เรื่องอนาถบิณฑกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 19 มีนาคม 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [​IMG]
    เรื่องอนาถบิณฑกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก
    [๒๔๑] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของราชคหเศรษฐี ครั้งนั้น อนาถ
    บิณฑิกคหบดีไปเมืองราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฯ

    [๒๔๒] สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข เพื่อฉัน
    ในวันรุ่งขึ้น จึงได้สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้า เช่นนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้า
    ตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหา อาหารที่มีรสอร่อย ฯ


    [๒๔๓] ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้คิดว่า เมื่อเรามาคราวก่อน ท่านคหบดีผู้นี้จัดทำ
    ธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว บัดนี้เขา มีท่าทีเปลี่ยนไป สั่งทาสและ
    กรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้ากระนั้นพวกท่าน จงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง
    จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรสอร่อยๆ บางทีคหบดีผู้นี้จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือ
    ประกอบมหายัญ หรือจัก ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพลมา
    เลี้ยงในวัน รุ่งขึ้นกระมัง ฯ


    [๒๔๔] ครั้นราชคหเศรษฐีสั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณ ฑิกคหบดี ได้นั่ง
    สนทนากัน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถบิณฑิกคหบดีได้ ถามว่า ท่านคหบดี คราวก่อนเมื่อฉัน
    มาแล้ว ท่านได้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็สนทนากับฉันผู้เดียว บัดนี้ท่านนั้นมัวสาละวนสั่ง
    ทาสและกรรมกรว่า ถ้ากระนั้นพวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกัน
    จัดหาอาหารที่มีรส อร่อยๆ บางทีท่านคหบดี จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือประกอบ
    มหายัญ หรือจักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพล มาเลี้ยงในวัน
    พรุ่งนี้กระมัง ฯ

    ราชคหเศรษฐีตอบว่า ท่านคหบดี ฉันจะได้มีงานอาวาหมงคล หรือวิวาหมงคล ก็หาไม่
    แม้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพลฉันก็มิได้เชิญเสด็จมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้
    ที่ถูกฉันจะประกอบมหายัญ คือ ฉันได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเลี้ยงในวัน
    พรุ่งนี้

    อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ
    ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ้ะ
    อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ
    ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ้ะ
    อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ
    ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ้ะ
    อ. ท่านคหบดี แม้เสียงว่า พุทธะ นี้ก็ยากที่จะหาได้ในโลก
    ท่านคหบดี ฉันสามารถจะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์
    นั้น ในเวลานี้ได้ไหม

    ร. ท่านคหบดี เวลานี้ยังไม่ควรที่จะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระองค์นั้น พรุ่งนี้ท่านจึงจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ

    [๒๔๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น อารมณ์ว่า พรุ่งนี้
    เราจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ข่าวว่า เธอลุกขึ้นใน
    กลางคืนถึงสามครั้งเข้าใจว่า สว่างแล้ว จึงได้ เดินไปโดยทางอันจะไปประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์
    เปิดประตูให้ ขณะเมื่อเดิน ออกจากพระนคร แสงสว่างได้หายไป ความมืดปรากฏแทน ความ
    กลัว ความ หวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิดแล้ว เธอได้คิดกลับจากที่นั้น

    [๒๔๖] ขณะนั้น สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียงโดยคาถาว่าดังนี้
    ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อยประดับ
    ต่างหูเพชร ๑ แสนก็ยังไม่เท่า เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไป
    ก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี เชิญก้าวไปข้าง
    หน้าเถิด ท่านคหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่า อย่าถอยกลับเลย ฯ


    [๒๔๗] ทันใดนั้น ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถ บิณฑิกคหบดี ความ
    กลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า อันใดได้มีแล้ว อันนั้นได้สงบแล้ว
    แม้ครั้งที่สอง ...
    แม้ครั้งที่สาม แสงสว่างหายไป ความมืดได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิก คหบดี ความกลัว
    ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิด เธอคิดจะ กลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่สาม
    สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียง โดยคาถาว่าดังนี้:
    ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร ๑ แสน สาวน้อย
    ประดับต่างหูเพชร ๑ แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการ
    ย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี เชิญ
    ก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่าอย่า
    ถอยกลับเลย

    แม้ครั้งที่สาม ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว
    ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าอันใดได้มีแล้ว อันนั้นได้ สงบแล้ว จึงอนาถบิณฑิก
    คหบดีเดินเข้าไปยังสีตวันแล้ว ฯ

    [๒๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมในที่แจ้ง ณ เวลา ปัจจุสสมัยแห่ง
    ราตรี ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นเดินมาแต่ไกล เทียว ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่
    จงกรมประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า มาเถิด
    สุทัตตะ
    ทันใดนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เบิกบานใจ ดีใจว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา แล้ว
    เข้าไปเฝ้าซบเศียรลง แทบพระบาทพระผู้มีพระภาค ทูลถามว่า พระองค์ประทับสำราญ หรือ
    พระ พุทธเจ้าข้า ฯ


    [๒๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบโดยคาถา ว่าดังนี้:
    พราหมณ์ผู้ดับทุกข์ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใดไม่
    ติดในกาม มีใจเย็น ไม่มีอุปธิ ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่างได้
    แล้ว บรรเทาความกระวนกระวายในใจ ถึงความสงบแห่งจิต
    เป็นผู้สงบระงับแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ

    [๒๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาแก่อนาถบิณฑิก คหบดี คือ บรรยาย
    ถึงทาน ศีล สวรรค์ อาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย แล้วทรงประกาศ
    อานิสงส์ในการออกจากกาม ขณะที่พระองค์ ทรงทราบว่า อนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควรแก่การงาน
    มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก นิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่
    พระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
    ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    อนาถบิณฑิกคหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม
    ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็น
    ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
    ได้เกิดแก่อนาถบิณฑิกคหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล
    ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น ฯ

    [๒๕๑] ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่ม
    แจ้งแล้ว มีธรรมหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจาก ถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความ
    เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ พระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้า
    ข้า พระองค์ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
    ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมี จักษุจักเห็นรูป ดังนี้
    ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรง
    จำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิต ถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรง รับภัตตาหาร เพื่อเจริญบุญกุศล ปีติและปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ของ
    ข้าพระพุทธเจ้า
    พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนา โดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่า
    พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม ทำประทักษิณกลับไป ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
    หน้าที่ ๖๕/๒๗๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...