีทั้งคมคาย มีทั้งคมสัน
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">อาตมาก็คิดได้ต่อไป อาตมาขอพักผ่อนที่นี่ ท่านไม่ยอมจะถึงเวลา ๕ โมงแล้วจึงถึงเวลา ๑๘ นาฬิกาแล้ว จะมืดแล้วดวงอาทิตย์ก็คล้อยใกล้เวลาอัสดงแล้ว เราก็จะเดินกลับไปถึงบ้านโยม มันต้องใช้เวลาเดินหลายกิโล ราว ๆ ประมาณ ๓-๔ กิโล เดินกันพักใหญ่ ๆ เลยเชียว ท่านไม่ยอม และอาตมาก็พูด ในเมื่อท่านไม่ยอมเลย ก็ขอฝากตัวว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพ ผมมาจะเรียนยืดเหรียญแล้วก็ไม่ได้ผล แล้วก็จะขอฝากตัวเข้าหาทางธรรม แล้วขอตั้งสัจจะอธิษฐานว่าขอตามหลวงพ่อไปจะกรุณาหรือไม่ เมตตาเกล้ากระผมหรือเปล่า ท่านนั่งนิ่งอยู่สักครู่ก็ลืมตาพูดว่า "คุณ รอให้คุณอายุ ๔๕ ก่อนนะแล้วจะมาพบเราอีกครั้ง อายุเธอยังน้อยนัก ยังไม่แน่นอน ยังหละหลวมอยู่อย่างนี้จะรับได้อย่างไร รับได้ต้องเป็นคนหนึ่ง ไม่ใช่สอง มีสัจจะมีเมตตาสามัคคีแล้วหรือยัง สัจจะก็ไม่มีจะเกิดเมตตาได้อย่างไร แล้วเมตตาไม่มีจะเกิดความสามัคคีได้ทั้งใจทั้งจิต จะเกิดรูปนามได้หรือ" แหมพูดแหลมลึกสะกิดหัวใจนี่ ท่านบอกว่าอายุถึง ๔๕ ให้มา แล้วบอกเคล็ดลับมา ๓ ข้อ ต้องการพบท่านแล้วทำอย่างนี้ อันนี้บอกโยมไม่ได้นะ
    </td> </tr> </tbody> </table> อาตมากลับมาค้างบ้านโยมและลูกหลานมาคุยกันจนรุ่งเอาเหรียญมาอวด บอกนี่ฉันถูกหวย ๓ ครั้ง แล้วนามี ๒๐ ไร่ เดี๋ยวนี้มีตั้ง ๔๐๐, ๕๐๐ ไร่ แต่ด้วยการบูชาแล้วเจริญสมาธิที่ท่านบอกมาอย่างนี้ถูกหวย ๓ ครั้ง เห็นจะเป็นลูกคนโง่ เลยไปซื้อส่งเดชเลยถูกถึง ๓ ครั้ง ไอ้เลข ๓ ตัว อันนี้อาตมาไม่ติดใจในเรื่องนั้น ติดใจในเรื่องนี้ นี่ดูสิจะไปเรียนยืดเหรียญแต่ไปได้เรื่องธรรมะ ทีแรกไปหาธรรมแมะเลยไปพบธรรมะ ท่านบอกแนวอาตมาดังนี้ บอกให้ไปทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทำวิปัสสนากรรมฐาน แต่ท่านไม่ได้บอกวิธีทำ ท่านบอกให้ทำที่ศีล สมาธิ ปัญญา และ แนะแนวพระพุทธเจ้าสอนอะไรจำไว้ สอนทุกข์ ไม่ได้สอนความสนุกนะ สอนวิธีดับทุกข์ทำอย่างไร ท่านว่าอย่างนี้สั้น ๆ
    <!-- InstanceEndEditable -->
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" valign="top" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">อาตมาไปพบท่านที่นั่น อาตมาค้างอยู่กับท่าน ๑ คืน และท่านสนทนาธรรมสอนอาตมาตั้งแต่ ๔ ทุ่มถึงตี ๔ พอดี แนะแนวทุกอย่าง แล้วทีนี้หลวงพ่อในป่านี้ท่านสอนตามหลัก บอก "นี่เธอที่เธอทำมานั้น ทำมาแล้วนั้นดีเป็นวิปัสสนาได้ แต่เธอโปรดฟังหันมุมกลับ ได้ช่วยเธออะไรได้บ้าง ช่วยเธอดับทุกข์อะไรได้บ้าง ไม่มีเลยนะ" ท่านก็เริ่มชี้แจงแสดงบรรยายสอนทางสายนี้ทันที "อย่าลืม สติปัฏฐาน ๔" ว่าอย่างนี้เลย ท่านบอกที่ไปเรียนมโนมยิทธิไม่ใช่ไม่ดี แต่เธอนึกคิดช่วยเธอไม่ได้นะ ดับทุกข์เธอไม่ได้นะ เธอไปเพิ่มทุกข์ เธอไปคุยกับยมบาลน่ะ เข้าใจไหมด้วยอำนาจปีติอย่างแรงกล้าและอำนาจศรัทธา อุปทานยึดมั่นเอกัคคตารมณ์แล้ว จะแสดงอภินิหารของมโนมยิทธิได้ทันที อาตมาทำมาแล้ว เลยท่านก็สอนว่าเอาหนทางพ้นทุกข์เถอะให้เจริญสติปัฏฐาน ๔
    </td> </tr> </tbody> </table> อันดับแรก ก็เริ่มสอนดังต่อไปนี้ ยืนอยู่กับที่มือขวาจับมือซ้าย ยืนอยู่เฉย ๆ ๑ ชั่วโมง ยืนอยู่เฉย ๆ ๑ ชั่วโมง โดยไม่กระดุกกระดิก ตายเสียแล้วคราวนี้ เราไม่เคยยืนอยู่เลย ๑ ชั่วโมง นี่ในคืนวันนั้นมันเรื่องแปลก ยืน ๑ ชั่วโมง มือขวาจับมือซ้ายไขว้หลัง น้ำหนักของมือทั้งสองจะถ่วงที่กระเบนเหน็บทันทียืนอยู่ ๑ ชั่วโมง ตายแล้วเราคราวนี้ แขนกางแน่ อย่าไปเอามือไว้ข้างหน้ามันห่อทรวงอก หายใจไม่ปกติที่มักจะเป็นโรคปอด สอนละเอียดเสียด้วย แล้วก็สอน เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา ให้สำรวจจิตตั้งสติ ตั้งแต่ปลายผมลงมา เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าไปถึงปลายผม เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมไปถึงปลายเท้า นี่เริ่มตั้งแต่อาตมาจะเข้าถึงพุทธธรรม ที่เราจะบวชครบครันมาถึงบัดนี้ อาตมาก็ยืน ๑ ชั่วโมง ตายจริงไม่เข้าท่าเสียละมั่งนี่ ขาสั่นเอาแล้วมาเอาเรื่องแล้ว ท่านบอกพิจารณายืนมีสติ ศีรษะลงปลายเท้านับหนึ่งลงไปสำรวจจากปลายเท้านับสองขึ้นไปบนศีรษะ สำรวมจิตจากศีรษะลงสู่ปลายเท้า ๓ สำรวมสติอย่างที่คุณเคยบวชพระอุปัชฌาย์บอกไหมตั้งแต่เบื้องต่ำไปถึงเบื้องบน เบื้องบนไปถึงเบื้องต่ำ สมกับที่เคยด่าเราบอก "คุณนี่มันเลย เลยวิชา เลยภาคปฏิบัติของพระพุทธเจ้า เลยไม่ได้เอาไหนไง"
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="88%">อาตมาก็ยืนกำหนด ตั้งสติมโนภาพกระจกฉายแสงว่าข้าพเจ้ายืน ๑ ช.ม.ให้หลัง เราก็รู้ตัวเองเลยว่ายืนมีสติ อ้อยืนมีสติอ่านตัวออกบอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น แสดงอภินิหารนาทีนั้นว่าเรายืนมีมารยาท มีสติครบในการยืนเลย อ้อกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฐานของจิตแผลงฤทธิ์ให้เรารู้สึกนึกคิดเป็นตัวปัญญาจากการยืนนี่เกิดประโยชน์มาก อาตมาได้มาอย่างนี้จากในป่า และก็ยืนมีสติดี อ้อใช่แล้วว่า เกศา โลมา นะขา ทันตา ได้ประโยชน์อย่างไร ยืน เดิน นั่ง นอน ๔ อิริยาบถ บทใดบทหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ ยืนได้อย่างนี้มีสติ เห็นคนเดินมาแล้ว เห็นตั้งแต่ศีรษะลงมาปลายเท้าแล้วเราจะรู้ทันทีว่าคนนี่มีนิสัยอย่างไร มันสัมพันธ์ให้เรารู้โดยตาปัญญาเท่านี้เอง เกิดประโยชน์มาก
    </td> <td style="font-size: 12px;" width="12%"><table style="font-size: 12px;" align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="55"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" width="45">[​IMG]</td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody> </table> อายตนะ เรียนที่ไหน เรียนที่ตัวเรา ท่านบอกอย่างนี้เลยนะ เอาสั้น ๆ ง่าย ๆ เลยนะ ตาเห็นรูปมีศีลไหมที่ตา หูได้ยินเสียงมีศีลที่หูไหม จมูกได้กลิ่นมีศีลที่จมูกไหม ลิ้นรับรสอาหารที่ศีลที่ลิ้นไหม กายสัมผัสร้อนหนาวอ่อนแข็งมีศีลไหม อาตมาฟังท่านบอก เห็นรูปก็แล้วสติมีไหม มีครับหลวงพ่อ อ้อนั่นแหละสติ ศีลต้องมีเรือนให้เขาอยู่ บอกเธอต้องมีกุฏิอยู่ใช่ไหม เหมือนญาติโยมต้องมีอาคารสถานที่ จะนั่งตากแดดตากฝนอยู่คงไม่ได้ มันต้องมีเรือน เพราะฉะนั้นมันต้องมีเรือน ตาเห็นรูป มีสติไว้ แล้วท่านบอกว่า ไปไหนเอาตาหูเป็นใหญ่ อย่าเอาปากไปนะ ปากนี่เป็นครูน้อย ไม่ใช่ครูใหญ่ ส่วนมากเราเอาปากไปเสียนะ ตาดู หูฟัง จิตคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ ริเริ่มดำเนินงานทางวาจาทีหลัง
    <table style="font-size: 12px;" background="../images/dot01.gif" border="0" cellpadding="10" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;">นี่สอนดีเหลือเกิน อาตมาได้ตรงนี้ บอกตามีศีล มีศีลแล้วทรัพย์มา ฟังเขาด่าแล้วถ้าหูไม่มีศีล ในเมื่อขาดสติเดี๋ยวเถอะ เดี๋ยวได้เรื่อง ด่ามาคำ เราก็สองคำบอกไป เลยเอาปากออกไปแล้ว นี่หูไม่มีศีล ตั้งสติไว้ หูมีสติแล้วหูมีทรัพย์ เพราะมีศีลทรัพย์มา พูดไปแล้ว ปัจจุบันธรรมปากมีศีล พูดเป็นเงินเป็นทองเลยด้วยมีสติ โยมโปรดจำไว้เถอะ ซื้อรถสีอะไรจะดีแล้วก็แบบไหนดี โอ๊ยรถสีนี้มันชนเก่ง สีดีโฉลกดีแล ไม่ชนไม่มีที่ไหน อย่าลืมนะมันอยู่ที่จิตใจ มันฝากความห่วงใยและฝากชะตากรรมอยู่ที่เจ้าของรถและเจ้าของรถดวงไม่ดี เคราะห์ไม่ดี เคราะห์หามยามร้ายรถมันจะไปรู้เรื่องรู้ประสาอะไร เจ้าของรถจะต้องเสียแหลกลาญเพราะเจ้าของ ไม่ต้องไปเลือกสีหรอก ชอบไหมไม่ต้องไปหาหมอดู ชอบสีอะไรสีไหนสบายใจเอาสีนั้น ไม่ต้องไปบอก หมอดูสีแดงแต่โยมชอบสีเขียว ไม่ต้องไปฝืนใจซื้อสีแดงมา ซ่อมแล้วก็ไม่สบายใจเลิกเชื่อหมอดูได้แล้ว เชื่อความสบายใจของโยมดีกว่า สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง เป็นต้น สะดวกไหม ฤกษ์คือโอกาสดี ยามดีต้องเวลาว่าง ถ้าโยมไม่ว่างยามดีไม่ได้ จะดำเนินงานต้องเครื่องพร้อม เครื่องอุปกรณ์พร้อม พอพร้อมแล้ว ฤกษ์โอกาสดีเวลานี้ว่างเสาร์อาทิตย์ว่างไม่ได้ไปทำงานอื่น ดำเนินการเลย พร้อมแล้วรีบดำเนินงานรวดเร็วทันใจถูกต้องเป็นธรรมเรียบร้อยทุกอย่างทุกประการ
    </td> </tr> </tbody> </table> โยมจงจำไว้ถ้าหมอดูบอก โยมชอบสีแดงแต่ไปซื้อสีเขียว เอาสีแดงมาไม่สบายใจ ไปซื้อมาทำไม ก็เอาสีสบายใจไม่ได้หรือ นี่เอาตำราพระพุทธเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ขอฝากญาติโยมนะ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ดี การทำสมาธิก็ดี ทานศีลภาวนานี้ ต้องรู้จักวิธีบริจาคทานด้วย พระเจตนา โยมรู้จักหมดทุกคน โดยไม่ต้องอธิบายนะ ดูพระเจตนา ก่อนทำสบายใจทำไปแล้วสบายใจ ทำไปแล้วนานก็ยิ่งสบายใจ นี่เอาหลักนี้มาตั้งญาติโยมทำบุญ ญาติโยมกระเป๋าขาดเลย เลยได้บุญหรือนั่น นี่วิธีปฏิบัติการทำบุญ นอกเหนือจากนั้นแล้วงานต้องเสียเงินต้องเสียเวลาแต่ไม่เสียเงิน แค่ภาวนาจิตประจำ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่ต้องใช้เงิน แต่ต้องใช้เวลา ทำได้ทุกขณะจิต เวลาออกจากบ้านโยมมีปัญหานะ แก้ได้ระหว่างทาง นี้ซิแก้ได้ทางตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ปัญหาเกิดขึ้นมาแก้ได้เลย เข้าบ้านมีปัญหานะ ไปถึงที่กำหนดไป ถึงนักธุรกิจไปถึงการค้ามีปัญหาทั้งนั้น แต่เรามีสติปัญญาดีไม่มีการสร้างปัญหาสามารถจะแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" valign="top" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" width="75%">ปัจจุบันนี้ หากว่าโยมมีปัญหาอะไร แก้ไม่ได้มีแต่สร้างปัญหา ทำให้เดือดร้อนขึ้นมาอย่างนี้เรียกว่ามีสติ มีสมาธิอย่างไร ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าไปนั่งที่วัด ไปวัดของเราดีกว่า วัด อาคารสถานที่นั้นเมื่อไม่มีเวลาจะไปก็เอาวัดของเรา เราก็เอาวัดของเรา วัดขณะหยิบ จะเดิน ยืน นั่ง นอน จะหยิบอะไร จะขายอะไร ให้กำหนดสติจะขายดีตลอดรายการ นี่อย่าลืมนะ โยมจำได้ไหมพระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐาน ทางสายเอกชื่อเมืองอะไร ชื่อเสียงอะไร โยม? กายนคร ถูกแล้วในตัวเรา ถ้าคนใดมีสติสัมปชัญญะครบอุดมคติอุดมการณ์จากสติปัฏฐาน ๔ แล้วเงินไหลนองทองไหลมา หมายความว่าอุดมสมบูรณ์ ถ้าใครมีสติครบอุดมสมบูรณ์ จึงเรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้คนนั้นอุดมสมบูรณ์แน่ ถ้าเป็นพ่อค้าแม่ค้ารวยมหาศาล เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยสติ ค้าขายมีสติ ปัญญาเกิด รู้ว่าขาดทุนได้กำไรรู้ล่วงหน้าเสียด้วยนะนี่ จึงเรียกว่า อุดมสมบูรณ์
    </td> </tr> </tbody> </table> <!-- InstanceEndEditable -->
    <table style="font-size: 12px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr style="font-size: 12px;"><td style="font-size: 12px;" valign="top" width="25%">[​IMG]</td> <td style="font-size: 12px;" valign="top" width="75%">สรุปว่าสติปัฏฐาน ๔ นี้อุดมสมบูรณ์พร้อมมูลบริบูรณ์ดีด้วยสติทุกประการ มีสติดีแล้วสตางค์มา ถ้าคนไหนไม่มีสติสตางค์หนี สตางค์หนีหมดแน่นอนนะ วิระทะโย วิระโคนายัง โยมสวดคาถาให้เงินมา แล้วสวดแล้วเงินมาไหม ถ้าฝรั่งถามอย่าไปตอบว่าสวดแล้วเงินมานะ สวดไปทำไมโยม เดี๋ยวไปสวดเงินไม่มา ด่าเราแหลก สวดแล้วจิตงอก พอจิตงอกแล้วเงินมันก็งอก ถ้าหากว่าสวดแล้วจิตมันหดเงินมันก็หดด้วย ไม่ใช่สวดแล้วได้เงินเลย โยมพอจิตมันงอกนะ จิตก็แตกก้านสาขาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของจิต แล้วเงินก็มา ถ้ายิ่งสวดไปจิตหดนะ จิตยิ่งหดเงินหดด้วย ข้าวในหม้อก็หดด้วยหดหมด เพราะฉะนั้นตอบได้เลยว่า วิระทะโย วิระโคนายัง สวดให้จิตขึ้น พอจิตสบายอุดมการณ์เกิดขึ้นมีสติครบ รับรองนึกเงินได้เงิน นึกทองทองไหลมา โยมจำไว้สวดไว้จิตงอก ถ้าจิตของท่านทั้งหลายงอกทุกคนนะ รับรองสำเร็จตามเป้าหมายและจุดประสงค์ทุกประการ ถ้าจิตหดแล้วนะหม้อแบตเตอรี่หมดไฟรถทำอย่างไรถึงจะไปได้
    </td> </tr> <tr style="font-size: 12px;"> <td style="font-size: 12px;" colspan="2" valign="top"> คุณโยม ไม่เอาใจใส่แบตเตอรี่กำลังใจตกมากนะ หม้อแบตเตอรี่นี่ในเมื่อเราไม่ใช้มัน ไม่สตาร์ทมันก็หมดไฟไปนะ ต่อไปอะไรเสีย แผ่นผ้าเสีย ในเมื่อแผ่นผ้าเสีย แล้วต่อไปทำอย่างไร ต้องโยนหม้อแบตเตอรี่ทิ้งซื้อใหม่เสียเงิน นี่กำลังใจตกนะ ถ้าเพิ่มพลังจิตโดยใช้สติทุกประการเท่านั้นเป็นการเพียงพอ เพิ่มสติเพิ่มกระแสไฟทั้งชาร์ททั้งสตาร์ท
    </td> </tr> </tbody> </table> โยมนี่สติตัวเดียวที่พระพุทธเจ้าสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ย่อเหลือ สิกขา ๓ ในสิกขา ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่พระในป่าท่านสอนละเอียดสอนสั้น ๆ เหลือ ๒ สติ สัมปชัญญะครบ ๒ มากไปเสียแล้ว เอาเหลือหนึ่งลูกแก้วพระเจดีย์ทองได้แก่อะไร ความไม่ประมาท สติมีศีลแล้ว สัมปชัญญะคือสมาธิ สัมปชัญญะนี่รู้ตัวเสียอีกแล้ว จิตตั้งใจ ถึงพร้อมด้วยสมาธิจิตตั้งใจ ถึงพร้อมแล้วเกิดอะไร เกิดปัญญา พร้อมแล้วเหลือ ๑ ทำอะไรไม่มีประมาทเสีย เหลือหนึ่งวิธีปฏิบัติ เห็นว่ามันมากนักจำยากนักโยมก็ไม่ประสาท สำคัญอีกอีกว่าไม่ประมาท เดินไม่ได้หรอกต้องทำตั้งแต่ต้น ทำตั้งแต่ ศีล สมาธิ ปัญญาและ ศีล สมาธิ ปัญญา เหลือ ๒ สติ สัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมออย่างประมาท อย่าประมาทเกิดขึ้นแล้วนี่ ข้อ ๑ นี่ท่านสอนมาอย่างนี้ อาตมาก็จับจุดได้ แล้วกลับวัด อ้อนี่ได้มาอย่างนี้แล้วยังได้เคล็ดลับมาอีก เคล็ดลับอย่างนี้ ถ้าโยมอยากได้ อยากจะทราบต้องคุยกันเป็นการส่วนตัว เอาเล่าสั้น ๆ ไว้แค่นี้ว่าได้ไปพบหลวงพ่อองค์หนึ่งในป่านี้ แต่ก็ไม่ทราบว่าชื่ออะไร แต่มีลักษณะอาการอายุคล้าย ๗๐ แต่คงจะกว่าเพราะโยมผู้ใหญ่บ้านนั้นคงจะแก้ผ้ากันอยู่ เห็นท่านอย่างนี้จนโดยมนั้นอายุ ๘๔ ปีแล้ว ก็ยังเห็นอย่างนี้ แล้วโยมคนนี้ก็ตายไปแล้วด้วย ถ้าโยมผู้ใหญ่บ้านยังอยู่นะอย่าลืมนะ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ โยมผู้ใหญ่นี้อายุ ๘๔ นะ ป่านนี้โยมคนนี้คง ๑๐๐ แล้วนะตายไปแล้ว ผู้ใหญ่บ้านคนนี้และตัวอาตมาเดี๋ยวนี้ก็จะ ๖๐ แล้วนะ….
     

แชร์หน้านี้

Loading...