เรื่องเล่า เมื่อหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ไป ปราบเทวดา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นะโม12, 12 กันยายน 2011.

  1. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    [​IMG]
    หลวงปู่เจี๊ยะ...พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง ๑๘ (๓)
    จาก หนังสือ ประวัติ พระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง
    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามอำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานี
    อุบายของหญิงเทวดา
    เมื่อพระรูปนั้นท่านเข้าที่ภาวนาด้วยอิริยาบท ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง ภาวนา หญิงเทวดาก็เข้ามาในจิตภาวนาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เธอมาแปลกแสดงอาการออดอ้อน ทำเป็นมิตรเพื่อนบ้านที่ดี เป็นห่วงเป็นใยเข้ามาหา ยิ้มมาแต่ไกล กล่าวว่า
    “พระคุณเจ้า!. ผู้เจริญ ดิฉันมีกิจธุระบางอย่างจะต้องทำ จะต้องไปจ่ายกับข้าว เพื่อนำปัจจัยสี่มาถวายพระคุณเจ้า ดิฉันขอฝากถ้ำให้พระคุณเจ้าช่วยดูแลหน่อย ดิฉันไปล่ะเดี๋ยวจะสาย ตลาดจะปิด” นางพูดแล้วก็ล่องหายไปในเวหา ทำความฉงนให้พระรูปนั้นเป็นอย่างยิ่ง
    “มันจะไปจ่ายกับข้าว ยังไงว้า!” ท่านฉุกคิดขึ้นมาในใจ “มันจะหาบมาหรือว่ามันจะซื้อกุ้งหอย ปู ปลา มาผัด มาทอดเอง หรือว่า มันจะทำยังไง คิดแล้วชวนให้งง โว้ย!..” ท่านอุทานฮึดฮัดขึ้นมาในใจ จะบอกใครก็ไม่ได้ว่า “มีเทวดามาบอกว่าจะไปจ่ายตลาด” ช่างเถอะ...เดี๋ยวก็รู้เห็นกันไปเองว่า “มันจะไปจ่ายตลาดยังไง” คิดยังงี้ท่านก็เงียบเฉยนิ่งรอดูอยู่
    อีกวันสองวันต่อมา ขบวนผู้คนแห่แหน เอิกเกริกเสียงกลองยาวดังตุ้มต๊ะ ตุ้มต๊ะ ตุ้ม! ตุ้ม! บางจังหวะก็โจ๊ะจึ่งจึ้ง จึงโจ๊ะจึ่งจึ้ง! ฟ้อนรำขับร้อง โห่ฮิ โห่ฮิ้ว!ๆ แล้วๆ เล่าๆ ตามสายน้ำปิง ทำให้ลิงค่าง บ่างชะนี ตามลำน้ำแตกกระเจิงหนีกันไปหมด มันคงนึกว่า สงครามโลกจะเกิด หรือไม่ก็โลกจะแตก เพราะไม่เคยมีเสียงทำนองนี้มาก่อน หมู่มัจฉาปาณกชาติที่ดำผุดดำว่ายหากินอยู่แถวนั้น แตกกระเจิงดิ่งพสุธาลงไปใต้ท้องธารา เพื่อรอดูเหตุการณ์ข้างบนว่ามันเกิดอะไรขึ้น
    เสียงนารีขับร้องฟ้อนรำก็ใกล้เข้ามาเรื่อยเหมือนพลังดูดของแม่เหล็ก ประหนึ่งว่าจะฉุดคร่าเอาดวงใจน้อยๆ ของพระบวชใหม่ ให้ดับดิ้นไปต่อหน้าต่อตา เพราะความเป็นผุ้ที่ยังมีอินทรีย์น้อย เยื่อใยอาลัยกับโลกอยู่ ทำให้ใจพระเต้นตึกๆ ตามจังหวะกลองยาว แต่ไม่แสดงออกทางกาย
    เมื่อขบวนเรือมาถึง มีคนลงมาคราคร่ำ ใส่ของมาเต็มลำเรือ เรือแทบจะหัก เสียงตีกลองร้องเพลง ดังลั่นสนุกสนานกัน ตามสายน้ำปิงอยู่อย่างนั้น เขาจัดขบวนแห่มาอย่างสวยงาม ปานประหนึ่งว่างานเทศกาลประจำปี เขาเข้ามาแล้วก็เอาของมาถวายพระ เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังว่า “ท่านอาจารย์ พวกผมฝันดีมีโชค ในฝันนั้นบอกว่า ถ้าประสบโชคดีสมหวัง ให้มาทำบุญ ทอดผ้าป่าที่ถ้ำช้างร้อง ที่อุทยานแม่ปิง พวกผมสืบเสาะแสวงหารู้ ก็ได้จัดมาถวายท่านที่นี่”
    จากนั้นมาพระไม่เป็นอันอยู่เป็นสุขในการภาวนา ไกลแสนไกลคนก็มา มาจากที่ต่างๆ มาด้วยความหวังแปลกๆ พระถ้ำช้างร้องดังกระหึ่มใหญ่ “เอาอีกแล้ว... เป็นเรื่องอีกแล้ว พวกเราไม่ได้อยู่เป็นสุข เหมือนเจตนารมณ์เดิมที่จะออกจากโลกสงสาร คนพลุกพล่านไปมายังกะในเมือง ไม่สงบ เอาอีกแล้ว มันดลบันดาลอีกแล้ว ต้องเป็นอีหญิงเทวดาแก่นี้แน่ที่เล่นงาน กลั่นแกล้งพระอีกแล้ว มันบอกว่าจะไปจ่ายตลาด นี่แสดงว่ามันไปจ่ายตลาดมาแล้ว ข้าวของที่ถ้ำนี้จึงแทบไม่มีที่ปลงวาง มันมาแผนใหม่เพราะแผนเก่าที่มันเคยใช้ไม่ได้ผล มันเป็นเทวดาอหังการไม่ยอมใคร” พระรูปดังกล่าวท่านรำพึงรำพันร่ำๆ ภายในใจ


    นิมนต์หลวงปู่เจี๊ยะไปปราบเทวดา
    เรื่องผู้หญิงที่เป็นเทวดาอารักษ์เฝ้าถ้ำนี้ ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตาก็เห็น ส่วนภายนอกบริเวณถ้ำนั้น ก็เห็นเช่นเดียวกันเยอะแยะไปหมด
    ในที่สุดเมื่อพวกพระต่อสู้ไม่ไหว และไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอีกในวันข้างหน้า จึงไปนิมนต์ท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่เจี๊ยะ) มาเพื่อปราบผีและเป็นสิริมงคล
    โดยไปกราบเรียนพระอาจารย์เจี๊ยะว่า “ท่านอาจารย์ครับ พวกผมไปภาวนาไปอยู่ถ้ำ ต่อสู้กับภุมเทวดาไม่ไหวแล้ว เนี่ยอะไร เยอะแยะกว่าคนอีก”
    เมื่อท่านรับทราบดังนั้นท่านจึงเดินทางมาที่ถ้ำช้างร้อง เพราะปกติท่านก็เป็นพระที่ชอบอยู่ตามถ้ำ ในป่าลึกๆ มีน้ำท่าสะดวกสบาย บรรยากาศที่ถ้ำช้างร้องก็เป็นดั่งที่ท่านต้องการ
    เมื่อพระอาจารย์เจี๊ยะเข้ามาถึงถ้ำช้างร้องในตอนพลบค่ำ ท่านเข้าที่จำวัด ก่อนนอนนั่งภาวนา ปฏิบัติเป็นวิหารธรรม อยู่ในถ้ำสบายๆ ส่วนพระองค์ที่ไปกราบนิมนต์ท่านมา แอบนึกภายในใจว่า “เอาเลยมึงอีแก่! ทีนี้จะแสดงฤทธิ์เดชอะไร เอาเลย อาจารย์ใหญ่ของพวกเรามาแล้ว มึงแสดงให้เต็มที่เลยนะ”
    พอตอนเช้าเท่านั้นแหละพระอาจารย์เจี๊ยะก็พูดขึ้นว่า
    “หมู่เอ้ย!... เมื่อคืนนี้มีหญิงที่เป็นภุมเทวดาเจ้าที่คนหนึ่งเข้ามากราบ นุ่งขาวห่มขาว แต่งตัวเรียบร้อย กิริยาที่กราบงดงามมาก สถานที่นี่เป็นสิริมงคลดีนะ น่าอยู่” ท่านพูดแสดงอาการรื่นเริง ในธรรมและรมณียสถาน
    สำหรับพระอาจารย์เจี๊ยะแล้วเขาลงใจทุกอย่าง แต่กับพวกเราเขาไม่เคารพเลื่อมใสเลย พวกเราก็รู้อยู่ในใจว่า เขาพยายามจะทดสอบอะไรบางอย่าง ที่เขาไม่เคารพเลื่อมใสคงเป็นเพราะเราไม่ถึงธรรมอย่างพระอา
    จารย์เจี๊ยะท่าน เขาจึงแสดงกิริยาผิดกันราวฟ้ากับดิน




    บันดาลให้ฟ้าผ่า <TABLE width=109 align=right border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    หลวงปู่เจี๊ยะโดยสารเรือไปถ้ำช้างร้อง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เทวดานี้เขาก็เหมือมนุษย์นั่นแหละ เวลาจะนับถือพระรูปใด หรือจะเอาพระรูปใดเป็นอาจารย์เขาต้องดูให้ดีและต้องทดสอบดูก่อน เรียกว่ามาเหล่ดู ถ้าเขาไม่ชอบก็นินทาเอาเลยเหมือนกัน เรื่องนี้พูดให้ใครฟังเขาก็ว่าบ้าทั้งนั้น เพื่อนพระก็เหมือนกัน เมื่อเป็นดังนั้นจึงต้องทดสอบเพื่อลดความบ้าลง คือลดสิ่งที่คนอื่นเขาคิดว่าเราเป็นบ้าลง จึงให้เณรเขียวไปจุดธูปแล้วอธิษฐาน เณรก็ได้อาสาไปทำตามนั้น เข้าไปกราบพระจุดธูปแล้วอธิษฐานจิตว่า “ถ้าถ้ำช้างร้องนี่มีเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์จริงขอให้แสดงอภินิหารเป็นที่ประจักษ์”
    เมื่อจุดธูปเทียนได้ไม่นานนัก ฟ้าผ่ากลางวันแสก ๆ ฟ้าผ่าลงกลางแม่น้ำหน้าแล้ง ๆ ไม่มีเค้าฝน เปรี้ยง! เปรี้ยง! เปรี้ยง! สายฟ้าแลบ แปล๊บ! ๆ สายฟ้าฟาดเปรี้ยง! ลงกลางแม่น้ำ ทั้ง ๆ ที่อากาศปกติ ฟ้าจะแลบก่อนแล้วก็ผ่าเปรี้ยง!!!! เปรี้ยง ๆ ๆ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว น้ำกระเซ็น กระเด็น กลางแม่น้ำหน้าถ้ำ เหตุการณ์นี้ทุก ๆ คนเห็นประจักษ์จึงต้องยอมรับโดยดุษฎี
    พระองค์หนึ่งตะโกนขึ้นด้วยความพลั้งเผลอตกใจว่า “ว้าย! ผีมีจริง เทวดามีจริง หวื้อ!!! น่ากลัว” ตั้งแต่พระอาจารย์เจี๊ยะก้าวเท้าเหยียบแผ่นดินแผ่เมตตา จึงสงบสุขตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    นี้แหละความวิเศษของพระพุทธศาสนา ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นเรื่องบาป เรื่องบุญ นรก สวรรค์ พระนิพพาน ตลอดจนเทวบุตรเทวดามีจริง จะได้ไม่หลงระเริงเที่ยวสนุกสนาน ทำแต่ความชั่วชนิดที่ไม่มีวันกลัวตาย หรือบางคนหลงถึงขนาดคิดว่า ตายแล้วสูญ
    <TABLE width=109 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    ถ้ำเล็กๆ ที่หลวงปู่ใช้นั่งปฏิบัติธรรมที่ถ้ำช้างร้อง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ตอนที่อยู่ถ้ำช้างร้องนั้น นอกจากแม่เฒ่าที่เป็นอารักษ์อยู่ที่นั่นแล้วบางทีบางคืนยังมีกายทิพย์ เป็นสัตว์วิเศษชนิดต่างๆ มาเยี่ยมกราบพระอาจารย์เจี๊ยะ และบินมาทักทายในนิมิตภาวนา เป็นพวกครุฑ เขาจะบินมาจับบนหลังถ้ำตัวใหญ่มาก นานๆ เขาจะมาทีหนึ่ง เขาเข้ามากราบเรียนว่าเป็นลูกศิษย์ท่านพ่อลี เขาเคารพท่านพอลีมาก

    วันไหนที่เขามา ตอนเช้ามันจะมีเหตุแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ งูจะต้องตาย งูเขียวหางไหม้ หรืองูชนิดต่างๆ เอาเป็นว่าต้องมีงูตาย ถ้าวันไหนครุฑมาตอนกลางคืน วันนั้นต้องมีงูตาย
    บางทีได้กระซิบเณรเขียวว่า เณรเมื่อคืนนี้มีพญาครุฑมา ถ้าพญาครุฑมาต้องมีงูตาย เพราะทุกๆ ครั้งที่เขามาต้องมีงูตาย อันนี้ก็ไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด เมื่อพญาครุฑมางูจึงต้องตาย
    เณรเขียวนั้นก็รู้สึกว่าจะไม่ค่อยเชื่อ อันนี้จึงต้องมีการพิสูจน์ คืนไหนพญาครุฑมาต้องรีบบอกเณรก่อนว่า เณรคืนนี้พญาครุฑมาแล้วนะ เณรคอยดูนะจะมีงูตายรึเปล่า เณรไปดูก็มีงูนอนตายอยู่ในถ้ำ ไม่มีรอยแผล รอยถูกตีหรือถูกจิก งูก็ตายไปเฉยๆ อย่างนั้นเอง ต่อมาทั้งพระทั้งเณรก็เชื่อและเคารพในคุณธรรมของพระอาจารย์เจี๊ยะอย่างสนิทใจ ออกจากถ้ำช้างร้องแล้ว ท่านก็เดินทางกลับไปยังวัดอโศการาม
    พรรษาที่ ๔๘ -๖๘ (พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๔๗ มรณภาพ)
    จำพรรษาที่วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม[​IMG]
    ณ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม บ้านคลองสระ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีภายในขอบเขตแห่งขัณฑสีมา อารามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยคณะศรัทธาได้ถวายที่ดินแก่หลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโน หลวงตาได้นิมนต์หลวงปู่เจี๊ยะมาอยู่เป็นเจ้าอาวาส
    จากท้องทุ่งป่าสนใบดกหนาสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ รายรอบด้วยทุ่งนาเขียวขจี ได้กลายเป็นอารามป่ากรรมฐานใกล้เมืองกรุงฯ ที่ร่มรื่นอบอวลไปด้วยกลิ่นศีลธรรมของสมณะศิษย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น และกลิ่นแมกไม้นานาพันธุ์น้อยใหญ่ที่ปลูกขึ้นรายรอบทั่วบริเวณ ๑๔๖ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา
    ภาพแห่งพระมหาเถระผู้เฒ่า พูดจาเสียงดังฟังชัดออกกิริยาท่าทางไร้มารยา นัยน์ตามีแววมุ่งมั่นรูปหนึ่ง ซึ่งทุกคนเรียกติดปากว่า “หลวงปู่เจี๊ยะ” นั่งสนทนาธรรมกับสานุศิษย์เพียงไม่กี่คนใต้กุฏิเพิงหญ้าหลังเล็ก ๆ มีจีวรเก่ากั้นเป็นฉากหลัง... นี่คือ สมณานญฺจ ทสฺสนํ การเห็นสมณะผู้สงบสันโดษ เป็นมงคลอย่างสูงสุด
    เสียงเทศนาธรรมของท่านกล่อมเกลาจิตใจสานุศิษย์...วันแล้ว...วันเล่า มิได้ขาด
    ในกาลต่อมา ตำนานชีวิตของท่านเริ่มมีผู้เล่าขาน เมื่อหลวงตามหาบัวได้กล่าวชมยกย่องสรรเสริญว่า “เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่ง” ที่หาได้โดยยากยิ่ง
    ประชาชนญาติโยม ที่ทราบเรื่องจากทิศานุทิศ ต่างหลั่งไหลมาทำบุญและสนทนาธรรมไม่ขาดสาย ด้วยความเมตตาต่อสัตว์โลกอันไม่มีประมาณ ท่านจึงดำริสร้างกุฏิ ศาลาปูนหลังพอประมาณ ใช้ทำกิจสงฆ์และสำหรับต้อนรับประชาชนญาติโยมที่มาทำบุญและปฏิบัติธรรม จากอารามเล็กๆ จึงกลายเป็นอารามที่ใหญ่โต
    ศาลาวัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ภาพบูชาของพระบูรพาจารย์คือ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    [​IMG]
    ด้านข้างศาลามีโรงไฟ สำหรับซักย้อมจีวร ฉันน้ำปานะฯลฯ ถัดจากนั้นไปทางด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นโรงครัวและเขตอุบาสิกาที่เข้ามาพักปฏิบัติธรรม
    ด้านหน้าศาลาเป็นที่ตั้งของภูริทัตตเจดีย์ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมสร้างด้วยหินอ่อน ภายในปูด้วยหินแกรนิต ยอดทำด้วยทองคำ อันงามสง่าควรค่าแก่การบูชาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระทันตธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีหินแกะสลักรูปพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ที่ลูกศิษย์สร้างถวาย
    มีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่กว่า ๓๐ รูป ต่างผลัดเวรกันมาดูแลทำความสะอาด พระรูปใดที่ไม่มีหน้าที่ หลังจากฉันเช้าเสร็จแล้ว จะไปปฏิบัติธรรมอยู่ในกุฏิที่ปลูกอย่างเรียบง่ายในป่า ห่างกันพอประมาณ
    <TABLE width=109 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    หลวงปู่นั่งบนแคร่ใต้ต้นสนที่ท่านใช้เป็นหอฉันเมื่อเริ่มสร้างวัดป่าภูริทัตฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    กุฏิสงฆ์ภายในวัดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
    ๑. กุฏิแบบถาวรเพื่อต้อนรับพระเถระที่ชราภาพ และสำหรับพักฟื้นพระอาพาธที่เดินทางจากต่างจังหวัดมารับการรักษาที่กรุงเทพฯ
    ๒. กุฏิแบบเรียบงาย พอแกการบังแดด ลม ฝน ขนาดกว้างยาวเพียงพอแก่การอยู่เพียงรูปเดียว ฝาผนังใช้ผ้าจีวรเก่ากางกั้น น่าศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
    ทุกกุฏิจะมีทางจงกรมอย่างน้อย ๑ เส้น ยาวประมาณ ๒๕ ก้าว อยู่ใต้ร่มไม้สนดูร่มเย็นเป็นลานทางปราบกิเลสตัวขี้เกียจขี้คร้าน อานิสงส์ของการเดินจงกรมคือ ทนต่อการเดินทางไกล ทนต่อการบำเพ็ญเพียร มีอาพาธน้อย ย่อยอาหารได้ดี ทำสมาธิได้นาน
    กุฏิแต่ละหลังห่างกันพอประมาณ มีคูน้ำกางกั้น เพื่อให้สัปปายะเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรม...พบอริยะธรรม
    กิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ที่นี่ คือ ยามเช้าก่อนออกบิณฑบาต พระภิกษุสามเณร ขัดถูปัดกวาดศาลาและบริเวณรอบ ๆ ส่วนพระคิลานุปัฏฐากประมาณ ๘ รูป ก็ผลัดเปลี่ยนกันดูแลหลวงปู่เจี๊ยะในยามอาพาธ มิให้ขาดตกบกพร่อง
    ในเวลาบ่ายโมง พระเณรทั้งหมดมารวมฉันน้ำปานะ บ่ายสามโมงเย็น ทำข้อวัตรปัดกวาดเสนาสนะ ขัดถูกุฏิศาลา บริเวณวัด หน้าวัด ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมอย่างพร้อมเพรียงกัน และกิจวัตรประจำวันที่สำคัญยิ่ง คือการนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม สร้างสติปัญญามีความเพียรกล้า หาทางแผดเผากิเลสด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามที่หลวงปู่เจี๊ยะสั่งสอน เพื่อดับไฟคือความรุ่มร้อนกระวนกระวายภายในจิตใจให้เหือดแห้งไป
    หลวงปู่เจี๊ยะท่านจะสอนพระเณรอยู่เสมอว่า “...พระหัวโล้น ๆ ถ้าสั่งสมจีวรสังฆาฏิ ข้าว น้ำ อาหาร ฯลฯ ไว้มาก ๆ เท่ากับพยายามสั่งสมข้าศึกให้กับตัวเอง ชีวิตพระควรอยู่อย่างบางเบา ไม่ควรมีอะไรเป็นเครื่องกังวล การภาวนาฆ่ากิเลสให้ตายไปจากใจสำคัญที่สุด”
    ความเงียบสงบ และเสียงใบสนต้องลมดังหวิว ๆ คือ บรรยากาศของวัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ที่มีหลวงปู่เจี๊ยะเป็นเจ้าอาวาส
    <TABLE id=table19 width=109 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    หลวงปู่เจี๊ยะขณะทำงานที่วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม
    </TD><TD align=middle colSpan=2>
    หลวงปู่ไปเอาไม้แก่นขามที่ล้มอยู่ข้างศาลเจ้า จ.ราชบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    อ่านต่อที่นี่ อุบายของหญิงเทวดา หลวงปู่เจี๊ยะ...พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง ๑๘ (๓)


     
  2. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ฟังธรรมะจาก หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ได้ที่นี่

     
  3. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    กราบนมัสการหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท อนุโมทนาครับพี่รึสี อ่านสนุกตื่นตาตื่นใจดี
     
  4. ตีโฉบฉวย

    ตีโฉบฉวย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +42
  5. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    อนุโมทนา
    นอกจาก เทวดา แปลงกายได้
    เปรต ก็แปลงกายได้ เหมือนกัน
     
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    อนุโมทนา
    นอกจาก เทวดา แปลงกายได้
    เปรต ก็แปลงกายได้ เหมือนกัน
     
  7. 5314786

    5314786 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    737
    ค่าพลัง:
    +3,801
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่เจี๊ยะ ด้วยเศียรเกล้าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...